ชื่อประกอบจากชื่อตัวได้แก่ข้อใด

การตั้งชื่อ – ชื่อสกุล

“ชื่อตัว” และ “ชื่อสกุล” เป็นเครื่องกำหนดให้รู้ว่าบุคคลนั้นคือใคร มีภูมิลำเนาอยู่ที่ไหน และมีสถานะเป็นชายหรือหญิง เป็นผู้เยาว์หรือบรรลุนิติภาวะ เป็นโสดหรือมีคู่สมรสแล้ว เป็นต้น ชื่อบุคคลจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังปรากฏในพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ.2505 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่2 พ.ศ.2530) ที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับชื่อบุคคลไว้โดยเฉพาะ

ชื่อ คือ สิ่งที่แสดงให้ทราบว่าเป็นผู้ใด และปกติชื่อจะแสดงให้ทราบถึงเพศ ผู้เป็นเจ้าของชื่ออีกด้วย

บุคคลหนึ่งอาจมีชื่อได้ 3 ชนิด กล่าวคือ

– ชื่อตัว หมายความว่า ชื่อประจำบุคคลแต่ละคน ซึ่งอาจเป็นชื่อที่ตั้งมาตั้งแต่เกิด หรืออาจมาเปลี่ยนใหม่ภายหลังก็ได้

– ชื่อรอง หมายคามว่า ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว ตั้งขึ้นเพื่อให้ทราบแน่นอนว่าเป็นผู้ใด เพราบ่อยครั้งที่บุคคลมีชื่อตัวซ้ำกัน แต่คนไทยมักไม่นิยมตั้งชื่อรองกัน

– ชื่อสกุล หมายความว่า ชื่อประจำวงศ์สกุล มีขึ้นเพื่อให้สามารถทราบอย่างชัดเจนว่าเป็นเชื้อสายหรือเครือญาติใคร บุคคลอาจมีชื่อตัวซ้ำกันได้ หากมีชื่อสกุลประกอบอยู่ด้วย ย่อมสามารถบ่งชี้ได้ว่าบุคคลที่มีชื่อตัวซ้ำกันนั้นหมายถึงใคร

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อตัวและชื่อรอง

–          ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม

–          ต้องไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย

–          ผู้ได้รับหรือเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ แต่ได้ออกจากบรรดาศักดิ์นั้นโดยมิได้ถูกถอน จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์เป็นชื่อตัวหรือชื่อรองก็ได้

–          ชื่อหนึ่งให้มีคำรวมกันไม่เกิน 5 พยางค์ (เดิมกำหนดไว้ไม่เกิน 3 พยางค์)

–          ต้องมีที่มาหรือความหมายที่ดี ซึ่งความหมายในที่นี้มิได้จำกัดเฉพาะที่ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานเท่านั้น แต่ให้หมายรวมถึงพจนานุกรมที่ใช้กันอยู่ทั่วไป และเป็นชื่อที่ตรงตามเพศของเจ้าของ เช่น หากเป็นผู้ชายไม่ควรที่จะตั้งชื่อที่อ่านหรือฟังดูแล้วเข้าใจว่าเป็นเพศหญิง หากเป็นผู้หญิงก็ไม่ควรที่จะตั้งชื่อที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นผู้ชาย

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อสกุล

–          ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธยหรือพระนามของพระราชินี

–          ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระราชทินนาม (เว้นแต่เป็นราชทินนามของตนหรือของบุพการีหรือผู้สืบสันดาน)

–          ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่ได้รับการจดทะเบียนแล้ว

–          ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลที่พระมหากษัตริย์พระราชทาน

–          ไม่มีคำหรือความหมายที่หยาบคาย

–          มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่เป็นการใช้พระราชทินนามเป็นชื่อสกุล ชื่อสกุลควรมีความหมายเหมาะสมตามหลักภาษาไทยด้วย

การใช้ชื่อสกุลของผู้หญิง

–          ผู้หญิงที่สมรสแล้วให้ใช้ชื่อสกุลของสามีหรือของตนเองได้

–          ผู้หญิงที่เป็นหม้ายโดยการหย่ากับสามี จะต้องกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตนเอง หรือใช้นามสกุลของสามีได้ หากได้รับการยินยอม

–          ผู้หญิงที่เป็นหม้ายโดยการที่สามีตาย จะยังคงชื่อสกุลของสามีหรือจะกลับไปใช้ชื่อสกุลเดิมของตนเองก็ได้

การเปลี่ยนชื่อตัว

บุคคลที่ประสงค์จะเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง หรือชื่อสกุล จะต้องยืนคำร้องต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน หากนายทะเบียนพิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดก็จะอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรองหรือจดทะเบียนชื่อสกุลใหม่ได้ แล้วออกหนังสือมอบให้เก็บไว้เป็นหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อรอง หรือการจดชื่อทะเบียนใหม่ เพื่อใช้อ้างอิงหรือนำไปขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อตัว ชื่อรอง หรือชื่อสกุลในเอกสารสำคัญต่างๆ เช่น ทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ สมุดคู่ฝากเงินธนาคาร เป็นต้น

หลักฐานที่ต้องนำไปแสดง

–          บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอเปลี่ยนหรือบัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดา (กรณีที่เปลี่ยนชื่อให้บุตร)

–          สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีชื่อผู้ขอเปลี่ยนชื่อ

หลักฐานที่ต้องนำไปแสดงการขอเปลี่ยนชื่อสกุลกรณีสมรส

–          บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ร้อง

–          สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

–          ใบสำคัญการสมรส

การเปลี่ยนชื่อ

  • ชื่อประกอบจากชื่อตัวได้แก่ข้อใด

Details

Details Parent Category: คู่มือการบริการ Category: ทะเบียนทั่วไป

ชื่อประกอบจากชื่อตัวได้แก่ข้อใด
ทะเบียนชื่อบุคคล
การเปลี่ยนชื่อตัวและชื่อรอง
          ตาม พ.ร.บ. ชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 บุคคลสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัวและชื่อสกุลและจะมีชื่อรองด้วยก็ได้
                * ชื่อตัว คือ ชื่อประจำตัวบุคคล
                * ชื่อรอง คือ ชื่อซึ่งประกอบถัดจากชื่อตัว
                * ชื่อสกุล คือ ชื่อประจำวงศ์สกุล

หลักเกณฑ์การตั้งชื่อตัวและชื่อรอง
          ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี หรือราชทินนาม  ต้องไม่เป็นคำหยาบหรือมีความหมายหยาบคาย  ต้องไม่มีเจตนาในทางทุจริต  ผู้ได้รับหรือเคยได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ โดยมิได้ถูกถอด จะใช้ราชทินนามตามบรรดาศักดิ์เป็น ชื่อตัวจริง ชื่อรองก็ได้

ขั้นตอน
    * ผู้ยื่นคำขอตามแบบ ช1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
    * นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอกับทะเบียนบ้าน และชื่อที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
    * กรณีอนุญาตสำหรับบุคคลสัญชาติไทย นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวชื่อรอง (แบบช.3) ให้เป็นหลักฐาน
    * กรณีบุคคลต่างด้าว นายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือรับรองการเปลี่ยนชื่อตัวของคนต่างด้าวให้ เพื่อประกอบหลักฐานการแปลงชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทยเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว นายทะเบียน ท้องที่ จึงออกหนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อรองให้เป็นหลักฐาน และเรียกเก็บค่า ธรรมเนียม 50 บาท
    * เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและ หลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนด้วย

เอกสารประกอบการดำเนินการ
    1. สำเนาทะเบียนบ้าน
    2. บัตรประจำตัวประชาชน
    3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)

ชื่อประกอบจากชื่อตัวได้แก่ข้อใด
ทะเบียนชื่อสกุล
การขอจดทะเบียนชื่อสกุล

หลักเกณฑ์
    1. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย พระนามของพระราชินี
    2. ต้องไม่พ้องหรือมุ่งให้คล้ายกับราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการี หรือผู้สืบสันดาน
    3. ต้องไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทานของพระมหากษัตริย์ หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
    4. ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
    5. มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม
    6. ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า " ณ " นำหน้าชื่อสกุล
    7. ห้ามเอานามพระมหานคร และศัพท์ที่ใช้เป็นพระปรมาภิไธยมาใช้เป็นชื่อสกุล

เอกสารประกอบการดำเนินการ
    1. สำเนาทะเบียนบ้าน
    2. บัตรประจำตัวประชาชน
    3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว (กรณีบุคคลต่างด้าว)

ขั้นตอนการติดต่อ
    * ผู้ขอยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
    * นายทะเบียนท้องที่ตรวจสอบคำขอและชื่อสกุลที่ขอเปลี่ยนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ กรณีบุคคลต่างด้าว  นายทะเบียนท้องที่พิจารณาออกหนังสือรับรองการขอจดทะเบียนชื่อสกุลของคนต่างด้าวให้เพื่อประกอบ

หลักฐานการขอแปลงสัญชาติ หรือคืนสัญชาติเป็นไทย
    * เมื่อนายทะเบียนท้องที่จะออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (แบบ ช.2) ให้เป็นหลักฐานและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท
    * เมื่อได้รับหนังสือสำคัญแล้ว ให้ผู้ขอนำหนังสือสำคัญดังกล่าวไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน และหลักฐานอื่น ๆ ให้ถูกต้อง และขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน

ชื่อประกอบจากชื่อตัวได้แก่ข้อใด
  ทะเบียนขอร่วมใช้ชื่อสกุล
การขอร่วมใช้ชื่อสกุล

เอกสารประกอบการดำเนินการ
    ขั้นตอนที่ 1 (สำหรับเจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล)
    * สำเนาทะเบียนบ้าน
    * บัตรประจำตัวประชาชน
    * หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล(แบบ ช.2)
     ขั้นตอนการติดต่อ
    * เจ้าของผู้จดทะเบียนชื่อสกุล ยื่นคำขอตามแบบ ช.5ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนชื่อสกุล (ช.2)
    * นายทะเบียนนท้องที่ตรวจสอบคำขอหลักฐานการจดทะเบียนชื่อสกุล เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณา อนุญาตและออกหนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุลตามแบบที่กรมการปกครองกำหนดให้แก่เจ้าของ ชื่อสกุลเพื่อมอบให้ผู้ที่จะขอร่วมใช้ชื่อสกุล

    ขั้นตอนที่ 2 (สำหรับผู้ขอร่วมชื่อสกุล)
    * สำเนาทะเบียนบ้าน
    * บัตรประจำตัวประชาชน
    * หนังสืออนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
    ขั้นตอนการติดต่อ
    * ผู้ขอร่วมใช้ชื่อสกุลยื่นคำขอตามแบบ ช.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านพร้อมหนังสือ อนุญาตให้ร่วมใช้ชื่อสกุล
    * นายทะเบียนตรวจสอบคำขอและหลักฐานการอนุญาตเมื่อเห็นว่าถูกต้องจะพิจารณาอนุญาตและออกหนังสือสำคัญแสดงการอนุญาตให้แก่ผู้ขอและเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 100 บาท
    * ผู้ขอนำหนังสือสำคัญไปขอแก้ไขรายการในทะเบียนบ้านและหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งขอเปลี่ยนบัตร ประจำตัวประชาชน

ชื่อประจำตัวบุคคล และ ชื่อประกอบจากชื่อตัว ได้แก่ข้อใด

"ชื่อตัว" หมายความว่า ชื่อประจำบุคคล "ชื่อรอง" หมายความว่า ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว "ชื่อสกุล" หมายความว่า ชื่อประจำวงศ์สกุล

ชื่อตัว ชื่อรอง คืออะไร

* ชื่อตัว คือ ชื่อประจำตัวบุคคล * ชื่อรอง คือ ชื่อซึ่งประกอบถัดจากชื่อตัว * ชื่อสกุล คือ ชื่อประจำวงศ์สกุล

ชื่อตั้งได้กี่พยางค์

(5) ต้องมีความยาวไม่เกิน 10 พยางค์ เว้นแต่กรณีใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล (6) ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า " ณ " นำหน้าชื่อสกุล

ข้อห้ามของการตั้งชื่อบุคคลมีอะไรบ้าง

จากข้างต้นหากสรุปข้อห้ามในการตั้งชื่อ – นามสกุล ให้เข้าใจง่ายๆ เลยคือ ห้ามมีคำหรือความหมายหยาบคาย ห้ามไปพ้องกับชื่อของพระมหากษัตริย์หรือพระราชินีไปจนถึงราชทินนาม ยกเว้นแต่อยู่ในตระกูลที่ได้ราชทินนามเป็นนามสกุลมา นามสกุลห้ามมีเกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่เป็นราชทินนาม