อุปกรณ์ ใด เป็น ทั้ง หน่วย รับ เข้า ข้อมูล และ หน่วย ส่ง ออก ข้อมูล

หน่วยรับข้อมูล

         หน่วยรับข้อมูล (input unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่คอมพิวเตอร์ เช่น ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ เป็นต้น โดยจะแปลงข้อมูลให้ไปอยู่ในรูปของสัญญาณไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ โดยนำมาจัดเก็บที่หน่วยความจำหลัก และใช้ประมวลผลได้ อุปกรณ์หน่วยรับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้

อุปกรณ์ ใด เป็น ทั้ง หน่วย รับ เข้า ข้อมูล และ หน่วย ส่ง ออก ข้อมูล

2.1 แป้นพิมพ์

แป้นพิมพ์ (keyboard) ทำหน้าที่รับข้อมูลโดยการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด ประกอบด้วยปุ่มสำหรับพิมพ์อักขระ ตัวเลข เรียกใช้ฟังก์ชันของซอฟแวร์และควบคุมการทำงานร่วมกับปุ่มอื่นๆ

 

อุปกรณ์ ใด เป็น ทั้ง หน่วย รับ เข้า ข้อมูล และ หน่วย ส่ง ออก ข้อมูล

      - แป้นพิมพ์ที่ออกแบบตามหลักการยศาสตร์ (ergonomic keyboard) เป็นแป้นพิมพ์ที่ออกแบบการจัดวางปุ่มกดตามสรีระของมือ  เพื่อช่วยลดอาการเหมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือ  ที่เกิดจากการพิมพ์งานเป็นเวลานานๆ  รวมทั้งมีปุ่มสำหรับเลือกฟังก์ชันการใช้งานที่ครบถ้วน  เช่น  ปุ่มครบคุมระบบมัลติมีเดียไม่ว่าจะเป็นการฟังเพลง  การเล่นไฟล์วิดีโอต่างๆ  สามารถทำได้อย่างสะดวก  เป็นต้น

 

อุปกรณ์ ใด เป็น ทั้ง หน่วย รับ เข้า ข้อมูล และ หน่วย ส่ง ออก ข้อมูล

      - แป้นพิมพ์ไร้สาย (cordless keyboard) เป็นแป้นพิมพ์ที่สามารถส่งผ่านข้อมูลโดยเทคโนโลยีไร้สายและทำงานโดยใช้พลังงานแบตเตอรี่ ทำให้เกิดวามสะดวกในการเคลื่อนย้ายไปวางยังตำแหน่งต่างๆ ที่อยู่ในรัศมีของสัญญาณนอกเหนือจากโต๊ะทำงานได้

 

อุปกรณ์ ใด เป็น ทั้ง หน่วย รับ เข้า ข้อมูล และ หน่วย ส่ง ออก ข้อมูล

      - แป้นพิมพ์พกพา (portable keyboard) เป็นแป้นพิมพ์ที่ออกแบบสำหรับใช้ร่วมกับเครื่องพีดีเอ เนื่องจากการพิมพ์ข้อมูลลงบนแป้นพิมพ์ของเครื่องพีดีเอนั้นไม่สะดวกเพราะมีแป้นพิมพ์ที่มีขนาดเล็ก จึงมีการสร้างแป้นพิมพ์ที่เหมาะสมกับเครื่องพีดีเอ ซึ่งสามารถพกพาไปยังที่ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

 

อุปกรณ์ ใด เป็น ทั้ง หน่วย รับ เข้า ข้อมูล และ หน่วย ส่ง ออก ข้อมูล

      - แป้นพิมพ์เสมือน (virtual keyboard) เป็นแป้นพิมพ์ที่ออกแบบสำหรับใช้ร่วมกับเครื่องพีดีเอเช่นเดียวกันกับแป้นพิมพ์พกพา แต่ต่างกันตรงที่มีการจำลองภาพให้เสมือนแป้นพิมพ์จริงโดยอาศัยการทำงานของแสงเลเซอร์ยิงลงไปบนโต๊ะหรืออุปกรณ์รองรับสัญญาณที่เป็นพื้นผิวเรียบ ซึ่งเมื่อต้องการใช้งานสามารถที่จะพิมพ์หรือป้อนข้อมูลที่เห็นเป็นภาพเสมือนแผงแป้นพิมพ์นั้นเข้าไปได้เลย


