จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่ไหน

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ห้างหุ้นส่วนเป็นรูปแบบการประกอบกิจการค้าที่มีคนหลายคนเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างประกอบการค้า ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนจึงควรทำความตกลงกันในเรื่องสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ไว้ก่อนให้ชัดเจน
    1. จำนวนเงินลงทุนหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนจะนำมาลงทุน โดยผู้เป็นหุ้นส่วน สามารถลงทุนด้วยเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้ (ยกเว้นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดจะลงทุนด้วย แรงงานไม่ได้) แต่การลงทุนด้วยทรัพย์สินหรือแรงงาน ต้องตีราคาเป็นจำนวนเงินและกำหนด ระยะเวลาชำระเงินหรือสิ่งที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจะนำ มาลงทุน ซึ่งควรชำระให้ครบก่อนการจดทะเบียน จัดตั้งห้างหุ้นส่วน
    2. กำหนดขอบเขตหรือกรอบของกิจการค้าที่ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนจะประกอบกิจการ หรือที่ เรียกว่า “วัตถุที่ประสงค์” ในปัจจุบันส่วนมากจะกำหนดวัตถุประสงค์ไว้หลาย ๆ กิจการ เพื่อความคล่องตัวในการเพิ่มหรือปรับเปลี่ยนกิจการค้า จะได้ไม่ต้องเสียเวลาในการดำเนินการจดทะเบียนเพิ่ม หรือเปลี่ยนวัตถุที่ประสงค์ แต่การจดทะเบียนวัตถุที่ประสงค์ไว้เป็นหลาย ๆ กิจการ นั้นอาจไม่เป็นผลดี เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้บริหารประกอบกิจการค้าที่ไม่เป็นไปตามแนวทางที่ตนถนัด และให้อำนาจกว้างขวางมากเกินไป
*ดูหลักเกณฑ์การกำหนดวัตถุที่ประสงค์*
    3. แต่งตั้งหุ้นส่วนผู้จัดการ (หุ้นส่วนผู้จัดการคือ ผู้ที่จะมีอำนาจกระทำการแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งต้องแต่งตั้งจากหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดเท่านั้น)
    4. การแบ่งส่วนผลกำไรและขาดทุน
    5. เรื่องอื่น ๆ เช่น หลักเกณฑ์และวิธีการเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาจัดตั้งห้างเดิม สถานที่ที่จะใช้ เป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ ข้อจำกัดในการใช้อำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ และการตั้งผู้ชาระบัญชี เป็นต้น

  • ขั้นตอนที่ 2 ขอตรวจสอบและจองชื่อห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
ในปัจจุบันมีการประกอบกิจการในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัดเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับชื่อ ที่คล้ายหรือซ้ากัน ให้ผู้ที่ประสงค์จะจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนขึ้นใหม่ตรวจสอบชื่อที่ต้องการจอง ว่า ชื่อดังกล่าวต้องไม่เหมือนหรือมีเสียงเรียกขานตรงกัน หรือคล้ายคลึงกันกับชื่อที่ได้จองหรือได้จดทะเบียนไว้ก่อนแล้ว หรือขัดระเบียบ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนบริษัท พ.ศ. 2561 ข้อ 38 (1) – (11) ด้วยตนเองและนำใบแจ้งผลการจองชื่อไป ประกอบการขอจดทะเบียนต่อไป
*ดูหลักเกณฑ์การจองชื่อนิติบุคคล*
  • ขั้นตอนที่ 3 จัดทำคำขอจดทะเบียนและเอกสารประกอบ
เมื่อได้จองชื่อแล้ว
    1. ให้ผู้ขอจดทะเบียนต้องจัดทำดวงตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน
    2. กรอกรายละเอียด (โดยวิธีการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดหรือคอมพิวเตอร์) ในแบบพิมพ์คำขอ จดทะเบียนให้ครบถ้วน ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงในแบบพิมพ์คำขอจดทะเบียน

  • ขั้นตอนที่ 4 การยื่นขอจดทะเบียน
การยื่นขอจดทะเบียนทำได้ 2 วิธี คือ
    1. ยื่นคำขอจดทะเบียนพร้อมเอกสารประกอบต่อนายทะเบียน กรณีนี้หุ้นส่วนผู้จัดการจะไปยื่นขอ จดทะเบียนด้วยตนเองหรือมอบอานาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนก็ได้
    2. ยื่นจดทะเบียนทางระบบจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration)
ข้อมูลที่ใช้
  1. ชื่อของห้างหุ้นส่วน
  2. วัตถุประสงค์ของห้าง
  3. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และ/หรือสาขา
  4. ชื่อ ที่อยู่ อายุ สัญชาติ อาชีพ ยี่ห้อและสิ่งที่นำมาลงหุ้น
  5. ชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ (ต้องเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด) กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถเข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้ ทุกคน
  6. ข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี)
  7. ดวงตราสำคัญของห้าง *ดูหลักเกณฑ์การกำหนดดวงตรา*
  8. รายการอื่น ๆ ที่เห็นสมควรให้ประชาชนทราบ (ถ้ามี)
เอกสารและหลักฐานที่ต้องใช้ในการจดทะเบียน
ในการขอจดทะเบียนต้องเตรียมเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้
  1. คำขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน (แบบ หส. 1)
  2. แบบคำรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
  3. รายการจดทะเบียน (แบบ หส.2) ห้างหุ้นส่วนจำกัดใช้ 3 หน้า/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ใช้เฉพาะหน้า 1 และ หน้า 3
  4. วัตถุประสงค์ (แบบ ว.)
  5. แบบ สสช. 1
  6. ใบแจ้งผลการจองชื่อนิติบุคคลที่ยังไม่หมดอายุ
  7. แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป
  8. สำเนาหลักฐานการรับชาระเงินลงหุ้นที่ห้างหุ้นส่วนได้ออกให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน
  9. กรณีห้างหุ้นส่วนมีผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นคนต่างด้าวลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนไม่ถึงร้อยละ 50 ของเงินลงหุ้น ให้ส่งเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให้ เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีสัญชาติไทยแต่ละรายประกอบคำขอจดทะเบียน โดยเอกสารดังกล่าวต้องแสดงจำนวนเงินที่สอดคล้องกับจำนวนเงินที่นำมาลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละราย
  10. สำเนาบัตรประจำตัวของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน *ดูหลักเกณฑ์เรื่องบัตรประจำตัว*
  11. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี) *ดูหลักเกณฑ์เรื่องผู้รับรองลายมือชื่อ*
  12. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ขอจดทะเบียนไม่สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง ก็มอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทนโดยทำหนังสือมอบอำนาจและผนึกหรือชำระค่าอากรแสตมป์ 10 บาท)
สำเนาเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนทุกฉบับ ต้องให้ผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนรับรองความถูกต้อง ยกเว้นสำเนาบัตรประจำตัวหรือหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อผู้ขอ จดทะเบียน ให้ผู้เป็นเจ้าของบัตรหรือผู้ขอจดทะเบียนอย่างน้อยหนึ่งคนเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง
กรณีการยื่นคำขอจดทะเบียนแบบใช้เอกสารจัดทำคำขอ แบบพิมพ์จดทะเบียนสามารถ Download จาก www.dbd.go.th

  • อัตราค่าธรรมเนียม
 1. การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน 1,000 บาท
 2. หนังสือรับรอง รายการละ 40 บาท
 3. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
 4. รับรองสำเนาเอกสารคำขอจดทะเบียน หน้าละ 50 บาท

  • สถานที่จดทะเบียน
1. หน่วยงานในสังกัดของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 87 แห่ง โดยตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จานวน 7 แห่ง ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สนามบินน้า) สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 1-6 (ปิ่นเกล้า พหลโยธิน รัชดาภิเษก สี่พระยา บางนา และแจ้งวัฒนะ (ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา)) และในส่วนภูมิภาคที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด จังหวัดละ 1 แห่ง รวมถึงสาขาของสำนักงานพาณิชย์จังหวัด ในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญอีก 4 แห่ง คือ แม่สอด เมืองพัทยา หัวหิน และเกาะสมุย
ยกเว้น การขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนที่มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการซึ่งมีกฎหมายพิเศษควบคุม ได้แก่ หลักทรัพย์ คลังสินค้า ห้องเย็น ไซโล นายหน้าประกันภัย บริหารสินทรัพย์ ให้ยื่นขอจดทะเบียน ณ สำนักงานบริการจดทะเบียน ดังต่อไปนี้
(1) ห้างหุ้นส่วนที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นขอจดทะเบียนที่ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (สนามบินน้า)
(2) ห้างหุ้นส่วนที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดใด ให้ยื่นขอจดทะเบียนที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัดซึ่งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่และที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า(สนามบินน้า)

รายการที่จะต้องจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลมีอะไรบ้าง

การจดทะเบียน จะต้องมีรายละเอียด ดังนี้.
ชื่อห้างหุ้นส่วน.
วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน.
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และสาขา.
ชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน.
ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ.
ข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการบางประการ (ถ้ามี).
ตราของห้างหุ้นส่วน.
ข้อความอื่นใดที่เห็นว่าเป็นประโชชน์หรือสมควรให้ประชาชนทราบ.

ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียนไหม

ห้างหุ้นส่วน คือ รูปแบบการจดทะเบียนนิติบุคคลรูปแบบหนึ่ง ซึ่งรูปแบบนี้ต้องมีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงทำธุรกิจร่วมกัน ผู้ที่ร่วมกันก่อตั้งขึ้นมาสามารถจัดสรร และทำการตกลงกันตั้งแต่เริ่มต้นได้ว่าจะลงทุนด้วยเงิน ลงทุนด้านทรัพย์สิน หรือฝีมือแรงงาน

เว็บไซต์ใดใช้จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

ผู้ขอลงทะเบียนลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th.

สถานที่จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนในต่างจังหวัดคือที่ใด

การขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดซึ่งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ ส่วนที่ ๖ การจองชื่อนิติบุคคล การขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัททางอินเทอร์เน็ต