ใบเปลี่ยน นามสกุล เริ่ม ใช้ เมื่อ ไหร่


การขอเปลี่ยนนามสกุล ในกรณีที่จดทะเบียนสมรส หรือจดทะเบียนหย่า ในสหราชอาณาจักรฯ

"การเปลี่ยนนามสกุลและคำนำหน้าชื่อ หลังจดทะเบียนสมรสหรือจดทะเบียนหย่า ในต่างประเทศ สามารถทำได้ต่อเมื่อมีการจดทะเบียนบันทึกฐานะแห่งครอบครัว ทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระบบทะเบียนราษฎร์ที่ประเทศไทยแล้วเท่านั้น (ทะเบียนบ้านที่ประเทศไทย)

โดยผู้ร้องจำเป็นต้องติดต่อที่ว่าการอำเภอฯ หรือเขต ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ทั้งนี้ หากไม่ไปดำเนินการด้วยตนเอง สามารถมาขอทำ หนังสือมอบอำนาจ ให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนตนได้"

 การนำเอกสารทะเบียนสมรส หรือหย่าของ สหราชอาณาจักรไปใช้ที่ประเทศไทยในการนี้ จะต้องมีการประทับตรารับรอง (Legalisation) ผ่านสถานเอกอัครราชทูตฯ ก่อนนำไปยื่นขอเปลี่ยนนามสกุล / คำนำหน้า ที่ว่าการอำเภอฯ หรือ ที่ว่าการเขตฯ

การรับรองเอกสาร เพื่อนำไปใช้ที่ประเทศไทย แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. เอกสารที่ใช้กรณี สมรส โดย คู่สมรสเดินทางไปดำเนินการด้วยกัน ที่ประเทศไทยทั้งสองฝ่าย

1.1.  ใบทะเบียนสมรสตัวจริง ผ่านการรับรองจาก Foreign and Commonwealth Office (FCO) และประทับตราสถานเอกอัครราชทูตฯ

1.2. เอกสารแปลทะเบียนสมรสเป็นภาษาไทย ที่ผ่านการรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตฯ

2. เอกสารที่ใช้กรณี สมรส โดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเดินทางไปดำเนินการด้วยตนเอง(คู่สมรสไม่ได้เดินทางไปด้วยกัน)

ใช้เอกสาร 1.1  1.2 และ 

2.1 สำเนาหน้าหนังสือเดินทางของคู่สมรสชาวต่างประเทศ

2.2 บันทึกข้อตกลงการใช้นามสกุลที่ คู่สมรสลงลายมือยินยอมแล้ว

***เอกสาร 2.1 และ 2.2 จะต้องลงลายมือชื่อของคู่สมรสชาวต่างชาติ ประทับตราจากทนายท้องถิ่น หรือ Notary Public และผ่านการรับรองจาก FCO โดยสถานเอกอัครราชทูตฯ ประทับตรารับรองในตอนท้าย***

3. เอกสารที่ใช้กรณี สมรส โดยคู่สมรสทั้งสองต้องการ มอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนตน (ทั้งสองฝ่ายไม่ได้ไปประเทศไทย)

ใช้เอกสาร 1.1,1.2, 2.1, 2.2 และ หนังสือมอบอำนาจ ซึ่งผู้ร้องต้องลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ พร้อมนำหนังสือเดินทางไทยตัวจริง และสำเนาหนังสือเดินทางไทยพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ประทับตราจากสถานเอกอัครราชทูตฯ ประกอบมาด้วย

4. เอกสารที่ใช้กรณี หย่าที่ศาลสหราชอาณาจักร กรณีเดินทางไปดำเนินการด้วยตนเอง

4.1 เอกสารหย่าที่ออกโดยศาลอังกฤษ ผ่านการรับรองกับ FCO

4.2 เอกสารแปล 4.1 เป็นภาษาไทย ผ่านการรับรองกับสถานเอกอัครราชทูตฯ

5. เอกสารที่ใช้กรณี หย่าที่ศาลสหราชอาณาจักร ขอมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนตน

ใช้เอกสาร 4.1, 4.2 และ หนังสือมอบอำนาจ (ลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ฯ)

โดยให้ระบุในใบมอบอำนาจว่า ขอกลับไปใช้นามสกุลเดิมของตนเอง เนื่องจากหย่า โดยมีหลักฐานการหย่าดังแนบ

 
***หมายเหตุ***

- เฉพาะกรณี มอบอำนาจจึงจำเป็นต้องมาลงลายมือต่อหน้าเจ้าหน้าที่ฯ นอกนั้นสามารถส่งคำร้องทางไปรษณีย์ได้

- การขอติดต่อเพื่อดำเนินการที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ระหว่างเวลา 09.00 - 12.00 น. ทุกวันทำการ

ใช้เวลาดำเนินการ 2-4 วันทำการ สามารถส่งเอกสารกลับทางไปรษณีย์ ค่าใช้จ่าย 8-11 ปอนด์ (ราคาสำหรับส่งใน UK และ Ireland)

- ค่าธรรมเนียม 10 ปอนด์ ต่อหนึ่งตราประทับ รับชำระเป็นเงินสดหรือ UK Postal Order made payable to The Royal Thai Embassy, London 

ใบเปลี่ยน นามสกุล เริ่ม ใช้ เมื่อ ไหร่

เปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสและ/หรือคำนำหน้าชื่อหลังสมรส

หญิงไทยสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนฐานะทางครอบครัวหลังการสมรส เช่น โดยการเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อจาก “นางสาว” เป็น “นาง” และ/หรือขอเปลี่ยนนามสกุลหลังการสมรสได้ดังนี้

ก. การแจ้งเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อและนามสกุลหลังการสมรสชั่วคราวในหนังสือเดินทาง

การแจ้งเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อและ/หรือนามสกุลหลังสมรสชั่วคราวทำได้แต่ในหนังสือเดินทางรูปแบบเก่าเท่านั้น
ในหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต) ไม่สามารถขอแจ้งเปลี่ยนได้แต่อย่างใด

  1. นำใบสำคัญการสมรสเยอรมัน (Heiratsurkunde) หรือ สำเนาคัดจากทะเบียนการสมรสแบบหลายภาษา (internationaler Auszug aus dem Heiratseintrag)
    ไปรับรองที่หน่วยงานราชการเยอรมันที่เกี่ยวข้องในแต่ละรัฐ (ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารที่
    "หน่วยงานราชการเยอรมันสำหรับการรับรองเอกสารราชการเยอรมัน")
    และหากท่านจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายของประเทศอื่น เช่น เดนมาร์ก ต้องนำทะเบียนสมรสดังกล่าว ไปรับรองที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงต่างประเทศของเดนมาร์ก และที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโคเปนเฮเกน ตามลำดับ (ดูรายละเอียดการรับรองเอกสารที่
    "การรับรองทะเบียนสมรสเดนมาร์ก")

    โปรดทราบ

    "บันทึกฐานะแห่งครอบครัว" (Familienbuch) และ "ใบรับรองการสมรส" (Bescheinigung über die Eheschließung) นำมาใช้เป็นหลักฐานแทนใบสำคัญการสมรสไม่ได้
  2. นำใบทะเบียนสมรสที่รับรองมาแล้ว (สำเนา 1 ชุด) มายื่นคำร้องขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ และ/หรือ ขอเปลี่ยนนามสกุลที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ โดยยื่นเอกสารประกอบต่อไปนี้
  • สำเนาทะเบียนบ้านไทย หรือ บัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด
  • หนังสือเดินทางตัวจริง และสำเนาหนังสือเดินทาง 1 ชุด
  • ซองเปล่าติดแสตมป์ 4.25 ยูโร (หากยื่นทางไปรษณีย์)
  • ค่าธรรมเนียม 3 ยูโร (ส่งเป็นเงินสดเท่านั้น)

ข. การแจ้งบันทึกฐานะทางครอบครัวและเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านไทย

  1. นำทะเบียนสมรสที่รับรองแล้วไปให้นักแปลภาษาไทยที่มีใบอนุญาตจากศาลเยอรมัน4 แปลเป็นภาษาไทย และมอบสำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านให้ล่ามด้วย 1 ชุด เพื่อให้ล่ามแปลชื่อ-นามสกุลของท่านให้ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ล่ามต้องเย็บคำแปลภาษาไทยและต้นฉบับภาษาเยอรมันเข้าด้วยกัน เป็น 1 ชุด พร้อมประทับตราและลงลายมือชื่อรับรองการแปลด้วย
  2. นำทะเบียนสมรสและคำแปล (เอกสารจากข้อ 1) มารับรองที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ (ค่ารับรองเอกสาร 30 ยูโร) (ดูข้อมูลการรับรองทะเบียนสมรสที่ "การรับรองเอกสาร")
  3. นำทะเบียนสมรสและคำแปล (เอกสารจากข้อ 2) ที่รับรองมาจากสถานกงสุลใหญ่ ฯ ไปรับรองครั้งสุดท้ายที่ กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพ ฯ 10210 โทร. 02-575-1056-59, แฟกซ์ 02-575-1054
  4. นำทะเบียนสมรสและคำแปลที่รับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ (เอกสารจากข้อ 3) ไปแจ้งนายทะเบียนที่เขต/อำเภอในประเทศไทยที่ท่านมีชื่อในทะเบียนบ้าน เพื่อขอให้บันทึกฐานะแห่งครอบครัวหลังการสมรส
  5. (คร. 22)
    และขอเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อและ/หรือเปลี่ยนนามสกุลในทะเบียนบ้านภายหลังการสมรสตามสามีต่อไป หลังจากนั้นจึงนำทะเบียนบ้านไปติดต่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ บัตรประจำตัวประชาชนนี้ ต้องไปทำด้วยตัวเองที่ประเทศไทยเท่านั้น

!!โปรดทราบ!!

ข้อมูลใหม่: สำหรับท่านที่ใช้นามสกุลของสามีเป็นนามสกุลหลังสมรส เวลาไปแจ้งเปลี่ยนนามสกุล ต้องยื่นหนังสือยินยอมของสามีประกอบด้วย โดยใช้แบบฟอร์ม "หนังสือยินยอมของคู่สมรส" ที่ทางสถานกงสุลใหญ่ ฯ จัดเตรียมไว้ให้ และต้องให้สถานกงสุลใหญ่ ฯ รับรองก่อนนำไปยื่นที่ประเทศไทย โดยต้องชำระค่าธรรมเนียมรับรองจำนวน 15 ยูโร

หมายเหตุ

โดยปกติแล้ว หากชายและหญิงใช้นามสกุลของคู่สมรสเป็นนามสกุลหลังสมรส ชายและหญิงต้องแจ้งเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสในทะเบียนบ้านไทย ภายใน 90 วัน หลังจากสมรส สำหรับท่านที่อาศัยอยู่ในประเทศเยอรมนี ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศไทยไปดำเนินการเปลี่ยนนามสกุล ท่านสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นที่บรรลุนิติภาวะ เช่น ญาติ พี่น้อง ไปดำเนินการแทนได้ โดยท่านต้องมายื่นคำร้องมอบอำนาจด้วยตัวเองที่สถานกงสุลใหญ่ ฯ ดูข้อมูลการทำมอบอำนาจที่

"มอบอำนาจและหนังสือยินยอม"

การเปลี่ยนนามสกุลหลังสมรสมีความสำคัญและจำเป็นมาก เช่น เมื่อท่านยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-พาสปอร์ต) ท่านต้องยื่นบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้านที่เปลี่ยนเป็นนามสกุลหลังสมรสสมบูรณ์แล้ว นามสกุลหลังสมรสที่สถานทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ ฯ เปลี่ยนให้ท่านในหนังสือเดินทาง ไม่ใช่การเปลี่ยนนามสกุลแบบสมบูรณ์ตามกฎหมายไทย การเปลี่ยนนามสกุลที่สมบูรณ์ ท่านต้องไปเปลี่ยนในทะเบียนบ้านไทยเท่านั้น