ดีเซล B20 กับดีเซลต่างกันยังไง

สำหรับคนที่ขับรถกระบะ จะใช้น้ำมันดีเซลซะเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งตามที่เราทราบกันมาสักพักแล้วว่าได้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกน้ำมันดีเซลใหม่เป็น B7 B10 ถึงตอนนี้ก็ยังคงงงๆ กันอยู่ว่าตกลงเปลี่ยนชื่อเป็นอะไร แล้วต้องใช้แบบไหน แถมบางปั๊มก็เขียนบอก บางครั้งก็ไม่บอก ต้องถามเด็กปั๊มอยู่เรื่อยไป เอาเป็นว่าเรามาทำความเข้าใจกับชนิดของน้ำมันดีเซลที่เราเรียกใหม่กันก่อน เวลาเติมน้ำมันจะได้ไม่สับสน

ดีเซล B20 กับดีเซลต่างกันยังไง

น้ำมันดีเซลแบบเดิมๆ ที่เราเคยใช้กันนั้น มีชื่อพ่วงท้ายเพิ่มขึ้นมาคือ ดีเซล B7 ความแตกต่างในการเรียกนั้นอยู่ที่สัดส่วนของไบโอดีเซล โดยน้ำมันดีเซล B7 มีสัดส่วนของไบโอดีเซลผสมอยู่ในน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 6.6 – 7.0% นั่นก็หมายความว่าจะมีปริมาณน้ำมันดีเซลมากกว่าไบโอดีเซลที่ใส่ลงไป เหมาะสำหรับรถเก่าและรถยุโรป ซึ่งถ้าใครไม่แน่ใจก็ใช้แบบ B7 ชัวร์ที่สุด

น้ำมันดีเซล B10

ดีเซล B20 กับดีเซลต่างกันยังไง

น้ำมันดีเซล B10 ขยับขึ้นมาเรียกว่า ดีเซล เฉยๆ โดยมีสัดส่วนไบโอดีเซลผสมอยู่ในน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 9 – 10% เท่ากับมีน้ำมันดีเซลสัดส่วนลดลงไปจากเดิม ซึ่งตอนนี้ถือเป็นน้ำมันดีเซลเกรดมาตรฐานของไทย เหมาะสำหรับรถกระบะที่ไม่เก่ามาก เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการใช้น้ำมันดีเซลที่มีราคาถูกลงกว่าเดิม แต่ต้องมั่นใจว่ารถของเราสามารใช้ B10 ได้

คุณสมบัติของไบโอดีเซลที่แตกต่างจากดีเซลปกติ

  • มีคราบไขมันสูง เพราะสกัดจากปาล์มน้ำมัน
  • จับตัวเป็นก้อนไขหากเจออุณหภูมิเย็น
  • มีอัตราเกิดน้ำในถังน้ำมันสูงกว่าน้ำมันดีเซลปกติ เป็นต้นเหตุของสนิมในถังน้ำมัน
  • การเจอกับน้ำที่เกิดในถังน้ำมันจะทำให้เกิด “ชั้นคราบไขมัน” หรือที่เรียกกันว่า แว๊กซ์ (Wax)
  • อัตราเชื้อราและแบคทีเรียในชั้นคราบไขมันสูง เนื่องจากสกัดจากพืช (น้ำมันปาล์ม )
  • เกิดเมือกเหนียว Biofilm จากการย่อยสลายน้ำมันไบโอดีเซลของเชื้อราและแบคทีเรียซึ่งเมือกเหนียวนี้มีความเป็นกรดสูง และจะเกาะติดกับเครื่องยนต์ ตะกอน คราบสนิม หรือผิวชิ้นส่วนก่อเป็นก้อนอุดตันในเครื่องยนต์ รวมถึงกัดกร่อนชิ้นส่วนสัมผัสในเครื่องยนต์ด้วย
    (ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก fortron)

เลือกใช้น้ำมันแบบไหนดี?

  • ถ้าเป็นรถกระบะทั่วไป และไม่ได้เป็นรถเก่า ก็สามารถใช้น้ำมันดีเซล B10 ได้ หรือที่เปลี่ยนชื่อเป็น ดีเซล เช่น Toyota, Izusu, Nissan, Ford, Chevrolet, Mitsubishi เป็นต้น
  • ถ้าเป็นรถเก่า หรือรถยุโรป และไม่แน่ใจว่ารถของเราจะใช้ B10 ได้หรือเปล่า แนะนำให้เลือกใช้ ดีเซล B7 ชัวร์กว่า เพราะเป็นน้ำมันแบบเดิมที่เราเคยเติมอยู่ปกติก่อนเปลี่ยนชื่ออยู่แล้ว อีกทั้งได้สัดส่วนของน้ำมันดีเซลมากกว่าแบบ B10 เช่น Benz, Hyundai, Tata, Bmw, Honda, Mazda, Audi เป็นต้น
  • แถมให้อีกนิด ถ้าใครอยากใช้น้ำมันที่พรีเมียมกว่าเพื่อความมั่นใจ ให้เลือก ดีเซล B7 พรีเมียม

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องยูคอน ได้ที่

อธิบายที่มาน้ำมันดีเซล B10 คืออะไร ? รถรุ่นไหนใช้ได้บ้าง แล้วดียังไง หลังภาครัฐสนับสนุนและควบคุม ราคาน้ำมัน ดีเซลหมุนเร็ว B20 พร้อมกำหนดให้ทุกปั๊มน้ำมันทั่วประเทศต้องมีให้บริการ

