นักขายควรให้บริการอะไรบ้างหลังการขาย

เลือกอ่านตามหัวข้อ

Show
  • กระบวนการขาย คืออะไร?
  • ทำไมเซลส์หรือทีมขายต้องมีความเข้าใจในกระบวนการขาย?
  • การวางแผนจัดการกระบวนการขายที่ดี ช่วยให้การขายมีประสิทธิภาพได้อย่างไร?
  • กระบวนการขาย 8 ขั้นตอน ที่ธุรกิจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
    • 1. การค้นหาลูกค้ามุ่งหวัง (Prospecting)
    • 2. การเตรียมข้อมูลของลูกค้าก่อนเข้าพบหรือโทรพูดคุย (Pre-Approach)
    • 3. การขอนัดพบลูกค้าหรือนัดนำเสนอสินค้าบริการ (Approach)
    • 4. การเสนอขายสินค้า / บริการ (Sales Presentation)
    • 5. การจัดการข้อต่อรอง ข้อเสนออื่นๆ (Negotiation)
    • 6. การปิดการขาย (Close Sales)
    • 7. การให้บริการหลังการขาย (Follow up & Information Update)
    • 8. การสานความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง (Relationship Management)
  • สรุป

กระบวนการขาย คืออะไร?

กระบวนการขาย คือ การกำหนดวิธีการขายไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นแบบแผน เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการขายที่เป็นระบบ กระบวนการขายขั้นตอนต่างๆ ก็เพื่อให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้า ให้กลายเป็นลูกค้าของธุรกิจในที่สุด กระบวนการขายช่วยให้ทีมขายหรือเซลส์สามารถทำงานได้ถูกต้องและครอบคลุมทุกขั้นตอน ตั้งแต่ผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าติดต่อเข้ามาครั้งแรกจนไปถึงปิดการขายนั่นเอง

ทำไมเซลส์หรือทีมขายต้องมีความเข้าใจในกระบวนการขาย?

เซลส์หรือทีมขายในยุคใหม่นี้ควรต้องมีความเข้าใจในกระบวนการขายอย่างแท้จริง เพราะเมื่อทราบถึงกระบวนการขายของธุรกิจแล้ว จะช่วยให้ทีมขายสามารถดำเนินงานได้อย่างมีแบบแผน มีระบบในการติดตามงานขายและสามารถเพิ่มโอกาสในการปิดการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งสามารถแก้ไขความยุ่งยากในระหว่างการขายได้อย่างรวดเร็ว หรือเวลาแก้ปัญหาก็ไม่ต้องแก้ทั้งระบบ แต่สามารถมองเห็นภาพรวมและแก้ได้ตรงจุดมากขึ้น และนอกจากนี้ยังช่วยให้พนักงานขาย สามารถสื่อสารกับทีมที่มีส่วนร่วมหรือส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการขายได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว

การวางแผนจัดการกระบวนการขายที่ดี ช่วยให้การขายมีประสิทธิภาพได้อย่างไร?

  • ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการขายและสามารถสร้างประสบการณ์ในแต่ละขั้นของกระบวนการได้มั่นใจมากขึ้น
  • กระบวนการขายเป็นกระบวนการจัดระเบียบองค์กรอย่างหนึ่ง ช่วยให้สมาชิกในทีมสามารถทำงานร่วมกันได้ดีมากยิ่งขึ้น และกำหนดบทบาทของแต่ละแผนกให้ทุกคนมีความเข้าใจตรงกันมากขึัน
  • กระบวนการขายที่เหมาะสมของแต่ละองค์กรจะช่วยสร้างรายได้ และทำให้บริษัทเติบโตได้มากขึ้น
  • สมาชิกในทีมสามารถรับผิดชอบหน้าที่ของตนได้ดีมากขึ้น และปรับปรุงแก้ไขสิ่งที่จำเป็นได้อีกด้วย
  • ธุรกิจสามารถพยากรณ์การขายได้ดีกว่าและช่วยปรับเปลี่ยนสิ่งต่างๆให้เหมาะสมตามการพยากรณ์ได้อีกด้วย

กระบวนการขาย 8 ขั้นตอน ที่ธุรกิจสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ มีดังนี้

1. การค้นหาลูกค้ามุ่งหวัง (Prospecting)

ขั้นตอนนี้จะครอบคลุมวิธีการต่างๆ ที่องค์กรใ่ช้ในการหาลูกค้าเป้าหมาย เพื่อติดตาม ดูแลผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้า ซึ่งสามารถหาได้จากหลากหลายช่องทาง หลายแหล่งที่มา หลายๆ วิธี เช่น การจัดงานแสดงสินค้า อีเว้นท์ต่างๆ การทำโฆษณาออนไลน์ เป็นต้น โดยเมื่อมีรายชื่อ Leads จำนวนมาก ก็สามารถบริหารจัดการการจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าอย่างเป็นระบบด้วย R-CRM ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้ในการบริหารจัดการงานขาย ที่มีฟีเจอร์ครบครัน สามารถเก็บรวมรวมข้อมูลลูกค้า ติดป้ายกำกับเพื่อแบ่งลูกค้าตามกลุ่มเฉพาะ ไว้ได้อย่างเป็นระบบ ทำให้พนักงานขายทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ทันที 

นักขายควรให้บริการอะไรบ้างหลังการขาย

2. การเตรียมข้อมูลของลูกค้าก่อนเข้าพบหรือโทรพูดคุย (Pre-Approach)

เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูล Leads อย่างเป็นระบบแล้ว มีการแบ่งกลุ่มเพื่อการจัดการที่ดี การค้นหาที่ง่ายดาย ต่อมาสำหรับ Leads รายหนึ่งๆ เมื่อเซลส์ได้ข้อมูลมาแล้วก็ต้องเริ่มวางแผนการขาย ด้วยการใช้ Sales Pipeline ที่ทำให้เซลส์ได้เห็นขั้นตอนภาพรวมการขายของลูกค้ารายนั้นๆ ได้ และในขณะเดียวกันเซลส์ ก็ควรต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสนทนากับลูกค้าหรือการโทรครั้งแรก และต้องเตรียมข้อมูลสำคัญต่างๆ รายละเอียดสินค้า ศึกษาข้อมูลลูกค้า ก่อนด้วยเสมอ เพื่อแสดงความเป็นเซลส์มืออาชีพให้ลูกค้าได้เชื่อมั่น

นักขายควรให้บริการอะไรบ้างหลังการขาย

3. การขอนัดพบลูกค้าหรือนัดนำเสนอสินค้าบริการ (Approach)

มาถึงขั้นตอนนี้ เมื่อมีการโทรทักทายกับลูกค้าเบื้องต้นแล้ว ต่อมาก็จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการนำเสนอขายครั้งแรก ซึ่งทีมขายควรมีการนัดพบกับลูกค้าไม่ว่าจะเป็นการนัดพบแบบเจอหน้ากันโดยตรง หรือการนัดทาง Conference เพื่อนำเสนอสินค้าบริการที่เราสามารถอธิบายหรือชี้แจงถึงประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากสินค้าบริการของเราได้ โดยต้องมีความสอดคล้องกับปัญหาหรือความต้องการของลูกค้า ซึ่งเราได้รวบรวมข้อมูลในส่วนนี้จากข้อ 2 แล้ว

การทำนัดลูกค้า สามารถส่งได้ผ่านทางอีเมล พร้อมทั้งโทรแจ้งลูกค้าทางโทรศัพท์ด้วย และเซลส์เองก็สามารถสร้างนัดหมายเพื่อเตือนึความจำใน R-CRM ได้เช่นเดียวกัน เพื่อให้ไม่ลืมนัดสำคัญกับลูกค้าที่กำลังจะมาถึง  ซึ่งใน R-CRM มีฟีเจอร์ที่ช่วยทำงานในส่วนนี้ เช่น Reminder ที่เป็นระบบช่วยเตือนอัตโนมัติ สามารถตั้ง วันที่ และเวลาแจ้งเตือนสำหรับการติดต่อลูกค้าครั้งถัดไป ซึ่งทีมขายควรเตรียมพร้อมสำหรับข้อมูลเชิงลึกเพื่อแนวโน้มให้ลูกค้าสนใจ และสร้างความอยากรู้ สร้างความมั่นใจให้ลูกค้าได้มากพอว่าข้อมูลที่จะนำไปเสนอจะละเอียด และสามารถนำไปใช้ในธุรกิจได้จริงๆ 

