ตัวกลางใดที่คลื่นเสียงไม่สามารถเดินทางผ่านได้

เสียงเดินทางได้อย่างไร เราทุกคนอาจเคยเรียนรู้กันมาแล้ว แต่ทว่าก็อาจลืมไปแล้วเช่นกัน ซึ่งความเข้าใจเรื่องการเดินทางของเสียงนั้น รู้หรือไม่ว่ามีส่วนสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการอย่างมาก เพื่อให้สามารถควบคุมดูแลเสียงให้เป็นไปได้ตามมาตรฐาน ดังนั้น ถ้าวันนี้เรายังไม่เข้าใจเรื่องราวการเดินทางของเสียงล่ะก็ นั่นหมายความว่า โรงงานอุตสาหกรรมของเราอาจจะกำลังละเลยการควบคุมเสียงให้ได้มาตรฐานอยู่ก็เป็นได้

ยิ่งเข้าใจการเดินทางของเสียงแค่ไหน โรงงานอุตสาหกรรมก็ยิ่งควบคุมเสียงได้ดีเยี่ยม!!

ไม่ใช่แค่คนเราหรอกนะครับที่เดินทางได้ เสียงเองก็สามารถเดินทางได้เหมือนกัน และเรื่องราวการเดินทางของเสียงนั้น ก็มีส่วนสำคัญของการดำเนินชีวิตคนเราในหลายๆ มิติ โดยมิติหนึ่งที่เกี่ยวพันกับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมก็คือ เรื่องของการควบคุมเสียงให้อยู่ในระดับที่ได้มาตรฐานและไม่เป็นอันตราย ซึ่งส่วนนี้ต้องอาศัยพื้นฐานของความเข้าใจเรื่องการเดินทางเสียงด้วย เพื่อให้เราสามารถควบคุมจัดการเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำความรู้จักเสียงกันหน่อย!!

ก่อนที่เราจะไปถึงเรื่องการเดินทางของเสียง เราก็ต้องเข้าใจเสียก่อนว่าเสียงคืออะไร เพราะแม้จะเป็นเรื่องที่คุ้นเคยและเคยเรียนมาแล้ว แต่เราก็อาจลืมไปเหมือนกันว่า “เสียง” นั้น คือ “คลื่นชนิดหนึ่ง” ที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ ซึ่งเมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียงขึ้น ผ่าน “ตัวกลาง” หรือที่เรียกว่า “การเดินทาง” ของเสียงมาถึงหูเราได้ในที่สุด

ตัวกลางของเสียงมีอะไรบ้าง?

อย่างที่บอกว่าเมื่อวัตถุสั่นสะเทือนและเกิดเป็นคลื่นเสียง เสียงจำเป็นจะต้องอาศัยตัวกลางในกลางเดินทางเพื่อมาถึงหูของเรา โดยตัวกลางของเสียงแบบพื้นฐานเลยก็คือ “อากาศ” ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ในสถานะก๊าซ ทั้งนี้ เสียงสามารถเดินทางผ่านตัวกลางได้หลากหลาย แต่สรุปได้เป็น 3 สถานะ ได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ นั่นหมายความว่า เสียงเดินทางผ่านเหล็ก ไม้ หิน ก็ได้ เดินทางผ่านน้ำก็ได้ อากาศก็ได้ แต่จะไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้ ดังนั้น ในจักรวาลอันไกลโพ้นที่ไม่มีอากาศ การพูดคุยกันบนนั้น จะไม่สามารถทำให้เราได้ยินเสียงกันได้

ความเร็วของเสียงจะลดลงไปตามชนิดตัวกลาง

ทราบกันไปแล้วว่าเสียงจะถึงหูเราได้ก็ด้วยการเดินทางผ่าน “ตัวกลาง” แต่ทั้งนี้สิ่งที่ควรทราบต่อไปอีกคือการเดินทางของเสียงผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน ต่างสถานะกันนั้น มีผลทำให้ “ความเร็ว” ของเสียงลดลง โดยเสียงสามารถเดินทางผ่าน ของแข็งได้ดีที่สุด คือเร็วที่สุด รองลงมาคือของเหลว และก๊าซตามลำดับ ทั้งนี้ การเดินทางได้ดีของเสียงผ่านตัวกลางนั้น ส่งผลต่อ “ความดัง” ของเสียง แต่ทั้งนี้ นอกจากตัวกลางแล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่มีผลทำให้ความเร็วของเสียงลดลง และความดังของเสียงลดลง อาทิ อุณหภูมิ ระยะทาง และความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ

ตัวกลางใดที่คลื่นเสียงไม่สามารถเดินทางผ่านได้

ประโยชน์ของความรู้เรื่องการเดินทางของเสียงกับการควบคุมเสียงในโรงงานอุตสาหกรรม

ความเข้าใจในเรื่องการเดินทางของเสียง ตัวกลาง และปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของเสียงตามที่กล่าวมานั้น มีส่วนสำคัญในการที่โรงงานอุตสาหกรรมจะนำความรู้นี้ไปปรับใช้กับการควบคุมเสียงให้อยู่ในระดับมาตรฐานและไม่เป็นอันตรายต่อพนักงานรวมถึงชุมชนใกล้เคียงด้วย

อธิบายได้ง่ายๆ เช่น หากเราทราบว่าโรงงานอุตสาหกรรมของเรานั้นมีเครื่องจักรที่ก่อให้เกิดเสียงดังจำนวนมาก สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการทำได้เลยก็คือ การวางตำแหน่งที่ตั้งของห้องเครื่องจักร ให้อยู่ห่างจากชุมชมให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะไม่สร้างเสียงรบกวนที่เป็นอันตราย เพราะระยะทางมีผลต่อความเร็วในการเดินทางของเสียง ซึ่งเมื่อเสียงเดินทางไกลขึ้น ก็จะลดระดับความดังลงจนได้มาตรฐานนั่นเอง

ความรู้เรื่องของการกั้นห้องกักเสียง การดูดซับเสียงด้วยฉนวน ก็ล้วนเป็นผลลัพธ์จากความเข้าใจเรื่องการเดินทางของเสียงทั้งสิ้น ว่าเสียงเดินทางได้ดีในวัสดุแบบไหน จริงอยู่ที่เสียงเดินทางผ่านของแข็งได้ดี แต่ของแข็งแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติไม่เหมือนกัน และการสร้างโครงสร้างล้อม สร้างกำแพงกันแหล่งกำเนิดเสียง ก็เป็นสิ่งที่ช่วยทำให้เสียงถูกกักเก็บ เดินทางใช้เวลานานขึ้น เพราะมีความหนาแน่นมาก ทำให้สามารถลดระดับของเสียงลงได้นั่นเอง

ความรู้และความเข้าใจเรื่องเสียง เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนและมีความสำคัญมากสำหรับการดำเนินชีวิต รวมถึงในการดำเนินธุรกิจด้วย พื้นฐานความเข้าใจในส่วนนี้จะสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจด้วยความคำนึงถึงความเป็นมิตรกับชุมชนและพนักงานมากขึ้น อันนำไปสู่การวางแผน การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง เพื่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม หรือเพื่อบริหารจัดการ กำกับดูแล และควบคุมเสียงจากกิจกรรมภายในโรงงานอุตสาหกรรมของตัวเองให้เหมาะสม ได้มาตรฐาน และส่งผลกระทบต่อสังคมน้อยที่สุด

การเคลื่อนที่ของเสียงผ่านตัวกลาง เสียงเดินทางผ่านตัวกลางได้ดีเรียงตามลำดับคือ ของแข็ง > ของเหลว > แก๊ส

ชนิดของตัวกลางอัตราเร็วของเสียง (เมตรต่อวินาที)อากาศ ที่ 20°C343ฮีเลียม ที่ 20°C927น้ำที่ 25°C1480น้ำแข็ง3200เหล็ก5200

คำถาม

  1. จากตารางเสียงเดินทางได้เร็วที่สุดในตัวกลางชนิดใดและตัวกลางนั้นอยู่ในสถานะใด
  2. ทำไมเรามักจะเห็นฟ้าแลบก่อนได้ยินเสียงฟ้าร้อง

การทดลองเสียงในสภาวะสุญญากาศ

มีกระดิ่งไฟฟ้าติดตั้งอยู่ภายในขวดโหล เมื่อทำการดูดอากาศออกเพื่อให้เกิดสภาวะสุญญากาศ ทดลองกดกระดิ่งไฟฟ้าปรากฎว่าไม่ได้ยินเสียง การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าเสียงไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้

