สิ่งใดที่ช่วยทำให้การสอนของครูได้รับความสำเร็จมากที่สุด

การสอนเป็นภารกิจซับซ้อนและมีหลายแง่มุม รายการวิธีหรือเทคนิคการสอนประกอบด้วยแนวคิดและตัวอย่างมากมาย และการสนทนาถึงสิ่งเหล่านี้อย่างเต็มที่จะทำให้มีเรื่องนี้อยู่เต็มทั้งเล่ม อย่างไรก็ดี การจัดหมวดหมู่แนวคิดและตัวอย่างให้เป็นวิธีสอน ทักษะ หรือวิธีการในด้านต่างๆ จำเป็นต่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ หัวข้อนี้จะกล่าวเฉพาะด้านสำคัญๆ บางด้าน

Show

เมื่อตัดสินใจว่าจะสอนด้วยวิธีใด เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจดจำว่าวิธีและทักษะเป็นเพียงหนทางสู่จุดหมาย ไม่ใช่จุดหมายในตัว และของตัวมันเอง ครูควรเลือกวิธีที่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหา หลักคำสอน และหลักธรรมของพระคัมภีร์ช่วงนั้นได้ดีที่สุดและที่จะช่วยให้เกิดการจรรโลงใจและการประยุกต์ใช้ การจดจำจุดประสงค์ของการใช้ทักษะหรือเทคนิคด้านใดด้านหนึ่งจะช่วยให้ครูนำมาใช้อย่างมีความหมายมากขึ้น อีกทั้งสำคัญเช่นกันที่ต้องจดจำว่าหากปราศจากพระวิญญาณ แม้วิธีสอนและวิธีการที่ได้ผลที่สุดก็จะไม่ประสบความสำเร็จ

คำถาม [5.1]

การถามคำถามที่มีประสิทธิภาพเป็นทักษะสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ครูจะพัฒนาได้ คำถามจะดึงนักเรียนเข้ามาในกระบวนการเข้าใจพระคัมภีร์และช่วยพวกเขาระบุและเข้าใจความจริงพระกิตติคุณที่สำคัญ คำถามช่วยให้นักเรียนใคร่ครวญว่าพระกิตติคุณมีอิทธิพลต่อชีวิตพวกเขาอย่างไรและพิจารณาว่าจะประยุกต์ใช้หลักธรรมพระกิตติคุณในเวลานี้และในอนาคตได้อย่างไร การใช้คำถามที่มีประสิทธิภาพสามารถกระตุ้นนักเรียนให้อัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์เข้ามาในประสบการณ์การเรียนรู้ของพวกเขาผ่านการใช้สิทธิ์เสรีและมีสัมฤทธิผลตามบทบาทของพวกเขาในกระบวนการเรียนรู้

การคิดคำถามอย่างรอบคอบในระหว่างเตรียมบทเรียนเป็นความพยายามที่คุ้มค่าซึ่งจะนำไปสู่ความเข้าใจ สามารถดึงความคิดและใจของนักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมขณะพวกเขาเรียนรู้ เมื่อวางแผนถามคำถาม อันดับแรกครูควรพิจารณาจุดประสงค์ที่เขาถามคำถามนั้น (ตัวอย่างเช่น ครูอาจปรารถนาให้นักเรียนค้นพบข้อมูลในข้อความพระคัมภีร์ นึกถึงความหมายของข้อความหรือแบ่งปันประจักษ์พยานเกี่ยวกับความจริงของหลักธรรม) จากนั้นครูควรคิดออกแบบคำถามโดยมีจุดประสงค์ในใจ คำที่เลือกไว้อย่างดีไม่กี่คำถามสามารถสร้างความแตกต่างใหญ่หลวงไม่ว่าคำถามจะส่งผลสมปรารถนาหรือไม่ก็ตาม

ครูควรพยายามเตรียมและถามคำถามที่กระตุ้นให้คิดและรู้สึก โดยปกติพวกเขาควรหลีกเลี่ยงคำถามที่ตอบเพียง “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” หรือที่คำตอบชัดเจนจนไม่จูงใจนักเรียนให้คิด ครูควรหลีกเลี่ยงคำถามที่อาจก่อให้เกิดการโต้เถียงอันอาจทำให้นักเรียนท้อแท้และทำให้โต้เถียงกันในชั้นซึ่งทำให้พระวิญญาณเศร้าโศก (ดู 3 นีไฟ 11:29)

เมื่อถามคำถามในชั้น เป็นสิ่งสำคัญที่ครูต้องให้เวลานักเรียนคิดหาคำตอบ บางครั้งครูถามคำถาม หยุดหนึ่งหรือสองวินาที จากนั้นเมื่อไม่มีใครตอบทันทีก็ตื่นตระหนกและให้คำตอบเอง อย่างไรก็ดีคำถามที่มีประสิทธิภาพมักเรียกร้องความคิดและการใคร่ครวญ นักเรียนอาจต้องการเวลาหาคำตอบในพระคัมภีร์หรือเรียบเรียงคำตอบที่มีความหมาย ในบางโอกาสการให้เวลานักเรียนเขียนคำตอบก่อนตอบก็ช่วยได้

พระเยซูคริสต์ องค์ปรมาจารย์ ทรงใช้คำถามหลายแบบเพื่อกระตุ้นคนอื่นๆ ให้ไตร่ตรองและประยุกต์ใช้หลักธรรมที่พระองค์ทรงสอน คำถามของพระองค์หลากหลายขึ้นอยู่กับสิ่งที่พระองค์ทรงหมายมั่นทำให้เกิดขึ้นในชีวิตคนที่พระองค์ทรงสอน บางคำถามกระตุ้นผู้ฟังให้คิดและเปิดพระคัมภีร์เพื่อหาคำตอบ เช่น เมื่อพระองค์ตรัสถามว่า “ในธรรมบัญญัติเขียนว่าอย่างไร” ท่านอ่านแล้วเข้าใจอย่างไร?” (ลูกา 10:26) คำถาม<3481>ค้นหา</3481>ช่วยนักเรียนสร้างความเข้าใจพื้นฐานในพระคัมภีร์โดยเชื้อเชิญให้พวกเขาค้นหารายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับเนื้อหาของช่วงพระคัมภีร์3 นีไฟ 27:27)

แม้จะมีคำถามมากมายหลากหลายที่ครูใช้ได้ แต่คำถามทั่วไปสี่แบบที่สำคัญเป็นพิเศษในการสอนและการเรียนพระกิตติคุณมีดังนี้

  1. คำถามที่เชื้อเชิญให้นักเรียนค้นหาข้อมูล

  2. คำถามที่นำนักเรียนให้วิเคราะห์เพื่อความเข้าใจ

  3. คำถามที่เชื้อเชิญความรู้สึกและประจักษ์พยาน

  4. คำถามที่ส่งเสริมการประยุกต์ใช้

คำถามที่เชื้อเชิญให้นักเรียนค้นหาข้อมูล [5.1.1]

คำถาม ค้นหา ช่วยนักเรียนสร้างความเข้าใจพื้นฐานในพระคัมภีร์โดยเชื้อเชิญให้พวกเขาค้นหารายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับเนื้อหาของช่วงพระคัมภีร์ เพราะคำถามค้นหากระตุ้นนักเรียนให้หาข้อมูลในเนื้อความพระคัมภีร์ การถามคำถามเช่นนั้นก่อนอ่านข้อพระคัมภีร์เพื่อหาคำตอบจึงช่วยได้ โดยดึงความสนใจของนักเรียนและช่วยให้พวกเขาค้นพบคำตอบในเรื่องราวพระคัมภีร์

คำถามค้นหา มักมีถ้อยคำอย่างเช่น ใคร อะไร เมื่อใด อย่างไร ที่ไหน และ เหตุใด ตัวอย่างคำถามที่เชื้อเชิญให้นักเรียน ค้นหาข้อมูล ได้แก่

  • ตามที่กล่าวไว้ใน มัทธิว 19:22 เหตุใด เศรษฐีหนุ่มจึงออกไปเป็นทุกข์

  • ใน 1 ซามูเอล 17:24 คนอิสราเอลตอบสนอง อย่างไร เมื่อพวกเขาเห็นโกลิอัท ดาวิดตอบสนอง อย่างไร ใน ข้อ 26

  • แอลมาให้คำแนะนำอะไรแก่ชิบลันบุตรชายใน แอลมาบทที่ 38 ข้อ 5–15

คำตอบของคำถามค้นหาควรวางรากฐานของความเข้าใจซึ่งคำถามแบบอื่นยึดเป็นพื้นฐานเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพิ่มขึ้นและกระตุ้นการประยุกต์ใช้ คำถามของพระผู้ช่วยให้รอด “คนทั่วไปพูดกันว่าบุตรมนุษย์เป็นใคร” (มัทธิว 16:13) แสดงภูมิหลังของข้อมูล คำตอบที่เหล่าสาวกให้เตรียมพวกเขาให้พร้อมรับคำถามที่ลึกซึ้งขึ้นและสะเทือนอารมณ์มากขึ้น “แล้วพวกท่านว่าเราเป็นใคร” (มัทธิว 16:15)

คำถามที่นำนักเรียนให้วิเคราะห์เพื่อความเข้าใจ [5.1.2]

คำถามวิเคราะห์มักใช้ถามหลังจากนักเรียนคุ้นเคยกับข้อที่พวกเขากำลังศึกษา คำถามดังกล่าวสามารถเชื้อเชิญให้ผู้เรียนแสวงหาความเข้าใจกว้างขึ้นและลึกซึ้งขึ้นเกี่ยวกับพระคัมภีร์ สิ่งนี้สามารถช่วยนักเรียนสำรวจความสัมพันธ์และรูปแบบหรือค้นพบความแตกต่างในพระคัมภีร์ คำถามวิเคราะห์มักจะมีคำตอบมากกว่าคำตอบเดียว

โดยปกติคำถามวิเคราะห์มีจุดประสงค์อย่างน้อยหนึ่งในสาม ทั้งยังสามารถช่วยนักเรียนได้ดังนี้

  • เข้าใจบริบทและเนื้อหาของพระคัมภีร์ดีขึ้น

  • ระบุหลักธรรมและหลักคำสอนพระกิตติคุณ

  • พัฒนาความเข้าใจในเรื่องหลักธรรมและหลักคำสอนเหล่านั้นให้ลึกซึ้งขึ้น

ช่วยให้นักเรียนเข้าใจบริบทและเนื้อหาของพระคัมภีร์ดีขึ้น คำถามวิเคราะห์สามารถช่วยนักเรียนขยายความเข้าใจในเหตุการณ์และเนื้อความพระคัมภีร์โดยช่วยพวกเขาสำรวจข้อความในบริบทของภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม หรือตามลักษณะของข้อความอื่นในพระคัมภีร์ คำถามดังกล่าวสามารถช่วยนักเรียนอธิบายความหมายของคำหรือวลีและช่วยเหลือพวกเขาในการวิเคราะห์รายละเอียดของโครงเรื่องเพื่อให้รู้ความหมายมากขึ้น กระบวนการนี้เตรียมนักเรียนให้สามารถระบุหลักธรรมและหลักคำสอน

