ข้อใดเป็นการประสมอักษร 5 ส่วน

การประสมอักษร

การประสมอักษร  หมายถึง  การนำตัวอักษร  ๓  ชนิด คือ  พยัญชนะ  สระ  และวรรณยุกต์   มาประสมกัน เกิดป็นพยางค์  หรือคำ  ๑ พยางค์  หรือ  ๑  คำ  มีหลักการผันวรรณยุกต์  ซึ่งประกอบด้วยการใช้อักษรสามหมู่ที่เรียกว่า  ไตรยางค์

หน่วยเสียงที่สำคัญในภาษาไทยมี  ๓  ชนิด  คือ

  • หน่วยเสียงสระ
  • หน่วยเสียงพยัญชนะ
  • หน่วยเสียงวรรณยุกต์

พยางค์

พยางค์  หมายถึง  เสียงที่เปล่งออกมาแต่ละครั้ง  อาจมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้  ในแต่ละพยางค์จะประกอบด้วย  พยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์  เช่น  พ่อ  นาฬิกา   ฟ้า

ส่วนประกอบของพยางค์

พยางค์หนึ่งๆ  จะประกอบไปด้วย  การประสมอักษร  ๕  ชนิด  คือ  พยัญชนะต้น  สระ  ตัวสะกด  วรรณยุกต์  ตัวการันต์  ดังนี้

๑.  พยัญชนะ

พยัญชนะไทยในปัจจุบันมี  ๔๔  ตัว  แต่ใช้เพียง  ๔๒  ตัว  โดยมีพยัญชนะที่ไม่ได้ใช้ตั้งแต่ปี  พ.ศ. ๒๕๔๕  อยู่  ๒  ตัว  ได้แก่  ฃ  ฅ   ( กรมวิชาการ,  ๒๕๔๕  :  ๖๙ )  พยัญชนะไทย   มี  ๒๑  เสียง  ๔๔  รูป  ดังนี้

ที่ เสียง รูป   ที่ เสียง รูป
๑๒
ข  ฃ  ค  ฅ  ฆ ๑๓ พ  ภ  ผ
๑๔ ฟ  ฝ
๑๕
ช ฌ  ฉ ๑๖ ญ  ย
ซ  ส  ศ  ษ ๑๗
ด ฎ ๑๘ ล  ฬ
ต  ฏ ๑๙
ท  ธ  ฑ  ฒ  ถ  ฐ ๒๐ ห  ฮ
๑๐ น  ณ ๒๑
  ๑๑  

พยัญชนะไทยมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ  ได้แก่

๑.  หัวมีแวว  (หัวมีลักษณะเป็นวง)  มี  ๒  แบบ  ได้แก่  แบบหัวเข้า  ได้แก่  ง  ฌ  ญ  ฒ  ณ   ด  ต  ถ  ผ  ฝ  ย  ล  ว  ส  อ  ฮ  ส่วนอีกแบบ  คือ  แบบหัวออก  ได้แก่  ค  ฅ  จ  ฉ  ฎ  ฏ  ฐ  ท  น  บ  ป  พ  ฟ  ภ  ม  ร  ศ  ษ  ห  ฬ

๒.  หัวสองชั้น  มีลักษณะคล้ายแบบหัวข้าแต่เมื่อเขียนหัวครบวงแล้วเขียนวนต่ออีกเกือบสองรอบ  มี  ๒  ตัว  ได้แก่  ข  ช

๓.  หัวหยักหรือหัวแตก  มีลักษณะคล้ายแบบหัวสองชันแต่เพิ่มรอยหยักก่อนที่จะลากเส้นให้จบส่วนหัว  มี  ๔  ตัว  ได้แก่  ฃ  ซ  ฆ  ฑ

