ภาวะผู้นําในศตวรรษที่ 21 ควรมีลักษณะอย่างไร

ความรู้ในเรื่อง “ภาวะผู้นำ” ปัจจุบันมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกองค์กรในกระแสโลกยุคโลกาภิวัตน์ ที่ความเจริญทางเทคโนโลยีก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสังคมจากอดีตสู่ปัจจุบันอย่างรวดเร็วมาก ดังนั้น จึงต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงให้ทันกับเหตุการณ์ของโลกปัจจุบันตลอดเวลา

.

โดย องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21 ที่สังเคราะห์ได้ทั้ง 3 ด้าน คือ

1. ด้านการนำตัวเอง

2. ด้านการนำทีม

3. ด้านการนำองค์กร

.

เรียนรู้เพิ่มเติมได้ในหลักสูตร ผู้นำความสำเร็จ ( SLG Workshop : Becoming a 21st Century Leader) 27 ตุลาคม 2563 > https://kctathailand.com/courses/หลักสูตร-ผู้นำความสำเร/

บทความเรื่อง ผู้นำในศตวรรษที่ 21 นำมาจากบทความเรื่อง 10 Principles of 21st Century Leadership ของ Adam Cairns

ผู้ที่สนใจบทความนี้ รูปแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ https://www.slideshare.net/maruay/10-principles-of-21st-century-leadership

ปฏิเสธไม่ได้ว่า “ภาวะความเป็นผู้นำ” (Leadership) คือหนึ่งในทักษะแห่งอนาคตที่กำลังมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด การมีภาวะความเป็นผู้นำมิใช่เรื่องเพียงแค่ในการทำงาน แต่ยังหมายรวมถึงทักษะแห่งอนาคตในการใช้ชีวิต การกลายเป็น “ผู้นำ” ชีวิตของตนเอง กล้าตัดสินใจ กล้าเดินหน้าทำสิ่งแปลกใหม่ การปลูกฝังให้ลูกมีภาวะความเป็นผู้นำตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงถือเป็นสิ่งสำคัญ ความเป็นผู้นำฉบับ ‘How to’ จาก คาริน เฮิร์ท (Karin Hurt) และ เดวิด ดาย (David Dye) นักพูดและเทรนเนอร์ระดับโลกเรื่องภาวะผู้นำ เจ้าของหนังสือรางวัล Winning Well : A Manager’s Guide to Getting Results Without Losing Your Soul ได้แนะนำ 11 วิธีเพื่อให้เด็ก ๆ ได้พร้อมเป็นผู้นำ ไปดูกันว่าทั้ง 11 ข้อจะมีอะไรบ้าง

Leadership คืออะไร?

ในบริบทของการทำงาน ภาวะผู้นำ (leadership) หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติงานของ “ผู้นำ” เพื่อทำให้กลุ่มประสบความสำเร็จ ส่วนในบริบทของการใช้ชีวิต ภาวะผู้นำเองก็ถือเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่พ่อแม่สามารถสอน และปลูกฝังให้ลูกรู้จักกล้าคิดกล้าทำ รู้จักลุกขึ้นมา “นำ” แทนที่จะเป็นผู้ตาม กล้าออกสิทธิ์ออกเสียง แสดงความคิดเห็น ตลอดจนลองคิดริเริ่มทำในสิ่งที่ตัวเองสนใจหรืออยากทำ

ประโยชน์ของการมีภาวะผู้นำมีหลากหลาย ในเด็กเล็ก ๆ เป็นที่พิสูจน์แล้วว่าการฝึกให้ลูกมีภาวะผู้นำช่วยให้ลูกมีความมั่นใจ รู้จักแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ ตลอดจนรู้จักความรับผิดชอบ ในบริบทของการทำงาน หากลูก ๆ อยากเติบโตเป็นผู้นำ แน่นอนว่าการมีภาวะผู้นำคือทุกสิ่ง การมีภาวะผู้นำที่ดีคือหัวใจในความสำเร็จขององค์กร สมาชิกทุกคนรู้สึกมีเป้าหมาย อยากทำงาน อยากติดตามผู้นำจนกว่างานจะบรรลุจนถึงหมุดหมายดังกล่าว การมีภาวะผู้นำที่ดียังส่งผลต่อวัฒนธรรมองค์กร อันหมายถึง หากองค์กรจะมีวัฒนธรรมอย่างไร ดีหรือแย่ สุขใจหรือเศร้าใจ ก็ขึ้นอยู่กับการทัศนคติและการดำเนินงานต่าง ๆ ของผู้นำ

1. สร้างบทบาทให้เด็กเป็น ‘ผู้ให้’

สร้างสถานการณ์ให้เค้าได้แบ่งปันสิ่งของ และชวนคิดชวนคุยด้วยว่าเค้าคิดอย่างไรกับการให้แบบนี้ เพื่อให้เห็นอกเห็นใจผู้คนที่มีสถานการณ์ไม่เหมือนตัวเอง

2. พูดกับเค้าเหมือนพูดกับผู้ใหญ่

คุยเรื่องสถานการณ์บ้านเมืองกับเด็กได้เลย วิธีนี้จะพัฒนาทักษะการฟังและเคารพมุมมองของผู้อื่น

3. ให้เป็นหนึ่งในผู้ร่วมตัดสินใจปัญหาครอบครัว

เลือกสถานการณ์ที่ต้องการการตัดสินใจ ชวนเด็ก ๆ ลงความเห็น ระหว่างพูดคุย ทุกคนต้องรับฟังกันจริง ๆ

4. สร้างบรรยากาศการอ่าน

ชวนเด็ก ๆ คุยเรื่องคาแรกเตอร์และความสัมพันธ์ของผู้คนในหนังสือ เพื่อให้เด็กเข้าใจบทบาทและมุมมองของผู้คนหลากหลาย

5. พาเด็ก ๆ ไปทำงานด้วย

มอบหมายงานให้เด็กบริหารจัดการจริง ผู้ใหญ่ต้องอธิบายกระบวนการให้ฟังอย่างชัดเจน ถามความเห็นเพื่อให้เด็กออกแบบการทำงาน วิธีนี้สร้างความมุ่งมั่นและการปรับตัวยืดหยุ่น

6. ยอมรับเวลาคุณทำผิด

ชวนคุยเวลาคุณทำอะไรผิดพลาด ให้เด็กรู้ว่าไม่มีใครเพอร์เฟค แต่ความผิดพลาดคือบทเรียน ทุกวัยยังต้องเรียนรู้เพื่อเติบโตอยู่ทุกวัน

7. แวดล้อมด้วยคนที่มีภาวะผู้นำ

เพราะเด็ก ๆ ไม่เรียนจากการสั่งสอน แต่เค้าจะเป็นในสิ่งที่ผู้ใหญ่เป็น เป็นอย่างสิ่งแวดล้อมที่พวกเค้าอยู่

8. ให้เป็นผู้กล่าวต้อนรับเวลามีงานที่บ้าน

วิธีนี้ทำให้เด็ก ๆ ต้องรู้จักทุกคน ออกแบบว่าจะต้องร่างสุนทรพจน์สั้นๆ อย่างไร ไม่ใช่แค่มิตรไมตรีแต่ความมั่นใจที่ได้ทำอะไรด้วยตัวเองย่อมเกิดขึ้น

9. สร้างเครือข่าย

ไม่ใช่แค่รู้จักคนมาก แต่การรู้ว่าเครือข่ายสำคัญ มาพร้อมกับความสัมพันธ์เรื่องความซื่อสัตย์ต่อกลุ่ม ซึ่งสำคัญมากต่อการทำงานเป็นทีม

10. ช่วยเด็กหาอัตลักษณ์ของตัวเอง

ช่วยเด็ก ๆ หา passion ด้วยการชวนคุยหรือเขียนถึงสิ่งที่ตัวเองชอบ เด็ก ๆ รู้ว่าเค้าจะพูดในสิ่งที่ต้องการ นี่คือการรู้จักตัวเอง

11. ถามคำถามที่เฉียบคม

เช่น ‘ถ้าไม่ทำวิธีนี้ ทำวิธีอื่นได้มั้ย?’ คำถามชวนคิดและไม่ชี้นำเหล่านี้จะช่วยร่างกรอบความคิดให้ชัดเจน และเด็ก ๆ เองจะได้นำทักษะของผู้นำข้อนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันด้วย

และสำหรับการสร้างทักษะแห่งอนาคตอย่างภาวะผู้นำในเด็กนั้นครอบครัวถือว่าเป็นก้าวแรกที่จะทำให้การฝึกฝนครั้งนี้สำเร็จ โดยการเปิดโอกาสให้เด็กได้คิดหรือทำอะไรด้วยตนเอง ตัดสินใจเลือก และรับผิดชอบ เน้นการพัฒนาศักยภาพเด็กให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เข้าใจผู้อื่น

จุดเปลี่ยนหนึ่งที่สำคัญของเส้นทางสายทฤษฎีองค์การเกิดขึ้นในยุค Modern และยุค Postmodern  ที่เริ่มมององค์การแบบเป็นรูปธรรมมากขึ้นและเริ่มให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นจุดที่แตกต่างจากแนวคิดในสมัย Classic และ Neo-Classic ที่ไม่เคยพูดถึงเรื่องสภาพแวดล้อม

จากการตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าว จึงพยายามหาหนทางเพื่อให้องค์การสามารถรับมือหรือจัดการกับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมได้ จึงได้รวมเอาแนวความคิดการจัดการยุคก่อนหน้าไว้ด้วยกัน เพื่อลดข้อจำกัด และปัญหาที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างและกระบวนการทำงานภายในองค์การ จากการพัฒนามาจากแนวคิดที่หลากหลายดังกล่าว จึงเกิดทฤษฎีที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ (Multi Disciplinary) คือรับเอาแนวคิดและเทคนิค จากหลากหลายสาขาวิชา เช่น สังคมวิทยา จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ การวิจัย และอื่นๆ มาผสมผสานและประยุกต์เข้าไว้ด้วยกัน โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

3rd Station – ยุค Modern Organization Theory

แนวคิดในยุคนี้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ 1950 ซึ่งในขณะนี้เศรษฐกิจ และธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว ความสลับซับซ้อนในการบริหารการจัดการก็เพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นการจัดการในยุคนี้ จึงต้องใช้หลัก ทางคณิตศาสตร์มาช่วยในการตัดสินใจ ตลอดจนการจัดการเชิงระบบมาช่วย แต่อย่างไรก็ตาม การบริหารการจัดการสมัยใหม่ก็ยังมิได้ทิ้งหลักเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์และแนวคิดในด้านมนุษย์สัมพันธ์เสียทีเดียว

ทฤษฎีองค์การ ยุค Modern มองว่าองค์การนั้นอยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อม และสิ่งแวดล้อมนั้นก็มีผลอย่างยิ่งต่อองค์การและการบริหารจัดการ ดังนั้นการศึกษาองค์การจึงควรศึกษาในระบบเปิด (Open Perspective) นำไปสู่แนวคิดทฤษฎีระบบ (System Theory) ซึ่งเป็นแนวคิดการจัดการที่มององค์การ เป็นระบบตามหน้าที่ที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับทฤษฎีระบบทั่วไป ที่อธิบายความเหมือนของระบบต่างๆ ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ ที่เรียกว่า ระบบย่อย (Sub Systems) โดยทฤษฎีดังกล่าวจะพิจารณาองค์การในฐานะที่เป็นระบบเปิด (Opened System) เพราะถือว่าองค์การเป็นระบบย่อยของสังคมเป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อม

ดังนั้น เป้าหมายในการปฏิบัติงานขององค์การส่วนหนึ่ง คือต้องตอบสนองความต้องการของสังคมด้วยการให้บริการ และผลผลิต เป็นการนำแนวคิดทฤษฎีระบบ (System Theory) มาใช้ในการวิเคราะห์องค์การ เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ขององค์การไม่ว่าภายในหรือภายนอก ล้วนแต่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะฉะนั้น การบริหารการจัดการจึงต้องปรับตัวให้มีความสมดุลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ ที่กล่าว จึงจะทำให้องค์การเติบโต อยู่รอด และสัมฤทธิผลตามเป้าหมาย

นอกจากนี้ ยุค Modern ยังพัฒนาหลักการจัดการที่สำคัญอื่นๆ ที่สำคัญ เช่น การจัดการโดยใช้คณิตศาสตร์หรือเชิงปริมาณมาช่วยในการตัดสินใจ (Quantitative or Decision Making Approach) การศึกษาในแนวนี้จะใช้เครื่องมือสมัยใหม่มาช่วยในการตัดสินใจ เช่น การวิเคราะห์เชิงปริมาณ การวิจัย การใช้คอมพิวเตอร์ เป็นต้น รวมถึงทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์ (Situation or Contingency Approach) ที่มีสมมติฐานว่า องค์การมีความแตกต่างกันในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบขององค์การหรือสภาพแวดล้อม หรือสถานการณ์ที่เผชิญอยู่

ดังนั้น การบริหารงานองค์การ จึงเป็นเรื่องของการทำให้องค์การสามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีความพยายามหารูปแบบการบริหารที่มีความยืดหยุ่น (Flexibility) สามารถปรับตัวได้ (Adaptable) และแนวคิดเรื่ององค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ที่มองว่าองค์การที่มีการริเริ่มสร้างสรรค์ได้มาซึ่งความรู้ ถ่ายทอดความรู้และปรับพฤติกรรมเพื่อตอบสนองต่อความรู้ใหม่ จะมีการแก้ปัญหาเป็นระบบ ทดลองความรู้ใหม่ เรียนจากประสบการณ์ในอดีต ดังนั้น ผู้บริหารต้องพยายามสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ สร้างสภาพแวดล้อมส่งเสริมการเรียนรู้ สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล

ดังที่กล่าวมาแล้ว ทำให้เห็นถึงมุมมองด้านการจัดการที่ปฏิเสธโครงสร้างองค์การแบบเครื่องจักร (Mechanistic Organization) เพราะมองว่าเป็นโครงสร้างที่ตายตัว มีความคงที่ เหมาะสำหรับงานประจำ มีสภาพแวดล้อมที่นิ่ง ไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และถูกท้าทายจากสภาพแวดล้อมใหม่ๆ อยู่เสมอ

ดังนั้นแนวคิดในยุคนี้จึงเริ่มมีความชัดเจนในเรื่องโครงสร้างองค์การแบบสิ่งมีชีวิต (Organic Organization) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีความยืดหยุ่น เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตลอดเวลา

ผู้นําการเปลี่ยนแปลงมีลักษณะเป็นอย่างไร

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership ) หมายถึง พฤติกรรมที่ผู้นำแสดง ให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการ กระบวนการจัดการที่ผู้นำมีอิทธิพลต่อผู้ตาม ปฏิสัมพันธ์ที่ผู้นำ และผู้ตามมีต่อกันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งสองฝ่าย กล่าวคือ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ดีต้อง ตระหนักถึงความต้องการของผู้ตามและกระตุ้นผู้ตามให้ ...

ผู้นําที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

1. มุ่งมั่นในการทำงาน ผู้นำต้องมีพลังในการทำงาน มุ่งมั่นสู่เป้าหมาย เพื่อขับเคลื่อนทีมให้กระตือรือร้นไปพร้อม ๆ กัน.
2. สื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ... .
3. มอบหมายงานอย่างมีประสิทธิภาพ ... .
4. เป็นผู้ฟังที่ดี ... .
5. มีระบบและระเบียบ ... .
6. มีส่วนร่วมกับทีม ... .
7. เป็นเจ้าของงานและความรับผิดชอบ ... .
8. กล้าหาญและตรงไปตรงมา.

ผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ควรมีคุณลักษณะอย่างไร

สรุปได้ว่า คุณลักษณะผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มี 5 องค์ประกอบ หลักดังนี้ 1). การเป็นผู้น าที่พึงประสงค์ 2). การมีวิสัยทัศน์ 3). การมีมนุษยสัมพันธ์ 4). ความสัมพันธ์กับงาน และ5). ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ดังภาพ

ท่านคิดว่าผู้นำยุคใหม่ควรมีลักษณะอย่างไร

บทบาทของผู้นำยุคใหม่จึงเน้นหนักที่การสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งไม่ได้แปลว่าผู้นำต้องเป็นคนพูดเก่งราวกับนักพูดสร้างแรงบันดาลใจ แต่เป็นผู้นำที่สามารถ walk the talk ทำให้เราเห็นว่าเขาเชื่อมั่นใน core value ขององค์กรจริงๆ เป็นผู้นำที่กล้ากำหนด purpose เหนือ profit กล้าจินตนาการถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ เป็นผู้นำที่ทำให้พนักงานเห็น ...