เครื่องดนตรีชนิดใดทำหน้าที่ดำเนินทำนองหลักในวงดนตรีไทย

                    เป็นวงดนตรีที่ได้รับรูปแบบมาจากมอญแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมวงปี่พาทย์มอญเป็นเครื่องดนตรีประจำของชาวรามัญอย่างหนึ่ง ซึ่งบรรเลงในงานต่างๆไม่ว่าจะเป็นงานมงคลและงานอวมงคล แต่คนไทยในสมัยปัจจุบันยึดถือกันว่า ปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงได้แต่งานศพเท่านั้น(อวมงคล) ที่เป็นดังนี้ก็คงเป็นด้วยสมัยต่อมา ได้เห็นปี่พาทย์มอญออกบรรเลงแต่งานพระบรมศพ เมื่อออกพระเมรุ จึงทำให้เกิดความนิยม งานศพก็จะหาปี่พาทย์มอญมาประโคมเป็นเกียรติ กลายเป็นค่านิยมมาจนถึงทุกวันนี้ อีกประการหนึ่งคงจะเป็นด้วยเสียงเพลงของวงปี่พาทย์มอญมีความไพเราะเยือกเย็นระคนเศร้า เหมาะกับงานศพเป็นอย่างยิ่ง และเครื่องดนตรีก็มีความสวยงาม แกะลวดลายลงรักปิดทอง กลมกลืนกับตู้พระธรรมและเครื่องตั้งศพ

วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งเครื่องดนตรีส่วนใหญ่ในวงจะประกอบด้วยเครื่อง ดนตรีที่ใช้สายเป็นต้นกำเนินของเสียงดนตรี เช่น ซอด้วง ซออู้ จะเข้ แม้ว่า เครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงนั้นจะมีวิธีบรรเลงแตกต่างกัน เช่น สี ดีด หรือตี ก็ ตาม จึงเรียกวงดนตรีประเภทนี้ว่า "วงเครื่องสาย"

วงเครื่องสายอาจมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า เช่น ขลุ่ย หรือเครื่องกำกับ จังหวะ เช่น ฉิ่ง กลองบรรเลงด้วยก็ถือว่าอยู่ในวงเครื่องสายเช่นกันเพราะมีเป็น จำนวนน้อยที่นำเข้ามาร่วมบรรเลงด้วยเพื่อช่วยเพิ่มรสในการบรรเลงด้วยเพื่อ่ช่วยเพิ่มรสในการบรรเลงให้น่าฟังมากยิ่งขึ้น

วงเครื่องสายเกิดขึ้นในสมัยอยุธยา ซึ่งมีเครื่องสี คือ ซอ เครื่องดีด คือ จะเข้ และ กระจับปี่ ผสมในวง ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ

1. วงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยว

เป็นวงเครื่องสายที่มีเครื่องดนตรีผสมเพียงอย่างละ 1 ชิ้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วงเครื่องสายไทยวงเล็ก เครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวนี้ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญและถือเป็นหลักของวงเครื่องสายไทยที่จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด เสียมิได้ เพราะแต่ละสิ่งล้วนดำเนินทำนองและมีหน้าที่ต่าง ๆ กัน เมื่อผสมเป็น วงขึ้นแล้ว เสียงและหน้าที่ของเครื่องดนตรีแต่ละอย่างก็จะประสมประสานกัน เป็นอันดี เครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวซึ่งถือเป็นหลักคือ

1. ซอด้วง เป็นเครื่องสีที่มีระดับเสียงสูงและกระแสเสียงดัง มีหน้าที่ดำเนิน ทำนองเพลง เป็นผู้นำวง และเป็นหลักในการดำเนินทำนอง

2. ซออู้ เป็นเครื่องสีที่มีระดับเสียงทุ้ม มีหน้าที่ดำเนินทำนองหยอกล้อ ยั่วเย้า กระตุ้นให้เกิดความครึกครื้นสนุกสนานในจำพวกดำเนินทำนองเพลง

3. จะเข้ เป็นเครื่องดีดดำเนินทำนองเพลงเช่นเดียวกับซอด้วง แต่มีวิธีการบรรเลงแตกต่าง ออกไป

4. ขลุ่ยเพียงออซึ่งเป็นขลุ่ยขนาดกลาง เป็นเครื่องเป่าดำเนินทำนองโดยสอดแทรกด้วย เสียงโหยหวนบ้าง เก็บบ้าง ตามโอกาส

5. โทนและรำมะนา เป็นเครื่องตีที่ขึงหนังหน้าเดียว และทั้ง 2 อย่างจะต้องตีให้สอดสลับ รับกันสนิทสนมผสมกลมกลืนเป็นทำนองเดียวกัน มีหน้าที่ควบคุม

จังหวะหน้าทับ บอกรสและสำเนียงเพลงในภาษาต่าง ๆ และกระตุ้นเร่งเร้าให้เกิดความ สนุกสนาน

6. ฉิ่ง เป็นเครื่องตรี มีหน้าที่ควบคุมจังหวะย่อยให้การบรรเลงดำเนินจังหวะไปโดย สม่ำเสมอ หรือช้าเร็วตามความเหมาะสม เครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวอาจเพิ่มเครื่องที่จะทำให้เกิดความ ไพเราะเหมาะสมได้อีก เช่น กรับและฉาบเล็กสำหรับตีหยอกล้อยั่วเย้าในจำพวกกำกับจังหวะ โหม่งสำหรับช่วยควบคุมจังหวะใหญ่

2. วงเครื่องสายไทยเครื่องคู่

คำว่า เครื่องคู่ ย่อมมีความหมายชัดเจนแล้วว่าเป็นอย่างละ 2 ชิ้น แต่สำหรับการ ผสมวงดนตรีจะต้องพิจารณาใคร่ครวญถึงเสียงของเครื่องดนตรีที่จะผสมกันนั้น ว่าจะบังเกิดความไพเราะหรือไม่อีกด้วย เพราะฉะนั้นวงเครื่องสายไทยเครื่องคู่ จึงเพิ่มเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวขึ้นเป็น 2 ชิ้น แต่เพียงบางชนิด คือ


1. ซอด้วง 2 คัน แต่ทำหน้าที่ผู้นำวงเพียงคันเดียว อีกคันหนึ่งเป็นเพียงผู้ช่วย

2. ซออู้ 2 คัน ถ้าสีเหมือนกันได้ก็ให้ดำเนินทำนองอย่างเดียวกัน แต่ถ้าสี เหมือนกันไม่ได้ก็ให้คันหนึ่งหยอกล้อห่าง ๆ อีกคันหนึ่งหยอกล้อยั่วเย้าอย่างถี่ หรือจะผลัดกันเป็นบางวรรคบางตอนก็ได้

3. จะเข้ 2 ตัว ดำเนินทำนองแบบเดียวกัน

4. ขลุ่ย 2 เลา เลาหนึ่งเป็นขลุ่ยเพียงอออย่างในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยว

ส่วนเลาที่เพิ่มขึ้นเป็นขลุ่ยหลีบซึ่งมีขนาดเล็กกว่าขลุ่ยเพียงออ และมีเสียงสูงกว่า

ขลุ่ยเพียงออ 3 เสียงมีหน้าที่ดำเนินทำนองหลบหลีกปลีกทางออกไป ซึ่งเป็นการ ยั่วเย้าไปในกระบวนเสียงสูง

สำหรับโทน รำมะนา และฉิ่ง ไม่เพิ่มจำนวน ส่วนฉาบเล็กและโหม่ง ถ้าจะใช้ก็คงมีจำนวนอย่างละ 1 ชิ้นเท่าเดิม ตั้งแต่โบราณมา วงเครื่องสายไทยมีอย่างมากก็ เพียงเครื่องคู่ดังกล่าวแล้วเท่านั้น ในสมัยหลังได้มีผู้คิดผสมวงเป็น วงเครื่องสาย ไทยวงใหญ่ ขึ้น โดยเพิ่มเครื่องบรรเลงจำพวกดำเนินทำนอง เช่น ซอด้วง ซออู้ และขลุ่ย ขึ้นเป็นอย่างละ 3 ชิ้นบ้าง 4 ชิ้นบ้าง การจะผสมเครื่องดนตรีชนิดใด เข้ามาในวงนั้นย่อมกระทำได้ ถ้าหากเครื่องดนตรีนั้นมีเสียงเหมาะสมกลมกลืน กับเครื่องอื่น ๆ แต่จะเพิ่มเติมในส่วนเครื่องกำกับจังหวะ เช่น โทน รำมะนา ฉิ่ง ฉาบ และโหม่ง ไม่ได้ ได้แต่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไป เช่น ใช้กลองแขกแทนโทน รำมะนา