๔.  ไม่มีหัว  มี  ๒  ตัว  ได้แก่  ก  ธ

  • พยัญชนะต้น แบ่งเป็น  ๒  ส่วน  คือ  พยัญชนะเดี่ยว  และพยัญชนะประสม

๑.๑  พยัญชนะเดี่ยว  คือ  พยัญชนะตัวแรก  ที่ประสมสระ  เช่น  ตอง  ขาย  ไป    เป็นต้น

๑.๒  พยัญชนะประสม  คือ  พยัญชนะประสมกันสองตัว  อยู่ในสระเดียวกัน  แบ่งเป็น

อักษรควบและอักษรนำ

–  อักษรควบคล้ำ  หมายถึง  พยัญชนะที่ควบกับ  ร,ล,ว  มีเสียงกล้ำ  เป็น

เสียงเดียว  แยกเป็นอักษรควบกล้ำแท้  และควบกล้ำไม่แท้  เช่น  กราบ  ควาย  คลาน  ผลาญ  โคลน  อักษรควบไม่แท้  คำว่า  ศรี  จริง  ทราย  สร้าง  ปราศรัย

–  อักษรนำ  คือ  พยัญชนะสองตัวเรียงกันประสมสระเดียว  แต่ออกเสียงสอง

พยางค์  คือ  พยัญชนะต้นเหมือนมีสระประสมอยู่ด้วย  พยางค์ที่  ๒  ออกเสียงตามสระประสมอยู่  และพยางค์ที่  ๒  ถ้าเป็นอักษรเดี่ยว  ต้องออกเสียงวรรณยุกต์และผันตามตัวหน้าด้วย  เช่น  แสม  อ่านว่า  สะ-แหม,  จรัส  อ่านว่า  จะ-หรัด, ดิลก  อ่านว่า  ดิ-หลก

๒.  สระ

                ปัจจุบันมีการแบ่งรูปสระในภาษาไทยต่างกันเป็น  ๒  ลักษณะ  ดังนี้

๑. หนังสือหลักภาษาไทยของพระยาอุปกิตศิลปสาร กล่าวถึงรูปสระและเสียงสระในภาษาไทย  ว่ามี  ๒๑  รูป  ได้แก่

๑)     -ะ                เรียกว่า     วิสรรชนีย์                                           ๑๒)    ใ –      เรียกว่า       ไม้ม้วน

๒)      ั              เรียกว่า     ไม้หันอากาศ                                     ๑๓)    ไ –      เรียกว่า       ไม้มลาย

๓)       ็              เรียกว่า     ไม้ไต่คู้                                                                ๑๔)    โ –      เรียกว่า       ไม้โอ

๔)    -า                 เรียกว่า      ลากข้าง                                              ๑๕)   – อ       เรียกว่า       ตัวออ

๕)      ิ               เรียกว่า     พินท์อิ                                                 ๑๖)   – ย        เรียกว่า       ตัวยอ

๖)       ่              เรียกว่า                    ฝนทอง                                               ๑๗)  – ว        เรียกว่า       ตัววอ

๗)      ํ              เรียกว่า     นฤคหิตหรือหยาดน้ำค้าง                ๑๘)    ฤ        เรียกว่า       ตัวรึ

๘)     “     เรียกว่า    ฟันหนู                                            ๑๙)     ฤๅ    เรียกว่า     ตัวรือ

๙)       ุ     เรียกว่า               ตีนเหยียด                                         ๒๐)     ฦ     เรียกว่า     ตัวลึ

๑๐)     ู     เรียกว่า   ตีนคู้                                                              ๒๑)     ฦๅ   เรียกว่า     ตัวลือ

๑๑)   เ-    เรียกว่า   ไม้หน้า

วิธีใช้รูปสระ   สามารถใช้ได้  ๒  วิธี  คือ  ใช้สระรูปเดียวและสระหลายรูปประสมกัน  ส่วนเสียงสระตามตำราอักขรวิธีดั้งเดิมของไทย  กล่าวว่า  ในภาษาไทยมีสระ  ๒๑  รูป  แทนเสียง ๓๒  เสียง  ดังนี้

๑)          อะ                           ๑๒)       แอ                           ๒๓)      เออะ

๒)          อา                           ๑๓)       เอียะ                       ๒๔)      เออ

๓)          อิ                             ๑๔)       เอีย                          ๒๕)      อำ

๔)          อี                            ๑๕)       เอือ                         ๒๖)      ใอ

๕)          ฮึ                             ๑๖)        อัว                           ๒๗)      ไอ

๖)           อื                             ๑๗)       อัว                          ๒๘)      เอา

๗)          อุ                             ๑๘)       โอะ                       ๒๙)      ฤ

๘)          อู                             ๑๙)        โอะ                        ๓๐)      ฤๅ

๙)           เอะ                         ๒๐)       เอาะ                       ๓๑)       ฦ

๑๐)        เอ                           ๒๑)      เอาะ                       ๓๒)      ฦๅ

๑๑)        แอ                           ๒๒)      ออ

๒.หนังสืออุเทศภาษาไทย  ชุดบรรทัดฐานภาษาไทย  เล่ม  ๑  ( กรมวิชาการ  :  ๒๕๔๕

: ๖๘ )  กล่าวว่า  ในภาษาไทยมีสระที่ใช้แทนเสียง  ๒๑  เสียง  จำนวน  ๓๖  รูป  ได้แก่

๑)           ็        เรียกว่า                 ไม้ไต่คู้                                   ๑๙)      โ – ะ       เรียกว่า      สระโอะ

๒)         – ะ      เรียกว่า     สระอะ                                   ๒๐)     โ –            เรียกว่า      สระโอ

๓)            ั        เรียกว่า  ไม้หันอากาศ                        ๒๑)      เ – าะ     เรียกว่า     สระเอาะ

๔)          – า      เรียกว่า      สระอา                                 ๒๒)    – อ          เรียกว่า     สระออ

๕)           ำ       เรียกว่า   สระอำ                                   ๒๓)     – อ         เรียกว่า    สระออ  กับไม่ไต่คู้

๖)            ิ        เรียกว่า                สระอิ                                     ๒๔)     เ – อะ    เรียกว่า                    สระเออะ

๗)            ี       เรียกว่า               สระอี                                     ๒๕)     เ – อ      เรียกว่า     สระเออ

๘)          ึ         เรียกว่า       สระอึ                                             ๒๖)      เ ิ           เรียกว่า                สระเออ  ( เอ – อิ)

๙)           ื         เรียกว่า                สระอือ                                   ๒๗)     เ ี ยะ      เรียกว่า                 สระเอียะ

๑๐)     -อ         เรียกว่า   สระอือ – ออ                        ๒๘)     เ ี ย        เรียกว่า                 สระเอีย

๑๑)         ุ         เรียกว่า              สระอุ                                     ๒๙)     เ ื อะ      เรียกว่า                  สระเอือะ

๑๒)         ู     เรียกว่า         สระอู                                     ๓๐)     เ ื อ     เรียกว่า      สระ  เอือ

๑๓)       เ – ะ     เรียกว่า        สระเอะ                                  ๓๑)      ัวะ     เรียกว่า      สระ  อัวะ

๑๔)       เ –         เรียกว่า        สระเอ                                    ๓๒)     ัว        เรียกว่า     สระ  อัว

๑๕)       เ –         เรียกว่า        สระเอ กับไม้ไต่คู้                ๓๓)   – ว        เรียกว่า     ตัว  วอ

๑๖)       แ – ะ    เรียกว่า        สระแอ                                   ๓๔)     ใ –      เรียกว่า      สระ  ใอไม้ม้วน

๑๗)      แ –         เรียกว่า        สระแอ  กับไม้ไต่คู้             ๓๕)     ไ –      เรียกว่า     สระ  ไอ  ไม้ม้วน

๑๘)  แ –              เรียกว่า        สระแอ  กับไม้ไต่คู้          ๓๖)     เ – า    เรียกว่า     สระ  เอา

