ประเภทของวงจรไฟฟ้า มีกี่ประเภท

ประเภทของวงจรไฟฟ้า มีกี่ประเภท

การป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าจากการสัมผัสโดยตรง

กุมภาพันธ์ 19, 2019

ประเภทของวงจรไฟฟ้า มีกี่ประเภท

ข้อดี ของการปรับปรุง ค่า Power Factor

มีนาคม 1, 2019

: 20,418

ไฟฟ้ามีแหล่งกำเนิดทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น  ประกอบด้วย 2 ตอน คือ

ตอนที่ 1 ประเภทของไฟฟ้า แบ่งประเภทของไฟฟ้าเป็น 2 ประเภท คือ
1. ไฟฟ้าสถิต
ไฟฟ้าสถิต คือ ปริมาณประจุไฟฟ้าบวกและลบที่ค้างอยู่บนพื้นผิววัสดุไม่เท่ากันและไม่สามารถที่จะไหลหรือถ่ายเทไปที่อื่น ๆ ได้ เนื่องจากวัสดุนั้นเป็นฉนวนหรือเป็นวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้าจะแสดงปรากฏการณ์ในรูปการดึงดูด การผลักกันหรือเกิดประกายไฟ ซึ่งปรากฏการณ์การเกิดไฟฟ้าสถิตในธรรมชาติ เช่น ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เป็นต้น
2. ไฟฟ้ากระแส
ไฟฟ้ากระแส คือ การไหลของอิเล็กตรอนภายในตัวนำไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
เช่น ไหลจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าไปสู่แหล่งที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งก่อให้เกิดแสงสว่างเมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดความต้านทานสูงจะก่อให้เกิดความร้อน เราใช้หลักการเกิดความร้อน มาประดิษฐ์อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น เตาหุงต้ม เตารีดไฟฟ้า เป็นต้น ไฟฟ้ากระแส แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
2.1 ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current หรือ DC) ไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลไปทางเดียวตลอดระยะเวลาที่วงจรไฟฟ้าปิด กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วบวกภายในแหล่งกำเนิดผ่านตัวต้านทานหรือโหลดผ่าน ตัวนำไฟฟ้าแล้วย้อนกลับเข้าแหล่งกำเนิดที่ขั้วลบเป็นทางเดียวเช่นนี้ตลอดเวลา เช่น ถ่านไฟฉาย ไดนาโม เป็นต้น
2.2 ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current หรือ AC)ไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้าที่มีการไหลกลับไปกลับมา ทั้งขนาดของกระแสและแรงดันไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ คือ กระแสจะไหลไปทางหนึ่งก่อน ต่อมาก็จะไหลสวนกลับแล้วก็เริ่มไหลเหมือนครั้งแรก การที่กระแสไฟฟ้าไหลไปตามลูกศรเส้นทึบด้านบนครั้งหนึ่งและไหลไปตามลูกศรเส้นประด้านล่างอีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า 1 รอบความถี่ หมายถึง จำนวนลูกคลื่นไฟฟ้ากระแสสลับที่เปลี่ยนแปลงใน 1 วินาทีไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้ในประเทศไทยมีความถี่ 50 เฮิรตซ์ ซึ่งหมายถึง จำนวนลูกคลื่นไฟฟ้าสลับที่เปลี่ยนแปลง 50 รอบ ในเวลา 1 วินาที

ตอนที่ 2 การกำเนิดของไฟฟ้า
แหล่งกำเนิดไฟฟ้าในโลกนี้มีหลายอย่าง ทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติ เช่น ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า เป็นต้น และมนุษย์ได้ค้นพบการกำเนิดไฟฟ้าที่สำคัญ มีดังนี้
1. ไฟฟ้าที่เกิดจากการเสียดสีของวัตถุ เป็นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการนำวัตถุต่างกัน 2 ชนิดมาขัดสีกัน เช่น แผ่นพลาสติกกับผ้า หวีกับผม เป็นต้น
2. ไฟฟ้าที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาทางเคมี โดยการนำโลหะ 2 ชนิดที่แตกต่างกันตัวอย่าง สังกะสีกับทองแดงจุ่มลงในสารละลาย โลหะทั้งสองจะทำปฏิกิริยาเคมีกับสารละลายทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่ ถ่านอัลคาไลน์ (ถ่านไฟฉาย) เป็นต้น
3. ไฟฟ้าที่เกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเราสามารถสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เช่น นาฬิกาข้อมือ เครื่องคิดเลข เป็นต้น
4. ไฟฟ้าที่เกิดจากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่ได้มาจากพลังงานแม่เหล็กโดยวิธีการใช้ลวดตัวนำไฟฟ้าตัดผ่านสนามแม่เหล็ก หรือการนำสนามแม่เหล็กวิ่งตัดผ่านลวดตัวนำอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งสองวิธีนี้จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในลวดตัวนำนั้น กระแสที่ผลิตได้มีทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ

Cr.เขียนโดย 

ลักษณะวงจรไฟฟ้า กับวิชาไฟฟ้าเบื้องต้น

ประเภทของวงจรไฟฟ้า มีกี่ประเภท

วงจรไฟฟ้า หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลมาจากแหล่งกำเนิดผ่านตัวนำ และเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลด แล้วไหลกลับไปยังแหล่งกำเนิดเดิม
จากปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะพบว่ามีสาเหตุมาจากการไหลของไฟฟ้า สายไฟทั่วไปทำด้วยลวดตัวนำ คือ โลหะทองแดงและอะลูมิเนียม อะตอมของโลหะมีอิเล็กตรอนอิสระ ไม่ยึดแน่นกับอะตอม จึงเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ

ถ้ามีประจุลบเพิ่มขึ้นในสายไฟ อิเล็กตรอนอิสระ 1 ตัวจะถูกดึงเข้าหาประจุไฟฟ้าบวก แล้วรวมตัวกับประจุไฟฟ้าบวกเพื่อเป็นกลาง
ดังนั้น อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่ เมื่อเกิดสภาพขาดอิเล็กตรอนจึงจ่ายประจุไฟฟ้าลบออกไปแทนที่ ทำให้เกิดการไหลของอิเล็กตรอนในสายไฟจนกว่าประจุไฟฟ้าบวกจะถูกทำให้เป็นกลางหมด การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือการไหลของอิเล็กตรอนในสายไฟนี้เรียกว่า กระแสไฟฟ้า (Electric Current)

สำหรับในตัวนำที่เป็นของแข็ง กระแสไฟฟ้าเกิดจากการไหลของอิเล็กตรอน โดยอิเล็กตรอนจะไหลจากขั้วลบไปหาขั้วบวกเสมอ ในตัวนำที่เป็นของเหลวและก๊าซ กระแสไฟฟ้าเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนกับโปรตอน โดยจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วไฟฟ้าที่มีประจุตรงข้าม ถ้าจะเรียกว่า กระแสไฟฟ้าคือการไหลของอิเล็กตรอนก็ได้ แต่ทิศทางของกระแสไฟฟ้าจะตรงข้ามกับการไหลของอิเล็กตรอน

ประเภทของวงจรไฟฟ้า มีกี่ประเภท

การต่อวงจรไฟฟ้า ทั้งกระแสตรง และ กระแสสลับ มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ ดังนี้
1. แบบอนุกรม ( Series Circuit )
เป็นการนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดหลายๆ อันมาต่อเรียงกันไปเหมือนลูกโซ่ กล่าวคือ ปลายของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 นำไปต่อกับต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 และต่อเรียงกันไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วนำไปต่อเข้ากับแหล่งกำเนิด
การต่อวงจรแบบอนุกรมจะมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าได้ทางเดียวเท่านั้น ถ้าเกิดเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งเปิดวงจรหรือขาด จะทำให้วงจรทั้งหมดไม่ทำงาน
คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรอนุกรม
1.1 กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเท่ากันและมีทิศทางเดียวกันตลอดทั้งวงจร
1.2 ความต้านทานรวมของวงจรจะมีค่าเท่ากับผลรวมของความต้านทานแต่ละตัวในวงจรรวมกัน
1.3 แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด

2. แบบขนาน  ( Parallel Circuit )
เป็นการนำเอาต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆ ตัวมาต่อรวมกัน และต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดที่จุดหนึ่ง นำปลายสายของทุกๆ ตัวมาต่อรวมกันและนำไปต่อกับแหล่งกำเนิดอีกจุดหนึ่งที่เหลือ
ซึ่งเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอันต่อเรียบร้อยแล้วจะกลายเป็นวงจรย่อย กระแสไฟฟ้าที่ไหลจะสามารถไหลได้หลายทางขึ้นอยู่กับตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาต่อขนานกัน ถ้าเกิดในวงจรมีเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวหนึ่งขาดหรือเปิดวงจร
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสามารถทำงานได้ ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยปัจจุบันจะเป็นการต่อวงจรแบบนี้ทั้งสิ้น

คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรขนาน
2.1 กระแสไฟฟ้ารวมของวงจรขนาน จะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าย่อยที่ไหลในแต่ละสาขาของวงจรรวมกัน
2.2 แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร จะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด
2.3 ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าน้อยกว่าความต้านทานตัวที่น้อยที่สุดที่ต่ออยู่ในวงจร

3. แบบผสม  ( Compound Circuit )
การต่อวงจรทั้งแบบอนกรมและแบบขนานเข้าไปในวงจรเดียว การต่อแบบนี้ โดยทั่วไปไม่นิยมใช้กัน เพราะเกิดควา มยุ่งยาก จะใช้กันแต่ในทางด้านอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ตัวต้านทานตัวหนึ่งต่ออนุกรมกับตัวต้านทานอีกตัวหนึ่ง แล้วนำตัวต้านทานทั้งสองไปต่อตัวต้านทานอีกชุดหนึ่ง

จะสังเกตเห็นได้ว่าการต่อวงจรแบบผสมนี้เป็นการนำเอาวงจรอนุกรมกับขนานมารวมกัน และสามารถประยุกต์เป็นรูปแบบอื่นๆได้ ข้นอยู่กับการนำไปใช้ให้เหมาะสม เพราะการต่อแบบผสมนี้ไม่ม่ กฏเกณฑ์ตายตัว เป็นการต่อเพื่อนำค่าที่ได้ไปใช้กับงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ในวงจรอิเล็กทรอิกส์ เป็นต้น

ประเภทของวงจรไฟฟ้า มีกี่ประเภท

ลักษณะการต่อวงจร
1. การต่อวงจรไฟฟ้าแบบอนุกรม คือ การนำขั้วของอุปกรณ์มาต่อเรียงกัน เหมือนการต่อโบกิ้ หรือตู้รถไฟ
2. การต่อวงจรไฟฟ้าแบบขนาน คือ การนำขั้วของอุปกรณ์ทั้งหมด ที่เป็นขั้วด้านเดียวกันมาต่อรวมกัน
3. การต่อวงจรไฟฟ้าแบบผสม คือ การต่อวงจรทั้งสองแบบรวมเข้าด้วยกัน การต่อแบบนี้ต้องมีความระมัดระวัง และเลือกใช้ให้ถูกกับลักษณะงาน

ประเภทของวงจรไฟฟ้า มีกี่ประเภท

การต่อวงจรแบบอนุกรม

ประเภทของวงจรไฟฟ้า มีกี่ประเภท

การต่อวงจรแบบขนาน

คุณลักษณะ

แบบอนุกรม

แบบขนาน

ความสว่างรวม ( วัตต์ )

ปริมาณกระแสไฟฟ้า

สว่างน้อย

 กระแสเท่าหลอดเล็กที่สุด

สว่างมาก

เท่ากับทุกหลอดรวมกัน

กรณีหลอดขาด

ถ้าติดตั้งสวิทช์

หลอดดับทั้งสาย

ต้อง เปิด/ปิด พร้อมกัน

ดับเฉพาะหลอดที่ขาด

แยกสวิทช์ เปิด/ปิด ได้

 


ติดตาม Eurovent Blower

Eurovent Blower มี LINE OFFICIAL ACCOUNT แล้วนะ
ติดตามเรื่องราวดีๆแบบอินเทรนด์ ได้ทุกวันผ่าน
 LINE ID @euroventblower

ประเภทของวงจรไฟฟ้า มีกี่ประเภท

ประเภทของวงจรไฟฟ้า มีกี่ประเภท


พัดลมระบายอากาศ กับประเภทการใช้งาน
* พัดลมฟาร์มระบายอากาศ สำหรับฟาร์มสัตว์เลี้ยง เช่น ระบายอากาศในฟาร์มหมู ฟาร์มไก่ ฟาร์มวัว ฟาร์มโคนม ฟาร์มแกะ ฟาร์มแพะ ฟาร์มสุนัข ฟาร์มแมว
* พัดลมฟาร์มระบายอากาศ สำหรับฟาร์มสวน ระบายอากาศในโรงเรือน ระบายอากาศในโรงเรือนกระจก ระบายอากาศในสวนผัก ระบายอากาศในสวนดอกไม้ ระบายอากาศในสวนสัตว์
* พัดลมฟาร์มระบายอากาศ สำหรับใช้ในอาคาร เช่น ระบายอากาศในโรงจอดรถ ระบายอากาศในโกดัง คลังสินค้า ระบายอากาศในพื้นที่ไลน์ผลิต ระบายอากาศในพื้นที่อับร้อน ระบายอากาศในโรงอาหาร โรงยิม โรงยิม
* พัดลมฟาร์มระบายอากาศ สำหรับใช้ในร้านอาหาร รีสอร์ท ตลาดนัด
* พัดลมฟาร์มระบายอากาศ สำหรับใช้ในลานกว้างในพื้นที่ที่ต้องการการระบายอากาศ
* พัดลมระบายอากาศแบบมีขาตั้ง และพัดลมระบายอากาศแบบมีล้อ สำหรับใช้ในอาคารที่พัก/ลานกว้าง สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น สนามฟุตบอล สนามกีฬา
พัดลมอุตสาหกรรม สำหรับระบายอากาศ
* พัดลมอุตสาหกรรมแรงดันสูง * พัดลมอุตสาหกรรมแรงดันต่ำ * พัดลมอุตสาหกรรมแรงดันปานกลาง * พัดลมอุตสาหกรรมไอน้ำ * พัดลมอุตสาหกรรมไอน้ำเป่าหมอก * พัดลมอุตสาหกรรมไอน้ำเป่าฝุ่น * พัดลมอุตสาหกรรมเป่ากองข้าวเปลือก

* พัดลมอุตสาหกรรมระบายอากาศแบบติดหลังคา กันฝน * พัดลมอุตสาหกรรมระบายอากาศแบบติดผนัง * พัดลมอุตสาหกรรมระบายอากาศแบบติดเพดาน * พัดลมอุตสาหกรรมระบายอากาศแบบมีขาตั้ง * พัดลมอุตสาหกรรมระบายอากาศแบบท่อ * พัดลมอุตสาหกรรมระบายอากาสแบบต่อตรง * พัดลมอุตสาหกรรมระบายอากาศแบบทดสายพาน * พัดลมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ * พัดลมอุตสาหกรรมระบายอกาศสำหรับใช้ในพื้นที่ลานกว้าง
พัดลมโบลเวอร์ กับประเภทการใช้งาน
* พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงาน ปูนขาว /ปูนซีเมนต์ - ระบบจ่ายอากาศในเตาเผา
* พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงาน ปิโตรเคมี - ระบบทำความเย็น
* พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงาน ประกอบรถยนต์ - ระบบเป่าแห้ง
* พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงาน กระดาษ /กล่องกระดาษ - ระบบดุดฝุ่น
พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงาน บรรจุกระป๋อง - ระบบลำเลียงด้วยลม
* พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงาน เหล็ก - ระบบดูดไอน้ำมัน
* พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงาน น้ำตาล - ระบบหม้อไอน้ำบอยเลอร์
* พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงาน สีข้าว - ระบบอบแห้ง
* พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงาน แป้ง - ระบบบำบัดกลิ่น
* พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงาน บำบัดน้ำเสีย - ระบบหมุนเวียนลมร้อน
* พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงาน ปาล์ม - ระบบบำบัดน้ำเสีย
* พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงาน ยาง - ระบบบรรจุ
* พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงไฟฟ้า - ระบบ HVAC
* พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงาน เฟอร์นิเจอร์ * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงานอาหารสัตว์ * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงานอาหารสำเร็จรูป * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงานแช่แข็ง * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงานกระจก * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงานยา * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงานเคมีภัณฑ์ * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงานแพคเกจจิ้ง
พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในประเภท งานดูด
* พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานดูดฝุ่น * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานดูดแกลบ * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานดูดขี้เลื้อย/เศษไม้ * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานดูดลมแห้ง/ลมเปียก * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานดูดไอน้ำ/น้ำมัน * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานดูดกลิ่น * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานดูดควัน * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานดูดเม็ดพลาสติก

พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในประเภท งานเป่า
* พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานเป่าฝุ่น * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานเป่าแกลบ * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานเป่าขี้เลื้อย/เศษไม้ * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานเป่าลมแห้ง/ลมเปียก * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานเป่าไอน้ำ/น้ำมัน * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานเป่ากลิ่น * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานเป่าควัน * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานเป่าเม็ดพลาสติก * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานเป่ากองข้าวเปลือก * พัดลมโบลเวอร์ สำหรับใช้ในงานเป่าไซโล
* พัดลมโบลเวอร์สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ * พัดลมโบลเวอร์แรงดันสูง * พัดลมโบลเวอร์แรงดันปานกลาง * พัดลมโบลเวอร์แรงดันต่ำ * พัดลมโบลเวอร์สำหรับงานลำเลียง * พัดลมโบลเวอร์อลูมิเนียม * พัดลมโบลเวอร์อลูมิเนียมแรงดันสูง * พัดลมโบลเวอร์อลูมิเนียมแรงดันปานกลาง * พัดลมโบลเวอร์อลูมิเนียมสำหรับงานก๊าซชีวภาพ * พัดลมโบลเวอร์เคลือบไฟเบอร์ * พัดลมโบลเวอร์วัสดุทนสารเคมี * พัดลมโบลเวอร์สั่งทำเป็นพิเศษ
พัดลมโบลเวอร์ กับประเภทใบพัด
* พัดลมโบลเวอร์ใบพัดเหล็ก * พัดลมโบลเวอร์ใบพัดสแตนเลส สตีล 304, 316 * พัดลมโบลเวอร์ใบพัดแบบหมุนเหวี่ยงชนิดโค้งไปข้างหน้า * พัดลมโบลเวอร์ใบพัดแบบหมุนเหวี่ยงชนิดใบพัดโค้งไปข้างหลัง * พัดลมโบลเวอร์ใบพัดแบบหมุนเหวี่ยงชนิดใบพัดตรง * พัดลมโบลเวอร์ใบพัดแบบไฟลตามแนวแกน
* พัดลมโบลเวอร์ใบพัดอลูมิเนียม เช่น ใบพัดแบบเปิด ใบพัดแบบปิด
* พัดลมโบลเวอร์ใบพัดพลาสติก Polypropylene glass * พัดลมโบลเวอร์ใบพัดพลาสติก Polymide glass
* พัดลมโบลเวอร์ใบพัดปรับมุม สำหรับงานทนความร้อนได้ถึง 80องศาเซลเซียส * * พัดลมโบลเวอร์ใบพัดปรับมุม สำหรับงานทนความร้อนได้ถึง 120องศาเซลเซียส * พัดลมโบลเวอร์ใบพัดปรับมุม สำหรับรถตัดอ้อย
พัดลมโบลเวอร์แรงดันสูง Vacuum blower Norvax
* ริงโบลเวอร์ สำหรับฟาร์มสัตว์น้ำ เช่น ฟาร์มกุ้ง ฟาร์มปลา * ริงโบลเวอร์ สำหรับใช้ในโรงงานผลิตยา
* รูทโบลเวอร์ สำหรับฟาร์มสัตว์น้ำ เช่น ฟาร์มกุ้ง ฟาร์มปลา * รูทโบลเวอร์สำหรับบำบัดน้ำเสีย * รูทโบลเวอร์สำหรับงานก๊าซชีวภาพ

วงจรไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คืออะไร

ไฟฟ้ากระแส (Current Electricity) คือแหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่มนุษย์สามารถผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานด้านต่างๆได้อย่างมากมายโดยการส่งกระแสไฟฟ้าให้เคลื่อน ที่ ไปในลวดตัวนำ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือไฟฟ้ากระแสตรง( Direct Current) ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternation Current)

วงจรไฟฟ้า คือ อะไร ป. 6

วงจรไฟฟ้า คือ เส้นทางที่ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปตามตัวนำไฟฟ้าได้ครบรอบ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ วงจรปิด หมายถึง วงจรที่มีการไหลของกระแสไฟฟ้าได้ครบวงจร ซึ่งเป็นวงจรที่เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานได้ตามปกติ และวงจรเปิด หมายถึง วงจรไฟฟ้าที่ขาดจากกันด้วยวิธีต่างๆ ทำให้กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านไปได้อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าจะไม่ ...

ต่ออนุกรมอะไรเท่ากัน

กระแสไฟฟ้าภายในวงจรอนุกรมจะมีค่าเท่ากันทุกๆจุด ค่าความต้านทานรวมของวงจรอนุกรมนั้นคือการนำเอาค่าความต้านทานทั้งหมดนำมารวมกัน ส่วนแรงดันไฟฟ้าในวงจรอนุกรมนั้นแรงดันจะปรากฎคร่อมตัวต้านทานทุกตัวที่จะมีกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านซึ่งแรงดันไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะมีค่าไม่เท่ากันโดยสามารถคำนวนหาได้จากกฎของโอห์ม

การต่อวงจรไฟฟ้ามากกว่า1ดวงมีกี่แบบ

วิทยาศาสตร์ ป.6 การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน หากเราสังเกตการต่อวงจรไฟฟ้าจะพบว่า บางครั้งมีการต่อหลอดไฟฟ้ามากกว่า 1 ดวง เช่น ไฟประดับต้นไม้ ไฟประดับอาคาร ซึ่งการต่อวงจรไฟฟ้าที่มีหลอดไฟฟ้ามากกว่า 1 ดวง มี 2 แบบ คือ การต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรม และการต่อหลอดไฟฟ้าแบบขนาน