สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่องใด

รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นบทละครเพียงบางตอนที่ปรากฏต้นฉบับสมุดไทยฉบับหลวง จำนวน 4 เล่มคือ

เล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ เนื้อความตั้งแต่ พระมงกุฎลองฤทธิ์จนถึงพระลบมาช่วยพระมงกุฎในเมืองอยุธยา

เล่ม 2 ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานรินจนถึงท้าวมาลีวราชว่าความ

เล่ม 3 ตอนท้าวมาลีวราชว่าความจนถึงทศกัณฐ์เข้าเมือง

เล่ม 4 ตอนทศกัณฐ์ตั้งพิธีทรายกรด พระลักษณ์ต้องหอกกบิลพัทจนถึงหนุมานผูกผมทศกัณฐ์กับนางมณโฑ

เนื้อความในสมุดไทยเล่มที่ 2 ถึงเล่มที่ 4 นั้นต่อเนื่องกันตั้งแต่หนุมานเกี้ยวนางวานรินจนถึงพระลักษณ์ถูกหอกกบิลพัท มีเพียงเล่มที่ 1 ตอนพระมงกุฎเท่านั้นที่ไม่ต่อเนื่องกับตอนอื่น ๆ  จึงเป็นไปได้ว่าตอนพระมงกุฎอาจเป็นตอนแรกที่ทรงเลือกพระราชนิพนธ์ก่อน

กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. วรรณกรรมสมัยธนบุรี เล่ม 1.  กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2539.

  • 24 พ.ค. 2561
  • 0

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

          เรื่อง "รามเกียรติ์" เป็นวรรณคดีสำคัญ ที่แต่งกันมาหลายยุคสมัยตั้งแต่อยุธยาจนรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ว่าแต่งเป็นตอนๆแล้วแต่กวีจะจับตรงไหนขึ้นมา เช่นโคลงทศรถสอนพระราม  พาลีสอนน้อง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ    
ในสมัยธนบุรีซึ่งรบทัพจับศึกกันอย่างหนักตลอด 15 ปี  พระเจ้าแผ่นดินก็ยังทรงเห็นความสำคัญเชิงวัฒนธรรมของบ้านเมืองอยู่ จึงมีงานกวีปรากฏออกมาเป็นระยะๆ ไม่ได้ขาดหายไป

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่องใด

 

          เรื่องรามเกียรติ์ในสมัยธนบุรี  นับเป็นพระราชนิพนธ์  ไม่ว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระราชนิพนธ์เองทั้งหมด  หรือว่าโปรดให้กวีในราชสำนักไปแต่งแล้วทรงตรวจตราขัดเกลาเอง ก็เรียกว่าพระราชนิพนธ์ได้ทั้งสองทางเอกสารที่พบมีเป็นตอนๆ ไม่ใช่ทั้งเรื่องต้นจนจบ คงเป็นเพราะไม่มีเวลามากพอ

            จากข้อความในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขา จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีและพระราชวิจารณ์  ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเล่าเรื่องหนังสือรามเกียรติ์ ซึ่งธนิต อยู่โพธิ์ เรียบเรียง ปรากฏว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสด็จกลับจากราชการสงครามเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อเดือน ๔ ปลาย พ.ศ. ๒๓๑๒

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่องใด

             ทรงนำเจ้านครกับครอบครัวพร้อมทั้งคณะละครผู้หญิงมายังกรุงธนบุรีและในครั้งนั้นอาจได้บทละครจากนครศรีธรรมราชเข้ามาด้วย ต่อมาในเดือน ๖ พ.ศ.๒๓๑๓ นั้นเอง ได้มีใบบอกรายงานเรื่องเจ้าพระฝางประพฤติมิชอบตั้งตัวเป็นใหญ่ เมื่อทรงทราบก็รับสั่งให้เตรียมการสงครามและเสด็จกรีธาทัพไปปราบเจ้าพระฝาง ณ เมืองสวางคบุรี เมื่อเดือน ๘ พ.ศ. ๒๓๑๓ หากพิจารณากำหนดเวลาที่ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ตามบานแผนกที่ว่า วันอาทิตย์ เดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ พ.ศ. ๒๓๑๓

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่องใด

          ระยะเวลาที่ทรงว่างราชการสงครามสำหรับทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ก็เพียง ๑ เดือน
และการที่ทรงพระอุตสาหะทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นในครั้งนี้  อาจมีมูลเหตุบางส่วนจากการได้คณะละครผู้หญิงและบทละครเมืองนครศรีธรรมราชมาก็เป็นได้ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องรามเกียรติ์อาจได้ใช้เล่นละครหลวงในงานสมโภชครั้งสำคัญๆ ตลอดสมัยกรุงธนบุรี