เสียงสระในภาษาไทย  แบ่งออกเป็น  ๒  ประเภท  ได้แก่

สระเดี่ยว  คือ  สระที่เปล่งเสียงโยอวัยวะในช่องปากอยู่ในตำแหน่งเดียวตลอดเสียง เช่น เสียงสระของคำว่า  กา  ขอ  เจอ  ดู  ตา  นา  มือ  สี  เป็นต้น  หน่วยเสียงสระเดี่ยวในภาษาไทยมี  ๑๘  หน่วย

คือ

อะ                           อา                                           อิ                             อี                                            

                อึ                             อื                                              อุ                            อู                                              

เอะ                          เอ                                          แอะ                      แอ

โอะ                         โอ                                     เอาะ                  ออ

เออะ                       เออ

สระประสม  คือ  สระที่เสียงโดยอวัยวะที่ใช้ออกเสียงอยู่ในตำแหน่งมากกว่า  ๑  ตำแหน่ง  หน่วยเสียงสระประสมในภาษาไทยมี  ๓  หน่วย คือ

หน่วยเสียงสระประสม  เ – ย  เช่น  เสียงสระในคำว่า  เลีย  เรียน  เปียก  เรียบ  เงียบ  เกี๊ยะ  เผียะ  เป็นต้น

หน่วยเสียงสระประสม  เ –อ  เช่น  เสียงสระในคำว่า  เกลือ  เมื่อ  เชื่อ  เหลือ  เป็นต้น

หน่วยเสียงสระประสม  – ว  เช่น  เสียงสระในคำว่า  ตัว  กลัว  นวล  รวบ  ผัวะ  จั๊วะ  เป็นต้น

สำหรับ  – า  ใ-  ไ-  เ-า  เป็นรูปสระที่มีเสียงพยัญชนะรวมอยู่ด้วย  (เสียง  ม  ย  ว)  ส่วน ฤ  ฤๅ  ฦ  ฦๅ  มีเสียง  ร  ล  นำหน้าเสียงสระ  จึงเรียกรูปสระดังกล่าวว่า   สระเกิน

๓.  ตัวสะกด

ตัวสะกด คือ  พยัญชนะที่อยู่ท้ายตัวสระ  ได้แก่  มาตราตัวสะกดทั้ง  ๘  แม่  คือ  แม่กก

แม่กด  แม่กบ  แม่กง  แม่กน  แม่กม  แม่เกย  และแม่เกอว

๔.   วรรณยุกต์

ภาษาไทยได้กำหนดวรรณยุกต์ไว้ใช้ในภาษาเขียน  เพื่อเป็นเครื่องหมายแทน  ระดับเสียงสูงและเสียงต่ำในภาษา  วรรณยุกต์ไทย  มี  ๔  รูป  ได้แก่

๑.            ่       เรียก     ไม้เอก

๒.             ้      เรียก     ไม้โท

๓.             ๊      เรียก     ไม้ตรี

๔.            ๋       เรียก     ไม้จัตวา

รูปวรรณยุกต์ทั้ง  ๔  รูป  ใช้เขียนบนส่วนท้ายของพยัญชนะต้น  เช่น  น่า  ป้า  จ๋า  ในกรณีที่มีรูปสระกำกับอยู่ข้างบนแล้ว  ให้เขียนรูปวรรณยุกต์นั้นกำกับเหนือรูปสระอีกทีหนึ่ง  เช่น  ชื่อ  เที่ยว  เรื่อย  เป็นต้น  นอกจากนี้ในเรื่องของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย  ยังมีข้อสังเกตอีกว่า  คำบางคำที่ไม่มีรูวรรณยุกต์กำกับอาจไม่ใช่เสียงสามัญ  เช่น  สี  เหงา  ครับ  เป็นต้น  และคำบางคำอาจมีเสียงไม่ตรงกับรูปวรรณยุกต์ที่กำกับ  เช่น  ว่าว  เท้า  เลื้อย  เป็นต้น  สำหรับรายละเอียดเรื่องการใช้วรรณยุกต์จะกล่าวในเรื่อง  การผันวรรณยุกต์

