ในการอ่านทำนองเสนาะบทร้อยกรองเมื่อถึงวรรคจบควรปฏิบัติอย่างไร


�Ԫ������� �дѺ����Ѹ���֡�һշ�� 1
����ͧ ����͡���§�����¡�ͧ �ӹǹ 5 ���
�¹ҧ�ѹ������ ͺ�ͧ �ç���¹�ѹ�������
�����������͡�ͺ��ͷ��١��ͧ�ҡ����ش��§�������

��ͷ�� 1
1. ��㹢��������������
   �. �ҷ-�Ҵ
   �. ���-�Դ
   �. �ǧ-���
   �. ��ͧ-���

��ͷ�� 2
2. ��ͤ��������ä�͹�����ҹ�ç������Ҿ��١��ͧ
   �. �������/�����/���/�Թ��Ѿ��
   �. �������/�����/�Թ��Ѿ��
   �. ��������/�������Թ/��Ѿ��
   �. �������/��������/�Թ��Ѿ��

��ͷ�� 3
3. 㹡����ҹ�ӹͧ�ʹ�е͹����黯ԺѵԵ������
   �. ���稺���
   �. �����ᷡ���§�ѧ�
   �. ���ʹ���§��� �
   �. ����ź���§���-ŧ����

��ͷ�� 4
4. ��������ä�͹�����ҹ��͹���Ҿ��١��ͧ
   �. �������繴��/������͹/��Ҵ����͹���
   �. ��������/�������/��͹��Ҵ/����͹���
   �. �������繴������/��͹��Ҵ����͹���
   �. ��������/���������͹/��Ҵ����͹���

��ͷ�� 5
5. �ŧ������Ҿ 1 �� �ա��ҷ
   �. 1 �ҷ
   �. 2 �ҷ
   �. 3 �ҷ
   �. 4 �ҷ


.  ความหมายของ  “การอ่านทำนองเสนาะ”

                         การอ่านทำนองเสนาะคือวิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองประเภท โคลงฉันท์  กาพย์  กลอน  ( พจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ 

หน้า  ๓๙๘ )

                         บางคนให้ความหมายว่า  การอ่านทำนองเสนาะคือ  การอ่านตามทำนอง ( ทำนอง = ระบบเสียงสูงต่ำ  ซึ่งมีจังหวะสั้นยาว )   เพื่อให้เกิดความเสนาะ  ( เสนาะ  , น่าฟัง ,  เพราะ  , วังเวงใจ )

.  วัตถุประสงค์ในการอ่านทำนองเสนาะ

                         การอ่านทำนองเสนาะเป็นการอ่านให้คนอื่นฟัง   ฉะนั้นทำนองเสนาะต้องอ่านออกเสียง   เสียงทำให้เกิดความรู้สึก   –  ทำให้เห็นความงาม  –  เห็นความไพเราะ  –  เห็นภาพพจน์    ผู้ฟังสัมผัสด้วยเสียงจึงจะเข้าถึงรสและความงามของบทร้อยกรอง  ที่เรียกว่าอ่านแล้วฟังพริ้ง – เพราะเสนาะโสด   การอ่านทำนองเสนาะจึงมุ่งให้ผู้ฟังเข้าถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรอง

.  ที่มาของการอ่านทำนองเสนาะ

                         เข้าใจว่า   การอ่านทำนองเสนาะมีมานานแล้วแต่ครั้งกรุงสุโขทัย   เท่าที่ปรากฎหลักฐานในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง  พุทธศักราช  ๑๘๓๕   หลักที่หนึ่ง   บรรทัดที่  ๑๘ – ๒๐   ดังความว่า “  ด้วยเสียงพาเสียงพิณ  เสียงเลื้อน  เสียงขับ  ใครจักมักเล่นเล่น   ใครจักมักหัว – หัว  ใครมักจักเลื้อน  เลื้อน  ”  จากข้อความดังกล่าว     ฉันทิชย์  กระแสสินธุ์      กล่าวว่า   เสียงเลื้อนเสียงขับ  คือ  การร้องเพลงทำนองเสนาะ 

