น้ำมันดีเซล เป็นเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ชนิดใด

การันตีคุณภาพรถยนต์ ผ่านการตรวจสภาพ 175 จุด พร้อมรับประกัน 1 ปีเต็ม ราคาคงที่ ไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝง ซื้อไปแล้วไม่พอใจ การันตีคืนเงินเต็มจำนวนภายใน 30 วัน

นึกถึงรถยนต์มือสองต้อง Carsome.co.th

น้ำมันดีเซล เป็นเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ชนิดใด

ดีเซล กับ เบนซิน ต่างกันยังไง

สารบัญ
  • รถเครื่องเบนซินกับดีเซลต่างกันอย่างไร

  • น้ำมันดีเซล กับ เบนซิน ต่างกันยังไง

  • สรุปความแตกต่าง เครื่องยนต์ ดีเซล VS เบนซิน

น้ำมันดีเซล เป็นเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ชนิดใด

รถเครื่องเบนซินกับดีเซลต่างกันอย่างไร

นอกจากชื่อเรียกที่ถูกเรียกแตกต่างกัน แถมแยกย่อยชวนเวียนหัว อย่างเครื่องยนต์ดีเซล ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซลหรือที่หลายคนเรียกว่า โซล่า ส่วนเครื่องยนต์เบนซินหรืออีกชื่อหนึ่งคือ เครื่องยนต์แก๊สโซลีน เนื่องจากใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้หลากหลายกว่าแล้ว เครื่องยนต์สันดาปภายใน ทั้งสองแบบยังมีรูปแบบการทำงานรวมถึงคุณสมบัติ ข้อดี และข้อด้อยที่แตกต่างกันดังนี้

เครื่องยนต์เบนซินทำงานอย่างไร

เครื่องยนต์เบนซิน จะเริ่มต้นระบบการทำงานจากเชื้อเพลิงตั้งต้นไม่ว่าจะเป็นน้ำมันเบนซิน , โซฮอล, แก๊ส หรือเอทานอล มาเป็นส่วนผสมในกระบวนการจุดระเบิดร่วมกับอากาศและไฟจุดระเบิด โดยใช้หัวเทียนเป็นตัวจุดประกายไฟ และมีหัวฉีดเป็นตัวจ่ายเชื้อเพลิง การทำงานของเครื่องยนต์เบนซินจึงเป็นแบบ 4 จังหวะ คือ ดูด อัด ระเบิด และคาย ทั้งหมดเกิดขึ้นภายในกระบอก วนไปเรื่อยๆ เรียกว่า กลวัตร (Cycle) และพลังงานที่ได้ก็จะถูกส่งต่อไปยังชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์จนทำให้เกิดกำลังในการขับเคลื่อน  

ข้อดีและข้อเสียของรถเบนซิน

ข้อดีของรถเบนซิน

ข้อเสียของรถเบนซิน

  • รถเครื่องยนต์เบนซินประหยัดและมีความคุ้มค่ามากกว่าเครื่องยนต์ดีเซล ทำให้เครื่องยนต์เบนซินเหมาะกับการเดินทางและการใช้งานในเมือง
  • เครื่องยนต์เบนซินปล่อยมลพิษน้อยกว่าเครื่องยนต์ดีเซล ฝุ่นละอองเหล่านี้เองที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศและเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจ
  • เครื่องยนต์เบนซินมักจะมีเสียงเครื่องยนต์ที่เบากว่า ทำให้การขับขี่มีความนุ่มนวลและไม่สั่นสะเทือนเท่าเครื่องยนต์ดีเซล
  • เครื่องยนต์เบนซินมีประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงที่ต่ำกว่า นั่นหมายความว่าถึงแม้น้ำมันเบนซินจะถูกกว่าน้ำมันดีเซลแต่ก็อาจจะต้องใช้น้ำมันที่มากกว่าในการเดินทางไกล ทำให้ต้องจ่ายเงินเยอะกว่าอยู่ดี
  • เครื่องยนต์เบนซินมีการปล่อยก๊าซ CO2 จากท่อไอเสียรถยนต์ที่สูงกว่า

เครื่องยนต์ดีเซลทำงานอย่างไร

หลักการทำงานของ เครื่องยนต์ดีเซล จะอาศัยการจุดระเบิดโดยหลักการอัดอากาศ และฉีดเชื้อเพลิงด้วยความดันสูงจนเชื้อเพลิงนั้นสามารถติดไฟได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาหัวเทียนในการจุดระเบิดเหมือนกับเครื่องยนต์เบนซิน และเมื่ออากาศถูกอัดตัวจะมีความร้อนที่สะสมสูงขึ้น จากนั้น ความร้อนที่สะสมก็จะได้รับเชื้อเพลิงจากการฉีดจ่ายอย่างรวดเร็วและแรงจากหัวฉีดแรงดันสูง จนเกิดการระเบิดภายในและเผาไหม้ภายในกระบอกสูบ ส่งเป็นกำลังหรือแรงผลักไปยังชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์จนเป็นกลายพละกำลังในการขับเคลื่อนตัวรถ 

