ร้องเรียนเรื่องสุนัขได้ที่ไหน

เทศบาลนครนนทบุรี
1,3 ซอยรัตนาธิเบศร์ 6 ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางกระสอ
อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
อีเมล :

แผนผังเว็บไซต์
งานรับ-ส่งหนังสือ และงานสารบรรณ
โทรศัพท์ : 0 2589 0500
อีเมล :

ถูกร้องเรียนเรื่องการเลี้ยงสัตว์ ควรทำอย่างไรดี

สวัสดีค่ะ พอดีที่บ้านเลี้ยงสุนัขและแมวไว้จำนวนหนึ่ง  ซึ่งที่บ้านจะเลี้ยงเป็นระบบปิด ไม่ได้ปล่อยออกไปรบกวนใคร และบ้านก็มีบริเวณพอสมควรที่จะให้สุนัขวิ่งเล่น มีรั้วรอบขอบชิดที่แน่นหนา และรั้วก็สูงพอสมควร ประมาณ 2 เมตรกว่าๆ ส่วนแมวนั้นที่บ้านเราจะสร้างห้องทำเหมือนบ้านให้เขาอยู่กัน ภายในมีทรายแมวให้ขับถ่าย และเราก็คิดว่าเราทำถูกสุขลักษณะ มีการล้างคอกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเป็นประจำทุกสัปดาห์ ที่บ้านเราเลี้ยงแมวมาตั้งแต่เราจำความได้ ตอนนี้ก็ประมาณ 30 กว่าปีแล้ว ไม่เคยมีปัญหากับใครหรือได้รับการฟ้องร้องใดๆ พอดีเมื่อไม่นานมานี้ เรากับเพื่อนบ้านมีข้อขัดข้องหมองใจกันเล็กน้อย เนื่องจากสุนัขของเราหลุดออกจากบ้านและวิ่งเข้าไปที่บ้านของเขา โดนที่สุนัขของเราไม่ได้ไปทำร้ายใครทั้งสิ่น เพียงแต่ว่าด้วยความที่เขาไม่เคยออกจากบ้านไปวิ่งเล่นข้างนอก เขาจึงวิ่งวนดมโน้นนี่นั้นไปทั่ว เราก็ได้วิ่งออกไปตาม แต่พบว่าเขาให้ไม้ตีสุนัขของเราจนได้รับบาดเจ็บและกล่าวหาว่าสุนัขเราเป็นบ้า ด้วยความโมโหเราจึงบอกว่าเราจะแจ้งความ เดี๋ยวนี้เขามี พรบ.คุ้มครองสัตว์ เราจะเอาเรื่อง แล้วเราก็พาสุนัขเรากลับมา แต่เราก็ไม่ได้ดำเนินเรื่องเอาผิดแต่อย่างใด เพราะที่บ้านไม่อยากมีเรื่อง คือไม่อยากให้เรื่องมันยาวหรือยุ่งยากเพียงเพราะสุนัขตัวเดียว แต่หลังจากนั้นหลายเดือนต่อมา ที่บ้านได้รับหนังสือขอเข้าตรวจการเลี้ยงสัตว์ของที่บ้านจากทางเทศบาล เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนว่าที่บ้านเราเลี้ยงสัตว์รบกวนผู้อื่น วันนั้นมีนายสัตวแพทย์มาตรวจ มาพูดคุย ขอดูสภาพความเป็นอยู่ของสัตว์เลี้ยงเรา แม่เราก็ให้เขาตรวจสอบ ลงบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เขาก็บอกว่าเราเลี้ยงได้ถูกสุขลัษณะดี ส่วนเรื่องของเสียงรบกวนคงเป็นเรื่องธรรมชาติของสุนัข เพราะเขาไม่ได้เห่าตลอดเวลา มีบ้างเป็นธรรมดา เรานึกว่าเรื่องราวจะจบที่ตรงนั้น แต่เปล่าเลย เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีนายสัตวแพทย์คนเดิม กลับมาของตรวจเหมือนเดิม บอกว่ามีผู้ไปร้องเรียน ซึ่งก็คือหลังบ้านของคุณ ให้คุณไปคุยกับเขาให้เรียบร้อย และขอตรวจสอบ ถ่ายรูปห้องแมว กรงสุนัข และบริเวณบ้านของเราไป แม่เราก็ให้เขาถ่ายรูปไป พาเยี่ยมชม ด้วยความบริสุทธิ์ใจ และเมื่อกลางวันวันนี้ แม่เราได้โทรมาบอกว่า นายสัตวแพทย์คนเดิม โทรมาบอกว่า เรื่องที่เราเลี้ยงสัตว์รบกวนเพื่อนบ้าน เขาดำเนินเรื่องถึงศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ให้เราเตรียมตัวย้ายสุนัขและแมวของให้ไปไว้ที่อื่น แม่เราท่านเป็นกำลังหลักในการเลี้ยง ท่านเกษียณออกมาก็อยู่กับสัตว์เลี้ยงของท่านทั้งวัน ท่านถึงกลับร้องไห้เพราะคำพูดของนายสัตวแพทย์ที่แจ้งว่าจะให้บ้านเราเตรียมหาที่เลี้ยงสัตว์แห่งใหม่ ท่านกังวลว่าเราจะทำอย่างไรดี เราเลี้ยงเขามาตั้งนาน ไม่เคยมีปัญหาอะไร แล้วสัตว์ที่เราเลี้ยงมา ถ้าคนที่รักและเคยเลี้ยงจะเข้าใจว่าถ้าเรานำเขาไปอยู่ที่อื่น เขาอาจเกิดภาวะเครียด อดข้าวอดน้ำ และถึงตายได้ สิ่งที่เราสงสัยคือ ทำไมนายสัตวแพทย์ผู้นั้น ถึงไม่คำนึงจุดนี้ และหาวิธีเสนอแนะแนวทางที่ดีกว่านี้ ทั้งๆที่ทั้ง 2 ครั้ง ที่เขามาตรวจ บอกให้บ้านเราทำอะไร เราก็ทำ ให้เราล้างบริเวณที่อยู่อาศัยสัตว์บ่อยๆ ตอนนี้ที่บ้านเราก็ทำทุกวัน คืออะไรที่เขาบอกมา เราทำให้หมดทุกอย่าง แต่วันนี้กลับโทรมาแจ้งว่าต้องนำสัตว์ทั้งหมดไปไว้ที่อื่น เอาตรงๆ คือเราคงทำให้ไม่ได้ เราไม่ได้เลี้ยงสัตว์เพื่อการพาณิชย์ใดๆ เราไม่มีแมวพันธุ์ เรามีแต่แมวจร สนุขจร ที่คนทิ้งไว้ แล้วเก็บมาดูแล เราเคยสัญญากับพวกเขาว่า เขามีบ้านแล้ว เราคงทำใจเอาเขาไปไว้ที่อื่นไม่ได้ เรายอมรับเรื่องของเสียงเห่าหอนของสนุข แต่เขาก็ไม่ได้เห่าทั้งวันทั้งคืน มันไปรบกวนจิตใตเขามากมายขนาดนั้นเลยหรือ นี่คือความอัดอั้นของเรา สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด คืออยากจะขอคำแนะนำว่า เราความจะทำอย่างไร หาเรื่องถึงศูนย์ดำรงธรรมจริงอย่างที่นายสัตวแพทย์แจ้ง เราจะมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไร เรื่องสุขอนามัยเรามั่นใจ ว่าเราดูแลดีแล้ว ไม่มีมลภาวะทางกลิ่นแน่นอน แต่ถ้าเรื่องของเสียง ก็ต้องยอมรับว่ามีบ้าง ที่บ้างครั้งสุนัขก็เห่าหอนในยามวิกาล ใครมีแนวทางแก้ปัญหา หรือมีข้อเสนอแนะ รบกวนแนะนำด้วยนะคะ
ปล. เราเคยคุยกับเพื่อนบ้านแล้วนะคะ ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับการตรวจ เขาบอกว่าไม่ได้แจ้ง ไม่เกี่ยวกัน และไม่คุยกับเรา แต่รอบ 2 ที่ได้รับการตรวจ สัตวแพทย์แจ้งว่าเพื่อนบ้านที่อยู่บ้านด้านหลังเราเป็นผู้แจ้ง ส่วนวันนี้แม่เราได้ถามสัตวแพทย์ขอทราบข้อมูลผู้แจ้ง จะได้ไปขอคุยกับเขาก่อน เพื่อที่เรื่องจะได้ไม่ลุกลาม นายสัตวแพทย์เขาบอกว่าให้ข้อมูลไม่ได้ เราจึงไม่รู้ว่าจะต้องเจรจากับใครค่ะ รบกวนเพื่อนๆในพันทิปชี้แนะด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
ปล.2 เรื่องยาวไปนิด ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ


สุดทน ‘หมา-แมว’ ข้างบ้านสร้างความเดือดร้อน เปิดขั้นตอนร้องเรียนให้ จนท.จัดการ

เพราะ “หมา-แมว” ไม่ได้น่ารักสำหรับทุกคน หลายครั้งสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น ไม่ว่าจะแมวข้างบ้านปีนเข้ามาฉี่ เข้ามาอึในบ้านเรา นานวันเข้าออกลูกออกหลานวิ่งให้เต็มซอยบ้าน

หรือฝั่งมา หลายคนก็เจอหมาข้างบ้านคาบเอารองเท้าเราไปกัด มีนิสัยดุร้ายเดินพล่านทั่วซอย จนเราไม่กล้าเดิน กระทั่งเห่าเสียงดังยามค่ำคืน

บอกเจ้าของให้ทราบแล้ว ย้ำแล้วย้ำอีก สุดท้ายก็เหมือนเดิม แต่อย่าเพิ่งขายบ้านหนี อาจจบด้วยวิธีนี้ได้ คือ “การร้องเรียนเหตุเดือดร้อนรำคาญจากสัตว์”

ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการประจำท้องถิ่น ที่สามารถดำเนินการควบคุมปัญหาด้านการสาธารณสุขสิ่งแวดล้อม ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยอาศัยอำนาจตามบทบบัญญัติแห่งกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535

ลักษณะของเหตุรำคาญ

โดยระบุลักษณะของเหตุรำคาญ ตามบทบัญญัติมาตรา 25 กำหนดว่า “ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อน แก่ผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ต้องประสบกับเหตุนั้น” แยกเป็นเหตุรำคาญในส่วนสัตว์เลี้ยงทุกชนิด ดังนี้

“การเลี้ยงสัตว์ในที่ หรือวิธีใด หรือมีจำนวนเกินสมควร จนเป็นเหตุให้เสื่อม หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ”

1.สถานที่เลี้ยงไม่เหมาะสม สกปรก มีกลิ่นเหม็น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของสัตว์พาหะนำโรค เป็นต้น

2.วิธีการเลี้ยงรบกวนความเป็นอยู่ของผู้อาศัยข้างเคียง เช่น ปล่อยให้สัตว์ไปกินพืชผักของคนข้างบ้าน หรือปล่อยให้ไปถ่ายที่บ้านข้างเคียง เป็นต้น

3.เลี้ยงจำนวนมากเกินไป เช่นสถานที่เลี้ยงคับแคบ อยู่ใกล้บ้านข้างเคียงแต่เลี้ยงจำนวนมาก จนเกิดเสียงร้องดัง มีกลิ่นสาบ หรือกลิ่นมูลเหม็น เป็นต้น

ขั้นตอนการร้องเรียน

หากประสบปัญหาจากสัตว์เลี้ยงข้างต้น สามารถร้องเรียนกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นได้ ตามพ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 มีขั้นตอน ดังนี้

– เมื่อมีกรณีเหตุรำคาญเกิดขึ้น ประชาชนที่อยู่ข้างเคียงที่ประสบเหตุ หรือผู้ที่ไปประสบพบเห็น มีสิทธิที่จะร้องเรียนต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขทุกระดับ หรือหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น หรือราชการส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวข้องได้

– เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขของหน่วยงาน ที่ได้รับการร้องเรียน ต้องดำเนินการตรวจสอบกรณีเหตุร้องเรียนนั้น ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมักขอให้ เจ้าพนักงานสาธารณสุขเป็นผู้ตรวจสอบ ซึ่งการตรวจสอบต้องพิจารณาว่า เป็นเหตุรำคาญหรือไม่?

– ถ้าไม่เหตุรำคาญ เจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขต้องแจ้งให้ผู้ร้องทราบ (ถ้าผู้ร้องแจ้งที่อยู่ให้ทราบ) แล้วแต่กรณี เรื่องร้องเรียนนี้ถือเป็นอันยุติ

– แต่ถ้าเป็นเหตุรำคาญ ต้องพิจารณาว่า เหตุรำคาญนั้น เกิดขึ้นในที่ หรือทางสาธารณะ หรือเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน และเกิดขึ้นเขตท้องถิ่นใด แล้วดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

– เมื่อเจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจสอบพบว่า เป็นเหตุรำคาญ เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีหน้าที่ ต้องเสนอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นที่มีอำนาจในเขตท้องถิ่นนั้น ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ที่ก่อเหตุนั้น (กรณีที่เกิดในที่ หรือทางสาธารณะ) หรือให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่เอกชน (กรณีที่เกิดในสถานที่เอกชน) เพื่อให้ปรับปรุงแก้ไข หรือระงับเหตุรำคาญนั้น พร้อมต้องกำหนดระยะเวลา ที่ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้น ตามความเหมาะสมด้วย

– กรณีที่คำสั่งใด ที่ผู้รับคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งได้ กฎหมายว่าด้วย วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ต้องแจ้งสิทธิ และระยะเวลาที่จะอุทธรณ์ได้ ต่อบุคคลใดไว้ด้วย ในกรณีของเหตุรำคาญ ซึ่งกฎหมายสาธารณสุข กำหนดให้ผู้รับคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น

– เมื่อครบกำหนดเวลาที่ให้ไว้ในคำสั่งนั้น เจ้าพนักงานสาธารณสุขต้องไปตรวจสอบว่า มีการปรับปรุงแก้ไข หรือไม่อย่างไร กรณีที่ไม่มีการแก้ไข โดยเหตุผลอันสมควร ก็เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานฯ ที่จะผ่อนผันระยะเวลาตามข้อเท็จจริงได้ ตามความเหมาะสม แต่หากเป็นกรณีที่ผู้รับคำสั่งไม่ใส่ใจ หรือไม่นำพาต่อคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็อาจดำเนินการได้ 2 กรณี คือ

1.กรณีที่เหตุรำคาญนั้นเกิดในที่ หรือทางสาธารณะ เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุขต้องพิจารณาว่า เหตุรำคาญนั้นยังคงเกิดขึ้น และก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรง ต่อสุขภาพหรือไม่?

– ถ้าไม่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง ก็ให้ดำเนินการลงโทษผู้ก่อให้เกิดเหตุรำคาญนั้น โดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจดำเนินการเปรียบเทียบปรับ หรือดำเนินคดีทางศาล แล้วแต่กรณี ตามอำนาจในมาตรา 85 วรรค 3

– ถ้าเป็นอันตรายอย่างร้ายแรง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ร่วมกับเจ้าพนักงานสาธารรสุข ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เพื่อมิให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนต่อไป แล้วคิดค่าใช้จ่ายทั้งหมด จากผู้ที่ก่อเหตุรำคาญนั้น แล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการ เปรียบเทียบปรับ หรือดำเนินคดีทางศาล แล้วแต่กรณี ตามอำนาจในมาตรา 85 วรรค 3 และหากผู้ที่ก่อเหตุไม่ยินยอมเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่น ก็สามารถฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายทางศาลได้ด้วย

2.กรณีที่เหตุรำคาญนั้นเกิดในสถานที่เอกชน เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุข ต้องพิจารณาว่า เหตุรำคาญนั้นยังคงเกิดขึ้น และก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรง ต่อสุขภาพหรือไม่?

– หากเหตุรำคาญยังคงเกิดขึ้น แต่ไม่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรง เจ้าพนักงานท้องถิ่น และเจ้าพนักงานสาธารณสุข อาจร่วมกันดำเนินการแก้ไขในสถานที่เอกชนนั้นได้ โดยคิดค่าใช้จ่ายจากเจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น แล้วให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการลงโทษ โดยการเปรียบเทียบปรับ หรือดำเนินคดีทางศาล แล้วแต่กรณี ตามอำนาจในมาตรา 85 วรรค 3 และหากผู้ที่ก่อเหตุ ไม่ยินยอมเสียค่าใช้จ่ายดังกล่าว เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็สามารถห้องเรียก ค่าใช้จ่ายทางศาลได้ด้วย