ส่วน   ทองสืบ   ศุภะมารค  ชี้แจงว่า  “ เลื้อน ”   ตรงกับภาษาไทยถิ่นว่า “ เลิ่น ”   หมายถึง  การอ่านหนังสือเอื้อนเป็นทำนอง   ซึ่งคล้ายกับที่ประเสริฐ  ณ นคร  อธิบายว่า  เลื้อน  เป็นภาษาถิ่น  แปลว่า  อ่านทำนองเสนาะ  โดยอ้างอิง  บรรจบ    พันธุเมธา   กล่าวว่า   คำนี้เป็นภาษาถิ่นของไทย   ในพม่า  คือไทยในรัฐฉานหรือไทยใหญ๋นั่นเอง   จากความคิดเห็นของผู้รู้  ประกอบกับหลักฐาน   พ่อขุนหลามคำแหงดังกล่าว   ทำให้เชื่อว่า   การอ่านทำนองเสนาะของไทยมีมานานหลายร้อยปีแล้ว    โดยเรียกเป็นภาษาถิ่นว่า  “ เลื้อน ”

ที่มาของต้นเค้าของการอ่านทำนองเสนาะพอจะสันนิษฐานได้ว่า   น่าจะมีบ่อเกิดจากการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อนที่มีความเกี่ยวพันกับการร้องเพลงทำนองต่าง ๆ   ตลอดมา   ทั้งนี้จากเหตุผลที่ว่า คนไทยมีนิสัยชอบพูดคำคล้องจองให้มีจังหวะด้วยลักษณะสัมผัสเสมอ   ประกอบกับคำภาษาไทยที่มีวรรณยุกต์กำกับจึงทำให้คำมีระดับเสียงสูงต่ำเหมือนเสียงดนตรี   เมื่อประดิษฐ์ทำนองง่าย ๆ   ใส่เข้าไปก็ทำให้สามารถสร้างบทเพลงร้องขึ้นมาได้แล้ว   ดังนั้นคนไทยจึงมีโอกาสได้ฟังและชื่นชมกับการร้องเพลงทำนองต่าง ๆ  ตั้งแต่เกิดจนตายทีเดียว

         ศิลปะการอ่านทำนองเสนาะจึงขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้อ่าน  และความไพเราะของบทประพันธ์แต่ละประเภท    โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้อ่านทำนองเสนาะจึงต้องศึกษาวิธีการอ่านให้ไพเราะและต้องหมั่นฝึกฝนการอ่านจนเกิดความชำนาญ

                         อนึ่งศิลปะการอ่านทำนองเสนาะอยู่ที่ตัวผู้อ่านต้องรู้จัก วิธีการอ่านทอดเสียง  โดยผ่อนจังหวะให้ช้าลง  การเอื้อนเสียง  โดยการลากเสียงช้า ๆ    เพื่อให้เข้าจังหวะและให้หางเสียงให้ไพเราะ   การครั่นเสียง โดยทำเสียงสะดุดสะเทือนเพื่อความไพเราะเหมาะสมกับบทกวีบางตอน   การหลบเสียง  โดยการหักเหให้พลิกกลับจากเสียงสูงลงมาเป็นต่ำ   หรือจากเสียงต่ำขึ้นไปเป็นเสียงสูง    เนื่องจากผู้อ่านไม่สามารถที่จะดำเนินตามทำนองต่อไปได้เป็นการหลบหนีจากเสียงที่เกินความสามารถ    จึงต้องหักเหทำนองพลิกกลับเข้ามาดำเนินทำนองในเขตเสียงของตน  และ  การกระแทกเสียง  โดยการอ่านกระชากเสียงให้ดังผิดปกติในโอกาสที่แสดงความโกรธหรือความไม่พอใจหรือเมื่อต้องการเน้นเสียง

                         ( มนตรี  ตราโมท ๒๕๒๗ : ๕๐ )

.  รสที่ใช้ในการอ่านทำนองเสนาะ

                         ๔.๑     รสถ้อย  ( คำพูด )  แต่ละคำมีรสในคำของตนเอง    ผู้อ่านจะต้องอ่านให้เกิดรสถ้อย

                         ตัวอย่าง

                                สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน                                ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม

                         กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม                   อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม

                         แม้นล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม                   ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม

                         ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์                             ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย

                                             ( พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณ )

                         ๔.๒    รสความ  (เรื่องราวที่อ่าน)  ข้อความที่อ่านมีเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร   เช่น  โศกเศร้า   สนุกสนาน  ตื่น  เต้น   โกรธ   รัก  เวลาอ่านต้องอ่านให้มีลีลาไปตามลักษณะของเนื้อเรื่องนั้น ๆ

                         ตัวอย่าง   :    บทโศกตอนที่นางวันทองไปส่งพลายงามให้ไปหาย่าทองประศรีที่สุพรรณบุรี

                                      ลูกก็แลดูแม่แม่ดูลูก                       ต่างพันผูกเพียงว่าเลือดตาไหล

                                สะอื้นร่ำอำลาด้วยอาลัย                      แล้วแข็งใจจากนางตามทางมา

                                เหลียวหลังยังเห็นแม่แลเขม้น                          แม่ก็เห็นลูกน้อยละห้อยหา

                                แต่เหลียวเหลียวเลี้ยวลับวับวิญญาณ์                โอ้เปล่าตาต่างสะอื้นยืนตะลึง

                                               ( เสภาขุนช้างขุนแผน  ตอนกำเนิดพลายงาม  : สุนทรภู่ )

                         ตัวอย่าง      :  บทสนุกสนาน    ในนิราศพระบาท   ขณะมีมวยปล้ำ

                                      ละครหยุดอุตลุดด้วยมวยปล้ำ      ยืนประจำหมายสู้เป็นคู่ขัน

                                มงคลใส่สวมหัวไม่กลัวกัน                                ตั้งประจันจดจับขยับมือ

                                ตีเข้าปับรับโปกสองมือปิด                 ประจบติดเตะผางหม้อขว้างหวือ

                                กระหวัดหวิดหวิวผวาเสียงฮาฮือ                      คนดูอ้อเออกันสนั่นอึง

                         ๔.๓     รสทำนอง ( ระบบสูงต่ำซึ่งมีจังหวะสั้นยาว )  ในบทร้อยกรองไทยจะประกอบด้วยทำนองต่าง ๆ  เช่น  ทำนองโคลง   ทำนองฉันท์   ทำนองกาพย์     ทำนองกลอน และทำนองร่าย   เป็นต้น    ผู้อ่านจะต้องอ่านให้ถูก ต้องตามทำนองของร้อยกรองนั้น   เช่น    โคลงสี่สุภาพ

                                      สัตว์   พวกหนึ่งนี้ชื่อ                    พหุบา    ทาแฮ

                                มี             อเนกสมญา                                        ยอกย้อน

                                เท้า      เกิดยิ่งจัตวา                                               ควรนับ     เขานอ

                                มาก     จวบหมื่นแสนซ้อน                 สุดพ้นประมาณ  ฯ

                         ๔.๔     รสคล้องจอง      ในบทร้องกรองต้องมีคำคล้องจองในคำคล้องจองนั้นต้องให้ออกเสียงต่อเนื่องกัน   โดยเน้นเสียงสัมผัสนอกเป็นสำคัญ    เช่น

                         ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง                                มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา

                         โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา              ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย

                         ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ                   พระสรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย

                         ถึงสุราพารอดไม่วอดตาม                         ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป

                         ไม่เมาหล้าแต่เรายังเมารัก                        สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน

                         ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป                     แต่มาใจนี้ประจำทุกค่ำคืน

                                                                                ( นิราศภูเขาทอง  :  สุนทรภู่ )

                         ๔.๕    รสภาพ                เสียงทำให้เกิดภาพ   ในแต่ละคำจะแฝงไปด้วยภาพ   ในการอ่านให้เห็นภาพต้องใช้เสียง  สูง – ต่ำ  ดัง – ค่อย   แล้วแต่จะให้เกิดภาพอย่างไร   เช่น

                                “ มดเอ๋ยมดแดง                                    เล็กเล็กเรี่ยวแรงแข็งขยัน ”

                                “ สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย                  งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ ”

                                “ อยุธยายศล่มแล้ว                                               ลอยสวรรค์  ลงฤา ”

.  หลักการอ่านทำนองเสนาะ  มีดังนี้

                         ๕.๑    ก่อนอ่านทำนองเสนาะให้แบ่งคำแบ่งวรรคให้ถูกต้องตามหลักคำประพันธ์เสียก่อน   โดยต้องระวังในเรื่องความหมายของคำด้วย   เพราะคำบางคำอ่านแยกคำกันไม่ได้  เช่น

                         “ สร้อยคอขนมยุระ                                   ยูงงาม ”

                                                                ( ขน – มยุระ  ,   ขนม – ยุระ )

                         “ หวนห่วงม่วงหมอนทอง                      อีกอกร่องรสโอชา ” 

                                                                ( อีก – อก – ร่อง , อี – กอ – กร่อง )

                         “ ดุเหว่าจับเต่าร้างร้อง                                              เหมือนจากห้องมาหยารัศมี ”

                                                                ( เหมือน – มด , เหมือน – มด – อด )

                         ๕.๒   อ่านออกเสียงธรรมดาให้คล่องก่อน

                         ๕.๓    อ่านให้ชัดเจน  โดยเฉพาะออกเสียง   ร  ล   และคำควบกล้ำให้ถูกต้อง   เช่น

                                “ เกิดเป็นชายชาตรีอย่าขี้ขลาด                         บรรยากาศปลอดโปร่งโล่งสมอง

                                หยิบน้ำปลาตราสับปะรดให้ทดลอง                ไหนเล่าน้องครีมนวดหน้าทาให้ที

                                เนื้อนั้นมีโปรตีนกินเข้าไว้                  คนเคราะห์ร้ายคลุ้มคลั่งเรื่องหนังผี

                                ใช้น้ำคลองกรองเสียก่อนจึงจะดี     เห็นมาลีคลี่บานหน้าบ้านเอย ”

                         ๕.๔    อ่านให้เอื้อสัมผัส  เรียกว่า   คำแปรเสียง   เพื่อให้เกิดเสียงที่ไพเราะ   เช่น

                                พระสมุทรสุดลึกล้น     คณนา

( อ่านว่า   พระ – สะ – หมุด – สุด – ลึก – ล้น     คน – นะ – นา )

                                ข้าขอเคารพอภิวาท  ในพระบาทบพิตรอดิสร

( ข้า – ขอ – เคา – รบ – อบ – พิ – วาด   ใน – พระ – บาด – บอ – พิด – อะ – ดิด – สอน )

                                ขอสมหวังตั้งประโยชน์โพธิญาณ

                         ( อ่านว่า  ขอ – สม – หวัง – ตั้ง – ประ – โหยด – โพด – พิ – ยาน )

                         ๕.๕    ระวัง    ๓    ต     อย่าให้  ตกหล่น   อย่าต่อเติม   และอย่าตู่ตัว      

                         ๕.๖    อ่านให้ถูกจังหวะ    คำประพันธ์แต่ละประเภทจะมีจังหวะแตกต่างกัน    ต้องอ่านให้ถูกวรรคตอนตามแบบแผนของคำประพันธ์นั้น  ๆ   เช่น

                                มุทิงคนาฉันท์   ( ๒ – ๒ – ๓ )

                                “ ป๊ะโท่น / ป๊ะโทน / ป๊ะโท่นโทน              บุรุษ / สิโอน / สะเอวไหว

                                อนงค์ / นำเคลื่อน / เขยื้อนไป                                          สะบัด / สไป / วิไลตา ”

                         ๕.๗    อ่านให้ถูกทำนองของคำประพันธ์นั้น  ๆ   ( รสทำนอง  )

                         ๕.๘    ผู้อ่านต้องใส่อารมณ์ตามรสความของบทประพันธ์นั้น  ๆ   รสรัก   โศก    ตื่นเต้น   ขบขัน   โกรธ   แล้วใส่น้ำเสียงให้สอดคล้องกับรสหรืออารมณ์ต่าง ๆ   เหล่านั้น

                         ๕.๙    อ่านให้เสียงดัง   ( พอที่จะได้ยินกันทั่วถึง )   ไม่ใช่ตะโกน

                         ๕.๑๐  ถ้าเป็นฉันท์   ต้องอ่านให้ถูกต้องตามบังคับของครุ   –   ลหุ  ของฉันท์นั้น  ๆ

                                ลหุ      คือ              ที่ผสมด้วยสระเสียงสั้น      และไม่มีตัวสะกด   เช่น   เตะ   บุ    และ    เถอะ    ผัวะ  ยกเว้น    ก็    บ่อ     นอกจาก     นี้ถือเป็นคำครุ   ( คะ – รุ )   ทั้งหมด

                                ลหุ      ให้เครื่องหมาย   (    ุ   )     แทนในการเขียน

                ครุ ใช้เครื่องหมาย   (     ั  )     แทนในการเขียน

ตัวอย่าง   วสันตดิลกฉันท์     ๑๔     มีครุ  –   ลหุ    ดังนี้

                ัััััั ั    ั   ุ    ั   ุ   ุ   ุ     ั                            ุ    ุ    ั    ุ      ั    ั

  ั     ั   ุ     ั  ุ   ุ   ุ    ั                                ุ   ุ      ั   ุ       ั    ั

                         อ้าเพศก็เพศนุชอนงค์                                               อรองค์กับอบบาง

( อ่านว่า   อ้า – เพด – ก็ – เพด – นุ – ชะ – อะ – นง                อะ – ระ – อง – ก้อ – บอบ – บาง )

                         ควรแต่ผดุงสิริสะอาง                                                ศุภลักษณ์ประโลมใจ

( อ่านว่า   ควน – แต่ – ผะ – ดุง – สิ – หริ – สะ – อาง      สุ – พะ – ลัก – ประ – โลม – ใจ )

                         ๕.๑๑ เวลาอ่านอ่านอย่าให้เสียงขาดเป็นช่วง  ๆ  ต้องให้เสียงติดต่อกันตลอด   เช่น

                         “ วันนั้นจันทร     มีดารากร     เป็นบริวาร     เห็นสิ้นดินฟ้า    ในป่าท่าธาร  มาลีคลี่บาน  ใบก้านอรชร ”

                         ๕.๑๒  เวลาจบให้ทอดเสียงช้า   ๆ

.  ประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านทำนองเสนาะ

                         ๖.๑     ช่วยให้ผู้ฟังเข้าถึงถึงรสและเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน

                         ๖.๒    ช่วยให้ผู้ฟังได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง   ( อาการรู้สึกจับใจ

อย่างลึกซึ้ง )

                         ๖.๓    ช่วยให้เกิดความสนุกสนาน   ความเพลิดเพลิน

                         ๖.๔    ช่วยให้จำบทร้อยกรองได้รวดเร็วและแม่นยำ

                         ๖.๕    ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยนและเยือนเย็น 

                         ๖.๖     ช่วยสืบทอดวัฒนธรรม  ในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกต่อไป