๕. ตัวการันต์

มีไว้เพื่อรักษารูปเดิมของศัพท์ส่วนมากมาจากภาษาบาลีสันสฤต  เช่น  ประโยชน์  บริสุทธิ์ ลักษณ์

วิธีการประสมอักษร

การประสมอักษรแทนเสียง มีวิธีประสม ๔ แบบ คือ

๑.      การประสม ๓ ส่วน

๒.      การประสม ๔ ส่วน

๓.      การประสม ๔ ส่วนพิเศษ

๔.      การประสม ๕ ส่วน

๑.      การประสม ๓ ส่วน ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์

ตัวอย่าง          นี้   –       น          เป็น     พยัญชนะต้น

สระอี   เป็น    สระ

ไม้โท   เป็น   วรรณยุกต์

๒.      การประสม ๔ ส่วน ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และพยัญชนะท้ายพยางค์(ตัวสะกด)

ตัวอย่าง          ด้าน   –  ด              เป็น      พยัญชนะต้น

สระอา     เป็น      สระ

ไม้โท       เป็น      วรรณยุกต์

น             เป็น      พยัญชนะท้ายพยางค์ (ตัวสะกด)

๓.      การประสม ๔ ส่วนพิเศษ ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวการันต์

ตัวอย่าง          เล่ห์  –    ล              เป็น        พยัญชนะต้น

สระเอ      เป็น        สระ

ไม้เอก      เป็น       วรรณยุกต์

ห             เป็น        ตัวการันต์

๔.      การประสม ๕ ส่วน ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด และตัวการันต์

ตัวอย่าง          ศิลป์ –     ศ              เป็น      พยัญชนะต้น

สระอิ       เป็น      สระ

ไม่ปรากฏรูปวรรณยุกต์

ล              เป็น      ตัวสะกด

ป              เป็น      ตัวการันต์

ส่วนพยางค์ที่สระ อำ ใอ ไอ เอา  ถ้ากำหนดตามรูปสระจะเป็นการประสมอักษร ๓ ส่วน  จัดอยู่ในมาตราแม่  ก กา    ถ้ากำหนดตามสำเนียงอักษรประสมกันแล้ว ต้องอยู่ในวิธีประสม ๔ ส่วน เพราะเป็นเสียงมีตัวสะกด

ข้อใดเป็นการประสมห้าส่วน *

๔. การประสมห้าส่วน คือ การประกอบพยางค์ด้วยพยัญชนะต้น สระ พยัญชนะท้ายพยางค์ หรือตัวสะกด พยัญชนะท้ายพยางค์ที่ไม่ออกเสียง หรือตัวการันต์ และวรรณยุกต์ เช่น จันทร์ อินทร์ ยันต์ ทรัพย์ กาญจน์ ปราชญ์ อินทร์

คำใดประสมอักษร 5 ส่วน

๓. ประสมส่วน คือ พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด + ตัวการันต์ เช่น สิงห์ ขันธ์ เป็นต้น

ข้อใดเ็นการประสมอักษรแบบ 4 ส่วนพิเศษ

เล่ห์ เป็นการประสมอักษรสี่ส่วนพิเศษ ดังนี้ ล เป็นพยัญชนะต้น เอ เป็นสระ ห์ เป็นพยัญชนะท้ายพยางค์ที่ไม่ออกเสียงหรือตัวการันต์

การผสมอักษรมีกี่แบบ

การประสมอักษรแทนเสียง มีวิธีประสมแบบ คือ ๑. การประสม ๓ ส่วน ๒. การประสม ๔ ส่วน ๓. การประสม ๔ ส่วนพิเศษ