อุปกรณ์ ใด เป็น ทั้ง หน่วย รับ เข้า ข้อมูล และ หน่วย ส่ง ออก ข้อมูล

2.2 เมาส์

เมาส์ (mouse) เป็นอุปกรณ์รับเข้าที่ใช้เลื่อนตัวชี้ตำแหน่ง ผู้ใช้สามารถบังคับเมาส์เพื่อควบคุมตัวชี้ตำแหน่งไปมาบนหน้าจอภาพได้ ปกติตัวชี้ตำแหน่งของเมาส์จะเป็นรูปลูกศร ซึ่งจะเกิดโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้รวดเร็วกว่าแป้นพิมพ์ เมาส์ทั่วไปมี  3 ประเภท ดังนี้

      - เมาส์แบบแสงหรือออปติคัลเมาส์ ( Optical mouse ) การใช้เมาส์แบบทั่วไปที่ใช้ลูกบอล มีข้อเสียคือ เมื่อใช้ไปนาน ๆ ลูกบอลจะกลิ้งผ่านและเก็บเอาฝุ่นละอองเข้าไปด้วย ฝุ่นเหล่านี้จะจับตัวกันหนาขึ้น ส่งผลให้กลไกในการทำงานผิดเพี้ยนไปมาก จึงมีการสร้างเมาส์แบบใหม่ขึ้นมาเรียกว่า เมาส์แบบแสง หรือ ออปติคอลเมาส์ เพื่อใช้แก้ปัญหานี้ เมาส์แบบใหม่นี้ทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ล้อหมุนแต่ใช้แสงไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง วงจรภายในจะวิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไปเมื่อเลื่อนเมาส์และแปลงทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่ง ซึ่งปัจจุบันมีทั้งที่เป็นแบบต่อกับคอมพิวเตอร์โดยใช้สายและแบบไม่ใช้สาย

อุปกรณ์ ใด เป็น ทั้ง หน่วย รับ เข้า ข้อมูล และ หน่วย ส่ง ออก ข้อมูล

      - เมาส์แบบทั่วไป (mechanical mouse) เป็นเมาส์ที่ได้รับการออกแบบโดยใช้ลูกบอลเป็นตัวจับทิศทางที่เมาส์เลื่อนไป ลูกบอลของเมาส์มีลักษณะเป็นลูกกลม ๆ ทำจากยางกลิ้งอยู่ด้านล่าง ซึ่งจะลากผ่านแผ่นรองเมาส์ ( mouse pad ) และกลไกภายในจะจับได้ว่ามีการเลื่อนไปมากน้อยแค่ไหนและในทิศใด สำหรับส่วนบนจะมีปุ่มให้เลือกกดประมาณ 2-3 ปุ่ม ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต บางแบบอาจมีปุ่มล้อที่หมุน ( scroll ) และกดได้ เพื่อควบคุมการทำงานขึ้นลงของสโครลบาร์ในหน้าต่างโปรแกรมบางประเภท

 

อุปกรณ์ ใด เป็น ทั้ง หน่วย รับ เข้า ข้อมูล และ หน่วย ส่ง ออก ข้อมูล

      - เมาส์แบบไร้สาย (cordless หรือ wireless mouse) เกิดจาการนำเมาส์แบบทางกลมาพัฒนาร่วมกับเมาส์แบบใช้แสง มีลักษณะการทำงานด้วยการส่งสัญญาณจากเมาส์ไปยังเครื่องรับสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ จึงทำให้เมาส์แบบนี้ไม่มีสายต่อจากคอมพิวเตอร์เหมือนเมาส์แบบทางกลและเมาส์แบบใช้แสง

 