3. วงเครื่องสายผสม

เป็นวงเครื่องสายที่นำเอาเครื่องดนตรีต่างชาติเข้ามาร่วมบรรเลงกับเครื่องสาย ไทย การเรียกชื่อวงเครื่องสายผสมนั้นนิยมเรียกตามชื่อของเครื่องดนตรีต่างชาติ ที่นำเข้ามาร่วมบรรเลงในวง เช่น นำเอาขิมมาร่วมบรรเลงกับ ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ย และเครื่องกำกับจังหวะต่าง ๆ แทนจะเข้ ก็เรียกว่า "วงเครื่องสายผสมขิม" หรือ นำเอาออร์แกนหรือไวโอลินมาร่วมบรรเลงด้วยก็เรียกว่า "วงเครื่องสายผสม ออร์แกน" หรือ "วงเครื่องสายผสมไวโอลิน" เครื่องดนตรีต่างชาติที่นิยมนำมา บรรเลงเป็นวงเครื่องสายผสมนั้นมีมากมายหลายชนิด เช่น ขิม ไวโอลิน ออร์แกน เปียโน แอกคอร์เดียน กู่เจิง เป็นต้น

4. วงเครื่องสายปี่ชวา

เป็นวงเครื่องสายไทยทั้งวงบรรเลงประสมกับวงกลองแขก โดยไม่ใช้โทนและ

รำมะนา และใช้ขลุ่ยหลีบแทนขลุ่ยเพียงออกเพื่อให้เสียงเข้ากับปี่ชวาได้ดี เดิมเรียกว่า วง กลองแขกเครื่องใหญ่ วงเครื่องสายปี่ชวาเกิดขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการบรรเลงเครื่องสายปี่ชวานั้น นักดนตรีจะต้องมีไหวพริบและความ เชี่ยวชาญในการบรรเลงเป็นพิเศษ โดยเฉพาะฉิ่งกำกับจังหวะจะต้องเป็นคนที่มีสมาธิดี ที่สุดจึงจะบรรเลงได้อย่างไพเราะ เพลงที่วงเครื่องสายปี่ชวานิยมใช้บรรเลงเป็นเพลง โหมโรง ได้แก่ เพลงเรื่องชมสมุทร เพลงโฉลก เพลงเกาะ เพลงระกำ เพลงสะระหม่า แล้วออกเพลงแปลง เพลงออกภาษา แล้วกลับมาออกเพลงแปลงอีกครั้งหนึ่ง

เครื่องดนตรีชนิดใดมีหน้าที่ดำเนินทำนองหลักของวง

ปี่ใน ดำเนินทำนอง หน้าที่ดำเนินทำนองและช่วยนำวงด้วย ๓. มีเครื่องดนตรีที่ผสมในวง คือ ระนาดเอก ๖. ฆ้องวงเล็ก ตะโพน ๘. กลองทัด ๔. นิ่ง ๆ ๗.

เครื่องดนตรีที่ใช้ในวงเครื่องสายมีอะไรบ้าง

วงเครื่องสายเป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทดีด และสีเป็นหลัก ของวง และมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี เป็นเครื่องทำจังหวะ ส่วนเครื่องเป่านั้นนำมา.
ซอด้วง.
จะเข้.
ซออู้.
ขลุ่ยเพียงออ.
โทน - รำมะนา.

เครื่องดนตรีไทยในข้อใดบรรเลงเป็นทำนองหลักในวงปี่พาทย์

- วงปี่พาทย์เครื่องห้า ( วงปี่พาทย์ไม้แข็ง).
ปี่ มีหน้าที่เป่าบรรเลงทำนอง.
ฆ้องวงมีหน้าที่ ดำเนินทำนองหลัก.
ตะโพนมีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ.
กลองทัด (ใบเดียว) มีหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ.
ฉิ่ง มีหน้าที่กำกับจังหวะย่อย (จังหวะหนักเบา).

เครื่องดนตรีในข้อใดที่ถือว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นผู้นำของวงดนตรีไทย

ระนาดเอกเป็นผู้นำวงในวงเครื่องสาย จะเข้ และซออู้ ทำหน้าที่เป็นเครื่องนำ ตะโพนไทยทำหน้าที่ขึ้นเพลงสาธุการ <p>ฆ้องโหม่งเป็นเครื่องดนตรีประเภททำทำนอง</p>