การบรรเลงจะต้องคำนึงถึงสิ่งใด

ตัวอย่างข้อสอบ
ข้อสอบมีมากกว่านี้ เพียงชำระ 100 บาทเป็นค่าสมาชิก

ทำ ข้อสอบดนตรีสากล 3 ในเวลา 10 นาที

เริ่มเวลา : 30 December 2022 -- 6:56 am
สิ้นสุดเวลา : 30 December 2022 -- 7:06 am

0 days, 0 hours, 10 minutes, 0 seconds

1. ข้อใดไม่ควรปฏิบัติในขณะขับร้องเพลงสากล
     ร้องให้ตรงจังหวะและทำนองเพลง
     เปล่งร้องเสียงให้สูง-ต่ำตามพิ้นเสียง
     ร้องให้ตรงระดับเสียงตัวโน๊ตบรรทัด 5 เส้น
     ควบคุมการหายใจเข้า-ออกให้มีความสม่ำเสมอ

 

2. การรับรู้ความงามของดนตรีขึ้นอยู่กับปัจจัยใดเป็นสำคัญ
     การศึกษา
     ค่านิยม
     สังคม
     อารมณ์และจิตใจ

 

3. การบรรเลงดนตรีเป็นวงจะต้องคำนึงถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ
     ความพร้อมเพรียง
     ความดังของเสียงเครื่องดนตรี
     ความมีระเบียบเรียบร้อยของการจัดวงดนตรี
     ความสอดคล้องกลมกลืนกันของเสียง เครื่องดนตรีที่บรรเลง

 

4. เครื่องดนตรีชนิดใด จัดเป็นประเภทเดียวกับตระกูลไวโอลิน
     แมนโดลิน
     เชลโล
     แบนโจ
     ฮาร์ป

 

5. วงเชทเบอร์มิวสิค เป็นวงดนตรีที่มีลักษณะอย่างไร
     มีผู้บรรเลง 10 คน
     มีผู้บรรเลงตั้งแต่ 2-9 คน
     มีผู้บรรเลงตั้งแต่ 8-10 คน
     มีผู้บรรเลงตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป

 

รูปแบบการบรรเลงดนตรีไทย

-ธันวาคม 18, 2560

                  การบรรเลงดนตรีไทย แบ่งเป็น 2 รูปแบบ  ได้แก่ การบรรเลงเดี่ยว และการบรรเลงหมู่
            1. การบรรเลงเดี่ยว
             1.1 การบรรเลงเครื่องดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งตามลำพังคนเดียว ไม่มีเครื่องดนตรีใดๆมาร่วม การบรรเลงลักษณะนี้  ผู้บรรเลงสามารถกำหนดระดับเสียงได้ตามต้องการ ส่วนใหญ่ใช้บรรเลงเพื่อฝึกซ้อม หรือการบรรเลงที่ไม่เป็นพิธีการ ทำนองเพลงเป็นทำนองปกติ  ไม่มีลีลาพิเศษ
             1.2 การบรรเลงคนเดียวที่ผู้บรรเลงต้องแสดงความสามารถ หรือฝีมือในการแสดงโดยคำนึงถึงความสมบูรณ์แบบของการบรรเลง ทั้งเสียง ทำนอง จังหวะ  ตลอดจนเทคนิคการบรรเลง  การบรรเลงประเภทนี้จะมีเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง  กลอง  ประกอบการบรรเลงด้วย




             2. การบรรเลงหมู่
                 การบรรเลงหมู่ หมายถึง การบรรเลงโดยผู้บรรเลงมากกว่า 1 คนขึ้นไป มีลักษณะ ดังนี้
              2.1 การบรรเลงเฉพาะเครื่องดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งพร้อมกันมากกว่า 1 คนขึ้นไป  มีแต่การบรรเลงไม่เกี่ยวข้องกับการขับร้อง เช่น การบรรเลงขิมหมู่ จะเข้หมู่  ระนาดเอกหมู่  เป็นต้น  การบรรเลงลักษณะนี้ผู้บรรเลงทุกคนต้องตรวจสอบเสียงของเครื่องดนตรีให้ตรงกัน ต้องบรรเลงให้ทำนองเหมือนกันและพร้อมเพรียงกัน ไม่ว่าขึ้นเสียงสูงหรือลงเสียงต่ำก็ต้องเหมือนกันทุกคน  การบรรเลงลักษณะนี้ ผู้บรรเลงทุกคนจึงจำเป็นต้องฝึกซ้อมร่วมกันให้มาก เพื่อให้เสียงที่บรรเลงออกมาเป็นเสียงเดียวดุจการบรรเลงเพียงคนเดียว


               2.2 การบรรเลงเครื่องดนตรีหลายชนิดประสมกันเป็นวง  เป็นลักษณะการบรรเลงที่นำเครื่องดนตรีหลายชนิดมาประสมกันเป็นวงตามแบบแผนดนตรีไทย ได้แก่ วงปี่พาทย์ชนิดต่างๆ วงเครื่องสาย และวงมโหรี การบรรเลงลักษณะนี้  ผู้บรรเลงต้องตรวจสอบความพร้อมของเครื่องดนตรีอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องดนตรีประเภทที่ใช้สาย  สายอาจตึง หย่อน หรือขาดได้  ต้องรู้จักหน้าที่ของเครื่องดนตรีที่ตนบรรเลง ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของเครื่องดนตรีอื่น  ทุกคนต้องขยันหมั่นฝึกซ้อมร่วมกัน เพื่อให้การบรรเลงพร้อมเพรียง ไพเราะ น่าฟัง ไม่ผิดพลาด


              

การบรรเลงจะต้องคำนึงถึงสิ่งใด

การบรรเลงเครื่องดนตรี
         เครื่องดนตรีเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เล่นประกอบการบรรเลง หรือขับร้องบทเพลงต่าง ๆ ทำให้เกิดความไพเราะขึ้น การเล่นหรือการบรรเลงเครื่องดนตรีสามารถบรรเลงได้ 2 รูปแบบ คือ การบรรเลงเดี่ยวและการบรรเลงหมู่ ซึ่งต้องอาศัยหลักการบรรเลงดนตรีและองค์ประกอบทางดนตรี ดังนี้
1. หลักการบรรเลงดนตรี การบรรเลงดนตรีให้มีความไพเราะนั้นควรใช้หลักการโดยทั่วไป ดังนี้
        1. เล่นให้ถูกต้องตามจังหวะและทำนองของเพลง
        2. ปรับระดับเสียงของเครื่องดนตรีให้มีความกลมกลืนสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ในการบรรเลงเป็นวง
        3. ปฏิบัติตามสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายทางดนตรีได้ถูกต้อง
        4. ใช้หรือเล่นเครื่องดนตรีให้ถูกวิธีตามลักษณะเครื่องดนตรีชนิดนั้น
2. องค์ประกอบทางดนตรี ในการบรรเลงเครื่องดนตรี ผู้เล่นจะต้องรับรู้และเข้าใจองค์ประกอบทางด้านดนตรีด้วย เพื่อสามารถนำไปใช้ในการบรรเลงดนตรีได้ถูกต้อง ซึ่งองค์ประกอบทางดนตรี มีดังนี้
        จังหวะ คือ อัตราความช้า-เร็วของบทเพลง ซึ่งมีสัญลักษณ์กำหนดไว้ในโน้ตเพลง
        ทำนอง คือ แนวระดับเสียงของเพลงซึ่งมีทั้งเสียงสูง-ต่ำ นำมาเรียบเรียงให้อยู่ในแนวระดับที่ต้องการ
        การประสานเสียง คือ การขับร้องและบรรเลงดนตรีพร้อม ๆ กัน หรือการขับร้องเป็นหมู่คณะโดยเสียงที่ได้จะต้องสอดคล้อง
        กลมกลืนกัน
        รูปแบบของบทเพลง คือ โครงสร้างของเพลงซึ่งจะกำหนดวรรคตอนเนื้อเพลง การซ้ำและการเปลี่ยนทำนองเพลง เป็นต้น
การใช้และดูแลรักษาเครื่องดนตรี
        เครื่องดนตรีแต่ละชนิดถูกสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการบรรเลงให้มีความแตกต่างกัน โดยมีวิธีเล่นตามลักษณะเฉพาะของเครื่องดนตรีชนิดนั้น ซึ่งผู้เล่นควรเล่นให้ถูกต้องตามวิธีเล่น นอกจากนี้ ผู้เล่นจะต้องรู้จักวิธีการดูแลรักษาเครื่องดนตรีที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อรักษาและสามารถใช้งานได้นานยิ่งขึ้น
1. การใช้เครื่องดนตรีประกอบจังหวะ
        เครื่องดนตรีประเภทนี้ ใช้บรรเลงประกอบจังหวะ ซึ่งมีวิธีการเล่นหลายวิธี ดังนี้
        1. การตีกระทบกันเอง เครื่องดนตรีที่บรรเลงด้วยวิธีนี้ มีหลายวิธี เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ เป็นต้น
        2. การใช้ไม้นวมตี เครื่องดนตรีที่ใช้วิธีการบรรเลงนี้ ส่วนมากเป็นเครื่องดนตรี เช่น โหม่ง ฆ้อง เป็นต้น
        3. การตีด้วยมือ การบรรเลงดนตรีด้วยวิธีการนี้ ใช้กับเครื่องดนตรีประเภทขึงด้วยหนัง เช่น กลองยาว โทน รำมาะนา เป็นต้น
        4. การใช้ไม้เฉพาะตี ไม้ตีเฉพาะเป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้บรรเลงเครื่องดนตรีบางชนิด เช่น กลองชุด กลองแตร็ก เป็นต้น
2. การเก็บและดูแลรักษาเครื่องดนตรี
        1. หลังจากใช้งานแล้ว ควรทำความสะอาดเครื่องดนตรีด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ล้างทำความสะอาด ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ เช็ด เป็นต้น
        โดยคำนึงถึงความเหมาะสมตามลักษณะของเครื่องดนตรี
        2. เครื่องดนตรีที่มีกล่องใส่เฉพาะ ควรเก็บใส่กล่องก่อนนำไปเก็บ
        3. การเก็บเครื่องดนตรีไว้ในตู้ ควรเก็บเครื่องดนตรีที่มีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมากไว้ด้านล่าง
        4. การเก็บเครื่องดนตรี ควรแยกประเภทเก็บ เพื่อสะดวกในการค้นหาและนำมาใช้ในครั้งต่อไป

การบรรเลงจะต้องคำนึงถึงสิ่งใด

http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/2748-00/
การบรรเลงจะต้องคำนึงถึงสิ่งใด