ไตรภูมิพระร่วงมีคุณค่าด้านวรรณคดีอย่างไร

ไตรภูมิพระร่วง : คุณค่าต่อสังคมไทย (ภาคสรุป)

ประวัติความเป็นมา 

               -          ไตรภูมิกภาหรือไตรภูมิพระร่วงเป็นวรรณกรรมสุโขทัย เป็นพระราชนิพนธ์ของพระมหาธรรมราชาลิไท แต่งขึ้นในปี พ.ศ. ๑๘๘๘ ในขณะที่ทรงดำรงตำแหน่งเป็นพระมหาอุปราช

               -          เป็นวรรณคดีในพุทธศาสนาเรื่องแรกที่แต่งขึ้นในประเทศไทย มีลักษณะเป็นวิทยานิพนธ์

               -          เขียนโดยการค้นคว้ารวบรวมคัมภีร์ในพระพุทธศาสนากว่า ๓๐ เล่ม

               -          ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ โดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

จุดประสงค์ในการแต่ง 

               -          เพื่อเผยแพร่อภิธรรม

               -          เพื่อเป็นบทเรียนอภิธรรมแก่มารกาของพระยาลิไท

               -          เพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาแก่ประชาชน

ความสำคัญของเนื้อเรื่อง 

               -          เป็นการสั่งสอนผู้ที่จะทำบุญจะได้ขึ้นสวรรค์และผู้ที่ทำบาปจะตกนรก โดยให้ภาพนรกที่น่ากลัวหวาดเสียว คนจะได้แกรงกลัวต่อบาปไม่อยากตกนรก วาดภาพสวรรค์ให้เป็นแดนสุขารมณ์ คนจะได้ทำบุญเพื่อไปสู่สวรรค์

               -          ให้ภาพการกำเนิดของสรรพสัตว์ มนุษย์ ยักษ์ อสูร เทวดา สัตว์นรก เปรต

               -          จูงใจให้คนทำความดีเว้นความชั่ว รู้กฎความจริงของสรรพสิ่งและกฎชีวิต (ไตรลักษณ์) ตระหนักถึงการดำรงชีวิตด้วยความไม่ประมาท ล่วงพ้นวัฏสงสาร เพื่อเข้าถึงนิพานอันเป็นแก่นสารและจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิต

               -          แบ่งภพภูมิต่าง ๆ เป็น อรูปภูมิ ๔ รูปภูมิ ๑๖ กามภูมิ ๑๑

               -          กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้สัตว์ไปเกิดในนรกไว้ ๓ ประการคือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง

               -          กล่าวถึงทิพยสมบัติ พระนิพพานและการจะได้ไปพบพระศรีอารย์ในอนาคต

คุณค่าของหนังสือไตรภูมิพระร่วง

               -          คุณค่าในแง่ศาสนา เป็นหนังสือที่ใช้เป็นเครื่องมือในการความคุมพฤติกรรมมนุษย์ ให้ประชาชนประกอบคุณงานความดี โดยใช้วิธีเปรียบเทียบเรื่องนรก สวรรค์และให้รู้จักพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

               -          คุณค่าในทางปรัชญา ให้คุณธรรมของผู้ปกครอง โทษต่าง ๆ ของผู้ไร้ศีลธรรม ส่งเสริมจริยธรรม กล่าวถึงภูมิจักรวาล ตายไปแล้วจะไปอยู่ที่ใด ปัจจุบันความคิดเรื่องทำความดีไปสวรรค์ ทำความชั่วไปนรกได้ฝังรากลึกเข้าไปในจิตใต้สำนึกของคนไทยทุกคน

               -          คุณค่าทางศิลปกรรม เป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินนำเรื่องราวไปเขียนเป็นภาพจิตกรรมฝาผนังพระอุโบสถ วิหาร ด้านหลังองค์ประประทานตามวัดสำคัญต่าง ๆ เช่นอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม

               -          คุณค่าในวรรณกรรม โดดเด่นในศิลปะการประพันธ์ ให้อิทธิพลต่อวรรณคดีในสมัยต่อมาเช่น ลิลิตโองการแช่งน้ำ บุณโณวาทคำฉันท์ ขุนช้างขุนแผน นิราศนรินทร์ วรรณกรรมเหล่านี้ได้รับแนวคิดจากไตรภูมิพระร่วงเช่น เรื่องนรก สวรรค์ อเวจี เปรต อสูรกาย ครุฑ นาค ป่าหิมพานต์ ภูเขาสัตตบริภัณฑ์ อีกทั้งยังสร้างความเพลินเพลินเริงรมณ์แก่ผู้อ่าน เพราะให้ภาพเกี่ยวกับภพภูมิต่าง ๆ ชัดเจน

               -          คุณค่าทางวิชาการ ให้ความรู้เชิงวิชาการเรื่องเพศ อธิบายการกำเนิดแบบวิทยาศาสตร์

                -          คุณค่าต่อรากฐานอุดมการณ์การเมืองไทย  ในด้านการปกครอง การสร้างเสริมพระราชอำนาจของกษัตริย์ เน้นความเป็นผู้นำที่เป็น “ธรรมราชา” มากกว่า “กษัตริย์นักรบ” ซึ่งกษัตริย์ยึดถือแนวทางนี้มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน

                ไตรภูมิร่วงเป็นวรรณกรรมที่โดดเด่นที่สุดเรื่องหนึ่งของสุโขทัย และยังส่งอิทธิพลในแง่ความคิด การดำรงชีวิต ศิลปะ ฯลฯ ต่อคนไทยทุกยุคทุกสมัย หัวใจของเรื่องก็คือ การละชั่ว ทำดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา

ไตรภูมิพระร่วงให้คุณค่าทางด้านสังคมและวัฒนธรรมอย่างไร

๓. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ๓.๑ คำสอนทางศาสนา ไตรภูมิพระร่วงสอนให้คนทำบุญละบาป เช่น การทำบุญรักษาศีลเจรฐสมาธิภาวนาจะได้ขึ้นสวรรค์การทำบาปจะตกนรก แนวความคิดนี้มีอิทะพลเหนือนจิตใจของคนไทยมาช้านาน เป็นเสมือนแนวการสอนศีลธรรมของสังคม ให้คนปฏิบัติชอบซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม

ข้อใดแสดงให้เห็นว่า ไตรภูมิพระร่วงมีคุณค่าในทางจริยธรรม

๓. คุณค่าด้านจริยธรรม ไตรภูมิพระร่วงกำหนดกรอบแห่งความประพฤติเพื่อให้สังคมมีความสงบสุขผู้ปกครองแผ่นดินต้องมีคุณธรรม ๔. คุณค่าด้านประเพณีและวัฒนธรรม ความเชื่อที่ปรากฏในเรื่องไตรภูมิพระร่วงยังสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น ประเพณีงานศพ ภาพนรกและสวรรค์ก่อให้เกิดผลงานด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรมจนถึงปัจจุบัน

วรรณคดีเรื่องไตรภูมิพระร่วงพระร่วงให้ข้อคิดเรื่องอะไร

ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ มนุษย์เราควรทำความดีด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิเช่น การกตัญญูต่อมารดาผู้ให้กำเนิด การยึดมั่นในศีลธรรม รู้จักพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่โลภ ไม่มีกิเลสตัณหา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ฯลฯ ซึ่งหากเราทำได้เช่นนี้ ตัวเราและสังคมก็ย่อมมีแต่ความสงบสุข

ไตรภูมิพระร่วงสะท้อนความคิดอย่างไร

๑.๑)ความเชื่อในเรื่องกรรม ไตรภูมิพระร่วง ตอน มนุสาภูมิ สะท้อนให้เห็นความเชื่อในเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์โลกด้วยแรงบุญแรงกรรมที่ได้กระทำไว้ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ หากทำบาปด้วยกาย วาจา ใจต้องไปเกิดในนรกภูมิ หากรู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักผิดชอบชั่วดี รู้จักคุณพระรัตนตรัย มีมนุษยธรรมประจำใจก็ไปเกิดในมนุสสภูมิ และเมื่อ ...