ตัวอย่างคำถามแบบนี้ได้แก่

  • คำอธิบายของพระเยซูในมัทธิว 13:18–23ช่วยให้เราเข้าใจคำสอนของพระองค์ในข้อ 3 ถึง 8 อย่างไร

  • ท่านเห็นความแตกต่างอะไรบ้างระหว่างการตอบสนองของเลมันและเลมิวเอลต่อคำแนะนำของเทพกับการตอบสนองของนีไฟ (ดู 1 นีไฟ 3:31; 4:1–7)

  • อะไรทำให้ 116 หน้าหายไปซึ่งเป็นเหตุให้พระเจ้าทรงแนะนำโจเซฟ สมิธว่า ท่าน “ไม่ควรกลัวมนุษย์ยิ่งกว่าพระผู้เป็นเจ้า” (คพ. 3:7)

ช่วยนักเรียนระบุหลักธรรมและหลักคำสอนพระกิตติคุณ เมื่อนักเรียนพัฒนาความเข้าใจในบริบทและเนื้อหาของพระคัมภีร์ พวกเขาย่อมสามารถระบุหลักธรรมและหลักคำสอนที่มีได้ดีขึ้น คำถามวิเคราะห์สามารถช่วยนักเรียนดึงข้อสรุปและบอกหลักธรรมและหลักคำสอนที่พบในช่วงพระคัมภีร์ได้อย่างกระจ่างชัด (ดู หัวข้อ 2.5.1, “ระบุหลักคำสอนและหลักธรรม” ในหน้า 26)

ตัวอย่างบางข้อของคำถามเหล่านี้ได้แก่

  • ความสำเร็จของนีไฟในการได้แผ่นจารึกทองเหลืองทั้งที่ยากลำบากมากใช้อธิบายหลักธรรมใด (ดู 1 นีไฟ 3–4)

  • เราเรียนรู้หลักคำสอนใดเกี่ยวกับพระลักษณะของพระผู้เป็นเจ้าจากนิมิตแรก (ดู โจเซฟ สมิธ—ประวัติ 1:15–20)

  • เราเรียนรู้บทเรียนอะไรจากการที่หญิงซึ่งเป็นโรคตกโลหิตพยายามเข้าถึงพระผู้ช่วยให้รอด และการตอบสนองของพระองค์เนื่องด้วยการนั้น (ดู มาระโก 5:24–34)

ช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจลึกซึ้งขึ้นในหลักธรรมและหลักคำสอน นอกจาก ระบุ หลักธรรมและหลักคำสอนแล้ว นักเรียนจำเป็นต้อง เข้าใจ ก่อนจึงจะประยุกต์ใช้ได้อย่างมีความหมาย คำถามที่ทำให้เข้าใจความหมายของหลักธรรมหรือหลักคำสอนนั้นๆ ชัดเจนขึ้น กระตุ้นนักเรียนให้นึกถึงหลักธรรมในบริบทปัจจุบัน หรือเชื้อเชิญให้นักเรียนอธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • มีหลักฐานอะไรที่จะยืนยันว่าเรารักพระผู้เป็นเจ้าสุด “พลัง, ความนึกคิด, และพละกำลัง” (โมโรไน 10:32)

  • ทำไมการสวดอ้อนวอนจึงมักจะช่วยให้ท่านเกิดพลังทางวิญญาณซึ่งจำเป็นต่อการเอาชนะการล่อลวงต่างๆ เช่น พูดอย่างไร้เมตตากับผู้อื่นหรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมบันเทิงที่ทำให้พระวิญญาณขุ่นเคือง (ดู คพ. 10:5)

  • ท่านจะเห็นพฤติกรรมและลักษณะเด่นอะไรในชีวิตคนที่กำลังสร้างบนรากฐานของพระคริสต์ (ดู ฮีลามัน 5:1–14)

  • โดยใช้สิ่งที่เราเรียนรู้ในแอลมา 40ท่านจะอธิบายหลักคำสอนเรื่องการฟื้นคืนชีวิตกับเพื่อนที่ไม่เป็นสมาชิกอย่างไร

คำถามที่เชื้อเชิญความรู้สึกและประจักษ์พยาน[5.1.3]

คำถามบางข้อช่วยให้นักเรียน คิด และ เข้าใจ เกี่ยวกับหลักธรรมและหลักคำสอนพระกิตติคุณส่วนข้ออื่นสามารถทำให้พวกเขาใคร่ครวญประสบการณ์ทางวิญญาณและนำนักเรียนให้ รู้สึก ลึกซึ้งขึ้นต่อความจริงแลความสำคัญของหลักธรรมหรือหลักคำสอนพระกิตติคุณในชีวิตพวกเขา หลายครั้งความรู้สึกเหล่านั้นก่อให้เกิดความปรารถนาแรงกล้าในใจนักเรียนที่จะดำเนินชีวิตตามหลักธรรมพระกิตติคุณอย่างซื่อสัตย์มากขึ้น ในการปราศรัยต่อนักการศึกษาศาสนาซีอีเอสเอ็ลเดอร์เฮนรีย์ บี. อายริงก์พูดถึงคำถามลักษณะนี้เมื่อท่านกล่าวว่า

“คำถามบางข้อเชื้อเชิญการดลใจ ครูที่พิเศษถามคำถามเหล่านั้น … นี้คือคำถามที่ไม่ก่อให้เกิดการดลใจ: ‘จะทราบว่าคนหนึ่งเป็นศาสดาพยากรณ์ที่แท้จริงได้อย่างไร?’ คำถามดังกล่าวเชื้อเชิญคำตอบเป็นข้อๆ ดึงมาจากความทรงจำในพระคัมภีร์และถ้อยคำของศาสดาพยากรณ์ที่มีชีวิต นักเรียนจำนวนมากอาจมีส่วนร่วมในการตอบ แต่ส่วนใหญ่จะให้ข้อเสนอแนะที่อย่างน้อยก็ดีพอใช้ ความคิดจะถูกกระตุ้น

“แต่เราอาจถามคำถามทำนองนี้เช่นกัน โดยมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย ‘คุณเคยรู้สึกว่าอยู่ต่อหน้าศาสดาพยากรณ์เมื่อใด’ คำถามเช่นนั้นจะเชื้อเชิญให้แต่ละคนค้นหาความรู้สึกจากความทรงจำ หลังจากถามเราอาจรอสักครู่อย่างฉลาดก่อนขอให้บางคนตอบ แม้แต่คนที่ไม่พูดก็จะนึกถึงประสบการณ์ทางวิญญาณ นั่นจะอัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์” (“The Lord Will Multiply the Harvest,” 6)

คำถามเช่นนั้นเชื้อเชิญให้นักเรียนหวนนึกถึงอดีต “ค้นหาความรู้สึกจากความทรงจำ” และนึกถึงประสบการณ์ทางวิญญาณของพวกเขาเกี่ยวกับหลักคำสอนหรือหลักธรรมพระกิตติคุณที่กำลังสนทนา บ่อยครั้งคำถามเหล่านี้ส่งผลให้นักเรียนบอกเล่าความรู้สึกและประสบการณ์หรือแสดงประจักษ์พยานเกี่ยวกับหลักคำสอนหรือหลักธรรม คำถามเหล่านี้ช่วยนำพระกิตติคุณจากความคิดของนักเรียนลงมาในใจพวกเขา เมื่อพวกเขา รู้สึก ในใจถึงความจริงและความสำคัญของหลักคำสอนหรือหลักธรรมพระกิตติคุณ พวกเขาจึงน่าจะนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตมากขึ้น

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างคำถามที่สามารถกระตุ้นความรู้สึกและเชื้อเชิญประจักษ์พยาน

  • ท่านรู้สึกถึงความสงบและปีติที่มาจากการให้อภัยผู้อื่นเมื่อใด

  • นึกถึงเวลาที่พระเจ้าทรงนำทางการตัดสินใจของท่านเพราะท่านวางใจพระองค์แทนที่จะพึ่งพาความเข้าใจของท่านเอง (ดู สุภาษิต 3:5–6) ท่านได้รับพรอย่างไรในการทำเช่นนั้น

  • ถ้าท่านสามารถแสดงความกตัญญูต่อพระผู้ช่วยให้รอดเป็นส่วนตัวสำหรับการเสียสละเพื่อท่าน ท่านจะทูลพระองค์ว่าอย่างไร

  • ชีวิตท่านต่างไปอย่างไรเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในป่าศักดิ์สิทธิ์

  • ท่านเห็นผู้อื่นตอบสนองการทดลองอย่างซื่อสัตย์เมื่อใด สิ่งนั้นมีอิทธิพลต่อท่านอย่างไร

ข้อควรระวัง: การตอบคำถามลักษณะนี้เป็นเรื่องส่วนตัวและละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง ครูควรแน่ใจว่านักเรียนไม่รู้สึกถูกบังคับให้ตอบคำถาม บอกเล่าความรู้สึกหรือประสบการณ์ หรือแสดงประจักษ์พยาน นอกจากนี้ครูควรช่วยให้นักเรียนเข้าใจธรรมชาติศักดิ์สิทธิ์ของประสบการณ์ทางวิญญาณส่วนตัวและกระตุ้นพวกเขาให้บอกเล่าประสบการณ์เหล่านั้นอย่างเหมาะสม (ดู คพ.63:64 )

คำถามที่ ส่งเสริมการประยุกต์ใช้[5.1.4]

สุดท้าย จุดมุ่งหมายของการสอนพระกิตติคุณคือช่วยให้นักเรียนประยุกต์ใช้หลักธรรมและหลักคำสอนที่พบในพระคัมภีร์และมีคุณสมบัติคู่ควรรับพรที่สัญญาไว้กับผู้ซื่อสัตย์และเชื่อฟัง นักเรียนที่สามารถเห็นได้ว่าพวกเขาได้รับพรอย่างไรจากการดำเนินชีวิตตามพระกิตติคุณในอดีตจะปรารถนามากขึ้นและพร้อมจะประยุกต์ใช้อย่างประสบผลสำเร็จในอนาคต คำถามสามารถมีบทบาทสำคัญยิ่งในการช่วยให้นักเรียนเห็นว่าพวกเขาจะประยุกต์ใช้หลักธรรมเหล่านี้ในสถานการณ์ปัจจุบันของพวกเขาได้อย่างไรและพิจารณาว่าจะประยุกต์ใช้ในอนาคตได้อย่างไร

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างคำถามที่สามารถช่วยให้นักเรียนคิดอย่างเจาะจงเกี่ยวกับแนวทางที่พวกเขาจะประยุกต์ใช้หลักธรรมและหลักคำสอนในชีวิตพวกเขา:

  • ท่านต้องเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างจึงจะรักษาวันสะบาโตให้ศักดิ์สิทธิ์ได้ดีขึ้นเพื่อท่านจะหมดจดจากโลกได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น (ดู คพ. 59:9–13)

  • ศาสดาพยากรณ์ได้แนะนำอะไรบ้างที่ท่านจะทำตามอย่างเคร่งครัดมากขึ้น (ดู แอลมา 57:1–27)

  • หลักธรรมที่ว่าถ้าเราแสวงหาอาณาจักรของพระผู้เป็นเจ้าก่อน เราจะได้รับพรในด้านอื่นของชีวิตสามารถช่วยท่านจัดลำดับเป้าหมายและกิจกรรมต่างๆ ของท่านสำหรับสองหรือสามปีถัดไปได้อย่างไร (ดู มัทธิว 6:33)

การสนทนาในชั้นเรียน [5.2]

การสนทนาที่มีความหมายในชั้นเรียนมีบทบาทสำคัญยิ่งในการสอนและการเรียนรู้พระกิตติคุณ การสนทนาในชั้นเรียนเกิดขึ้นเมื่อครูปฏิสัมพันธ์กับนักเรียนด้วยวาจาและนักเรียนปฏิสัมพันธ์กันด้วยวาจาในลักษณะที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การสนทนาที่ดีสามารถช่วยนักเรียนให้เรียนรู้ความสำคัญของการหาคำตอบให้คำถามสำคัญๆ เรียนรู้คุณค่าของการฟัง เรียนรู้จากความคิดเห็น แนวคิด และประสบการณ์ของผู้อื่น อีกทั้งสามารถช่วยนักเรียนรักษาระดับความตั้งใจและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนซึ่งมักส่งผลให้เข้าใจหลักคำสอนและหลักธรรมแห่งพระกิตติคุณที่กำลังสนทนาลึกซึ้งขึ้น และมีใจปรารถนาอย่างแท้จริงมากขึ้นที่จะประยุกต์ใช้สิ่งที่พวกเขาเรียนรู้และรู้สึก

ต่อไปนี้เป็นแนวคิดบางอย่างเพื่อช่วยครูนำการสนทนาที่สร้างความสนใจและแรงบันดาลใจในชั้นเรียน

วางแผนการสนทนา เช่นเดียวกับวิธีสอนวิธีอื่น การสนทนาจำเป็นต้องมีการเตรียมมาอย่างดีและดำเนินการสนทนาภายใต้อิทธิพลของพระวิญญาณ ครูจำเป็นต้องมีความคิดว่าการสนทนาจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจสิ่งที่พวกเขาจำเป็นต้องเรียนรู้อย่างไร คำถามชุดใดจะนำไปสู่จุดประสงค์นั้น จะถามคำถามเหล่านั้นให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุดได้อย่างไรและจะตอบสนองอย่างไรถ้าคำตอบของนักเรียนนำการสนทนาไปในทิศทางที่คาดไม่ถึง

หลีกเลี่ยงอรรถาธิบายที่มากเกินไปของครู ครูที่อรรถาธิบายหัวข้อการสนทนามากเกินไปอาจทำให้นักเรียนท้อใจไม่อยากมีส่วนร่วมเพราะพวกเขารู้แล้วว่าครูมักรีบร้อนให้คำตอบ อรรถาธิบายที่มากเกินไปของครูสามารถทำให้นักเรียนรู้สึกได้ว่าความช่วยเหลือของพวกเขามีค่าน้อยลงและทำให้พวกเขาหมดความสนใจ

เชื้อเชิญให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูควรพยายามหาวิธีเชื้อเชิญนักเรียนทุกคนอย่างเหมาะสมให้มีส่วนร่วมในการสนทนาที่มีความหมาย แม้กระทั่งคนที่ลังเลไม่กล้ามีส่วนร่วมด้วยเหตุผลต่างๆ นานา ครูควรระวังอย่าทำให้นักเรียนอับอายโดยเรียกพวกเขาทั้งที่รู้ว่าพวกเขาไม่พร้อมจะตอบ ครูควรระวังอย่าทำให้นักเรียนอับอายโดยเรียกพวกเขาทั้งที่รู้ว่าพวกเขาไม่พร้อมจะตอบ

บางครั้งนักเรียนคนหนึ่งหรือนักเรียนไม่กี่คนมักครอบงำการสนทนาในชั้นเรียน ครูอาจจำเป็นต้องพูดคุยเป็นส่วนตัวกับแต่ละคน ขอบคุณพวกเขาที่เต็มใจมีส่วนร่วม แสดงให้เห็นว่าสำคัญเพียงใดที่จะกระตุ้นสมาชิกชั้นเรียนทุกคนให้มีส่วนร่วม และอธิบายว่าเหตุใดจึงไม่เรียกพวกเขาให้ตอบทุกครั้งที่พวกเขาอาสาตอบ

เรียกชื่อนักเรียน การเรียกชื่อนักเรียนให้ตอบคำถามหรือแสดงความเห็นช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีความรักและความเคารพ

อย่ากลัวความเงียบ บางครั้งเมื่อถามคำถามที่มีประสิทธิภาพ นักเรียนอาจไม่ตอบทันที ความเงียบครั้งนี้ไม่ควรทำให้ครูกังวลใจถ้าไม่เงียบนานเกินไป บางครั้งนักเรียนต้องมีโอกาสใคร่ครวญสิ่งที่ถามและวิธีที่พวกเขาจะตอบคำถาม การใคร่ครวญเช่นนั้นทำให้พระวิญญาณบริสุทธิ์แนะนำสั่งสอนได้ง่ายขึ้น

เรียบเรียงคำถามใหม่ บางครั้งนักเรียนตอบคำถามไม่ได้เพราะคำถามไม่ชัดเจน ครูอาจจำเป็นต้องเรียบเรียงคำถามใหม่หรือถามนักเรียนว่าพวกเขาเข้าใจสิ่งที่ถามหรือไม่ ครูควรหลีกเลี่ยงคำถามติดกันเป็นชุดๆ โดยไม่ปล่อยให้นักเรียนมีเวลามากพอจะคิดอย่างลึกซึ้งเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสม

ตั้งใจฟังและถามคำถามติดตามผล บางครั้งครูกังวลว่าจะพูดหรือทำอะไรต่อจนพวกเขาไม่เอาใจใส่สิ่งที่นักเรียนกำลังพูด การสังเกตและตั้งใจฟังนักเรียนทำให้ครูเล็งเห็นความต้องการและนำการสนทนาภายใต้การนำทางของพระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ ครูสามารถทำให้แน่ใจได้ว่าครูเข้าใจคำตอบของนักเรียนโดยถามทำนองนี้ “คุณจะช่วยให้ผมเข้าใจได้ไหมครับว่าคุณหมายถึงอะไร” หรือ “คุณพอจะยกตัวอย่างได้ไหมครับว่าคุณหมายถึงอะไร” การถามคำถามติดตามผลลักษณะนี้มักจะเชิญชวนนักเรียนให้แบ่งปันมากขึ้นในสิ่งที่พวกเขากำลังคิดและรู้สึก บ่อยครั้งมักเชื้อเชิญวิญญาณของประจักษ์พยานในการตอบ ครูควรเตือนนักเรียนให้ฟังกันด้วยและไม่พูดเมื่อคนอื่นกำลังพูด

ส่งต่อความเห็นหรือคำถามของนักเรียน หลายครั้งการสนทนาในชั้นเรียนเป็นไปตามรูปแบบที่ว่าครูถาม นักเรียนตอบ แล้วครูก็เพิ่มข้อคิดของเขาให้คำตอบของนักเรียนก่อนถามคำถามข้อต่อไป การสนทนาจะมีความหมาย มีชีวิตชีวา และเกิดประสิทธิผลมากขึ้นเมื่อครูส่งต่อคำตอบหรือความเห็นจากนักเรียนคนหนึ่งไปให้นักเรียนอีกคนหนึ่ง คำถามง่ายๆ เช่น“คุณอยากเพิ่มอะไรไหมครับ” หรือ “คุณคิดอย่างไรกับความเห็นนั้น”สามารถสร้างรูปแบบที่นักเรียนตอบนักเรียน ซึ่งมักจะยกระดับการเรียนรู้อย่างมาก โดยปกติหากเวลาไม่จำกัด นักเรียนทุกคนที่ปรารถนาจะแสดงความคิดเห็นควรมีโอกาสพูด

ยอมรับคำตอบอย่างมีมารยาท เมื่อนักเรียนให้คำตอบ ครูจำเป็นต้องแสดงว่ารับทราบสักทางหนึ่ง อาจเป็น “คำขอบคุณ” ง่ายๆ หรือความเห็นเกี่ยวกับคำตอบ เมื่อตอบไม่ถูกต้องครูจำเป็นต้องระวังอย่าทำให้นักเรียนอับอาย ครูที่มีประสิทธิภาพสามารถใช้ความเห็นส่วนที่ถูกต้องของนักเรียนหรือถามคำถามติดตามผลที่ช่วยให้นักเรียนคิดคำตอบใหม่

อ่านพระคัมภีร์ด้วยกันในชั้นเรียน [5.3]

การอ่านพระคัมภีร์ในชั้นสามารถช่วยนักเรียนให้คุ้นเคยและเข้าใจข้อที่พวกเขากำลังศึกษาดีขึ้น อีกทั้งช่วยพวกเขาให้เชื่อมั่นมากขึ้นว่าตนสามารถอ่านพระคัมภีร์ด้วยตนเองได้ ครูจำเป็นต้องระวังอย่าทำให้คนที่อ่านไม่เก่งหรือคนที่เขินอายมากรู้สึกอึดอัด นักเรียนที่ไม่ชอบอ่านออกเสียงไม่ควรถูกบังคับให้ทำเช่นนั้น แต่ครูสามารถกระตุ้นพวกเขาให้มีส่วนร่วมในลักษณะที่พวกเขาสบายใจมากกว่า เช่น มอบหมายข้อความพระคัมภีร์สั้นๆ ให้นักเรียนล่วงหน้าเพื่อเขาจะได้ฝึกอ่านอาจเป็นวิธีที่เหมาะจะให้นักเรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

มีวิธีอ่านพระคัมภีร์ด้วยกันในชั้นหลายวิธี ได้แก่

  • ให้นักเรียนอ่านออกเสียง ถ้าไม่อ่านทีละคนก็อ่านพร้อมกัน

  • ให้นักเรียนอ่านให้กันฟัง

  • ให้นักเรียนอ่านข้อความในใจ

  • มอบหมายให้นักเรียนหลายๆ คนอ่านถ้อยคำที่แต่ละคนในเรื่องพูด

  • อ่านออกเสียงให้นักเรียนคนอื่นฟังขณะพวกเขาดูตามข้อความในพระคัมภีร์

การนำเสนอของครู [5.4]

ถึงแม้ความสำคัญของการให้นักเรียนมีบทบาทจริงในกระบวนการเรียนรู้จะมีความหมายต่อความเข้าใจและการประยุกต์ใช้พระคัมภีร์ แต่ต้องไม่แทนที่ความต้องการที่จะมีครูนำเสนอข้อมูลอย่างเหมาะสมในเวลาต่างกันขณะที่นักเรียนฟัง ตามจุดประสงค์ของคู่มือเล่มนี้ เวลาที่ครูพูดและนักเรียนฟังเรียกว่า “การนำเสนอของครู” เมื่อใช้อย่างเหมาะสมการนำเสนอของครูจะยกระดับวิธีสอนอื่นๆ แต่ถ้าใช้มากเกินไป กิจกรรมที่มีครูเป็นศูนย์กลางเช่นนี้จะลดประสิทธิภาพการสอนและจำกัดโอกาสการเรียนรู้โดยการศึกษาและศรัทธาของนักเรียน

การนำเสนอของครูจะมีประสิทธิภาพมากเมื่อสรุปเนื้อหาจำนวนมาก นำเสนอข้อมูลที่เป็นเรื่องใหม่สำหรับนักเรียน เชื่อมต่อส่วนต่างๆ ของบทเรียน หรือดึงข้อสรุป ครูอาจจำเป็นต้องอธิบายให้ความกระจ่าง และแสดงตัวอย่างเพื่อนักเรียนจะเข้าใจบริบทของช่วงพระคัมภีร์ได้ชัดเจนขึ้น ครูอาจเน้นย้ำหลักคำสอนและหลักธรรมสำคัญ และชักชวนนักเรียนให้ประยุกต์ใช้ ส่วนสำคัญที่สุดน่าจะอยู่ที่ว่าครูสามารถเป็นพยานถึงความจริงพระกิตติคุณและแสดงความรักที่พวกเขามีต่อพระบิดาบนสวรรค์และพระบุตรของพระองค์

เมื่อใช้การนำเสนอของครู เช่นเดียวกับเมื่อใช้วิธีสอนวิธีใดก็ตาม ครูควรประเมินการรับรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่องโดยถามตนเองทำนองนี้ “นักเรียนของฉันสนใจและจดจ่อหรือไม่” และ“พวกเขาเข้าใจสิ่งที่กำลังนำเสนอหรือไม่” สุดท้าย ประสิทธิผลของวิธีสอนแบบนี้หรือแบบใดก็ตามวัดได้จากการดูว่านักเรียนกำลังเรียนรู้ด้วยพระวิญญาณ เข้าใจพระคัมภีร์ และปรารถนาจะประยุกต์ใช้สิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้หรือไม่

แนวคิดต่อไปนี้สามารถช่วยครูให้ใช้วิธีนี้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น

วางแผนส่วนต่างๆ ของการนำเสนอของครูในบทเรียน บางครั้งครูเตรียมส่วนอื่นของบทเรียนอย่างดีแต่ไม่ให้ความสนใจอย่างเดียวกันกับบทเรียนส่วนนั้นที่พวกเขาเองจะต้องพูดเสียส่วนใหญ่ ข้อกังวลประการหนึ่งเกี่ยวกับการนำเสนอของครูคือนักเรียนจะกลายเป็นเพียงผู้มีส่วนร่วมที่อยู่เฉยๆ ในประสบการณ์การเรียนรู้ ฉะนั้นการนำเสนอของครูจึงต้องวางแผนและเตรียมอย่างดีเช่นกัน ซึ่งรวมถึงการตัดสินใจว่าจะเริ่มต้นอย่างไรและพัฒนาการสอนแบบมีเหตุมีผลอย่างไร

เมื่อวางแผนใช้การนำเสนอของครู ครูควรพิจารณาอย่างรอบคอบว่าตรงจุดไหนสำคัญอย่างยิ่งที่นักเรียนต้องมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน โดยทั่วไปเมื่อบทเรียนก้าวหน้าจากการเข้าใจบริบทและเนื้อหาของช่วงพระคัมภีร์เป็นการค้นพบ การสนทนา การประยุกต์ใช้หลักธรรมและหลักคำสอนความสำคัญของการให้นักเรียนมีบทบาทอย่างแข็งขันมากขึ้น

ผสมผสานการนำเสนอของครูกับวิธีอื่น วิธีใช้การนำเสนอของครูในห้องเรียนอย่างมีประ-สิทธิภาพคือใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนบทเรียนทั้งหมดที่รวมเอาวิธีและวิธีการอื่นมาไว้ในการสอน การนำเสนอควรยืดหยุ่นมากพอที่จะเปลี่ยนแปลงได้ถ้าเห็นชัดว่านักเรียนเบื่อหรือสับสน ในวิธีนี้ แม้เมื่อครูกำลังพูด จุดศูนย์รวมยังอยู่ที่นักเรียนและการเรียนรู้ และครูสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการ มีคนเคยเปรียบการนำเสนอของครูกับสายร้อยสร้อยไข่มุก ไข่มุกคือวิธีการหลากหลายที่ครูใช้ (คำถาม การสนทนา งานกลุ่ม การนำเสนอด้วยโสตทัศนอุปกรณ์เป็นต้น) แต่ร้อยไข่มุกไว้ด้วยกันโดยการสอนและคำอธิบายของครู สายร้อยอย่างเดียวไม่ได้ทำให้สร้อยคอดึงดูดใจ

ใช้ความหลากหลายที่เหมาะสม มีหลายวิธีให้นำความหลากหลายมาสู่การนำเสนอของครู ครูสามารถหลีกเลี่ยงความจำเจโดยเปลี่ยนเสียงสูงต่ำ น้ำเสียง ความดังค่อย และการเดินไปรอบๆ ห้องขณะนำเสนอ มีความหลากหลายในประเภทเนื้อหาที่นำเสนอเช่นกัน เป็นต้นว่า ครูสามารถเล่าเรื่อง ใช้อารมณ์ขันที่เหมาะสม ให้ดูรูปภาพหรือติดภาพอื่นๆ ในห้องเรียน อ่านข้อความที่ยกมา ใช้กระดาน หรือการนำเสนอด้วยโสตทัศนอุปกรณ์ และแสดงประจักษ์พยาน ความหลากหลายที่เหมาะสมในการนำเสนอของครูควรทำให้นักเรียนสามารถเข้าใจและประยุกต์ใช้พระคัมภีร์ได้ดีขึ้นเสมอ

เรื่องเล่า [5.5]

เรื่องเล่าสามารถช่วยสร้างศรัทธาของนักเรียนในพระกิตติคุณของพระเยซูคริสต์ ก่อให้เกิดความสนใจและช่วยให้นักเรียนเข้าใจผ่านประสบการณ์ของผู้อื่น เรื่องเล่าจะมีประสิทธิผลเป็นพิเศษในการช่วยให้นักเรียนเข้าใจหลักธรรมพระกิตติคุณที่ระบุไว้ในช่วงพระคัมภีร์ โดยแสดงตัวอย่างหลักธรรมพระกิตติคุณในบริบทสมัยใหม่ นอกจากบริบทของพระคัมภีร์ เรื่องเล่าสามารถช่วยให้นักเรียนเข้าใจได้ว่าหลักธรรมพระกิตติคุณสัมพันธ์กับชีวิตพวกเขาอย่างไร และช่วยให้พวกเขารู้สึกปรารถนาจะประยุกต์ใช้ด้วย

เอ็ลเดอร์บรูซ อาร์. แมคคองกีสอนดังนี้ “แน่นอนว่า ไม่มีอะไรผิดถ้าจะเล่าเรื่องสมัยใหม่ที่ส่งเสริมศรัทธา เรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยการประทานของเรา … โดยแท้แล้ว นี่เป็นเรื่องซึ่งควรสนับสนุนเต็มที่ เราควรพยายามทุกวิถีทางเพื่อแสดงให้เห็นว่าเรื่องเดียวกันกำลังเกิดขึ้นในชีวิตวิสุทธิชนยุคปัจจุบันเหมือนที่เคยอุบัติขึ้นในหมู่คนซื่อสัตย์สมัยก่อน …

“บางทีรูปแบบสมบูรณ์ในการนำเสนอเรื่องเล่าที่ส่งเสริมศรัทธาคือสอนสิ่งที่พบในพระคัมภีร์ จากนั้นจึงประทับตรารับรองความจริงที่ยังนำมาปฏิบัติได้ในปัจจุบันโดยเล่าเรื่องคล้ายกันและเทียบเท่าซึ่งเกิดขึ้นในสมัยการประทานของเราและกับคนของเราและ—ดีที่สุดคือ—กับเราแต่ละคน (“The How and Why of Faith-Promoting Stories,” New Era, July 1978, 4–5)

ครูสามารถเล่าเรื่องจากชีวิตของศาสดาพยากรณ์และจากประวัติศาสนจักร เช่นเดียวกับเรื่องเล่าที่พบในคำปราศรัยการประชุมใหญ่และนิตยสารศาสนจักร พวกเขาสามารถเล่าเรื่องจริงจากประสบการณ์ของตนเองได้เช่นกัน ประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลและมีความหมายมากที่สุดบางอย่างเกิดขึ้นเมื่อครูเชื้อเชิญให้นักเรียนเล่าเรื่องจากชีวิตตนเองที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขาได้รับพรอย่างไรจากการดำเนินชีวิตตามหลักธรรมพระกิตติคุณ

ข้อควรระวังและคำแนะนำบางประการเกี่ยวกับการใช้เรื่องเล่า

  • ถ้าการเล่าเรื่องกลายเป็นวิธีหรือเทคนิคที่ครอบงำการสอน ตัวเรื่องเล่าเองจะกลายเป็นจุดศูนย์รวมของบทเรียนได้ โดยลดเวลาที่ใช้กับพระคัมภีร์และบดบังหลักคำสอนและหลักธรรมที่พระคัมภีร์สอน

  • การใช้เรื่องเล่าจากชีวิตครูมากเกินไปเป็นเหตุให้เกิดการโอ้อวดตนเองและครู “[ตั้ง] ตนเป็นความสว่างแก่โลก” (2 นีไฟ 26:29)

  • ถึงแม้เรื่องเล่าจะสามารถให้ความกระจ่าง ทำให้การสอนพระคัมภีร์มีชีวิตชีวา และช่วยให้นักเรียนรู้สึกถึงพลังของพระวิญญาณ แต่ไม่ควรใช้ครอบงำทางอารมณ์

  • ครูควรระวังอย่าเสริมแต่งข้อเท็จจริงของเรื่องจริงเพื่อทำให้ตื่นเต้นเร้าใจหรือน่าประทับใจ

  • ถ้าเรื่องไม่จริง เช่น เรื่องขบขันที่ใช้อธิบายประเด็น ควรบอกชัดเจนตั้งแต่ต้นเรื่องว่าไม่ใช่เรื่องจริง

การสนทนากลุ่มเล็กและงานมอบหมาย [5.6]

บางครั้งการแบ่งชั้นเรียนเป็นคู่หรือกลุ่มเล็กก็ช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้หรือการสนทนากัน กิจกรรมกลุ่มเล็กมักช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นและจัดเตรียมสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยให้นักเรียนได้บอกเล่าความรู้สึก ความคิด และประจักษ์พยานต่อกัน กิจกรรมเหล่านี้จะจัดเตรียมโอกาสให้นักเรียนได้สอนพระกิตติคุณแก่กันและช่วยเตรียมพวกเขาให้พร้อมสอนพระกิตติคุณในอนาคต การสนทนาเป็นกลุ่มเล็กสามารถรวมคนที่ดูเหมือนไม่สนใจและไม่ตั้งใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการสื่อสารและกระชับความสัมพันธ์ทางสังคมและทางวิญญาณที่เหมาะสม การสนทนาเป็นกลุ่มเล็กสามารถสร้างความมั่นใจให้นักเรียนที่พูดน้อยได้โดยดึงพวกเขาให้ร่วมสนทนาอย่างมีความหมายมากขึ้น

เมื่อให้นักเรียนทำงานเป็นคู่หรือกลุ่มเล็ก จะเป็นประโยชน์มากถ้าคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

  • ก่อนแยกนักเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ครูควรให้คำแนะนำที่ชัดเจนว่าเขาคาดหวังให้นักเรียนทำอะไรในช่วงกิจกรรม และมักจะช่วยได้มากถ้าเขียนคำแนะนำเหล่านี้ไว้บนกระดานหรือพิมพ์เป็นเอกสารแจก เพื่อนักเรียนจะย้อนกลับไปดูในระหว่างกิจกรรมได้

  • กิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มเล็กที่สัมพันธ์กับชีวิตและสภาวการณ์ของนักเรียนส่วนมากทำให้นักเรียนสนใจและมีส่วนร่วมมากขึ้น

  • การกำหนดหัวหน้านักเรียนให้แต่ละกลุ่มและการจำกัดเวลาแน่นอนช่วยให้กลุ่มจดจ่อกับงานที่ต้องทำ กิจกรรมกลุ่มที่ใช้เวลามากเกินไปมักส่งผลให้กลุ่มเสร็จงานไม่พร้อมกันและทำให้ห้องเรียนขาดระเบียบได้

  • โดยทั่วไปนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจมากขึ้นถ้าครูเชิญชวนพวกเขาล่วงหน้าให้เตรียมมาแบ่งปันหรือสอนบางอย่างที่พวกเขาเรียนรู้จากกิจกรรมให้กับชั้นเรียน นับเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกสอนพระกิตติคุณแก่ผู้อื่นเช่นกัน

  • นักเรียนมักทำงานกลุ่มดีขึ้นเมื่อพวกเขาค้นพระคัมภีร์ อ่านข้อความอ้างอิง หรือทำงานอย่างอื่นด้วยตนเองก่อนมารวมกัน

  • ในกลุ่มที่มีนักเรียนห้าคนขึ้นไป การให้แต่ละคนเข้าร่วมอย่างมีความหมายทำได้ยาก นอกจากนี้ กลุ่มใหญ่มักจดจ่อกับงานยากขึ้น

  • การทำงานเป็นกลุ่มเล็กอาจไม่ใช่วิธีดีที่สุดสำหรับการตอบคำถามง่ายๆ เพราะต้องใช้เวลาจัดนักเรียนเป็นกลุ่ม

  • เมื่อใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มมากเกินไป กิจกรรมดังกล่าวอาจเกิดประสิทธิผลน้อยลง

ในช่วงการสนทนาหรืองานมอบหมายเป็นกลุ่มเล็ก นักเรียนอาจเขวจากจุดประสงค์ของกิจกรรมมาพูดคุยเรื่องส่วนตัวหรือไม่ตั้งใจจะพยายามเรียนรู้ ครูที่หมั่นเดินจากกลุ่มหนึ่งไปกลุ่มหนึ่งและเฝ้าสังเกตกิจกรรมการเรียนรู้สามารถช่วยให้นักเรียนจดจ่อกับงานและได้ประโยชน์มากที่สุดจากงานมอบหมาย

แบบฝึกหัดการเขียน [5.7]

ครูควรเชื้อเชิญให้นักเรียนมีส่วนร่วมในแบบฝึกหัดการเขียน เช่น จดโน้ตย่อ งานมอบหมายให้เขียนบันทึกส่วนตัว ใบบันทึกการทำงาน ความคิดเห็นส่วนตัว และเรียงความ บางครั้งการเชื้อเชิญให้นักเรียนตอบคำถามที่กระตุ้นความคิดด้วยการเขียนจะช่วยให้พวกเขาคิดลึกซึ้งและชัดเจน เชื้อเชิญให้นักเรียนตอบคำถามด้วยการเขียนก่อนแบ่งปันความคิดกับชั้นเรียน ให้เวลาพวกเขารวบรวมความคิดและรับการดลใจจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ นักเรียนอาจมีแนวโน้มจะแบ่งปันความคิดของเขามากขึ้นเมื่อเขาได้เขียนลงไปก่อน และสิ่งที่พวกเขาแบ่งปันมักจะมีความหมายมากขึ้น นอกจากนี้งานมอบหมายให้เขียนยังเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมเป็นการส่วนตัว รับการดลใจ เตรียมสอนและแบ่งปันความรู้สึกกับผู้อื่น รู้จักพระหัตถ์ของพระเจ้าในชีวิตพวกเขา และแสดงประจักษ์พยาน เมื่อครูตัดสินใจว่าแบบฝึกหัดการเขียนแบบใดเหมาะกับประสบการณ์การเรียนรู้ พวกเขาควรพิจารณาหลักธรรมที่เอ็ลเดอร์เดวิด เอ. เบดนาร์แบ่งปัน “การจดสิ่งที่เราเรียนรู้ คิด และรู้สึกขณะศึกษาพระคัมภีร์เป็นรูปแบบหนึ่งของการไตร่ตรองและการอัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์ให้ทรงแนะนำสั่งสอนอย่างต่อเนื่อง” (Because We Have Them before Oue Eyes, New Era, Apr. 2006, 6-7)

แบบฝึกหัดการเขียนสำหรับนักเรียนอายุน้อยหรือมีขีดความสามารถจำกัดควรมีการปรับเพื่อช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จ ตัวอย่างเช่น ครูอาจเตรียมแบบฝึกหัดเติมคำในช่องว่างที่ให้ข้อมูลมากขึ้นและถามน้อยลง ครูสามารถช่วยนักเรียนเหล่านี้โดยเน้นงานมอบหมายให้เขียนข้อพระคัมภีร์สั้นๆ หรือคำถามเจาะจงและให้เวลาพวกเขาทำงานมอบหมายมากพอ

โดยปกตินักเรียนได้ประโยชน์มากขึ้นจากกิจกรรมการเขียนเมื่อ

  • ครูให้คำแนะนำชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรที่นักเรียนสามารถดูได้ตลอดงานมอบหมาย

  • กิจกรรมทำให้ความคิดของพวกเขาจดจ่อกับความจริงพระกิตติคุณที่สัมพันธ์กับสภาวการณ์ของพวกเขาแต่ละคน

  • กิจกรรมช่วยให้พวกเขาประยุกต์ใช้ความจริงเหล่านั้นกับตนเอง

  • ครูสนับสนุนและช่วยเหลือนักเรียนตลอดกิจกรรมการเขียน

  • ครูจำกัดเวลาตามความเหมาะสมของความยากง่ายในแบบฝึกหัด

  • ครูเชื้อเชิญให้นักเรียนอธิบาย แบ่งปัน หรือเป็นพยานเกี่ยวกับเรื่องบางเรื่องที่พวกเขาเรียนรู้จากกิจกรรม

  • นักเรียนมั่นใจว่ากิจกรรมการเขียนที่เน้นความรู้สึกหรือคำมั่นสัญญาส่วนตัวจะไม่มีใครรู้ รวมทั้งครู หากนักเรียนไม่อนุญาตให้แบ่งปัน

  • กิจกรรมเป็นส่วนที่มีความหมายของแผนบทเรียน ไม่ได้ให้ไว้เป็น “งานฆ่าเวลา” หรือเป็นการลงโทษฐานมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

  • วิธีอื่นๆ เพื่อบันทึกความคิดและแนวคิดมีเตรียมไว้สำหรับคนที่ปัญหาเรื่องการเขียน อาจได้แก่ ให้นักเรียนอีกคนทำหน้าที่เป็นคนจด บันทึกเสียง และอื่นๆ

  • ไม่ใช้กิจกรรมการเขียนมากเกินไป

กระดานหรือไวท์บอร์ด [5.8]

กระดานหรือไวท์บอร์ดที่เตรียมไว้อย่างดีสามารถเป็นหลักฐานยืนยันการเตรียมพร้อมของครูและเพิ่มความรู้สึกจริงจังในห้องเรียน การใช้กระดานอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างบทเรียนสามารถเตรียมนักเรียนให้พร้อมเรียนรู้และเชิญชวนให้เข้าร่วมอย่างมีความหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่เรียนรู้ด้วยการมองเห็น เมื่อใช้กระดานครูควรจำไว้ว่าต้องเขียนให้ชัดเจนและตัวโตพอที่ทุกคนจะมองเห็น โดยต้องแน่ใจว่าตัวหนังสือเว้นช่องไฟพอดี เป็นระเบียบ และอ่านง่าย หากไม่มีกระดานหรือไวท์บอร์ด สามารถใช้กระดาษแผ่นใหญ่หรือแผ่นโปสเตอร์ได้

บนกระดาน ครูสามารถสรุปประเด็นหรือหลักธรรมสำคัญของบทเรียน เขียนแผนภูมิหลักคำสอนหรือเหตุการณ์ วาดแผนที่ เขียนผังขั้นตอน ติดรูปหรือวาดสิ่งที่พบในพระคัมภีร์ สร้างแผนภูมิแสดงเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เขียนเรื่องราวจากพระคัมภีร์ออกมาเป็นข้อๆ ขณะนักเรียนหา หรือทำกิจกรรมอีกมากมายที่จะยกระดับการเรียนรู้

