ละติจูด 30 องศา เหนือและใต้มีสภาพอากาศเป็นอย่างไร

                    การแบ่งเขตภูมิอากาศทำได้หลายวิธีโดยอาศัยองค์ประกอบของอากาศทางด้านต่างๆ เช่น อุณหภูมิ หยาดน้ำฟ้า ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ 

แนวปะทะของมวลอากาศ และลักษณะดิน โดยการแบ่งเขตภูมิอากาศของโลกจะเน้นเฉพาะบนภาคพื้นดินเท่านั้น เนื่องจากบนพื้นน้ำความแตกต่างของอุณหภูมิ

มีไม่มากนัก การแบ่งเขตภูมิอากาศของโลกสามารถจำแนกได้จาก

                    1. การแบ่งเขตภูมิอากาศโดยอาศัยอุณหภูมิ

                        เป็นการแบ่งเขตภูมิอากาศที่อาศัยอุณภูมิเป็นเกณฑ์ มีวิวัฒนาการมาจากวิธีการแบ่งเขตภูมิ อากาศของชาวกรีกโบราณ แบ่งออกได้เป็น 3 เขต ได้แก่

                        1) เขตภูมิอากาศร้อน (Tropic Zone)อยู่ในเขตละติจูดต่ำ ระหว่างละติจูด ที่ 23 องศาเหนือ ถึง 23 องศาใต้ มีอุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละเดือนสูง

กว่า 18 องศาเซลเซียส เป็นเขตที่มีอากาศร้อนตลอดปี ไม่มีฤดูหนาว ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ (Rainforest)

                        2) เขตภูมิอากาศอบอุ่น (Temperate Zone) อยู่ในเขตละติจูดกลางระหว่างเขตร้อนและเขตหนาว มีอุณหภูมิของอากาศเดือนที่หนาวที่สุด

เฉลี่ยต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส แต่สูงกว่า –3 องศาเซลเซียส เป็นบริเวณที่มีฤดูหนาวและฤดูร้อนแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าสน 

(Boreal Forest)

                        3) เขตภูมิอากาศหนาว (Polar Zone)อยู่ในเขตละติจูดตั้งแต่ 66 องศาเหนือ และใต้ ไปยังขั้วโลก เป็นเขตภูมิอากาศที่ไม่มีฤดูร้อน อุณหภูมิ

ของอากาศเฉลี่ยแต่ละเดือนต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส พืชพรรณธรรมชาติเป็นแบบทรุนดรา (Tundra)

                        อย่างไรก็ตามการจำแนกเขตภูมิอากาศโดยอาศัยอุณหภูมิเพียงอย่างเดียวยังไม่สามารถแสดงถึงความแตกต่างระหว่างพื้นที่ที่เป็นบริเวณ

ทะเลทราย และบริเวณพื้นที่ที่มีอากาศชุ่มชื้นได้ และไม่ได้พิจารณาถึงความใกล้ไกลจากทะเลแต่อย่างใด จึงต้องมีการอาศัยเกณฑ์อื่นในการจำแนกอีก

                    2. การแบ่งเขตภูมิอากาศโดยอาศัยหยาดน้ำฟ้า 

                        เนื่องจากมีการพิจารณาว่าหยาดน้ำฟ้ามี ความสำคัญต่อพืชพรรณ การระบายน้ำ ความชื้น ปริมาณน้ำผิวดินและปริมาณน้ำใต้ดินเป็นอย่างมาก 

จึงพิจารณาถึงปริมาณหยาดน้ำฟ้า ซึ่งได้แก่ ปริมาณน้ำฝน หรือหิมะที่ตกลงมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา โดย โทมัส เอ. แบล์ร์ แบ่งออกเป็นดังนี้

                        1) เขตภูมิอากาศแห้งแล้ง (Arid Zone)ได้แก่บริเวณพื้นที่ซึ่งมีหยาดน้ำ ฟ้าเล็กน้อย คือ 0 – 250 มิลลิเมตรต่อปี 

                        2) เขตภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง (Semi - arid Zone) ได้แก่บริเวณพื้นที่ซึ่ง มีหยาดน้ำฟ้าตกเบาบาง ระหว่าง 250 – 500 มิลลิเมตรต่อปี

                        3) เขตภูมิอากาศกึ่งชุ่มชื้น (Subhumid Zone)ได้แก่บริเวณพื้นที่ซึ่งมี หยาดน้ำฟ้าตกปานกลาง ระหว่าง 500 – 1,000 มิลลิเมตรต่อปี

                        4เขตภูมิอากาศชุ่มชื้น (Humid Zone)ได้แก่บริเวณพื้นที่ซึ่งมีหยาดน้ำ ฟ้าตกหนักระหว่าง 1,000 – 2,000 มิลลิเมตรต่อปี

                        5) เขตภูมิอากาศชุ่มชื้นมาก (Very Wet)ได้แก่บริเวณพื้นที่ซึ่งมีหยาด น้ำฟ้าตกหนักมาก ตั้งแต่ 2,000 มิลลิเมตรต่อปี

                        อย่างไรก็ตามการจำแนกเขตภูมิอากาศโดยอาศัยหยาดน้ำฟ้าเป็นเกณฑ์ยังมีข้อจำกัดได้แก่ การจัดเขตอากาศหนาวแบบขั้วโลกไว้รวมกับ

เขตทะเลทรายซึ่งมีปริมาณหยาดน้ำฟ้าตกลงมาในอัตราที่ใกล้เคียงกัน แต่เขตอากาศหนาวอัตราการระเหยจะมีน้อยกว่าอากาศแบบทะเลทรายซึ่งยังมิได้คำนึง

ถึงอุณหภูมิซึ่งเป็นตัวการที่มีผลต่ออัตราการระเหย ด้วยเช่นกัน 

                    3การแบ่งเขตภูมิอากาศโดยใช้พืชพรรณธรรมชาติ

                        ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ สามารถนำมาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาการจำแนก ประเภทของภูมิอากาศได้ โดยพืชพรรณธรรมชาติแต่ละชนิด

จะมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบของภูมิอากาศ ซึ่งทำให้พืชพรรณเจริญเติบโต และสามารถปรับตัวให้เข้ากับลักษณะภูมิอากาศได้ เช่น พืชตระกูลเดียวกันจะขึ้น

รวมกันอยู่อย่างหนาแน่นในลักษณะอากาศอย่างเดียวกัน ดังนั้น บลูเมนสต็อค (Blumenstock) และธอร์นธเวต (Thornthwaite) จึงแบ่งเขตภูมิอากาศโดยอาศัย

พืชพรรณธรรมชาติเป็นเกณฑ์ และแบ่งเขตภูมิอากาศออกเป็น 11 เขต ได้แก่ 

                        - เขตภูมิอากาศแบบป่าศูนย์สูตร  

                        - เขตภูมิอากาศแบบป่ามรสุม 

                        - เขตภูมิอากาศแบบป่าละเมาะ  

                        - เขตภูมิอากาศแบบป่าเมดิเตอร์เรเนียน  

                        - เขตภูมิอากาศแบบป่าไม้ใบกว้าง  

                        - เขตภูมิอากาศแบบป่าสน  

                        - เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา  

                        - เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าแพรี่   

                        - เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสเต็ปป์   

                        - เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าทะเลทราย   

                        - และเขตภูมิอากาศแบบทรุนดราและขั้วโลก

                        อย่างไรก็ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศโดยใช้พืชพรรณธรรมชาติเป็นเกณฑ์นี้ยังมีข้อจำกัดในด้านการบอกลักษณะอากาศทั่วๆ ไป ในเขต

ภูมิอากาศนั้นๆ ได้เฉพาะในสภาพปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังไม่สามารถบอกได้ถึงสภาพภูมิอากาศที่จะมีการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้

                    4. การแบ่งเขตภูมิอากาศโดยใช้มวลอากาศและแนวปะทะมวลอากาศ 

                        การแบ่งเขตภูมิอากาศประเภทนี้จะใช้แหล่งกำเนิดและแนวปะทะของมวลอากาศเป็นเกณฑ์ โดยจะนำเอาจุดกำเนิดการเคลื่อนที่และแนวปะทะ

ของมวลอากาศเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา โดยไม่ได้คำนึงว่าที่ตั้งแหล่งกำเนิดว่าจะอยู่บนภาคพื้นดินหรือพื้นน้ำ แหล่งกำเนิดของมวลอากาศจะเปลี่ยนแปลง

ไปตามฤดูกาลที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศ ความชื้น และลม โดยจำแนกเขตภูมิอากาศออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 

                        1) ภูมิอากาศในเขตละติจูดต่ำ เป็นแหล่งกำเนิดของมวลอากาศเขตร้อนและร่องความกดอากาศต่ำแถบศูนย์สูตร บริเวณละติจูดที่ 23 องศา

เหนือ ถึง 23 องศาใต้ อยู่ภายใต้อิทธิพลของเขตความกดอากาศสูงกึ่งโซนร้อนแถบละติจูดม้าเป็นมวลอากาศอุ่นลักษณะอากาศจมตัว และมีมวลอากาศขั้วโลก

ซึ่งเป็นมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมเป็นครั้งคราว 

                        2) ภูมิอากาศในเขตละติจูดกลาง เป็นเขตที่มีการปะทะกันของมวลอากาศอุ่นเขต ร้อนและมวลอากาศเย็นขั้วโลก ทำให้เกิดแนวปะทะ

มวลอากาศขึ้นตลอด ทำให้เขตนี้มักเกิดพายุซึ่งมีทิศทางการเคลื่อนที่ไปยังทิศตะวันออกตามอิทธพลของลมประจำฝ่ายตะวันตก และยังก่อให้เกิดพายุ

ไซโคลนด้วย 

                        3) ภูมิอากาศในเขตละติจูดสูง เป็นเขตที่เกิดจากอิทธิพลของมวลอากาศเย็นแถบ ขั้วโลก และมวลอากาศอาร์กติก โดยมวลอากาศขั้วโลกมี

จุดกำเนิดอยู่ที่ ตอนกลางของประเทศแคนาดาและไซบีเรีย แต่จะไม่ปรากฏทางซีกโลกใต้ เนื่องจากซีกโลกใต้ไม่มีพื้นดิน และจะเกิดแนวปะทะอากาศตาม

แนวละติจูดที่ 60 – 70 องศาเหนือ และใต้ เนื่องจากมวลอากาศเย็นที่เคลื่อนที่มาจากขั้วโลก และมวลอากาศอุ่นที่เคลื่อนที่ขึ้นหรือลงมาจากตำแหน่งละติจูด

ที่ต่ำกว่า จึงทำให้เกิดแนวปะทะมวลอากาศอาร์กติก หรือ แนวปะทะมวลอากาศแอนตาร์กติก อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ในแนวละติจูดที่ 60–70 องศาเหนือ 

และใต้ เป็นแนวความกดอากาศต่ำกึ่งขั้วโลกเกิดขึ้น 

                        จากเขตภูมิอากาศทั้งสามแบบข้างต้น สามารถแบ่งย่อยออกเป็นอีก 14 เขตภูมิอากาศ คือ 

                        - เขตภูมิอากาศชื้นแถบศูนย์สูตร 

                        - เขตภูมิอากาศชายฝั่งทะเลที่ลมสินค้าพัดเข้าฝั่ง 

                        - เขตภูมิอากาศทะเลทรายเขตร้อน 

                        - เขตภูมิอากาศทะเลทรายชายฝั่งตะวันตก 

                        - เขตภูมิอากาศร้อนที่มีฤดูฝนสลับกับฤดูแล้ง 

                        - เขตภูมิอากาศอบอุ่นชื้น 

                        - เขตภูมิอากาศชายฝั่งตะวันตก 

                        - เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน 

                        - เขตภูมิอากาศทะเลทรายและสเต็ปป์ในเขตละติจูดกลาง 

                        - เขตภูมิอากาศชุ่มชื้นภาคพื้นทวีป 

                        - เขตภูมิอากาศภาคพื้นทวีปกึ่งขั้วโลก 

                        - เขตภูมิอากาศชายฝั่งกึ่งขั้วโลก  

                        - เขตภูมิอากาศแบบทรุนดรา 

                        - เขตภูมิอากาศแบบทุ่งน้ำแข็ง

ที่มา : http://www.rmutphysics.com/charud/naturemystery/sci3/geology/4/index_ch_4-3.htm