– หากเหตุรำคาญยังคงเกิดขึ้น และเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพด้วย นอกจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะดำเนินการลงโทษ โดยการเปรียบเทียบปรับ หรือดำเนินคดีทางศาล แล้วแต่กรณี ตามอำนาจในมาตรา 85 วรรค 3 ต่อเจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่เอกชนนั้นแล้ว เจ้าพนักงานสาธารณสุข อาจเสนอให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น ออกคำสั่งเป็นหนังสือ ห้ามมิให้ใช้ หรือยินยอมให้บุคคลใด ใช้สถานที่นั้นทั้งหมด หรือบางส่วน จนกว่าจะได้มีการระงับเหตุรำคาญนั้นแล้วก็ได้ ซึ่งกรณีนี้ก็จะมีผลคล้ายกับ การสั่งให้หยุดดำเนินกิจการนั่นเอง

ร้องเรียนเรื่องสุนัขได้ที่ไหน
ขั้นตอนการร้องเรียน

โทษความผิดของผู้ก่อเหตุรำคาญ

ความผิดของเรื่องนี้ เน้นไปที่การขัดคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อพบว่า บุคคลใดได้ก่อเหตุรำคาญขึ้น เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็จะออกคำสั่ง ให้ปรับปรุงแก้ไข หรือระงับเหตุรำคาญนั้น หากไม่ปรับปรุงแก้ไข โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร จึงจะมีโทษความผิด ตามมาตรา 74 กล่าวคือ มีความผิดฐานขัดคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น โดยไม่มีเหตุ หรือข้อแก้ตัวอันสมควร ก็จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

รวมทั้งกรณีที่ขัดคำสั่ง ห้ามมิให้ใช้ หรือยินยอมให้ใช้สถานที่เอกชน ที่เกิดเหตุรำคาญ ที่เป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ก็มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำนักงานเขตฯ ออกประกาศสัตว์เลี้ยง

ในเขตเมืองเป็นพื้นที่ประสบปัญหาสัตว์เลี้ยงก่อความรำคาญมากที่สุด หลายเขตในกรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนเป็นจำนวนมาก จึงออกประกาศขอความร่วมมือเจ้าของสัตว์เลี้ยงปฏิบัติ ดังนี้

1.ต้องเลี้ยงสัตว์ภายในบริเวณบ้าน โดยจัดสถานที่เลี้ยงสัตว์ตามความเหมาะสมตามจำนวนสัตว์เลี้ยง

2.รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอจัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะไม่ปล่อยให้เกิดการสะสมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อาศัยใกล้เคียง

3.ต้องระมัดระวังและรับผิดชอบมลภาวะเสียง และกลิ่นที่เกิดจากการเลี้ยงสัตว์ที่เป็นเหตุรบกวนหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

4.ต้องจัดให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์เลี้ยงเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์มาสู่คน

5.การนำสุนัขออกนอกสถานที่เลี้ยงต้องผูกสายจูงสุนัขที่แข็งแรง และจับสายลากจูงตลอดเวลา ในกรณีเป็นสุนัขควบคุมพิเศษต้องใส่อุปกรณ์ครอบปาก และจับสายลากจูงห่างจากสุนัขไม่เกิน 50 เซนติเมตร

และ 6.ต้องกำจัดสิ่งปฏิกูลอันเกิดจากสัตว์เลี้ยงในสาธารณะโดยทันที

ทั้งนี้ เพราะการเลี้ยงสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงสัตว์ในบ้านพัก หรือสถานที่ใดๆ ก็ตาม หากเกิดการเห่า หอน เสียงดัง ถ่ายมูลเรี่ยราด ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนแก่ผู้อาศัยใกล้เคียง ถือเป็นเหตุเดือดร้อนรำคาญตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 และพ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ พ.ศ.2535

อย่างไรก็ตาม เรื่องสัตว์เลี้ยงสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ยังไปไกลถึงการฟ้องร้องในชั้นศาล อย่างล่าสุดมีกรณีแมวเพื่อนบ้านเข้ามาสร้างความเสียหายแก่รถยนต์หรูในบ้านหลังหนึ่ง มีภาพจากกล้องวงจรปิดยืนยันแมวนอนบนหลังคารถยนต์จริง นำไปฟ้องร้องศาลขอเรียกเงินค่าเสียหายหลายหมื่นบาท

เพราะการเลี้ยงสัตว์ รักอย่างเดียวไม่พอ   

ข้อมูลจาก ประกาศสำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร , สำนักที่ปรึกษา กรมอนามัย, สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนนทบุรี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง แมวหลุดจากบ้าน ไต่รถหรู-เจอเรียกค่าเสียหายหลักแสน เรื่องไม่จบ-สู้ถึงศาล