อุปกรณ์และรูปภาพ [5.9]

การสอนแง่มุมพระกิตติคุณที่เป็นนามธรรมมักสอนยาก การใช้สิ่งของและรูปภาพเป็นวิธีที่ครูสามารถใช้ช่วยนักเรียนให้เข้าใจหลักธรรมทางวิญญาณได้ ตัวอย่างเช่น สิ่งของที่คุ้นเคยเช่นสบู่อาจช่วยให้นักเรียนเข้าใจหลักธรรมที่เป็นนามธรรมอย่างเช่นการกลับใจมากขึ้น พระผู้ช่วยให้รอดมักจะทรงโยงกับสิ่งของทางโลก (เช่น ขนมปัง น้ำ เทียน และถัง) เพื่อช่วยให้ผู้ฟังของพระองค์เข้าใจหลักธรรมทางวิญญาณ

ครูสามารถใช้สิ่งของและรูปภาพช่วยให้นักเรียนเห็นภาพผู้คน สถานที่ เหตุการณ์ สิ่งของ และสัญลักษณ์ในพระคัมภีร์ แทนที่จะพูดถึงแอกโดยไม่เห็นภาพ (ดู มัทธิว 11:28-30 ) ครูอาจจะนำแอกมาที่ชั้นเรียน ให้ดูรูปภาพของแอก หรือวาดภาพประกอบบนกระดาน นักเรียนอาจดมกลิ่นและสัมผัสดอกไม้ขณะพวกเขาอ่านเกี่ยวกับ “ดอกไม้ที่ทุ่งนา” ( มัทธิว 6:28-29 ) พวกเขาอาจชิมขนมปังไร้เชื้อ

สิ่งของและรูปภาพ รวมถึงแผนที่และแผนภูมิต่างๆ จะได้ผลในการช่วยให้นักเรียนเห็นภาพวิเคราะห์ และเข้าใจพระคัมภีร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้เพื่อกระตุ้นการสนทนา การวางสิ่งของหรือติดรูปภาพให้ดูขณะนักเรียนเข้ามาในห้องเรียนจะยกระดับบรรยากาศการเรียนรู้และกระตุ้นให้นักเรียนอยากซักถาม

มีข้อควรระวังสองข้อให้พิจารณาเมื่อใช้สิ่งของและรูปภาพ ข้อแรก ควรเสริมจุดประสงค์ของบทเรียนไม่ใช่ลดคุณค่า ข้อสอง เรื่องราวพระคัมภีร์ควรเป็นแหล่งข้อมูลการสนทนาในชั้นเรียนเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมและรายละเอียดของเหตุการณ์ ไม่ใช่การตีความเหตุการณ์หรือเรื่องราวของผู้เขียน

การนำเสนอด้วยโสตทัศนอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์ [5.10]

พระคัมภีร์เต็มไปด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าทรงช่วยให้ลูกๆ ของพระองค์เข้าใจคำสอนของพระองค์ผ่านการมองเห็นและการได้ยิน (ดู 1 นีไฟ 11-14 ; คพ. 76 ; โมเสส 1:7-8, 27-29 ) เมื่อใช้เทคโนโลยีและโสตทัศนอุปกรณ์อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ แหล่งช่วยเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจพระคัมภีร์ เรียนรู้ และประยุกต์ใช้ความจริงพระกิตติคุณได้ดีขึ้น

แหล่งช่วยด้านโสตทัศนอุปกรณ์สามารถแสดงให้เห็นภาพเหตุการณ์สำคัญจากพระคัมภีร์และช่วยให้นักเรียนเกิดมโนภาพและประสบเหตุการณ์เหล่านี้ ทั้งยังสามารถแสดงให้เห็นว่าผู้คนประยุกต์ใช้หลักธรรมพระกิตติคุณอย่างไรเพื่อเอาชนะการท้าทายและปัญหาของพวกเขาและสามารถจัดหาโอกาสให้พระวิญญาณเป็นพยานถึงความจริง

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ช่วยให้ครูได้ฉายวีดิทัศน์ แสดงคำถาม ภาพ หรือข้อความอ้างอิงที่สำคัญจากเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ หรือเน้นหลักธรรมและหลักคำสอนที่ระบุไว้ระหว่างบทเรียน การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์สามารถใช้ในลักษณะเดียวกับการใช้กระดานหรือไวท์บอร์ด—สรุปประเด็นหลักของบทเรียน แสดงข้ออ้างอิงพระคัมภีร์ และให้คำแนะนำที่มองเห็นได้สำหรับกิจกรรมการเรียนรู้เป็นคู่ เป็นกลุ่ม หรือรายบุคคล การใช้เทคโนโลยีในลักษณะนี้จะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนที่เรียนด้วยการมองเห็นและสามารถช่วยนักเรียนจัดระเบียบและเข้าใจสิ่งที่กำลังเรียนรู้ได้ดีขึ้น

การใช้แหล่งช่วยด้านโสตทัศนอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ หรืออื่นๆ ควรช่วยทำให้บทเรียนชัดเจน น่าสนใจ และน่าจดจำ และไม่ควรทำให้นักเรียนเขวจากความรู้สึกประทับใจในพระวิญญาณ

การนำเสนอด้วยโสตทัศนอุปกรณ์จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักธรรมพระกิตติคุณได้ดีที่สุดเมื่อใช้กระตุ้นความคิดและความรู้สึก และดึงนักเรียนให้อยู่ในเนื้อความพระคัมภีร์ การเขียนสิ่งที่นักเรียนมองหาหรือคำถามที่พึงพิจารณาไว้บนกระดานขณะดูหรือฟังการนำเสนอก็อาจจะช่วยได้ ครูอาจเห็นว่าควรหยุดสักครู่ในระหว่างการนำเสนอเพื่อถามคำถามหรือชี้ให้เห็นข้อมูลที่จะช่วยนักเรียน หลายครั้งจำเป็นต้องใช้แหล่งช่วยด้านโสตทัศนอุปกรณ์ส่วนเดียวเท่านั้นเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของครู ครูที่ใช้วิธีอื่น เช่น การสนทนาและแบบฝึกหัดการเขียน ควบคู่กับการใช้สื่อและเทคโนโลยีจะเพิ่มโอกาสให้เข้าใจและใช้หลักธรรมพระกิตติคุณได้ดีขึ้น การใช้คำบรรยายใต้ภาพที่นำเสนอด้วยโสตทัศนอุปกรณ์อาจเพิ่มความเข้าใจและความจำของนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการได้ยิน

เมื่อใช้แหล่งช่วยด้านโสตทัศนอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในบทเรียน ครูควรตั้งเครื่องก่อนชั้นเรียนเริ่มและต้องแน่ใจว่าเครื่องทำงานได้ดี พวกเขาควรแน่ใจเช่นกันว่าผู้เรียนทุกคนสามารถได้ยินและมองเห็นการนำเสนอจากที่นั่งของพวกเขา ครูควรเตรียมแหล่งช่วยด้านโสตทัศนอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์ก่อนชั้นเรียนเพื่อจะเริ่มตรงส่วนที่จำเป็นต้องใช้ในบทเรียนได้เลย การให้ครูฝึกใช้เทคโนโลยีสำหรับการนำเสนอก่อนใช้ในบทเรียนเป็นแนวคิดที่ดีเช่นกัน.

แนวทาง [5.10.1]

การใช้แหล่งช่วยด้านโสตทัศนอุปกรณ์และเทคโนโลยีอาจมีความท้าทายและข้อเสียแฝงอยู่ในนั้นมากกว่าวิธีสอนแบบอื่น ครูควรใช้ปัญญาเมื่อตัดสินใจว่าการนำเสนอด้วยโสตทัศนอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์จะเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อประสบการณ์การเรียนรู้หรือไม่ การพึ่งเทคโนโลยีมากเกินไปทำให้บทเรียนขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและสื่อแทนที่จะมีพระคัมภีร์เป็นฐานและมีจุดศูนย์รวมอยู่ที่ผู้เรียน คำถามต่อไปนี้สามารถช่วยเหลือครูให้ตัดสินใจได้อย่างฉลาดในการใช้แหล่งช่วยด้านโสตทัศนอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์

  1. แหล่งช่วยช่วยให้นักเรียนรู้ว่าอะไรสำคัญหรือไม่ การนำเสนอด้วยโสตทัศนอุปกรณ์สามารถทำให้นักเรียนสนุกสนานและประทับใจ แต่นั่นเอื้อต่อจุดประสงค์ของบทเรียนและสิ่งที่นักเรียนต้องเรียนรู้หรือไม่ การใช้แหล่งช่วยเพื่อความบันเทิงหรือเพื่อใช้เวลาจนครบไม่มีเหตุผลมากพอสำหรับการใช้ดังกล่าว ครูควรดูหรือฟังการนำเสนอก่อนใช้ในชั้นเรียนและต้องแน่ใจว่าเสริมหรือสนับสนุนพระคัมภีร์ หลักคำสอน และหลักธรรมที่สอนในบทเรียน

  2. นั่นเป็นแหล่งช่วยบทเรียนหรือเน้นประเด็นหลักของบทเรียนหรือไม่ เอ็ลเดอร์บอยด์ เค. แพคเกอร์แนะนำว่า “โสตทัศนอุปกรณ์ในชั้นเรียนสามารถเป็นพรหรือการสาปแช่งก็ได้ขึ้นอยู่กับวิธีใช้ นั่นอาจเทียบได้กับเครื่องเทศและเครื่องปรุงที่ใช้กับอาหาร ครูควรใช้แต่น้อยเพื่อเน้นหรือทำให้บทเรียนน่าสนใจ” (Teach Ye Diligently, rev. ed. [1991], 265)

  3. เหมาะสมหรือสอดคล้องกับมาตรฐานศาสนจักรหรือไม่ จรรโลงใจหรือไม่ ผลงานมากมายที่ผลิตในโลกอาจบรรจุข่าวสารที่ดีและมักมากับเนื้อหาอันไม่พึงประสงค์ซึ่งสามารถทำให้พระวิญญาณขุ่นเคืองหรือสนับสนุนแนวคิดที่ไม่สอดคล้องกับคำสอนของพระกิตติคุณ ไม่ควรใช้วีดิทัศน์หรือเสียงถึงแม้จะเป็นส่วนที่เหมาะสม แต่ถ้ามาจากแหล่งที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม เรื่องที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งหรือตื่นเต้นเขย่าขวัญมักไม่สร้างศรัทธาและประจักษ์พยาน

  4. ละเมิดลิขสิทธิ์หรือกฎหมายอื่นที่ใช้บังคับหรือไม่ วีดิทัศน์มากมาย เพลง และโสตทัศนอุปกรณ์อื่นๆ มีข้อจำกัดการใช้ตามกฎหมายลิขสิทธิ์หรือข้อตกลงการใช้ เป็นสิ่งสำคัญที่ครูเซมินารี ครูสถาบัน และผู้นำทุกคนต้องทำตามกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศที่พวกเขากำลังสอน ตามกฎหมายและข้อผูกมัดที่ใช้บังคับทั้งนี้เพื่อพวกเขาและศาสนจักรจะไม่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

แนวทางต่อไปนี้ประยุกต์ใช้ได้กับครูเซมินารี ครูสถาบัน และผู้นำใน ทุก ประเทศ

การใช้สื่อการเรียนการสอนที่ศาสนจักรทำ [5.10.2]

ครูและผู้นำสามารถทำสำเนา ฉายภาพยนตร์ วีดิทัศน์ ภาพ และเทปเพลงที่ศาสนจักรจัดทำเพื่อใช้ในศาสนจักร เซมินารี และสถาบันโดยไม่หวังผลในเชิงพาณิชย์เว้นแต่ระบุไว้เป็นอย่างอื่นบนสื่อการเรียนการสอนที่ศาสนจักรจัดทำ ครูอาจใช้เพลงจาก เพลงสวด หนังสือเพลงสำหรับเด็ก และนิตยสารศาสนจักรในศาสนจักร เซมินารี และสถาบันโดยไม่หวังผลในเชิงพาณิชย์ ยกเว้นระบุข้อห้ามไว้ชัดเจนในเพลงสวดหรือเพลงอื่นๆ ครูเซมินารี ครูสถาบัน และผู้นำสามารถดาวน์โหลด ฉาย และใช้สื่อการเรียนการสอนที่ศาสนจักรจัดทำในชั้นได้ เว้นแต่มีข้อจำกัดที่ระบุเป็นอื่น

การใช้สื่อการเรียนการสอนที่ศาสนจักร-ไม่ได้ทำ [5.10.3]

ตามกฎทั่วไป โปรแกรม ซอฟต์แวร์ และโสตทัศนอุปกรณ์ไม่ควรดาวน์โหลดจากอินเทอร์เน็ตหรือฉายในชั้นเรียนจากอินเทอร์เน็ตเว้นแต่ได้ซื้อใบอนุญาตที่เหมาะสม หากไม่ใช่วีดิทัศน์ เพลง หรือโสตทัศนอุปกรณ์อื่นที่ศาสนจักรเป็นเจ้าของ ในบางประเทศมีความเสี่ยงพอสมควรว่าการใช้สื่อการเรียนการสอนเช่นนั้นในชั้นอาจละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ ฉะนั้น ตามกฎทั่วไป ครูเซมินารี ครูสถาบัน และผู้นำทั่วโลกไม่ควรนำสื่อการเรียนการสอนที่ศาสนจักรไม่ได้จัดทำมาใช้ในชั้นเรียน

การทำสำเนาสื่อประกอบเพลงที่มีลิขสิทธิ์ (เช่นเนื้อเพลงหรือเทปบันทึกเสียง) เป็นการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์โดยตรงเว้นแต่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร การทำสำเนาเนื้อเพลงที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาตถือว่าผิดตามกฎหมายเช่นกัน

แนวทางต่อไปนี้สรุปข้อยกเว้นบางประการสำหรับกฎหมายลิขสิทธิ์สหรัฐที่ยอมให้ครูเซมินารี ครูสถาบัน และผู้นำในสหรัฐฉายคลิปวิดีโอในชั้นเรียนโดยไม่ต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์วิดีโอก่อน แม้ในประเทศอื่นอาจมีข้อยกเว้นคล้ายกัน แต่ครูเซมินารีและครูสถาบันควรติดต่อสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพิจารณาข้อกฎหมายและข้อยกเว้นเฉพาะเจาะจงที่ใช้กับประเทศของพวกเขาก่อนฉายคลิปวิดีโอจากวีดิทัศน์ที่ผลิตเพื่อการพาณิชย์หรือโปรแกรมที่บันทึกจากการออกอากาศหรือจากอินเทอร์เน็ต

การใช้วีดิทัศน์ที่ผลิตเพื่อการพาณิชย์กฎหมายสหรัฐมีข้อยกเว้นที่ยอมให้ครูและนักเรียนใช้วีดิทัศน์ที่ผลิตเพื่อการพาณิชย์ในชั้นเรียนโดยไม่ต้องซื้อใบอนุญาต กฎหมายสหรัฐมีข้อยกเว้นที่ยอมให้ครูและนักเรียนใช้วีดิทัศน์ที่ผลิตเพื่อการพาณิชย์ในชั้นเรียนโดยไม่ต้องซื้อใบอนุญาต แต่ในกรณีนี้จะใช้วีดิทัศน์ที่ผลิตเพื่อการพาณิชย์ภายใต้ข้อยกเว้นนี้ก็ต่อเมื่อบรรลุเงื่อนไขทั้งหมดต่อไปนี้ กฎหมายสหรัฐมีข้อยกเว้นที่ยอมให้ครูและนักเรียนใช้วีดิทัศน์ที่ผลิตเพื่อการพาณิชย์ในชั้นเรียนโดยไม่ต้องซื้อใบอนุญาต แต่ในกรณีนี้จะใช้วีดิทัศน์ที่ผลิตเพื่อการพาณิชย์ภายใต้ข้อยกเว้นนี้ก็ต่อเมื่อบรรลุเงื่อนไขทั้งหมดต่อไปนี้ คลิปวิดีโอที่ฉายต้อง (ก) มาจากสำเนาที่ทำอย่างถูกกฎหมาย (ข) ใช้ในการสอนต่อหน้านักเรียน หมายความว่าครูเซมินารีและครูสถาบันหรือผู้นำควรอยู่ขณะฉายคลิป (ค) ฉายในห้องเรียนหรือสถานที่เพื่อใช้สอน (ง) ฉายโดยองค์กรการศึกษาที่ไม่แสวงหาผลกำไร เช่น ชั้นเรียนเซมินารีและสถาบัน(จ) ฉายโดยมีจุดประสงค์เพื่อการสอนที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรโดยตรงและไม่ใช่เพื่อความบันเทิง การนำสื่อเพื่อการพาณิชย์ที่ซื้อหรือเช่ามาฉายก่อน ระหว่าง หรือหลังจากชั้นเรียนเพียงเพื่อความบันเทิงถือว่าผิดกฎหมายและไม่ซื่อสัตย์ นี่จะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นแทบทุกครั้งเมื่อฉายภาพยนตร์ทั้งเรื่อง

การใช้โปรแกรมบันทึกจากการออกอากาศ ในสหรัฐโปรแกรมโทรทัศน์ที่เสนอต่อสาธารณชนทั่วไปโดยไม่คิดค่าบริการและบันทึกไว้จากการออกอากาศ หรือจากเคเบิล จะนำมาใช้ในห้องเรียนได้ก็ต่อเมื่อดำเนินตามเงื่อนไขต่อไปนี้ (ก) เก็บสำเนาไว้ไม่เกิน 45 วัน จากนั้นต้องลบทิ้งทันที (ข) ใช้สำเนาในห้องเรียนภายใน 10 วันแรกหลังจากวันที่อัดสำเนา (หลังจาก 10 วันแรก แต่ยังคงอยู่ภายใน 45 วันแรก จะสามารถใช้สำเนาสำหรับการประเมินครูเท่านั้นหรือเพื่อพิจารณาว่าควรใช้โปรแกรมในบทเรียนครั้งต่อๆ ไปหรือไม่ (ค) ฉายสำเนาเพียงครั้งเดียว (เพียงสองครั้งถ้าจำเป็นต้องเสริมการสอน) (ง) ฉายสำเนาเฉพาะในห้องเรียนหรือสถานที่เพื่อใช้สอน(จ) ไม่ปรับเปลี่ยนข่าวสารหรือเนื้อหาทั้งหมดของโปรแกรม (ฉ) ไม่ทำสำเนาให้ผู้อื่น (ช) สำเนาทุกฉบับต้องมีหมายเหตุลิขสิทธิ์สำหรับโปรแกรมที่บันทึกไว้ (ซ) ไม่นำโปรแกรมนั้นไปรวมกับส่วนต่างๆ (ทางกายภาพหรือทางอิเล็กทรอนิกส์) ของโปรแกรมที่แตกต่างกันเพื่อสร้างสื่อการสอนหรือผลงานอื่น

นอกจากข้อกำหนดข้างต้นแล้ว คลิปจากวีดิทัศน์ที่ผลิตเพื่อการพาณิชย์และรายการที่บันทึกจากการออกอากาศหรืออินเทอร์เน็ตควร (ก) ฉายเพียงส่วนเดียวของวีดิทัศน์หรือรายการ (ข) ใช้โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขรายการ (ค) ไม่ใช้ในลักษณะที่บ่งบอกว่าผู้สร้างหรือเจ้าของรายการสนับสนุนศาสนจักร เซมินารีและสถาบันหรือคำสอนของเซมินารีและสถาบัน หรือในลักษณะที่บ่งบอกว่าศาสนจักรหรือเซมินารีและสถาบันสนับสนุนรายการหรือผู้สร้างหรือเจ้าของ(ง) ไม่ใช้ในลักษณะที่ส่งเสริมศาสนจักรหรือเซมินารีและสถาบัน และ (จ) ใช้ตามข้อจำกัดที่ยอมรับกันทั่วไปและนโยบายศาสนจักร

ถ้าครูเซมินารีและครูสถาบันหรือผู้นนำมีข้อสงสัยที่ไม่มีคำตอบในแนวทางเหล่านี้ ให้ดูหัวข้อ21.1.12 “สื่อการเรียนการสอนที่มีลิขสิทธิ์” ในคู่มือของศาสนจักร ( คู่มือ เล่ม 2: การบริหารงานศาสนาจักร [2010], 21.1.12) หากจำเป็นให้ติดต่อ

Intellectual Property Office
50 E. North Temple Street, Room 1888
Salt Lake City, UT 84150-0018
โทรศัพท์: 1-801-240-3959 หรือ 1-800-453-3860 ต่อ 2-3959
แฟ็กซ์: 1-801-240-1187
อีเมล: cor-intellectualpropertyldschurch.org

เพลง [5.11]

เพลง โดยเฉพาะเพลงสวดของศาสนจักร สามารถมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้นักเรียนรู้สึกถึงอิทธิพลของพระวิญญาณบริสุทธิ์ในประสบการณ์การเรียนรู้พระกิตติคุณของพวกเขา ฝ่ายประธานสูงสุดกล่าวว่า “ดนตรีอันให้การดลใจเป็นส่วนสำคัญของการประชุมศาสนจักรของเรา เพลงสวดทูลเชิญพระวิญญาณของพระเจ้า สร้างความรู้สึกแห่งความคารวะ ให้ความสามัคคีแก่เราในฐานะสมาชิก และจัดหนทางให้เราที่จะถวายการสรรเสริญแด่พระเจ้า

“คำเทศนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบางอย่างเป็นการเทศนาโดยการร้องเพลงสวด เพลงสวดนำเราไปสู่การกลับใจ และงานดี สร้างประจักษ์พยานและศรัทธา ปลอบโยนผู้เหนื่อยหน่าย ปลอบประโลมผู้โศกเศร้า และดลใจเราให้อดทนไปจนถึงที่สุด” (เพลงสวด, ix) เอ็ลเดอร์ดัลลิน เอช. โอ๊คส์สอนว่า “ข้าพเจ้าสงสัยว่าข้าพเจ้าได้ใช้ทรัพยากรที่ประทานมาจากสวรรค์นี้อย่างเต็มที่แล้วหรือยัง ทั้งในการประชุมของเรา ในชั้นเรียน และในบ้านของเรา …

“บทเพลงอันศักดิ์สิทธิ์เป็นการเตรียมอันทรงพลังสำหรับการสวดอ้อนวอนและการสอนพระกิตติคุณ” (“นมัสการโดยทางดนตรี,” เลียโฮนา, พ.ย.1994, 9, 12) ครูควรช่วยให้นักเรียนเข้าใจความสำคัญของเพลงในการนมัสการและรู้ว่าเพลงจะช่วยสร้างบรรยากาศที่พระวิญญาณทรงสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างไร

ต่อไปนี้เป็นวิธีบางอย่างที่ครูสามารถใช้เพลงยกระดับประสบการณ์การเรียนพระกิตติคุณของ นักเรียน

  • ให้เปิดเพลงหรือบรรเลงเพลงที่สร้างแรงบันดาลใจเมื่อนักเรียนเข้ามาในชั้นเรียนหรือระหว่างชั้นเรียนขณะพวกเขาทำงานมอบหมายให้เขียน

  • เชื้อเชิญและกระตุ้นให้นักเรียนเข้าร่วมอย่างมีความหมายเมื่อร้องเพลงสวดด้วยกันในชั้นเรียน

  • ทบทวนหลักธรรมพระกิตติคุณและให้ข้อคิดเพิ่มเติมระหว่างบทเรียนโดยร้องเพลงสวดหนึ่งเพลงหรือหนึ่งข้อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสิ่งที่สอนวันนั้น มีทั้งดัชนีพระคัมภีร์และดัชนีหัวข้ออยู่ด้านหลังหนังสือเพลงสวดที่จะช่วยได้ในเรื่องนี้

  • จัดหาโอกาสให้การอ่านเนื้อร้องของเพลงสวดช่วยนักเรียนสร้างและแสดงประจักษ์พยานเกี่ยวกับหลักคำสอนและหลักธรรมแห่งพระกิตติคุณ

  • เชื้อเชิญให้นักเรียนบรรเลงเพลงที่เหมาะสมในชั้นเรียน

เมื่อตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้เพลงในห้องเรียนเพื่อจุดประสงค์ใดก็ตาม (เช่นเพลงประกอบผู้เชี่ยวชาญพระคัมภีร์ หรือการท่องจำ) นับเป็นสิ่งสำคัญที่พึงจดจำข้อควรระวังต่อไปนี้จากเอ็ลเดอร์บอยด์ เค. แพคเกอร์ “มีความพยายามมากเพื่อดึงสาระสำคัญอันศักดิ์สิทธิ์ของพระกิตติคุณมาผูกกับดนตรีสมัยใหม่โดยหวังจะดึงดูดคนหนุ่มสาวของเราให้สนใจข่าวสาร … ข้าพเจ้ารู้ว่าทำเช่นนั้นไม่ได้และจะไม่ส่งผลให้ความเข้มแข็งทางวิญญาณเพิ่มขึ้น ข้าพเจ้าคิดว่าทำไม่ได้” (That All May Be Edified [1982], 279) สุดท้าย ความรับผิดชอบของครูคือต้องแน่ใจว่าเพลงใดก็ตามที่ใช้ในประสบการณ์การเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับมาตรฐานศาสนจักรและไม่ทำให้พระวิญญาณของพระเจ้าขุ่นเคืองแม้แต่น้อย

คำแนะนำทั่วไปและข้อควรระวัง [5.12]

แม้ความปรารถนาจะสร้างสัมพันธภาพอันดีกับนักเรียนเป็นเรื่องสมควรทำ แต่ความปรารถนาจะได้รับเสียงสรรเสริญ ถ้าไม่สำรวจหรือไม่ตรวจสอบ อาจทำให้ครูเป็นห่วงว่านักเรียนจะคิดอย่างไรกับเขามากกว่าห่วงเรื่องการช่วยให้นักเรียนเรียนรู้และก้าวหน้า เรื่องนี้มักทำให้ครูใช้วิธีที่หมายจะยกภาพลักษณ์ของตนในสายตานักเรียนแทนวิธีที่มีไว้เพื่ออัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์ เรื่องนี้มักทำให้ครูใช้วิธีที่หมายจะยกภาพลักษณ์ของตนในสายตานักเรียนแทนวิธีที่มีไว้เพื่ออัญเชิญพระวิญญาณบริสุทธิ์ 2 นีไฟ 26:29 ) ครูควรระวังที่จะไม่ใช้อารมณ์ขัน เรื่องส่วนตัว หรือวิธีสอนอื่นๆ ด้วยเจตนาจะทำให้สนุกสนานประทับใจ หรือได้รับคำสรรเสริญจากนักเรียน แต่จุดที่นักการศึกษาศาสนาทุกคนมุ่งเน้นควรเป็นการเชิดชูรัศมีภาพพระบิดาบนสวรรค์และนำนักเรียนของตนไปหาพระเยซูคริสต์

ประธานฮาเวิร์ด ดับเบิลยู. ฮันเตอร์สอนว่า “ข้าพเจ้าแน่ใจว่าท่านทราบดีถึงอันตรายแอบแฝงของการสร้างอิทธิพลและโน้มน้าวจนนักเรียนเกิดความภักดีต่อท่านแทนพระกิตติคุณ เวลานี้นั่นคือปัญหาที่ต้องแก้ไข และเราอยากให้ทุกท่านเป็นครูที่มีเสน่ห์เช่นนั้น แต่มีอันตรายจริงๆ ในเรื่องนี้ นี่คือสาเหตุที่ท่านต้องเชื้อเชิญนักเรียนเข้ามาหาพระคัมภีร์ด้วยตนเอง ไม่ใช่แค่ให้การตีความของท่านและนำเสนอต่อพวกเขา นั่นคือสาเหตุที่ท่านต้องเชื้อเชิญนักเรียนให้รู้สึกถึงพระวิญญาณของพระเจ้า ไม่ใช่ให้แค่เงาสะท้อนของท่านในสิ่งนั้น สุดท้าย นั่นคือสาเหตุที่ท่านต้องเชื้อเชิญนักเรียนให้มาหาพระคริสต์โดยตรง ไม่เพียงมาหาคนที่สอนหลักคำสอนของพระองค์เท่านั้น ไม่ว่าเขาคนนั้นจะเก่งกาจเพียงใดก็ตาม ท่านจะไม่อยู่กับนักเรียนเหล่านี้ตลอดเวลา ท่านไม่สามารถจูงมือพวกเขาหลังจากพวกเขาเรียนจบมัธยมปลายหรือวิทยาลัย และท่านไม่จาเป็นต้องมีสาวกส่วนตัว” (“Eternal Investments” [an evening with President Howard W. Hunter, Feb. 10, 1989], 2).

นอกจากนี้ คำแนะนำและข้อควรระวังต่อไปนี้ยังประยุกต์ใช้ได้กับความหลากหลายของสถานการณ์และวิธีสอน

  • ใช้การแข่งขัน ครูควรระวังในกรณีใช้การแข่งขันในห้องเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนักเรียนแข่งกันเอง การแข่งขันสามารถนำไปสู่ความขัดแย้ง ความท้อแท้หมดกำลังใจการหัวเราะเยาะ หรือความอับอาย และทำให้พระวิญญาณถอนตัว

  • การตอกย้ำด้านลบ ครูควรใช้ปัญญาในการแสดงความผิดหวังกับชั้นเรียนหรือนักเรียนแต่ละคน นักเรียนส่วนใหญ่รู้สึกอยู่แล้วว่าตนไม่ดีพอและต้องการให้ใช้คำพูดนุ่มนวลให้กำลังใจแทนที่จะตอกย้ำข้อบกพร่องของพวกเขา

  • คำประชดประชัน ไม่ว่าครูประชดนักเรียนหรือนักเรียนประชดกัน คำพูดพวกนี้แทบเป็นลบเสมอและทำร้ายจิตใจ สามารถทำให้เกิดการหัวเราะเยาะและการสูญเสียพระวิญญาณ

  • การสื่อสารและภาษาที่ไม่เหมาะสม ครูควรหลีกเลี่ยงการตะโกนหรือถกเถียงกับนักเรียน การลบหลู่และความหยาบคายไม่มีที่ว่างในสภาวะแวดล้อมของการศึกษาศาสนา

  • การใช้กำลัง ครูไม่ควรใช้ขนาดของร่างกายและพละกำลังข่มขู่หรือบีบบังคับนักเรียนให้ประพฤติเรียบร้อย แม้แต่การเล่นประลองกำลังกันก็อาจมีผู้เข้าใจผิดหรือกลายเป็นเรื่องบานปลายใหญ่โตได้ ครูควรแตะต้องร่างกายนักเรียนก็ต่อเมื่อต้องคุ้มครองนักเรียนอีกคนหนึ่งเท่านั้น

  • ภาษาเจาะจงเพศ ครูควรรับรู้และละเอียดอ่อนต่อภาษาเจาะจงเพศในพระคัมภีร์ พระคัมภีร์บางข้อใช้ภาษาบ่งบอกเพศชายเนื่องด้วยธรรมชาติของภาษาที่ได้รับมา ครูควรเตือนนักเรียนว่าคำที่บ่งบอกเพศชายบางคำหมายถึงทั้งหญิงและชาย เมื่อพระเจ้ารับสั่งกับอาดัมว่า “มนุษย์ทั้งปวง, ทุกแห่งหน, ต้องกลับใจ” ( โมเสส 6:57 ) พระองค์กำลังตรัสถึงชายและหญิง มีหลายครั้งที่เจาะจงลงไปว่าเป็นชาย ตัวอย่างเช่น สมาชิกในพระผู้เป็นเจ้าสามพระองค์เป็นชาย และการอ้างถึงหน้าที่ฐานะปุโรหิตใช้กับพี่น้องชาย