การร้องเพลงไทยควรฝึกสิ่งใดก่อน

หลักการขับร้องเพลง
     การขับร้องเป็นการสร้างสรรค์ทางดนตรีวิธีหนึ่ง ซึ่งใช้วิธีเปล่งเสียงออกมาให้เป็นเพลงต่าง ๆ โดยอาศัยองค์ประกอบทางดนตรี เพื่อทำให้เพลงที่ร้องมีความไพเราะขึ้น
     1.  ประเภทของการขับร้อง แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
          1.  การขับร้องอิสระ คือ การขับร้องทั่วไป โดยไม่มีดนตรีประกอบผู้ขับร้องสามารถขับร้องตามที่ตนเองถนัดหรือต้องการ โดยไม่คำนึงถึงระดับเสียงของเครื่องดนตรี
          2.  การขับร้องประกอบดนตรี คือ การขับร้องให้เข้ากับการบรรเลงเครื่องดนตรี โดยคำนึงถึงทำนอง จังหวะ และรูปแบบของเพลง
          3.  การขับร้องประกอบการแสดง คือ การขับร้องเพื่อบรรยายเนื้อเรื่องหรือเนื้อเพลงประกอบการแสดงต่าง ๆ
          4.  การขับร้องหมู่ คือ การขับร้องพร้อมกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การขับร้องทำนองเดียวกันและการร้องประสานเสียง
     2.  การขับร้องเพลงไทย การขับร้องเพลงไทย ควรเริ่มจากท่าทางการร้อง เนื่องจากเพลงไทยมีลักษณะเฉพาะ ผู้ขับร้องจะนั่งร้องเป็นส่วนใหญ่และมียืนร้องบ้างตามโอกาส ซึ่งผู้ขับร้องควรจะแสดงท่าทางให้เหมาะสม ดังนี้
          1.  ท่านั่ง ผู้ขับร้องส่วนใหญ่จะนั่งราบกับพื้นเวทีเช่นเดียวกับนักดนตรีซึ่งจะต้องนั่งพับเพียบให้เรียบร้อย สำรวมกิริยา นั่งตัวตรงไม่กระดุกกระดิก หรือเคลื่อนไหวมากเกินไป ขณะร้องให้หันหน้าไปทางผู้ชมเสมอ
          2.  ท่ายืน ในบางโอกาสผู้ขับร้องอาจจะได้ยืนร้อง ซึ่งผู้ขับร้องควรยืนร้อง ซึ่งผู้ขับร้องควรยืนอย่างสำรวมกิริยาท่าทาง และระวังการเคลื่อนไหวมือ เท้า และลำตัว
          การขับร้องเพลงไทย มีหลักการปฏิบัติ ดังนี้
          1.   ร้องให้มีระดับเสียงสอดคล้องกับเสียงดนตรี
          2.  หายใจเข้า-ออก ให้สอดคล้องกับช่วงจังหวะ ทำนอง และเนื้อเพลง
          3.  ออกเสียงพยัญชนนะ สระ คำควบกล้ำ ตามอักขรวิธี
          4.  ร้องให้ถูกต้องตามวรรคตอนของเนื้อเพลง เพราะหากร้องไม่ถูกวรรคตอน อาจทำให้ความหมายคลาดเคลื่อนได้
          5.  เนื่องจากเพลงไทยมีการเอื้อน ให้ระมัดระวังในเรื่องการออกเสียงควรเอื้อนให้มีน้ำเสียงสม่ำเสมอตามจังหวะและทำนองเพลง

การร้องเพลงไทยควรฝึกสิ่งใดก่อน

สวัสดีครับทุกคน ผมกล้อง คนรักเสียงเพลงนะครับ วันนี้ผมมีเทคนิคการร้องเพลงให้ไพเราะ น่าฟัง ดูดีมีสไตล์ มาฝากทุก ๆ คนครับ แต่ผมต้องขอบอกก่อนเลยนะครับว่าเทคนิคของผมสามารถทำให้ผู้ฟังสนใจเราขณะกำลังร้องเพลงได้จริง ๆ และเป็นเทคนิคที่ไม่ยาก แต่ต้องใช้เวลาฝึกฝนให้ชำนาญ ก่อนที่จะไปร้องให้คนอื่นฟัง เพราะการร้องเพลงให้ไพเราะจำเป็นต้องอาศัยการซ้อมในบทเพลงนั้นให้เกิดความเคยชินในแต่ละท่อนก่อน ต้องทำความเข้าใจในเรื่องของอารมณ์ในแต่ละบทเพลง เพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกให้ผู้ฟังได้ และสามารถใส่เทคนิคลงไปในบทเพลงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม มาดูเทคนิคของผมกันเลยดีกว่าครับ

1. ปรับคีย์ดนตรีให้เข้ากับเสียงร้องของตัวเอง

ก่อนจะร้องเพลงให้เพราะได้ต้องรู้จักเลือกคีย์ดนตรีให้เหมาะสมกับเสียงของเราด้วยนะครับ เพราะสรีระร่างกายของคนเราไม่เหมือนกัน อย่างเช่น ผู้ชายจะสามารถร้องโน้ตได้ต่ำมาก ๆ ผู้หญิงไม่สามารถร้องต่ำได้ขนาดนั้น แต่ผู้หญิงก็สามารถร้องเสียงได้สูงกว่าผู้ชายได้เป็นที่แน่นอน ถ้าเรามีความรู้สึกว่าเราร้องเสียงต่ำมาก ๆ ลองบอกให้นักดนตรีเปลี่ยนคีย์ที่สูงขึ้น หรือถ้าร้องคาราโอเกะจะมีปุ่มไว้สำหรับปรับคีย์ ถ้าต้องการให้ดนตรีตรีสูงขึ้นให้กดบวก ถ้าต้องการให้ดนตรีเสียงต่ำให้กดลบ เอาง่ายๆ บวกคือเพิ่มคีย์ให้สูงขึ้น ลบคือลดคีย์ให้ต่ำเท่านั้นเองครับ เมื่อคีย์เสียงเข้ากับเสียงร้องของเราแล้วจะรู้สึกได้ว่าเราสามารถร้องเสียงสูงหรือเสียงต่ำได้พอดีทั้งเพลง ร้องเสียงสูงจนสุดแล้วสามารถขึ้นถึงโน้ตตัวนั้นได้ หรือโน้ตต่ำ ๆ ก็สามารถร้องออกมาเป็นคำที่ฟังชัดเจน และที่สำคัญต้องร้องให้ตรงคีย์เสียงของตัวเองด้วยนะครับ ถ้าร้องเพี้ยนก็ยังต้องฝึกฝนเพิ่มอีก

การร้องเพลงไทยควรฝึกสิ่งใดก่อน
รูปประกอบโดยเจ้าของบทความ

4. ทำเสียงให้กลมไม่แบนและนุ่มนวล

การทำเสียงให้กลมง่ายๆโดยการซ้อมร้องคำว่า ”โก” และใส่ลงไปในเนื้อเพลงทุก ๆ คำให้ร้องเป็นคำว่า “โก” หรือคำว่า “กู” ก็ได้  ถ้าเสียงกลมจะให้ความรู้สึกว่ามีสระโอผสม ๆ นิด ๆ จากนั้นให้ลองเปลี่ยนมาร้องคำว่า “กี” ในทุก ๆ คำ จะสังเกตได้ว่าเสียงจะแบน ๆ แข็ง ๆ เหมือนเป็ด และไม่น่าฟัง  เวลาร้องให้คงความรู้สึกตอนร้องคำว่า “โก” ในทุก ๆ คำ จะทำให้เสียงไพเราะขึ้นและน่าฟังขึ้น ฟังนุ่มนวลมากขึ้นอย่างแน่นอน

5. ถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกในแต่ละท่อนเพลงให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

รูปประกอบโดยเจ้าของบทความ

เรื่องของอารมณ์ในบทเพลงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง เพราะถ้าร้องเพลงแบบไร้อารมณ์ ไม่มีความรู้สึก เพลงที่เราร้องก็จะหมดความน่าสนใจไปในระดับหนึ่ง ถ้าอยากร้องเพลงให้เพราะก็ต้องใส่ใจเนื้อเพลงของแต่ละบทเพลงให้ดี ๆ ดูว่าเพลงให้อารมณ์แบบไหน เพลงเศร้าเราก็ต้องร้องให้คนอื่นเข้าใจว่าเรากำลังผิดหวัง เพลงสนุกสนาน ก็อาจจะร้องไปด้วยเต้นไปด้วยนิดหน่อยก็ได้ ตามอารมณ์ของบทเพลงนั้น ๆ เพื่อให้เกิดสีสันและเพิ่มความน่าสนใจได้มากเลยทีเดียว

6. แบ่งวรรคหายใจให้ถูกต้อง

การแบ่งวรรคหายใจ เอาง่ายๆเลยคือหายใจก่อนที่จะร้องและเก็บลมขณะร้องไว้จนจบประโยค ถ้าลมยังเหลือให้ร้องท่อนต่อไปได้เลย ท่อนไหนที่มีการเว้นวรรคสามารถหายใจได้ เพื่อเตรียมตัวร้องท่อนต่อไป เช่น ท่อนที่ร้องว่า มีวาฬตัวหนึ่งลอยว่ายน้ำมา (หายใจ) ดูเจ็บช้ำทรวงอุรากว่าที่เคย ถ้าแบ่งวรรคหายใจไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดการติดขัดและฟังไม่ลื่นไหลของประโยคทันที เช่น มีวาฬ (หายใจ) ตัวหนึ่งลอยว่ายน้ำมา ดูเจ็บช้ำทรวงอุรากว่าที่เคย เป็นต้น

7. ยืนร้อง อกผาย ไหล่ผึ่ง ลักษณะท่าทางขณะร้องเพลงต้องดูดี

การร้องเพลงไทยควรฝึกสิ่งใดก่อน
รูปประกอบโดยเจ้าของบทความ

บุคลิกถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก ๆ เพราะบุคลิกที่ดีนอกจากจะน่ามองแล้ว ยังทำให้ผู้ฟังเห็นถือความตั้งใจของเราที่จะร้องให้ผู้ฟังได้ฟังกันอีกด้วย ท่าทางการร้องที่ดีควรจะ ยืนร้อง อกผาย ไหล่ผึ่ง ไม่ยืนหลังค่อม หรือลักษณะท่าทางที่ไม่น่ามอง ทำท่าทางประกอบด้วยก็ได้ เช่น ถ้าในเพลงร้องว่า “ใจสู้หรือหรือเปล่าว” อาจจะทำไม้ทำมือแสดงออกให้ผู้ฟังรู้มีกำลังใจ หรือลองยืนร้องหน้ากระจกดูแล้วสังเกตว่าแบบไหนที่ดูดีและน่ามอง ถ้าเรามีบุคลิกที่กล่าวมาจะทำให้เรามั่นใจในขณะร้องมากขึ้นอีกด้วย

8. Dynamic ของแต่ละท่อนต้องร้องให้แตกต่างกัน

Dynamic เป็นตัวแสดงถึงความแตกต่างในแต่ละท่อนเพลง ในแต่ละท่อนเพลงจะใช้ Dynamic ที่แตกต่างกัน ขณะกำลังร้องก็ควรจะร้องให้มี Dynamic ด้วย เช่น ท่อน Verse ไม่ต้องร้องดังมาก ท่อน Pre chorus ให้ร้องดังขึ้น และท่อน Hook ให้ร้องดังกว่าทุก ๆ ท่อน ถ้าทำตามลักษณะที่กล่าวมานี้ เพลงที่เราร้องจะไม่แบน และจะฟังไพเราะมากยิ่งขึ้น

9. รูปปากสำคัญมากๆ ควรอ้าปากกว้างๆ

รูปประกอบโดยเจ้าของบทความ

ตอนร้องต้องอ้าปากกว้าง ๆ เพื่อให้เสียงกังวาน ไม่ใช่ร้องงึมงัม ๆ จะทำให้ผู้ฟังเขาฟังเราไม่รู้เรื่อง อ้าปากกว้าง ๆ เหมือนตอนเราตะโกน แต่ไม่ต้องตะโกนนะ ให้อ้าปากกว้างๆเหมือนตอนเราตะโกนแต่น้ำเสียงยังนุ่มและน่าฟังอยู่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบทเพลงที่เรากำลังร้องด้วยนะครับ ถ้าเพลงเร็ว รูปปากอาจจะแคบกว่าแต่ก็ยังคงไว้ถึงความชัดเจนและความก้องกังวานอยู่ด้วยครับ

10. ซ้อมร้องและแก้ไขข้อผิดพลาดของตัวเองทุกวัน

การร้องเพลงไทยควรฝึกสิ่งใดก่อน
รูปประกอบโดยเจ้าของบทความ

การแก้ไขข้อผิดพลาดเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญสำหรับการร้องเพลงให้เกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น เพราะถ้าหากเราไม่ฝึกซ้อมตามที่ได้กล่าวมา ก็จะไม่สามารถทำให้เราร้องเพลงเพราะขึ้นได้เลย เมื่อเรารู้ตัวว่าท่อนไหนยังไม่ดีให้รีบแก้ เช่น มีปัญหาเรื่องของการออกเสียงคำควบกล้ำ ก็ให้เริ่มจากการอ่านคำนั้นให้ชัดเจนเสียก่อน แล้วจึงใส่ทำนองลงไป แล้วซ้อมร้องให้ชัดเจนเหมือนตอนที่เรากำลังฝึกอ่าน

การร้องเพลงควรฝึกสิ่งใดก่อน

วิธีการฝึกร้องเพลงที่ถูกต้อง.
ฝึกการหายใจประกอบการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ขั้นตอนการปฏิบัติมีดังนี้ ... .
ฝึกการเปล่งเสียงประกอบการหายใจ - หายใจเข้าช้าๆ สบาย นับ 1 2 3 ช้าๆไว้ในใจ ... .
ฝึกการร้องให้ถูกต้องตามทำนองและจังหวะ - หาเพลงที่ท่านชอบมาฟังหลายๆเที่ยว ... .
ฝึกการท่องจำเนื้อเพลงให้แม่นยำ.

การร้องเพลงไทยควรฝึกสิ่งใดเป็นอันดับแรก

1. ต้องขับร้องเพลงให้มีระดับเสียงสูงต ่าตามและการเอื้อนให้ถูกต้องตามที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ไว้ 2. จังหวะต้องถูกต้องและแม่นย า 3. ออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี 4. แบ่งวรรคตอนของเนื้อร้องให้ถูกต้องได้ความหมาย 5. ใส่อารมณ์ไปตามเนื้อร้องและท านองของเพลง 6. แสดงบุคลิกภาพและท่าทางให้เหมาะสม

ขั้นตอนในการปฏิบัติตัวก่อนขับร้องเพลงไทยมีข้อควรปฏิบัติอย่างไรบ้าง

ตั้งตัวให้ตรง เพื่อประโยชน์ในการออกเสียง อ้าปากเล็กน้อย พร้อมกับเปล่งกระแสเสียงออกจากคอให้ดังพอสมควร บังคับเสียงให้มีน้ำหนักที่คอแรงหน่อย กระดกปลายลิ้นขึ้นไม่ให้โดนฟันล่าง และบน เพื่อให้เสียงโปร่งและชัดเจน ระบายเสียงออกไปเรื่อยๆอย่าให้ฟันบนและฟันล่างกระทบกันการใช้กำลังเสียงควรเป็นระดับเดียวกัน โดยไม่ต้องขยับคาง

การฝึกลมหายใจในการขับร้องเพลงไทยควรปฏิบัติอย่างไร

การฝึกหายใจและออกเสียง ๑. ยื่นแยกเท้าออกเสมอไหล่ แบบมือและเหยียดแขนขึ้นเหนือศีรษะ หายใจเข้าช้า ๆ นับ ๑ ๒ ๓ (เวลาหายใจเข้ากระบังลม หรือ ท้องจะต้องพองออก) กลั้นหายใจไว้ แล้ว ค่อย ๆ ผ่อนลมออกทางปากช้า ๆ ร้อง “ชูว์” พร้อมลดมือลงแนบลําตัว ฝึกปฏิบัติท่า เดิมอีก ๕ ครั้ง