แหล่งผลิตสังคโลกที่ใหญ่ที่สุดในสมัยสุโขทัยคือที่ใด

ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำสังคโลก

Show

17/05/2564 | 8,770 |

     อาณาจักรสุโขทัยได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองแห่งสังคโลก เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตเครื่องสังคโลกที่สำคัญมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๐ ซึ่งนอกจากผลิตเพื่อใช้ทั้งในชีวิตประจำวันและในรูปแบบของประติมากรรมต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบกับสถาปัตยกรรมของยุคสมัยแล้วยังผลิตขึ้นเพื่อเป็นสินค้าส่งออกที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แม้ในปัจจุบันเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยยังคงเป็นที่นิยมสำหรับนักสะสมและพิพิธภัณฑ์จากทั่วโลก ในปัจจุบัน ที่จังหวัดสุโขทัยยังคงมีการผลิตเครื่องสังคโลกทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและรูปแบบใหม่ที่อาศัยวิธีการปั้น การเคลือบ การเขียนสีและลวดลายตามอย่างในอดีต เช่นที่ สุเทพสังคโลก ที่นักท่องเที่ยวสามารถศึกษาเรียนรู้รูปแบบและลวดลายของเครื่องสังคโลกได้ก่อนที่จะทดลองปั้น เขียนลวดลายได้ด้วยตนเองโดยผ่านการแนะนำจากช่างผู้ชำนาญการ อย่างลุงสุเทพและป้าสำเนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้การทำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบเนื้อละเอียดชนิดแตกลายงาสีเขียวไข่กาที่เรียกว่า เซลาดอน
       สังคโลก เป็นเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดี มีการเคลือบผิวและตกแต่งลวดลายงดงาม เผาด้วยความร้อนสูงประมาณ 1,250 องศาเซลเซียส เตาเผาและเทคนิคการเผาได้รับการพัฒนามาเป็นเวลานานนับร้อยปี ตั้งแต่สมัยต้นกรุงสุโขทัยจนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา เครื่องสังคโลก จ.สุโขทัย วัฒนธรรมเชิงศิลป์ที่เป็นเอกลักษณ์สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน จนพัฒนามาเป็นเครื่องมือใช้สอยที่ทันสมัยในปัจจุบัน “ร้านสุเทพสังคโลก” จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจทางด้านการปั้น และการเขียนลาย ภายในเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเครื่องสังคโลกที่ขุดพบเจอในอดีต จำหน่ายและรับผลิตงานสังคโลกตามสั่ง เป็นเครื่องปั้นดินเผาคุณภาพดีที่มีการเคลือบผิวและตกแต่งลวดลายอย่าง ประณีต งดงาม รูปแบบของสังคโลกมีหลากหลาย เช่น สีเขียวไข่กา สีน้ำตาล สีขาว เป็นต้น ร้านสุเทพสังคโลกได้สืบทอดและอนุรักษ์เครื่องสังคโลก โดยผู้ก่อตั้งและดูแลก็คือ คุณสุเทพ และคุณสนอง พรมเพ็ชร


แหล่งผลิตสังคโลกที่ใหญ่ที่สุดในสมัยสุโขทัยคือที่ใด
รูปภาพ


แหล่งผลิตสังคโลกที่ใหญ่ที่สุดในสมัยสุโขทัยคือที่ใด


โลกใบใหญ่  / ศิลปะ
สุชาดา ลิมป์ : รายงานและถ่ายภาพ

แหล่งผลิตสังคโลกที่ใหญ่ที่สุดในสมัยสุโขทัยคือที่ใด

เรากำลังอยู่ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง หรือที่เรียกกันว่า “พิพิธภัณฑ์เมืองเก่า” ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งจัดแสดง “เครื่องถ้วยสังคโลกแท้” ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐  ในสมัยนั้น ชาวศรีสัชนาลัยผลิตเครื่องสังคโลกกันเป็นล่ำเป็นสัน ขึ้นชื่อว่ามีคุณภาพดีจนเป็นสินค้าส่งออกข้ามน้ำข้ามทะเลไปถึงเมืองจีน ญี่ปุ่น และยุโรป โดยมีอยุธยาเป็นพ่อค้าคนกลาง

“ชามรูปทรงคล้ายกะลามะพร้าวนี้ เป็นเครื่องถ้วยสังคโลกสุโขทัย ซึ่งผมสันนิษฐานว่าเป็นสังคโลกรุ่นแรก ๆ  ยุคนั้นขึ้นชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ และมีป่าพร้าวอยู่มาก ชาวสุโขทัยอาจผลิตเครื่องสังคโลกรูปทรงคล้ายกะลามะพร้าว แทนการใช้กะลามะพร้าวเป็นภาชนะใส่อาหาร”

คุณสมเดช พ่วงแผน ปราชญ์ท้องถิ่นชาวเมืองเก่า สุโขทัย บอกเล่าที่มาที่ไปของเครื่องสังคโลกแต่ละชิ้น  เขาเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการพลิกฟื้นศึกษาเรื่องดิน น้ำเคลือบ วิธีเผา จนมีความเชี่ยวชาญในการผลิตเครื่องสังคโลกเลียนแบบของโบราณ และคิดค้นรูปแบบใหม่ ๆ จนได้รับความนิยมจำหน่ายเป็นของที่ระลึกและของตกแต่งบ้าน

ตั้งแต่วัยเด็ก สมเดชเติบโตมาในบ้านที่เต็มไปด้วยเครื่องสังคโลกโบราณ เนื่องจากชาวบ้านที่ขุดพบมักนำมาขายต่อบิดาของเขาซึ่งเป็นทั้งผู้ใหญ่บ้านและกำนันตำบลเมืองเก่า เป็นแรงบันดาลใจให้เขาผูกพันและศึกษาค้นคว้าเรื่องเครื่องสังคโลกในเชิงประวัติศาสตร์และศิลปะเรื่อยมา

สมเดชเล่าว่าเตาผลิตเครื่องสังคโลกที่สำคัญของสุโขทัยมี ๒ แหล่ง แหล่งแรกคือบริเวณริมลำน้ำโจน ด้านทิศเหนือของเมืองสุโขทัยเก่า ซึ่งเมื่อเกิดสงครามระหว่างล้านนากับอยุธยาก็หยุดผลิต และย้ายมาใช้แหล่งเตาริมฝั่งแม่น้ำยม เมืองศรีสัชนาลัย  โดยปรกติแหล่งเตาผลิตจะตั้งอยู่ริมแม่น้ำ เพราะต้องอาศัยวัตถุดิบหลักคือดินเหนียว และที่สำคัญคือสะดวกในการขนส่งทางเรือ

เครื่องสังคโลกไม่ได้มีเพียงของใช้สอย ชาวสุโขทัยยังช่างคิดประดิษฐ์เป็นตุ๊กตา เช่น ตุ๊กตามวยปล้ำ หรือตุ๊กตาเสียกบาล ซึ่งสันนิษฐานว่าชาวสุโขทัยใช้สะเดาะเคราะห์ โดยปั้นตุ๊กตาเพศเดียวกับผู้ป่วยแล้วหักคอนำไปตั้งที่ทางสามแพร่ง เพื่อหลอกผีว่าคนป่วยตายไปแล้ว

“บ้านสุเทพ สังคโลก” ของ สุเทพ พรมเพ็ชร ชาวอำเภอศรีสัชนาลัย เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่ช่วยอนุรักษ์เครื่องถ้วยสังคโลก โดยเขาได้ผลิตเลียนแบบรูปทรงและลวดลายของโบราณ ด้วยฝีมือประณีตจนแทบแยกไม่ออกว่าแท้จริงแล้วเป็นของทำขึ้นใหม่

เครื่องสังคโลกของที่นี่แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือชนิดเนื้ออ่อน (หรือเนื้อดิน) มีสีส้มอมแดง ผิวด้านนอกไม่เคลือบ แต่จะใช้วิธีขัดผิวจนมันแล้วชุบน้ำดินสีแดงก่อนตบแต่งลวดลาย  อีกชนิดคือ ชนิดเนื้อแข็ง (หรือเนื้อหิน) ใช้ทำภาชนะใส่ของเหลว เช่น ครก สาก ไห โอ่ง เป็นต้น  ด้วยวิธีเผาโดยใช้อุณหภูมิสูงกว่าชนิดเนื้ออ่อน  ภาชนะบางชนิดเขียนลายก่อนชุบเคลือบแล้วค่อยนำไปเผา  ลวดลายจะออกสีน้ำเงินเข้ม ดำ น้ำตาล งดงามมาก และมีราคาสูง

เทคนิคการตกแต่งสีมีหลากหลาย เช่น การเคลือบด้วยสีน้ำตาล สีเขียวไข่กา สีขาว เป็นต้น  ลวดลายเฉพาะตัวก็มีมาก เช่น กงจักร พระอาทิตย์ ดอกไม้ก้านขด ฯลฯ  ลายพิเศษสุดอันถือเป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัย คือลายปลา ดังจารึกบนศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”

  • ตีพิมพ์ใน นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 322 ตุลาคม 2555
  • ติดตามเพจ Sarakadee Magazine

แหล่งผลิตสังคโลกที่ใหญ่ที่สุดในสมัยสุโขทัยคือที่ใด

ผู้ไม่เน้นความเป็นระเบียบในชีวิต ถูกจริตกับผ้าขาวม้า วิถีท้องทุ่ง เรื่องราววัฒนธรรมร่วมสมัย พอๆ กับศิลปะและการเดินทาง

เรื่อง

สังคโลกมีความสําคัญต่อสุโขทัยในด้านใดมากที่สุด

ทั้งที่ความสำคัญของเครื่องสังคโลกเป็นมากกว่าวัตถุสิ่งของ แต่คือตัวแทนของการบอกเล่าเรื่องราวในอดีต ความเจริญ และความอุดมสมบูรณ์ของอาณาจักรสุโขทัยสังคโลก” คือสิ่งที่ชาวเมืองสุโขทัยภาคภูมิใจ เพราะงานทุกชิ้นที่ผลิตถือเป็นหัตถศิลป์ที่มีชิ้นเดียวไม่ซ้ำกัน ช่างแต่ละคนมีความคิดสร้างสรรค์เป็นของตนเอง มีความภูมิใจในงานที่ตนเอง ...

แหล่งผลิตเครื่องสังคโลกที่สําคัญในสมัยสุโขทัย อยู่ที่ใด

เครื่องสังคโลกผลิตขึ้นจากเตาในอำเภอเมืองสุโขทัยและอำเภอศรีสัชนาลัย เฉพาะภาชนะขนาดใหญ่ เช่น ไห ได้พบว่า มีแหล่งเตาเผาร่วมสมัยกันอยู่อีก 2 แหล่ง คือ ที่บ้านชีปะขาวหาย อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก กับที่เตาใกล้วัดพระปรางค์ ตำบลเชิงกลัด อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี

เครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง

เครื่องสังคโลก หมายถึงเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตขึ้นในรูปภาชนะเครื่องใช้ และเครื่องประดับอาคารต่าง ๆ เช่น ถ้วย ชาม จาน ไหดิน โอ่งน้ำ ขวดดิน กระปุก ป้านน้ำชา ช้อน ตลอดดจนตุ๊กตารูปคน รูปสัตว์ เช่น ช้าง รูปยักษ์ รูปเทวดา พระพุทธรูป กระเบื้องมุงหลังคา สิงห์สังคโลก ลูกมะหวด ท่อน้ำ ตุ๊กตาเสียกบาล ตัวหมากรุก ช่อฟ้า บราลี ฯลฯ มี ...

ถ้วยชามสังคโลกนำแบบอย่างมาจากที่ใด

คำว่า “สังคโลก” นี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า เป็นถ้อยคำในภาษาจีนโดยคำว่า “สัง” น่าจะเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า “ซ้อง”อันเป็นนามราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนระหว่าง พ.ศ.๑๕๐๓ - ๑๘๑๙ เหตุด้วยเครื่องเคลือบสีเทาชนิดเดียวกับสังคโลกนั้นเกิดขึ้นในเมืองจีนสมัยของราชวงศ์ซ้องมาก่อน ส่วนคำว่า “โกลก” หรือ “กโลก” ท่าน ...