ชุด อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ที่ ทำหน้าที่ ควบคุมการ ทำงาน ของระบบหัวฉีด เรียกว่า อะไร

ชุด อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ที่ ทำหน้าที่ ควบคุมการ ทำงาน ของระบบหัวฉีด เรียกว่า อะไร

เขียนโดย: ART 4G

เมื่อ: 6 สิงหาคม 2557 - 18:49

หัวฉีด คุณรู้จักกันดีพอหรือยังครับ

          หัวฉีด(Injector) คือ ส่วนประกอบหนึ่งในเครื่องยนต์ซึ่งทำหน้าที่จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปยังห้องเผาไหม้เพื่อที่จะทำการจุดระเบิด โดยจะทำการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงออกมาให้เป็นฝอยด้วยการควบคุมจากกล่องอิเล็คทรอนิคส์ หรือกล่อง ECU

ชุด อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ที่ ทำหน้าที่ ควบคุมการ ทำงาน ของระบบหัวฉีด เรียกว่า อะไร

ส่วนประกอบของหัวฉีด(Injector) 

สำหรับเจ้าหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงนี้มันจะประกอบไปด้วย

  1. ขดลวดทองแดงหรือขดลวดคอล์ย
  2. เข็มหัวฉีด
  3. สปริงกดเข็มหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง
  4. กรองน้ำมันเชื้อเพลิง

          ในการทำงานของหัวฉีดนี้ มันจะทำงานด้วยการควบคุมจากกล่อง ECU โดยจ่ายสัญญาณกราวด์ให้ และขดลวดทองแดงในหัวฉีดจะทำงานโดยการสร้างสนามแม่เหล็ก และใช้แรงนี้ยกเข็มหัวฉีด จากนั้นแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิงที่รออยู่ที่บริเวณเข็มหัวฉีด ก็จะสามารถฉีดออกไป บริเวณด้านหลังวาล์วไอดีก็จะเกิดเป็น ไอดี ซึ่ง ไอดี คือส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงแล้วลูกสูบก็จะดูดไอดี ลงไปในกระบอกสูบ ในจังหวะดูดเป็นขั้นตอนต่อไป

ชุด อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ที่ ทำหน้าที่ ควบคุมการ ทำงาน ของระบบหัวฉีด เรียกว่า อะไร

ตัวอย่างชุดหัวฉีดแต่ง HKS

ชุด อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ที่ ทำหน้าที่ ควบคุมการ ทำงาน ของระบบหัวฉีด เรียกว่า อะไร

ตัวอย่างชุดหัวฉีดแต่ง SARD

VDO การทำงานของหัวฉีด

คำว่าคอมม่อนเรล สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล คงจะเริ่มคุ้นหูกันมากขึ้นในระยะหลังนี้ ในขณะที่เทคโนโลยีนี้ พัฒนามากว่า 20 ปีแล้ว คอมม่อนเรล มีสภาพเหมือนเป็นรางกักเก็บเชื้อเพลิง ที่ภายในมีความดันสูงอยู่ตลอด และความดันนี้ก็จะส่งผ่านไปที่หัวฉีด เมื่อหัวฉีดได้รับสัญญาณ ก็จะเปิดให้น้ำมันดีเซล พุ่งผ่านลงไปในห้องเผาไหม้ การนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ ของเครื่องยนต์ดีเซล ขึ้นจากระบบเดิมๆ รวมไปถึงระบบไดเร็คอินเจ็คชั่นด้วย ในระบบไดเร็คอินเจ็คชั่นนั้น หัวฉีดจะได้รับการจ่ายเชื้อเพลิงโดยตรง จากปั๊มหัวฉีด สำหรับในระบบคอมม่อนเรลนี้ ปั๊มจะส่งน้ำมันไปที่รางน้ำมันเชื้อเพลิงความดันสูงที่เรียกว่าคอมม่อนเรล ซึ่งความดันอาจสูงถึง 1,350 บาร์ และที่หัวฉีดจะมีการส่งสัญญาณกลับมาที่ปั๊มด้วย รวมทั้งยังมีการควบคุมจาก ECU ร่วมอยู่ด้วย ทั้งหมดจะส่งผลให้มีการใช้น้ำมัน อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้เครื่องยนต์ดีเซลในระบบนี้ ประหยัดน้ำม้น และให้กำลังดีขึ้น


ระบบนี้มีใช้ในเครื่องยนต์ดีเซลขนาดใหญ่มานานแล้ว ก่อนที่จะเริ่มมีการพัฒนา ให้อุปกรณ์ต่างๆ มีขนาดเล็กลง และนำมาใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล สำหรับรถยนต์นั่งในปัจจุบัน เครื่องยนต์ดีเซลระบบ คอมม่อนเรล เริ่มมีวางจำหน่ายแล้งในยุโรป ดินแดนที่มีความนิยม การใช้เครื่องยนต์ดีเซลอย่างมาก ในรถยนต์นั่ง

คอมม่อนเรลเป็นระบบควบคุมการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยอีเล็คทรอนิคส์  แตกต่างจากปั๊มหัวฉีดโดยทั่วไป ประกอบด้วย

  1. ปั๊มจ่ายน้ำมัน (supply pump)
  2. รางคอมม่อนเรล (common rail)
  3. หัวฉีด (injector)
  4. เซ็นเซอร์ต่างๆ
  5. ระบบควบคุมคอมพิวเตอร์ (ECU)

1. ปั๊มจ่ายน้ำมัน (supply pump)จะถูกขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์เพื่อสร้างน้ำมันแรงดันสูงขึ้นมา

ชุด อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ที่ ทำหน้าที่ ควบคุมการ ทำงาน ของระบบหัวฉีด เรียกว่า อะไร

ปั๊มจ่ายน้ำมันประกอบด้วย ตัวปั๊ม(main body)  feed pump และลิ้นควบคุมปั๊ม (Pump Control Valve หรือ PCV) ที่มีหน้าที่ปล่อยน้ำมันตามคำสั่งของ ECU ปั๊มนี้ถูกขับเคลื่อนโดยเครื่องยนต์ ตัวปั๊มทำหน้าที่ดูดและจ่ายน้ำมันโดยอาศัยการทำงานของ plunger ในการเคลื่อนที่ขึ้นลง

ปั๊มดูดน้ำมัน (Feed pump)

โรเตอร์ของปั๊มดูดน้ำมันเชื้อเพลิง (feed pump) ประกอบไปด้วย

  • แกนที่ต่อกับเพลาข้อเหวี่ยง (Cam Shaft)
  • โรเตอร์ (Rotor)
  • ใบจักร (Vane)
  • ห้องแรงดัน (Pressure chamber)

ในขณะที่แกนโรเตเตอร์หมุน ก็จะทำให้ใบจักรหมุนไปด้วยในลักษณะแรงเหวี่ยงหนึศูนย์ เพราะว่าโรเตอร์ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางในห้องแรงดัน ทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ระหว่างใบจักร (Vane) ถูกบีบอัดให้เกิดแรงดันขึ้นมา

2. รางคอมม่อนเรล (common rail)

ชิ้นส่วนที่เรียกว่า รางคอมม่อนเรลนี้จะถูกยีดติดกับท่อร่วมไอดี (intake manifold) ทำหน้าที่จ่ายน้ำมันแรงดันสูงที่ถูกสร้างโดย ปั๊มจ่ายน้ำมันไปให้หัวฉีดในกระบอกสูบแต่ละอัน อุปกรณ์ที่ยึดติดอยู่กับคอมม่อนเรล มีดังนี้

  • Flow damper
    ท่อส่งน้ำมันแรงดันสูงจะถูกต่อกับ flow damper เพื่อลด  fluctuation ของแรงดันภายในรางคอมม่อนเรลและภายในท่อแรงดันสูง รวมทั้งช่วยปิดน้ำมันที่ไหลผ่านถ้ามีน้ำมันผ่าน flow damper มากเกินไป
  • Pressure limiter
    เป็นตัวจำกัดความดันภายในรางคอมม่อนเรลไม่ให้สูงเกินไป

3. หัวฉีดน้ำมัน (injetor) ถูกติดตั้งไว้ในกระบอกสูบของเครื่องยนต์แต่ละสูบ น้ำมันแรงดันสูงที่ถูกส่งมาจากปั๊มจ่ายน้ำมันจะถูกส่งให้หัวฉีดในแต่ละกระบอกสูบโดยผ่านรางคอมม่อนเรล ปริมาณการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงและจังหวะในการฉีดจะถูกควบคุมโดยระบบควบคุมหัวฉีด (controlling the injector)

หัวฉีด (Injector)

ชุด อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ที่ ทำหน้าที่ ควบคุมการ ทำงาน ของระบบหัวฉีด เรียกว่า อะไร

ตัวหัวฉีดประกอบด้วย

  • วาล์วโซลีนอยด์แบบสามทาง (three-way solenoid valve (TWV))
  • orifice
  • ลูกสูบไฮดรอลิก (hydraulic piston)
  • หัวฉีด (nozzle)

เมื่อ ECU ส่งสัญญาณมาให้วาล์ว TWV ทำงานน้ำมันเชื้อเพลิงแรงดันสูงในท่อควบคุมจะไหลผ่าน orifice แล้วดันเข็มหัวฉีดให้เปิดออก น้ำมันก็จะถูกฉีดออกทางหัวเข็ม และเมื่อ ECU ส่งสัญญาณมาให้วาล์ว TWV หยุดทำงาน น้ำมันที่ไหลผ่าน orifice จะถูกแรงจากลูกสูบไฮดรอลิกดันวาล์วเข็มหัวฉีดไว้ น้ำมันก็จะหยุดฉีด

3. เซนเซอร์ต่างๆ ที่ทำงานร่วมกับหัวฉีด

  • เซนเซอร์ตรวจจับตำแหน่งการเร่ง (Accelerator position sensor)  ทำหน้าที่เปลี่ยนแรงที่กดคันเร่งไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อส่งให้ ECU
  • เซนเซอร์ตรวจจับรอบเครื่องยนต์ (Engine (NE sensor) speed sensor) มีใช้ด้วยกันสองชนิด
    • engine speed sensor  ติดตั้งอยู่บนเสื้อล้อช่วยแรง (fly wheel) ทำหน้าที่ตรวจจับความเร็วเครื่องยนต์และตำแหน่งข้อเหวี่ยง
    • auxiliary engine speed sensor ติดตั้งอยู่บนปั๊มจ่ายน้ำมันเพื่อส่งสัญญาณ cylinder distinction
  • เซนเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel temperature sensor) โดยใช้เทอร์โมมิสเตอร์ที่ความต้านทานแปรค่าตามอุณหภมิมาตรวจจับอุณหภูมิของน้ำมันเชื้อเพลิง
  • เซนเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น (Coolant temperature sensor) โดยใช้เทอร์มิสเตอร์เช่นเดียวกัน
  • เซนเซอร์ตรวจจับแรงดันในรางคอมม่อนเรล (Common rail pressure sensor) เซนเซอร์ตัวนี้ถูกติดตั้งอยู่ในรางคอมม่อนเรล เป็นเซนเซอร์วัดแรงดันแบบเซมิคอนดัตเตอร์ โดยความต้านทานจะแปรค่าไปเมื่อมีแรงดันมาตกกระทบซิลิคอน

ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง Pgm–fi เป็นระบบหัวฉีดแบบใด

PGM - FI ย่อมาจากคำว่า Programmed Fuel Injection คือ การใช้ระบบอิเล็คโทคนิคส์เข้ามาควมคุมการฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีปริมาณที่เหมาะสมกับการทำงานของเครื่องยนต์ให้สภาวะต่าง ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพปริมาณไอเสียต่ำ ประหยัดน้ำมันและให้สมรรถนะการขับขี่ที่ดีขึ้น

ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่ควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ เรียกชื่อย่อ ว่าอะไร

ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic fuel injection System) หรือเรียกว่า ระบบ EFI เป็นระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์ โดยใช้หัวฉีดที่มีการควบคุมการทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์ 1.2.6.1 หลักการเบื้องต้น

EOT Sensor เรียกชื่อเต็มว่าอย่างไร

ตัวตรวจจับอุณหภูมิน้้ามันเครื่อง ( Engine Oil Temperature Sensor : EOT ) ทาหน้าที่ตรวจจับอุณหภูมิของน้ามันเครื่อง แล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งเข้ากล่อง ECM เพื่อเพิ่มหรือลดปริมาณการฉีดน้ามันเชื้อเพลิง กล่าวคือถ้าน้ามันเครื่องมีอุณหภูมิต่ากล่อง ECM จะสั่ง จ่ายน้ามันเชื้อเพลิงมากขึ้น

หลักการทำงานเบื้องต้นของระบบหัวฉีดคืออะไร

หัวฉีด” (Electronic Fuel Injection: EFI) เป็นอุปกรณ์จ่ายน้ำมันแก๊สโซลีน (เบนซิน) เข้าไปยังห้องเผาไหม้ โดยหัวฉีดจะจ่ายเชื้อเพลิงออกมาเป็นฝอยละเอียดเข้าห้องเผาไหม้โดยตรง ภายใต้การควบคุมการฉีด ที่แม่นยำของกล่องECU ทำให้ประหยัดกว่าระบบจ่ายเชื้อเพลิงแบบคาร์บูเรเตอร์