หากเป็นการพบเจอกันโดยตรง นักขายทุกท่านอย่าลืมถึงเรื่องการเตรียมตัว การแต่งกายที่ถูกกาลเทศะ ความมั่นใจ และที่สำคัญ คือ การเตรียมข้อมูล เอกสารจำเป็นต่างๆ ให้ครบถ้วนด้วย ส่วนหากเป็นการนัดประชุมทางออนไลน์ ก็อย่าลืมตรวจสอบอุปกรณ์ โปรแกรมที่ใช้ประชุม รวมถึงไฟล์ Presentation ให้พร้อมสำหรับการนำเสนอด้วย เพื่อให้ลูกค้ามีความประทับใจ

นักขายควรให้บริการอะไรบ้างหลังการขาย

4. การเสนอขายสินค้า / บริการ (Sales Presentation)

เกี่ยวเนื่องจากขั้นตอนการขายในการนัดพบหรือประชุมกับลูกค้า ซึ่งอีกส่วนที่สำคัญคือการนำเสนอขายสินค้า บริการของธุรกิจให้แก่ลูกค้า ซึ่งก็ต้องมีการเตรียมไฟล์นำเสนอ หรือเอกสารโบรชัวร์ที่มีรายละเอียดสินค้าต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าดูเบื้องต้น ซึ่งไฟล์นำเสนอส่วนใหญ่ เซลส์หรือทีมขายก็มักจะทำด้วยโปรแกรม PowerPoint ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับงานนำเสนอ ซึ่งสามารถดูเทคนิคการใช้งานเพิ่มเติมได้ที่บทความ เทคนิคการใช้ PowerPoint ในเชิงธุรกิจ ปิดการขายอย่างได้ผล ทั้งนี้เซลส์ควรจะนำเสนอสินค้าและบริการให้เป็นธรรมชาติ ข้อมูลครบถ้วน พูดกระชับ ตรงประเด็น ไม่ยืดเยื้อ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ

การนำเสนอขาย ในรูปแบบ Presentation นั้นก็เพื่อให้ลูกค้าได้เข้าใจถึงข้อมูล จุดเด่น ของสินค้าและบริการของเราได้อย่างถูกต้อง เห็นภาพรวมได้ง่ายขึ้น และมีความเข้าใจที่ตรงกัน และเมื่อลูกค้าเกิดความสนใจ เซลส์ก็ควรต้องเตรียมทำใบเสนอราคาให้กับลูกค้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งก็ทำได้ง่ายๆ ผ่านระบบ R-CRM 

 

นักขายควรให้บริการอะไรบ้างหลังการขาย

นักขายควรให้บริการอะไรบ้างหลังการขาย

5. การจัดการข้อต่อรอง ข้อเสนออื่นๆ (Negotiation)

ข้อต่อรองการขายมักจะมีให้เห็นบ่อยๆ ซึ่งเกิดอาจจะเกิดจากหลากหลายปัจจัย ทั้งจากที่สินค้า บริการอาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับลูกค้า ลูกค้ายังไม่เคยใช้จึงเกิดความไม่มั่นใจ มีติดเรื่องราคาหรือลูกค้าเองก็อาจจะมีความต้องการที่มากกว่าเงื่อนไขที่ทางเรามีให้ แม้ว่าข้อต่อรองจะทำให้การขายยุ่งยาก แต่ทีมขายก็ไม่สามารถคัดค้านหรือหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น สิ่งสำคัญเมื่อมีข้อต่อรองต่างๆ เกิดขึ้น เพียงแค่ต้องหาแนวทางหรือทางออกที่เหมาะสมร่วมกัน และควรชี้แจงกับลูกค้าถึงข้อสงสัยหรือคำถามต่างๆ ที่เกิดขึ้นและก็ควรตอบสนองอย่างทันทีเมื่อลูกค้ามีข้อกังวลที่เกี่ยวกับสินค้าและบริการที่นำเสนอไป 

นักขายควรให้บริการอะไรบ้างหลังการขาย

6. การปิดการขาย (Close Sales)

กว่าจะมาถึงขั้นตอนการปิดการขายนี้ เซลส์ก็คงใช้ระยะเวลาไปพอสมควรสำหรับแต่ละขั้นตอนการขายก่อนหน้า แต่อย่างไรก็ตามหากมีการจัดการ วางแผนการทำงานในขั้นตอนแรกๆ อย่างเป็นระบบ มีแบบแผน สอดแทรกทักษะทางการขายต่างๆ เข้าไปบ้าง การปิดการขายก็จะใช้เวลาเพียงไม่นานอย่างแน่นอน และเพื่อให้ทุกอย่างในขั้นตอนนี้เสร็จอย่างสมบูรณ์ เซลส์ควรมีตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลต่างๆ รวมถึงเงื่อนไข ข้อตกลง รวมถึงเอกสารต่างๆ ทุกอย่างนั้นถูกต้อง พร้อมทั้งควรมีข้อมูลเกี่ยวกับการขาย ข้อกำหนด เงื่อนไข การดูแลหลังการขาย วิธีการติดต่อต่างๆ เพิ่มเติม ให้ลูกค้าด้วย เพื่อให้ลูกค้าได้มั่นใจในสินค้า บริการ รวมทั้งทีมงานของเรา เพื่อให้เกิดความไว้ใจ ภักดีต่อแบรนด์ของเราได้ด้วยนั่นเอง

 

นักขายควรให้บริการอะไรบ้างหลังการขาย

7. การให้บริการหลังการขาย (Follow up & Information Update)

ส่วนสำคัญของการขายหัลงจากที่สามารถปิดการขายได้แล้ว คือ การบริการหลังการขาย เมื่อธุรกิจได้มีการส่งมอบสินค้าและบริการไปให้กับลูกค้าแล้ว ควรมีการติดตามลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ คอยอัปเดตข้อมูลที่จำเป็น ให้คำแนะนำตามที่ลูกค้าต้องการ รวมถึงการพร้อมแก้ไขปัญหาที่ลูกค้าพบเจอได้อย่างทันท่วงที พร้อมอธิบายให้ลูกค้าทราบว่า ปัญหาที่พบจะได้รับการแก้ไข ซึ่งจะช่วยสร้างความประทับใจ และความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า และสร้างการซื้อซ้ำได้อีกด้วย 

และสำหรับการติดตามดูแลในส่วนนี้ ก็สามารถใช้งานฟีเจอร์ Sales Pipeline โดยการสร้าง Sales Pipeline ขึ้นมาอีกอันแยกออกจากทีมขาย (Sales Team) เพื่อให้ทีม Technical Support ได้ใช้งานเพื่อการควบคุม การทำงานและการดูแลลูกค้าอย่างมีระบบและขั้นตอนที่ชัดเจน ทำให้ลูกค้าได้รับการบริการที่ดีและรวดเร็ว จนเกิดเป็นความประทับใจ

8. การสานความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง (Relationship Management)

ขั้นตอนการขายข้อนี้ มักจะถูกมองข้ามอยู่เสมอ แม้ว่าจะมีโอกาสสร้างรายได้ซ่อนอยู่ การสร้างความสัมพันธ์นี้อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับบริการที่ซื้อไปเบื้องต้นก็ได้ แต่จะต้องมีความสอดคล้องกัน เช่น จัด webinar เพื่อสร้างความรู้ถึงสินค้าและบริการ, การจัดสัมมนาออนไลน์เพื่อแชร์เทคนิคต่างๆ และให้ธุรกิจเราเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตามการสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ธุรกิจสามารถนำเสนอขายสินค้าและบริการอื่นๆได้เพิ่มเติม และเป็นการค้นหาความต้องการของลูกค้าได้อีกด้วย

สรุป

กระบวนการขายของธุรกิจควรถูกออกแบบให้มีความสอดคล้องกับรูปแบบการทำงานและการขายจริงด้วย และไม่ว่าจะถูกออกแบบมาได้ตอบโจทย์กับองค์กรอย่างไร ก็อาจไม่เพียงพอที่จะสามารถช่วยติดตามลูกค้าได้อย่างครอบคลุมหากไม่มีเครื่องมือหรือเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยในการทำงาน เพราะหากจะใช้แค่ความจำของคนเราเองในการดูแลทั้งลูกค้า จัดการข้อมูลทุกขั้นตอน ก็คงปวดหัวไม่น้อย อีกทั้งอาจจะปิดการขายไม่ได้ตามเป้าอีกด้วย เพราะทำงานซ้ำซ้อน ย้อนไปมา