ข้อดีและข้อเสียของรถดีเซล

ข้อดีของรถดีเซล

ข้อเสียของรถดีเซล

  • เครื่องยนต์ดีเซลเหมาะกับการเดินทางไกลมากกว่า เนื่องจากเครื่องยนต์ดีเซลมีประสิทธิภาพทางความร้อนสูงกว่า ทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อย และเครื่องยนต์ยังไม่ต้องทำงานหนักเท่าเครื่องยนต์เบนซิน
  • น้ำมันดีเซลมีพลังงานมากกว่าน้ำมันเบนซินในปริมาณเท่ากัน ทำให้ประหยัดน้ำมันมากกว่า
  • รถเครื่องยนต์ดีเซลมีการปล่อยก๊าซ CO2 ที่น้อยกว่า เนื่องจากโดยทั่วไปแล้ว รถยนต์เบนซินมีการใช้ปริมาณเชื้อเพลิงที่มากกว่ารถยนต์ดีเซล ทำให้มีการปล่อยก๊าซ CO2 ในปริมาณที่มากกว่าเช่นเดียวกัน
  • เครื่องยนต์ดีเซลมีความทนทานมากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน
  • รถยนต์ดีเซลมักจะแพงกว่ารถยนต์เบนซิน ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะรถยนต์ดีเซลมักจะติดตั้งเทคโนโลยีที่ช่วยลดการปลดปล่อยมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้น และเนื่องจากวัสดุมีความคงทนกว่า ทำให้มีน้ำหนักและต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าไปด้วย
  • เครื่องยนต์ดีเซลต้องใช้กำลังอัดสูงสุดของการเผาไหม้เครื่องยนต์มากกว่า ทำให้เกิดเสียงดังและมีแรงสั่นสะเทือนมากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน
  • เครื่องยนต์ดีเซลปล่อยมลพิษมากกว่าเครื่องยนต์เบนซิน

นึกถึงรถยนต์มือสองต้อง Carsome.co.th

น้ำมันดีเซล เป็นเชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ชนิดใด

น้ำมันดีเซล กับ เบนซิน ต่างกันยังไง

นอกจากเรื่องความแตกต่างของเครื่องยนต์ที่ได้รับการออกแบบมาให้รองรับการใช้งานที่แตกต่างกันแล้ว น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับเครื่องเบนซินและเครื่องยนต์ดีเซลรวมไปถึงน้ำมันเครื่องที่ใช้ก็มีความแตกต่างค่อนข้างมากดังนี้

น้ำมันเชื้อเพลง ดีเซล กับ เบนซิน

น้ำมันเชื้อเพลงดีเซล

น้ำมันเชื้อเพลงเบนซิน

มีทั้งน้ำมันเบนซิน 95 (Gasoline 95), แก๊สโซฮอล์ 91 (E 10), แก๊สโซฮอล์ 95 (E 10), แก๊สโซฮอล์ 95 (E 20) และแก๊สโซฮอล์ 95 (E 85)มีทั้งน้ำมันดีเซล B7 (น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ), น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B10, และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว B20

น้ำมันเครื่อง ดีเซล กับ เบนซิน

น้ำมันเครื่องดีเซล

น้ำมันเครื่องเบนซิน

  • ใช้น้ำมันเครื่องรหัส “C” โดยอักษร C ย่อมาจาก Compress Ignition หมายถึง เครื่องยนต์ที่จุดระเบิดด้วยกำลังอัด ไม่มีหัวเทียน ซึ่งก็คือ ระบบเครื่องยนต์ดีเซลนั่นเอง
  • มีสารชะล้างเขม่าสูง เนื่องจากเครื่องดีเซลจะเกิดเขม่ามาก
  • ใช้น้ำมันเครื่องรหัส “S” โดยอักษร S ย่อมาจาก Spark Ignition หมายถึง เครื่องยนต์ที่จุดระเบิดด้วยประกายไฟจากหัวเทียน ซึ่งก็คือ ระบบเครื่องยนต์เบนซินนั่นเอง
  • มีสารชะล้างเขม่าน้อย เนื่องจากเครื่องยนต์เบนซินเกิดเขม่าน้อยกว่า

สรุปความแตกต่าง เครื่องยนต์ ดีเซล VS เบนซิน

เครื่องยนต์เบนซินและเครื่องยนต์ดีเซลต่างก็มีข้อดีข้อเสียที่ไม่เหมือนกัน ที่ชัดเจนที่สุดคือ รถเครื่องยนต์ดีเซลเหมาะแก่การเดินทางไกลหรือรถที่ต้องใช้งานหนัก เช่น รถกระบะขนสินค้า เป็นต้น เนื่องจากมีความทนทานและช่วยประหยัดน้ำมันมากกว่า แต่ถ้าต้องการรถ City Car หรือ Eco Car คันพอเหมาะสำหรับเดินทางแค่ในเมืองใหญ่ รถเบนซินก็ตอบโจทย์ได้มากกว่าเนื่องจากมีราคาย่อมเยาว์ ช่วยลดมลพิษทางอากาศ รวมไปถึงขับได้นุ่มนวลกว่า ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ คุณควรคำนึงถึงการใช้งานที่เหมาะสม และเลือกเครื่องยนต์ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์การใช้รถของคุณเพื่อความคุ้มค่าที่สุดนั่นเอง