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่องใด

บทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔

        เรื่องรามเกียรติ์ของไทยได้ต้นเค้ามาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย  เรื่องรามเกียรติ์คงเข้ามาแพร่หลายในหมู่คนไทยนับแต่สมัยสุโขทัยแล้ว เพราะปรากฏคำว่า ถ้ำพระราม ในจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชและพระนามของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้ ก็ตั้งขึ้นตามพระนามของพระรามซึ่งเป็นพระนารายณ์อวตารนั่นเอง เรื่องรามเกียรติ์มีอิทธิพลต่อนาฏศิลป์และวรรณคดีของไทยเป็นอันมาก  เรื่องนี้ผูกขึ้นเป็นบทแสดงหนัง ละครและโขน และแต่งขึ้นสำหรับอ่านโดยตรงมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เช่น

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมเรื่องใด

๑. รามเกียรติ์บทพากย์ แต่งด้วยกาพย์ ใช้สำหรับพากย์หนัง สันนิษฐานว่าแต่งระหว่างรัชกาลสมเด็จพระเพทราชากับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ บทพากย์เรื่องรามเกียรติ์เหลืออยู่เป็นบางตอน สำหรับตอนนางลอยสันนิษฐานว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงนำมาแปลงใหม่และทรงใช้เป็นบทพากย์โขน

๒. รามเกียรติ์บทละคร แต่งด้วยกลอนบทละคร มีเรื่องตั้งแต่ พระรามประชุมพล ถึง องคตสื่อสาร

๓. ราชาพิลาปคำฉันท์ แต่งด้วยฉันท์ ปรากฏบางตอนในจินดามณีของพระโหราธิบดีสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

๔. โคลงพาลีสอนน้องและโคลงทศรถสอนพระราม แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ เชื่อกันมาว่าเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

            เนื่องจากเรื่องรามเกียรติ์เป็นที่นิยมแพร่หลายทั้งในด้านเนื้อเรื่องและบทการแสดงมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา  การที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหารชทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ขึ้นจึงแสดงให้เห็นประจักษ์ถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่ได้รับถ่ายทอดมาจากกรุงศรีอยุธยา

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://sites.google.com (ห้องเรียนครูเขียด (ไพฑูรย์ ศรีสุขา))

                           http://www.reurnthai.com

ขอบคุณข้อมูลจาก : คุณหนุ่ม บางเดื่อ

                           วัดบางเดื่อ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา

Tags

วรรณกรรมใดเป็นพระราชนิพนธ์ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช? *

วรรณกรรมสำคัญสมัยกรุงธนบุรี มีบทละครเรื่องรามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เรื่องลิลิตเพชรมงกุฎและอิเหนาคำฉันท์ของหลวงสรวิชิต (หน) เรื่องนิราศกวางตุ้งของหลวงนายศักดิ์ (ภู่) เป็นนิราศที่ทรงคุณค่าเล่าเรื่องการเดินทางของกวีไปกับคณะราชทูตอัญเชิญพระราชสาสนของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไปถึงกวางตุ้ง จีน เป็น ...

ข้อใดเป็นบทละครที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในสมัยอยุธยา *

เนื้อเรื่องย่อ รามเกียรติ์พระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นบทละครเพียงบางตอนที่ปรากฏต้นฉบับสมุดไทยฉบับหลวง จำนวน 4 เล่มคือ เล่ม 1 ตอนพระมงกุฎ เนื้อความตั้งแต่ พระมงกุฎลองฤทธิ์จนถึงพระลบมาช่วยพระมงกุฎในเมืองอยุธยา

พระราชนิพนธ์ร้อยกรองเรื่องใดของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน

1. ด้านวรรณคดี บทละครเรื่องรามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งเป็น พระราชนิพนธ์ร้อยกรองเพียงเรื่องเดียวที่หลงเหลือมาถึงปัจจุบัน และเป็นบทละครเรื่องรามเกียรติ์ส านวนเดียว ที่แต่งขึ้นในสมัยธนบุรี

ข้อใดเป็นผลงานการแต่งวรรณคดีของพระเจ้าตากสิน

วรรณคดีในสมัยกรุงธนบุรี.
รามเกียรติ์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี.
ลิลิตเพชรมงกุฎ.
อิเหนาคำฉันท์.
โคลงยอพระเกียรติ.
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์.
นิราศกวางตุ้ง.