ถ้าแก๊สออกซิเจนหมดไปจะเกิดอะไรขึ้น

โดยปกติแล้ว อากาศที่เราหายใจเข้าไปนั้น,ประกอบด้วยออกซิเจนประมาณ 21% และไนโตนเจนประมาณ 79% และปริมาณออกซิเจนที่สภาพเหมาะสมที่คนเราสามารถอยู่ได้อย่างสบาย จะต้องมีออกซิเจนอยู่ประมาณ 19.5-23.5% แต่ถ้าปริมาณออกซิเจนในอากาศลดลงเหลือ 15-17% จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเกิดขึ้น นั่นก็คืออาการของภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) ซึ่งนายแพทย์สุระ เจตน์วาทีแพทย์เวชศาสตร์การบิน ผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้ชีพชั้นสูง และการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ให้ข้อมูลว่าปริมาณออกซิเจนที่อยู่ในช่วง 12-15% ถือว่ามีความเสี่ยงต่อร่างกายมนุษย์แล้ว ถ้าเหลือ 12% ถือว่าอันตรายและถ้าต่ำถึง 8% เมื่อไรจะเสียชีวิตได้ภายใน 8 นาที

ภาวะพร่องออกซิเจน อาการเป็นอย่างไร

– รู้สึกหายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจลำบากขึ้น หายใจถี่ขึ้น ไอ
– หัวใจเต้นเร็วขึ้น
– การรับรู้ตัวลดลง สับสน มึนงง ซึม
– วิงเวียน ปวดศีรษะเนื่องจากหลอดเลือดสมองขยายตัว
– คลื่นไส้ อาเจียน
– ผิวหนังซีด หรือเขียวคล้ำ
– รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย
– รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ วูบวาบตามตัว มีเหงื่อออกมาก
– การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน
– มือเท้าชา
– ตาพร่ามัว ลานสายตาแคบลง
– เพ้อ หมดสติ ชัก

ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน

ในแต่ละคนอาจเกิดอาการพร่องออกซิเจนได้แตกต่างกัน ระยะเวลาที่เริ่มเป็นและความรุนแรงก็ต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น

– ระดับความสูงในบริเวณที่อยู่ ยิ่งอยู่ในพื้นที่สูงมาก ความกดบรรยากาศและความหนาแน่นของอากาศจะยิ่งลดลงตามระดับความสูง
– ระยะเวลาที่อยู่ในระดับความสูงนั้น หากอยู่นานก็มีโอกาสป่วยได้ง่ายกว่า
– ความแข็งแรงสมบูรณ์ของร่างกาย หากเป็นเด็ก คนชรา หรือผู้ที่มีโรคประจาตัว ก็อาจเกิดอาการได้เร็วและรุนแรงกว่านักกีฬา หรือคนที่แข็งแรง
– ภาวะทางจิตใจ ความวิตกกังวลจะทำให้เราหายใจสั้นและถี่ขึ้น ทำให้สมองได้ออกซิเจนน้อยลงอย่างไรก็ตาม ออกซิเจนอาจค่อย ๆ ลดลงโดยที่เราไม่รู้ตัว ดังนั้นถ้าสังเกตตัวเองว่าเริ่มรู้สึกหายใจลำบากหรือมึนงง ก็เป็นสัญญาณเตือนได้ว่าเราควรรีบออกมาจากบริเวณนั้น เพื่อป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจนที่รุนแรงได้

เกณฑ์การแบ่งความรุนแรงของภาวะเลือดพร่องออกซิเจน

สามารถแบ่งความรุนแรงของผู้ป่วยได้ 3 ระดับคือ

– Mild Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) อยู่ระหว่าง 60-80 มิลลิเมตรปรอท
– Moderate Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) อยู่ระหว่าง 40-60 มิลลิเมตรปรอท
– Severe Hypoxemia : ภาวะที่ระดับออกซิเจนในเลือดแดง (PaO2) น้อยกว่า 40 มิลลิเมตรปรอท

ทั้งนี้ในผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี จะมีระดับออกซิเจนในเลือดแดงลดต่าลง 1 มิลลิเมตรปรอท ต่ออายุที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ปี

ภาวะพร่องออกซิเจน รักษาได้อย่างไร

เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด โดยแพทย์จะรักษาด้วยการให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากากออกซิเจนหรือสายให้ออกซิเจนทางจมูก เพื่อเพิ่มออกซิเจนในเลือด ป้องกันไม่ให้เซลล์และอวัยวะสำคัญถูกทำลายทั้งนี้จะต้องให้ออกซิเจนในระดับต่ำที่สุดที่จะเพียงพอเพื่อที่จะรักษาระดับออกซิเจนในเลือด เพราะถ้าหากให้ออกซิเจนเกินความต้องการ จะเกิดภาวะพิษจากออกซิเจนได้เช่นกัน

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เท่านั้น ทางบริษัทไม่สามารถให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลได้ หากท่านมีความกังวล และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

         เคยไหมคะ เวลาที่ไปเที่ยวบนเขา หรืออยู่บนตึกที่สูง ๆ แล้วรู้สึกหายใจลำบาก อึดอัดมากจนอาเจียนออกมา ปวดศีรษะ หรือหัวใจเต้นถี่เร็วผิดปกติ รู้หรือไม่คะว่า นั่นเป็นสัญญาณของ ภาวะพร่องออกซิเจน จากการมีออกซิเจนในเลือดต่ำค่ะ  ซึ่งหากปล่อยไว้อาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตเลยล่ะค่ะ เพราะฉะนั้น รีบมาทำความรู้จักกับภัยร้ายนี้ เพื่อที่จะได้สังเกต และป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับคุณหรือคนที่คุณรักค่ะ

ถ้าแก๊สออกซิเจนหมดไปจะเกิดอะไรขึ้น

สารบัญ

  • ภาวะพร่องออกซิเจน คืออะไร? มีสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดภาวะนี้บ้าง?
  • ภาวะพร่องออกซิเจน สามารถสังเกตอาการผิดปกติอย่างไรได้บ้าง?
  • วิธีป้องกันการเกิดภาวะพร่องออกซิเจน

ภาวะพร่องออกซิเจน คืออะไร? มีสาเหตุอะไรที่ทำให้เกิดภาวะนี้บ้าง?

ภาวะพร่องออกซิเจน (Hypoxia) คือ ภาวะที่เนื้อเยื่อในร่างกายขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ร่างกายมีปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ (hypoxemia) จึงทำให้เลือดไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้นั่นเอง จนทำให้การทำงานของร่างกายและสมองบกพร่อง จึงแสดงลักษณะผิดปกติออกมาให้เห็นทางภายนอก เช่น ผิวหนังเขียวซีด เหงื่อออกมาก หายใจผิดปกติ เป็นต้น

ถ้าแก๊สออกซิเจนหมดไปจะเกิดอะไรขึ้น

โดยภาวะพร่องออกซิเจนนี้ สามารถแบ่งออกได้ 4 ชนิด ตามสาเหตุการเกิด ดังนี้ (อ้างอิงข้อมูลจาก สิรินาถ เรืองเผ่าพันธุ์ พยาบาลวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี)1. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งร่างกายได้รับออกซิเจนน้อย (Hypoxic Hypoxia) เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด โดยมีสาเหตุมาจาก

  • ความกดดันของออกซิเจนในถุงลมปอดลดลง มักเกิดขึ้นจากการที่ขึ้นไปอยู่ในที่สูง เช่น ภูเขา ยอดตึก ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ เนื่องจากความกดบรรยากาศลดลง ออกซิเจนจึงเบาบางไปด้วย กล่าวคือ ร่างกายจะได้รับออกซิเจนน้อยกว่าตอนอยู่ที่ระดับพื้นดินนั่นเอง ภาวะพร่องออกซิเจนชนิดนี้ ยังอาจเกิดจากการกลั้นหายใจ อากาศที่หายใจมีก๊าซอื่นปะปน หรือเกิดในผู้ป่วยโรคหอบหืด
  • พื้นที่ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซระหว่างปอดกับกระแสเลือดลดลง มักเกิดในผู้ที่มีอาการปอดแฟบ มีลมในช่องปอด เป็นต้น
  • ออกซิเจนไม่สามารถซึมผ่านจากถุงลมปอดไปสู่กระแสเลือดได้สะดวก มักเกิดในผู้ที่มีอาการปอดบวม เป็นโรคเยื่อไฮยาลีน หรือจมน้ำ เป็นต้น

2. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากเลือด (Hypemic Hypoxia) โดยมีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น จำนวนเม็ดเลือดแดงในเลือดลดลง เป็นโรคโลหิตจาง เกิดการเสียเลือดมาก ภาวะผิดปกติของฮีโมโกลบิน ร่างกายได้รับยาหรือสารพิษบางอย่าง เช่น ยากลุ่มซัลฟานิลาไมด์ ยาเสพติด ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ เป็นต้น

