สาขาวิชาการวางแผนการเงินและการลงทุน มีที่ไหนบ้าง

หากพูดถึงวิชาที่ไม่มีสอนในโรงเรียน แต่อยากให้มีสอนมากที่สุด หนึ่งในนั้น คงเป็นเรื่องของการเงินและการวางแผนทางการเงิน แม้จะฟังดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริงๆ แล้วไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิดเลย เพราะหากได้รับความรู้ทางการเงินตั้งแต่เด็กๆ ก็สามารถช่วยลดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินเมื่อเข้าสู่วัยทำงานได้ค่ะ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ นักวางแผนทางการเงิน และนักวางแผนการลงทุน เริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทยมากขึ้น และในอนาคตอาจจะเป็นอาชีพที่มีความสำคัญมากขึ้นด้วย วันนี้เราจะมาดูกันว่า ถ้าอยากทำงานด้านนี้ จะต้องทำอย่างไร

เจาะลึกคณะที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ  : นักวางแผนการเงินและการลงทุน

เจาะลึกคณะที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ : นักวางแผนทางการเงินและการลงทุน

แนะนำอาชีพ  

นักวางแผนทางการเงิน เป็นอาชีพเฉพาะทางยุคใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะสามารถช่วยคนในการจัดทำแผนการเงินส่วนบุคคล ให้คำปรึกษาทางการเงินและการลงทุน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินของบุคคลนั้นๆ โดยผู้ที่จะมาให้คำปรึกษาทางการเงินได้ ก็จะต้องมีความรู้ด้านการเงินรอบด้าน เช่น การบริหารกระแสเงินสด การลงทุน ประกันชีวิต ภาษีและมรดก การวางแผนเพื่อการเกษียณ เพื่อให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ที่มารับคำปรึกษา

สำหรับนักวางแผนการลงทุน คือ ผู้ที่ให้คำแนะนำด้านการลงทุนแก่นักลงทุน โดยจะวิเคราะห์จากข้อมูลข่าวสารต่างๆ เพื่อให้การลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีที่สุด  

อย่างไรก็ตาม หากน้องๆ สนใจทั้ง 2 อาชีพนี้ จำเป็นต้องมีใบอนุญาตในการทำงานด้วย ดังนั้น เมื่อน้องๆ เรียนจบออกมา จะต้องสอบใบอนุญาตดังกล่าว

คุณสมบัติของคนที่จะทำอาชีพนี้

ไม่ว่าจะเป็นนักวางแผนทางการเงินหรือนักวางแผนการลงทุน จะต้องมีคุณสมบัติสำคัญๆ ดังนี้

1. มีความซื่อสัตย์และโปร่งใส จริงๆ แล้วในทุกๆ อาชีพควรมีความซื่อสัตย์เป็นที่ตั้ง แต่สำหรับนักวางแผนการเงินและการลงทุน มีโอกาสที่จะได้รู้เห็นทรัพย์สินของผู้ที่มาขอคำปรึกษาหรือลูกค้า ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์ ไม่โลภอยากได้ของของผู้อื่นและทำทุกอย่างด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้

2. ให้ความสำคัญกับเป้าหมายของลูกค้ามากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัว เพราะลูกค้าที่เข้ามาขอคำปรึกษาล้วนต้องการการวางแผนเพื่อการลงทุนหรือวางแผนการเงินในชีวิต ซึ่งจะให้ความเชื่อใจแก่นักวางแผนการลงทุนมาก ดังนั้นนักวางแผนฯ จะต้องคำนึกถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นที่ตั้ง อะไรที่ดีควรแนะนำอย่างตรงไปตรงมา และไม่ควรนำเสนออะไรที่จำเป็น แม้ว่าตนเองจะมีค่าแนะนำการขายผลิตภัณฑ์ทางการเงินก็ตาม

3. มีความสามารถในการสื่อสารและน่าเชื่อถือ การที่ลูกค้าจะเชื่อใจ ยอมให้เราดูแลแนะนำการลงทุน ผู้ให้คำแนะนำควรมีความรู้และบุคลิกที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งการสื่อสารที่มีความเป็นมืออาชีพ ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้านั่นเองค่ะ

ต้องเรียนคณะ/สาขาอะไร  

สำหรับคณะที่เรียนออกมาเพื่อเป็นนักวางแผนทางการเงินและการลงทุนโดยตรงนั้น อาจจะมีไม่กี่แห่งที่เปิดสอนในหลักสูตรวางแผนการทางการเงินและการลงทุน แต่น้องๆ สามารถเรียนสาขาที่ใกล้เคียงได้ เช่น คณะเศรษฐศาสตร์ หรือ สาขาด้านการเงินค่ะ หรือ จบคณะอื่นมา ก็สามารถทำงานในสายงานนี้ได้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ที่ได้บอกข้างต้นแล้วว่า อาชีพนี้จำเป็นต้องสอบใบอนุญาต หรือ คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP (Certified Financial Planner) และสำหรับนักวางแผนการลงทุน ก็จะต้องมีใบอนุญาต IP (Investment Planner License) ด้วย จึงต้องมีการอบรมและสอบเพิ่มเติม  

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

คณะที่เปิดสอนด้านการเงินและการลงทุน

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการธนาคารและการเงิน 
  •  ม.เกษตรศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงิน
  • ม.ขอนแก่น  คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขาวิชาการเงิน 
  • ม.ขอนแก่น ว.หนองคาย คณะสหวิทยาการ วิชาเอกการเงินธุรกิจ 
  •  ม.เชียงใหม่ คณะบริหารธุรกิจ วิชาเอกธุรกิจการเงินและการธนาคาร
  • ม.ธรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาวิชาการเงิน 
  • ม.นเรศวร  คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร 
  • ม.บูรพา คณะการจัดการและการท่องเที่ยว สาขาการเงิน 
  • ม.พะเยา คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการเงินและการลงทุน 
  •  ม.มหาสารคาม คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาการบริหารการเงิน 
  • ม.แม่โจ้ คณะบริหารธุรกิจ วิชาเอกบริหารการเงินและการลงทุน 
  • ม.ศรีนครินทรวิโรฒคณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม สาขาวิชาการเงิน 
  • ม.สวนดุสิตคณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการเงิน 
  • ม.สงขลานครินทร์  คณะวิทยาการจัดการ วิชาเอกการเงินและการลงทุน 
  • มรภ.สวนสุนันทา คณะวิทยาการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต แขนงวิชาการเงินการธนาคาร 
  • มรภ.จันทรเกษม คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการเงินและการลงทุน 
  • มรภ.สุราษฎร์ธานี คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการเงินและการลงทุน 
  • มรภ.ชัยภูมิ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการเงิน 
  •  มทร.กรุงเทพ  คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงิน 
  • มทร.ธัญบุรี  คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงิน 
  • มทร.พระนคร คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงิน 
  • ม.กรุงเทพ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการวางแผนการเงินและการลงทุน 
  • ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ วิทยาลัยบริหารธุรกิจ นวัตกรรมและการบัญชี วิชาเอก การเงิน การลงทุนและเทคโนโลยีการเงิน 
  • ม.รังสิต คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงินและการลงทุน 
  • ม.หอการค้าไทย คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงินและการลงทุน 
  • ม.สยาม คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงินและการลงทุน 

ค่าเทอมของหลักสูตรนี้

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการธนาคารและการเงิน จุฬาฯ 17,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเงิน ม.เกษตรศาสตร์ 12,900 บาท / ภาคการศึกษา
  • คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขาวิชาการเงิน ม.ขอนแก่น 15,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • คณะบริหารธุรกิจ วิชาเอกธุรกิจการเงินและการธนาคาร ม.เชียงใหม่ 15,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาวิชาการเงิน ม.ธรรมศาสตร์ 14,200 บาท / ภาคการศึกษา
  • คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร ม.นเรศวร  15,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม สาขาวิชาการเงิน ม.ศรีนครินทรวิโรฒ 20,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • คณะบริหารธุรกิจ วิชาเอกบริหารการเงินและการลงทุน ม.แม่โจ้ 8,850 บาท / ภาคการศึกษา
  • คณะวิทยาการจัดการ วิชาเอกการเงินและการลงทุน ม.สงขลานครินทร์  16,000 บาท / ภาคการศึกษา
  • คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการเงินและการลงทุน มรภ.จันทรเกษม 8,700 บาท / ภาคการศึกษา

วิชาที่น่าจะเกี่ยวข้อง (อ้างอิงปี 65)

ในกลุ่มของสายบริหารธุรกิจ วิชาที่จำเป็นต้องใช้ได้แก่ TGAT  และ A-Level วิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์ ซึ่งมหาวิทยาลัยอาจกำหนดให้ใช้คณิตศาสตร์ 1 หรือ 2 แค่วิชาใดวิชาหนึ่ง หรืออาจกำหนดให้ใช้ได้ทั้งสองวิชาก็ได้เช่นกัน 

นอกจากนี้ บางมหาวิทยาลัยอาจใช้วิชาอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ  สังคมศึกษา  เป็นต้น

ในการสมัครเข้าเรียนต่อสาขาการเงิน บางมหาวิทยาลัยน้องๆ สามารถเลือกสาขาการเงินได้ตั้งแต่ตอนสอบเข้าเลย แต่หลายมหาวิทยาลัย จะต้องเลือกสาขาบริหารธุรกิจเข้าไปก่อนและหลังจากนั้นค่อยเลือกสาขาหรือวิชาเอกอีกครั้ง ในส่วนนี้น้องๆ สามารถดูได้จากระเบียบการรับสมัครว่ามีระเบียบวิธีการรับแบบใดค่ะ  

สาขาวิชาการวางแผนการเงินและการลงทุน ทำงานอะไร

แนวทางการประกอบอาชีพ นักวิชาการเงิน นักวิชาการเงินและพัสดุ ผู้ประกอบวิชาชีพในธุรกิจหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการแนะนำการลงทุน เช่น ผู้แนะนำการลงทุน ผู้วางแผนการลงทุน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ตลอดจนผู้จัดการกองทุน/ผู้บริหารการลงทุนส่วนบุคคล (Private Wealth) นักบริหารการเงินในองค์กรธุรกิจภาคเอกชนและภาครัฐ

การเงินและการลงทุน คณะอะไร

ชื่อปริญญา ·บริหารธุรกิจบัณฑิต (การเงินและการลงทุน ) ·บธ.บ. (การเงินและการลงทุน ) ·Bachelor of Business Administration (Coperate Finance and Investment)

คณะบริหารการเงิน มีที่ไหนบ้าง

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน.

สาขาการบัญชี มีอะไรบ้าง

มีสาขาอะไรบ้าง?.
สาขาวิชาการบัญชี เรียนเกี่ยวกับ การภาษีอากร, การตรวจสอบบัญชี, รายงานการเงินและการวิเคราะห์งบการเงิน เป็นต้น.
สาขาวิชาการเงิน เรียนเกี่ยวกับ ตลาดการเงิน, การบริหารการเงิน, การวิเคราะห์ตราสารทุน เป็นต้น.
สาขาวิชาการตลาด เรียนเกี่ยวกับ พฤติกรรมผู้บริโภค, กลยุทธ์การตลาด, การตลาดระหว่างประเทศ เป็นต้น.