ดีเซล B20 กับดีเซลต่างกันยังไง

เริ่มแล้วสำหรับการเปิดขาย น้ำมัน B10 ในทุกสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ หลังภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการใช้น้ำมันดีเซล B10 พร้อมตั้งให้เป็นเชื้อเพลิงหลักอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563

โดยนโยบายส่งเสริมน้ำมัน B10 คือ การเพิ่มสัดส่วนการใช้ไบโอดีเซลให้มากขึ้น จากเดิมที่น้ำมัน B7 ผสมไบโอดีเซลในน้ำมันเพียง 7% ก็ได้เพิ่มสัดส่วนขึ้นเป็น 10% หรือ B10 เพื่อช่วยแก้ปัญหาปาล์มน้ำมันล้นตลาดและลดการนำเข้าน้ำมัน ซึ่งหากรถยนต์เครื่องดีเซลหันมาใช้ B10 แบบเต็มตัว จะสามารถประหยัดการนำเข้าได้มากถึง 1.8 ล้านลิตร/วัน 

หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยว่า น้ำมันดีเซล B10 คืออะไร ? และดีกว่าหรือแตกต่างจากชนิดอื่น ๆ ยังไง เราเลยจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับน้ำมันตัวนี้กัน…

น้ำมันดีเซล B10 คืออะไร ?

ดีเซล B20 กับดีเซลต่างกันยังไง

น้ำมันประเภท B คือ พลังงานทดแทนที่มาจากการนำน้ำมันดีเซลหมุนเร็วไปผสมกับไบโอดีเซล (เชื้อเพลิงดีเซลทางเลือกที่ผลิตจาก น้ำมันพืช หรือ ไขมันสัตว์) โดยตั้งชื่อแตกต่างกันตามสัดส่วนที่ผสม เช่น

  • น้ำมันดีเซล B7 จะมีส่วนผสมของไบโอดีเซลอยู่ในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วประมาณ 6.6-7 เปอร์เซ็นต์

  • น้ำมันดีเซล B10 จะเพิ่มสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลให้อยู่ที่ 9-10 เปอร์เซ็นต์

  • น้ำมันดีเซล B20 ก็ใส่ไบโอดีเซลเพิ่มขึ้นเป็น 19-20 เปอร์เซ็นต์

รถรุ่นไหนใช้น้ำมัน B10 ได้บ้าง ?

ดีเซล B20 กับดีเซลต่างกันยังไง

เนื่องจากน้ำมันดีเซล B10 เป็นของแข็งที่อุณหภูมิสูงกว่าน้ำมันดีเซลปกติ และมีจุดวาบไฟมากกว่า 100 องศาเซลเซียส ทำให้เครื่องยนต์ดีเซลของรถบางรุ่น หรือรถยนต์ที่เก่ามาก ๆ ไม่เหมาะที่จะใช้น้ำมันทางเลือกชนิดนี้

  อย่างไรก็ตามทางกรมธุรกิจพลังงานได้จับมือกับค่ายรถยนต์ต่าง ๆ เพื่อทำการทดสอบตามมาตรฐานสากล ซึ่งพบว่า น้ำมัน B10 ปลอดภัยกับรถยนต์ดีเซลหลายรุ่น โดยทุกท่านสามารถเช็กชื่อรุ่นรถยนต์ที่รองรับที่ลิงก์นี้ได้เลย www.doeb.go.th

ประโยชน์ของน้ำมันดีเซล B10

  • ไบโอดีเซลในเครื่องยนต์จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้ในกระบอกสูบให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ เพราะมีออกซิเจนผสมอยู่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ ทำให้น้ำมันมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ

  • ช่วยแก้ปัญหาน้ำมันปาล์มล้นตลาด พยุงราคาปาล์มให้สูงขึ้น เนื่องจากเป็นทรัพยากรหมุนเวียนหลักที่ใช้งานการผลิต

  • ไบโอดีเซลเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งช่วยลดควันดำ, ลดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์, ลดฝุ่นละออง ฝุ่น PM2.5 และลดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์

  • ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ตามที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้ปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับน้ำมันดีเซลใหม่ ซึ่งมีผลทำให้ราคาขายปลีกน้ำมัน B10 ถูกกว่า B7 ที่ 3 บาท/ลิตร และราคาขายปลีก B20 ถูกกว่า B10 เพียง 0.50 บาท/ลิตร (เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563)

ล่าสุดราคาน้ำมันวันนี้ (3 มีนาคม 2563) ดีเซลหมุนเร็ว B10 เมื่อได้รับการชดเชยแล้วราคาจำหน่ายอยู่ที่ลิตรละ 21.89 บาท ส่วนดีเซลปกติอยู่ที่ 24.89 บาท และดีเซลหมุนเร็ว B20 ราคาลิตรละ 21.39 บาท ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว รวมถึงปั๊มน้ำมันต่าง ๆ ก็เริ่มจะมีให้บริการ B10 แล้วด้วย หากรถยนต์ดีเซลที่ขับอยู่สามารถเติมน้ำมันดังกล่าวได้ ก็อยากให้ทุกคนหันมาใช้เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมกันครับ...