มอเตอร์ชนิดใดแรงบิดมากที่สุด

Show

การเลือกซื้อมอเตอร์ไฟฟ้า

  • INDUSTRYPRO
  • บทความ
  • การเลือกซื้อมอเตอร์ไฟฟ้า

มอเตอร์ชนิดใดแรงบิดมากที่สุด

การเลือกซื้อมอเตอร์ไฟฟ้า MOTOR

มอเตอร์ไฟฟ้า MOTOR มีอยู่ทุกที่พบเห็นได้ทั่วไป ตามบ้าน โรงเรียน โรงพยาบาล โรงงานอุตสาหกรรม เรียกได้ว่าอยู่ทุกซอกทุกมุม แต่ถ้าคุณจำเป็นต้อง การเลือกซื้อมอเตอร์ เองละจะทำยังไง เราจะพาคุณไปเรียนรู้พื้นฐานของมอเตอร์ไฟฟ้าและวิธีการเลือกซื้อที่ถูกต้อง เนื่องจากมีผู้ขายมอเตอร์ไฟฟ้านั้นจะสอบถามว่าคุณต้องการมอเตอร์แบบใด คำถามแรกที่คุณจะเจอคือ มอเตอร์แบบไหนเหมาะสมกับการใช้งานของคุณและมีข้อกำหนดอะไรบ้าง

                   ก่อนอื่นต้องรู้การทำงานของ การเลือกซื้อมอเตอร์ ก่อน มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานโดยการแปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกลเพื่อให้เกิดการหมุน พลังงานจะถูกสร้างขึ้นภายในมอเตอร์ผ่านปฏิกิริยาระหว่างสนามแม่เหล็กของกระแสไฟฟ้าสลับ (AC) หรือไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แรงบิดขึ้นอยู่กับกระแสที่เพิ่มขึ้นตามกฎของโอห์มคือ (V = I*R) โดยที่แรงดันไฟฟ้า (Voltage) ต้องเพิ่มขึ้นเมื่อความต้านทานเพิ่มขึ้นในขณะที่กระแสไฟฟ้ายังคงเท่าเดิม มอเตอร์ไฟฟ้ามีการใช้งานในอุตสาหกรรมทั่วไป เช่น เครื่องเป่าลม เครื่องจักรขนาดใหญ่ พัดลม ปั๊ม งานขนาดเล็กที่ต้องใช้การเคลื่อนไหว เช่น หุ่นยนต์ (robotics) หรือโมดูลที่มีล้อแบบต่าง ๆ

กฎ 3 ข้อในการเลือกซื้อมอเตอร์ไฟฟ้า

1. กระแสไฟฟ้า (Voltage) เป็นสิ่งที่ทำให้มอเตอร์ทำงานได้และกระแสไฟฟ้าที่มากเกินไปจะเกิดความเสียหายกับมอเตอร์ สำหรับมอเตอร์กระแสตรงการใช้งานและมีความสำคัญ ดังนั้นจึงต้องรู้ก่อนว่า มอเตอร์ที่เราจะนำไปใช้ต้องใช้กับ กระแสไฟประเภทใหน เช่น ไฟ 220V (single phase) หรือ ไฟ 380V. (Three phase) ไฟกระแสไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่คือค่าเฉลี่ยของกระแสที่มอเตอร์คาดว่าจะอยู่ภายใต้แรงบิดทั่วไป กระแสไฟฟ้าสถิตย์ใช้แรงบิดเพียงพอสำหรับมอเตอร์เพื่อให้ทำงานที่การหยุดกลางคัน (0 RPM) ต้องควบคุมไม่ให้กระแสไฟฟ้าเกินและควรมีแผงระบายความร้อนเพื่อป้องกันไม่ให้ขดลวดไหม้

