โทรทัศน์สีแห่งแรกที่แพร่ภาพออกอากาศด้วยภาพสีคือช่องใด

ตามประกาศของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ให้มีการเปลี่ยนผ่านระบบการรับ–ส่งสัญญาณโทรทัศน์จากระบบแอนะล็อก เป็นระบบ “ดิจิทัล” (Digital Television) ทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้ประกาศแผนการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ทีวีดิจิทัลในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการนำประเทศไทยเข้าสู่ยุคทีวีดิจิทัล เช่นเดียวกับหลายประเทศในโลก

วันที่ 26-27 ธันวาคม 2556 กลุ่มบีอีซี บริษัทแม่ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 มอบหมายให้บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด บริษัทลูกอีกแห่งหนึ่ง เข้าประมูลช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ทั้งสามประเภทคือ รายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง (HD - High Definition), รายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ (SD - Standard Definition), รายการเด็กและครอบครัว (Family)

วันที่ 27 มกราคม 2557 กสทช.ประกาศหมายเลขช่อง ที่แต่ละบริษัทซึ่งผ่านการประมูลเลือกไว้ในการประชุมร่วมกัน โดยในส่วนของ บีอีซี-มัลติมีเดีย ผลปรากฏว่า รายการเด็กและครอบครัว (Family) ได้หมายเลข 13 , รายการทั่วไป ภาพคมชัดปกติ (SD) ได้หมายเลข 28 และรายการทั่วไป ภาพคมชัดสูง (HD) ได้หมายเลข 33

วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2557 ซึ่ง กสทช.กำหนดเป็นวันเริ่มต้น ออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ บีอีซี-มัลติมีเดีย ก็เริ่มออกอากาศรายการต่าง ๆ ตามผังที่กำหนดของแต่ละช่องทั้ง 3 ช่อง ระหว่างเวลา 16:00 - 00:00 น. ของทุกวัน เนื่องจากผู้รับสัมปทานช่องสัญญาณที่ 3 ของโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม ในชื่อไทยทีวีสีช่อง 3 คือ บจก.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ เป็นคนละนิติบุคคลกับ ผู้รับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ทั้ง 3 ช่องของโทรทัศน์ระบบดิจิทัล คือ บจก.บีอีซี-มัลติมีเดีย จึงไม่สามารถนำรายการทั้งหมด จากช่องโทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิม มาออกอากาศคู่ขนานทางช่องโทรทัศน์ระบบดิจิทัลทั้ง 3 ดังที่ดำเนินการมาในระยะทดสอบสัญญาณได้

วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557 กสทช.ลงมติเพิกถอนโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก ยุติการออกอากาศผ่านระบบโทรทัศน์ดาวเทียม และเครือข่ายโทรทัศน์ทางสายเคเบิล ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 อาศัยความในประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 27 ประกอบกับ ความในสัญญาสัมปทานโทรทัศน์ระบบแอนะล็อก ซึ่งทำไว้กับ อ.ส.ม.ท. จนถึงปี พ.ศ. 2563 ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยให้ กสทช. กับผู้บริหารไทยทีวีสีช่อง 3 เปิดการเจรจาเข้าไกล่เกลี่ยกันเพื่อรักษาสิทธิในการออกอากาศต่อไปตามเดิม โดยนำสัญญาณภาพและเสียงทั้งหมดของสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในระบบแอนะล็อก ไปออกอากาศด้วยระบบภาพคมชัดสูง (HD) ทางช่องหมายเลข 33 ของตนในระบบดิจิทัล ภายในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557

อย่างไรก็ตาม ต่อมาบริษัทได้ทำการยื่นความประสงค์ขอคืนใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล เมื่อ กสทช. ได้ออกระเบียบให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นคืนใบอนุญาตได้ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จากการที่ตลาดตลาดของโฆษณาไม่ได้เติบโตอย่างที่คาด ทำให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลหลายรายประสบภาวะการขาดทุนอยย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทได้ยื่นคืนช่อง 13 และช่อง 28 และหยุดออกอากาศเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 ทำให้ยังคงเหลือการออกอากาศที่ช่อง 3 และช่อง 33 ต่อไป

ตลอดเวลา 50 ปี แห่งความเป็นผู้นำของช่อง 3 จะเห็นว่าได้มีการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ช่อง 3 ใช้เทคโนโลยีนำหน้าในการเพิ่มคุณภาพของรายการ เพื่อตอบสนองและมอบความพึงพอใจให้แก่ผู้ชมที่ติดตามผลงานของช่อง 3 ตลอดมา การดำเนินการทางด้านเทคโนโลยีทั้งหมดเป็นไปตามสัญญาร่วมดำเนินกิจการฯ กับ อ.ส.ม.ท. โดยช่อง 3 ได้ดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในส่วนที่ใช้งานด้วยตัวเอง รวมทั้งได้ดำเนินการซ่อมแซมเปลี่ยนชิ้นส่วนตามอายุ และจัดหาอุปกรณ์ที่ทันสมัยมาทดแทนให้อยู่ในสภาพปฏิบัติงานได้ดีตลอดเวลา

ปัจจุบันสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 มีรูปแบบการบริหารองค์กร โดยแบ่งหน่วยงานย่อยออกเป็น 18 ฝ่าย ประกอบด้วย ฝ่ายบริหาร, ฝ่ายผลิตรายการ, ฝ่ายข่าว, ฝ่ายรายการ, ฝ่ายออกอากาศ, ฝ่ายศิลปกรรม, ฝ่ายวิศวกรรม, ฝ่ายเทคนิคโทรทัศน์, ฝ่ายแผนงานวิศวกรรม, ฝ่ายไฟฟ้ากำลัง, ฝ่ายสถานีวิทยุกระจายเสียง (เอฟ.เอ็ม.105.5 เมกะเฮิร์ตซ์), ฝ่ายธุรการ, ฝ่ายบุคคล, ฝ่ายบัญชี, ฝ่ายการเงิน, ฝ่ายโฆษณา, ฝ่ายการตลาด และฝ่ายประชาสัมพันธ์

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ได้พยายามทำทุกวิถีทางที่จะผลิตสร้างสรรค์และแสวงหารายการให้สอดคล้องกับรสนิยมอันหลากหลายของผู้ชมมานำเสนอ ทั้งนี้เพื่อจะนำความสุขความสำราญให้กับผู้ชมทั้งหลายให้เพิ่มมากขึ้น และสิ่งที่ดำเนินการควบคู่กันมาก็คือการนำเสนอสาระ ความรู้ เพื่อเปิดโลกทัศน์อันกว้างไกล รวมถึงการสร้างรสนิยมใหม่ๆ ผ่านทางรายการต่างๆ ของสถานีฯ มาโดยตลอด และสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ก็จะยังคงเป็นปณิธานที่ทางสถานีฯ จะยึดมั่นและดำเนินการต่อไปในอนาคต ดังคำขวัญประจำสถานีที่ว่า "คุ้มค่าทุกนาที ดูทีวีสีช่อง 3"

ในช่วงปี พ.ศ. 2508-2509 ทางกรมประชาสัมพันธ์ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลญี่ปุ่น โดยการส่งคณะผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจและศึกษา เพื่อจัดตั้งเครือข่ายสถานีโทรทัศน์ทั่วประเทศ โดยได้ดำเนินการสำรวจและวางแผนจัดตั้งเครือข่ายโทรทัศน์ 2 เครือข่ายทั่วประเทศ และยังได้กำหนดรูปแบบของเครือข่าย ที่ตั้งสถานีส่งสัญญาณ ความสูงของเสาส่ง กำลังส่งออกอากาศ และคลื่นความถี่ที่ใช้งานให้กับกรมประชาสัมพันธ์อีกด้วย รวมทั้งกำหนดระบบแจกจ่ายสัญญาณจากศูนย์ควบคุมระบบโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์สู่สถานีเครือข่ายผ่านระบบไมโครเวฟภาคพื้นดิน ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างอาคารสถานีส่งตามแผนระยะแรกแล้ว เช่นที่สถานีโทรทัศน์ดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ดอยป๊กกะโล้ง อ.เด่นชัย จ.แพร่ เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังได้ของบประมาณเพื่อให้ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ) ขยายระบบไมโครเวฟในส่วนของช่องสัญญาณสำหรับกิจการโทรทัศน์ แต่เมื่อสถานีโทรทัศน์ในส่วนกลางของหน่วยงานอื่นได้ขยายการส่งสัญญาณไปยังส่วนภูมิภาคด้วยระบบดาวเทียม ทำให้การดำเนินการศูนย์ควบคุมระบบโทรทัศน์เดิมของกรมประชาสัมพันธ์ต้องหยุดชะงักไป เพราะโครงการดำเนินการอย่างล่าช้า จึงไม่สามารถดำเนินการจนครบถ้วนตามแผนได้

ในช่วงปีเดียวกันนั้น บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ได้ยื่นหนังสือเพื่อขอจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สีโดยร่วมทุนกับบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2510 หลังจากนั้นก็ได้ดำเนินการลงนามสัญญาร่วมดำเนินการกิจการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในนามของ “สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3” เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ปีถัดมา

โทรทัศน์สีแห่งแรกที่แพร่ภาพออกอากาศด้วยภาพสีคือช่องใด
โทรทัศน์สีแห่งแรกที่แพร่ภาพออกอากาศด้วยภาพสีคือช่องใด

ถัดมาอีก 1 ปี (พ.ศ. 2512) ช่อง 3 ก็ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ ณ บริเวณกิโลเมตรที่ 19 แขวงค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร และได้ก่อสร้างอาคารสถานี พร้อมดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์เครื่องส่งโทรทัศน์และเครื่องส่งวิทยุจนเสร็จสิ้น และดำเนินการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 เป็นวันแรก ด้วยเครื่องส่งโทรทัศน์กำลังส่ง 25 กิโลวัตต์ 2 เครื่องขนานกัน รวม 50 กิโลวัตต์ อัตราขยายของสายอากาศ 13 เท่า ซึ่งมีกำลังส่งออกอากาศที่ปลายเสา 650 กิโลวัตต์ ที่ความถี่ช่อง 3 ระบบ VHF ความถี่ 54-61 MHz ตามมาตรฐาน CCIR PAL-B 625 เส้น จากเสาอากาศสูง 250 เมตร จากพื้นดินซึ่งเป็นเสาอากาศที่สูงที่สุดในประเทศไทย

บนเสาส่งต้นเดียวกันนี่เอง บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ก็ได้ติดตั้งสายอากาศ VHF ช่อง 9 ความถี่ 202-209 MHz มาตรฐาน CCIR PAL-B 625 เส้น นำมาทดแทนการส่งไทยทีวีช่อง 4 ระบบเดิม (525 เส้น) ด้วยขนาดเครื่องส่ง 20 กิโลวัตต์ มีกำลังส่งที่ปลายเสา 240 กิโลวัตต์ และดำเนินการออกอากาศปลายปี พ.ศ. 2513 ในช่วงของการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี ค.ศ. 1970 ซึ่งในช่วงแรกของการออกอากาศโทรทัศน์สีช่อง 9 นั้นจะทดลองออกอากาศโทรทัศน์สีเป็นบางรายการ เช่น รายการภาพยนตร์ต่างประเทศ ทำให้รายการในช่อง 9 จะแตกต่างจากช่อง 4 พอสมควร

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2515 ช่อง 4 และช่อง 9 จึงได้ออกอากาศรายการเดียวกันแบบคู่ขนานกัน โดยใช้สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 เป็นสถานีหลักในการออกอากาศ ซึ่งจนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2517 บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด จึงได้ยุติการออกอากาศในระบบ 525 เส้น ทางไทยทีวี ช่อง 4 โดยทำการย้ายห้องส่งโทรทัศน์ไปที่ถนนพระสุเมรุ แขวงบางลำพู ถัดมาในปี พ.ศ. 2518 ก็ได้เปลี่ยนระบบการออกอากาศจากภาพขาว-ดำ เป็นภาพสี ตามมาตรฐาน CCIR PAL-B 625 เส้น ทางช่อง 9 โดยสมบูรณ์

กลับมาที่กรมประชาสัมพันธ์ ในปี พ.ศ. 2514 กรมประชาสัมพันธ์ได้พิจารณาว่า จังหวัดภูเก็ต มีชุมชนหนาแน่น เศรษฐกิจมั่นคง แต่กิจการด้านโทรทัศน์ ไม่สามารถรับฟังและรับชมจากที่ใดได้เลย กองประชาสัมพันธ์เขต จ.สุราษฎร์ธานี จึงได้จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงในจังหวัดภูเก็ตขึ้นมาก่อน ถัดมาอีก 1 ปี จึงได้จัดตั้งสถานีโทรทัศน์ขึ้น โดยเริ่มทดลองออกอากาศครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2515 โดยใช้เครื่องส่งซึ่งเจ้าหน้าที่เทคนิคของกรมประชาสัมพันธ์สร้างขึ้นในระบบ 525 เส้น กำลังส่ง 100 วัตต์ ออกอากาศด้วยความถี่ทางช่อง 11 ใช้อาคารห้องส่งและเครื่องส่งชั่วคราว ร่วมกับสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย บนเขารัง จ.ภูเก็ต และพัฒนาเป็นระบบ 625 เส้น เพิ่มกำลังส่ง เปลี่ยนความถี่เป็นช่อง 9 

ในส่วนของสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ความถี่ 174-180 MHz ระบบ 525 เส้น ขาว-ดำ ได้พัฒนาระบบการออกอากาศเป็นโทรทัศน์สีตามมาตรฐาน CCIR PAL-B 625 เส้น และแปลงเป็นสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 ระบบ VHF ความถี่ 174-781 MHz ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2517 หลังจากนั้นก็ได้ดำเนินการเริ่มติดตั้งสถานีเครือข่ายด้วยการถ่ายทอดสัญญาณจากสถานีส่งสนามเป้าผ่านระบบไมโครเวฟ ขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ไปยังสถานีเครือข่ายที่ เขากบ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ และสถานีเครือข่าย เขายายเที่ยง อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา นับได้ว่านี่คือการเริ่มต้นขยายการออกอากาศไปยังสถานีเครือข่ายเพื่อถ่ายทอดโทรทัศน์สู่ภูมิภาค

โทรทัศน์สีแห่งแรกที่แพร่ภาพออกอากาศด้วยภาพสีคือช่องใด
โทรทัศน์สีแห่งแรกที่แพร่ภาพออกอากาศด้วยภาพสีคือช่องใด
ภาพจาก อสมท

หลังจากนั้นคณะรัฐมนตรี ก็ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 ให้ยุบเลิกกิจการบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด และมีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2520 เพื่อรับโอนกิจการบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด ทั้งในส่วนของงานกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ โดยแปรเปลี่ยนเป็น สถานีวิทยุกระจายเสียง อ.ส.ม.ท. และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท.

ต่อมาสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ได้ย้ายจากเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร มาตั้งอยู่บนอาคารใบหยก 2 โดยใช้สายอากาศร่วมกับสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2547

อ้างอิง – หนังสือ “จดหมายเหตุ 60 ปี โทรทัศน์ไทย” : วิวัฒนาการเทคโนโลยีโทรทัศน์ไทย

โทรทัศน์สีแห่งแรกที่แพร่ภาพออกอากาศด้วยภาพสีคือช่องใด
โทรทัศน์สีแห่งแรกที่แพร่ภาพออกอากาศด้วยภาพสีคือช่องใด

กฤตนัน ดิษฐบรรจง

ชอบดูทีวี สนใจเรื่องราวของสื่อสารมวลชน โดยเฉพาะสื่อทีวีและวิทยุ ชอบเขียนบทความ เป็นเด็กค่าย #YWC16

525 เส้น 625 เส้น CCIR PAL-B ch3thailand VHF กรมประชาสัมพันธ์ ช่อง 3 ช่อง 3 กด 33 ช่อง 4 บางขุนพรหม ช่อง 9 ญี่ปุ่น ดอยสุเทพ บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ประวัติ ประวัติศาสตร์ ภูเก็ต สถานีโทรทัศน์ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย โทรทัศน์ ไทยทีวีสีช่อง 3 ไทยโทรทัศน์