ว่าวชนิดใดที่นิยมแข่งในประเพณีแข่งว่าวของจังหวัดสตูล

งานแข่งขันว่าวประเพณี จังหวัดสตูล

10 วันเสาร์ พ.ย. 2012

“ว่าว” เป็นสิ่งที่คนไทยคุ้นเคยและรู้จักกันดีตั้งแต่วัยเด็ก กีฬาเล่นว่าวแพร่หลายทั่วประเทศซึ่งหาซื้อได้ในราคาไม่แพงและสามารถประดิษฐ์ขึ้นเองโดยอาศัยวัสดุพื้นบ้าน เช่น ไม้ไผ่ เชือกด้าย และกระดาษ แต่น้อยคนนักที่จะทราบถึงเรื่องราวความเป็นมา

ว่าวชนิดใดที่นิยมแข่งในประเพณีแข่งว่าวของจังหวัดสตูล

ความสำคัญของว่าว ทางประเพณีวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ว่าวไทยได้สะท้อนถึงความเชื่อทางศาสนา ประเพณี ความเชื่อถือ และยังนำไปใช้ประโยชน์ทางอื่น ๆ อีกหลายด้าน เราจะสืบสาวราวเรื่องการเล่นว่าวของไทยเริ่มตั้งแต่เมื่อใดดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก เพราะขาดหลักฐานที่แน่นอนโดยเฉพาะตัวว่าว ที่ประดิษฐ์จากไม้ไผ่และกระดาษ ล้วนแต่เป็นสิ่งเสื่อมสลายเสียหายอย่างรวดเร็วไม่คงทนเช่นกับศิลปะโบราณและวัตถุอื่น ๆ

เพื่อที่จะสืบสาวเรื่องราวประวัติความเป็นมาของว่าวไทยแต่โบราณ จึงต้องศึกษาหาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักฐานทางโบราณคดี หรือแม้แต่บันทึกปรากฏในวรรณกรรมต่าง ๆ ของกรุงสุโขทัยจากพงศาว ดารเมื่อ 700 กว่าปีที่ล่วงมา จากบันทึกในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ที่เล่าถึงพระราชพิธีบุษยา ภิเศกดวลยี่ได้กล่าวว่า ตำหนักขันฤกษ์ที่นางสนมกำนัลได้ดูการ ชักว่าวงาว ซึ่งมีเสียงไพเราะเสนาะโสต ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีหลักฐานปรากฏอยู่หลายประเภทด้วยกัน เมอซีเออร์ลาลูแบร์ อัครราชทูตจากราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ประเทศฝรั่งเศสที่เข้ามาในกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2230 ได้บันทึกในจดหมายเหตุการณ์เดินทางของท่านว่า ว่าวของสมเด็จพระเจ้ากรุงสยาม ปรากฏในท้องฟ้าทุกคืนตลอดระยะเวลา 2 เดือนของฤดูหนาวและทรงแต่งตั้งขุนนางเพื่อคอยสับเปลี่ยนกันถือเชือกสายป่านไว้ จากเอกสารสมัยกรุงศรี อยุธยาว่า นอกจากจะเล่นด้วยความสนุกสนานแล้วยังมีความเกี่ยวข้องกับพระราชพิธีในราชสำนักอีกด้วย

ครั้นถึง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ การเล่นว่าวยังคงเป็นการละเล่นกีฬาที่นิยมกันอยู่ในตำหนักวังหน้ากล่าวไว้ว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภา ลัย และสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ พระอนุชาธิราช ทรงโปรดการทรงว่าวมาก ดังมีคำกล่าวคล้องจองกันว่า วังหลวงว่าวจุฬา วังหน้าทรงปักเป้า การเล่นว่าวเป็นที่นิยมกันแพร่หลายโดยเฉพาะในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนับสนุนกีฬาเล่นว่าว มีการประกวดและแข่งขันว่าวจุฬา และว่าวปักเป้า โดยมีกติกาการแข่งขันเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อการแข่งขันที่ยุติธรรมสนุกสนานมากขึ้น

