ข้อใดคือโครงสร้างของหนังสือราชการ

คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก  เป็นหนังสือติดต่อ

ภายในกระทรวงทบวงกรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกข้อความในการจัดทำ 

                          โครงสร้าง  ประกอบด้วยส่วนสำคัญ  4 ส่วน 

หัวหนังสือ

ส่วนราชการ...................................................................................

ที่............................................วันที่...............................................

เรื่อง.............................................................................................

(คำขึ้นต้น)..........................................

 
เหตุที่มีหนังสือไป

            (ข้อความ)....................................................................

จุดประสงค์

จึง.................................................................. ....................................................................

 
ท้ายหนังสือ

 (ลงชื่อ)....................................

(พิมพ์ชื่อเต็ม)............................

                                                                                                                   (ตำแหน่ง) ............................   

 

   1. ส่วนราชการ  ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่อง หรือหน่วยงานที่ออกหนังสือโดยมีรายละเอียดพอสมควร 

ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรมขึ้นไป  ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องทั้งระดับกรมและกอง

ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับต่ำกว่ากรมลงมา ให้ลงชื่อส่วนราชการเจ้าของเรื่องเพียงระดับกอง

หรือส่วนราชการเจ้าของเรื่อง พร้อมทั้งหมายเลขโทรศัพท์  โทรสาร (ถ้ามี)  และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (ถ้ามี)

Øกรณีส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกรม  (อตส. หรือผู้ปฏิบัติราชการแทน 

                                                                 หรือผู้รักษาราชการแทน  ลงนาม) 

            กรมตรวจบัญชีสหกรณ์  สำนัก.... โทร. x xxxx xxxx  โทรสาร x xxxx xxxx  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์........ 

Ø กรณีส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกอง  (ผอ.  ลงนาม) 

- ถึงหน่วยงานภายนอก (ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์))

            สำนัก.....  กรมตรวจบัญชีสหกรณ์  โทร. x xxxx xxxx  โทรสาร x xxxx xxxx  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์...... 

- ถึงหน่วยงานในสังกัดกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

            สำนัก........  กลุ่ม/ฝ่าย.....  โทร. x xxxx xxxx  โทรสาร x xxxx xxxx  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์.......... 

Øกรณีส่วนราชการที่ออกหนังสืออยู่ในระดับกลุ่มหรือฝ่าย 

            กลุ่ม/ฝ่าย.....  สำนัก.......  โทร. x xxxx xxxx  โทรสาร x xxxx xxxx  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์.......... 

Øกรณีลงนามโดยคณะทำงาน

            คณะ..........  โทร. x xxxx xxxx  โทรสาร x xxxx xxxx  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์..........   

2. ที่ ให้ลงรหัสตัวพยัญชนะและเลขประจำของเรื่อง ตามที่กำหนดไว้ทับเลขทะเบียนหนังสือส่ง  

      ตัวอย่าง

             - หนังสือของสำนักบริหารกลาง กษ 0401/245 

             - หนังสือเวียนที่มีถึงผู้รับจำนวนมาก  โดยมีข้อความอย่างเดียวกัน  ให้เพิ่มรหัสตัวพยัญชนะ

               หน้าเลขทะเบียนหนังสือ เช่น   กษ 0401/ว 771

                 - หนังสือของคณะกรรมการ  ให้กำหนดรหัสตัวพยัญชนะเพิ่มขึ้นได้ตามความจำเป็น

               หรือใช้ที่ของหน่วยงานระดับกองที่เลขาฯ คณะสังกัด  

3. วัน เดือน ปี  ให้ลงเลขของวันที่ ชื่อเต็มของเดือน และตัวเลขของปีพุทธศักราชที่ออกหนังสือ 

4. เรื่อง  ให้ลงเรื่องย่อที่เป็นใจความสั้นที่สุดของหนังสือฉบับนั้น ในกรณีที่เป็นหนังสือต่อเนื่องให้ลงเรื่อง

ของหนังสือฉบับเดิม 

5. คำขึ้นต้น  ให้ใช้คำขึ้นต้นตามฐานะของผู้รับหนังสือตามรายการใช้คำขึ้นต้น สรรพนาม และคำลงท้าย

ที่กำหนด แล้วลงตำแหน่งของผู้ที่หนังสือนั้นมีถึง หรือชื่อบุคคลในกรณีที่มีถึงตัวบุคคลไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ 

6. ข้อความ  ให้ลงสาระสำคัญของเรื่องให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย หากมีความประสงค์หลายประการ ให้แยก

เป็นข้อๆ ในกรณีที่มีการอ้างถึงหนังสือที่เคยมีติดต่อกันหรือมีสิ่งที่ส่งมาด้วย ให้ระบุไว้ในข้อนี้ 

7. ลงชื่อ  ให้ลงลายมือชื่อเจ้าของหนังสือ และให้พิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อไว้ใต้ลายมือชื่อ

8. ตำแหน่ง  ให้ลงตำแหน่งของเจ้าของหนังสือ  ในกรณีที่กระทรวงทบวงกรมหรือจังหวัดใดประสงค์จะกำหนดแบบการเขียนโดยเฉพาะ เพื่อใช้ตามความเหมาะสมก็ให้กระทำได้

ข้อใดคือโครงสร้างของหนังสือราชการ

ข้อใดคือโครงสร้างของหนังสือราชการ