อุปกรณ์ ใด เป็น ทั้ง หน่วย รับ เข้า ข้อมูล และ หน่วย ส่ง ออก ข้อมูล

การเลือกซื้อเมาส์

- ควรเลือกเมาส์ที่มีการออกแบบให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน

- ควรเลือกเมาส์ที่มีขนาดเหมาะสมกับสรีระของผู้ใช้

- ควรทดลองเมาส์ก่อนซื้อ เพื่อตรวจสอบลูกบอลและปุ่มกดบนเมาส์ว่าสะดวกต่อการใช้งานหรือไม่

การดูแลรักษาเมาส์

- ควรวางเมาส์บนแผ่นรองเมาส์ทุกครั้งที่ใช้งานและทำความสะอาดแผ่นรองเมาส์โดยเช็ดด้วยผ้าแห้งอย่างสม่ำเสมอ

- ควรทำความสะอาดบริเวณลูกบอลและก้านพลาสติกในตัวเมาส์อย่างสม่ำเสมอโดยนำลูกบอลมาเช็ดด้วยผ้าแห้ง และใช้สำลีพันก้านชุบแอลกอฮอล์หมาดๆ เช็ดที่ก้านพลาสติก

          2.3 สแกนเนอร์

          สแกนเนอร์ (scanner) คืออุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพ จากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์ สามารถแสดง, เรียบเรียง, เก็บรักษาและผลิตออกมาได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย, ข้อความ, ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ

       - สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet - Fed Scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้ผ่านหัวสแกน ซึ่งอยู่กับที่ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบเลื่อนกระดาษ คือสามารถอ่านภาพที่เป็นแผ่นกระดาษได้เท่านั้น ไม่สามารถ อ่านภาพจากสมุดหรือหนังสือได้

อุปกรณ์ ใด เป็น ทั้ง หน่วย รับ เข้า ข้อมูล และ หน่วย ส่ง ออก ข้อมูล

      - สแกนเนอร์แท่นเรียบ (Flatbed Scanner) สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้าย ๆ กับเครื่องถ่ายเอกสาร เราแค่วางหนังสือหรือภาพไว้ บนแผ่นกระจกใส และเมื่อทำการสแกน หัวสแกนก็จะเคลื่อนที่จากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบแท่นนอนคือแม้ว่าอ่านภาพจากหนังสือได้ แต่กลไกภายในต้องใช้ การสะท้อนแสงผ่านกระจกหลายแผ่น ทำให้ภาพมีคุณภาพไม่ดีเมื่อเทียบกับแบบแรก

อุปกรณ์ ใด เป็น ทั้ง หน่วย รับ เข้า ข้อมูล และ หน่วย ส่ง ออก ข้อมูล

      - สแกนเนอร์มือถือ (Hand - Held Scanner)สแกนเนอร์แบบนี้ผู้ใช้ต้องเลื่อนหัวสแกนเนอร์ไป บนหนังสือหรือรูปภาพเอง สแกนเนอร์ แบบมือถือได้รวม เอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกันและมีราคาถูก เพราะกลไกที่ใช้ไม่ สลับซับซ้อน แต่ก็มีข้อจำกัด ตรงที่ว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพแค่ไหน ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอ ในการเลื่อนหัวสแกนเนอร์ของผู้ใช้งาน นอกจากนี้หัวสแกนเนอร์แบบนี้ยังมีหัวสแกนที่มีขนาดสั้น ทำให้ อ่านภาพบนหน้าหนังสือขนาดใหญ่ได้ไม่ครบ 1 หน้า ทำให้ต้องอ่านหลายครั้งกว่าจะครบหนึ่งหน้า ซึ่งปัจจุบันมีซอฟต์แวร์หลายตัว ที่ใช้กับสแกนเนอร์ แบบมือถือ ซึ่งสามารถต่อภาพที่เกิดจากการสแกนหลายครั้งเข้าต่อกัน

อุปกรณ์ ใด เป็น ทั้ง หน่วย รับ เข้า ข้อมูล และ หน่วย ส่ง ออก ข้อมูล

การเลือกซื้อสแกนเนอร์

- ควรเลือกที่มีความละเอียดเหมาะแก่การไปใช้งาน

- ควรเลือกยี่ห้อที่มีศูนย์ผลิตและประกันสินค้า

การดูแลรักษาสแกนเนอร์

- ควรทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยการนำผ้าสะอาดไม่มีขนชุบน้ำหมาดๆมาเช็ดกระจกของเครื่องสแกนเนอร์

- ปิดเครื่องทุกครั้งหลังใช้งาน

- หากกระดาษติดอย่ากระชาก ให้ค่อยๆดึงออก

- ควรใช้สแกนเนอร์เป็นประจำ เพื่อกระตุ้นการทำงานของเครื่อง

2.4 อุปกรณ์จับภาพ

          อุปกรณ์จับภาพ (image capturing devices) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บภาพต้นฉบับในรูปดิจิทัล อุปกรณ์จับภาพมี 2 ชนิด คือ

      - กล้องถ่ายภาพดิจิทัล (digital camera) มีรูปร่างและการทำงานคล้ายกับกล้องถ่ายภาพ แต่ภาพนิ่งได้จากกล้องดิจิทัลจะเป็นไฟล์ในหน่วยความจำของกล้องแทนฟิล์มซึ่งผู้ใช้สามารถดูภาพจากกล้องได้ทันที

อุปกรณ์ ใด เป็น ทั้ง หน่วย รับ เข้า ข้อมูล และ หน่วย ส่ง ออก ข้อมูล

      - กล้องถ่ายวิดีโอดิจิทัล (digital video camera) มีรูปร่างและการทำงานคล้ายกับกล้องวิดีโอ แต่ภาพเคลื่อนไหวความจำของกล้องแทนฟิล์ม นอกจากนี้กล้องถ่ายวิดีโอดิจิทัลยังสามารถจับภาพนิ่งได้ด้วย

อุปกรณ์ ใด เป็น ทั้ง หน่วย รับ เข้า ข้อมูล และ หน่วย ส่ง ออก ข้อมูล

         การเลือกซื้ออุปกรณ์จับภาพ

 - ควรเลือกที่มีความละเอียดของภาพที่เหมาะกับการไปใช้งาน

 - ควรเลือกยี่ห้อที่มีศูนย์บริการและประกัน

การดูแลรักษาอุปกรณ์จับภาพ

 - ควรทำความสะอาดเลนส์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้มีฝุ่นจับบริเวณเลนส์กล้องโดยใช้ลูกยางเป่าฝุ่นละอองออกจากหน้าเลนส์

- ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น ปราศจากฝุ่นละออง

         - ควรนำกล้องมาถ่ายภาพประมาณเดือนละ 1-2 ครั้งเพื่อกระตุ้นการทำงานและยืดอายุการใช้งาน

           2.5 อุปกรณ์รับเสียง

           อุปกรณ์รับเสียง (auto – input devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลเสียง ทั้งเสียงพูด เสียงเพลง และเสียงอื่นๆ จากนั้นอุปกรณ์จะแปลงสัญญาณเสียงที่มนุษย์เข้าใจให้อยู่ในรูปไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์ไปประมวลผลได้ อุปกรณ์รับเสียงที่นิยมใช้ ได้แก่ ไมโครโฟน

การเลือกซื้ออุปกรณ์รับเสียง

- ควรเลือกซื้อให้เหมาะสมกับการใช้งาน

- ควรเลือกซื้อยี่ห้อที่มีศูนย์บริการและการรับประกัน

การดูรักษาอุปกรณ์รับเสียง

- ควรใช้ไมโครโฟนตรงตามลักษณะของการใช้งาน

- ควรวางไมโครโฟนเบาๆ และไม่ควรกระแทกไมโครโฟนกับพื้น

- ควรทำความสะอาดทุกครั้งหลังจากการใช้งาน โดยนำผ้าแห้งเช็ดให้สะอาดเพื่อป้องกันฝุ่นละออง และเช็ดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อสัปดาห์ละครั้ง