ปัจจุบันการสร้างว่าวของไทย นอกจากจะยังคงเป็นเอกลักษณ์เดิมที่สืบทอดต่อกันมา แล้วยังได้เพิ่มการประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนารูปแบบว่าวชนิดต่าง ๆ ทั้ง ว่าวแผง (ว่าวที่ไม่มีความหนา มีแต่ส่วนกว้างและส่วนยาว) ว่าวภาพ (ว่าวที่ประดิษฐ์ในลักษณะพิเศษแสดงแนวคิดสร้างสรรค์ทั้งประเภทสวยงาม ความคิด และตลกขบขัน) การนำระบบชิ้นสกรีนเข้ามามีบทบาทในการทำพื้นลายบนตัวว่าว เพื่อให้มีสีสันสวยสดงดงามเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการส่งเสริมการผลิตกระดาษสาวัตถุดิบที่สำคัญในการสร้างว่าวไทย ให้เป็นงานหัตถกรรมที่ช่วยส่งเสริมรายได้ให้แก่ราษฎร

จากความเติบโตของสังคมประชากรธุรกิจการค้าด้วยรากฐานให้เป็นงานหัตถกรรมที่ช่วยเสริมรายได้ให้แก่ราษฎรภายในครัวเรือนสู่การผลิตในลักษณะของหัตถกรรมรองรับด้วยการสนับสนุนและส่งเสริมอย่างจริงจังจากผู้ที่เกี่ยว ข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ผลที่สืบทอดต่อเนื่อง ว่าวไทยได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ และเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกที่กำลังมีอนาคตที่สดใสของ ว่าวจุฬา ปักเป้า อีลุ้ม อีแพร่ ดุ๋ยดุ่ย ใบไม้ ว่าวหาง ว่าวประทุมเรียงราย ว่าวควาย และว่าวนก เป็นต้น จากคุณค่าทางศิลปะสะท้อนให้เห็นสภาพชีวิตของชนในแต่ละภูมิภาค แต่ละยุคแต่ละสมัยในความสามารถที่จะประดิษฐ์และคิดค้นที่แตกต่างจากกันออกไป อดีต ปัจจุบัน อนาคตของว่าวไทย มิใช่ตำนานหนึ่งของชนเผ่าไทยที่เล่าขานกันไปแต่เพียงเท่านั้นหากเป็นตำนานแฝงไว้ด้วยวิวัฒนาการที่ยังคงใช้ซึ่งเอกลักษณ์น่าภาค ภูมิใจของคนไทยทุกคนสืบไป

นายอิทธิพล ภาณุวัฒน์ภิญโญ นายกสมาคมว่าวแห่งภาคใต้ และชมรมว่าวจังหวัดสตูล กล่าวว่า การแข่งขันว่าวประเพณีจังหวัดสตูล ก็เพื่อเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการเล่นว่าวไทย เพราะถือว่ากีฬาการเล่นว่าวเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ที่คนไทย ทุกภาคเคยเล่นกันมาตั้งแต่สมัยโบราณแต่ปัจจุบันมีผู้เล่นว่าวน้อยมากขาดความนิยม และไม่ได้รับการส่งเสริมเท่าที่ควร ทั้งนี้ตนเองในนามศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด และโรงเรียนสตูลวิทยาได้พยายามประคับประคองกิจกรรมร่วมกันจัดการแข่งขันว่าว ขึ้นเพื่อเป็นการ ส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีไทยวัฒนธรรมท้องถิ่นอันดีงามมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 จนกลายเป็นงานว่าวประเพณีถึงปัจจุบัน และที่สำคัญก็เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูลอีกด้วย

ที่มา : Eduzones.com

ว่าวชนิดใดที่นิยมแข่งในประเพณีแข่งว่าวของจังหวัดสตูล


สตูลเป็นเมืองที่มีคำขวัญว่า “สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์”  ซึ่งคำขวัญนี้เมื่ออ่านแล้วกลับมองได้เห็นภาพถึงสิ่งที่เขียนได้ในทันที การดำรงชีพท่ามกลางธรรมชาติอย่างพอเพียงทำให้สตูลเป็นอีกเมืองที่น่าค้นหา นอกจากธรรมชาติแล้ว สตูลยังมีประเพณีที่น่าสนใจอีกอย่างคือ งานว่าวประเพณี โดยความเป็นมาของงานแข่งขันว่าวนั้นมีมาตั้งแต่ ปี 2519 ซึ่งได้จัดขึ้นที่สนามบินจังหวัดสตูล และมีงานต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลได้ให้ความสำคัญกับประเพณีนี้เป็นอย่างดี ด้วยเห็นคุณค่าในว่าวไทย และน่าจะเป็นส่วนที่จะทำให้สตูลเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการเชื้อเชิญนักว่าวจากทั่วประเทศและต่างประเทศเข้าร่วมงาน 

“ว่าวควาย” เป็นว่าวอีกแบบที่เป็นที่นิยม และเหมือนจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดสตูลไปเสียแล้ว หรือเปรียบเสมือนว่าวดุ๊ยดุ่ยของภาคใต้ตอนบน ถึงแม้ที่จริงแล้วก็มีว่าวในรูปแบบอื่นอยู่ด้วยก็ตาม และปัจจุบันว่าวควายได้เป็นที่รู้จักทั่วไป ว่าวหัวควาย หรือว่าวควายเป็นว่าวที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างว่าวหลา หรือว่าวจุฬา กับว่าววงเดือน โดยเปลี่ยนจากวงเดือนเป็นรูปหัวควายแทน และติดแอกด้วย โดยสมัยก่อนสตูลใช้ควายไถนาพอไถเสร็จก็ถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวก็นั่งเลี้ยงควาย ดูแลควายและคิดจะตอบแทนบุญคุณควาย จึงได้ความคิดการทำว่าวเป็นรูปหัวควาย เหมือนควายกำลังก้ม ว่าวควายเป็นว่าวที่ถือว่าสมบูรณ์แบบ เพราะมีหัว มีหู มีจมูก มีเสียง การทำว่าวควายที่ดีต้องทำจากไม้ไผ่สีสุกเท่านั้น และควรเป็นไผ่ที่มีอายุ 5 ปีขึ้นไป ไผ่แก่เกินไปก็ไม่ดี อ่อนเกินไปก็ไม่ดี

ลักษณะของว่าวควาย

ว่าวควายจะมีรูปลักษณ์ตอนบนมีปีกโค้ง ตอนล่างทำโครงเป็นรูปร่างหัวควาย มีเขายาวโค้งรับกับปีกบน ความยาวของปีกจะมีขนาดต่ำสุดประมาณ 1.20 เมตร ส่วนหัวจะติดแอกเพื่อให้เกิดเสียงดังคล้ายเสียงของควาย ทำจากกระดาษฟางซึ่งตอนนี้หาได้ยากขึ้น โดยว่าวควายเมื่อถูกปล่อยขึ้นฟ้าแล้วต้องส่าย ถ้าไม่ส่าย แสดงว่าใช้ไม่ได้ เพราะว่าวควายเป็นว่าวที่เลียนแบบควาย ด้วยเพราะลักษณะของควายเวลากินหญ้าจะชอบส่ายหัวไปมา

การแข่งขัน

การแข่งขันจะมีหลายประเภท จะวัดกันเมื่อนำเชือกมาผูกหลักเหมือนเวลาเรานำควายไปผูกปลักให้กินหญ้า การเหวี่ยงซ้ายขวาต้องเท่า ๆ กัน ถ้าแข่งแบบประเภทความสูงก็จะมีความสูงที่ 90 องศา ตัวไหนถึง 90 องศาก่อนก็จะชนะไป                

สตูลถือได้ว่าเป็นจังหวัดแรกเริ่มในการทำว่าวควายและนำมาใช้แข่งขันเป็นแบบประเภทเสียงดังไพเราะ และมีการดูลักษณะการลอยตัวของว่าว โดยถือเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนว่าวอื่น