ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ได้ที่ไหนบ้าง

ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ได้ที่ไหนบ้าง

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ หรือก็คือ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นสิ่งที่ผู้ใช้รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือยานยนต์ต่าง ๆ ทุกประเภทจำเป็นต้องซื้อหรือต่อทุกปี เพราะพ.ร.บ. ตัวนี้มีอายุความคุ้มครองเพียง 1 ปีเท่านั้น แต่ทราบไหมคะว่าในตอนนี้ เราไม่จำเป็นต้องเดินทางและเสียเวลาครึ่งวัน เพื่อออกไปต่อพรบรถจักรยานยนต์กันอีกต่อไปแล้ว เพราะมีวิธีต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ออนไลน์ได้เองง่าย ๆ ไม่กี่ขั้นตอน ไปดูกันเลย

ซื้อรถยนต์มือสองกับ Carsome.co.th การันตีคุณภาพรถยนต์ ผ่านการตรวจสภาพ 175 จุด พร้อมรับประกัน 1 ปีเต็ม ราคาคงที่ ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝง ซื้อไปแล้วไม่พอใจ การันตีคืนเงินเต็มจำนวนภายใน 5 วัน

นึกถึงรถยนต์มือสองต้อง Carsome.co.th

ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ได้ที่ไหนบ้าง

สารบัญ
  • สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อจะต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์

  • วิธีต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์

  • พ.ร.บ. จักรยานยนต์ต่างกับ พ.ร.บ. รถยนต์อย่างไร?

    • ค่าใช้จ่ายในการต่อพ.ร.บ. รถยนต์

    • ค่าใช้จ่ายในการต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

  • พ.ร.บ. จักรยานยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง?

  • การเคลม พ.ร.บ. จักรยานยนต์

  • ถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์จะเกิดอะไรขึ้น?

สิ่งที่ต้องเตรียมเมื่อจะต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์

    • สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เลือกเครื่องมือที่จะใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในการต่อใบขับขี่ และต้องเตรียมเข้าเว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf เพราะการต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ออนไลน์จะต้องทำผ่านระบบ e-service ซึ่งเป็นระบบของกรมการขนส่งทางบกโดยตรง
    • เตรียมเวลาในการกรอกข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบถ้วน ประมาณ 15 นาที

วิธีต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์

    • เข้าสู่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th/esvapp/login.jsf 
    • หากเคยลงทะเบียนแล้วให้เข้าสู่ระบบโดยกรอกรหัสประจำตัวประชาชนและรหัสผ่าน

ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ได้ที่ไหนบ้าง

  • หากยังไม่เคยลงทะเบียน ให้คลิกลงทะเบียนสมาชิกใหม่จากนั้นก็กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทั้งที่อยู่ปัจจุบันและที่อยู่ส่งเอกสารด้วย จากนั้นก็ใช้รหัสประจำตัวประชาชนเข้าสู่ระบบ

ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ได้ที่ไหนบ้าง

ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ได้ที่ไหนบ้าง

  • เมื่อเข้าสู่ระบบแล้วให้ดูที่หัวข้อบริการ จากนั้นก็คลิก ชำระภาษีรถประจำปี > ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต

ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ได้ที่ไหนบ้าง

  • เมื่อเว็บไซต์เข้าสู่หน้าค้นหาข้อมูลการลงทะเบียนรถ จะมีข้อมูล 3 ช่องให้ระบุ ได้แก่ ประเภทรถ จังหวัด และเลขทะเบียนรถ เมื่อกรอกครบถ้วนแล้วให้กดบันทึก จากนั้นจะมีรายการข้อมูลลงทะเบียนรถปรากฏด้านล่าง ให้คลิกช่องสี่เหลี่ยมด้านหน้ารายการแล้วกดชำระภาษี

ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ได้ที่ไหนบ้าง

  • อย่างไรก็ตาม สำหรับรถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ที่ไม่เคยลงทะเบียนมาก่อนให้คลิกที่ลงทะเบียนรถ จากนั้นก็ลงทะเบียนให้เรียบร้อยแล้วกดชำระภาษี

ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ได้ที่ไหนบ้าง

    • เมื่อเว็บไซต์เข้าสู่หน้าข้อมูลการยื่นชำระภาษี จะมีข้อมูล 3 ช่องปรากฎ ได้แก่ รายละเอียดรถ ข้อมูล พ.ร.บ. และรายการที่ต้องชำระ สำหรับการต่อพรบรถจักรยานยนต์ออนไลน์ ให้ดูที่หัวข้อ ข้อข้อมูล พ.ร.บ. คลิกที่ช่องไม่มี (ซื้อผ่านระบบ) หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา ให้คลิกเลือก ต้องการซื้อ พ.ร.บ. ใหม่
    • หลังจากนั้นก็กรอกข้อมูลข้างล่างช่องซื้อ พ.ร.บ. เพิ่ม ให้กรอกข้อมูลบริษัทประกันภัยและรายละเอียดสถานที่จัดส่งเอกสารให้ครบถ้วน
    • คลิกเลือกวิธีชำระเงิน สามารถเลือกวิธีชำระเงินต่าง ๆ ที่มีให้เลือกตามสะดวก เมื่อชำระเงินเรียบร้อยจะมีใบเสร็จขึ้นเป็นหลักฐาน จากนั้นก็รอรับ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ตามที่อยู่ที่กรอกไว้ได้เลย

นึกถึงรถยนต์มือสองต้อง Carsome.co.th

ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ได้ที่ไหนบ้าง

พ.ร.บ. จักรยานยนต์ต่างกับ พ.ร.บ. รถยนต์อย่างไร?

ทั้ง พ.ร.บ. จักรยานยนต์และ พ.ร.บ. รถยนต์ต่างก็ให้ความคุ้มครองที่เหมือนกัน คือการจ่ายค่าคุ้มครองพื้นฐานก่อนประกันที่ต้องสมัครด้วยตนเอง โดย พ.ร.บ. นี้จะคุ้มครองผู้บาดเจ็บด้วยอุบัติเหตุ จ่ายตามค่ารักษาพยาบาลจริง ไม่ครอบคลุมถึงค่าเสียหายหรือค่าซ่อมรถอื่น ๆ 

อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของพ.ร.บ. จักรยานยนต์และ พ.ร.บ. รถยนต์คือค่าใช้จ่ายที่ไม่เท่ากัน สามารถเช็คราคาคร่าว ๆ ได้จากตารางด้านล่าง (อาจมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย)

ค่าใช้จ่ายในการต่อพ.ร.บ. รถยนต์

ประเภทรถยนต์ ราคา
รถส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง  600 บาท
รถส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง 1,100 บาท
รถส่วนบุคคลเกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง 2,050 บาท
รถส่วนบุคคลเกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง 3,200 บาท
รถส่วนบุคคลเกิน 40 ที่นั่ง 3,740 บาท

ค่าใช้จ่ายในการต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

ประเภทรถจักรยานยนต์ ราคา
เครื่องยนต์ไม่เกิน 75 ซีซี  161.57 บาท
เครื่องยนต์ 75-125 ซีซี  323.14 บาท
เครื่องยนต์ 125-150 ซีซี  430.14 บาท
เครื่องยนต์ 150 ซีซีขึ้นไป 645.12 บาท

พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง?

ในส่วนของความคุ้มครอง ทั้ง พ.ร.บ. รถยนต์และ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ให้ความคุ้มครอง 2 อย่าง ได้แก่

  • ค่าเสียหายเบื้องต้น (ไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด)

เงินชดเชยกรณีบาดเจ็บ สูงสุด 30,000 บาท
เงินชดเชยกรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะ สูงสุด 35,000 บาท
เงินชดเชยกรณีเกิดหลายกรณีรวมกัน สูงสุด 65,000 บาท
  • ค่าสินไหมทดแทน

เงินชดเชยกรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย (จ่ายตามค่ารักษาจริง) สูงสุด 80,000 บาท
เงินชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพลภาพอย่างสิ้นเชิง 200,000 – 500,000 บาท
เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต สูงสุด 500,000 บาท
เงินชดเชยรายวันกรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล (ผู้ป่วยใน) วันละ 200 บาท (ไม่เกิน 20 วัน)

การเคลม พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์

ในการเคลมพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ นั้นจำเป็นต้องใช้เอกสารต่าง ๆ โดยยื่นเรื่องผ่านทางโรงพยาบาลหรือบริษัทกลางประกันภัย ส่วนเอกสารที่ต้องใช้ในการเคลมแบ่งไปตามกรณี ดังนี้

    • การเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ
      • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารทางราชการที่พิสูจน์ตัวตนได้
      • ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาล
    • การเบิกค่ารักษากรณีผู้ป่วยใน
      • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารทางราชการที่พิสูจน์ตัวตนได้
      • ใบแจ้งหนี้ค่ารักษาพยาบาล หรือหนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในจากโรงพยาบาล
    • การเบิกค่ารักษากรณีทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะ
      • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารทางราชการที่พิสูจน์ตัวตนได้
      • ใบรับรองแพทย์ และหลักฐานรับรองแสดงถึงการทุพพลภาพถาวร เช่น หนังสือรับรองความพิการ
      • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสืบสวน
    • การเบิกค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต
      • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือเอกสารทางราชการที่พิสูจน์ตัวตนได้
      • ใบมรณบัตร
      • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาทและบัตรประจำตัวประชาชนของทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
      • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสืบสวน

ถ้าไม่ต่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์จะเกิดอะไรขึ้น?
แน่นอนว่าการขาด พ.ร.บ. นั้นมีโทษทางกฎหมาย ดังนั้นเมื่อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ของเราหมดอายุก็ควรรีบไปต่อทันที ซึ่งโทษของการขาดต่อพรบรถจักรยานยนต์ก็มีดังนี้

    • เสียค่าปรับ: หากนำรถหรือมอเตอร์ไซค์ไปใช้โดยไม่ได้ต่อพรบมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
    • ไม่ได้รับความคุ้มครอง ไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลหรือเงินชดเชยได้เลย
    • หากไม่ต่อพรบก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ และทะเบียนรถอาจถูกระงับในที่สุด
    • เสียค่าปรับชำระภาษีย้อนหลังเดือนละ 1%

และนี่คือไกด์ทั้งหมดเกี่ยวกับการต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ครอบคลุมไปถึงการต่อพ.ร.บ. รถยนต์ด้วยเช่นกัน จะเห็นได้ว่าคุณสามารถต่อพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ออนไลน์ได้อย่างง่าย ๆ และรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางอีกต่อไป และพ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ก็มีคุณประโยชน์มากมาย รู้อย่างนี้ก็อย่าลืมต่อพ.ร.บ.ก่อนจะขับขี่เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองนะคะ

หากคุณกำลังสนใจจะ ซื้อรถมือสอง หรือ ขายรถ แล้วล่ะก็… ที่ Carsome เสนอราคาให้คุณได้ดีที่สุด! เรามีขั้นตอนการชำระเงินที่รวดเร็ว และไม่มีขั้นตอนยุ่งยากใด ๆ คลิกที่เว็บไซต์เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้เลย!

ต่อพ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ได้ที่ไหนบ้าง

อ่านบทความต่อ: อยากต่อภาษีรถออนไลน์ ต้องทำยังไง ? หรือ วิธีต่อใบขับขี่ออนไลน์ง่าย ๆ ทำเองได้ ไม่กี่ขั้นตอน