2. แรงดันไฟฟ้า (Current) ใช้เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไหลไปในทิศทางเดียวกันและเพื่อป้องกันกระแสย้อนกลับ แรงดันไฟฟ้าที่สูงขึ้น แรงบิดที่สูงขึ้น แรงดันไฟฟ้า จะบอกประสิทธิภาพของมอเตอร์ระหว่างทำงาน ต้องแน่ใจว่าใช้ไฟกี่โวล์ หากใช้น้อยไปมอเตอร์ไม่หมุน หากแรงดันไฟมากไปมอเตอร์อาจไหม้ได้การทำงานของมอเตอร์ต้องคำนึงถึงแรงบิดด้วย เพราะงานบางอย่างจำเป็นต้องอาศัยแรงบิดที่เพียงพอ แรงบิดมีความสำคัญมากกว่าความเร็ว

3. ความเร่งหรือความเร็ว (RPM) โดยทั่วไปมอเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยความเร็วสูงสุด แต่หากต้องใช้ระบบเกียร์ การเพิ่มเกียร์จะลดประสิทธิภาพของมอเตอร์ดังนั้นโปรดคำนึงถึงความเร็วและแรงบิดที่ลดลงเช่นกัน

สิ่งต่างๆที่กล่าวมาเป็นพื้นฐานที่ท่านสามารถนำไปใช้ในการเลือกซื้อมอเตอร์และประยุกต์ใช้งานให้เหมาะสม กระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้า แรงบิด ความเร็ว จะเป็นตัวกำหนดว่ามอเตอร์ใดเหมาะสมที่สุด ดังนั้นต้องดูความต้องการของคุณว่าควรใช้แบบไหน

2) วาวด์โรเตอร์มอเตอร์ (Wound Rotor)ะวาวด์โรเตอร์มอเตอร์ มอเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์ (Wound-rotor) หรือแบบ Slip-ring จะมีแกนหมุนพันขดลวดที่มีตัวนำไฟฟ้านำไปสู่ Slip Rings เพื่อสอดแทรกตัวความต้านทานไว้เพิ่มแรงบิดในขณะสตาร์ทและลดกระแสใน การสตาร์ทและยังวางใจได้ต่อการลดความเร็วลง 50% ภายใต้แรงบิดขณะรับภาระเต็มที่ มอเตอร์แบบนี้ เหมาะกับอุปกรณ์ขนถ่ายทุกชนิดที่ต้องควบคุมแรงบิดในขณะสตาร์ท มอเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์ อาจจะใช้เป็นมอเตอร์ความเร็วคงที่ หรือเป็นมอเตอร์ปรับความเร็วได้ทั้ง 2 แบบ มอเตอร์แบบวาวด์โรเตอร์ สามารถควบคุมแรงบิดในขณะช่วงเวลาการสตาร์ทได้โดยการเพิ่มความต้านทานภายนอก เข้าไปในขดลวดทุติยภูมิ (Secondary Winding) ของมอเตอร์ ผ่านทาง Slip Rings ทำให้ สามารถกำหนดโปรแกรมแรงบิด ระหว่างการสตาร์ท ให้เหมาะสมกับมอเตอร์ที่ขับอุปกรณ์ขนถ่ายแต่ละ แบบการขับประเภทนี้ได้มีการใช้กันอย่างกว้างขวางในสายพานลำเลียงขนาดใหญ่ ๆ

มอเตอร์ไฟฟ้า จะมีหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานกล โดยถูกจัดเป็นกลุ่มหลัก ๆ อยู่ 2 กลุ่ม คือ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงซึ่งจะมีการใช้งานระดับปานกลางมีขนาดมอเตอร์ที่ไม่ใหญ่มากนัก และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งถูกใช้งานในวงอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง

กรณีของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับนั้นสามารถแยกได้เป็น 2 ชนิด คือ มอเตอร์ซิงโครนัส (Synchronous motor) และมอเตอร์อินดักชั่น (Induction Motor) โดยมอเตอร์อินดักชั่นจะมีการนิยมใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุด ทั้งนี้มอเตอร์ซิงโครนัสและมอเตอร์อินดักชั่นนั้นก็จะถูกแยกย่อยออกไปได้อีกหลายแบบ เพื่อที่จะได้เลือกนำมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้และต่อระบบงานให้มากที่สุด

มอเตอร์ซิงโครนัส (Synchronous motor) เหมาะสมกับการนำมาใช้งานในระบบที่ต้องการให้มีความเร็วรอบในการหมุนคงที่ และความเร็วรอบย้อนกลับได้ (Reversed-speed)

มอเตอร์อินดักชั่น (Induction motor)  นิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมและตามบ้านเรือนที่อยู่อาศัยโดยแทบจะกล่าวได้ว่ามีมากที่สุด เนื่องจากมีขั้นตอนในการรับกระแสไฟฟ้าไม่ยุ่งยากมากนัก กล่าวคือ ระบบป้อนกำลังไฟฟ้าจัดให้มีเพียงไฟฟ้ากระแสสลับก็เพียงพอแล้ว ซึ่งไม่เหมือนกับมอเตอร์ซิงโครนัสที่จะต้องมีทั้งไฟฟ้ากระแสสลับขาเข้า และจะต้องมีไฟฟ้ากระแสตรงสำหรับขดลวดกระตุ้นอีกด้วย โดยมอเตอร์อินดักชั่นหรือมอเตอร์เหนี่ยวนำซึ่งเป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับนั้นแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

  • มอเตอร์อินดักชั่นตัวหมุนกรงกระรอก (Squirrel cage rotor)
  • มอเตอร์อินดักชั่นตัวหมุนพันด้วยขดลวด (Wound rotor)
  • มอเตอร์อินดักชั่นตัวหมุนแบบเหล็กตัน (Solid rotor)

มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับทั่วไป นอกเหนือจากมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับที่เป็นหลักตามที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว สามารถนำมาแยกเป้นมอเตอร์ชนิดต่างๆ และชนิดพิเศษตามความเหมาะสมในการใช้งานได้ดังนี้

  • มอเตอร์แบบแยกส่วน (Split-phase motor) เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ประเภทอินดักชั่น 1 เฟส ซึ่งปกติไม่เกิน 1 แรงม้า ปกติแล้วมอเตอร์ชนิดนี้จะให้ค่าทอร์กปานกลางและความเร็วรอบคงที่ มีใช้ในเครื่องมือเครื่องใช้สำนักงาน เครื่องทำความเย็น-ความร้อน ปั๊มต่างๆ
  • มอเตอร์คาปาซิเตอร์ (Capacitor motor) เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ประเภทอินดักชั่น 1 เฟส โดยมีลักษณะเหมือนมอเตอร์แบบแยกส่วนข้างต้น แต่มีตัวเก็บประจุ (คาปาซิเตอร์) ต่ออนุกรมกับชุดขดลวดเพื่อเริ่มเดินที่สเตเตอร์ เพื่อให้มีค่าของแรงบิดเริ่มต้นสูง และกระแสไฟฟ้าสตาร์ตต่ำ มอเตอร์ชนิดนี้นิยมใช้ในอุปกรณ์เครื่องทำความเย็น เครื่องปรับอากาศ ปั๊มต่างๆ เป็นต้น
  • มอเตอร์แบบรีพัลชัน (Repulsion type motor) เป็นมอเตอร์กระแสสลับเฟสเดียว และโรเตอร์เป็นแบบพันด้วยขดลวดโดยต่อเข้ากับคอมมิวเทเตอร์ซึ่งคล้ายกับลักษณะโรเตอร์ของมอเตอร์กระแสตรง จึงทำให้มีค่าแรงบิดเริ่มต้นสูงและความเร็วรอบคงที่ นิยมใช้กับปั๊มต่างๆ เครื่องปรับอากาศ เครื่องมือขัด
  • มอเตอร์ยูนิเวอร์แซล (Universal motor) เป็นมอเตอร์กระแสตรงหรือกระแสสลับ ที่ให้ความเร็วรอบสูงมากโดยปกติจะสามารถปรับความเร็วรอบได้ โดยการเพิ่มความต้านทานที่ปรับค่าได้ ซึ่งต่ออนุกรมกับวงจรจ่ายกำลังไฟฟ้าเพื่อควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าในวงจรนั่นเอง มอเตอร์ชนิดนี้นิยมใช้กับเครื่องมือ เช่น เครื่องดูดฝุ่น จักรเย็บผ้า เครื่องผสมอาหาร เป็นต้น
  • มอเตอร์แบบบังขั้ว (Shaded-pole motor) เป็นมอเตอร์กระแสสลับซึ่งเป็นมอเตอร์อะซิงโครนัส เฟสเดียวขนาดเล็กที่ใช้งานที่แรงบิดเริ่มต้นมีค่าต่ำ ซึ่งโดยปกติจะมีค่าทอร์กเริ่มต้นประมาณ 50% ของทอร์กโหลดเต็ม เช่น พัดลมเล็กๆ ของเล่น เครื่องฉายภาพ เป็นต้น มอเตอร์ชนิดนี้มีค่าทอร์กสุดกำลังต่ำ ค่าประกอบกำลังต่ำ แต่ก็นิยมใช้กันมากเนื่องจากราคาต่ำและเป็นแบบง่ายๆ
  • มอเตอร์เริ่มเดินเครื่องแบบความต้านทานแม่เหล็ก (Reluctance-Start motor) มอเตอร์ชนิดนี้มีทอร์กน้อยกว่า 50% ของทอร์กโหลดเต็ม ส่วนทอร์กสุดกำลังจะมากกว่าทอร์กโหลดเต็มเพียงเล็กน้อย และมอเตอร์จะทำงานด้วยสลิปที่มีค่าสูง ไม่สามารถหมุนกลับทิศด้วยวิธีทางไฟฟ้า (ทำได้โดยวิธีทางกล เช่น สายพานหรือมูลเล) มีประสิทธิภาพด้อยกว่ามอเตอร์แบบบังขั้วประมาณ 20% แต่อย่างไรก็ตามมอเตอร์ชนิดนี้ก็นิยมใช้กันเนื่องจากมีราคาต่ำและบำรุงรักษาง่าย
  • มอเตอร์แบบความต้านทานแม่เหล็ก (Reluctance motor) นิยมนำมาใช้กับงานเล็กๆ ที่ต้องการความต่อเนื่อง เช่น นาฬิกาไฟฟ้า ชุดควบคุมเวลา เครื่องอ่านเทป เป็นต้น
  • มอเตอร์ฮิสเตอริซีส (Hysteresis motor) เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับประเภทมอเตอร์ซิงโครนัสเฟสเดียว และมีลักษณะคล้ายกับมอเตอร์แบบความต้านทานแม่เหล็ก มอเตอร์ชนิดนี้มีค่าความเร็วรอบของโรเตอร์จะน้อยกว่าค่าความเร็วรอบซิงโครนัสของสนามแม่เหล็กหมุนในสเตเตอร์แต่จะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสไหลวนในโรเตอร์ขึ้น
  • มอเตอร์ซิงโครนัสแบบแม่เหล็กถาวร (Permanent-magnet synchronous motor) มอเตอร์ชนิดนี้เป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับประเภทมอเตอร์ซิงโครนัสเฟสเดียว โดยที่มีโรเตอร์มีขั้วเป็นแม่เหล็กถาวรและขวดลวดกรงกระรอกอยู่โดยรอบ มอเตอร์ชนิดนี้จะมีค่าทอร์กเริ่มต้นไม่มากกว่าค่ทอร์กดึงออก (Pull-out torque)
  • มอเตอร์ซับซิงโครนัส (Subsynchronous motor) มอเตอร์ชนิดนี้มีทอร์กเริ่มเดินสูง แต่จะมีทอร์กน้อยกว่ามอเตอร์แบบความต้านทานแม่เหล็กที่ภาวะความเร็วซิงโครนัส
  • มอเตอร์เซอร์โว (Servomotor) นิยมนำมาใช้กับอุปกรณ์จำพวกโรบอท หรือชุดควบคุมของคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพสูงและง่ายต่อการควบคุม อีกทั้งมีความรวดเร็วในการทำงานอีกด้วย มีทั้งแบบไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ
  • มอเตอร์อินดักชั่นซิงโครนัส (Synchronous Induction motor) โดยปกติจะมีขนาดกำลังขาออกไม่มากนัก (ไม่กิน 50 แรงม้า) ข้อดีคือสามารถสตาร์ตได้ง่าย มีค่าทอร์กเริ่มเดินสูงและค่าบำรุงรักษาต่ำ ข้อเสียคือมีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ
  • มอเตอร์ซิงโครนัสแบบความต้านทานแม่เหล็ก (Synchronous reluctance motor) มอเตอร์ชนิดนี้เริ่มทำงานและเร่งความเร็วถึงความเร็วสลิปเหมือนมอเตอร์อินดักชั่น หากโหลดเหมาะสมโรเตอร์จะเข้าสู่ภาวะซิงโครนัสกับสนามแม่เหล็กหมุนของสเตเตอร์ ทำให้โรเตอร์หมุนด้วยความเร็วคงที่
  • มอเตอร์เชิงเส้น (Linear motor) ถือได้ว่ามีความสามารถทำงานได้ในแนบราบ ซึ่งอาจจะนำมาใช้กับรถขนส่งไฟฟ้าที่มีลักษณะการเคลื่อนที่ด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าคล้ายกับมีเบาะลมรองรับอยู่
  • มอเตอร์แบบเลื่อนแปรงได้ (Brush-shifting motor) เป็นมอเตอร์ชนิดอินดักชั่น 3 เฟสที่สามารถปรับความเร็วได้โดยเลื่อนแปรงสัมผัส การเลื่อนแปรงจะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำสนามแม่เหล็กเปลี่ยนไป มีผลให้เป็นการปรับความเร็วรอบของมอเตอร์ได้
  • มอเตอร์แบบทอร์ก (Torque motor) เป็นมอเตอร์ที่ใช้ในการเปิดวาล์ว ประตู ซึ่งต้องการค่าทอร์กคงที่และมีค่าทอร์กสูงอีกด้วย หากต้องการทอร์กที่สูงมากจะต้องเป็นมอเตอร์ 3 เฟส แต่หากต้องการทอร์กต่ำมักจะนิยมใช้มอเตอร์แบบยูนิเวอร์แซล มอเตอร์ชนิดนี้มีจุดประสงค์ที่ไม่ต้องการทำงานต่อเนื่องตลอดเวลา ดังนั้นจึงต้องกำหนดระยะเวลาขับเคลื่อนไว้ช่วงหนึ่งซึ่งสามารถตรวจดูได้จากแผ่นป้ายประจำเครื่อง
  • มอเตอร์อินดักชั่นหลายควาเมร็ว (Mltispeed induction motor) มอเตอร์ชนิดนี้เป็นมอเตอร์ที่เปลี่ยนความเร็วรอบได้โดยเปลี่ยนจำนวนขั้วของมอเตอร์
  • มอเตอร์ความถี่สูง (High-frequency motor) มอเตอร์ชนิดนี้ใช้กับเครื่องมือที่มีความเร็วรอบสูง โดยปกติจะเป็นมอเตอร์ 3 เฟส 2 ขั้วที่มีความถี่ไฟฟ้าสูงกว่าปกติ เช่น 90,120 หรือ 180 เฮิร์ท เป็นต้น บางครั้งอาจจะใช้ความถี่ไฟฟ้าถึง 400 เฮิร์ท ซึ่งนิยมนำมาใช้กับงานประเภทการบิน และโดยมากจะเป็นมอเตอร์แบบเปิด เพื่อให้อากาศภายนอกระบายผ่านขดลวดได้ง่าย

 

ส่วนกรณีของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงนั้น ก็จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดขั้วแม่เหล็กขนาน มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดขั้วแม่เหล็กอนุกรม และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงชนิดวงจรขั้วแม่เหล็กผสม

ทั้งนี้ทางบริษัทฯ จะมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ เนื่องจากมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย

สินค้าแนะนำ !

มอเตอร์ชนิดใดแรงบิดมากที่สุด

High Efficiency Motor IE2, IE3

มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง CMG มาตรฐานออสเตรเลีย ประหยัดค่าไฟ ได้รับฉลากประสิทธิภาพสูง

ดูรายละเอียด

มอเตอร์ชนิดใดแรงบิดมากที่สุด

มอเตอร์กันระเบิด CMG

ผลิตภัณฑ์มอเตอร์กันระเบิด CMG สำหรับการใช้งานใน Zone1, Zone2 พร้อมใบรับรอง

ดูรายละเอียด

มอเตอร์ชนิดใดแรงบิดมากที่สุด

Promotion !

มอเตอร์ Marathon (IEC Standard) ราคาพิเศษ มีทั้งแบบ EFF1 และ EFF2 มีสินค้าพร้อมส่งทันที รับประกันสินค้า 18 เดือน

มอเตอร์ไฟฟ้าชนิดใดที่มีแรงบิดสูง

1. มอเตอร์แบบอนุกรม (Series Motor) คือมอเตอร์ที่ขดลวดสนามแม่เหล็กต่ออนุกรมกับ อาร์เมเจอร์ของมอเตอร์ มีคุณลักษณะเด่นคือให้แรงบิดสูง ส่วนใหญ่น าไปใช้กับรถไฟฟ้า เครนไฟฟ้า เครื่องดูด ฝุ่น เครื่องผสมอาหาร สว่านไฟฟ้าจักรเย็บผ้า เครื่องเป่าผม มอเตอร์ประเภทนี้เหมาะกับงานหนัก อย่างไรก็ตาม มอเตอร์ชนิดนี้เมื่อไม่มีโหลดรอบจะสูงมาก ...

High Torque คืออะไร

ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยี High Torque หรือ มอเตอร์กำลังสูงขึ้นมา ทำให้ช่วยยืดอายุการใช้งานลู่วิ่งได้นานมากขึ้น เนื่องจากลู่วิ่งไฟฟ้ามีกำลังส่งสูงขึ้น ทำให้ไม่ต้องทำงานหนักมากนั่นเอง

Induction Motor คือมอเตอร์ชนิดใด

มอเตอร์อะซิงโครนัส หรือที่เรียกว่ามอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำ (Induction Motor) ซึ่งจะมีขนาดตั้งแต่เล็กๆ ไปจนถึงขนาดหลายร้อยแรงม้า มอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำมีทั้งที่เป็นมอเตอร์ชนิด 1 เฟส (Single Phase) และชนิดที่เป็นมอเตอร์ 3 เฟส (Three Phase) มอเตอร์เหนี่ยวนำเป็นมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับที่มีคุณสมบัติที่ดี คือ มีความเร็วรอบ คงที่ ...

มอเตอร์แบบใดที่นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมหนัก

เอ.ซี มอเตอร์ (A.C. MOTOR) เป็นมอเตอร์ที่นิยมใช้กัน อย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากราคาไม่แพง และบำรุง รักษาง่าย จึงทำให้มอเตอร์ AC ถูกนำไปใช้งานอย่าง กว้างขวาง