ตัวกลางใดที่คลื่นเสียงไม่สามารถเดินทางผ่านได้

ส่วนประกอบของหู

ตัวกลางใดที่คลื่นเสียงไม่สามารถเดินทางผ่านได้
  1. ส่วนชั้นนอก
    1. ใบหูช่วยในการรับคลื่นเสียงเข้าสู่รูหู
    2. รูหูมีต่อมสร้างไขมันมาเคลือบ ช่วยป้องกันการติดเชื้อโรค ป้องกันแมลงและฝุ่นละอองเข้าสู่ภายใน
    3. เยื่อแก้วหูกั้นระหว่างหูชั้นนอกและชั้นกลางมีลักษณะเหมือนหนังหน้ากลองเมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือนก็จะส่งแรงดังกล่าวเข้าไปยังหูชั้นกลาง
  2. ส่วนชั้นกลาง
    1. กระดูกชิ้นเล็ก 3 ชิ้นได้แก่ กระดูกรูปค้อน ,กระดูกรูปทั่ง, กระดูกรูปโกลนกระดูกจะยึดติดกันเป็นระบบคานดีดคานงัดเพื่อนำคลื่นเสียงเข้าสู่หูชั้นใน
    2. กล้ามเนื้อ
      • หน้าที่ช่วยส่งผ่านและขยายเสียง
      • ช่วยป้องกันการกระเทือนต่อหูชั้นกลางและหูชั้นในเนื่องจากเสียงที่ดังมากกว่า 85 เดซิเบล
    3. ท่อยูสเตเชียน
      • เป็นท่อเชื่อมระหว่างหูชั้นกลางและหลังโพรงจมูก
      • หน้าที่ปรับความดันในหูชั้นกลางให้เท่ากับความดันบรรยากาศภายนอก
      • เป็นทางระบายสารคัดหลั่งต่างๆจากหูชั้นกลางลงสู่ช่องคอหลังโพรงจมูก
  3. ส่วนชั้นใน
    1. คอเคลีย
      • เป็นส่วนรับฟังเสียงที่ส่งต่อมากจากหูชั้นกลางและส่งผ่านไปยังเส้นประสาทหูเส้นที่ 8 เพื่อไปแปลผลยังสมอง
      • ลักษณะเป็นรูปก้นหอย
    2. ท่อรูปครึ่งวงกลม-เซมิเซอร์คิวลาร์แคแนลท่อที่ภายในบรรจุของเหลวที่ควบคุมการทรงตัวของร่างกาย

การสะท้อนของเสียง

  1. เสียงจัดเป็นคลื่นเมื่อเคลื่อนที่ไปตกกระทบกับผนังจะเกิดการสะท้อนกลับ โดยมุมตกกระทบ = มุมสะท้อน
  2. เสียงจะสะท้อนได้ดีในวัตถุผิวเรียบมากกว่าผิวขรุขระ
  3. ประเภทการสะท้อนของเสียงสมองของมนุษย์จะสามารถบันทึกเสียงที่ได้ยินให้ติดอยู่ที่ประสาทหูนานประมาณ 0.1 วินาที
    1. เสียงก้อง
      • เสียงที่สะท้อนกลับมาถึงหูผู้ตะโกนในเวลาน้อยกว่า 0.1 วินาที จะทำให้ได้ยินเสียงจากแหล่งจริงและเสียงสะท้อนต่อเนื่อง เนื่องจากสมองยังจดจำเสียงอยู่จึงเสมือนได้ยินเสียงต่อเนื่อง
      • มักจะเกิดกับห้องที่ผู้พูดหรือผู้ตะโกนอยู่ห่างจากผนังภายในระยะ 17 เมตร
    2. เสียงสะท้อน (เอคโค่)
      • เสียงที่สะท้อนกลับมาถึงหูผู้ตะโกนในเวลานานกว่า 0.1 วินาที จะทำให้ได้ยินเป็น 2 เสียง คือเสียงจากแหล่งจริงและเสียงสะท้อน
      • มักจะเกิดกับห้องที่ผู้พูดหรือผู้ตะโกนอยู่ห่างจากผนังมาก
    ตัวกลางใดที่คลื่นเสียงไม่สามารถเดินทางผ่านได้
    ตัวกลางใดที่คลื่นเสียงไม่สามารถเดินทางผ่านได้
    Designed by Brgfx / Freepik
  4. ตัวอย่างประโยชน์การสะท้อนของเสียง
    • ระบบโซนาร์ ส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตรวจหาความลึกของน้ำทะเล , หาฝูงปลา, ตรวจจับวัตถุใต้น้ำ แล้วจับสัญญาณเสียงที่สะท้อนกลับ
    • ระบบเสียงอัลตราโซนิค ส่งคลื่นความถี่สูงกว่า 20,000 Hz ในการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ และสะท้อนสัญญาณออกมา

ระดับเสียง

  • หมายถึง เสียงสูงหรือเสียงต่ำ
  • เกิดจากความถี่ของการสั่นสะเทือนของวัตถุวัตถุที่สั่นสะเทือนเร็วทำให้เกิดเสียงสูงวัตถุที่สั่นสะเทือนช้าทำให้เกิดเสียงต่ำ
  • หน่วย คือ เฮิรตซ์ (Hz) หรือ รอบต่อวินาที
  • กลองใหญ่จะเสียงทุ้มกว่ากลองเล็กหน้ากลองหย่อนจะเสียงทุ้มกว่าหน้ากลองตึงสายยาวจะเสียงทุ้มกว่าสายสั้นขลุ่ยลำกล้องยาวจะเสียงทุ้มกว่าขลุ่ยลำกล้องสั้น
  • ตัวกลางใดที่คลื่นเสียงไม่สามารถเดินทางผ่านได้

สัตว์ช่วงความถี่ที่ได้ยิน (Hz)มนุษย์20-20,000ค้างคาว2,000-110,000ช้าง16-12,000สุนัข67-45,000แมว45-64,000

ความดังของเสียง

  • หมายถึง ความรู้สึกได้ยินของมนุษย์ว่าดังมากเพียงใด
  • จะขึ้นกับความเข้มของเสียง ยิ่งความเข้มของเสียงมาก ความดังของเสียงยิ่งมาก
    ตัวกลางใดที่คลื่นเสียงไม่สามารถเดินทางผ่านได้
  • หน่วยวัดมาตรฐานความเข้มเสียงคือ เดซิเบล (dB)
  • หูของมนุษย์สามารถรับความดังที่0-120 dB
  • ความดังจะขึ้นกับ“กำลังเสียงที่แหล่งกำเนิด” และ“ระยะห่างระหว่างแหล่งกำเนิด-ผู้ฟัง”
    ตัวกลางใดที่คลื่นเสียงไม่สามารถเดินทางผ่านได้

ระดับความดังของเสียง

  • ระดับความดังของเสียงที่มนุษย์ได้ยินคือ0-120 เดซิเบล
  • องค์การอนามัยโลกได้กำหนดว่าระดับเสียงที่ดังกว่า 85 เดซิเบล ถือว่าเป็นอันตรายต่อมนุษย์
  • เสียงที่คาดว่าไม่ทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยินแบบถาวร คือเสียงระดับ 75 เดซิเบล
  • ควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ระดับความดังของเสียงมีค่ามากกว่า 75 เดซิเบล
  • หากต้องทำงานในที่เสียงดังหรือต้องใช้อุปกรณ์ที่เกิดเสียงดัง ควรจะสวมอุปกรณ์ป้องกันตัวอย่างเช่น เลื่อยยนต์จะให้เสียงที่ความดังระดับ109 เดซิเบล ถ้าฟัง 2 นาทีโดยไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันจะทำให้ประสาทหูบางส่วนถูกทำลาย
    ตัวกลางใดที่คลื่นเสียงไม่สามารถเดินทางผ่านได้



ในการเข้าใช้งานเวบไซต์ของเรา ท่านได้อ่าน เข้าใจ และยอมรับข้อกำหนดการใช้งาน นโยบายความเป็นส่วนตัว และนโยบายคุกกี้ของเราแล้ว โดยท่านสามารถอ่านนโยบายของเราได้ ที่นี่

ตัวกลางที่เสียงเดินทางผ่านได้มีอะไรบ้าง

เสียง เป็นคลื่นเชิงกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านสสารในสถานะก๊าซ ของเหลว และของแข็งก็ได้ แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้

คลื่นเสียงสามารถคลื่นที่ผ่านตัวกลางใดได้ดีที่สุด

ทราบกันไปแล้วว่าเสียงจะถึงหูเราได้ก็ด้วยการเดินทางผ่านตัวกลาง” แต่ทั้งนี้สิ่งที่ควรทราบต่อไปอีกคือการเดินทางของเสียงผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน ต่างสถานะกันนั้น มีผลทำให้ “ความเร็ว” ของเสียงลดลง โดยเสียงสามารถเดินทางผ่าน ของแข็งได้ดีที่สุด คือเร็วที่สุด รองลงมาคือของเหลว และก๊าซตามลำดับ ทั้งนี้ การเดินทางได้ดีของเสียงผ่าน ...

ตัวการใดที่คลื่นกลเคลื่อนที่ผ่านไม่ได้

ตัวกลางใดที่คลื่นกลเคลื่อนที่ผ่านไม่ได้ แก๊ส ของแข็ง

เสียงจะเดินทางได้เร็วมากที่สุดในตัวกลางใด

ถ้าแหล่งกำเนิดสั่นอยู่ในบริเวณที่เป็นสุญญากาศจะไม่มีเสียงเกิดขึ้น เพราะในบริเวณนั้นไม่มีโมเลกุลของตัวกลางที่จะอัดหรือขยาย เสียงจึงแผ่ออกมาจากแหล่งกำเนิดไม่ได้ เสียงเคลื่อนที่ได้เร็วในตัวกลางที่มีความหนาแน่นสูง ดังนั้น เสียงจึงเคลื่อนที่ได้เร็วในตัวกลางที่เป็นของแข็ง และมีอัตราเร็วลดลงในของเหลวและก๊าซตามลำดับ จึงสรุปได้ ...