ประเทือง เอมเจริญ ใช้เทคนิคใด

เกิด :  9 ตุลาคม  2478

ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช 2548

การศึกษา : 

2490 -  ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดสุทธาราม สำเหร่ ธนบุรี

2539 - ปริญญากิติมศักดิ์ สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลคลองหก 

2541 - ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิติมศักดิ์ สาขาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 

2545 - ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์ สาขาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

การทำงาน : 

2505 - ห้องปฏิบัติงานศิลปะ วงเวียนใหญ่ คลองสาน กรุงเทพฯ

รางวัลและเกียรติคุณ : 

2510 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน ประเภทจิตรกรรม 

2511 -  รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ปรเภทจิตรกรรม 

          -  รางวัลการประกวด องค์การโทรศัพท์สากล ไอทีที 

2517 -  รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ปรเภทจิตรกรรม 

2519 - รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง ประเภทจิตรกรรม 

2538 - โล่เกียรติคุณบริจาคช่วยปฏิสังขรณ์โบราณสถานที่เสียหายจากอุทกภัยน้ำท่วม สมาคมเผยแพร่และส่งเสริมศิลปะวัตถุ 

2539 - รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) สำนักงานคณะกรรมาการวัฒนธรรมแห่งชาติ 2541 - โล่ขอบพระคุณในโอกาศให้ความร่วมมือสนับสนุนการจัดทำกิจกรรม “วาดวิถีไทย” Phonelink 

2542 - โล่เกียรติคุณในการอนุเคราะห์ภาพเขียนเพื่อจัดพิมพ์บัตรอวยพรปีใหม่

          - คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ๒๕๔๓ โล่เกียรติคุณในฐานะผู้ให้การสนับสนุนการจัดงานแสงสีสร้างสรรค์

            ทบวงมหาวิทยาลัย 

2544 -  ประกาศเกียรติคุณด้านจิตรกรรม พิพิธภัณฑ์ลาสเวกัส ประเทศสหรัฐอเมริกา

ประเทือง เอมเจริญ ใช้เทคนิคใด

ศิลปิน   ประเทือง เอมเจริญ (ศิลปินแห่งชาติ)

ชื่อภาพ   พระอาทิตย์, 2516

ประเภท   สีน้ำมันบนผ้าใบ

ขนาดภาพ   116x134.5 ซม.

ประเทือง เอมเจริญ ใช้เทคนิคใด

ศิลปิน   ประเทือง เอมเจริญ (ศิลปินแห่งชาติ) 

ชื่อภาพ   จักรวาล, 2516

ประเภท   สีน้ำมันบนผ้าใบ

ขนาดภาพ   133x167 ซม.

ประเทือง เอมเจริญ (ศิลปินแห่งชาติ)

ประเทือง เอมเจริญ ใช้เทคนิคใด

เกิด วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2478 (ธนบุรี)

ใช้ชีวิตอยู่ที่สวนฝั่งธนบุรี ชีวิตและสภาพแวดล้อมมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายและสงบสุข ชอบว่ายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ความสดชื่นของสายน้ำและพืชพรรณแมกไม้ หล่อหลอมให้ประเทืองเห็นคุณค่าของสรรพสิ่งในธรรมชาติ และการดำรงชีวิตอย่างสมถะ

เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 อายุได้ 14 ปี เขาออกจากโรงเรียนและรับจ้างทำงานหาเลี้ยงชีพทุกประเภท อาทิเช่น เป็นลูกมือช่างตีเหล็ก ลูกจ้างร้านกาแฟ และช่วยมารดาประกอบอาชีพขายขนมและผลไม้ เมื่ออายุ 16 ปี เข้าฝึกทำงาน เป็นลูกมือช่างเขียนภาพโปสเตอร์โฆษณากับพี่ชาย จนมีทักษะการเขียนภาพสีน้ำมัน และเทคนิคต่างๆ

ด้วยความเบื่อหน่ายกับความซ้ำซากจำเจของงานโฆษณา จึงได้ลาออกจากบริษัทโฆษณา ไปประกอบอาชีพเป็นช่างเขียนภาพโฆษณา ตามโรงภาพยนต์ในกรุงเทพฯ ซึ่งนิยมวาดภาพโฆษณาขนาดใหญ่ติดตั้งบริเวณหน้าโรงภาพยนต์มีรายได้ดี เพราะมีฝีมือการวาดภาพโปสเตอร์เป็นที่ยอมรับของวงการ

ท่านไม่ได้สำเร็จการศึกษาศิลปะจากสถาบันการศึกษา เรียนรู้การทำงานศิลปะด้วยตนเอง ทั้งจากการอ่าน ดู พูดคุย กับผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ทางศิลปะทุกแขนง และได้ทุ่มเท เรียนรู้การเขียนภาพจากประสบการณ์ตรงอยู่เป็นเวลา 3 ปี อย่างมุ่งมั่นและอดทน ศึกษาค้นคว้างานด้านศิลปะตลอดเวลา

ศึกษาปรัชญาชีวิตรวมทั้งศิลปะของอินเดีย จีน และศึกษาธรรมชาติ โดยเฉพาะดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพลังแสงสว่าง จนเกิดมุมมองในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่เป็นรูปแบบเฉพาะตน เป็นผู้มองโลกในแง่ดี เชื่อมั่นในคุณงามความดี

**********************

สุดอาลัยเป็นอย่างยิ่ง กับการจากไปของ “ประเทือง เอมเจริญ” ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ที่เสียชีวิตด้วยโรคโควิด - 19 ในวันที่ 7 มีนาคม 2565 มีอายุรวม 87 ปี โดยตลอดชีวิตของศิลปินแห่งชาติท่านนี้ ได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะและบทกวีที่โดดเด่นและน่าทึ่งมากมาย ไทยรัฐออนไลน์ได้รวบรวมมาดังนี้

ประวัติ ประเทือง เอมเจริญ

ประเทือง เอมเจริญ เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2478 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาจากโรงเรียนเทศบาลวัดสุทธาราม สำเหร่ ธนบุรี พร้อมทั้งศึกษาศิลปะด้วยตนเอง สร้างผลงานมากมาย ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ด้วยการศึกษาค้นคว้าเพื่อสร้างผลงานทางศิลปะ พร้อมทั้งศึกษาปรัชญาชีวิตทั้งศิลปะของอินเดีย จีน และศึกษาธรรมชาติโดยเฉพาะดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพลังแห่งแสงสว่าง

ถ้าความรักเปรียบได้กับการดูแลรักษา ท้องทะเลจะอิ่มเต็มด้วยความรัก ดวงตะวัน แดดอุ่น และสายลมเย็น ย่อมเป็นความรักของท้องฟ้า เมื่อมนุษย์ตระหนักได้ถึงความรัก ความงดงามจะปรากฏในดวงใจของเขา ภาพและบทกวีโดย ประเทือง เอมเจริญ

ความดี ไม่ทำขณะที่มีชีวิต อย่าหวังได้ทำเมื่อตายไปแล้ว ภาพและบทกวีโดย ประเทือง เอมเจริญ

ด้วยความหลงใหลในพระอาทิตย์จึงเกิดมุมมองในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่เป็นรูปแบบของตนเอง มองโลกในแง่ดี เชื่อในคุณความดี โดยสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ผสมผสานระหว่างสิ่งที่รับรู้จากธรรมชาติ กับสิ่งที่มีอยู่ในตัวตนของเขาจนถ่ายทอดความงามที่มีอยู่ในธรรมชาติออกมาอย่างมีพลังซึ่งได้กลายมาเป็นผลงานชุดจักรวาลอันมีชื่อเสียง

ภาพบทเพลงแห่งจักรวาล เป็นหนึ่งในบรรดางานชิ้นเอกที่สร้างชื่อเสียงให้กับประเทือง เอมเจริญ

นอกจากนี้ ยังสร้างศิลปสถานเอมเจริญ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางศิลปะและเผยแพร่ผลงานศิลปะของศิลปินต่างๆ แก่ประชาชนผู้สนใจได้เข้าชมและศึกษางานด้านศิลปะ พร้อมทั้งได้รับเกียรติเป็นประธานเปิดงานต่างๆ ทั่วประเทศ เป็นศิลปินรับเชิญเขียนภาพเพื่อการกุศลมากมาย เป็นผู้ถ่ายทอดงานศิลปะให้แก่ผู้สนใจตามโรงเรียน มหาวิทยาลัยต่างๆ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน จึงได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี 2548

ผลงานของ ประเทือง เอมเจริญ

สำหรับผลงานของประเทือง เอมเจริญ ได้ถูกแบ่งออกเป็น 5 ยุคด้วยกัน ซึ่งแต่ละยุคจะมีความสวยงามและความหมายแตกต่างกันไป

ยุคที่ 1 : เริ่มต้นค้นคว้า ทดลอง แสวงหา (2501-2509)

จากขุนเขาที่มั่นคงสูงเทียมฟ้า ปล่อยวางตัวเองมาสู่ก้อนหิน จากก้อนหินสู่กรวดทราย กลายเป็นสัจจะแห่งธุลีดิน ภาพและบทกวีโดย ประเทือง เอมเจริญ

ยุคที่ 2 : พบธรรมะในธรรมชาติ สื่อผ่านนามธรรม (พ.ศ.2510-2520)

ถ้าความรักเปรียบได้กับการดูแลรักษา ท้องทะเลจะอิ่มเต็มด้วยความรัก ดวงตะวัน แดดอุ่น และสายลมเย็น ย่อมเป็นความรักของท้องฟ้า เมื่อมนุษย์ตระหนักได้ถึงความรัก ความงดงามจะปรากฏในดวงใจของเขา ภาพและบทกวีโดย ประเทือง เอมเจริญ

ยุคที่ 3 : สังคม ชีวิต การเมือง…กัมปนาท กึกก้อง (พ.ศ. 2516-2519)

ยุคที่ 4 : ดอกผลสุกงอม สมบูรณ์ กลมกลืน (พ.ศ. 2521-2535)

ยุคที่ 5 : หลุดพ้น ทดลอง แสวงหา สร้างสรรค์โลกใหม่ (พ.ศ. 2536 จนถึงปัจจุบัน)

เมฆฝนลอยมาเงียบเชียบ โอบกอดยอดภูผาอ่อนโยน สายฝนตกกระหน่ำไปไม่นานนัก พฤกษชาติบนขุนเขาชอุ่มเขียว หินผาเปียกชุ่มสงบเย็น ทอดเงาสู่สายน้ำล้ำลึก ผู้สูงอายุนั่งมองภาพอันรื่นรมย์ ภาพและบทกวีโดย ประเทือง เอมเจริญ

สำหรับผู้ที่สนใจและชื่นชอบผลงานของประเทือง เอมเจริญ สามารถเดินทางไปชมได้ที่พิพิธภัณฑ์หอศิลป์เอมเจริญ ที่อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งรวมผลงานด้านจิตรกรรม บทกวี และงานเขียนต่างๆ ของศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับท่านนี้ไว้อย่างสมบูรณ์แบบ ท่ามกลางบรรยากาศเงียบสงบงามของริมแม่น้ำแม่กลอง

ข้อมูล: หอศิลปกรุงเทพฯ