ชมพูทวีปสมัยก่อนพระพุทธเจ้าคือดินแดนใด

เขตภาคกลาง เรียกว่า มัชฉิมชนบทหรือมัธยมประเทศ เป็นที่อยู่ของชนชาติอริยกะ หรืออารยัน แปลว่า ผู้เจริญเป็นดินแดนของชนผิวขาว

เขตรอบนอก เรียกว่า ประจันตชนบทหรือประจันตประเทศ คือ ประเทศปลายเขตเป็นที่อยู่ของชนชาติมิลักขะ หรืออนารยชน เป็นดินแดนของชนพื้นเมือง

ชมพูทวีป คืออาณาเขตที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสสถาน ศรีลังกา บังคลาเทศ และเนปาลในปัจจุบัน (ปัจจุบันเลิกใช้ชื่อชมพูทวีปนี้แล้ว) ในสมัยพุทธกาล ชมพูทวีปนอกจากแบ่งเป็น 2 เขตดังกล่าวแล้ว ได้แบ่งเป็นแคว้นต่างๆ มีจำนวน 16 แคว้น แต่ละแคว้นที่มีความสำคัญในสมัยพุทธกาลมีเพียง 6 แคว้น คือ แคว้นมคธ แคว้นวังสะ แคว้นอวันตี แคว้นกาสี แคว้นสักกะ และแคว้นโกศล

ลักษณะทางด้านการปกครอง แบ่งได้ 2 ระบบ

1. การปกครองแบบราชาธิปไตย               พระมหากษัตริย์หรือผู้ครองแคว้นมีอำนาจสิทธิขาดผู้เดียว มีรัชทายาทสืบสันตติวงศ์แคว้นใหญ่ๆ ส่วนมากปกครองด้วยระบบนี้ เช่น

* แคว้นมคธ มีพระเจ้าพิมพิสารปกครอง

* แคว้นโกศล มีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครอง

* แคว้นอวันตี มีพระเจ้าจันปัชโชตปกครอง

* แคว้นวังสะ มีพระเจ้าอุเทนปกครอง

การปกครองของกษัตริย์ แม้จะมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง แต่ก็มีธรรมเป็นหลักในการปกครอง

หลักธรรมสำคัญของกษัตริย์ ได้แก่

* ทศพิธราชธรรม 10 ประการ

* สังคหวัตถุ 4 ประการ

ทศพิธราชธรรม มีธรรมประกอบด้วย

ทาน- การให้

ศีล -การรักษากาย วาจา ใจให้เป็นปกติ

บริจาคะ -การแบ่งปัน การบริจาคแก่ผู้ยาก

อาชวะ -ความซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น

มัททวะ -ความอ่อนโยน ไม่กระด้าง

ตบะ -ความเพียรพยายาม

อักโกธะ -ความไม่โกรธ

อวิหิงสา -ความไม่เบียดเบียน

ขันติ -ความอดทน อดกลั้น

อวิโรธนะ 'ความไม่ทำให้ผิด (ความไม่คลาด)

สังคหวัตถุ ประกอบด้วย

ทาน -การให้ คือการให้สิ่งของให้คุณธรรม ให้อภัย

ปิยะวาจา -คำปราศรัยอันอ่อนโยน

อัตถจริยา -การทำตนให้เกิดประโยชน์

สมานัตตา 'การวางตนเสมอตน เสมอปลาย

2. การปกครองแบบสามัคคีธรรม หรือการปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบนี้ไม่มีพระมหากษัตริย์ผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาด ไม่มีการสืบสันตติวงศ์ การปกครองระบบนี้การบริหารประเทศขึ้นอยู่กับสถาบันสำคัญ คือ รัฐสภา ซึ่งสมัยเรียกว่า สัณฐาคาร มีประมุขรัฐสภาและมีคณะกรรมการรัฐสภาเป็นคณะกรรมการบริหารในสมัยพุทธกาล มีลักษณะดังนี้

ตามไปด้วย และได้ตั้งหลักการเกี่ยวกับเทพเจ้าหรือเทวดาไว้ 3 ประเภท คือ

* สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ เช่น พวกมหากษัตริย์ พระราชเทวี พระราชโอรส

* อุปปัตติเทพ เทวดาโดยกำเนิด เช่น เทวดาในสวรรค์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม ความสุข ถ้าใครรักษาความดี ก็จะเกิดเป็นเทวดา เพราะเทวดาเป็นผู้ที่มีคุณธรรม

* วิสุทธิเทพ เทวดาโดยบริสุทธิ์ หมายถึง การเป็นเทวดาด้วยความเป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากกิเลส ปราศจากความเศร้าหมองจากความชั่ว วิสุทธิเทพนี้ หมายถึง พระพุทธเจ้า พระอรหันต์

ความเชื่อของพวกพราหมณ์ ได้แก่ ความเชื่อในคัมภีร์ไตรเพท มีความเชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก จักรวาล และสรรพสิ่งทั้งปวง ความเชื่อของพราหมณ์อีกประการหนึ่งที่ละเลยไม่ได้ คือ ความเชื่อในเรื่องการล้างบาป มีความเชื่อว่า บาปของมนุษย์นั้นชำระล้างได้ด้วยแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ แม่น้ำคงคา ถ้าใครได้อาบ หรือได้กินน้ำในแม่น้ำคงคา ถือว่าได้บุญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองพาราณาสี ซึ่งเป็นเมืองของพระศิวะ และที่เมืองคยา ถือว่าเป็นเมืองของพระวิษณุ ผู้ที่ได้อาบ หรือดื่มกินน้ำในแม่น้ำคงคา โดยเฉพาะเมืองดังกล่าวถือว่าได้บุญมาก ความชั่วทั้งหมดจะถูกลอยไปกับสายน้ำกลายป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งทางกายและทางใจ

ลัทธิอิสระ คือ กลุ่มที่มีความเชื่ออิสระเป็นพวกนักบวชที่มีความมุ่งหมายที่จะค้นหาความจริงอย่างเป็นอิสระ มีหลักฐานกล่าวไว้ว่า มีถึง 336 ลัทธิ แต่หลักฐานทางพระพุทธศาสนากล่าวว่ามี 62 ลัทธิ แต่ที่ตั้งสำนักสั่งสอนในกรุงราชคฤห์แคว้นมคธนั้น มีลัทธิอิสระ 6 ลัทธิ สรุปได้ดังนี้

* ปูรณกัสสป มีความเห็นว่า บุญบาปไม่จริง การกระทำใดๆ ไม่ว่าดี เลว จะไม่มีผลอะไรตอบสนอง ลัทธินี้เรียกว่า อกิริยทิฐิ ซึ่งมีความเห็นว่าทำก็เท่ากับไม่ทำ

* มักขลิโคสาล มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์และความมัวหมอง ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์ และเศร้าหมองเองตามธรรมชาติ ลัทธินี้เรียกว่า อเหตุกทิฐิ เห็นว่าไม่มีเหตุ ไม่มีผล

* อชิตเกสกัมพล มีความเห็นว่า คนไม่มี สัตว์ไม่มี มีแต่การประชุมแห่งธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ

* ปกุธกัจจายนะ มีความเห็นว่า สิ่งที่เที่ยงแท้มีอยู่ 7 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ลม สุข ทุกข์ และชีวะไม่ผันแปรเป็นอย่างอื่น มีอยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น เรียกว่า สัสตทิฐิ (เห็นว่านิรันดร) ในด้านจริยธรรม ถือว่าไม่มีการฆ่า ไม่มีคนถูกฆ่า เป็นเพียงแต่อาวุธชำแหละผ่านอวัยวะที่ไม่ยั่งยืนเท่านั้น แต่ชีวะที่เที่ยงแท้ไม่มีใครฆ่าได้

* นิครนถ์นาฏบุตร มีความเห็นว่า การทรมานกายให้ลำบากด้วยวิธีต่างๆ เป็นทางหลุดพ้น คือการไม่เบียดเบียน ไม่มีสมบัติที่จะครอบครอง ประพฤติตนสันโดษ เชื่อว่าการทรมานกายจะทำให้หลุดพ้นทุกข์ เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

* สัญชัยเวลัฏฐบุตร เป็นลัทธิที่ไม่ติดกับทรรศะใดๆ เป็นลัทธิลื่นไหลไม่ตายตัวแน่นอน เรียกว่า อมราวิกเขปิกาทิฐิ

เขตรอบนอก เรียกว่า ประจันตชนบทหรือประจันตประเทศ คือ ประเทศปลายเขตเป็นที่อยู่ของชนชาติมิลักขะ หรืออนารยชน เป็นดินแดนของชนพื้นเมือง

ชมพูทวีป คืออาณาเขตที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน อัฟกานิสสถาน ศรีลังกา บังคลาเทศ และเนปาลในปัจจุบัน (ปัจจุบันเลิกใช้ชื่อชมพูทวีปนี้แล้ว) ในสมัยพุทธกาล ชมพูทวีปนอกจากแบ่งเป็น 2 เขตดังกล่าวแล้ว ได้แบ่งเป็นแคว้นต่างๆ มีจำนวน 16 แคว้น แต่ละแคว้นที่มีความสำคัญในสมัยพุทธกาลมีเพียง 6 แคว้น คือ แคว้นมคธ แคว้นวังสะ แคว้นอวันตี แคว้นกาสี แคว้นสักกะ และแคว้นโกศล

ลักษณะทางด้านการปกครอง แบ่งได้ 2 ระบบ

1. การปกครองแบบราชาธิปไตย พระมหากษัตริย์หรือผู้ครองแคว้นมีอำนาจสิทธิขาดผู้เดียว มีรัชทายาทสืบสันตติวงศ์แคว้นใหญ่ๆ ส่วนมากปกครองด้วยระบบนี้ เช่น

* แคว้นมคธ มีพระเจ้าพิมพิสารปกครอง
* แคว้นโกศล มีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครอง
* แคว้นอวันตี มีพระเจ้าจันปัชโชตปกครอง
* แคว้นวังสะ มีพระเจ้าอุเทนปกครอง

การปกครองของกษัตริย์ แม้จะมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการปกครอง แต่ก็มีธรรมเป็นหลักในการปกครอง

หลักธรรมสำคัญของกษัตริย์ ได้แก่

* ทศพิธราชธรรม 10 ประการ
* สังคหวัตถุ 4 ประการ

ทศพิธราชธรรม มีธรรมประกอบด้วย

ทาน              การให้
ศีล                การรักษากาย วาจา ใจให้เป็นปกติ
บริจาคะ        การแบ่งปัน การบริจาคแก่ผู้ยาก
อาชวะ          ความซื่อตรงต่อตนเองและผู้อื่น
มัททวะ         ความอ่อนโยน ไม่กระด้าง
ตบะ              ความเพียรพยายาม
อักโกธะ        ความไม่โกรธ
อวิหิงสา       ความไม่เบียดเบียน
ขันติ             ความอดทน อดกลั้น
อวิโรธนะ      ความไม่ทำให้ผิด (ความไม่คลาด)

สังคหวัตถุ ประกอบด้วย

ทาน              การให้ คือการให้สิ่งของให้คุณธรรม ให้อภัย
ปิยะวาจา      คำปราศรัยอันอ่อนโยน
อัตถจริยา      การทำตนให้เกิดประโยชน์
สมานัตตา     การวางตนเสมอตน เสมอปลาย

2. การปกครองแบบสามัคคีธรรม หรือการปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบนี้ไม่มีพระมหากษัตริย์ผู้มีอำนาจสิทธิ์ขาด ไม่มีการสืบสันตติวงศ์ การปกครองระบบนี้การบริหารประเทศขึ้นอยู่กับสถาบันสำคัญ คือ รัฐสภา ซึ่งสมัยเรียกว่า สัณฐาคาร มีประมุขรัฐสภาและมีคณะกรรมการรัฐสภาเป็นคณะกรรมการบริหารในสมัยพุทธกาล มีลักษณะดังนี้

ประมุขรัฐสภา  ผู้เคยดำรงตำแหน่งนี้คือพระเจ้าสุทโธทนะแห่งศากยวงศ์ แคว้นสักกะ กรุงกบิลพัสดุ์
คณะกรรมการ
ฝ่ายบริหารบ้านเมือง  ในสมัยพุทธกาล ได้แก่ กษัตริย์ลิจฉวี แห่งเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี
กรรมการรัฐสภา  มาจากหัวหน้าครอบครัวใหญ่ๆ ระดับเมือง (ชนบท) ระดับอำเภอ

สมาชิกรัฐสภาจะต้องให้คำปฏิญญาต่อสัณฐาคาร หรือรัฐสภา เช่น จะรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ส่วนรวม จะไม่ขาดประชุม จะแสดงความคิดโดยเปิดเผย จะต้องปราศจากความโกรธแคว้นเมื่อถูกกล่าวหา และจะยอมรับสารภาพถ้ากระทำผิด

หลักธรรมที่การปกครองยึดถือปฏิบัติคือ อปริหานิยธรรม มีสาระสำคัญ คือ

* หมั่นประชุมกันอย่างเนืองนิตย์
* พร้อมเพียงกันประชุม พร้อมเพียงกันเลิกประชุม
* ไม่บัญญัติสิ่งใหม่อันขัดต่อหลักการเดิม ไม่ล้มล้างบัญญัติเก่าที่ยังใช้ได้อยู่
* เคารพนับถือและเชื่อฟังผู้ใหญ่
* ปกครองสตรี มิให้ถูกข่มเหงรังแก
* เคารพในปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุ
* คุ้มครองป้องกันภัยแก่ สมณ ชี พราหมณ์ ผู้เป็นที่พึ่งทางใจของประชาชน

ลักษณะสังคมของชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล

สังคม หมายถึง กลุ่มชนที่อยู่รวมกัน เป็นบ้าน เป็นเมือง เป็นประเทศชาติ โดยมีระบบแห่งความสัมพันธ์ที่มีหลักการ ได้แก่ การปกครอง การศึกษา เศรษฐกิจ ศาสนา ความก้าวหน้าทางศิลปวิทยา และการนันทนาการ

ลักษณะทางสังคมของชมพูทวีปสมัยพุทธกาล ได้มีการแบ่งวรรณะอยู่แล้วเป็น 4 วรรณะคือ

* วรรณะกษัตริย์ ได้แก่ พวกเจ้า กษัตริย์ นักรบ นักปกครอง สีประจำวรรณะ คือสีแดง
* วรรณะพราหมณ์ ได้แก่ นักบวช ศึกษาคัมภีร์พระเวท มีหน้าที่ติดต่อกับเทวะหรือเทพเจ้า ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สีประจำวรรณะ คือสีขาว
* วรรณะแพศย์ ได้แก่ พ่อค้า คหบดี หรือบุคคลที่ประกอบอาชีพต่างๆ เช่น พาณิชยกรรม เกษตรกรรม ศิลปหัตถกรรม พวกนี้เป็นชนชั้นกลางในสังคม สีประจำวรรณะ คือสีเหลือง
* วรรณะศูทร ได้แก่ กรรมกร ลูกจ้าง เป็นพวกชนชั้นต่ำ ผู้ใช้แรงงาน เป็นชนชั้นล่างของสังคม สีประจำวรรณะ คือสีเขียว หรือสีดำ

นอกจากนี้ ยังมีพวกนอกวรรณะ ที่เรียกว่า จัณฑาล ถือว่าเป็นคนชั้นต่ำสุด เพราะถือกำเนิดจากมารดาที่มีวรรณะสูงกว่าบิดา เช่น มารดาเป็นแพศย์ บิดาเป็นศูทร บุตรจะเกิดมาเป็นจัณฑาล ถูกเหยียดหยามจากวรรณะอื่นๆ ไม่มีศักดิ์และสิทธิ์ใดๆ ทางสังคม

มูลเหตุที่ทำให้เกิดวรรณะ

* ทฤษฏีเกี่ยวกับองคาพยพของพระผู้สร้าง กล่าวว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์จากอวัยวะส่วนต่างๆของพระองค์ สร้างวรรณะพราหมณ์จากพระโอษฐ์ สร้างวรรณะกษัตริย์จากพระพาหา สร้างวรรณะแพศย์จากพระอูรุ (โคนขาหรือตะโพก) สร้างวรรณะศูทรจากพระบาท

* สันนิษฐานตามหลักวิชา คำว่า วรรณะ แปลว่า สีผิว นักวิชาการสันนิษฐานว่า การแบ่งชนชั้น จะมีที่มาจากการถือเผ่าพันธ์และสีผิว พวกวรรณะสูง ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ และพวกพ่อค้า คือเผ่าอารยัน ส่วนพวกศูทรเป็นพวกเผ่ามิลักขะ หรือพวกดราวิเดียน ชนชาติอารยัน หรือพวกอริยกะ อพยพมาจากทางเหนือของภูมิภาคของชมพูทวีป และได้ขับไล่พวกมิลักขะหรือดราวิเดียนลงไปอยู่ทางใต้

ลักษณะเศรษฐกิจในชมพูทวีป

เศรษฐกิจในครั้งพุทธกาล ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรม คือ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ รองลงมา คือการค้าขาย และหัตถกรรมภายในครัวเรือน เช่น ช่างปั้นภาชนะดิน ช่างไม้ ช่างเหล็ก ช่างทอง ช่างทอผ้า ช่างฝึกม้าฝึกช้าง เป็นต้น เศรษฐกิจในชมพูทวีปโดยเฉพาะในแว่นแคว้นทางตอนเหนือและตอนกลาง ที่ราบลุ่มแม่น้ำจะมีเศรษฐกิจที่ดี ความเป็นอยู่เรื่องการอุปโภคบริโภคอยู่ในระดับดี มีกินมีใช้ เพราะสภาพภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์

ลักษณะความเชื่อทางศาสนา

ความเชื่อทางศาสนา แบ่งได้ 3 กลุ่ม

ความเชื่อในวิญญาณและเทพเจ้า เป็นความเชื่อดั้งเดิมของชนพื้นเมืองเดิม คือพวกมิลักขะเดิม พวกนี้จะเชื่อในสภาพ ดิน ฟ้า อากาศ ภูเขา ต้นไม้ เมื่อสภาพธรรมชาติเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น เกิดฟ้าร้อง ฟ้าผ่า พายุใหญ่ ชนพื้นเมืองจะเข้าใจว่าเป็นการกระทำของวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งพวกมิลักขะได้ยกให้เป็นเทพเจ้า ซึ่งพวกอารยันที่มาภายหลังก็ยอมรับนับถือตามไปด้วย และได้ตั้งหลักการเกี่ยวกับเทพเจ้าหรือเทวดาไว้ 3 ประเภท คือ

* สมมติเทพ เทวดาโดยสมมติ เช่น พวกมหากษัตริย์ พระราชเทวี พระราชโอรส
* อุปปัตติเทพ เทวดาโดยกำเนิด เช่น เทวดาในสวรรค์ เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม ความสุข ถ้าใครรักษาความดี ก็จะเกิดเป็นเทวดา เพราะเทวดาเป็นผู้ที่มีคุณธรรม
* วิสุทธิเทพ เทวดาโดยบริสุทธิ์ หมายถึง การเป็นเทวดาด้วยความเป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดปราศจากกิเลส ปราศจากความเศร้าหมองจากความชั่ว วิสุทธิเทพนี้ หมายถึง พระพุทธเจ้า พระอรหันต์

ความเชื่อของพวกพราหมณ์ ได้แก่ ความเชื่อในคัมภีร์ไตรเพท มีความเชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก จักรวาล และสรรพสิ่งทั้งปวง ความเชื่อของพราหมณ์อีกประการหนึ่งที่ละเลยไม่ได้ คือ ความเชื่อในเรื่องการล้างบาป มีความเชื่อว่า บาปของมนุษย์นั้นชำระล้างได้ด้วยแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ แม่น้ำคงคา ถ้าใครได้อาบ หรือได้กินน้ำในแม่น้ำคงคา ถือว่าได้บุญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เมืองพาราณาสี ซึ่งเป็นเมืองของพระศิวะ และที่เมืองคยา ถือว่าเป็นเมืองของพระวิษณุ ผู้ที่ได้อาบ หรือดื่มกินน้ำในแม่น้ำคงคา โดยเฉพาะเมืองดังกล่าวถือว่าได้บุญมาก ความชั่วทั้งหมดจะถูกลอยไปกับสายน้ำกลายป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งทางกายและทางใจ

ลัทธิอิสระ คือ กลุ่มที่มีความเชื่ออิสระเป็นพวกนักบวชที่มีความมุ่งหมายที่จะค้นหาความจริงอย่างเป็นอิสระ มีหลักฐานกล่าวไว้ว่า มีถึง 336 ลัทธิ แต่หลักฐานทางพระพุทธศาสนากล่าวว่ามี 62 ลัทธิ แต่ที่ตั้งสำนักสั่งสอนในกรุงราชคฤห์แคว้นมคธนั้น มีลัทธิอิสระ 6 ลัทธิ สรุปได้ดังนี้

* ปูรณกัสสป มีความเห็นว่า บุญบาปไม่จริง การกระทำใดๆ ไม่ว่าดี เลว จะไม่มีผลอะไรตอบสนอง ลัทธินี้เรียกว่า อกิริยทิฐิ ซึ่งมีความเห็นว่าทำก็เท่ากับไม่ทำ
* มักขลิโคสาล มีความเห็นว่า ความบริสุทธิ์และความมัวหมอง ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายบริสุทธิ์ และเศร้าหมองเองตามธรรมชาติ ลัทธินี้เรียกว่า อเหตุกทิฐิ เห็นว่าไม่มีเหตุ ไม่มีผล
* อชิตเกสกัมพล มีความเห็นว่า คนไม่มี สัตว์ไม่มี มีแต่การประชุมแห่งธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
* ปกุธกัจจายนะ มีความเห็นว่า สิ่งที่เที่ยงแท้มีอยู่ 7 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ลม สุข ทุกข์ และชีวะไม่ผันแปรเป็นอย่างอื่น มีอยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้น เรียกว่า สัสตทิฐิ (เห็นว่านิรันดร) ในด้านจริยธรรม ถือว่าไม่มีการฆ่า ไม่มีคนถูกฆ่า เป็นเพียงแต่อาวุธชำแหละผ่านอวัยวะที่ไม่ยั่งยืนเท่านั้น แต่ชีวะที่เที่ยงแท้ไม่มีใครฆ่าได้
* นิครนถ์นาฏบุตร มีความเห็นว่า การทรมานกายให้ลำบากด้วยวิธีต่างๆ เป็นทางหลุดพ้น คือการไม่เบียดเบียน ไม่มีสมบัติที่จะครอบครอง ประพฤติตนสันโดษ เชื่อว่าการทรมานกายจะทำให้หลุดพ้นทุกข์ เรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค
* สัญชัยเวลัฏฐบุตร เป็นลัทธิที่ไม่ติดกับทรรศะใดๆ เป็นลัทธิลื่นไหลไม่ตายตัวแน่นอน เรียกว่า อมราวิกเขปิกาทิฐิ

บทที่ 2

พระพุทธเจ้าในฐานะเป็นมนุษย์ ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุด (การตรัสรู้)

 พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่สำคัญศาสนาหนึ่งของโลก ถือว่าเป็นมรดกแห่งอารยธรรมทางปัญญาของมนุษยชาติอำนวยประโยชน์สุขเป็นอันมากให้แก่ชาวโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภูมิปัญญาอันสูงส่งที่สามารถทำให้มนุษย์ ได้ค้นพบสันติภาพ อิสรภาพ และความรักอันยิ่งใหญ่ เป็นที่ยอมรับขององค์การสหประชาชาติ เพราะพระพุทธศาสนาอุบัติขึ้นมาโดยมีมนุษยชาติเป็นศูนย์กลางนั่นเอง

เมื่อกล่าวถึงการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ศาสนาถือว่าเป็นเรื่องของจิตใจที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับมนุษย์ เพราะศาสนาเกิดจากความเชื่อและประสบการณ์ของมนุษย์ที่ต้องการความมั่นใจและความปลอดภัยของมนุษย์ที่ต้องการความมั่นใจและความปลอดภัยจากความกลัวในสิ่งที่นอกเหนือจากความสามารถของมนุษย์ จึงเกิดความเชื่อเรื่องวิญญาณภายนอกและเทพเจ้าต่าง ๆ ที่มีอำนาจเหนือมนุษย์และสามารถดลบันดาลได้ สูงขึ้นไปจนกระทั่งมีเทพสูงสุดเพียงหนึ่งเดียวที่เรียกว่า เทพเจ้าสูงสุด ที่มนุษย์จะต้องเซ่นสรวงสังเวย เอาใจให้ท่านโปรดปรานประทานพรปกห้องคุ้มครองรักษาตนเองและเผ่าพันธุ์มนุษย์

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาหนึ่งถือกำเนิดขึ้น โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นผู้ประกาศพระศาสนา พระองค์มีพระชนม์อยู่ก่อนพุทธศักราช 80 ปี การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นการเริ่มต้นของการประการศักยภาพของเผ่าพันธุ์มนุษย์เป็นครั้งแรกในโลก ให้ชาวโลกได้รู้ว่า มนุษย์เท่านั้นที่สามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้ และเป็นไปได้ด้วยกำลังความสามารถแห่งมันสมองที่ประกอบด้วยสติปัญญาและเรี่ยวแรงแห่งความพยายามด้วยตนเอง ไม่มีใครมากำหนดชี้ชะตาดลบันดาลหรือใช้อิทธิพลให้กลายเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ดังประวัติพระพุทธศาสนาปรากฏชัดว่า พระองค์ลงมือทดลองค้นคว้าด้วยประสบการณ์ตรงด้วยพระองค์เองทุกวิธีและวิถีทาง (เช่น ทำทุกรกิริยา) ที่จะบรรลุถึงความดับทุกข์ที่มีอยู่ประจำในร่างกายและจิตใจมวลมนุษยชาติมาช้านานไม่มีที่สิ้นสุด

ด้วยศักยภาพทางสมองที่ฉลาดสูงส่ง ทรงมีจิตใจที่แน่วแน่มั่นคง ทรงอดทนและมีความพยายามอย่างยิ่งยวด จึงส่งผลให้พระองค์ทรงเป็นมนุษย์คนแรกที่ประสบความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ด้วยการตรัสรู้ความจริงของสิ่งมีชีวิตครอบคลุมถึงสรรพสิ่งที่ไม่มีชีวิต นั่นคือ อริยสัจ 4 ได้แก่ การรู้แจ้งชัดด้วยปัญญาญาณ ในความจริงที่ว่าด้วยทุกข์ (ทุกข์) สาเหตุของทุกข์ (สมุทัย) ความดับทุกข์ (นิโรธ) และข้อปฏิบัติที่จะระงับดับทุกข์ (มรรค) (พระมหานพดล ปุญฺญสุวฑฺฒโก. 2545 : 45-46)

การศึกษาพุทธประวัติของพระองค์ และเข้าใจหลักพื้นฐานของพระพุทธศาสนา คือตัวอย่างที่พระพุทธองค์ทรงเป็นมนุษย์ที่พัฒนาตนได้อย่างสูงสุด พระธรรมปิฎก (2535 : 92-96) ได้กล่าวไว้ถึงศักยภาพของพระพุทธเจ้าไว้ดังนี้คือ

1. พระพุทธองค์ทรงประกาศอิสรภาพของมนุษย์ พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในท่ามกลางความเชื่อตามหลักศาสนาพราหมณ์ ที่ถือว่า พระพรหมเป็นผู้สร้างโลก เทพเจ้าเป็นผู้บันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง มนุษย์จะต้องบวงสรวงอ้อนวอนด้วยพิธีกรรม ซึ่งคิดจัดสรรกันต่าง ๆ ให้เทพเจ้าถูกอกถูกใจ มีความใหญ่โตพิสดาร จนกระทั่งถึงกับมีวิธีบูชายัญแบบต่าง ๆ มากมาย เพื่อเอาใจเทพเจ้าให้โปรดปรานแล้วจะได้บันดาลผลที่ต้องการให้แก่ตน คัมภีร์พระเวทของพราหมณ์ กำหนดว่า คนเกิดมาแยกเป็นวรรณะสี่ เพราะว่าพระพรหมท่านสร้างมาอย่างนั้น เกิดมาในชั้นวรรณะไหน ก็ต้องเป็นอย่างนั้นตลอดชาติ แก้ไขไม่ได้ ทุกอย่างถูกครอบงำกำหนดด้วยการดลบันดาลของเทพเจ้า

เมื่อพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น สิ่งแรกที่ถือว่าเกิดขึ้นพร้อมกับการอุบัติของเจ้าชาวสิทธัตถะคือ การประกาศอิสรภาพของมนุษย์ ถ้าใครสังเกตจะนึกได้ว่า เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติ มีเหตุการณ์ที่เป็นสัญลักษณ์ว่าได้เสด็จย่างพระบาทไป 7 ก้าว ทรงเปล่งอาสภิวาจาว่า “เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐแห่งโลก เราคือผู้เป็นใหญ่แห่งโลก”

พระดำรัสนี้ ถ้าไม่สังเกตให้ดีจะเข้าใจผิดว่า ทำไมเจ้าชายสิทธัตถะมาอวดตัวว่ายิ่งใหญ่ แต่พึงทราบว่านี้คือการประกาศอิสรภาพของมนุษย์ เพราะหลักการต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงต่อมาจะบอกเราว่า มนุษย์มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองได้สูงสุด เมื่อมนุษย์พัฒนาตนเองแล้วก็เป็นผู้ประเสริฐสุด ดังมีพระองค์เป็นตัวอย่างในฐานะที่เป็นตัวแทนของมนุษย์คือการที่ทรงเป็น “พุทธะ” ซึ่งทุกคนก็เป็น “พุทธะ” ได้ทั้งนั้น เมื่อมนุษย์มีศักยภาพอย่างนี้จะได้ไม่มัวไปอ้อนวอนหวังพึ่งเทพเจ้าหรือำนาจดลบันดาลจากภายนอก จะได้หันมาเอาใจใส่พัฒนาตัวเอง และทำการต่าง ๆ ด้วยความเพียรพยายามของตน เมื่อเป็น “พุทธะ” แล้ว แม้แต่เทพเจ้า แม้แต่พระพรหมก็น้อมนมัสการ

คำสอนของพระพุทธเจ้าที่กล่าวถึงเรื่องนี้ ก็คือ “มนุสฺสภูตํ สมฺพุทฺธํ อตฺตทนฺตํ สมาหิตํ……. เทวาปิ นมสฺสนฺติ

ซึ่งบอกว่า “พระพุทธเจ้า แม้จะเป็นมนุษย์ แต่เป็นผู้ที่ได้ฝึกฝนพัฒนาตนแล้ว…..แม้เทพเจ้าทั้งหลาย (ไม่ว่าชั้นเทพหรือชั้นพรหม) ก็น้อมนมัสการ”

หลักการข้อนี้เป็นการเปลี่ยนท่าทีของมนุษย์เสียใหม่ ท่าทีของจิตใจที่มองไปข้างนอกในแบบที่คอยหวังพึ่งเทพเจ้า คอยรอการดลบันดาลของอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ถูกกระตุกกลับอย่างแรง แล้วคนก็ถูกปลุกเร้าให้หันมามองดูที่ตัวเองว่า ภายในตัวของเขาเองนี้มีธรรมชาติแห่งความเป็นสัตว์ที่พัฒนาได้ ถ้าเธอฝึกฝนพัฒนาตนเธอจะเป็นผู้ประเสริฐ โดยไม่ต้องไปฝากชะตาชีวิตไว้กับเทพเจ้าเหล่านั้น แม่แต่เทพเหล่านั้นก็ต้องยอมรับในคุณค่าความประเสริฐของเธอ แล้วเขาก็จะมาน้อมนมัสการเอง

หลักนี้ก็คือ การมีความเชื่อหรือศรัทธาพื้นฐานว่า มนุษย์มีศักยภาพในการพัฒนาตนได้สูงสุดและให้มองพระพุทธเจ้าในฐานะที่ทรงเป็นตัวแทนเป็นตัวอย่างของมนุษย์ที่พัฒนาตนเองแล้วได้สูงสุด

2. หลักการแก้ปัญญาด้วยการกระทำของมนุษย์ตามหลักเหตุผล ไม่หวังการอ้อนวอนจากปัจจัยภายนอก หลักการนี้จะเห็นได้จากตัวอย่างคำสอนในคาถาธรรมบท ซึ่งถือเป็นการประกาศหลักการใหญ่ภาคปฏิบัติของพระพุทธศาสนา คาถานั้นว่า “พหุ เว สรณํ ยนฺติ…..”

เริ่มต้น คาถานี้ก็บอกให้ทราบว่า วิถีชีวิตของมนุษย์ก่อนพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ดังข้อความว่า “มนุษย์ทั้งหลายถูกภัยคุกคามแล้ว”นี่ตรงกับเรื่องการเกิดขึ้นของศาสนาทั้งหลาย ในพุทธพจน์ท่านตรัสว่า“มนุษย์ทั้งหลายถูกภัยคุกคามแล้ว พากันถึงเข้าป่าเจ้าเขา เจ้าภูผา ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่พึ่ง แต่สิ่งเหล่านั้น ไม่ใช่สรณะอันเกษมเมื่อยึดเอาสิ่งเหล่านั้นเป็นสรณะ ย่อมไม่สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง”

“แต่ชนเหล่าใดมาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ รู้เข้าใจอริยสัจ 4 เห็นปัญหา เหตุเกิดของปัญหา ภาวะไร้ปัญหาและวิธีปฏิบัติให้ถึงความสิ้นปัญหาจึงจะสามารถหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้”

นี่คือ จุดหักเหที่เบนจากการอ้อนวอนหวังพึ่งเทพเจ้า มาสู่การกระทำของมนุษย์ ถ้าเราไม่รู้หลักนี้เราอาจจะเผลอนับถือพระรัตนตรัยแบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาทั่ว ๆ ไป ทั้งหลายพระรัตนตรัยเริ่มจากพระพุทธเจ้า คือ ตัวอย่างของมนุษย์ที่พัฒนาตนได้สูงสุดและใช้ปัญญาแก้ปัญหาได้เสร็จสิ้น ซึ่งเป็นการเตือนใจมนุษย์ทุกคนว่า เรามีศักยภาพนี้อยู่ในตัวและจึงมีหน้าที่ที่จะต้องพัฒนาตนเอง การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะนั้น คือเป็นการเตือนใจตัวเราพอระลึกถึงพระรัตนตรัย นึกถึงพระพุทธเจ้าก็ต้องเกิดความสำนึกที่จะใช้ปัญญาแก้ปัญหาและพัฒนาตนทันทีนี่คือการเตือนจิตสำนึกในศักยภาพของตัวเราเอง

พอนึกถึงพระธรรม ก็เตือนใจเราให้ระลึกว่า การที่จะพัฒนาตนได้นั้น ก็ต้องทำให้เป็นไปตามหลักปัจจัย เราจะต้องรู้เข้าใจกฎธรรมชาติต้องมองสิ่งทั้งหลายตามเหตุปัจจัย ต้องหยั่งถึงและปฏิบัติให้ถูกต้องตามความจริงแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย

เมื่อนึกถึงพระสงฆ์ ก็คือชุมชนที่ประเสริฐ สังคมมนุษย์ที่ประกอบด้วยมนุษย์ที่พัฒนาตนได้โดยใช้กฎเกณฑ์แห่งเหตุปัจจัยนี้เอาความรู้นี้มาใช้ประโยชน์ พัฒนาตนได้สำเร็จนั้นเป็นจริงทำให้มีให้เป็นได้ และเป็นที่ปรากฏของการเข้าถึงความจริงของกฎธรรมชาติในทางปฏิบัติ หรือในเชิงประยุกต์เราจะต้องเข้าร่วม เข้าสังกัด ร่วมสร้างสรรค์ชุมชนประเสริฐนี้

เหล่านี้คือหลักพระรัตนตรัย พอเราเชื่อในหลักการนี้ เราก็ต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีการของมนุษย์ที่เพียรทำการด้วยปัญญาที่รู้เหตุปัจจัยวิธีการแก้ปัญหาด้วยปัญญาของมนุษย์คือ อริยสัจ 4

นี่คือตัวอย่างของมนุษย์ที่สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างสูงสุด พระพุทธองค์ทรงเข้าใจถึงความเป็นกฎธรรมชาติและมุ่งหวังให้มนุษย์หลุดพ้นจากวังวนแห่งวัฏสงสาร มนุษย์จะต้องแก้ปัญหาด้วยการพัฒนาปัญญาของมนุษย์ เพื่อให้หลุดพ้นจากวังวนดังกล่าว

บทที่ 3

  1. การก่อตั้งพระพุทธศาสนา วิธีการสอนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยา

วิธีสอนของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าได้รับยกย่องว่า  ทรงเป็น “ พระบรมครู ”  หรือ “ ศาสดาเอก ”  ในโลกเพราะพระองค์ทรงมีวิธีสอนที่ดีเยี่ยม  ทำให้ผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง  มีคำกล่าวว่า  ถ้าพระพุทธองค์ทรงตัดสินพระทัยจะแสดงธรรมโปรดใคร  เขาผู้นั้นย่อมได้บรรลุมรรคผลไม่ระดับใดก็ระดับหนึ่ง  ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงวิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมทั้งโดยตรงและโดยอ้อม  ในที่นี้กล่าวถึง  หลักการสอน  วิธีสอนธรรม  และเทคนิควิธีสอนธรรมของพระพุทธองค์โดยสังเขป

1. หลักการสอน  หมายถึง  หลักการสอนทั่วไป  มีอยู่ 4 ประการ ดงนี้

1.1 แจ่มแจ้ง  อธิบายแจ่มแจ้งดุจนำมาวางให้ตรงหน้า

1.2 จูงใจ  พูดจูงใจอยากปฏิบัติตามที่สอน

1.3 หาญกล้า  ทำให้ผู้ฟังเกิดความกล้าหาญ  มั่นใจที่จะปฏิบัติตาม

1.4 ร่าเริง  ให้ผู้ฟังเกิดฉันทะในการฟัง  สนุกสนานไปกับการสอน  ไม่เบื่อ

2. วิธีสอน  วิธีสอนของพระพุทธเจ้ามี  4  แบบ  ดังนี้

2.1 แบบบรรยาย  การสอนแบบนี้นี้ทรงใช้เสมอ  ส่วนมากจะเป็นบรรยากาศที่มีผู้ฟังจำนวนมาก เช่น ที่วัดพระเชตวันมหาวิหาร  พระองค์จะเสด็จลงแสดงธรรมเทศนาในช่วงบ่ายของทุกวัน  เมื่อครั้งแสดงธรรมครั้งแรกคือโปรดปัญจวัคคีย์ทรงใช้วิธีบรรยายตั้งแต่ต้นจนจบ

2.2 แบบสนทนา  แบบนี้ทรงใช้บ่อยมาก  อาจเพราะผู้ฟังมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็น  ทำให้การเรียนการสอนสนุก  ผู้ฟังมีความรู้สึกว่าตนกำลังสนทนากับผู้สอน  ไม่ใช่ “ ถูกสอน ”  ในการสนทนาพระพุทธเจ้าทรงทำหน้าที่ซักถาม  โยนประเด็นปัญหาให้ขบคิดแล้วทรงสรุปให้เข้าใจ

2.3 แบบตอบปัญหา  แบ่งย่อยออกเป็น  4  อย่าง  ดังนี้

(1)  ตอบตรงไปตรงมา  ไม่อ้อมค้อม  ไม่มีเงื่อนไข  เช่นถ้าถามว่า  ทางพ้นทุกข์คืออะไร  ตอบทันที่เลยว่าทางพ้นทุกข์คืออริยสัจสี่

(2)  ย้อนถามก่อนแล้วค่อยตอบ  ปัญหาบางอย่างจะตอบทันทีไม่ได้  ต้องย้อนถามเพื่อความแน่ใจก่อนแล้วค่อยตอบ  เช่นถามว่า  คนเราทำกรรมแล้ว  ตายไปเกิดชาติหน้าจะตกนรกหรือขึ้นสวรรค์  ต้องย้อนถามว่า  ที่ทำกรรมนั้น  ทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว  ถ้าทำกรรมดีย่อมขึ้นสวรรค์  ถ้าทำกรรมชั่วย่อมตกนรก  ดังนี้เป็นต้น

(3)  แยกประเด็นตอบ  บางครั้งก็แยกตอบเป็นเรื่องๆ  เป็นประเด็นๆไป  ยกตัวอย่าง  มีผู้ถามพระพุทธองค์ว่า  พระองค์ตำหนิตบะ ( ความเข้มงวด )ทุกอย่างหรือไม่  พระพุทธองค์ทรงแยกแยะประเด็นตอบว่า  ถ้าเป็นความเข้มงวดแบบทรมานตัวเองให้ลำบากต่างๆนานา  พระพุทธองค์ทรงตำหนิ  แต่ถ้าเป็นความเข้มงวดแบบธุดงควัตรพระองค์ทรงสรรเสริญ

(4)  แบบตัดประเด็นหรือไม่ตอบ  มีปัญหาบางอย่างที่พระองค์ไม่ทรงตอบเรียกว่า “ อัพยากตปัญหา ” เช่น ถามว่าโลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง  โลกมีที่สุดหรือไม่  พระอรหันต์ตายไปแล้วยังคงอยู่หรือไม่  เหตุผลที่ไม่ทรงตอบ  เพราะว่า  แม้จะรู้หรือไม่รู้  ก็ไม่ทำให้ทุกข์ที่มีอยู่เพิ่มขึ้นหรือลดลง   ในบางกรณีที่ผู้ถามต้องการให้ทรงขัดแย้งกับคนอื่น  พระองค์ไม่ทรงตอบ  เช่น ชาวกาลามะ  แห่งหมู่บ้านเกสปุตตนิคม  เล่าว่ามีเจ้าลัทธิต่างๆที่ผ่านมาต่างก็ดูถูกลัทธิของคนอื่นว่าผิด ของตนถูกต้อง  แล้วทูลถาม

พระองค์ว่า  พวกไหนสอนถูก  พวกไหนสอนผิด   พระองค์ตรัสว่า  ใครจะสอนถูกสอนผิดช่างเถิด  เราตถาคตจะแสดงธรรมให้ฟัง

3. เทคนิควิธีสอน  พระพุทธเจ้าทรงใช้เทคนิคการสอนหลากหลาย  คือ

3.1  ทำนามธรรมให้เป็นรูปธรรม  หรือ “ ทรงทำของยากให้ง่าย ”   ธรรมะเป็นนามธรรมละเอียดอ่อนเข้าใจยาก  พระองค์ทรงมีเทคนิควิธีทำให้ง่ายขึ้น  ซึ่งทำได้หลายวิธี  เช่น

(1)  ใช้อุปมาอุปไมย  บางเรื่องที่พึงรู้ได้ด้วยอุปมาอุปไมย  พระองค์ทรงใช้  เช่น  ตรัสบอกเหล่าสาวกของพระองค์ว่า ธรรมะที่ทรงตรัสรู้นั้นมีมากดุจใบไม้ในป่า  แต่ทรงนำมานิดเดียวเฉพาะที่จำเป็นจะต้องรู้  ดุจใบไม้ในกำมือดังนี้  เป็นต้น

(2)  ยกนิทานประกอบ  ทรงยกนิทานชาดก ( เรื่องราวของพระองค์เมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์  บำเพ็ญบารมีในชาติก่อนๆ ) เช่น  พระเวสสันดรชาดก  หรือทรงนำนิทานพื้นบ้านโบราณมาเล่าให้ฟัง  ดังเรื่อง   ตาบอดคลำช้างแปดคน  ต่างคนต่างคลำแต่ละส่วนของช้าง  แล้วเข้าใจว่าตนรู้จักช้างดี  จึงทะเลาะทุบตีกัน แล้วสรุปว่า“ คนที่รู้เห็นเพียงบางแง่มุมมักจะทะเลาะทุ่มเถียงกันเพราะทิฐิ(ความเห็น )”

(3)  ใช้สื่อการสอน  พระพุทธองค์ทรงใช้สื่อการสอนเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจชัดเจนขึ้น  ดังทรงสอนสามเณรราหุลเรื่องโทษของการพูดเท็จทั้งที่รู้  โดยทรงใช้ขันตักน้ำเทลงทีละนิดจนหมดขันแล้วคว่ำขันลง  แล้วทรงยกขันเปล่าขึ้น  ตรัสสอนว่า  คนที่พูดเท็จทั้งที่รู้ย่อมเทความดีงามออกทีละนิดจนหมดไปในที่สุด  อีกครั้งหนึ่งทรงใช้แว่นส่องหน้าเป็นสื่อในการสอนเรื่อง  สติสัมปชัญญะ  แว่นมีไว้ส่องดูใบหน้าฉันใด   สติสัมปชัญญะก็มีไว้กำกับตนเพื่อส่องดูเรื่องที่คิด  การที่ทำและคำที่พูดฉันนั้น

3.2   ทำตนให้เป็นตัวอย่าง  ในแง่การสอนอาจแบ่งได้เป็น 2 อย่าง   คือ

(1)  สาธิตให้ดูหรือทำให้ดู  ดังเมื่อครั้งพระองค์ทรงสั่งให้พระอานนท์ผสมน้ำอุ่น  แล้วทรงใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดร่างกายของพระภิกษุรูปหนึ่งที่ป่วยด้วยโรคพุพอง  มีหนองไหลเยิ้ม  ไม่มีเพื่อนภิกษุดูแล  ทรงทำให้ดูเป็นตัวอย่างแล้วตรัสสอนว่า “ พวกเธอมาบวชในศาสนาของตถาคต  ไม่มีพ่อไม่มีแม่  เมื่อพวกเธอไม่ดูแลกันเองในยามป่วยไข้  แล้วใครจะดูแล ”

(2)  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง  พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ที่ปฏิบัติพระองค์ให้เป็นแบบอย่างที่ดี  จึงได้รับการยกย่องว่า  เป็นพระบรมครู  เป็นศาสดาเอกในโลก

3.3   ทรงเลือกใช้คำให้เหมาะสม  คำศัพท์ที่คนสมัยนั้นใช้อยู่แล้ว  เช่น  คำว่า พราหมณ์  ภิกษุ เทพ เป็นต้น  พระองค์ทรงนำเอามาใช้สอนธรรม  แต่ให้ความหมายใหม่  วิธีนี้ทำให้ผู้ฟังให้ความสนใจและเข้าใจได้ง่ายเพราะได้เทียบเคียงกับความหมายเดิม

ครั้งหนึ่งพราหมณ์คนหนึ่งมาชวนให้พระพุทธเจ้าไปอาบน้ำ  อ้างว่าอาบน้ำในท่าศักดิ์สิทธิ์แล้วจะหมดบาปได้ขึ้นสวรรค์  พระองค์ทรงแย้งว่า  ถ้าความบริสุทธิ์มีได้ด้วยน้ำมนุษย์ก็บริสุทธิ์สู้กุ้ง  หอย  ปู  ปลาไม่ได้  เพราะสัตว์เหล่านั้นอาบน้ำอยู่ตลอดเวลา  ครั้นพราหมณ์ถามว่า  พระองค์ไม่สรรเสริญการอาบน้ำหรือ  พระองค์ตอบว่า สรรเสริญ  แล้วทรงให้ความหมายของการอาบน้ำใหม่ว่า  เป็นการอาบกาย  วาจา  ใจ  ด้วยศีล  สมาธิ  ปัญญา

3.4  รู้จังหวะและโอกาส  คือ รอให้ผู้ฟังมีความพร้อมเสียก่อนแล้วค่อยสอน  ดังกรณีเด็กหนุ่มชื่อ  วักกลิมาบวชเพราะติดใจในความงามแห่งพระวรกายของพระพุทธองค์  ไม่สนใจปฏิบัติธรรม  ได้แต่คอยเฝ้ามองพระพุทธองค์ด้วยความชื่นชม  พระองค์ทรงรอให้เธอมีความพร้อมเสียก่อนแล้วตรัสเตือนสติประทานโอวาท  จนสำเร็จพระอรหันตผลในที่สุด

3.5  ยืดหยุ่นในการใช้เทคนิควิธี  ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือ  พระพุทธเจ้าตรัสกับคนฝึกม้าชื่อเกสี  ว่าพระองค์ทรงใช้เทคนิควิธีฝึกสาวกของพระองค์  เช่นเดียวกับที่เกสีฝึกม้า  คือ  บางครั้งก็ทรงใช้วิธีนุ่มนวล  บางครั้งเข้มงวด  บางครั้งผสมผสานระหว่างทั้งสองวิธี  ถ้าไม่สำเร็จ  พระองค์ก็ทรง “ ฆ่าทิ้ง ” ดุจนายเกสีฆ่าม้าที่ฝึกไม่ได้  แต่การฆ่าของพระองค์  หมายถึง ไม่พูดด้วย  ไม่ว่ากล่าวตักเตือน  หรือ “ คว่ำบาตร ” ให้ผู้นั้นสำนึกตนในภายหลัง

3.6  เสริมแรง  เพื่อสัมฤทธิ์ผลแห่งการสั่งสอน  การเสริมแรงเป็นสิ่งจำเป็น  การตรัสชมเชยพระสาวกของพระสาวกบางรูปให้สงฆ์ฟัง  เป็นการเสริมแรงให้ท่านผู้นั้นมีฉันทะในการปฏิบัติธรรมสูงขึ้นตามลำดับ  แม้การทรงตั้งตำแหน่ง “ เอตทัคคะ ”(ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) ให้แก่พระสาวกที่มีความถนัดและความสามารถพิเศษเฉพาะด้านก็นับเป็นการเสริมแรงเช่นเดียวกัน

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยา

พุทธจริยา  หมายถึง  พระจริยาวัตรหรือความประพฤติที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น  มี  3  ประการ  ดังนี้

1. โลกัตถจริยา  พุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก

2. ญาตัตถจริยา  พุทธจริยาเพื่อประโยชน์แก่พระประยูรญาติทั้งหลาย

3. พุทธัตถจริยา  พุทธจริยาที่ทรงบำเพ็ญในฐานะที่ทรงเป็นพระพุทธเจ้า

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยาจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาพระจริยาวัตรทั้ง  3  ประการของพระพุทธองค์เพื่อความเข้าใจแนวพระจริยาวัตรให้ถูกต้อง  ดังนี้

1. โลกัตถจริยา  การที่พระองค์ทรงอนุเคราะห์ชาวโลกนั้นแสดงออกในพุทธกิจประจำวันนั่นเอง  ซึ่งเห็นได้ชัดว่า วันเวลาที่ผ่านไปแต่ละวันเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่คนอื่นทั้งนั้น  พระองค์แทบไม่มีเวลาพักผ่อนเลยแม้ประชวรหนักอย่างไร  ก็ทรงอุตสาห์ข่มทุกขเวทนาสั่งสอนคนอื่น ดังเช่น ทรงโปรดสุภัททปริพาชกก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานเป็นต้น พุทธกิจ  5  ประการ คือ

(1) ปุเรภัตตกิจ  เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต  ถือโอกาสแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ด้วย

(2) ปัจฉาภัตตกิจ  เวลาบ่ายทรงแสดงธรรมโปรดประชาชน

(3) ปุริมยามกิจ  เวลาค่ำทรงประทานโอวาทแด่ภิกษุสงฆ์

(4) มัชฌิมยามกิจ  เวลากลางคืนทรงตอบปัญหาเทวดา

(5) ปัจฉิมยามกิจ  เวลาจวนสว่างทรงตรวจดูบุคคลที่พึงโปรดด้วยพระญาณ

2. ญาตัตถจริยา   พระพุทธองค์ทรงสงเคราะห์พระญาติเมืองกบิลพัสดุ์และพระญาติเมืองเทวทหะหลายครั้ง  เพราะทรงถือว่าแม้พระองค์จะเป็น  “ คนของโลก ” แล้ว  ก็ไม่ทรงละเลยการอนุเคราะห์เกื้อกูลกันฉันเครือญาติ  เช่น

***  เสด็จนิวัติเมืองกบิลพัสดุ์เพื่อโปรดพระพุทธบิดา  และพระประยูรญาติทั้งหลายหลังการตรัสรู้แล้ว

***  เสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  โดยเทศนาพระอภิธรรมโปรดตลอดพรรษา

***  ทรงชักนำขัตติยกุมารจากศากยวงศ์และโกลิยวงศ์ออกบวชเพื่อให้พบแนวทางชีวิตที่ดีกว่า  ตลอดถึงทรงอนุญาตให้ขัตติยนารีที่เป็นพระญาติของพระองค์บวชเป็นภิกษุณีด้วย  เช่น  กรณีให้นางมหาปชาบดีโคตมีบวช

***  ทรงระงับสงครามแย่งน้ำในแม่น้ำโรหิณีระหว่างศากยวงศ์และโกลิยวงศ์  ทำให้พระญาติทั้งสองฝ่ายไม่ต้องฆ่าฟันกันให้เสียเลือดเนื้อ  เหตุการณ์สำคัญครั้งนี้ชาวพุทธได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นอนุสรณ์ปางหนึ่งเรียกว่า “ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ ”  ( พระพุทธรูปยืนยกหัตถ์ขวาในท่าห้ามปราม )

***  ทรงเสด็จไปป้องกันพระญาติฝ่ายศากยวงศ์จากการถูกทำลายล้างของพระเจ้าวิฑูฑภะ  ผู้ยกทัพมาโจมตีเมืองกบิลพัสดุ์ด้วยความแค้นส่วนตัวถึงสามครั้ง

3.   พุทธัตตถจริยา  หน้าที่ที่พระพุทธองค์ทรงกระทำในฐานะที่เป็นพระพุทธเจ้า  ความจริงรวมอยู่ในโลกัตตถจริยานั่นเอง  แต่ที่แยกพูดอีกต่างหากก็เพื่อเน้นว่า  หน้าที่บางอย่างพระพุทธเจ้าเท่านั้นทรงทำได้  พุทธะอื่นๆ ( คือปัจเจกพุทธะและอนุพุทธะ )ไม่สามารถทำได้  พุทธจริยามีมากมายเช่น

3.1)   ช่วยสรรพสัตว์ข้ามห้วงทุกข์   พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมายาวนาน  เมื่อยังเป็นพระโพธิสัตว์ก็ตั้งพระปณิธานจะช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นจากความทุกข์  เมื่อได้ตรัสรู้แล้วทรงทำหน้าที่นี้ตลอดพระชนม์ชีพ

3.2)   ปูพื้นฐานแห่งกุศลธรรม   หรืออุปนิสัยที่ดีในภายหน้า  ในกรณีที่ทรงแนะหรือฝึกฝนบางคนไม่ได้  เพราะเขามีความหยาบช้าหนาแน่นไปด้วยโมหะอวิชชาเกินกว่าจะเข้าถึงธรรมได้พระองค์ไม่ทรงทอดทิ้งพยายามสั่งสอนเพื่อให้เขามีอุปนิสัยปัจจัยที่ดีในภายภาคหน้า  ดังกรณีทรงบวชให้พระเทวทัต  ทั้งๆที่รู้ด้วยพระญาณว่าเทวทัตบวชแล้วจักทำสังฆเภท ( สร้างความแตกแยกในหมู่สงฆ์ )

3.3)   ช่วยปิดทางอบาย   คือปิดกั้นมิให้คนบางประเภทถลำลึกลงสู่ทางแห่งความเสื่อมฉิบหาย  เช่น  เสด็จไปโปรดโจรองคุลิมาล  ก่อนที่จะพบมารดาระหว่างทางและก่อนจะกระทำมาตุฆาต ( ฆ่ามารดา ) อันเป็นกรรมหนัก

3.4)   ทรงบัญญัติพระวินัยเพื่อความดำรงมั่นแห่งพระศาสนา  พระวินัยถือว่าเป็นรากแก้วแห่งพระพุทธศาสนา  เมื่อพระสงฆ์บางรูปกระทำสิ่งที่ไม่สมควรแก่สมณะ  เป็นที่ตำหนิติเตียนของชาวโลก  พระองค์ทรงวางเป็นข้อบังคับห้ามทำเช่นนั้นอีกต่อไป  พระวินัยที่ทรงบัญญัติขึ้นเป็นเครื่องควบคุมสงฆ์ให้มีความสงบเรียบร้อย  เป็นที่เลื่อมใสของประชาชน  และเป็นเครื่องจรรโลงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวร

3.5)   ทรงสถาปนาสถาบันสืบทอดพระพุทธศาสนา   ทรงตั้งพุทธบริษัท 4 คือ ภิกษุภิกษุณี   อุบาสก   อุบาสิกา   พร้อมทรงวางหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายปฏิบัติและหน้าที่พึงปฏิบัติร่วมกัน  เพื่อความวัฒนาสถาพรแห่งพระพุทธศาสนาสืบไป     

 

บทที่ 4

พุทธประวัติด้านการบริหารและการธำรงรักษาพระพุทธศาสนา

การบริหารและการธำรงรักษาพระพุทธศาสนาของพระ พุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าทรงเป็นนักบริหารที่มีความสามารถสูง หลักธรรมของพระองค์สามารถประยุกต์ใช้กับกระบวนการปกครองทุกระบบ ทรงเน้นคุณธรรมในการปกครองทำให้ระบบการบริหารดีส่งผลให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง ธำรงอยู่ได้ตราบจนปัจจุบัน ซึ่งการบริหารและการธำรงรักษาพุทธศาสนามีรายละเอียด ดังนี้

1. ด้านการบริหารของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงมีหลักการบริหารดังนี้

–  หลักธรรมพระวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จปรินิพพานได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ธรรมวินัยที่เราบัญญัติแก่เธอจะเป็นศาสดา ของเธอ เมื่อเราล่วงลับไป” พระธรรมวินัยจึงถือเป็นหัวใจของการปกครองคณะสงฆ์ตราบจนปัจจุบัน

– หลักธรรมาธิปไตย พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการปกครองไว้เรียกว่า อธิปไตย 3 คือ อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย และธรรมาธิปไตยทรงยกย่องธรรมาธิปไตย เป็นสำคัญ เพราะนักบริหารแบบธรรมาธิปไตยยึดธรรมหรือหลักความถูกต้องชอบธรรม ฟังความคิดเห็นของผู้อื่นทำให้ได้ทั้งคนและงาน ต่างจากนักบริหารแบบอัตตาธิปไตยที่ยึดตนเองเป็นสำคัญ ถือว่าตนฉลาดกว่าคนอื่นเป็นเผด็จการได้งานเสียคน และนักโลกาธิปไตย เอาใจคนอื่นไม่มีจุดยืน ไม่กล้าขัดใจใคร ได้คนแต่เสียงานหรือเสียทั้งงาน เสียทั้งคน

หลัก ธรรมาธิปไตยมีองค์ประกอบดังนี้

– หลักเสรีภาพ ทรงเน้นเสรีภาพส่วนบุคคล โดยเฉพาะการเลือกนับถือศาสนา สอนให้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนปลงใจเชื่อคำสอนใด ๆ ให้ใช้วิจารณญาณตามหลักสัมมาทิฏฐิอย่าเชื่อโดยขาดสติหรือขาดปัญญาตรึกตรอง และทรงเน้นเสรีภาพที่สูงสุด คือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ที่เป็นเหตุให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด

– หลักความเสมอภาค ทรงยืนยันว่าทั้งชายและหญิงมีความเสมอภาคด้านการ ตรัสรู้ธรรมหลักสิทธิมนุษยชนทรงห้ามไม่ให้ภิกษุณีมีทาสหญิงและทาสชาย และทาสที่เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุย่อมได้รับสิทธิเทียบเท่ากับภิกษุรูปอื่น ๆ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมวินัยอย่างเสมอกัน

– หลักภราดรภาพ ทรงเน้นเมตตาเป็นสำคัญถือว่ามนุษย์ทุกคนเป็นเพื่อน ร่วมเกิด แก่ เจ็บ และตาย ทรงสอนไม่ให้เบียดเบียนกันแม้แต่สัตว์ก็อย่าไปทำร้าย นับว่าหลักศีล 5 และธรรม 5 เป็นภราดรภาพในพระพุทธศาสนาหลักสังคหวัตถุธรรม 4 เป็นหลักธรรมที่ถือว่าเป็นหัวใจของมิตรภาพระหว่างบุคคลและสังคม

2. ด้านการธำรงรักษาพระธรรมวินัย

หลักการธำรงรักษาพระธรรมวินัยทรง มอบให้เป็นภาระรับผิดชอบของพุทธบริษัท 4 โดยประทานความเป็นใหญ่ในคณะสงฆ์ในด้านต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องของส่วนรวม ทรงปรารภอนาคตว่า การร้อยกรองพระธรรมวินัยขึ้นเพื่อเป็นหลักช่วยมิให้สงฆ์แตกแยกกันภายในภาย ภาคหน้า

แสดงว่าพระองค์ทรงหลักปาปณิก ธรรม คือ ธรรมสำหรับนักบริหาร 3 อย่างประกอบด้วย จักษุมา หมายถึง มีสายตายาวไกลกำหนดเป้าหมายและวางแผน 3 ประการ คือ รู้ตน รู้คน และรู้งาน ตรงกับคำว่า ทักษะในการใช้ความคิด วิธุโร หมายถึง จัดการธุระได้ดีมีความชำนาญเฉพาะด้าน ตรงกับคำว่า ทักษะด้านเทคนิค และ นิสสยสัมปันโน หมายถึง อาศัยคนอื่นได้ เพราะเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี ตรงกับคำว่า ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์

3 .ด้านเป็นมนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุด

การ ฝึกตนอันประเสริฐสุดในพระพุทธศาสนา คือ การ ฝึกตนตามหลักมรรค 8 ประการ พุทธเจ้าทรงได้ชื่อว่าเป็นนักเสียสละผู้ยิ่งใหญ่ ทรงสละสิ่งเล็กน้อยไปจนถึงสละกิเลสจนได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือว่าพระองค์เป็นตัวอย่างที่ดี ทรงฝึกตนเป็นนักเสียสละ

พระพุทธเจ้าทรงฝึกตนด้วยการ เสียสละสิ่งนอกกาย สรุปได้ดังนี้

1. ทรงเสียสละอำนาจอันยิ่งใหญ่ ทรงสละการเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคตมีอำนาจครอบงำทั่วโลก เพื่อพระสัมมาสัมโพธิญาณ อันเป็นประโยชน์แก่สรรพสัตว์ในการพ้นจากความทุกข์

2. ทรงเสียสละครอบครัวอันเป็นที่รัก ทรงสละบุคคล เหล่านั้นไปบรรพชาอุปสมบท เพื่อแสวงหาสัจธรรมคือ พระสัมโพธิญาณ และเพื่อช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ เมื่อทรงตรัสรู้แล้วก็เสด็จมาโปรดพระประยูญาติ และบุคคลอื่น ๆ ให้รู้ในสัจธรรม

3. ทรงเสียสละโลกียสุข  ในฐานะเป็นเจ้าชายรัชทายาทแทนที่จะทรงใช้ชีวิตอยู่ในปราสาท 3 ฤดู บำเรอด้วยสุขต่างๆแต่ทรงกลับสละออกไปโดยไม่อาลัยอาวรณ์

4. ทรงเสียสละความสุขความสบายส่วนพระองค์ หลังจากตรัสรู้แล้วแทนที่พระองค์จะเสวยวิมุตติสุข หรือสุข คือ พระนิพพานเพียงลำพัง แต่ทรงช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ด้วย โดยการเสด็จเที่ยวสั่งสอนเป็นเวลา 45 พรรษา จนถึงวาระแห่งปรินิพพาน

พระพุทธเจ้าทรงฝึกตนด้วยการเสียสละกิเลสภายใน สรุปได้ดังนี้

1. ทรงเสียสละแม้ชีวิตเพื่อแสวงหาโมกขธรรม ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลา 6 ปี ยังไม่บรรลุมรรคผลแต่ทรงไม่ย่อท้อพระทัยและเปลี่ยนมาบำเพ็ญเพียรทางใจ ทรงแน่พระทัยว่าการบำเพ็ญเพียรทางจิตเป็นหนทางให้บรรลุมรรคผลได้ จึงทรงอธิษฐานว่าแม้หนัง เอ็น กระดูก เนื้อ และเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไป เมื่อยังไม่บรรลุจักไม่ยอมหยุดความเพียรนั้น ซึ่งการกระทำของพระองค์แสดงถึงความเด็ดเดี่ยวเยี่ยงมหาบุรุษที่ยากจะหาผู้ใด เสมอเหมือนได้

2. ทรงฝึกตนด้วยการอดทนต่อเหตุการณ์ร้ายต่าง ๆ ตลอดช่วงเวลาที่เผยแผ่คำสอน เช่น ทรงอดทนต่อการถูกนางจิญจมานวิก กล่าวร้ายว่าเป็นผู้ทำนางท้อง ทรงใช้ความอดทนเป็นเครื่องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ จนหลุดพ้นจากเหตุการณ์ร้าย

3. ทรงมุ่งเน้นหลักไตรสิกขา คือ หลักการฝึกฝนอบรมตนในพระพุทธศาสนา หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นหลักการย่อของมรรคมีองค์ 8 ทรงฝึกมาอย่างสมบูรณ์ ทำให้ได้อิสรภาพภายในคือ พระนิพพาน พระองค์ไม่เพียงแต่ฝึกตนเองเท่านั้นแต่ยังฝึกคนอื่นได้อย่างดีเยี่ยมด้วย

บทที่ 5

พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลและมีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง

 พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล

คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลักความจริงที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติที่พระองค์ได้ทรงค้นพบด้วยตนเองโดยชอบ คำว่า พุทธะ แปลว่า ผู้รู้ หรือ ผู้รู้สัจธรรม

หลักคำสั่งสอนที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบแล้วนำมาประกาศ เปิดเผย และสั่งสอนประชาชนชาวโลก ตลอดระยะเวลา 45 ปี เหมาะสมแก่บุคคลทุกระดับชั้น ใครก็ตามนำไปประพฤติปฏิบัติย่อมได้รับผลตามสมควรแก่การปฏิบัติ

พระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล

ทฤษฎี  หมายถึง หลักการ  คำว่า  วิธีการ หมายถึง แบบอย่างหรือกฎเกณฑ์ และ คำว่า สากล หมายถึง  ทั่วไป  ดังนั้นพระพุทธศาสนามีทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากลหมายถึงพระพุทธศาสนามีหลักคำสั่งสอนที่เป็นหลักการและกฎเกณฑ์ เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าถูกต้อง

หลักคำสั่งสอนที่จัดเป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล หลายเรื่อง เช่น หลักกฎแห่งกรรม หลักแห่งเหตุและปัจจัย หลักการพัฒนามนุษย์ 4 ด้าน  แต่ที่พระพุทธองค์ทรงนำมาสอนมากเป็นพิเศษ คือ หลักอริยสัจ 4 หรือ หลักความจริงแห่งชีวิต 4 ประการ ได้แก่

  1. ชีวิตแลโลกนี้มีปัญหา (ทุกข์)

ชีวิตที่เกิดมาในโลกนี้ล้วนมีปัญหาทั้งสิ้น  ปัญหาที่มนุษย์ต้องเผชิญ มีทั้งปัญหาที่เป็นปัญหาสากล เช่น ปัญหาการเกิด  แก่  เจ็บ  ตาย  ความไม่สมปรารถนา  ความพลัดพรากจากบุคคล สัตว์ สิ่งของ

  1. ปัญหามีสาเหตุ มิได้เกิดขึ้นลอยๆ (สมุทัย)

ปัญหาที่มนุษย์เผชิญอยู่ดังกล่าวข้างต้น มิใช่เกิดขึ้นลอยๆ หรือเกิดขึ้นโดยบังเอิญโดยไม่มีเหตุปัจจัย ทุกปัญหาเกิดขึ้นอย่างมีสาเหตุทั้งสิ้น

  1. มนุษย์สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง (นิโรธ)

เนื่องจากปัญหาทุกปัญหาย่อมมีสาเหตุ การแก้ปัญหาได้ต้องสืบสาวหาสาเหตุให้พบแล้วแก้ที่สาเหตุนั้น ซึ่งเรื่องนี้พระพุทธศาสนาได้สอนไว้ว่า  มนุษย์มีศักยภาพหรือความสามารถเพียงพอที่จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยตัวมนุษย์เอง

  1. การแก้ปัญหานั้นต้องใช้ปัญญาและความเพียร  (มรรค)

ในกระบวนการแก้ปัญหานั้น  จำเป็นต้องใช้ปัญญา (ความรู้) และวิริยะ (ความพียร)อย่างเกื้อหนุนกัน จึงจะสามารถแก้ปัญหาให้สำเร็จลุล่วงไปได้

อริยสัจ 4 ประการนี้  จัดเป็นทฤษฎีและวิธีการที่เป็นสากล คือ สามารถนำไปแก้ปัญหาหรือความทุกข์สำหรับทุกคนได้เป็นอย่างดี

พระพุทธศาสนามีข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลาง

การแก้ปัญหาให้สำเร็จผลด้วยดี นอกจากนี้จะต้องใช้ปัญญาและความเพียรอย่างต่อเนื่องแล้ว จะต้องปฏิบัติโดยยึดทางสายกลางอีกด้วย

ทางสายกลาง  หมายถึง  ทางที่ยึดความพอดีหรือความสมดุล ข้อปฏิบัติที่ยึดทางสายกลางตามหลักพระพุทธศาสนา เรียกว่า  มัชฌิมาปฏิปทา ซึ่งได้แก่ อริยมรรคมีองค์แปด หรือ มรรค 8 หมายถึงข้อปฏิบัติ  8 ประการ   คือ

1. สัมมาทิฏฐิ   คือ  ความเห็นชอบ  เช่น  เห็นว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว

2. สัมมาสังกัปปะ  คือ  ความดำริชอบ ได้แก่คิดที่จะไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น คิดที่จะไม่พยาบาทอาฆาตผู้อื่นและคิดที่จะไม่เบียดเบียนใครให้เดือดร้อน

3. สัมมาวาจา  คือ การเจรจาชอบ หมายถึงการพูดจาที่เว้นจากลักษณะของการพูดชั่ว 4 ประการ ได้แก่  การพูดเท็จ  การพูดส่อเสียด การพูดคำหยาบ  และการพูดเพ้อเจ้อไร้สาระ โดยพูดแต่สิ่งที่จริงมีประโยชน์  พูดด้วยเมตตา พูดวาจาไพเราะ และพูดในเวลาที่ควรพูด

4. สัมมากัมมันตะ  คือ  การทำงานชอบ  หมายถึง การประพฤติหรือการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเว้นจากการประพฤติชั่วทางกาย 3 ประกาย คือ  การฆ่าสัตว์  การลักทรัพย์  และการประพฤติผิดในกาม

5. สัมมาอาชีวะ  คือ การเลี้ยงชีพชอบ  เว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด เช่น การหลอกลวงเขากิน การปล้นเขา  การบังคับผู้อื่นให้ค้าประเวณี  การค้ายาเสพติด เป็นต้น

6. สัมมาวายามะ   คือ ความเพียรพยายามชอบ  หมายถึง ความเพียรพยายามทำในสิ่งที่ถูกต้อง ได้แก่ ความเพียรพยายามระมัดระวังตนมิให้ทำความชั่ว เพียรพยายามละความชั่วที่เกิดขึ้นในตน เพียรพยายามทำความดีให้เกิดขึ้นในตน และเพียรพยายามรักษาคุณงามความดีที่เกิดขึ้นในตนให้อยู่ตลอดไป

7. สัมมาสติ  คือความระลึกชอบ  หมายถึง  การตั้งสติกำหนดพิจารณาให้เห็นสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏตามสภาพความเป็นจริง  ได้แก่  การพิจารณาร่างกาย จิต และความรู้สึกของตนให้เห็นตามสภาพที่เป็นจริง

8. สัมมาสมาธิ  คือความตั้งใจมั่นชอบ ได้แก่ การตั้งจิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยชอบ

บทที่ 6

พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง

 การพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง 

ศรัทธา ในกระบวนการพัฒนาตามหลักพุทธศาสนานั้น หมายถึง ความเชื่อมั่น การซาบซึ้ง ความมั่นใจเหตุเท่าที่ตนสามารถพิจารณาเห็นได้ โดยมีเหตุผลว่า จุดหมายหรือเป้าหมายที่อยู่ข้างหน้านั้นเป็นไปได้จริง และมีคุณค่าควรที่จะไปให้ถึง ศรัทธาจึงเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่ปัญญาหรือความรู้ ซึ่งตรงกันข้ามกับศรัทธาที่เป็นแบบ มอบตัว มอบความไว้วางใจให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่คิดหาเหตุผล ศรัทธาที่ถูกต้องเป็นสื่อนำไปสู่การพัฒนาปัญญา แบ่งออกเป็น 3 ประการ

1. เชื่อมั่นในความดีงามของมนุษย์ หมายถึง เชื่อว่าความดีงามนั้นมนุษย์สามารถสร้างขึ้นเองได้ ด้วยความพากเพียร ไม่ใช่จากสิ่งศักดิ์สิทธิ

2. เชื่อมั่นในกฎแห่งการกระทำและผลของการกระทำ หมายถึง เชื่อมั่นว่าไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นลอยๆโดยไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิด เมื่อมีการกระทำใดๆลงไปย่อมมีผลของการกระทำนั้นๆ

3. เชื่อมั่นว่ามนุษย์ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำและผลของการกระทำนั้น ข้อนี้สืบเนื่องมาจากข้อ 1 และ 2 จะทำให้คนมีความละเอียดรอบคอบ ในการการกระทำของตนเอง เพราะเมื่อทำอะไรลงไปแล้วต้องได้รับผลการการกระทำนั้นไม่ทางตรงก็ทางอ้อม

ปัญญา หมายถึง ความรู้ความหยั่งรู้เหตุผล ความรู้มีอยู่ 2 ประเภท คือ

1. ความรู้ที่มีมาแต่กำเนิด (สหชาติปัญญา) เป็นความรู้พื้นฐานที่ทุกคนพึงมี มากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่บุคคล บางคนก็มีความรู้พิเศษที่คนอื่นไม่มีซึ่งคนอื่นไม่มีภาษาไทยเรียกว่า พรสวรรค์ เช่นสามารถภาพได้งดงาม ทั้งๆที่ไม่เคยเรียนมาเลย

2. ความรู้ที่มีขึ้นด้วยการศึกษา (โยคปัญญา) คือความรู้ที่แสวงหาเอาภายหลัง ดังคำที่ว่า “ปัญญามีได้เพราะการฝึกฝนพัฒนา ปัญญาเสื่อมไปเพราะไม่มีการฝึกฝนพัฒนา” และความรู้ประการหลังนี่เองที่ต้องการเน้นให้ได้ศึกษา

 ปัญญาที่ถูกต้องในกระบวนการพัฒนา มีลักษณะ 3 ประการ คือ

1. ความรู้จักเหตุแต่ความเสื่อมและโทษของความเสื่อม (อปายโกศล) หมายถึง รู้ว่าอะไรคือความเสื่อม และอะไรคือเหตุทำให้เกิดความเสื่อม

2. ความรู้จักเหตุแห่งความเจริญและประโยชน์ของความเจริญ (อายโกศล) หมายถึง รู้ว่าอะไรคือความดี ความเจริญที่แท้ และก็รู้ด้วยว่าอะไรคือสาเหตุให้เกิดความดีความเจริญนั้น

3. ความรู้จักวิธีการละเหตุความเสื่อมและวิธีการสร้างเหตุแห่งความเจริญ (อุปายโกศล) หมายถึง รู้ทั้งสองด้านคือรู้แบบครบวงจร(ข้อ 1 และ ข้อ 2)

จากการที่พระพุทธศาสนาเน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้องดังกล่าวข้างต้น ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนให้ได้ใช้สติปัญญาความคิดเห็นของตนพิจารณาอย่างเต็มที่ก่อนแล้ว จึงค่อยเชื่อ

บทที่ 7

ลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา

 พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประชาธิปไตยมาตั้งแต่เริ่มแรก ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงมอบให้พระสงฆ์เป็นใหญ่ในกิจการทั้งปวงเสียอีกลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนามีตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. พระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด พระธรรม คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระวินัยคือ คำสั่งอันเป็นข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเมื่อรวมกัน เรียกว่า พระธรรมวินัย ซึ่งมีความสำคัญขนาดที่พระพุทธเจ้าทรงมอบให้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ ก่อนที่พระองค์จะปรินิพพานเพียงเล็กน้อย

2. มีการกำหนดลักษณะของศาสนาไว้เรียบร้อย ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ลักษณะของพระพุทธศาสนาคือสายกลาง ไม่ซ้ายสุด ไม่ขวาสุด ทางสายกลางนี้เป็นครรลอง อาจปฏิบัติค่อนข้างเคร่งครัดก็ได้ โดยใช้สิทธิในการแสวงหาอดิเรกลาภตามที่ทรงอนุญาตไว้ ในสมัยต่อมา เรียกแนวกลางๆ ของพระพุทธศาสนาว่า วิภัชชวาที คือศาสนาที่กล่าวจำแนกแจกแจง ตามความเป็นจริงบางอย่างกล่าวยืนยันโดยส่วนเดียวได้ บางอย่างกล่าวจำแนกแจกแจงเป็นกรณี ๆ ไป

3. พระพุทธศาสนา มีความเสมอภาคภายใต้พระธรรมวินัย บุคคลที่เป็นวรรณะกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรมาแต่เดิม รวมทั้งคนวรรณะต่ำกว่านั้น เช่นพวกจัณฑาล พวกปุกกุสะคนเก็บขยะ และพวกทาส เมื่อเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว มีความเท่าเทียมกัน คือปฏิบัติตามสิกขาบทเท่ากัน และเคารพกันตามลำดับอาวุโส คือผู้อุปสมบทภายหลังเคารพผู้อุปสมบทก่อน

4. พระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีสิทธิ เสรีภาพภายใต้พระธรรมวินัย เช่นในฐานะภิกษุเจ้าถิ่น จะมีสิทธิได้รับของแจกก่อนภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุที่จำพรรษาอยู่ด้วยกันมีสิทธิได้รับของแจกตามลำดับพรรษา มีสิทธิรับกฐิน และได้รับอานิสงส์กฐินในการแสวงหาจีวรตลอด 4 เดือนฤดูหนาวเท่าเทียมกัน นอกจากนั้นยังมีเสรีภาพที่จะเดินทางไปไหนมาไหนได้ จะอยู่จำพรรษาวัดใดก็ได้เลือกปฏิบัติกรรมฐานข้อใด ถือธุดงควัตรข้อใดก็ได้ทั้งสิ้น

5. มีการแบ่งอำนาจ พระเถระผู้ใหญ่ทำหน้าที่บริหารปกครองหมู่คณะ การบัญญัติพระวินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอง เช่นมีภิกษุผู้ทำผิดมาสอบสวนแล้วจึงทรงบัญญัติพระวินัย ส่วนการตัดสินคดีตามพระวินัยทรงบัญญัติแล้วเป็นหน้าที่ของพระวินัยธรรมซึ่งเท่ากับศาล

6. พระพุทธศาสนามีหลักเสียงข้างมาก คือ ใช้เสียงข้างมาก เป็นเกณฑ์ตัดสิน เรียกว่า วิธีเยภุยยสิกา การตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก ฝ่ายใดได้รับเสียงข้างมากสนับสนุน ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะคดี

บทที่ 8

 หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์

 หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์มีทั้งส่วนสอดคล้องกันและส่วนที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้

  1. 1.   ความสอดคล้องกัน

1.1  ในด้านความเชื่อ วิทยาศาสตร์ถือหลักว่าก่อนจะเชื่ออะไรนั้นจะต้องมีการพิสูจน์ให้เห็นจริงได้เสียก่อน วิทยาศาสตร์เชื่อในเหตุผล ไม่เชื่ออะไรลอย ๆ และต้องการหลักฐานมายืนยัน วิทยาศาสตร์ไม่อาศัยศรัทธาแต่อาศัยเหตุผล เชื่อการทดลองว่าให้ความจริงแก่เราได้ แต่ไม่เชื่อการดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะทุกอย่างดำเนินอย่างมีกฎเกณฑ์ มีเหตุผล และวิทยาศาสตร์อาศัยปัญญาและเหตุผลที่ตัวตัดสินความจริง

พระพุทธศาสนาก็มีหลักความเชื่อเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ ดังหลักคำสอนที่ปรากฏในการลามสูตร พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า การจะเชื่ออะไรแก่ไหนนั้นจะต้องทดลองพิสูจน์ด้วยตนเอง โดยอาศัยสติ ปัญญาและเหตุผล แต่อย่างเชื่อโดยวิธีดังต่อไปนี้ คือ

(1)  อย่าเพิ่งปลงในเชื่อเพียงเพราะการฟังตามกันมา

(2)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการถือสืบ ๆ กันมา

(3)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการเล่าลือ

(4)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการอ้างคัมภีร์

(5)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะนึกคิดเอาเอง

(6)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการคาดคะเนเอา

(7)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะการตรึกตรอง

(8)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะตรงกับความเห็นของตน

(9)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะรูปลักษณะน่าเชื่อ

(10)  อย่าเพิ่งปลงใจเชื่อเพียงเพราะท่านเป็นครูของเรา

และพระองค์ทรงสอนต่อไปว่า เมื่อใดที่เราอาศัยปัญญาทดสอบด้วยตนเองแล้วเห็นว่าคำสอนใดเป็นคำสอนที่ดีมีคุณประโยชน์แล้วจึงค่อยเชื่อ ทรงสอนมิให้เชื่ออย่างงมงาย แต่เน้นการทดสอบและปฏิบัติ เมื่อทดสอบได้ผลทางปฏิบัติแล้วจึงเชื่อ

พระพุทธศาสนาสอนเรื่องศรัทธาเหมือนกัน แต่ศรัทธามิใช่วิธีสุดท้ายที่จะตัดสินว่าความจริงคืออะไร ศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นเพียงเครื่องชักจูงให้คนเข้าไปทดสอบความจริง แต่ตัวที่ตัดสินความจริงคือ “ปัญญา” ในคำสอนเรื่องมรรคมีองค์ 8 อันเป็นหนทางที่จะพามนุษย์ไปสู่นิพพาน ซึ่งเป็นความจริงอันสูงสุดนั้น ไม่ปรากฏว่ามีศรัทธาอยู่ด้วย ในการสอนหลักธรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตนนั้น หากในหลักธรรมใดมีศรัทธาอยู่อยู่จะต้องมีปัญญากำกับอยู่เสมอ เช่น พละ 5 มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ในหลักอริยทรัพย์มีศรัทธา ศีล หิริโอตตับปะ พาหุสัจจะ จาคะ ปัญญา เป็นต้น

1.2  ในด้านความรู้ ทั้งวิทยาศาสตร์และพระพุทธศาสนายอมรับความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ “ประสบการณ์” หมายถึง การที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้ประสบกับความรู้สึกนึกคิดบางอย่างด้วย เช่น รู้สึกดีใจ รู้สึกอยากได้ เป็นต้น วิทยาศาสตร์เริ่มต้นจากประสบการณ์ คือ จากการที่ได้พบเห็นสิ่งต่าง ๆ แล้วเกิดความอยากรู้อยากเห็นก็แสวงหาคำอธิบาย วิทยาศาสตร์จะไม่เชื่อหรือยึดถืออะไรล่วงหน้าอย่างตายตัว แต่จะอาศัยการทดสอบด้วยประสบการณ์สืบสาวไปเรื่อย ๆ จะไม่อ้างอิงถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ที่อยู่นอกเหนือประสบการณ์และการทดลอง

พระพุทธองค์ก็ทรงเริ่มคิดจากประสบการณ์ คือ ประสบการณ์ที่ได้เห็นความเจ็บ ความแก่ ความตาย และที่สำคัญที่สุดคือ ความทุกข์ พระองค์มีพระประสงค์ที่จะค้นหาสาเหตุของทุกข์ ในการค้นหานี้พระองค์มิได้เชื่ออะไรล่วงหน้าอย่างตายตัว ไม่ทรงเชื่อว่ามีพระผู้เป็นเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ ที่จะให้คำตอบได้ แต่ได้ทรงทดลองโดยอาศัยประสบการณ์ของพระองค์เอง ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์มีส่วนหนึ่งที่ต่างกันเพียงเล็กน้อยในเรื่องนี้ คือ วิทยาศาสตร์เน้นความสนใจกับปัญหาที่เกิดจากประสบการณ์ด้านประสาทสัมผัส (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ส่วนพระพุทธศาสนาเน้นความสนใจกับปัญหาที่เกิดจากประสบการณ์ทางจิตใจ

2.  ความแตกต่าง

2.1  มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

– วิทยาศาสตร์มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ต้องการรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุอะไรเป็นผลที่ตามมา เช่น เมื่อเกิดฟ้าผ่าขึ้น ต้องรู้ว่าอะไรคือสาเหตุของฟ้าผ่า และผลที่ตามมาหลังจากฟ้าผ่าแล้วจะเป็นอย่างไร

– พระพุทธศาสนาก็มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน แต่ต่างตรงที่พระพุทธศาสนาเน้นเป็นพิเศษเกี่ยวกับวิถีชีวิตของมนุษย์มากกว่ากฎเกี่ยวกับสิ่งที่ไร้ชีวิต จุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนาคือสอนให้คนเป็นคนดีขึ้น สมบูรณ์ขึ้น

2.2  ต้องการเรียนกฎธรรมชาติ

– วิทยาศาสตร์ต้องการเรียนรู้กฎธรรมชาติและหาทางควบคุมธรรมชาติหรือเอาชนะธรรมชาติ พูดอีกนัยหนึ่ง วิทยาศาสตร์เน้นการควบคุมธรรมชาติภายนอก

– แต่พระพุทธศาสนาสอนให้คนควบคุมภายในจิตใจตัวเอง ลำดับแต่ความสามารถที่ควบคุมธรรมชาติได้ ไม่อาจทำให้ความสงบสุขเกิดขึ้นในโลกมนุษย์ มนุษย์ต้องรู้จักควบคุมตัวเองให้มีจิตใจดีงามด้วย สันติสุขที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้

วิทยาศาสตร์มุ่งปรับธรรมชาติ แต่พระพุทธศาสนามุ่งปรับจิตใจคน

3.3 ยอมรับโลกแห่งสสาร

– วิทยาศาสตร์ยอมรับโลกแห่งสสารที่รับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ว่ามีจริง โลกที่อยู่พ้นจากนั้นวิทยาศาสตร์ไม่ยอมรับ (ซึ่งความจริงวิทยาศาสตร์มิได้ปฏิเสธ เพียงแต่ยังไม่ยอมรับ เพราะวิทยาศาสตร์เชื่อว่าประสาทสัมผัสเป็นเครื่องมือสุดท้ายที่จะตัดสินความจริง

– ส่วนพระพุทธศาสนาชี้ว่ามีสัจธรรมสูงสุด (นิพพาน) ซึ่งเป็นสภาวะที่ประสาทสัมผัสของมนุษย์ปุถุชนที่เต็มไปด้วยกิเลสตัณหาไม่สามารถจะรับรู้ได้ พระพุทธศาสนาแบ่งสิ่งที่มีอยู่จริงสองพวกใหญ่ ๆ คือ “สังขตธรรม” (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง) และ “อสังขตธรรม” (สิ่งที่ปัจจัยมิได้ปรุงแต่ง) คือนิพพาน

วิทยาศาสตร์ยอมรับว่าสังขตธรรมนั้นมีจริง แต่อนังขตธรรมอยู่เหนือการรับรู้ของวิทยาศาสตร์

ส่วนสัจธรรมสนพระพุทธศาสนานั้น มีทั้งที่สามารถแสดงให้ประจักษ์เป็นสาธารณะได้ และไม่สามารถแสดงให้ประจักษ์เป็นสาธารณะ แต่แสดงโดยการประจักษ์ใจตนเองได้ (หมายถึง มีทั้งที่เราสามารถรับรู้ด้วยตาและรับรู้ด้วยใจ) ความจริงระดับต้น ๆ และรับกลาง ใคร ๆ ก็อาจเข้าใจและเห็นจริงได้ เช่น คนที่โลภมาก ๆ อิจฉาริษยาเขามาก ๆ ไม่มีความสงบสุขแห่งจิตใจอย่างไรบ้าง คนที่มีเมตตาไม่ปรารถนาร้ายต่อใคร ๆ มีความสุขไม่มีเวรไม่มีภัยอย่างไรบ้าง ความจริงเหล่านี้ล้วนสามารถแสดงให้ประจักษ์ได้ชี้ให้ดูตัวอย่างได้ แต่ปรมัตถธรรมอันสูงสุดนั้นผู้ที่ได้พบแล้วยากจะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจได้ เป็นสภาวะที่ผู้รู้เองเห็นจะพึงประจักษ์เฉพาะตัว

2.4  มุ่งความจริงมาตีแผ่ วิทยาศาสตร์นั้นมิได้สนใจเรื่องศีลธรรมเรื่องความดีความชั่ว สนใจเพียงค้นเอาความจริงมาตีแผ่ให้ประจักษ์เพียงอย่างเดียว เช่น วิทยาศาสตร์ค้นพบเรื่องการระเบิด แต่ควรระเบิดอะไร ไม่ควรระเบิดอะไร ไม่อยู่ในขอบข่ายวิทยาศาสตร์ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์จึงมีทั้งคุณอนันต์และโทษมหันต์

ส่วนคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นเน้นเรื่องศีลธรรม ความดีความชั่ว มุ่งให้มนุษย์มีความสุขเป็นลำดับขั้นไปเรื่อง ๆ จนถึงความสงบสุขอันสูงสุดคือนิพพาน

บทที่ 9

 การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาและการคิดแบบวิทยาศาสตร์

 การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา เป็นการศึกษาถึงวิธีการแก้ปัญหาตามแนวพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า วิธีการแก้ปัญหาแบบอริยสัจ มีดังนี้คือ (พระราชวรมุนี. 2540 : 43-46)

1. ขั้นกำหนดรู้ทุกข์ การกำหนดรู้ทุกข์หรือการกำหนดปัญหาว่าคืออะไร มีขอบเขตของปัญหาแค่ไหน หน้าที่ที่ควรทำในขั้นแรกคือให้เผชิญหน้ากับปัญหา แล้วกำหนดรู้สภาพและขอบเขตของปัญหานั้นให้ได้ ข้อสำคัญคือ อย่าหลบปัญหาหรือคิดว่าปัญหาจะหมดไปเองโดยที่เราไม่ต้องทำอะไร หน้าที่ในขั้นนี้เหมือนกับการที่หมอตรวจอาการของคนไข้เพื่อให้รู้ว่าเป็นโรคอะไร ที่ส่วนไหนของร่างกาย ลุกลามไปมากน้อยเพียงใด ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มีตัวอย่างการกำหนดรู้ทุกข์ตามแนวทางของพุทธพจน์ที่ว่า “เกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ ตายเป็นทุกข์…ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์”

2. ขั้นสืบสาวสมุทัย ได้แก่เหตุของทุกข์หรือสาเหตุของปัญหา แล้วกำจัดให้หมดไป ขั้นนี้เหมือนกับหมอวินิจฉัยสมุฏฐานของโรคก่อนลงมือรักษา ตัวอย่างสาเหตุของปัญหาที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้คือ ตัณหา ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา

3. ขั้นนิโรธ ได้แก่ความดับทุกข์ หรือสภาพที่ไร้ปัญหา ซึ่งทำให้สำเร็จเป็นจริงขึ้นมา ในขั้นนี้ต้องตั้งสมมติฐานว่าสภาพไร้ปัญหานั้นคืออะไร เข้าถึงได้หรือไม่ โดยวิธีใด เหมือกับการที่หมอต้องคาดว่าโรคนี้รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ใช้เวลารักษานานเท่าไร ตัวอย่างเช่น นิพพาน คือการดับทุกข์ทั้งปวงเป็นสิ่งที่เราสามารถบรรลุถึงได้ในชาตินี้ด้วยการเจริญสติพัฒนาปัญญาเพื่อตัดอวิชชา และดับตัณหา

4. ขั้นเจริญมรรค ได้แก่ ทางดับทุกข์ หรือวิธีแก้ปัญหา ซึ่งเรามีหน้าที่ลงมือทำ เหมือนกับที่หมอลงมือรักษาคนไข้ด้วยวิธีการและขั้นตอนที่เหมาะควรแก่การรักษาโรคนั้น ขั้นนี้อาจแบ่งออกเป็น 3 ขั้นย่อยคือ

4.1 มรรคขั้นที่ 1 เป็นการแสวงหาและทดลองใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อค้นหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุด เช่น พระพุทธเจ้าในช่วงที่เป็นคฤหัสถ์เคยใช้ชีวิตแบบบำรุงบำเรอตน หมกหมุ่นในโลกีย์สุข แต่ก็ทรงรู้สึกเบื่อหน่าย จึงออกผนวชแล้วไปบำเพ็ยโยคะบรรลุสมาธิขั้นสูงสุดจากสำนักของอาฬารดาบสและอุทกดาบส แม้ในขั้นนี้พระองค์ยังรู้สึกว่าไม่บรรลุความพ้นทุกข์จึงทดลองฝึกการทรมานตนด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การอดอาหาร เป็นต้น

4.2 มรรคขั้นที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ผลการสังเกตและทดลองที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว เลือกเฉพาะวิธีการที่เหมาะสมที่สุด ดังกรณีที่พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่า กามสุขัลลิกานุโยค (การบำเรอตนด้วยกาม) และอัตตกิลมถานุโยค (การทรมานตนเอง) ที่ได้ทดลองมาแล้ว ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง เพราะเป็นเรื่องสุดโต่งเกินไป ทั้งการบำเพ็ญโยคะก็ทำให้ได้เพียงสมาธิ ยังไม่ได้ปัญญาเครื่องดับทุกข์ ดังนั้นวิธีการแห่งปัญญาจะสามารถช่วยให้พ้นทุกข์ได้

4.3 มรรคขั้นที่ 3 เป็นการสรุปผลของการสังเกตและทดลอง เพื่อให้ได้ความจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้น ดังกรณีที่พระพุทธเจ้าได้ข้อสรุปว่า ทางสายกลางที่ไม่ตึงเกินไปหรือไม่หย่อนเกิน เป็นทางดับทุกข์ ทางนี้เป็นวิถีแห่งปัญญาที่เริ่มต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สรุปก็คือมรรคมีองค์ 8 นั่นเองแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์

 แนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ 

เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีขั้นตอนดังนี้ (พระราชวรมุนี. 2540 : 40-43)

1. การกำหนดปัญหาให้ถูกต้อง ในขั้นนี้นักวิทยาศาสตร์กำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจนว่า ปัญหาอยู่ตรงไหน ปัญหานั้นน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร ตัวอย่างเช่น การค้นพบดาวเนปจูนเมื่อ พ.ศ. 2386-2389 เริ่มจากการที่นักดาราศาสตร์กำหนดปัญหาว่า ทำไมดาวยูเรนัสซึ่งพวกเขาเข้าใจว่าเป็นดาวเคราะห์ดวงที่อยู่ไกลที่สุดจากดวงอาทิตย์จึงมีวิถีโคจรไม่เป็นไปสม่ำเสมอตามกฎแรงโน้มถ่วงนักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่ง สรุปว่ากฎแรงโน้มถ่วงคงใช้ไม่ได้กับสิ่งที่อยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก ๆ อย่างดาวยูเรนัส แต่นักดาราศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งสันนิษฐานว่า สาเหตุที่วิถีโคจรของดาวยูเรนัส น่าจะมาจากการที่มีแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์ที่ยังค้นไม่พบมากระทำการ นักดาราศาสตร์กลุ่มนี้จึงเริ่มศึกษาหาตำแหน่งของดาวลึกลับดวงนั้นและค้นพบดาวเนปจูนในเวลาต่อมา

2. การตั้งสมมติฐาน นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลเท่าที่มีอยู่ในขณะนั้นเป็นฐานในการตั้งสมมติฐานเพื่อใช้อธิบายถึงสาเหตุของปัญหาและเสนอคำตอบหรือทางออกสำหรับปัญหานั้น ตัวอย่างเช่น ในเรื่องการคันพบดาวเนปจูนนั้น นักดาราศาสตร์กลุ่มหนึ่งตั้งสมมติฐานว่า สาเหตุที่วิถีโคจรของดาวยูเรนัสไม่เป็นไปสม่ำเสมอน่าจะเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงที่มาจากดาวเคราะห์ที่ยังค้นไม่พบ พวกเขาตั้งสมมติฐานว่าน่าจะมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งซึ่งมีวิถีโคจรห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าดาวยูเรนัส และในระหว่าง พ.ศ. 2386-2389 นักดาราศาสตร์สองคน คือ จอห์น อาดัม และเลอเวอริเอร์ ต่างก็ใช้คณิตศาสตร์คำนวณหาตำแหน่งของดาวเนปจูน และทำนายตำแหน่งของดาวดวงนี้ไว้ใกล้เคียงกัน การทำนายของนักดาราศาสตร์ทั้งสองเป็นเพียงการคาดคะเนความจริงซึ่งอยู่ในขั้นตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับคำตอบของปัญหา

3. การสังเกตและการทดลอง เป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดของการศึกษาหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ การสังเกตเป็นการรวบรวมข้อมูลมาเป็นเครื่องมือสนับสนุนทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์ เช่น นักดาราศาสตร์เชื่อว่า โจฮัน แกลล์ ได้ใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องท้องฟ้าจนค้นพบดาวเนปจูนเมื่อ พ.ศ. 2389 นอกจากนั้น การทดลองหลายต่อหลายครั้งช่วยให้ค้นพบหลักการทางวิทยาศาสตร์และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการค้นพบนั้น เช่น ในราว พ.ศ. 2150 นายแพทย์วิลเลียม ฮาวีย์ ใช้วิธีการทดลองจนค้นพบการไหลเวียนของโลหิตไปทั่วร่างกาย เขาสังเกตจังหวะชีพจรและการเต้นของหัวใจ ผ่าศพและซากสัตว์เพื่อตรวจสอบหลายครั้ง จนกระทั่งได้ข้อสรุปว่า หัวใจสูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกายทางหลอดเลือดแดง และโลหิตไหลกลับไปยังหัวใจทางหลอดเลือดดำ

4. การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและทดลองมีจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์ต้องพิจารณาแยกแยะข้อมูลเหล่านั้นพร้อมจัดระเบียบข้อมูลเข้าเป็นหมวดหมู่และหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ เช่น นักเคมีชื่อ ดมิตริ เมนเดลิฟ (D. Mendelief)พบว่า ธาตุบางธาตุมีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายกัน จึงได้จัดหมวดหมู่ให้กับธาตุเหล่านั้นโดยคิดตารางธาตุ (periodic table) ซึ่งแบ่งธาตุที่มีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน ในตารางนี้ปรากฏว่ามีช่องว่างเกิดขึ้นเป็นระยะ ช่องว่างนี้แสดงว่าต้องเป็นที่สำหรับธาตุที่ยังค้นไม่พบ นักเคมียุคต่อมาได้ค้นพบธาตุใหม่จำนวนมาก แล้วนำมาเติมใส่ช่องว่างในตารางธาตุของเมนเดลิฟ

5. การสรุปผล ในการสรุปผลของการศึกษาค้นคว้านักวิทยาศาสตร์อาจใช้ภาษาธรรมดาเขียนกฎหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์ออกมา บางครั้งนักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องสรุปผลด้วยคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น อัลเบิร์ต ไอสไตน์ พบความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและมวลสารจึงเขียนสรุปผลการค้นพบทฤษฎีสัมพันธ์เป็นสมการว่า E=MC2 หมายความว่า พลังงาน (E = Energy) เท่ากับมวลสาร (M = Mass) คูณด้วยความเร็วของแสงยกกำลังสอง

บทที่ 10

 10. พระพุทธศาสนาเน้นการฝึกหัดอบรมตนการพึ่งตนเอง และการมุ่งอิสรภาพ

 การฝึกหัดอบรมตน

การฝึกอบรมตน หมายถึง การฝึกตนเองให้กระทำความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ ซึ่งถือว่าเป็นผู้พัฒนาตนเอง ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อตนเอง ครอบครัว และสังคมโดยรวม โดยอาศัยหลักของไตรสิกขาดังนี้

1. ศีล เป็นการฝึกการควบคุมพฤติกรรมทางกาย และวาจา เครื่องมือที่ใช้ฝึกศีลคือ วินัย เพราะวินัยเป็นตัวการจัดเตรียมชีวิตให้อยู่ในสภาพที่เอื้อต่อการพัฒนา โดยการจัดระเบียบความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิต และการอยู่ร่วมกันในสังคม

2. สมาธิ เป็นการฝึกในด้านจิต ได้แก่การพัฒนาจิตทั้งในด้านคุณธรรม เช่น มีความเมตตากรุณา ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีจิตใจที่เข้มแข็งมั่นคง มีความเพียรพยายาม มีความรับผิดชอบ มีความอดทนอดกลั้น มีความข่มใจ เป็นต้น และมีสุขภาพจิตที่ดีมีความสุข เช่น มีความอิ่มเอมใจ มีความร่าเริงเบิกบานใจ มีความสดชื่นผ่องใส มีความรู้สึกพึงพอใจ เป็นต้น

3. ปัญญา เป็นการฝึกพัฒนาด้านความรู้ความเข้าใจ ความรู้ที่มีเหตุผล รู้จักการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ ตลอดจนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก เป็นต้น

การพึ่งตนเอง

การพึ่งตนเอง หมายถึง การทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนได้ พร้อมที่จะรับผิดชอบตนเอง ไม่ทำตัวให้เป็นปัญหาหรือเป็นภาระให้กับบุคคลอื่น การพึ่งตนเองโดยไม่คอยแต่พึ่งบุคคลอื่น หรือการคอยอ้อนวอนจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ให้ช่วยเหลือตนเอง เวลาที่เกิดความลำบาก หรือความทุกข์ใจ เป็นต้น การประพฤติธรรมสำหรับสร้างที่พึ่งแก่ตนเอง มี 10 ประการคือ

1. ประพฤติดีมีวินัย คือ ดำเนินชีวิตโดยสุจริต ทั้งทางกาย ทางวาจา มีวินัย และประกอบอาชีพสุจรติ (สัมมาชีพ)

2. ได้ศึกษาสดับตรับฟังมาก คือศึกษาเล่าเรียนสดับตรับฟังมาก โดยศึกษาวิชาการให้มีความรู้ความชำนาญอย่างแท้จริง มีความรู้แจ้งชัดเจน และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในดำเนินชีวิตได้

3. รู้จักคบคนดี คือ มีกัลยาณมิตร รู้จักเลือกคบหาสมาคมกับคนที่ดี เป็นที่ปรึกษาหรือเป็นผู้แนะนำสั่งสอนเราไปในทางที่ดี เลือกสร้างความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องในสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดี ซึ่งจะทำให้มีชีวิตที่เจริญงอกงาม

4. เป็นคนที่พูดกันง่าย คือไม่ดื้อรั้น เป็นคนกระด้างกระเดื่อง รู้จักรับฟังเหตุผล ยอมรับความคิดเห็นของคนอื่น และยอมรับข้อเสนอแนะพร้อมที่จะปรับปรุงตนเอง

5. ขวนขวายกิจของหมู่ คือเอาใจใส่ช่วยเหลือธุระหรือกิจการงานของหมู่คณะ ญาติ เพื่อนฝูง และภายในชุมชนของตนเอง รู้ใจใช้ปัญญาไตร่ตรองหาวิธีดำเนินงานที่เหมาะสม สามารถดำเนินงานให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

6. เป็นผู้ใฝ่ในธรรม คือ ศึกษาธรรม หรือชอบศึกษาหาความรู้ รู้จักพูด รู้จักฟัง สร้างความรู้สึกสนิทสนม ทำตัวเป็นที่รักใคร่ของบุคคลอื่น และชวนให้ผู้อื่นอยากเข้ามาปรึกษาและร่วมสนทนาด้วย

7. มีความขยันหมั่นเพียร คือ มีความมุมานะบากบั่น ขยันเรียนขยันทำกิจการงาน ไม่ย่อท้อ รักความก้าวหน้า พยายามหลีกเลี่ยงจากความชั่ว ประกอบแต่ความดีงาม เป็นต้น

8. มีความพอดี คือ มีความยินดี มีความพึงพอใจในสิ่งที่ควรได้และไม่ควรได้ รู้จักความพอดีไม่ละโมบโลภมาก

9. มีสติมั่นคง คือ รู้สึกตนเองอยู่ตลอดเวลา ระลึกอยู่เสมอในสิ่งที่กระทำ สิ่งที่คิด มีความสุขุมรอบคอบ ไม่ประมาทเลินเล่อ ไม่เลื่อนลอย เป็นต้น

10. มีปัญญาอยู่เหนืออารมณ์ คือ มีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล รู้ดีรู้ชั่ว รู้คุณรู้โทษ รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ มองสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง และมีความคิดวิจารณญาณ

การพึ่งตนเองตามหลักพุทธศาสนสุภาษิตคือ “อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ” แปลว่า ตนแลเป็นที่พึ่งของตน หมายความว่า คนเราในระยะแรก ๆ มีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น เช่น บุตรต้องอาศัยบิดามารดาเป็นผู้เลี้ยงดูตั้งแต่เล็กจนโต ต้องอาศัยครูบาอาจารย์ศึกษาหาความรู้ แต่เมื่อเราเติบโตมีวิชาหาเลี้ยงชีพได้แล้ว เราจะต้องพึ่งตนเองในการทำมาหากิน ในการสร้างฐานะ และในการเก็บรักษาทรัพย์ที่หามาได้เพื่อจับจ่ายใช้สอยในยามแก่เฒ่า นอกจากจะต้องทำตนให้เป็นที่พึ่งแก่ตนแล้ว เราก็จะต้องให้ผู้มีพระคุณมีบิดามารดาเป็นต้น เหล่านั้นพึ่งเราได้ในสิ่งที่ท่านต้องการจะพึ่ง

คนที่บิดามารดาเลี้ยงจนโตแล้ว ส่งเสียให้เรียนจนมีวิชาความรู้แล้ว ยังอาศัยแรงงานของบิดามารดาเลี้ยงชีวิตต่อไป จัดเป็นบุคคลที่เปล่าประโยชน์ นอกจากเป็นที่พึ่งแก่ตนเองไม่ได้แล้วยังทำตนให้เป็นภาระแก่ผู้อื่นด้วย ดังนั้น บุคคลผู้มีปัญญาพึงรีบสร้างฐานะเพื่อเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง

บทที่ 11

 พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษา

 ความหมายของคำว่าการศึกษา

คำว่า “การศึกษา” มาจากคำว่า “สิกขา” โดยทั่วไปหมายถึง “กระบวนการเรียน “ “การฝึกอบรม” “การค้นคว้า” “การพัฒนาการ” และ “การรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งปวง” จะเห็นได้ว่า การศึกษาในพระพุทธศาสนามีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับต่ำสุดถึงระดับสูงสุด เมื่อแบ่งระดับอย่างกว้าง ๆ มี 2 ประการคือ

1. การศึกษาระดับโลกิยะ มีความมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตในทางโลก

2. การศึกษาระดับโลกุตระ มีความมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตเหนือกระแสโลก

ในการศึกษาหรือการพัฒนาตามหลักพระพุทธศาสนา นั้น พระพุทธเจ้าสอนให้คนได้พัฒนาอยู่ 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านศีล ด้านจิตใจ และด้านสติปัญญา โดยมีจุดมุ่งหมายให้มนุษย์เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง มิใช่เป็นคนดีแต่โง่ หรือเป็นคนเก่งแต่โกง การจะสอนให้มนุษย์เป็นคนดีและคนเก่งนั้น จะต้องมีหลักในการศึกษาที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งในการพัฒนามนุษย์นั้นพระพุทธศาสนามุ่งสร้างมนุษย์ให้เป็นคนดีก่อน แล้วจึงค่อยสร้างความเก่งทีหลัง นั่นคือสอนให้คนเรามีคุณธรรม ความดีงามก่อนแล้วจึงให้มีความรู้ความเข้าใจหรือสติปัญญาภายหลัง

ดังนั้นหลักในการศึกษาของพระพุทธศาสนา นั้นจะมี ลำดับขั้นตอนการศึกษา โดยเริ่มจาก สีลสิกขา ต่อด้วยจิตตสิกขาและขั้นตอนสุดท้ายคือ ปัญญาสิกขา ซึ่งขั้นตอนการศึกษาทั้ง 3 นี้ รวมเรียกว่า “ไตรสิกขา”  ซึ่งมีความหมายดังนี้

1. สีลสิกขา การฝึกศึกษาในด้านความประพฤติทางกาย วาจา และอาชีพ ให้มีชีวิตสุจริตและเกื้อกูล (Training in Higher Morality)

2. จิตตสิกขา การฝึกศึกษาด้านสมาธิ หรือพัฒนาจิตใจให้เจริญได้ที่ (Training in Higher Mentality หรือ Concentration)

3. ปัญญาสิกขา การฝึกศึกษาในปัญญาสูงขึ้นไป ให้รู้คิดเข้าใจมองเห็นตามเป็นจริง (Training in Higher Wisdom)

ความสัมพันธ์ของไตรสิกขา

ความสัมพันธ์แบบต่อเนื่องของไตรสิกขานี้ มองเห็นได้ง่ายแม้ในชีวิตประจำวัน กล่าวคือ

(ศีล -> สมาธิ) เมื่อประพฤติดี มีความสัมพันธ์งดงาม ได้ทำประโยชน์อย่างน้อยดำเนินชีวิตโดยสุจริต มั่นใจในความบริสุทธิ์ของ ตน ไม่ต้องกลัวต่อการลงโทษ ไม่สะดุ้งระแวงต่อการประทุษร้ายของคู่เวร ไม่หวาดหวั่นเสียวใจต่อเสียงตำหนิหรือความรู้สึก ไม่ยอมรับของสังคม และไม่มีความฟุ้งซ่านวุ่นวายใจ เพราะความรู้สึกเดือดร้อนรังเกียจในความผิดของตนเอง จิตใจก็เอิบอิ่ม ชื่นบานเป็นสุข ปลอดโปร่ง สงบ และแน่วแน่ มุ่งไปกับสิ่งที่คิด คำที่พูดและการที่ทำ

(สมาธิ -> ปัญญา) ยิ่งจิตไม่ฟุ้งซ่าน สงบ อยู่กับตัว ไร้สิ่งขุ่นมัว สดใส มุ่งไปอย่างแน่วแน่เท่าใด การรับรู้ การคิดพินิจพิจารณามอง เห็นและเข้าใจสิ่งต่างๆก้ยิ่งชัดเจน ตรงตามจริง แล่น คล่อง เป็นผลดีในทางปัญญามากขึ้นเท่านั้น

อุปมาในเรื่องนี้ เหมือนว่าตั้งภาชนะน้ำไว้ด้วยดีเรียบร้อย ไม่ไปแกล้งสั่นหรือเขย่ามัน ( ศีล ) เมื่อน้ำไม่ถูกกวน คน พัด หรือเขย่า สงบนิ่ง ผงฝุ่นต่างๆ ก็นอนก้น หายขุ่น น้ำก็ใส (สมาธิ) เมื่อน้ำใส ก็มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจน ( ปัญญา )

ในการปฏิบัติธรรมสูงขึ้นไป ที่ถึงขั้นจะให้เกิดญาณ อันรู้แจ้งเห็นจริงจนกำจัดอาสวกิเลสได้ ก็ยิ่งต้องการจิตที่สงบนิ่ง ผ่องใส มีสมาธิแน่วแน่ยิ่งขึ้นไปอีก ถึงขนาดระงับการรับรู้ทางอายตนะต่างๆ ได้หมด เหลืออารมณ์หรือสิ่งที่กำหนดไว้ใช้งาน แต่เพียงอย่างเดียว เพื่อทำการอย่างได้ผล จนสามารถกำจัดกวาดล้างตะกอนที่นอนก้นได้หมดสิ้น ไม่ให้มีโอกาสขุ่นอีกต่อไป

ไตรสิกขานี้ เมื่อนำมาแสดงเป็นคำสอนในภาคปฏิบัติทั่วไป ได้ปรากฏในหลักที่เรียกว่า โอวาทปาฏิโมกข์ ( พุทธโอวาทที่เป็นหลักใหญ่ อย่าง ) คือ

สพพปาปสส อกรณ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ( ศีล )

กุสลสสูปสมปทา การบำเพ็ญความดีให้เพียบพร้อม (สมาธิ )

สจิตตปริโยทปน การทำจิตของตนให้ผ่องใส (ปัญญา )

นอกจากนี้ยังมีวิธีการเรียนรู้ตามหลักโดยทั่วไป ซึ่งพระพุทธเจ้าพระพุทธเจ้าตรัสไว้ 5 ประการ คือ

1. การฟัง หมายถึงการตั้งใจศึกษาเล่าเรียนในห้องเรียน

2. การจำได้ หมายถึงการใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อให้จำได้

3. การสาธยาย หมายถึงการท่อง การทบทวนความจำบ่อย ๆ

4. การเพ่งพินิจด้วยใจ หมายถึงการตั้งใจจินตนาการถึงความรู้นั้นไว้เสมอ

5. การแทงทะลุด้วยความเห็น หมายถึงการเข้าถึงความรู้อย่างถูกต้อง เป็นความรู้อย่างแท้จริง ไม่ใช่ติดอยู่แต่เพียงความจำเท่านั้น แต่เป็นความรู้ความจำที่สามารถนำมาประพฤติปฏิบัติได้

จะเห็นได้ว่า สีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา การศึกษาทั้ 3 ขั้นนี้ ต่างก็เป็นพื้นฐานกันและกัน ซึ่งในการศึกษา พุทธศาสนามุ่งสอนให้คนเป็นคนดี คนเก่งและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข จากกระบวนการศึกษาที่กล่าวมาทั้ง 3 ขั้นตอนของพุทธศาสนานี้ หากสามารถนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง ก็จะเกิดผลดีกับผู้ปฏิบัติ ซึ่งหลักการทั้ง 3 นั้น เป็นที่ยอมรับจากชาวโลก ทำให้พุทธศาสนาได้แพร่หลายไปในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จึงนับได้ว่าพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษาอย่างแท้จริง

บทที่ 12

 พระพุทธศาสนาเน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยและวิธีการแก้ปัญหา

หลักของเหตุปัจจัย หรือหลักความเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งเป็นหลักของเหตุปัจจัยที่อิงอาศัยซึ่งกันและกัน ที่เรียกว่า “กฎปฏิจจสมุปบาท” ซึ่งมีสาระโดยย่อดังนี้

“เมื่ออันนี้มี อันนี้จึงมี เมื่ออันนี้ไม่มี อันนี้ก็ไม่มี เพราะอันนี้เกิด อันนี้จึงเกิด เพราะอันนี้ดับ อันนี้จึงดับ”นี่เป็นหลักความจริงพื้นฐาน ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาลอย ๆ ไม่ได้ หรือในชีวิตประจำวันของเรา “ปัญหา”ที่เกิดขึ้นกับตัวเราจะเป็นปัญหาลอย ๆ ไม่ได้ จะต้องมีเหตุปัจจัยหลายเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมา หากเราต้องการแก้ไขปัญหาก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการแก้ไขหลายเหตุปัจจัย ไม่ใช่มีเพียงปัจจัยเดียวหรือมีเพียงหนทางเดียวในการแก้ไขปัญหา เป็นต้น

คำว่า “เหตุปัจจัย” พุทธศาสนาถือว่า สิ่งที่ทำให้ผลเกิดขึ้นไม่ใช่เหตุอย่างเดียว ต้องมีปัจจัยต่าง ๆ ด้วยเมื่อมีปัจจัยหลายปัจจัยผลก็เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น เราปลูกมะม่วง ต้นมะม่วงงอกงามขึ้นมาต้นมะม่วงถือว่าเป็นผลที่เกิดขึ้น ดังนั้นต้นมะม่วงจะเกิดขึ้นเป็นต้นที่สมบูรณ์ได้ต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดเป็นต้นมะม่วงได้ เหตุปัจจัยเหล่านั้นได้แก่ เมล็ดมะม่วง ดิน น้ำ ออกซิเจน แสงแดด อุณหภูมิที่พอเหมาะ ปุ๋ย เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้พรั่งพร้อมจึงก่อให้เกิดต้นมะม่วง ตัวอย่างความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัย เช่น ปัญหาการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการเรียนของนักเรียน มีเหตุปัจจัยหลายเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเรียนอ่อน เช่น ปัจจัยจากครูผู้สอน ปัจจัยจากหลักสูตรปัจจัยจากกระบวนการเรียนการสอนปัจจัยจากการวัดผลประเมินผล ปัจจัยจากตัวของนักเรียนเอง เป็นต้น

ความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัย หรือหลักปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นอาการของสิ่งทั้งหลายสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยต่อกันอย่างเป็นกระแส ในภาวะที่เป็นกระแสนี้ ขยายความหมายออกไปให้เห็นแง่ต่าง ๆ ได้คือ

– สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องอาศัยเป็นปัจจัยแก่กัน

– สิ่งทั้งหลายมีอยู่โดยความสัมพันธ์กัน

– สิ่งทั้งหลายมีอยู่ด้วยอาศัยปัจจัย

– สิ่งทั้งหลายไม่มีความคงที่อยู่อย่างเดิมแม้แต่ขณะเดียว (มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่อยู่นิ่ง)

– สิ่งทั้งหลายไม่มีอยู่โดยตัวของมันเอง คือ ไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมัน

– สิ่งทั้งหลายไม่มีมูลการณ์ หรือต้นกำเนิดเดิมสุด แต่มีความสัมพันธ์แบบวัฏจักร หมุนวนจนไม่ทราบว่าอะไรเป็นต้นกำเนิดที่แท้จริง

 หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาของพระพุทธศาสนาที่เน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยมีมากมาย ในที่นี้จะกล่าวถึงหลักคำสอน 2 เรื่อง คือ ปฏิจจสมุปบาท และอริยสัจ 4

 กฎปฏิจจสมุปบาท

ปฏิจจสมุปบาท คือ การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้น เป็นกฎธรรมชาติที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ การที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบกฎนี้นี่เอง พระองค์จึงได้ชื่อว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กฏปฏิจจสมุปบาท เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กฏอิทัปปัจจยตา ซึ่งก็คือ กฏแห่งความเป็นเหตุเป็นผลของกันและกันนั่นเอง

กฏปฏิจจสมุปบาท คือ กฏแห่งเหตุผลที่ว่า ถ้าสิ่งนี้มี สิ่งนั้นก็มี ถ้าสิ่งนี้ดับ สิ่งนั้นก้ดับ ปฏิจจสมุปบาทมีองค์ประกอบ 12 ประการ คือ

1) อวิชชา คือความไม่รู้จริงของชีวิตไม่รู้แจ้งในอริยสัจ 4 ไม่รู้เท่าทันตามสภาพที่เป็นจริง

2) สังขาร คือความคิดปรุงแต่ง หรือเจตนาทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล

3) วิญญาณ คือความรับรู้ต่ออารมณ์ต่างๆ เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส

4) นามรูป คือความมีอยู่ในรูปธรรมและนามธรรม ได้แก่ กายกับจิต

5) สฬายตนะ คือตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

6) ผัสสะ คือการถูกต้องสัมผัส หรือการกระทบ

7) เวทนา คือความรู้สึกว่าเป็นสุข ทุกข์ หรืออุเบกขา

8) ตัณหา คือความทะเยอทะยานอยากหรือความต้องการในสิ่งที่อำนวยความสุขเวทนา และความดิ้นรนหลีกหนีในสิ่งที่ก่อทุกขเวทนา

9) อุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน

10) ภพ คือพฤติกรรมที่แสดงออกเพื่อสนองอุปาทานนั้นๆ เพื่อให้ได้มาและให้เป้นไปตามความยึดมั่นถือมั่น

11) ชาติ คือความเกิด ความตระหนักในตัวตน ตระหนักในพฤติกรรมของตน

12) ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ คือความแก่ ความตาย ความโศกเศร้า ความคร่ำครวญ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ และความคับแค้นใจหรือความกลัดกลุ่มใจ

 องค์ประกอบทั้ง 12 ประเภทนี้ พระพุทธเจ้าเรียกว่า องค์ประกอบแห่งชีวิต หรือกระบวนการของชีวิต ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันทำนองปฏิกิริยาลูกโซ่ เป็นเหตุปัจจัยต่อกัน โยงใยเป็นวงเวียนไม่มีต้นไม่มีปลาย ไม่มีที่สิ้นสุด กล่าวคือ

 เพราะมีอวิชชา จึงมี สังขาร
เพราะมีสังขาร จึงมี วิญญาณ
เพราะมีวิญญาณ จึงมี นามรูป
เพราะมีนามรูป จึงมี สฬายตนะ
เพราะมีสฬายตนะ จึงมี ผัสสะ
เพราะมีผัสสะ จึงมี เวทนา
เพราะมีเวทนา จึงมี ตัณหา
เพราะมีตัณหา จึงมี อุปาทาน
เพราะมีอุปาทาน จึงมี ภพ
เพราะมีภพ จึงมี ชาติ
เพราะมีชาติ จึงมี ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ

 องค์ประกอบของชีวิตตามกฏปฏิจจสมุปบาทดังกล่าวนี้เป็นสายเกิดเรียกว่า สมุทัยวาร

ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราสามารถรู้เท่าทันกระบวนการของชีวิตและกำจัดเหตุเสียได้ ผลก็ย่อมสิ้นสุดลง ปฏิจจสมุปบาทดังกล่าวนี้เป็นสายดับเรียกว่า นิโรธวาร ซึ่งมีลำดับความเป็นเหตุเป็นผลของกันและกันดังนี้

เพราะ อวิชชา ดับ สังขารจึงดับ
เพราะ สังขาร ดับ วิญญาณจึงดับ
เพราะ วิญญาณ ดับ นามรูปจึงดับ
เพราะ นามรูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ
เพราะ สฬายตนะ ดับ ผัสสะจึงดับ
เพราะ ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดั
เพราะ เวทนา ดับ ตัณหาจึงดับ
เพราะ ตัณหา ดับอุปาทาน จึงดับ
เพราะ อุปาทาน ดับ ภพจึงดับ
เพราะ ภพ ดับ ชาติ จึงดับ
เพราะ ชาติ ดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสะ จึงดับ

 หลักอริยสัจ 4 หมายถึง หลักความจริงอันประเสริฐ

จากกฏปฏิจจสมุปบาทหรือกฎอิทัปปัจจยตาที่ว่าอวิชชาเป็นตัวเหตุของทุกสิ่งทุกอย่าง อวิชชาคือความไม่รู้แจ้งในอริยสัจ 4 ดังนั้น กฎปฏิจจสมุปบาท เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วก็คือ อริยสัจ 4 นั่นเอง

อริยสัจ  หมายถึง หลักความจริงอันประเสริฐหรือหลักความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงเป็นผู้ประเสริฐ มี 4 ประการ คือ

1)  ทุกข์ หมายถึง ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ หรือสภาพที่บีบคั้นจิตใจให้ทนได้ยาก ทุกข์เป็นสภาวะที่จะต้องกำหนดรู้

2)  สมุทัย(ทุกขสมุทัย) หมายถึง ต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 ประการ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา สมุทัยเป็นสภาวะที่จะต้องละหรือทำให้หมดไป

3)  นิโรธ(ทุกนิโรธ)หมายถึง ความดับทุกข์ หรือสภาวะที่ปราศจากทุกข์ เป็นสภาวะที่ต้องทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง

4)  มรรค (ทุกขนิโรธคามินีปฎิปทา) หมายถึง ทางดับทุกข์ หรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มัชฌิมาปฏิปทา หรืออริยมรรคมีองค์ 8 ซึ่งสรุปลงในไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา  มรรคเป็นสภาวะที่ต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเองจึงจะไปสู่ความดับทุกข์ได้

อริยสัจ 4 นี้ถ้าวิเคราะห์กันในเชิงวิทยาการสมัยใหม่ก็คือ ศาสตร์แห่งเหตุผล เพราะอริยสัจ 4 จัดได้เป็น 2 คู่ แต่ละคู่เป็นเหตุเป็นผลของกันและกัน

เมื่อวิเคราะห์ในทางกลับกัน จากกฏที่ว่า เมื่อมีทุกข์ ก็ต้องมีความดับทุกข์ อริยสัจ คู่ที่สอง(นิโรธและมรรค) กลายเป็นเหตุที่นำไปสู่ผล คือ การดับอริยสัจคู่แรก (ทุกข์และสมุทัย) อันเป็นการย้อนศรอีกรอบหนึ่ง

จะเห็นชัดว่า อริยสัจ 4 เป็นกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องกัน เป็นระบบเหตุผล คือ เมื่อมีเหตุเกิดแห่งทุกข์ (สมุทัย) ก็จะทำให้เกิดความทุกข์ (ทุกข์) ในขณะเดียวกัน หากต้องการสภาวะหมดทุกข์ (นิโรธ) ก็ต้องกำจัดเหตุเกิดแห่งทุกข์ คือตัณหาด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 (มรรค)

วิธีแก้ปัญหาตามแนวพระพุทธศาสนา 

พระพุทธศาสนาเน้นการแก้ปัญหาด้วยการกระทำของมนุษย์ตามหลักของเหตุผล ไม่หวังการอ้อนวอนจากปัจจัยภายนอก เช่น เทพเจ้า รุกขเทวดา ภูตผีปีศาจ เป็นต้น จะเห็นได้จากตัวอย่างคำสอนในคาถาธรรมบท แปลความว่า มนุษย์ทั้งหลายถูกภัยคุกคามแล้ว พากันถึงเจ้าป่าเจ้าเขา เจ้าภูผา ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่พึ่งแต่สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่สรณะอันเกษม

เมื่อยึดเอาสิ่งเหล่านั้นเป็นสรณะ (ที่พึ่ง) ย่อมไม่สามารถหลุดพันจากความทุกข์ทั้งปวง…แต่ชนเหล่าใดมาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ รู้เข้าใจอริยสัจ 4 เห็นปัญหา เหตุเกิดของปัญหา ภาวะไร้ปัญหา และวิธีปฏิบัติให้ถึงความสิ้นปัญหาจึงจะสามารถหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้” ดังนั้นมนุษย์ต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีการของมนุษย์ที่เพียรทำการด้วยปัญญาที่รู้เหตุปัจจัย หลักการแก้ปัญหาด้วยปัญญาของมนุษย์คือ

1. ทุกข์ คือ การเกิดปัญหา หรือรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือรู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร

2. สมุทัย คือ การสืบหาสาเหตุของปัญหา

3. นิโรธ คือ กำหนดแนวทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านั้น

4. มรรค คือ ปฏิบัติตามวิธีการให้ถึงการแก้ไขปัญหา หรือวิธีการดับปัญหาได้
หลักการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 นี้ มีคุณค่าเด่นที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้

1. เป็นวิธีการแห่งปัญญา ซึ่งดำเนินการแก้ไขปัญหาตามระบบแห่งเหตุผล เป็นระบบวิธีแบบอย่าง ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาใด ๆ ก็ตาม ที่จะมีคุณค่าและสมเหตุผล จะต้องดำเนินไปในแนวเดียวกันเช่นนี้

2. เป็นการแก้ปัญหาและจัดการกับชีวิตของตน ด้วยปัญญาของมนุษย์เอง โดยนำเอาหลักความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ไม่ต้องอ้างอำนาจดลบันดาลของตัวการพิเศษเหนือธรรมชาติ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ

3. เป็นความจริงที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนทุกคน ไม่ว่ามนุษย์จะเตลิดออกไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งที่อยู่ห่างไกลตัวกว้างขวางมากมายเพียงใดก็ตาม แต่ถ้าเขายังจะต้องมีชีวิตของตนเองที่มีคุณค่าและสัมพันธ์กับสิ่งภายนอกเหล่านั้นอย่างมีผลดีแล้ว เขาจะต้อง
เกี่ยวข้องและใช้ประโยชน์จากหลักความจริงนี้ตลอดไป

4. เป็นหลักความจริงกลาง ๆ ที่ติดเนื่องอยู่กับชีวิต หรือเป็นเรื่องของชีวิตเองแท้ ๆ ไม่ว่ามนุษย์จะสร้างสรรค์ศิลปวิทยาการ หรือดำเนินกิจการใด ๆ ขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาความเป็นอยู่ของตน และไม่ว่าศิลปวิทยาการ หรือกิจการต่าง ๆ นั้น จะเจริญขึ้น
เสื่อมลง สูญสลายไป หรือเกิดมีใหม่มาแทนอย่างไรก็ตาม หลักความจริงนี้ก็จะคงยืนยงใหม่ และใช้เป็นประโยชน์ได้ตลอดทุกเวลา

 

บทที่ 13

 พระพุทธศาสนาฝึกตนไม่ให้ประมาท

ความประมาท คือ ความเลินเล่อ เผลอสติ ไม่สำรวมระวัง กาย วาจา ใจ ส่วนความไม่ประมาทมีวินัยตรงกันข้าม ได้แก่ ความรอบคอบ มีสติคอยกำกับการกระทำ วาจา ใจ

สติ  คือ ความระลึกรู้สึกตัวอยู่เสมอจำเป็นต้องใช้ในกิจกรรมทุกอย่าง ตั้งแต่การทำการงานตามปกติ

 หลักคำสอนในเรื่องความไม่ประมาท(ปัจฉิมโอวาท)

” ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย… บัดนี้ เราเตือนท่านทั้งหลาย  สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา  ท่านทั้งหลาย  จงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด” มหาปรินิพพานสูตร 10/180

อธิบาย… พระพุทธเจ้าตรัสสอน เรื่องความไม่ประมาท เป็นพระโอวาทสุดท้าย  ในที่อื่น ทรงสั่งสอนว่า กุศลธรรมทั้งหมด  รวมลงในความไม่ประมาท  เหมือนรอยเท้าสตว์เดินดินต่าง ๆ รวมลงในรอยเท้าช้างฉะนั้น  ความไม่ประมาท จะเป็นเหตุให้เราเตือนใจ  ตามคำสอนที่ทรงเตือนไว้ว่า  “วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้ เราทำอะไรอยู่”  เราจะได้หมั่นพิจารณาดูตน และ หาโอกาสเพิ่มพูนคุณงามความดี  ละความชั่วให้ลดน้อยลง ความไม่ประมาทจะเตือนไม่ให้เราลืมตน เห็นเป็นจริงเป็นจังกับชีวิตในโลก  ประหนึ่งว่า  จะดำรงอยู่ได้ชั่วกัปชั่วกัลป์  ในที่สุด ทุกคนจะต้องจบลงด้วยความตาย  ทรัพย์สมบัติต่าง ๆ ก็จะเปลี่ยนมือไปเป็นของคนอื่น  ที่ดินที่เรานึกว่าเป็นของเรา  แต่ถ้าเราจะกลายเป็นเถ้าถ่าน ฝังเรี่ยรายอยู่บนพื้นดินนั้น หรือ บางที เขาก็จะเก็บไว้ในโกศเล็ก ๆ เหมือนของเด็กเล่น แต่ไม่มีใครอยากจับต้อง ถึงที่สุด เหมือน ๆ กันเช่นนี้  ในขณะที่มีชีวิตอยู่  จึงควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท  ถือเอาสาระจากชีวิตที่เน่าเปื่อย ไม่มีสาระนี้ ไว้ให้ได้ด้วยการบำเพ็ญคุณงามความดี  บำเพ็ญประโยชน์ท่าน ให้สมบูรณ์เถิด..

คำสอนทั่วไป    พระพุทธศาสนาสอนเรื่องความไม่ประมาทและความประมาทคู่กันในกรณีทั่ว ๆ  ไปเพื่อให้พุทธศาสนิกชนทราบผลดีของความไม่ประมาท และผลร้ายของความประมาทเปรียบเทียบ

คำสอนเฉพาะกรณี   ระดับต่ำแบ่งเป็น 4 อย่าง

1. ในการละกายทุจริต    ประพฤติกายสุจริต

2. ในการละวจีสุจริต      ประพฤติวจีสุจริต

3. ในการละมโนทุจริต    ประพฤติมโนสุจริต

4. ในการละความเห็นผิด  ทำความเห็นให้ถูก

คำสอนในระดับสูง   แบ่งเป็น 4 อย่าง

1. ระวังใจไม่ให้กำหนัด     ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

2. ระวังใจไม่ให้ขัดเคือง    ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง

3. ระวังใจไม่ให้หลง         ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง

4. ระวังใจไม่ให้มัวเมา       ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา

คำสอนโดยรวบยอด  พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า ท่านทั้งหลาย จงมีความไม่ประมาท หรือแปลอย่างยาวโดยเพิ่มเติมข้อความเข้าว่า ท่านทั้งหลายจงทำประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท

คำสอนเรื่องความไม่ประมาทจึงเป็นคำสอนที่กว้าง ประมวลคำสอนอื่นๆ ไว้เปรียบเทียบเหมือนร้อยเท้าช้างที่ใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์อื่นๆ ที่ รวมลงในรอยเท้าช้างได้ คำสอนเรื่องความไม่ประมาท จึงสำคัญที่สุดประการหนึ่ง

ประโยชน์ของความไม่ประมาท 

พระพุทธองค์ตรัสว่า ความไม่ประมาทเป็นบิดา ของธรรมะทั้งปวง (ทรงเปรียบความไม่ประมาทเหมือนรอยเท้าช้าง ที่ใหญ่กว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน) ธรรมะข้อไม่ประมาท จึงเป็นธรรมที่ใหญ่กว่าธรรมะทั้งหลาย ถ้าไม่ประมาท ความชั่วอย่างอื่นก็เกิดขึ้นไม่ได้ ความไม่ประมาทจึงมีประโยชน์ต่อบุคคล เมื่อบุคคลใดดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ทุกสิ่งที่ทำ พูด คิด ก็เป็นไปด้วยความไม่ประมาท ผลที่เกิดขึ้นคือความถูกต้องจากการกระทำ พูด คิด แล้วผลนั้นก็ส่งผลให้ชีวิตมีความสุข ความเจริญ และส่งผลต่อสังคมอีกด้วย

ประโยชน์ของความไม่ประมาทต่อการดำเนินชีวิตและสังคม

1. ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตส่วนบุคคล  ความไม่ประมาทมีประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่และการดำเนินชีวิต เช่น ในการปฏิบัติหน้าที่หรือการดำเนินชีวิตที่มีความเสี่ยง ต่ออุบัติภัยมาก  ในการทำงานที่ละเอียดประณีต ในการครองเรือน ในการป้องกันโรค

2. ประโยชน์ต่อสังคม  การป้องกันประเทศ การป้องกันอาชญากรรม การวางแผนเศรษฐกิจและสังคม ความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ

3. ประโยชน์ในการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนา การปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาจะต้องมีความไม่ประมาท กล่าวคือมีสติกำกับอยู่ เสมอ การรักษาศีล การเจริญสมาธิหรือการทำกรรมฐาน การเจริญปัญญา

สิ่งที่ก่อให้เกิดความประมาท 

1) ความเป็นหนุ่มสาว ทำให้บุคคลเพลิดเพลินในความสนุกสนานในภาวะของหนุ่มสาว ทำให้ทำ พูด คิด ในสิ่งต่างๆ ตามประสาอารมณ์ของวัยรุ่น ไม่คำนึงถึงความถูกต้องดีงาม บางรายต้องสูญเสียอนาคต ชีวิต ไป เพราะความประมาท พระพุทธศาสนาจึงสอนให้ไม่ประมาทในวัย (โยพนมัตตัง)

2) ความไม่มีโรค ทำให้บุคคลลุ่มหลงในชีวิต ลืมนึกถึงโรคภัยไข้เจ็บที่จะต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เมื่อโรคภัยเกิดขึ้นแล้ว ก็ไม่อาจทำความดีได้ เมื่อตอนแข็งแรงอยู่ไม่ได้ทำไว้ จึงตกอยู่ในภาวะของคนประมาท (อโรคยมัตตัง)

3) ความมีทรัพย์ ทำให้คนหลงเพลิดเพลินในทรัพย์ โดยไม่ใส่ใจในการทำความดี หลงใหลคลั่งไคล้ในวัตถุนิยม คิดว่ามีเงินแล้วจะทำดีเมื่อใดก็ได้ เมื่อเพลิดเพลินไปมาก จิตใจก็ถอยห่างจากความดีไปเรื่อยๆ สุดท้าย เมื่อก่อนจะเสียชีวิตนึกเสียดายที่ได้ทำความดีไว้น้อย

4) เวลา การที่ประมาทในเวลา โดยคิดว่า มีเวลาทำดีอยู่มาก หรือบางคนบอกว่า รอให้แก่ก่อน แล้วจึงค่อยทำบุญกุศล ถ้าเกิดเป็นอะไรไปเสียก่อน หรือเมื่อแก่แล้วก็ทำดีไม่ได้สะดวก เพราะไม่ได้สั่งสมพฤติกรรมการทำดีมา (พฤติกรรมเคยชิน) จึงทำดีได้ไม่เท่าที่ควร

 ธรรมะที่สร้างความไม่ประมาท 

ธรรมะที่เป็นเครื่องมือสร้างความไม่ประมาท ได้แก่

1. สติ ความระลึกได้ก่อนที่จะทำ จะพูด จะคิด ในสิ่งต่างๆ และ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว ในขณะที่ทำ พูด คิดอยู่ โดยไม่เผลอใจ หรือขาดสติ

2. ปธาน คือความเพียร อันเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้เกิดความไม่ประมาทในชีวิต ได้แก่

1) สังวรปธาน ความเพียรในการระวังมิให้ความชั่วเกิดกับตน หรือป้องมิให้ตนเองกระทำในสิ่งที่ไม่ดี

2) ปหานปธาน ความเพียรในการละทิ้งความไม่ดีที่เคยเกิดขึ้นกับตนให้หมดไป

3) ภาวนาปธาน ความเพียรในการสร้างสรรค์ความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นกับตน หรือเพียรในการสิ่งดีๆ ที่ยังไม่ได้สร้าง

4) อนุรักขนาปธาน เพียรในการรักษาความดี ที่เราได้ทำไว้แล้วมิให้หายไป คือรักษาสิ่งดีๆ ที่ทำไว้แล้วให้คงอยู่เหมือนเดิม

3. หิริ โอตตัปปะ หิริ คือความละอายใจในการจะทำความชั่ว และโอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อผลของความชั่ว เมื่อบุคคลมีความละอาย และเกรงกลัวต่อบาป แล้ว ก็จะทำให้ผู้นั้นดำเนินชีวิตด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาทเผลอตัวทำความชั่วได้

วิธีการสร้างความไม่ประมาท 

1. มีสติระลึก ก่อนจะทำ พูด คิด ในทุกสิ่ง หากสิ่งทำไปแล้วเป็นทุกข์ เป็นโทษ เดือดร้อน ก็ไม่ทำ สิ่งใดที่ทำแล้ว ก่อประโยชน์ ก่อสุข ก็พึงทำในสิ่งนั้น

2. ตระหนักในผลของการกระทำที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง และผู้อื่นรอบข้าง

3. ระลึกอยู่ในคุณงามความดีเสมอ เอาคุณธรรมความดีมาผูกไว้ที่ใจ เหมือนคนโบราณเอาพระมาแขวนไว้ที่คอ เพื่อให้เตือนสติตนเองให้ทำความดีทุกลมหายใจ หรือทุกวินาที

 

 

บทที่ 14

พระพุทธศาสนามุ่งประโยชน์สุขและสันติภาพแก่บุคคล สังคมและโลก

หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ที่มุ่งประโยชน์และความสุขแก่บุคคล ได้แก่

1. ทิฎฐธัมมิกัตถะ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ได้แก่ การตั้งตัวได้อย่างมั่นคงมีทรัพย์ใช้จ่ายไม่ขัดสน หลักปฏิบัติเพื่อให้ได้รับ ประโยชน์ในปัจจุบันมี 4 ประการ

1) อุฏฐานสัมปทา มีความหมั่นขยัน

2) อารักขสัมปทา รักษาทรัพย์ที่หามาได้

3) กัลยาณมิตตตา คบเพื่อนที่ดี

4)สมชีวิตา เลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้

2. สัมปรายิกัตถะ คือ ประโยชน์ในภายหน้า หมายถึง ในอนาคตของชาติปัจจุบันนี้หรือในชาติต่อๆ ไป ได้แก่ ความอุ่นใจว่าได้ทำความดีไว้พร้อมแล้ว สามารถหวังความเจริญในอนาคต หรือหวังสุคติในชาติต่อไปได้ หลักปฏิบัติเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในภายหน้ามี 4 ประการ

1) สัทธาสัมปทา มีศรัทธาที่ถูกต้อง

2) สีลสัมปทา  มีศีลบริสุทธิ์ตามภูมิชั้นของตน

3) จาคสัมปทา ทำการบริจาคอย่างสมบูรณ์

4) ปัญญาสัมปทา มีปัญญาเพียบพร้อม รู้จักบาปบุญคุณโทษ

3. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ นิพพาน ความดับกิเลสและกองทุกข์ได้สิ้นเชิง ซึ่งจะบรรลุได้ด้วยการดำเนินตามอริยมรรคมีองค์ 8 ประการเมื่อปฏิบัติตามอริยมรรค ย่อมได้รับผลตามสมควรแก่การปฏิบัติ

หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่มุ่งความสุขแก่บุคคล

โดยสอนเรื่องความสุขและวิธีปฏิบัติให้ถึงความสุข ความสุขมี 2 ประเภท คือ โลกิยสุข ความสุขที่เกี่ยวข้องกับโลก และโลกุตตรสุข ความสุขเหนือโลก

โลกิยสุข สำหรับความสุขของคฤหัสถ์มี 4 ประการคือ 1) สุขเกิดจากความมีทรัพย์  2) สุขเกิดจากการจ่ายบริโภค 3) สุขเกิดจากความไม่ต้องเป็นหนี้ 4) สุขเกิดจากการประกอบการงานที่ปราศจากโทษ

โลกุตตรสุข ความสุขของพระอริยบุคคล ผู้พ้นจากกิเลสบางส่วนหรือสิ้นเชิง การกำจัดกิเลสได้หมดสิ้นนั้นพระพุทธศาสนา ถือว่า เป็นความสุขอย่างยิ่ง

เศรษฐกิจพอเพียง

คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”  หมายถึง เศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ เน้นการผลิตและการบริโภคแบบพออยู่พอกินเป็นหลัก ซึ่งไม่ได้เน้นกำไรสุทธิหรือความร่ำรวยเป็นเป้าหมายสูงสุด เป็นระบบเศรษฐกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันของเราทรงดำริขึ้นมา เพื่อแสวงหาทางออกจากวิกฤษตเศรษกิจให้กับสัมคมไทย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ ” การที่พึ่งตนเองได้”

เศรษฐกิจพอเพียงนี้ เน้นให้คนในชุมชนพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพอเพียง ไปจนถึงขั้นการแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและเสริมทักษะทางวิชาการที่หลากหลาย ใช้ชุมชนดำรงอยู่ได้ด้วยการยึดหลักแห่งความถูกต้องดีงาม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น

วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลักของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ  ความสงบสุขของผู้คนในสังคม ประชาชนมีกินมีใช้อย่างเพียงพอแก่ความต้องการ ที่สำคัญต้องไม่ทำตนและผู้อื่นเดือนร้อน ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาหลายประการ ดังนี้
1. หลักธรรมการพึ่งพาตนเอง ( อตฺตา หิ อตฺต โน นาโถ)
2. หลักธรรมความรู้จักพอประมาณ (อตฺตญฺญุตา)
3. หลักธรรมเรื่องราวความสันโดษ ( สนฺตุฏฺฐิ ปรมํ ธนํ)
4. หลักธรรมความเป็นผู้รู้จักใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิต (ธมฺมญฺญุตา อตฺถญฺญุตา)
5. หลักธรรมเรื่องทางสายกลาง หรือ ความพอดี (มชฺฌิมปฏิปทา)
6. หลักธรรมเรื่องความไม่โลภมาก (อโลภ)

กล่าวโดยสรุปแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หลักเศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ ที่มุ่งให้มนุษย์จำกัด หรือความอยาก หรือความต้องการของตนเอง แทนการกระตุ้นตัญหาหรือความอยาก เพื่อให้เกิดการบริโภคมากขึ้น (บริโภคนิยม) เนื่องจากพระพุทธศาสนาเห็นว่าความต้องการของมนุษย์นั้นไม่มีขีดจำกัด แต่ขณะเดียวกันทรัพยากรมีขีดจำกัด เมื่อไม่ประหยัด สิ่งเหล่านั้นก็จะหมดสิ้นไปในที่สุด การปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจึงต้องหันมาแข้ไขที่ตนเองก่อน จำกัดความอยาก ความต้องการ ให้รู้จักพอดี ไม่บริโภคเกินความพอดี หรือตกเป็นทาสของวัตถุ เมื่อเราปฏิบัติได้ดังข้อที่กล่าวมาแล้ว ก็จะพบแต่ความสุขใจได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการลดการแก่งแย่งแข่งขัน การเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน การเบียดเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์และสัตว์อื่น ตลอดถึงการเบียดเบียนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภัยธรรมชาติตามมา

การอาศัยหลักธรรมทางพุทธศาสนาบูรณาการทางเศรษฐกิจ คือหลักเศรษฐกิจสายกลาง หรือเศรษฐกิจมัชฌิมา หรือเป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจที่สำคัญ หรือคุณค่าทางจริยธรรมอยู่ตรงที่การดำรงชีวิต ด้านการหาเลี้ยงชีพอย่างถูกต้องเรียกว่า สัมมาอาชีวะ หรือสัมมาเศรษฐกิจ

คำว่า “เศรษฐกิจ” มาจากคำสองคำรวมกันคือคำว่า เศรษฐ แปลว่า ดีเลิศ และว่า กิจ แปลว่า การประกอบการ เมื่อนำคำสองคำมารวมกันจึงได้ความว่า การประกอบกิจการงานเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่าย จ่าย แจก การบริโภค และการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ผลดี ส่วนคำว่าพอเพียงหมายถึง พออยู่พอกิน ความเหมาะสม หรือ ความพอดี และเมื่อร่วมกันจึงได้ความว่า การผลิตจำหน่าย และบริโภคอย่างพอเหมาะพอดี อย่างประเสริฐ

แนวคิดหลักของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การนำคำสอนทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการประสานกลมกลืนกับวิธีชีวิตของชาวบ้านที่เป็นเกษตรกรอย่างชาญฉลาด และเป็นรูปธรรม หลักจริยธรรมดังกล่าวคือ หลักการเดินสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทาระดับโลกิยธรรม คือธรรมที่เหมาะแก่ชาวบ้านทั่วไปได้แก่ ความเป็นรู้จักพอในการบริโภคใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติ และการใช้ชีวิตแบบไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ซึ่งมีลักษณะเป็นการเน้นการลด ละ เลิก อบายมุข ด้วยการประพฤติตามหลักเบญจศีล และ เบญจธรรม ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นวิถีพุทธ

เศรษฐศาสตร์แนวพุทธมีหลักที่เรียกว่า “ความรู้จักประมาณในการบริโภค (โภชาเนมัตตัญณุตา) และหลักการไม่เบียดเบียนกัน ความไม่เบียนในพระพุทธศาสนา หมายถึง การไม่ทำร้ายชีวิตสัตว์ทั้งปวง (อหิงสา สัพพ ปาณานัง) ซึ่งรวมอยู่ในระบบนิเวศด้วย นับว่าเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ เป็นเศรษฐศาสตร์ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างแท้จริง

สัมมาอาชีวะเป็นหัวใจของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ สัมมาอาชีวะมักมาคู่กับสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะ สัมมากัมมันตะคือการประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่มีโทษ ไม่ผิดศีลธรรม เป็นงานที่หามาด้วยหยาดเหงื่อแรงงานของตนเองตามหลักการหาทรัพย์ที่ดีในพระพุทธศาสนา คือ การขยันทำงาน (อุฏฐานะสัมปทา) ประหยัดอดอม (อารักขสัมปทา) รู้จักคบเพื่อนที่ดี (กัลยาณมิตตตา) และเลี้ยงชีวิตอย่างเหมาะสม (สมชีวีตา) การเลี้ยงชีวิตอย่างเหมาะสมตรงกับ คำว่า สัมมาอาชีวะในมรรคแปด

สัมมอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีวิตที่เหมาะสม ถูกต้อง แปลอีกอย่างหนึ่งว่า เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งขยายความได้ว่า การเลี้ยงชีวิตก็คือการดำเนินชีวิตด้วยการผลิต การจำหน่าย และการใช้สอย คำว่า พอเพียง ก็คือ อย่างเหมาะสม ถูกต้อง สัมมาอาชีวะเป็นชีวิตที่ประสบความสำเร็จ

อาชีวสมบัติ หมายถึง การเลี้ยงชีวิตหรือมีอาชีพที่ดี ซึ่งตรงกันข้ามกับการเลี้ยงชีวิตที่ไม่ดีเรียกว่า อาชีววิบัติ เป็นการประกอบอาชีพที่ไม่ดี อันจะนำชีวิตและจิตใจของเราใกล้เข้าไปสูหายนะ อาชีพวิบัติแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. อาชีพวิบัติโดยงาน คือ งานชนิดนั้นไม่ดีอยู่ในตัวของมันเอง เช่น การปล้นฆ่า การลักทรัพย์ การค้าของเถื่อน ค้าอาวุธ ค้าสารเสพติด ค้ามนุษย์ เป็นต้น

2. อาชีพวิบัติโดยการกระทำ คือ งานดีแต่คนทำชั่ว เช่น งานราชการเป็นงานดี แต่ช้าราชการทุจริตคอรัปชั่น งานไม่เสียแต่เสียที่คนทำ

วิธีแก้ไข คือ เราจะต้องเลือกงานที่สุจริตและทำด้วยความตั้งใจไม่คดโกง ดังนั้น จะเก็บได้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วยสัมมาอาชีวะ หรือเศรษฐศาสตร์แนวพุทธอย่างชัดเจน

 

บทที่ 15

 พระพุทธศาสนากับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาแบบยั่งยืน

ความสอดคล้องระหว่างเศรษฐศาสตร์แนวพุทธและเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

1. ทั้งสองทฤษฏีมุ่งเน้นคุณภาพชีวิต และ คุณค่าของมนุษย์เป็นเบื้องต้น เพื่อปูทางไปสู่เป้าหมายที่สูงขึ้นไปกล่าวคือ สวรรค์และพระนิพพานในที่สุด

2. ทฤษฎีทั้งสองเน้นสัมมาเศรษฐกรรม คือ เป็นเศรษฐกิจเชิงจริยธรรมที่มีเป้าหมายในการผลิต การบริโภค การสร้างงาน เป็นต้น เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตมนุษย์ทั้งร่างกายและจิตใจ รวมถึงสังคม ชุมชน ระบบนิเวศน์ และ ชาวโลกโดยทั่วไปด้วย

3. ทฤษฎี ทั้งสองนั้นเน้นความเป็นเศรษฐกิจแบบองค์รวม กล่าวคือ ทั้งสองเป็นระบบการพัฒนาชีวิตของปัจเจกบุคลควบคู่กันไปกับการพัฒนาสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีจริยธรรมคือความเมตตา ความเกื้อกูลสงเคราะห์ ความสามัคคี ความไม่เห็นแก่ตัว ดังคำกล่าวว่า มนุษย์อยู่ดี ชุมชนอยู่ได้ ธรรมชาติยั่งยืน

4. ทฤษฎีทั้งสองเน้นคุณภาพชีวิตของสรรพสัตว์ ซึ่งหมายถึงมนุษย์และสัตว์ทั้งหมดซึ่งต่างก็รักชีวิตของตนเอง

5. ทฤษฏีทั้งสองเป็นระบบเศรษฐกิจแบบมัชฌิมาที่มีสัมมาอาชีวะเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งสามารถโยงไปสู่การที่พระพุทธศาสนามีท่าทีปฏิเสธความสุดโต่ง 2 ด้าน คือ การหมกมุ่นในกามสุขอย่างเดียว และ การทรมานตนเองในรูปแบบต่าง ๆ เหมือนกับศาสนาเชนของศาสดามหาวีระที่นิยมการเปลือยกาย เป็นต้น

6. ทฤษฎีทั้งสองไม่ได้เป็นเศรษฐกิจแบบระบบปิด ( Close Economy ) ที่รัฐบาลของ เผด็จการนิยมทำกันด้วยการปิดประเทศของตนเอง เพื่อต้องการตัดการติดต่อสื่อสารกับต่างประเทศ ด้วยเหตุผลทางการเมือง เป็นต้น และในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่เศรษฐกิจแบบทุนนิยมและบริโภคนิยม ที่ก่อให้เกิดวัฒนธรรมการบริโภคที่ไร้ขอบเขตจนเกิดการทำลายธรรมชาติ ซึ่งส่งผลให้เกิดก่อให้เกิดพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ

โดยสรุป เศรษฐศาสตร์แนวพุทธเป็นฐานของเศรษฐกิจพอพอเพียง เป็นเศรษฐศาสตร์พุทธซึ่งเป็นภาคทฤษฎีหรือหลักการ ส่วนเศรษฐกิจพอเพียงเป็นภาคปฏิบัติของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจะต้องดำเนินต่อไปด้วยกันเสมอ เพื่อนำไปสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ ถ้าเศรษฐกิจพอเพียงปราศจากแนวพุทธก็จะตีบตันมืดบอด และในทำนองเดียวกัน เศรษฐศาสตร์แนวพุทธถ้าปราศจากเศรษฐกิจพอเพียงก็จะเป็นความว่างเปล่า