ถ้าแก๊สออกซิเจนหมดไปจะเกิดอะไรขึ้น

3. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากการคั่งของกระแสเลือด (Stagnant Hypoxia) เกิดจากความบกพร่องในการไหลเวียนของเลือด เช่น แรงดันเลือดจากหัวใจลดลง เนื่องจากเป็นโรคหัวใจล้มเหลว เป็นต้น4. ภาวะพร่องออกซิเจนซึ่งมีสาเหตุจากภาวะเป็นพิษของเซลล์ (Histotoxic Hypoxia) เกิดขึ้นจากการที่เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายไม่สามารถนำเอาออกซิเจนไปใช้ได้ เนื่องจากได้รับสารพิษ เช่น แอลกอฮอล์ ควันพิษ ไซยาไนด์ เป็นต้นในคนปกติทั่วไปจะระดับออกซิเจนในเลือดอยู่ที่ 80 – 100 มิลลิเมตรปรอท (อ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ Thai Nurse Club) แต่ผู้ที่มีภาวะพร่องออกซิเจนจะมีระดับออกซิเจนที่ต่ำกว่าคนทั่วไป โดยแบ่งความรุนแรงของภาวะพร่องออกซิเจน ได้ 3 ระดับ คือ

  • Mild Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือด อยู่ระหว่าง 60 – 80 มิลลิเมตรปรอท
  • Moderate Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือด อยู่ระหว่าง 40 – 60 มิลลิเมตรปรอท
  • Severe Hypoxemia ระดับออกซิเจนในเลือด น้อยกว่า 40 มิลลิเมตรปรอท

ในปัจจุบัน มีการพบว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ก็มีภาวะพร่องออกซิเจน หรือก็คือมีออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าคนทั่วไป โดยที่ไม่ได้แสดงอาการผิดปกติใดออกมา แพทย์เรียกอาการนี้ว่า happy hypoxemia

อ่านบทความ : เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด จำเป็นอย่างไรในยุคโควิด-19

ภาวะพร่องออกซิเจน สามารถสังเกตอาการผิดปกติอย่างไรได้บ้าง?

ผู้ที่มีภาวะพร่องออกซิเจน อาจมีความรุนแรงและอาการที่แสดงออกมาแตกต่างกัน เนื่องจากมีเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ที่มีภาวะพร่องออกซิเจนจากการอยู่บนที่สูง ยิ่งหากอยู่บนที่สูงมาก ๆ หรืออยู่เป็นระยะเวลานานมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเพิ่มระดับความรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น หรือในเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ก็อาจจะมีอาการที่รุนแรงกว่าคนที่แข็งแรงทั่วไป แต่ถึงอย่างไร ก็สามารถสังเกตอาการบ่งชี้ภายนอกได้ดังนี้

ถ้าแก๊สออกซิเจนหมดไปจะเกิดอะไรขึ้น

  • ผิวหนังซีด หรือเป็นสีเขียวคล้ำ
  • ไอ คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • วิงเวียนหรือปวดศีรษะ
  • มีเหงื่อออกมาก รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ วูบวาบตามตัว มือเท้าชา
  • หายใจลำบาก ถี่ หรือมีเสียงหวีด
  • รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย
  • ตาพร่ามัว สับสน มึนงง ซึม
  • การรับรู้ตัวลดลง ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก หากปล่อยไว้อาจเกิดอาการเพ้อ ชัก หมดสติ อาจเข้าสู่ภาวะโคม่า และอาจเสียชีวิตได้

ส่วนในเด็กก็อาจอาการข้างต้นเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่อาจสังเกตอาการผิดปกติ ได้ดังนี้

  • ดูอ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว
  • เลิกสนใจของเล่น หรือสิ่งที่เด็กเคยสนใจ
  • สังเกตเห็นเด็กนั่งเอนตัวไปทางด้านหน้า เนื่องจากทำให้หายใจได้สะดวกขึ้น
  • เด็กที่มีโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ อาจมีอาการหายใจทางปากและมีน้ำลายไหลออกมามากผิดปกติ

ในผู้ป่วยบางราย อาจไม่พบอาการบ่งชี้ข้างต้น แต่เราสามารถตรวจสอบระดับออกซิเจนในเลือดได้ โดยการใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว หากพบว่ามีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำกว่า 90% นั่นแปลว่าเกิดภาวะพร่องออกซิเจน ดังนั้น หากสังเกตแล้วพบอาการบ่งชี้ข้างต้น หรือพบว่าระดับออกซิเจนต่ำกว่าปกติแม้ไม่มีอาการ ก็ควรรีบนำตัวไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาทันที

ถ้าแก๊สออกซิเจนหมดไปจะเกิดอะไรขึ้น

ถ้าแก๊สออกซิเจนหมดไปจะเกิดอะไรขึ้น

วิธีป้องกันการเกิด ภาวะพร่องออกซิเจน

สำหรับผู้ที่มีภาวะพร่องออกซิเจน เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์ก็จะทำการบำบัดรักษาด้วยการให้ออกซิเจน เพื่อให้ระดับออกซิเจนในเลือดกลับมาดีขึ้น แต่ถึงอย่างนั้น เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อช่วยเยียวยาให้ร่างกายกลับมาดีขึ้น และสำหรับผู้ที่ไม่ได้มีภาวะพร่องออกซิเจน ก็ยังถือว่าเป็นวิธีที่ช่วยลดโอกาสการเกิดได้ค่ะ

ถ้าแก๊สออกซิเจนหมดไปจะเกิดอะไรขึ้น

  • นอนหนุนหมอนสูง หรือปรับฟังก์ชันเตียงให้อยู่ในท่าศีรษะสูง (เตียงผู้ป่วยไฟฟ้า เตียงปรับระดับไฟฟ้า จาก ALLWELL มีฟังก์ชันในการปรับท่าทางที่หลากหลาย สามารถปรับท่าศีรษะสูงได้) เพื่อให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือการรับควันบุหรี่
  • ดื่มน้ำเปล่าสะอาดมาก ๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายต่อวัน
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น โยคะ การเดิน
  • หมั่นตรวจระดับออกซิเจนในเลือด ด้วยเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด
  • หากเป็นเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย หรือผู้ที่เคยมีภาวะพร่องออกซิเจน ให้พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่บนที่สูงมาก ๆ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่อากาศเบาบาง
  • หากเป็นผู้ป่วยโรคหอบหืด ควรปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด และได้รับการพ่นยาตามคำสั่งแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

ถ้าแก๊สออกซิเจนหมดไปจะเกิดอะไรขึ้น

สรุป

ภาวะพร่องออกซิเจน แม้ส่วนใหญ่จะเป็นภาวะที่มักเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ แต่ก็เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกวัย ซึ่งบางครั้ง มักมีสาเหตุมาจากปัจจัยใกล้ตัวที่หลายคนมองข้ามไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากพบว่ามีอาการผิดปกติตามที่กล่าวข้างต้น หรือตรวจวัดออกซิเจนในเลือด ด้วยเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว แล้วพบว่าออกซิเจนต่ำผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษา ก่อนจะเกิดภาวะรุนแรงค่ะ

แก๊สออกซิเจนหมดไปจะเกิดอะไรขึ้น

รู้สึกหายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจลำบากขึ้น หายใจถี่ขึ้น ไอ หัวใจเต้นเร็วขึ้น การรับรู้ตัวลดลง สับสน มึนงง ซึม วิงเวียน ปวดศีรษะเนื่องจากหลอดเลือดสมองขยายตัว

การที่ร่างกายขาดแก๊สออกซิเจนจะมีผลอย่างไร

ภาวะพร่องออกซิเจน อาการเป็นอย่างไร – รู้สึกหายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจลำบากขึ้น หายใจถี่ขึ้น ไอ – หัวใจเต้นเร็วขึ้น – การรับรู้ตัวลดลง สับสน มึนงง ซึม – วิงเวียน ปวดศีรษะเนื่องจากหลอดเลือดสมองขยายตัว

แก๊สออกซิเจนมีความสำคัญต่อร่างกายมนุษย์อย่างไร

ออกซิเจนทำหน้าที่ช่วยในการรักษาเซลล์ เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ตับ เซลล์สมอง ให้มีชีวิตอยู่ต่อได้ ออกซิเจน (Oxygen) มีส่วนสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงานแก่ร่างกาย ออกซิเจนทำหน้าที่สังเคราะห์เอนไซม์หรือวิตามินให้กับร่างกาย ออกซิเจนทำหน้าที่ในการมอบความสดชื่นให้กับร่างกาย

อ๊อกซิเจนต่ำอันตรายไหม

ออกซิเจนในเลือดต่ำ (Hypoxemia) เป็นภาวะอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีระดับออกซิเจนในเลือดลดต่ำน้อยกว่าร้อยละ 90 หรือ 92 และหากระดับออกซิเจนในเลือดลดต่ำลงมากจนอวัยวะในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้