ดังนั้นหากได้มี R-CRM แพลตฟอร์มบริหารทีมขาย เข้ามาช่วยจัดการในทุกๆ ขั้นตอนของการขาย ก็จะทำให้เซลส์ทำงานได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถตรวจสถานะของลูกค้าแต่ละราย ได้อย่างรวดเร็ว ที่สำคัญผู้บริหารและผู้จัดการฝ่ายขายก็สามารถดูข้อมูลการขายได้ทันที สามารถใช้ข้อมูลจากรายงานแต่ละขั้นตอนมาปรับปรุงกลยุทธ์การขายต่อไปได้ หรือหากมีข้อผิดพลาดก็ทำการแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ปัญหาไม่บานปลาย R-CRM จึงถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การทำงานขายและรองรับกระบวนการขายที่ซับซ้อนของธุรกิจไทย เพื่อตอบโจทย์ต่อความต้องการของทีมขาย ให้ครบจบในที่เดียว

R-CRM หนึ่งในเครื่องมือสำคัญของ Readyplanet Marketing Platform 

R-CRM คือแพลตฟอร์มบริหารจัดการทีมขาย ที่ออกแบบมาเพื่อธุรกิจไทย ช่วยให้ผู้บริหารและหัวหน้าฝ่ายขาย สามารถติดตามการทำงานของพนักงานขายได้อย่างเป็นระบบ พร้อมรายงานสถิติสำคัญที่จะช่วยให้วางแผนเชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตอบโจทย์องค์กรที่มีสินค้าหรือบริการแบบ High Involvement

 

นักขายควรให้บริการอะไรบ้างหลังการขาย

ลงทะเบียนและเริ่มใช้ R-CRM ฟรี

การบริการหลังการขายคืออะไร

การบริการหลังการขาย คือ การกระทากิจกรรมหลังการขายที่จะก่อให้เกิด การขายเพิ่มมากขึ้น กิจกรรมหลังการขายเริ่มตั้งแต่การสร้างความสัมพันธ์ ที่ดีอย่างต่อเนื่องหลังการขายไปจนถึงบริการหลังการขาย ความส าคัญของการบริการหลังการขาย ปัญหาที่พบหลังการปิดการขาย

ทำไมต้องมีบริการหลังการขาย

บริการหลังการขาย คือการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าอย่างหนึ่ง หากเปรียบเทียบกับสินค้าทั่วไปแล้ว สินค้าที่มีบริการหลังการขายจะทำให้ลูกค้ารู้สึกมั่นใจได้มากกว่า ว่าการชำระเงินครั้งนี้จะทำให้ 'คุ้มราคา' ในระยะยาว ถือว่าเป็น 'จุดขาย' อย่างหนึ่งของสินค้าที่สร้างความมั่นใจให้กับทางพนักงานและสามารถทำให้องค์กร 'เปิดลูกค้าใหม่' ได้ ...

After Sales Service มีอะไรบ้าง

2. การให้บริการหลังการขาย (After Sales Service) การให้บริการหลังการขาย คือ การติดตามเอาใจใส่ลูกค้าที่ได้ซื้อสินค้าไปโดยให้ความช่วยเหลือ อย่างเต็มที่และจริงใจ ตัวอย่างงานให้บริการหลังการขาย เช่น การแนะนำให้ใช้สินค้า การบริการติดตั้ง (ในกรณีที่สินค้านั้นมีการติดตั้ง เช่น เครื่องปรับอากาศ) การจัดส่งสินค้า การซ่อมแซมและ ...

สิ่งใดไม่ควรทำหลังการขาย

สิ่งที่ไม่ควรทำระหว่างปิดการขายกับลูกค้า.
1. ลืมทำความเข้าใจความต้องการจริงๆ ของลูกค้า ... .
2. คิดว่าการเจรจาเพื่อปิดการขายในแต่ละครั้งจะเป็นการสิ้นสุดและปิดการขาย ... .
3. สับสนระหว่างสิ่งใดสำคัญหรือสิ่งใดไม่สำคัญ ... .
4. พูดมากเกินไป ไม่ยอมฟังความเห็นจากลูกค้า ... .
5. พยายามปิดการขายทุกครั้งที่มีโอกาส ... .
6. เจรจาโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา.