เห็ด รา แบคทีเรีย มีบทบาทใดในระบบนิเวศ

เชื้อราจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่สำคัญยิ่งในระบบนิเวศ เช่น มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช เป็นพื้นฐานทำให้เกิดการหมุนเวียนแร่ธาตุ และเพิ่มความหลากหลายของพืชในระบบนิเวศอีกด้วย เชื้อราสามารถค้นพบได้ทั่วไปในประเทศไทย หากแต่การศึกษาถึงการกระจายตัวของเชื้อรา ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายของเชื้อราโดยรวมอย่างไรนั้นยังต้องทำการศึกษาต่อไป

เห็ด รา แบคทีเรีย มีบทบาทใดในระบบนิเวศ
เห็ด รา แบคทีเรีย มีบทบาทใดในระบบนิเวศ
เชื้อราเป็นอีกหนึ่งกลุ่มจุลินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่งในระบบนิเวศจัดเป็นสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรเห็ดรา โดยมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช ช่วยเกิดการหมุนเวียนแร่ราตุ และรักษาความหลากหลายของพืชในระบบนิเวศ เชื้อราทำให้เกิดนิเวศบริการ (Ecosystem services) ที่สำคัญต่อระบบนิเวศธรรมชาติ ระบบการเกษตร และเห็ดที่ผลิตได้ก่อให้เกิดรายได้และการบริโภคในครัวเรือน ประเทศไทยมีความหลากหลายของเชื้อราสูงมาก โดยมีกลุ่มเชื้อราที่สำคัญหลักๆ อาทิ เชื้อราจากดิน (Soil fungi) เชื้อราขนาดเล็ก (Microfungi) และเชื้อราน้ำจืด (Freshwater fungi)

อย่างไรก็ตามเชื้อราถึงแม้จะมีความสำคัญและคุณค่ามากต่อระบบนิเวศ แต่ที่ผ่านมายังไม่มีความพยายามที่จะทำการศึกษาการกระจายตัวของกลุ่มเชื้อราเหล่านี้ร่วมกันอย่างจริงจังทำให้ไม่มีผลการศึกษาด้านการตรวจสอบผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีอิทธิผลต่อการกระจายตัวของเชื้อรา

จากปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้คณะนักวิจัยมีเป้าหมายที่จะทำการรวบรวมจำนวนเชื้อราตามแผนที่ภูมิทัศน์เพื่อแสดงให้เห็นถึงการกระจายตัวของเชื้อราที่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมโดยการสำรวจเชื้อราจากสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ จากการสำรวจดิน น้ำ และตัวอย่างพืชตลอดจนการสำรวจด้านพฤกษศาสตร์ โดยทำการตรวจสอบภายใต้กล้องจุลทรรศน์และเทคนิคทางชีวโมเลกุลประชากรเชื้อราที่ค้นพบในแต่ละพื้นที่

สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศต้องการอาหารเพื่อการดำรงชีวิต บางชนิดมีบทบาทในการสร้างอาหาร บางชนิดกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร และบางชนิดเป็นผู้ย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิต บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศจะมีอะไรบ้างนั้น มาดูกันเลย!!

เห็ด รา แบคทีเรีย มีบทบาทใดในระบบนิเวศ

1) ผู้ผลิต (producer) => สิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่ พืช สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิด

2) ผู้บริโภค (consumer) => สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ สัตว์ต่าง ๆ ซึ่งถ้าพิจารณาอาหารที่ผู้บริโภคกิน จะสามารถแบ่งกลุ่มผู้บริโภคออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
2.1 สิ่งมีชีวิตกินพืช (herbivore) เช่น วัว ช้าง
2.2 สิ่งมีชีวิตกินสัตว์ (carnivore) เช่น เสือดาว สิงโต
2.3 สิ่งมีชีวิตกินพืชและสัตว์ (omnivore) เช่น ไก่ มนุษย์
2.4 สัตว์กินซาก (scavenger) เช่น แร้ง

3) ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ (decomposer) => ดำรงชีวิตโดยผลิตเอนไซม์ออกมาย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตให้เป็นสารอาหารที่มีขนาดโมเลกุลเล็กลง แล้วดูดซึมสารอาหารไปใช้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะอยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ผลิตสามารถนำไปใช้ในการดำรงชีวิตต่อไป เช่น เห็ดรา แบคทีเรีย


รู้หรือไม่? ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดการหมุนเวียนของสารเป็นวัฏจักรได้ เช่น วัฏจักรคาร์บอน

เริ่มจากพืชใช้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างสารประกอบอินทรีย์ซึ่งมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เก็บไว้ในส่วนต่าง ๆ ของพืช

เมื่อสิ่งมีชีวิตอื่นมากินพืช สารประกอบอินทรีย์ที่มีคาร์บอนนี้จะถูกถ่ายทอดไปตามลำดับขั้นของการบริโภค หลังจากสิ่งมีชีวิตตายลง บางส่วนจะถูกย่อยสลายโดยผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ ส่วนที่ไม่ถูกย่อยสลายจะทับถมกันเป็นเวลานานภายใต้สภาวะที่เหมาะสมและเปลี่ยนเป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เช่น ถ่านหิน ปิโตรเลียม

การหายใจของสิ่งมีชีวิตและการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไชด์กลับคืนสู่บรรยากาศ ซึ่งพืชจะนำไปใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง จึงเกิดการหมุนเวียนต่อเนื่องเป็นวัฏจักร นอกจากวัฏจักรคาร์บอนแล้ว ยังมีวัฏจักรสารที่สำคัญอื่น ๆ อีก เช่น วัฏจักรน้ำ วัฏจักรไนโตรเจน วัฏจักรฟอสฟอรัส


เรียนรู้เพิ่มเติมเรื่องระบบนิเวศ
1) สื่อการเรียนรู้ออนไลน์ Project 14
– องค์ประกอบของระบบนิเวศ https://www.youtube.com/watch?v=6oMFy18U6Gg
– การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ https://www.youtube.com/watch?v=vgDwaxck7tc
2) รายการเรียนสอนออนไลน์
– องค์ประกอบของระบบนิเวศ https://www.facebook.com/watch/?v=121234103188733
– การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ https://www.facebook.com/watch/?v=3631700100281645
– การสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิต https://www.facebook.com/ipst.thai/posts/3763855883650772
– รูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต https://www.facebook.com/ipst.thai/posts/3779773525392341

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

บทบาทของสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ

เห็ดรามีบทบาทหน้าที่อย่างไรในระบบนิเวศ

เนื่องจากเห็ดคือรากลุ่มหนึ่ง ดังนั้น ในระบบนิเวศ เห็ดจึงทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยสลาย โดยผลลัพธ์จากการย่อยสลาย มักอยู่ในรูปธาตุอาหารต่างๆ ที่เห็ดนำไปใช้ในการเติบโต ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาให้ลึกลงไปถึงการได้มาซึ่งอาหารของเห็ด หรือพิจารณาจากสิ่งที่เห็ดขึ้นอยู่เป็นหลัก จะสามารถแบ่งเห็ดออกได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ เห็ดปรสิตกับสิ่งมี ...

ราและแบคทีเรียมีหน้าที่อะไรในระบบนิเวศ

3. ผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์(decomposer) ได้แก่ เห็ด รา แบคทีเรีย และจุลินทรีย์ต่างๆ ที่สามารถย่อยสลายซากพืช ซากสัตว์ หรือสารอินทรีย์ ให้เป็นสารอนินทรีย์พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

รามีบทบาทและหน้าที่อะไร

รา เป็นจุลินทรีย์ ที่มีบทบาทสำคัญในอาหาร 1. รา เป็นสาเหตุทำให้อาหารเสื่อมเสีย (food spoilage) 2. ราสร้าง สารพิษจากรา (mycotoxin) ซึ่งเป็นอันตายในอาหาร ราบางชนิดสร้างสารพิษ เช่น อะฟลาทอกซิน ( aflatoxin) เป็นสารก่อมะเร็ง

เห็ดมีหน้าที่ทำอะไร

หน้าที่ส าคัญของเห็ด คือ การเป็นผู้ย่อยสลายที่ ส าคัญในระบบนิเวศ เป็นกลไกหลักที่ส าคัญในการ หมุนเวียนธาตุอาหารในวัฏจักรคาร์บอน ซึ่งหาก ปราศจากผู้ย่อยสลายการหมุนเวียนแร่ธาตุอาหาร และ พลังงานเกิดขึ้นได้ช้าทาให้เกิดความไม่สมดุลของระบบ