หน่วยงานใดที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกร

หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกษตร อินทรีย์1.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

               กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นับ เป็นหน่วยงานหลักของการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ตามนโยบายของรัฐบาลและแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ดังกล่าวข้างต้น
           หน่วยงานภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการพัฒนาเกษตรอินทรีย์โดยตรงได้แก่
                 -  สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                 -  กรมส่งเสริมการเกษตร
                 -  กรมวิชาการเกษตร
                 -  กรมพัฒนาที่ดิน
                 -  กรมประมง
                 -  กรมปศุสัตว์
                 -  สำนักงานมาตรฐาน สินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

               และมีหน่วยงานที่สนับสนุนได้แก่
                 -  กรมส่งเสริมสหกรณ์
                 -  กรมชลประทาน
                 -  สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม
                 -  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

           1.1  สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์

               กองนโยบายเทคโนโลยีการเกษตร และเกษตรกรรมยั่งยืน  เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านนโยบายและแผนการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนซึ่ง รวมถึงการเกษตรอินทรีย์ (กลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืน โทร. 0-2282-1124)

            1.2  กรมส่งเสริมการเกษตร

               ภายในกรมส่งเสริมการเกษตร มีหน่วยราชการที่ทำงานการพัฒนาการเกษตรอินทรีย์โดยตรง ได้แก่ กลุ่มงานพัฒนาเกษตรอินทรีย์ สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร
(โทร. 0-2955-1515)  นอกจากนี้ในกรมส่งเสริมการเกษตรมีหน่วยงานที่จะสนับสนุนการเกษตรอินทรีย์ได้ อย่างมากคือ ส่วนบริหาร
ศัตรูพืช สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรซึ่งศูนย์บริหารศัตรูพืช จำนวน 9 ศูนย์ ดังนี้
                     ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ จังหวัดชัยนาท
                     ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ จังหวัดสุพรรณบุรี
                     ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ จังหวัดชลบุรี
                     ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ จังหวัดขอนแก่น
                     ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ จังหวัดนครราชสีมา
                     ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ จังหวัดสงขลา
                     ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
                     ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ จังหวัดเชียงใหม่
                     ศูนย์บริหารศัตรูพืชที่ จังหวัดพิษณุโลก

                ศูนย์บริหารศัตรูพืชเหล่านี้  จะมีบทบาทอย่างมากในการสนับสนุนการดำเนินงาน เกษตรอินทรีย์ของจังหวัดต่างๆ    โดยเฉพาะในด้านของการอารักขาพืชด้วยชีววิธี  ศูนย์เหล่านี้   จะให้ความรู้แก่เกษตรกรในด้านการใช้แมลงและสิ่งมีชีวิต ต่างๆ   เช่นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช  รวมทั้งมีหน้าที่ในการผลิตและขยาย
พันธุ์สิ่งมีชีวิตเหล่านี้เพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้ในการอารักขาพืช ด้วยชีววิธี  อันจะเป็นการช่วยให้เกษตรอินทรีย์มีความสำเร็จได้มาก

            1.3  กรมวิชาการเกษตร

               โครงการเกษตรอินทรีย์ และสถาบันพืชอินทรีย์ เป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นเป็นการภายใน เพื่อเป็นแกนในการดำเนินงานด้านเกษตรอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร โดยอยู่
ภายใต้การกำกับดูแล ของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการผลิตพืช มีภารกิจหลัก 2 ด้านดังนี้

 1.3.1 การตรวจสอบและออกใบรับรองการผลิตพืชอินทรีย์
                            กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์    เริ่มให้การรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ เมื่อปี พ.ศ. 2545   ตามมาตรฐานการผลิตพืชอินทรีย์ของประเทศไทย (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2544)    โดยเกษตรกรหรือผู้ผลิต จะต้องยื่นใบสมัครขอใบรับรองการผลิตพืชอินทรีย์  ที่โครงการเกษตรอินทรีย์ ตึกกสิกรรม ชั้น กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 0-2579-7520    โทรสาร 0-2940-5472  หรือหน่วยงานของกรมวิชาการเกษตรที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค   หลังจากนั้นผู้ตรวจสอบจะออกไปตรวจสอบพื้นที่การผลิต    แล้วรายงานให้คณะอนุกรรมการตรวจสอบออกใบรับรองมาตรฐานปัจจัยการผลิตและผลผลิตพืชอินทรีย์  กรมวิชาการเกษตร    เพื่อพิจารณาอนุมัติออกใบรับรองเป็นประกาศนียบัตรทั้งภาษาไทย     และภาษาอังกฤษ พร้อมกับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์ Organic Thailand พิมพ์บนบรรจุภัณฑ์ เพื่อแสดงว่าเป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์ใบรับรองมีอายุเพียง  1 ปี ดังนั้นจึงต้องยื่นใบสมัครขอต่ออายุทุกปี  ในขณะนี้การขอรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ จากกรมวิชาการเกษตร    ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่าย   หรือค่าธรรมเนียมใดๆ ทั้งสิ้น

ตั้งแต่ปี 2545 จนถึง   ณ วันที่ กันยายน 2549   ออกใบรับรองการผลิตพืชอินทรีย์และปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกร / ผู้ผลิต จำนวนรวมทั้งสิ้น 2,209 ราย พื้นที่การผลิต 41,253 ไร่ แบ่งเป็นสัดส่วนได้ดังนี้
                            1.  ข้าวหอมมะลิ                                    68%
                            2   ผัก                                                  12%
                            3.  ผลไม้                                               8%
                            4.  สมุนไพร ชาและพืชอื่นๆ                   28%

