กล้องโทรทรรศน์ใดใช้ในการศึกษารังสีไมโครเวฟ

สามารถสังเกตวัตถุท้องฟ้าที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยมีมาซึ่งไกลถึง 13,000 ล้านปีแสง เป็นกล้องโทรทรรศน์ที่ส่งขึ้นสู่อวกาศไปกับยานขนส่งอวกาศดิสคัฟเวอรี เมื่อปี พ.ศ. 2533 ทำให้นักดาราศาสตร์ได้เห็นถึงความอัศจรรย์ของอวกาศในห้วงลึกที่ไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน และมีส่วนสำคัญอย่างมากในการศึกษาและการวิจัยทางดาราศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการขยายตัวของเอกภพ

เกร็ดน่ารู้


เอ็ดวิน ฮับเบิล (Edwin Hubble) เกิดวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1889 ฮับเบิลเป็นคนแรกที่ค้นพบว่ากาแล็กซีทางช้างเผือกของเรานั้นเป็นเพียงหนึ่งในหลาย ๆ กาแล็กซีในเอกภพ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในความเข้าใจเนื้อหาวิชาเอกภพวิทยา (Cosmology)


และยังค้นพบว่ากาแล็กซีมีการเลื่อนทางสีแดง (red-shift) ฮับเบิลศึกษาการเคลื่อนที่ของกาแล็กซีโดยใช้หลักการของปรากฎการณ์ดอพเพลอร์ (Doppler effect) วัดความเร็วของกาแล็กซีต่าง ๆ และค้นพบความสัมพันธ์ว่ากาแล็กซียิ่งอยู่ไกลจากผู้สังเกตยิ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงขึ้น เป็นสัดส่วนกับระยะทางระหว่างกาแล็กซีและผู้สังเกตซึ่งต่อมาได้ถูกเรียกว่า “กฎของฮับเบิล (Hubble’s law)” จากกฎนี้แสดงให้เห็นว่าเอกภพทั้งหมดกำลังขยายตัว ซึ่งสนับสนุนทฤษฎีการกำเนิดเอกภพว่าด้วยการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ (Big Bang Theory)

ที่มา
1) หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ ม.6 เล่ม 5 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)
2) britannica.com/biography/Edwin-Hubble
3) biography.com/scientist/edwin-hubble

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Hubble กฎฮับเบิล กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ฮับเบิล เอ็ดวิน ฮับเบิล

เปิดมา 1 ปี "หอดูดาวภูมิภาค จ.ฉะเชิงเทรา" วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง ? ตามทีมข่าวผู้จัดการวิทยาศาสตร์มาชมและทำความรู้จักหอดูดาวฯ ขวัญใจประชาชนแห่งนี้ได้ใน www.manager.co.th/science เร็วๆ นี้ #sciencenews #science #astronomy #narit #manager #managerscience #mgrscience

A photo posted by AstvScience (@astvscience) on May 24, 2016 at 7:44pm PDT


            อย่างไรก็ตามแม้ว่าเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุ เช่น  Very Large Array Telescope (VLA) จะให้ภาพที่รายละเอียดที่สูงกว่ากล้องโทรทรรศน์อาเรซิโบ แต่ก็ยังเป็นภาพที่มีรายละเอียดต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์ในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็น  ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงมีโครงการพัฒนากล้องโทรทรรศน์วิทยุอวกาศ​เพื่อทำงานร่วมเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่อยู่บนพื้นโลก ดังเช่น กล้องโทรทรรศน์วิทยุ Halca ในโครงการ Space Very Long Baseline Interferometer เพื่อให้ได้กล้องโทรทรรศน์วิทยุเสมือนที่มีขนาดใหญ่กว่่าโลก ดังภาพที่ 9  นักดาราศาสตร์ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุเพื่อศึกษา พัลซาร์ แอคทีฟกาแล็กซี และควอซาร์ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุของจักรวาล