สมัยประวัติศาสตร์ เริ่ม ขึ้น เมื่อ ใด

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

  • หน้าหลัก
  • ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

ยุคก่อนสุโขทัย
    นับช่วงเวลาก่อนการตั้งอาณาจักรสุโขทัย  เช่น  อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16)  อาณาจักรละโว้ (พุทธศตวรรษที่ 12-18) หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ  เช่น  ศิลาจารึก   เหรียญจารึก

สมัยสุโขทัย
    ตั้งแต่การสถาปนากรุงสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. 1792  จนสุโขทัยถูกรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2006  สมัยสุโขทัยเป็นช่วงที่มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยหลายประการ  เช่น  ตัวหนังสือ  การนับถือพระพุทธศาสนา

สมัยอยุธยา
    ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 - 2310  สามารถแบ่งออกเป็นสมัยย่อยได้อีก  โดยแบ่งตามสมัยของราชวงศ์และแบ่งตามลักษณะสำคัญของประวัติศาสตร์
1  แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครอง  ได้แก่  
        1. ราชวงศ์อู่ทอง (พ.ศ. 1893-1913 และ พ.ศ. 1931-1952)  
        2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1913-1931 และ พ.ศ. 1952-2112)  
        3. ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112-2173)  
        4. ราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ. 2173-2231) 
        5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. 2231-2310)
2  แบ่งตามลักษณะสำคัญของประวัติศาสตร์ 
        1. สมัยการวางรากฐานและการสร้างความมั่นคง พ.ศ. 1893-1991
        2. สมัยแห่งความมั่นคงทางการเมืองและเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1991-2231
        3. สมัยเสื่อมอำนาจ  ตั้งแต่ พ.ศ. 2231-2310

สมัยธนบุรี
    ตั้งแต่ พ.ศ. 2310-2325  เป็นสมัยของการฟื้นฟูบ้านเมืองหลังเสียกรุงศรีอยุธยา  มีการทำสงครามเกือบตลอดเวลา

สมัยรัตนโกสินทร์
    ตั้งแต่ พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน  มีการแบ่งเป็นสมัยย่อยโดยยึดตามการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและการปกครองร่วมกัน  โดยแบ่งได้ดังนี้
    1.สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  ตั้งแต่ พ.ศ. 2325-2394  อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 3  เป็นช่วงการฟื้นฟูอาณาจักรในทุกด้านต่อจากสมัยธนบุรี
    2.สมัยรัตนโกสินทร์ยุคกลางปรับปรุงประเทศ  ตั้งแต่ พ.ศ. 2394-2495  อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4-รัชกาลที่ 7  เป็นช่วงที่มีการติดต่อกับต่างชาติ  มีการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก  จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย
    3.สมัยประชาธิปไตย  ตั้งแต่ พ.ศ. 2475  จนถึงปัจจุบัน  เป็นช่วงที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย  มีรัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุดในการปกครองประเทศประชาชนมีสิทธิเสรีภาพทางการเมือง  บ้านเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ผู้เขียน : Admin
โพสต์เมื่อ : 23 ธ.ค. 2563
ป้ายกำกับ : ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

No comments yet

สมัยกลางอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 – 15 ในช่วงเวลานี้ที่ยุโรปได้รับอิทธิพลจากศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกอย่างมาก โดยมีศาสนจักรโรมันคาทอลิก เป็นองค์กรสำคัญที่นำศาสนาคริสต์เข้ามามีบทบาททั้งทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรม และ การดำเนินชีวิต ชาวยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าวต่างถูกครอบงำโดยศาสนาจนไม่สนใจความเจริญและศิลปวิทยาการเหมือนในสมัยจักรวรรดิโรมันเรืองอำนาจ การกระทำทุกอย่างถูกครอบงำโดยศาสนา อีกทั้งการกระทำนอกเหนือจากคำสอนของศาสนา ถือว่าเป็นโทษอย่างรุนแรง และจะถูกลงโทษโดยการ "บัพพาชนียกรรม" (Excommunication) อีกทั้งบรรดาวิทยาการจากสมัยกรีก - โรมัน ได้หายสาบสญไปอีกด้วย สมัยกลางจึงถูกเรียกโดยนักประวัติศาสตร์บางท่านว่า "ยุคมืด" (Dark Age)
      สำหรับจุดสิ้นสุดของสมัยกลาง นักประวัติศาสตร์แต่ละท่านได้ยึดถือเหตุการณ์แตกต่างกัน ถึง 3 เหตุการณ์ ได้แก่ 
      1) การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Fall of Constantinople) 
      นักประวัติกลุ่มนี้เชื่อว่า สมัยกลางสิ้นสุดลงเมื่อจักรวรรดิไบแซนไทน์ หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออกเดิมได้ล่มสลายลงด้วยฝีมือของพวกเติร์ก ในปีค.ศ.1453 หลังจากนั้นพวกเติร์กได้มีการสถาปนาจักรวรรดิออตโตมาน (Ottoman Empire) ขึ้นแทนที่ พร้อมทั้งเปลี่ยนนามกรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople) เป็นกรุงอิสตันบูล (Istanbul) 
      2) การประดิษฐ์เครื่องพิมพ์เครื่องแรกของโลก (Invention of Printer) 
      นักประวัติศาสตร์กลุ่มนี้เชื่อว่า 
สมัยกลางสิ้นสุดลงเมื่อโยฮานเนส กูเทนแบร์ก (Johannes Gutenberg) นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน สามารถประดิษฐ์เครื่องพิมพ์เครื่องแรกของโลกได้สำเร็จ และสามารถพิมพ์พระคัมภีร์ไบเบิลออกมาได้เป็นจำนวนมาก ในปีค.ศ. 1568
สมัยประวัติศาสตร์ เริ่ม ขึ้น เมื่อ ใด
                                                             ภาพที่ 3  เครื่องพิมพ์ของกูเทนแบร์ก
                              ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Printing_press#/media/File:PrintMus_038.jpg


  
ภาพที่ 4 เครื่องพิมพ์ของกูเทนแบร์ก

      3) การค้นพบทวีปอเมริกาของโคลัมบัส (Discovery of America by Columbus)
     นักประวัติศาสตร์กลุ่มนี้เชื่อว่า สมัยกลางสิ้นสุดลงเมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ได้ค้นพบทวีปอเมริกา ในปี ค.ศ.1492 และในช่วงเวลาดังกล่าวยังนับว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของยุคการสำรวจทางทะเล (Age of Exploration)
     เหตุการณ์ที่สำคัญในยุคนี้ เช่น
     "สงครามครูเสด" (The Crusades War) คือ สงครามระหว่างศาสนาโดยส่วนใหญ่มักหมายถึง สงครามครั้งใหญ่ระหว่างชาวมุสลิมและชาวคริสต์  ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 13
3.  ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (New Age)
     เริ่มต้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ" (Renaissances) เนื่องจากมีการนำความรู้ และบรรดาศิลปวิทยาการจากสมัยกรีก - โรมันกลับมาใช้พัฒนาความเจริญอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ยังเป็น ยุคแห่งการค้นพบและการสำรวจทางทะเ (Age of Exploration) สืบเนื่องจากเส้นทางการติดต่อค้าขายระหว่างยุโรปและเอเชียแต่เดิมคือ การเดินทางด้วยเรือจากบรรดาเมืองท่าบนคาบสมุทรอิตาลี ล่องผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และขึ้นฝั่งบนดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
     ต่อมาภายหลังเมื่อพวกเติร์กสามารถสถาปนาจักรวรรดิออตโตมาน และขยายอิทธิพลครอบคลุมดินแดนเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ กอปรกับบรรดาเมืองท่าบนคาบสมุทรอิตาลีที่ผูกขาดการค้าสินค้าสำคัญจากเอเชีย และเส้นทางการค้าเกือบทั้งหมดเพื่อหวังผลกำไร ทำให้อาณาจักรอื่น ๆ ในยุโรปต่างพยายามเสาะหางเส้นทางการเดินเรือไปยังดินแดนอื่นด้วยตนเอง ได้แก่ โปรตุเกส สเปน อังกฤษ และฝรั่งเศส ตามลำดับ ซึ่งยุคแห่งการค้นพบและสำรวจทางทะเลนี้จะนำไปสู่การล่าอาณานิคม ภายหลัง "การปฏิวัติอุตสาหกรรม" (Industial Revolution) ในที่สุด
      หลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรป กอปรกับการแข่งขันกันระหว่างมหาอำนาจยุโรปทั้งหลาย เพื่อแย่งชิงอาณานิคมเพื่อหาแหล่งวัตถุดิบและเป็นตลาดในการระบายสินค้า ส่งผลให้ความขัดแย้งเหล่านั้น ลุกลามจนกลายเป็น "สงครามโลกครั้งที่ 1" (The Great War) ในที่สุด สำหรับการสิ้นสุดของประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เกิดขึ้นภายหลังการสิ้นสุดของ "สงครามโลกครั้งที่ 2" (World War II)

       เหตุการณ์สำคัญในยุคนี้ เช่น
       เกิดการปฏิรูปศาสนาคริสต์ (Reformation) เกิดจากการที่พระชาวเยอรมันชื่อมาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther) ได้ยื่นข้อโต้แย้ง 95 ข้อ (95 Theses) ต่อศาสนจักรคาทอลิก การกระทำดังกล่าวส่งผลให้มีการแบ่งศาสนาคริสต์ออกเป็น 2 นิกายใหญ่ ในเวลาต่อมา คือ นิกายโรมันคาทอลิก (Roman Catholic) มีศูนย์กลางที่กรุงโรม มีพระสันตะปาปา (Pope) เป็นประมุข และเป็นที่นิยมของบรรดารัฐในยุโรปตอนใต้ อีกนิกายหนึ่งคือ นิกายโปรแตสแตนท์ (Protestant) อันเป็นที่นิยมของบรรดารัฐในยุโรปตอนเหนือ

ยุคประวัติศาสตร์เริ่มต้นในสมัยใด

ตามหลักสากล ยุคประวัติศาสตร์จะเริ่มนับตรงที่มนุษย์เริ่มมีการจดบันทึกเหตุการณ์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนก่อนหน้านั้นก็จะเรียกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตราบจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีอะไรแน่นอน ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่เยอะมาก เพราะมีเพียงแค่หลักฐานทางวัตถุบางชิ้น และก็ไม่ค่อยจะสมบูรณ์เท่าไหร่ด้วย

ยุคประวัติศาสตร์ในดินแดนไทยเริ่มต้นขึ้นเมื่อใด

1 ประวัติศาสตร์ชาติไทย การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยมักเริ่มนับตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัยเป็นต้นมา หากแต่ในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบัน พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี ตลอดจนหลักฐานของอารยธรรมและรัฐโบราณเป็นจำนวนมาก

ยุคก่อนประวัติศาสตร์เริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อใด

คำว่า "ก่อนประวัติศาสตร์" สามารถสื่อถึงช่วงเวลาที่ยาวนานตั้งแต่จุดเริ่มต้นของเอกภพหรือโลก แต่ส่วนใหญ่มักสื่อถึงสมัยตั้งแต่เกิดชีวิตบนโลก หรือนับตั้งแต่สิ่งมีชีวิตคล้ายมนุษย์กลุ่มแรกปรากฏขึ้น สิ้นสุด

ประวัติศาสตร์ร่วมสมัยเกิดขึ้นเมื่อใด

ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน (ค.ศ. 1945-ปัจจุบัน) หรือเรียกกันว่า ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ซึ่งมีผลกระทบอย่างรุนแรงทั่วโลกและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองของสังคมโลกในปัจจุบัน โดยช่วงประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบันมีเหตุการณ์ ดังนี้