การออกกำลังกายแบบใดที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุมากที่สุด

การมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ควรดูแลตั้งแต่เริ่มต้นและทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากเจ็บป่วยไปแล้วเพิ่งหันมาดูแล ร่างกายอาจไม่ดีเหมือนเดิม ไม่ว่าวัยไหน เราก็ต้องดูแลตัวเองดีให้อยู่เสมอ ทั้งเรื่องอาหารการกินและการออกกำลังกาย พร้อมเสริมความมั่นใจด้วยการซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่ตอนที่สุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย เพื่อจะได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่ เพราะประกันสุขภาพไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนซื้อ เราจึงต้องเตรียมตัวไว้ตั้งแต่แรก

พลัสความคุ้มครองสุขภาพอย่างเหนือระดับ เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่าย เลือกเมืองไทยประกันชีวิต Elite Health Plus เหมาจ่ายตามจริง 20 - 100 ล้านบาทต่อปี +เข้ารักษาได้ทุก รพ. ทั่วไทยหรือทั่วทุกมุมโลก(1) คุ้มครองทั้งโรคอุบัติใหม่ โรคระบาด โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ สมัครได้ถึงอายุ 90 ปี ดูแลสุขภาพยาว ๆ ถึงอายุ 99 ปี คุ้มครองครบทั้ง IPD และ OPD(2) เบี้ยวันละไม่ถึง 83 บาท(3)

✔ คุ้มครองค่าห้องเดี่ยวมาตรฐาน แบบเหมาจ่ายตามจริง หรือ ห้องเดี่ยวพิเศษก็คุ้มครอง 10,000 - 25,000 บาทต่อวัน

✔ คุ้มครองค่าห้อง ICU แบบจ่ายตามจริง รวมสูงสุด 365 วัน

✔ ครอบคลุมการรักษาโรคมะเร็ง ทั้งแบบเคมีบำบัดและแบบออกฤทธิ์จำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy) การวินิจฉัยแบบ MRI และการฟอกไตโดยไม่ต้องแอดมิท

✔ เข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาล

✔ เลือกซื้อเพิ่มได้ ความคุ้มครองคลอดบุตร หรือ แพ็กตรวจสุขภาพประจำปี ทันตกรรม ฉีดวัคซีน และค่ารักษาทางสายตา ได้ตามใจ

ซื้อวันนี้! ผ่อนค่าเบี้ยสบาย ๆ 0% สูงสุด 6 เดือน หรือรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13%

กับบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ

รายละเอียดเพิ่มเติม

☑️ โทร.1766 ตลอด 24 ชั่วโมง

☑️ ติดต่อตัวแทนประกันชีวิต หรือ สาขา ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

(1) กรณีเลือกพื้นที่ความคุ้มครองทั่วโลก

(2) กรณีเลือกความคุ้มครองแผน 40, 75 หรือ 100 ล้านบาท

(3) สำหรับผู้เอาประกันภัยอายุ 35 ปี แผน 20 ล้านบาท พื้นที่ความคุ้มครองประเทศไทย และชำระเบี้ยประกันภัยรายปี

การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมจะส่งผลดีต่อสุขภาพของคนได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยให้มีสุขภาพที่ดี ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะหัวใจขาดเลือด ทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงแก่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และกระดูก ช่วยให้ต่อสู้กับโรคกระดูกพรุนและลดความเสี่ยงของการหกล้มหรือการเกิดอุบัติเหตุอื่น ๆ ได้

การออกกำลังกายแบบใดที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุมากที่สุด

นอกจากจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง แต่การออกกำลังกายยังส่งผลดีด้านอื่น ๆ ด้วย โดยผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายเป็นประจำนั้น อาจได้รับประโยชน์ต่อร่างกายในด้านต่าง ๆ เช่น

  • การทำงานของสมอง นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า เซลล์ประสาทซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิด การจำ และการเคลื่อนไหวร่างกาย มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นหลังออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเพียงไม่กี่วัน อีกทั้งยังพบว่าผู้สูงอายุที่มีร่างกายแข็งแรงมีคะแนนการทำแบบทดสอบสูงสุดทั้งด้านความจำ ด้านการประสานงาน รวมถึงการวางแผน นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่ชี้ให้เห็นว่าผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปที่เดินออกกำลังกายตั้งแต่สัปดาห์ละ 3 ครั้งขึ้นไป มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อมน้อยกว่าผู้ที่ออกกำลังกายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ถึง 35 เปอร์เซ็นต์
  • อารมณ์ มีงานค้นคว้าในผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นเพศชายประมาณ 14 เปอร์เซ็นต์ และเพศหญิงประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ที่มีอาการซึมเศร้า พบว่าการออกกำลังกายอาจช่วยให้อาการซึมเศร้าทุเลาลงได้ และอาจมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการใช้ยาต้านเศร้าหรือการบำบัดทางจิต แต่ขณะนี้ยังมีการศึกษาทดลองไม่เพียงพอที่จะยืนยันประโยชน์ของการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุในกลุ่มที่มีอายุมากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายก็ช่วยให้ผู้สูงอายุได้ออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ อีกทั้งยังส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ การสูบฉีดเลือด และการปลุกเซลล์สมอง ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้ที่ออกกำลังกายอารมณ์ดีขึ้นได้

การออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุ

การออกกำลังกายที่พอเหมาะหรืออย่างน้อยประมาณวันละ 30 นาทีเป็นประจำทุกวัน ทั้งการออกกำลังกายแบบแอโรบิค การออกกำลังกายเพื่อเสริมความยืดหยุ่น การออกกำลังกายเพื่อเสริมการทรงตัว และการออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยผู้สูงอายุที่ต้องการออกกำลังกายหรือผู้ที่ดูแลใกล้ชิดอยากให้บุคคลสูงวัยในครอบครัวได้ออกกำลังกาย สามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญได้ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และปลอดภัย

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค

เป็นการออกกำลังกายที่ไม่เข้มข้นมากและมีความต่อเนื่อง โดยอาศัยพลังงานจากออกซิเจนภายในร่างกาย ซึ่งสามารถแบ่งระดับและลักษณะกิจกรรมของการออกกำลังกายแบบนี้ได้ 2 ระดับ ดังนี้

  • ระดับปานกลาง คือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิคโดยใช้เวลา 5 วันต่อสัปดาห์ วันละ 30 นาที จนทำให้อัตราการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นจากปกติ เช่น การเดินเร็ว การเต้น การพาสุนัขไปเดินเล่น การทำสวน การทำความสะอาดบ้าน การต่อเติมหรือตกแต่งบ้าน การเล่นเกมหรือทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก ๆ รวมถึงการถือของหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม เป็นต้น
  • ระดับหนัก คือ การออกกำลังกายแบบแอโรบิคโดยใช้เวลา 3 วันต่อสัปดาห์ วันละ 20 นาที จนทำให้อัตราการหายใจและอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น การวิ่ง การเดินขึ้นเขา การปีนเขา การปั่นจักรยานเร็ว การเต้นแอโรบิค การว่ายน้ำ การแข่งขันกีฬาอย่างฟุตบอล วอลเลย์บอล หรือบาสเก็ตบอล การพรวนดินหรือขุดดินอย่างหนัก รวมถึงการถือของหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของที่มีน้ำหนักมากกว่า 20 กิโลกรัม เป็นต้น

การออกกำลังกายเพื่อเสริมความยืดหยุ่น

เป็นการออกกำลังกายที่ช่วยให้กระดูกข้อต่อเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่ ปรับลักษณะท่าทางของร่างกายให้ดีขึ้น ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บ เพิ่มการไหลเวียนเลือด ปรับการทรงตัวและการใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น ซึ่งความยืดหยุ่นมีความจำเป็นต่อการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายแบบยืดหยุ่นอย่างน้อยวันละ 10 นาที สัปดาห์ละ 2 วัน เพื่อยืดกล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ตามวิธีดังต่อไปนี้

  • ลำคอ ค่อย ๆ กดศีรษะลงให้คางใกล้กับหน้าอกมากที่สุด จากนั้นเงยหน้ากลับตำแหน่งปกติแล้วเอียงศีรษะไปทางใดทางหนึ่งทีละน้อยจนสุดและค้างไว้ประมาณ 10-30 วินาที เมื่อครบแล้วให้เอียงไปอีกข้างหนึ่ง ทำซ้ำจนครบ 3 รอบ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในท่านั่งและท่ายืน
  • ไหล่และแขนช่วงบน ใช้มือขวาจับปลายผ้าขนหนูชูขึ้นเหนือศีรษะ โดยทิ้งปลายผ้ามาด้านหลัง จากนั้นใช้มือซ้ายอ้อมหลังและจับที่ปลายผ้าขนหนูอีกด้านหนึ่ง แล้วค่อย ๆ ดึงลงจนรู้สึกได้ถึงความตึง ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง ข้างละเท่า ๆ กัน
  • หน้าอก กางแขนออกทั้ง 2 ข้างแล้วแบมือไปด้านหน้า จากนั้นดึงแขนไปด้านหลังจนรู้สึกถึงความตึงที่หน้าอกและแขน ส่วนผู้ที่ไม่สามารถทำท่าดังกล่าวได้ ให้ยืนหลังชิดกำแพงและกางแขนออก จากนั้นให้ก้าวเท้ามาข้างหน้า 1 ก้าว แล้วให้แขนยังคงแนบชิดติดกำแพงแทน
  • เอวหรือหลังส่วนล่าง นอนราบลงกับพื้น งอเข่าข้างขวาขึ้นโดยให้ฝ่าเท้าแนบกับพื้น จากนั้นค่อย ๆ บิดลำตัวไปด้านข้างแล้วค้างไว้สักพัก ทำซ้ำจนครบทั้ง 2 ข้างแล้วสลับเปลี่ยนเป็นเข่าข้างซ้าย
  • สะโพก นอนราบลงกับพื้น เหยียดขาตรงทั้ง 2 ข้าง จากนั้นให้นำเท้าข้างขวาพาดบริเวณหัวเข่าข้างซ้าย โดยให้หัวเข่าข้างขวาอ้าออกไปด้านข้างลำตัว ค่อย ๆ กดน้ำหนักลงที่หัวเข่าข้างขวาจนรู้สึกตึง แล้วทำสลับในท่าเดียวกันกับขาอีกข้าง
  • ต้นขา นอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง งอเข่าโดยให้เท้าอยู่บริเวณก้น จากนั้นใช้แขนดึงปลายเท้าจนรู้สึกตึง โดยทำสลับกันจนครบทั้ง 2 ข้าง สำหรับผู้ที่ดึงเท้าของตัวเองไม่ถึง สามารถใช้ผ้าขนหนูหรือเข็มขัดรัดที่ข้อเท้าแล้วดึงแทนได้
  • เอ็นร้อยหวาย นอนราบลงกับพื้น อ้าขาข้างใดข้างหนึ่งไปด้านข้าง จากนั้นใช้มือข้างนั้นดึงบริเวณต้นขาขึ้นมาให้ตั้งฉากกับลำตัวให้มากที่สุด โดยให้สะโพกและขาอีกข้างแนบชิดติดพื้น แล้วสลับทำให้ครบทั้ง 2 ข้าง
  • ข้อเท้า นั่งบนเก้าอี้ ยกเท้าข้างหนึ่งขึ้นเหนือพื้น จากนั้นกดส้นเท้าลงสลับกับเหยียดปลายเท้าไปด้านหน้า ทำสลับกับการบิดข้อเท้าไปด้านข้าง ทำค้างไว้ท่าละ 30 วินาที จนครบทั้ง 2 ข้าง

การออกกำลังกายเพื่อเสริมการทรงตัว

เป็นการออกกำลังกายเพื่อลดความเสี่ยงในการหกล้ม ซึ่งผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้ด้วยตนเอง หรืออาจมีคนประคองอยู่ด้านข้างเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ โดยผู้สูงอายุควรออกกำลังกายเพื่อเสริมการทรงตัวด้วยท่าต่าง ๆ เป็นประจำทุกวันเพื่อสุขภาพที่ดี ดังนี้

  • ท่าแปรงฟัน ยืนหันหน้าเข้าโต๊ะ ยกเท้าขวาขึ้นเล็กน้อย จากนั้นใช้มือขวาทำท่าแปรงฟันฝั่งซ้ายเป็นเวลา 30 วินาที แล้วสลับข้างโดยยกเท้าซ้ายขึ้น และใช้มือซ้ายทำท่าแปรงฟันฝั่งขวาเป็นเวลา 30 วินาทีเช่นกัน
  • ท่านาฬิกา ยืนตัวตรงให้เท้าทั้ง 2 ข้างชิดติดกัน มือแนบข้างลำตัว และไม่เกร็งหัวไหล่ ให้ความรู้สึกเหมือนตัวเป็นไม้กระดาน จากนั้นโน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย และโยกลำตัวช่วงบนให้เป็นรูปวงกลมเป็นเวลา 1 นาที
  • ท่ายกเข่า ยืนตรงอยู่ข้างโต๊ะหรือเก้าอี้ อาจใช้มือข้างหนึ่งจับที่โต๊ะหรือเก้าอี้ไว้ก็ได้ จากนั้นยกเข่าขึ้นให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้เป็นเวลา 1 นาที แล้วสลับทำให้ครบทั้ง 2 ข้าง
  • ท่าเดินเอียงคอ เริ่มจากมุมใดมุมหนึ่งของห้อง ให้เดินไปข้างหน้าช้า ๆ พร้อมกับเอียงคอไปทางขวาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้จนถึงมุมห้องอีกฝั่งหนึ่ง จากนั้นเดินกลับช้า ๆ พร้อมกับเอียงคอไปทางซ้าย
  • ท่าลุกนั่ง เริ่มจากนั่งบนเก้าอี้ที่ไม่มีที่วางแขน โดยใช้มือขวาวางบนไหล่ซ้าย มือซ้ายวางบนไหล่ขวา จากนั้นลุกขึ้นยืนโดยให้ศีรษะตั้งตรงและไม่เอนตัวไปด้านหน้า
  • ท่าเขย่งเท้า เริ่มจากยืนตรงแล้วค่อย ๆ เขย่งเท้าและเดินด้วยปลายเท้า จากนั้นจึงสลับเดินด้วยส้นเท้า ท่านี้อาจต้องมีคนช่วยประคองอยู่ด้านข้างด้วย เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุกับผู้สูงอายุ

การออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

เป็นการขยับร่างกายเพียงเล็กน้อยที่สามารถเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ ทั้งกล้ามเนื้อแขน ขา หลัง หน้าท้อง สะโพก หน้าอก และหัวไหล่ เช่น การถือของ การขึ้นลงบันได การลุกหรือนั่งบนเก้าอี้ รวมถึงการยกดัมเบลที่เริ่มจากน้ำหนักน้อย ๆ รอบละ 10-15 ครั้ง หรือการออกกำลังกายที่ไม่ใช้อุปกรณ์ แต่อาศัยน้ำหนักของตนเอง เป็นต้น โดยผู้สูงอายุอาจฝึกปฏิบัติตามท่าออกกำลังกายดังต่อไปนี้

การออกกำลังกายแบบไหนเหมาะกับผู้สูงอายุ

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุควรเป็นการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆ เช่นการวิ่งเหยาะๆ ในกรณีที่ไม่มีอาการข้อเข่าเสื่อม การเดิน การเต้นแอโรบิก การรำมวยจีน การรำไม้พลอง เป็นต้น ภาวะที่ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย

คนอายุ70ควรออกกำลังกายอย่างไร

ตัวอย่างเช่น ผู้สูงอายุคนหนึ่งอายุ 70 ปี ต้องออกกำลังกายจนถึงอัตราการเต้นหัวใจสูงสุดร้อยละ 60 โดยสามารถวัดอัตรา การเต้นของหัวใจขณะพักได้ 80 ครั้งต่อนาที ผู้สูงอายุคนนี้ควรออกกำลังกายจนถึงอัตราการเต้นของหัวใจเท่าไร ? เป้าหมายชีพจรในการออกกำลังกาย = 80 + 60 % (220 – 70 – 80)

อายุ 60 ปีขึ้นไปควรออกกำลังกายแบบไหน

HIGHLIGHTS: ผู้สูงอายุ ควรเริ่มออกกำลังกายเพียงช่วงระยะเวลา 20-30 นาทีต่อวัน โดยที่อาจแบ่งเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ช่วงละ 10-15 นาที หากมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก ใจสั่นมาก ตัวเย็น มีอาการอ่อนแรงตามแขน ขา วิงเวียนศีรษะ ในระหว่างออกกำลังกาย ควรหยุดและรีบปรึกษาแพทย์

ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละเท่าไร

สำหรับความถี่ในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ควรเคลื่อนไหวออกแรงหรือออกกำลังระดับปานกลางที่ทำให้หายใจแรงขึ้น ไม่ต้องหักโหมจนถึงขั้นหายใจหอบ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 5 วัน วันละประมาณ 30 นาที อาจออกกำลังรวดเดียว 30 นาทีไปเลย หรือจะแบ่งเป็นช่วง ๆ ละ 10-15 นาทีก็ได้ถ้ารู้สึกเหนื่อยมากจนเกินไป หากออกกำลังเบา ๆ เช่น เดิน รำมวยจีน ...