 

            1.3.2  การฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
                           ให้บริการในการเป็นวิทยากร และให้คำปรึกษาในการจัดหลักสูตรการฝึกอบรมเกษตรอินทรีย์ และหลักสูตรการตรวจรับรองพืชอินทรีย์                           
            1.4  กรมพัฒนาที่ดิน

               เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ การวิจัย พัฒนา ส่งเสริม   และขยายผลการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมีและสารเคมี   ทั้งยังเป็นหน่วยงานผลิตผลิตภัณฑ์ 9 สิ่งมหัศจรรย์  ที่เป็นผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งประกอบด้วย พืชปุ๋ยสดเพื่อการปรับปรุงบำรุง หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ  ปุ๋ยหมักสูตร พด.1   ปุ๋ยอินทรีย์น้ำสูตร พด.2 จุลินทรีย์ป้องกันโรครากและโคนเน่าของพืชสูตร พด.สารปรับปรุงบำรุงดินสูตร พด.สารกำจัดวัชพืชสูตร พด.5 สารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นสูตร พด.6 และ
สารป้องกันแมลงศัตรูพืชสูตร พด.7 นอกจากนี้ยังรับผิดชอบการรับรองมาตรฐานสินค้าประเภทปัจจัยการผลิตทางการ เกษตรจำนวน 11 ชนิด  ได้แก่จุลินทรีย์สำหรับทำปุ๋ยหมัก  จุลินทรีย์สำหรับทำปุ๋ยอินทรีย์  จุลินทรียป้องกันโรครากและโคนเน่าของพืช  ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ยิบซั่ม ปูนมาร์ล หินปูนบด โดโลไมท์ ปูนขาว สารสกัดอินทรีย์ ทั้งนี้ให้ติดต่อ ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน  กรมพัฒนาที่ดิน โทร. / โทรสาร 0-2579-0679 E-mail:   หรือที่สำนักงานพัฒนา
ที่ดินเขต  สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดที่อยู่ใกล้บ้านทั่วประเทศ

           1.5  สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติ

               เป็นหน่วยงานระดับกรมที่ได้ มีจากการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2545 มีภารกิจเป็นหน่วยงานกลางเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าเกษตร สินค้าแปรรูป และอาหารของประเทศโดยการ
กำหนดมาตรฐานและการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร  สินค้าแปรรูป และอาหารทั้งแต่ระดับไร่นาจนถึงผู้บริโภค  การเจรจาเพื่อแก้ปัญหาการค้าเชิงเทคนิค   หน่วยงานนี้ได้เป็น
ผู้กำหนดมาตรฐานระบบการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ทั้งพืช สัตว์และประมง  เป็นมาตรฐานเกษตรอินทรีย์กลางของประเทศ

2. กระทรวงศึกษาธิการ

           2.1  กรมการศึกษานอกโรงเรียน*
           2.2   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์*
           2.3  มหาวิทยาลัยแม่โจ้*
           2.4  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์*
           2.5  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์*

3. กระทรวงมหาดไทย
           3.1  ผู้ ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์
           3.2  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
4.  กระทรวงกลาโหม
              ข้อมูลรายละเอียดในการติดต่อ ประสานงานของกระทรวงกลาโหม
           1.  ศูนย์ฝึกอบรม  ค่ายพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด 45000          โทร. 0-9969-4101
           2.  ศูนย์ฝึกอบรม กรมทหารราบที่ 6 (กองอำนวยการป่าดงนาทามอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190  โดยผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 6 โทร. 0-4532-3417  โทรสาร 0-4532-3417
5. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

               5.1  องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้*

6.  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

               การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ได้จัดตั้ง โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนขึ้นอย่างไม่เป็นทางการเมื่อเดือน มีนาคม 2542  ได้จัดอบรมให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ.ทั่วประเทศ และขยายผลไปยังหน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ มูลนิธิ วัดวาอาราม โรงเรียน และชุมชนต่างๆ  อย่างต่อเนื่อง จนถึงปี 2546  จึงได้จัดตั้งโครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน     เป็นโครงการอย่างเป็นทางการ   โดยมีแนวทางในการดำเนินงาน  เพื่อดำเนินการเกษตรธรรมชาติ   ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว เรื่อง
เศรษฐกิจพอเพียง”  ด้วยการส่งเสริมใน 4 เรื่อง ได้แก่

         1. การเพาะปลูก
         2. การเลี้ยงสัตว์น้ำ
         3. การปศุสัตว์
         4. การรักษาสิ่งแวดล้อม

               โดยการดำเนินการดังกล่าว กฟผ.    ใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพเป็นตัวช่วย     สามารถลดต้นทุนการผลิตพืช ผล    และอาหารปลอดภัย     ซึ่งนับเป็นเกษตรทางเลือก(Alternative Agriculture) อีกทางหนึ่ง

               โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย    ตั้งอยู่เลขที่ 53 หมู่ ถนนจรัญสนิทวงศ์  อ.บางกรวย  จ.นนทบุรี 11130      โทร. 0-2436-3780-89  โทรสาร 0-2436-3787

หมายเหตุ * หมายถึงเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการเรื่องเกษตรอินทรีย์  แต่ยังขาดข้อมูลรายละเอียดในการติดต่อประสานงาน