Wan เป็นระบบเครือข่ายแบบใด

ในยุคปัจจุบันที่คนเริ่มหันมาทำงานที่บ้าน หรือ Work From Home กันมากขึ้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Internet เป็นสิ่งสำคัญมาก ส่งผลให้ความรู้ Network ขั้นพื้นฐานเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆเช่นกัน และบอกได้เลยว่า ไม่ยากเกินความเข้าใจแน่นอนครับ
ในบทความนี้ ผมจะมาแนะนำความหมายของ PAN, LAN, MAN และ WAN ว่าแต่ละอย่างคืออะไร มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมกันแล้ว ไปดูกันได้เลยครับ

ลักษณะของเครือข่ายระบบ Network

  1. เครือข่ายส่วนบุคคล (PAN : Personal Area Network) คือเครือข่ายขนาดเล็กที่มีชอบเขตระยะสั้นประมาณไม่เกิน 10 เมตร มีจุดเด่นที่สะดวก คล่องตัว สามารถใช้งานได้แทบทุกที่ แต่จะมีข้อจำกัดเรื่องระยะทาง ความเร็วในการเชื่อมต่อ และการรองรับอุปกรณ์ที่จำกัด
    ตัวอย่าง คุณใช้โทรศัพท์มือถือในการปล่อย Hotspot ให้ laptop หรือ iPad ใช้งานภายในห้องนอนของคุณ การเชื่อมต่อแบบนี้เรียกว่า PAN
  2. เครือข่ายท้องถิ่น (LAN : Local Area Network) คือเครือข่ายขนาดกลางที่ครอบคลุมในระดับองค์กรหรือระยะทางประมาณไม่เกิน 10 กิโลเมตร จุดเด่นที่มีความเร็วสูงมาก รองรับการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ได้หลายชนิด เหมาะสำหรับการใช้งานภายในบริษัท องค์กร หรือสำนักงานขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ส่วนข้อจำกัดคือ Software ที่พัฒนาไว้ใช้สำหรับระบบ LAN ส่วนใหญ่เป็น Software เฉพาะทาง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับระบบเครือข่ายชนิดอื่น
    ตัวอย่าง เพื่อนในบริษัทสั่งปริ้นจากโต๊ะทำงานของเขา ไปยัง Printer บนโต๊ะทำงานของคุณในออฟฟิศเดียวกัน การเชื่อมต่อแบบนี้เรียกว่า LAN
  3. เครือข่ายระดับเมือง (MAN : Metropolitan Area Network) คือเครือข่ายขนาดใหญ่มีระยะครอบคลุมในระดับเมืองหรือประมาณไม่เกิน 100 กิโลเมตร เป็นการเชื่อมต่อ LAN หลายๆ LAN เข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มระยะทาง โดยจะมีจุดเด่นที่ ระยะทางการเชื่อมต่อไกลกว่า LAN ทำให้สามารถแชร์ทรัพยากรณ์ได้กว้างขึ้น ช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ซ้ำซ้อนลงได้ เหมาะสำหรับการใช้งานภายในบริษัท องค์กร หรือสำนักงานขนาดใหญ่ ที่มีสาขาหรือตึกกระจายอยู่ภายในระยะที่กำหนด แต่เนื่องจากมีระยะที่ไกลขึ้น ทำให้ต้องเพิ่มอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อเข้าไป ทำให้มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้สูงขึ้น
    ตัวอย่าง บริษัทของคุณกำลังจะเปิดสาขาใหม่ในจังหวัดใกล้เคียง และต้องการใช้ทรัพยากรณ์หรือบริการจากบริษัทแม่ การเชื่อมต่อแบบนี้เรียกว่า MAN
  4. เครือข่ายบริเวณกว้าง (WAN : Wide Area Network) คือเครือข่ายขนาดใหญ่มากที่มีระยะครอบคลุมทั่วโลก โดยภายในจะประกอบไปด้วย LAN และ MAN จำนวนมหาศาล มีจุดเด่นที่สามารถเข้าถึงข่าวสารได้สะดวก รวดเร็ว และข้อจำกัดคือ ต้องใช้อุปกรณ์หลายชิ้น ทำให้มีราคาสูงกว่าเครือข่ายแบบอื่น 
    ตัวอย่าง
    คุณใช้ Video Call โทรหาเพื่อนที่อยู่ต่างประเทศ เรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า WAN

Wan เป็นระบบเครือข่ายแบบใด

ตัวอย่างประกอบจากเหตุการณ์ Work From Home ในชีวิตผม

หอพักของผมมี Router และ Access Point สำหรับปล่อย Wifi ให้คนทั้งหอพักใช้ (LAN) 
ซึ่งหอพักผมได้รับ Internet จาก ISP (Internet Service Provider) ที่สาขาหาดใหญ่ (MAN)
หลายครั้งผมต้อง Remote งานไปไซต์งานที่อยู่ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ (WAN)
เวลาทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับการเงิน ผมจะ Personal Hotspot จากมือถือตัวเอง เพือลดความเสี่ยงการโดนดักจับข้อมูล (PAN)

Wan เป็นระบบเครือข่ายแบบใด

สรุป

เครือข่าย Network แต่ละชนิดจะถูกกำหนดโดยระยะทางและลักษณะการเชื่อมต่อ โดยถ้าเรียงจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็กจะได้ WAM > MAN > LAN > PAN เห็นมั้ยล่ะครับว่า Network เป็นเรื่องใกล้ตัวคนแทบทุกกลุ่มเลย โดยเฉพาะคนที่ต้อง Work From Home
ส่วนในบทความต่อๆไปจะเป็นเรื่องอะไรนั้น รอติดตามได้เลยนะครับ แต่มั่นใจได้ว่าจะเป็นบทความที่ง่ายและนำไปใช้ได้จริงแน่นอนครับ

LAN

        LAN ย่อมาจาก Local Area Network คือระบบเครือข่าย แบบเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะจำกัด เช่น ในอาคารเดียวกัน หรือบริเวณเดียวกันที่สามารถลากสายถึงกันได้โดยตรง ส่วนมากจะใช้สายเคเบิ้ล หรือ ที่เรียกกันว่า สายแลน เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ อัตราเร็วของเครือข่าย  LAN อยู่ที่ระหวาง 1-100 Mbps ทั้งนี้ความเร็วขอมูลขึ้นอยู่กับ ตัวกลางสายส่งที่ใช้ เทคนิคการส่งสัญญาณ และข้อกำหนดของผู้ให้บริการเน็ตเวิร์ค

Wan เป็นระบบเครือข่ายแบบใด

        การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 3 รูปแบบ

            1.Bus มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 MB/sจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และ Terminator ในการปิดหัวท้ายของสายในระบบเครือข่ายเพื่อดูดซับข้อมูลไม่ให้เกิดการสะท้อนกลับของสัญญาณ

            2.Star เป็นระบบที่มีเป็นการต่อแบบรวมศูนย์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch จะทำหน้าที่เปรียบศูนย์กลางที่ทำหน้าที่กระจายข้อมูล โดยข้อดีของการต่อในรูปแบบนี้คือ หากสายสัญญาณเกิดขาดในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆจะสามารถใช้งานได้ปรกติ แต่หากศูนย์กลางคือ Hub หรือ Switch เกิดเสียจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ

            3.Ring เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีเครื่อง Server หรือ Switch ในการปล่อย Token เพื่อตรวจสอบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดต้องการส่งข้อมูลหรือไม่และระหว่างการส่งข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการรอให้ข้อมูลก่อนหน้านั้นถูกส่งให้สำเร็จเสียก่อน

        ข้อดีของระบบ LAN

            เนื่องจาผู้ใช้คอมพิเตอร์ในวง LAN เดียวกันสามารถใช้ทรัพยากรที่มีในวง LAN ร่วมกันได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสำหรับอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ หรือสแกนเนอร์ เป็นต้น การขนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องต่อเครื่องในระบบ ทำได้รวดเร็วกว่าการขนย้ายข้อมูลด้วยแผ่นดิสเก็ต เป็นระบบพื้นฐานในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต

        ข้อเสียของระบบ LAN

            ถ้าสายเคเบิ้ลขาดจะไม่สามารถโอนถ่ายข้อมูลได้

WAN

Wan เป็นระบบเครือข่ายแบบใด

           WAN เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกลซึ่งอาจมีพื้นฐานการเชื่อมต่อจาก LAN ภายในองค์กรแล้วขยายให้มีการเชื่อมต่อที่กว้างขึ้น ซึ่งระยะทางในการเชื่อมต่อกันนั้นจะไกลหลาย ๆ กิโลเมตร ดังนั้นความเร็วในการเชื่อมโยงระหว่างกันอาจไม่สูงมากนัก เพราะระยะทางไกลทำให้มีสัญญาณรบกวนได้สูง ขึ้นอยู่กับแอปพลิเคชั่นและขนาดของข้อมูล ซึ่งวิธีการในการเชื่อมต่อกันจนเกิดเป็น WAN นั้นจะมีหลากหลายชนิดเช่น ISDN, Internet, ADSL, Frame Relay เป็นต้น ซึ่งจะมี Protocol หรือ รูปแบบในการสื่อสารที่สัมพันธ์กัน

            ทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN ล้วนแล้วแต่ใช้หลักการของแพ็กเกจสวิตชิ่ง กล่าวคือ มีการกำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต โดยอุปกรณ์จุถูกำหนดให้มีแอดเดรสประจำ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย และทำหน้าที่ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายมีหลายประเภทโดยอุปกรณ์ แต่ละชนิดจะมีความสามารถแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหน้าที่และจำนวนอุปกรณ์ที่อยู่ภายในองค์กร        บริดจ์ (Bridge)
            บริดจ์ เป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายของเครือข่ายที่แยกจากกัน บริดจ์เป็นเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างสองเครือข่าย มีลักษณะการส่ง ข้อมูลแบบกระจาย (Broadcasting) ใช้กับเครือข่ายประเภทเดียวกัน การรับส่งภายในเครือข่ายมีข้อกำหนดให้แพ็กเก็ตที่ส่งกระจายไปยังตัวรับได้ทุกตัว แต่ถ้ามีการส่งมาที่แอดเดรสต่างเครือ บริดจ์เป็นเสมือนตัวแบ่งแยกข้อมูล ระหว่างเครือข่ายให้มีการสื่อสารภายในเครือข่ายไม่ปะปนไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง เพื่อลดปัญหาปริมาณข้อมูลกระจายในสายสื่อสารมากเกินไป ต่อมาได้มีผู้พัฒนาบริดจ์ให้เชื่อมโยงเครือข่ายต่างชนิดกันได้

        สวิตช์ (Switch)
            หลักการทำงานของ Switches นั้นมาจากการทำงานของ Bridge แต่ว่า ทำงานได้เร็วกว่า และมีจำนวนของ Port ที่มากกว่า จึงสามารถเรียก Switching Hub ว่า Multiport Bridge การใช้งานสามารถใช้ การใช้งานเป็น Switches ของ Hub เพื่อเชื่อมต่อ Workgroup Hub ต่างๆเข้าด้วยกัน ในรูปแบบ Collapsed Backbone โดยจะช่วยแก้ปัญหา การติดขัดบนเครือข่าย ใช้ Switches เพื่อการเชื่อมต่อบรรดา Server ต่างๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ Server การเชื่อมต่อเครือข่ายที่ประกอบด้วย Switching Hub ต่างๆเข้าด้วยกันด้วย Switching Hub ตัวหลักที่เรียกว่า Back Bone Switching Hub
        เราเตอร์ (Router)

            เราเตอร์จะรับข้อมูลเป็นแพ็กเกจเข้ามาตรวจสอบแอดเดรสปลายทาง จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับตารางเส้นทางที่ได้รับการโปรแกรมไว้ เพื่อหาเส้นทางที่ส่งต่อ ปัจจุบันอุปกรณ์เราเตอร์ได้พัฒนาทำให้สามารถเชื่อมอุปกรณ์เราเตอร์หลาย ๆ ตัวเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ เราเตอร์สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการหาเส้นทางเดินที่สั้นที่สุด เลือกตามความเหมาะสม

MAN

        MAN ย่อมาจาก Metropolitan Area Network คือ  เครือข่ายระดับเมือง ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มักเชื่อมโยงกันเฉพาะในเขตเมืองเดียวกัน หรือหลายเขตเมืองที่อยู่ใกล้กัน ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ระบบเครือข่าย MAN เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานให้ครอบคลุมเมืองทั้งเมือง ซึ่งอาจเป็นเครือข่ายเดียวกัน เช่น เครือข่ายเคเ้บิลทีวี หรืออาจเป็นการรวมเครือข่ายกันของเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน
        ตัวอย่าง เช่น ภายในมหาวิทยาลัยหรือในสถานศึกษาหนึ่งๆ จะมีระบบ MAN เพื่อเชื่อมต่อระบบ LAN ของแต่ละคณะวิชาเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียวกันในวงกว้าง เทคโนโลยีที่ใช้ในเครือข่าย MAN ได้แก่ ATM, FDDI และ SMDS ระบบเครือข่าย MAN ที่จะเกิดในอนาคตอันใกล้ คือระบบที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ภายในเมืองเข้าด้วยกันโดยผ่านเทคโนโลยี Wi-Max

Wan เป็นระบบเครือข่ายแบบใด

Wan เป็นระบบเครือข่ายระดับใด

3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม 4. เครือข่ายระหว่างประเทศ (International Network)

เครือข่ายแวนมีอะไรบ้าง

ระบบเครือข่ายแบบ WAN หรือระบบเครือข่ายบริเวณกว้าง จะเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายแบบท้องถิ่นตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกันผ่านระยะทางที่ไกลมาก โดยการเชื่อมโยงจะผ่านช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะของบริษัทโทรศัพท์หรือองค์การโทรศัพท์ของประเทศต่างๆ เช่น สายโทรศัพท์แบบอนาลอก สายแบบดิจิทัล ดาวเทียม ไมโครเวฟ ...

ประเภทของเครือข่าย WAN มีกี่ประเภท

เครือข่าย WAN แบ่งออกเป็น 2 เครือข่าย ตามระดับของการใช้คือ การใช้เฉพาะองค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่มีหลายๆ สาขาใช้เป็นการเชื่อมระหว่างองค์กร มีข้อดีคือ สามารถรักษาความลับได้ สามารควบคุมดูแลและขยายเครือข่ายได้ตามต้องการ ข้อเสียคือต้องส่งข้อมูลตลอดเวลา เสียค่าใช้จ่ายสูง ต้องจัดหาช่องทางส่งข้อมูลในแต่ละสาขาด้วย

Wan ส่งข้อมูลแบบใด

ระบบเครือข่าย wan คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีวงกว้างหรือครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ ที่สามารถส่งข้อมูลทางไกลเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จากสถานที่อื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ในเครือข่ายที่อยู่ห่างไกลได้