การตั้งสมมติฐานมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

แนวคิด  หลักการหรือทฤษฎี

         สมมติฐาน  (Hypotheses)  คือ คำตอบสมมติของประเด็นปัญหาวิจัย  ซึ่งผู้วิจัยกำหนดขึ้น  สมมติฐาน  มีประโยชน์  คือ  สามารถให้แนวทางในการรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล  หากผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏในหลักฐานสนับสนุนหรือยืนยันสมมติฐาน  ผู้วิจัยก็ยอมรับสมมติฐาน  นั่นคือ  ถือว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ไม่ใช่คำตอบสมมติแต่เป็นคำตอบที่เป็นจริง  เชื่อถือได้  การเขียนสมมติฐานอาจเขียนได้เป็น 2  แบบกล่าวคือ

         แบบที่  1  เขียนในรูปของสมมติฐานว่างหรือสมมติฐานศูนย์  มักเขียนในรูปของการปฏิเสธ เช่น ไม่แตกต่างหรือไม่มีความสัมพันธ์

         แบบที่  2  เขียนในรูปของตรงกันข้ามกับสมมติฐานว่ากล่าวคือ ระบุลงไปว่า  มีความแตกต่าง หรือมีความสัมพันธ์

         โครงการวิจัยอาจจะมีสมมติฐานหรือไม่มีก็ได้  แต่ถ้ามีจะต้องมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

             สมมติฐานการวิจัยเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยคาดการณ์ หรือคาดคะแนว่าน่าจะเป็นคำตอบของปัญหาหรือข้อสงสัยที่ทำการศึกษา ก่อนที่จะทำการวิจัย การตั้งสมมติฐานต้องตั้งบนรากฐานแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับปัญหา การตั้งสมมติฐานควรคำนึงถึง ไม่ใช่การคาดเดาโดยไม่มีเหตุผล หรือตั้งขึ้นมาลอยๆ การเขียนสมมติฐานการวิจัยควรมีลักษณะดังนี้

            1. มีความชัดเจน สามารถทดสอบได้

            2. ควรเขียนโดยใช้ภาษาที่ง่าย ไม่สลับซับซ้อน

            3. ควรเขียนให้สอดคล้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

ตัวอย่าง

 หัวข้อการวิจัย : การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้ชุดการสอนชุดมินิคร์อสกับเรียนโดยการสอนตามคู่มือครูของ สสวท.

            สมมติฐาน

                  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ระหว่าง การวิจัยกลุ่มทดลองที่เรียนโดยชุดการสอนมินิคร์อสกับกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยวิธีสอนตามคู่มือครูของ สสวท. มีความแตกต่างกัน

                  2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ระหว่างกลุ่มทดลองที่เรียนโดยชุดการสอนมินิคร์อสกับกลุ่มที่เรียนโดยวิธีสอนตามคู่มือครูของ สสวท. มีความแตกต่างกัน

         หัวข้อการวิจัย :  การสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านคำที่ใช้อักษร  ร  ล  ว  ควบกล้ำ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6

         สมมติฐานการวิจัย  กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการฝึกจากแบบฝึกทักษะการอ่านคำที่ใช้อักษร  ร  ล  ว  ควบกล้ำ  จะมีความสามารถในการอ่านคำที่ใช้อักษร  ร  ล  ว  ควบกล้ำดีขึ้น

การตั้งสมมติฐานมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

กิจกรรม

สมมุติฐาน  (Hypothesis) 

ความหมายของสมมติฐาน 

                สมมติฐาน คือ คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล หรือสมมติฐานคือข้อความที่อยู่ในรูปของการคาดคะเนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว หรือมากกว่า 2 ตัวเพื่อใช้ตอบปัญหาที่ต้องการศึกษา สมาติฐานที่ดีมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 2 ประการคือ

1. เป็นข้อความที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

2.เป็นสมมติฐานที่สามารถทดสอบได้โดยวิธีการทางสถิติ 

ชนิดของสมมุติฐาน

สมมติฐานมี 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ สมมติฐานทางวิจัยและสมมติฐานการสถิติ

1. สมมติฐานทางวิจัย (research hypothesis)  เป็นการเขียนคาดการณ์ที่เกิดขึ้น หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป เพื่อสื่อให้ผู้อ่านทราบว่า ผู้วิจัยสงสัยและคาดการณ์ประเด็นปัญหาวิจัยแต่ละประเด็นไว้ว่าอย่างไร และแสดงแนวทางการทดสอบปัญหาในแต่ละประเด็นไว้อย่างไร  แบ่งออกเป็น 2  อย่างคือ

      1.1 สมมติฐานการวิจัยแบบมีทิศทาง  ( Directional hypothesis ) เป็นสมมติฐานที่เขียนระบุอย่างชัดเจนถึงทิศทางของความแตกต่างถึงทิศทางของความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยมีคำว่า

 “ ดีกว่า ” หรือ  “ สูงกว่า ” หรือ “ ต่ำกว่า ” หรือ “ น้อยกว่า” ในสมมติฐานนั้นๆดังตัวอย่างที่ 1 ข้างต้น หรือระบุทิศทางของความสัมพันธ์ โดยมีคำว่า “ ทางบวก ” หรือ “ทางลบ ” ในสมมติฐานนั้นๆ  เช่น

                -  ครูประจำการมีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าครูฝึกสอน

                -  นักเรียนในกรุงเทพฯจะมีทัศนะคติทางวิทยาศาสตร์ดีกว่านักเรียนในชนบท

                -  ครูอาจารย์เพศชายมีความวิตกกังวลในการทำงานน้อยกว่าครูอาจารย์เพศหญิง

                -  ผู้บริหารเพศชายมีประสิทธิภาพในการบริหารงานมากกว่าผู้บริหารเพศหญิง

      1.2 สมมติฐานการวิจัยแบบไม่มีทิศทาง

2. สมมติฐานทางสถิติ  ( Statistical hypothesis) เป็นการเขียนเพื่อการทดสอบ รูปประโยคจะเป็นข้อความที่กล่าวถึงค่าพารามิเตอร์ (parameters) คือค่าต่าง ๆ ของประชากร เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ในรูปพจน์หรือประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ

      2.1 สมมติฐานศูนย์ (Null hypothesis) จะเขียนในรูปที่ไม่แสดงอิทธิพลของตัวแปรอิสระนั่นคือไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่าง……….. หรือไม่มีความแตกต่างระหว่าง……...…… การเขียน ๆ เป็นรูปสัญลักษณ์ทางสถิติ   เช่น   H0 : µ1 = µ2   หรือ  H0 : µ1  µ2  หรือ                         H0 : µ1  µ2  เป็นต้น
    2.2 สมมติฐานเลือก (Alternative hypothesis) ได้แก่  สมมติฐานทางสถิติ ที่เขียนในรูปที่แสดงความสัมพันธ์หรืออิทธิพลของตัวแปรอิสระเขียนแทนด้วย H1 เช่น  H1 : µ1 > µ2  หรือ  H1 : µ1 < µ2  หรือ  H1 = µ1  µ2  เป็นต้น 

2.2.1 สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (non - directional hypothesis) เป็นสมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งไม่เท่ากับค่าใดค่าหนึ่ง
H1 = µ1 ¹ µ2
การทดสอบสถิติของสมมติฐานนี้ เรียกว่าการทดสอบสมมติฐานแบบ 2 ทาง (Two - tailed test)
2.2.2 สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis) ได้แก่ สมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งมากกว่าหรือน้อยกว่า ค่าใดค่าหนึ่ง หรือสัมพันธ์ทางบวก สัมพันธ์ทางลบ เช่น

H1 : µ1 > µ2 หรือ µ1 < µ2
การตั้งสมมติฐานการวิจัย
สมมติฐานเป็นความคาดหวังในผลที่จะเกิดขึ้นจากการวิจัย เป็นการนำคำอธิบายของทฤษฎีมาทำนาย การเขียนเป็นการนำปัญหาการวิจัยมาเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของคำตอบที่คาดเดาไว้อย่างมีเหตุผล สมมติฐานเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระบวนการค้นหาความรู้ที่เป็นวิทยาศาสตร์ การตั้งสมมติฐานใช้วิธีการของการอุปมานซึ่งเน้นการสังเกต และการอนุมานซึ่งเน้นการใช้เหตุผลในการวิเคราะห์สิ่งที่สังเกตได้ การทำวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ จะมีสมมติฐานหรือไม่ขึ้นกับระเบียบวิธีวิจัย ถ้ามีสามารถตั้งได้อย่างน้อยหนึ่ง สมมติฐานหรืออาจมากกว่าหนึ่งได้

จุดมุ่งหมายในการตั้งสมมติฐาน
1. เพื่อเป็นการเชื่อมโยงทฤษฎีและข้อเท็จจริงที่สังเกตพบ เช่น จากการศึกษาทฤษฎีแรงจูงใจ อาจนำมาสังเกตข้อเท็จจริงที่เกิดโดยตั้งสมมติฐานว่า "บุคลากรที่มีระดับแรงจูงใจสูงจะมีประสิทธิผลการทำงานสูงกว่าบุคลากรที่มีแรงจูงใจระดับต่ำ" จะเห็นได้ว่าสมมติฐานนั้นสามารถสังเกตได้จากความเป็นจริงโดยผู้วิจัยเขียนให้สอดคล้องกับคำอธิบายของทฤษฎี
2. เป็นการขยายขอบเขตของความรู้ เนื่องจากเขียนสมมติฐานจากการอนุมานทฤษฎี เพื่อสรุปเป็นข้อค้นพบ เป็นการขยายขอบเขตความรู้
3. เป็นเครื่องช่วยชี้ทิศทางของการวิจัยให้ชัดเจนขึ้น ประโยคสมมติฐานจะชี้แนวทางการออกแบบการวิจัย แนวทางการรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตลอดจนการแปลความข้อมูลได้ชัดเจน เช่น "ปัญหาการวิจัยเรื่อง ผลของการสอนอย่างมีแบบแผนในเรื่องการให้นมมารดาในหญิงครรภ์แรกที่มีหัวนมผิดปกติ" จากปัญหาการวิจัยจะทราบว่าในการวิจัยต้องมีการสอนมารดาเรื่องการให้นมมารดาแก่ทารก และวัดผลการสอน แต่เมื่อเขียนสมมติฐานเช่น มารดาหัวนมผิดปกติที่ได้รับการสอนและไม่ได้รับการสอนมีประสิทธิผลในการให้นมมารดาแตกต่างกัน จะเห็นได้ว่าสมมติฐานชี้บอกเราว่าการวิจัยต้องเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีมารดาหัวนมผิดปกติ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มได้รับการสอนและไม่ได้รับการสอน เมื่อเสร็จสิ้นการทดลองวัดประสิทธิผลการให้นมมารดา จากทั้งสองกลุ่ม นำมาเปรียบเทียบกันโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแตกต่าง ดังนั้น สมมติฐานมีประโยชน์ แก่ผู้วิจัยในการออกแบบการวิจัยด้วย
ลักษณะของสมมติฐานที่ดี
1. ต้องระบุความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาคาดหมายล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้น โดยอยู่ในรูป "แตกต่างกัน" "มากกว่า" "น้อยกว่า" "สัมพันธ์กัน" "ขึ้นอยู่กับ" เป็นต้น
2. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงสามารถทดสอบได้ นั้นคือตัวแปรที่ศึกษาต้องวัดไว้ สังเกตได้ และความสัมพันธ์นั้นวิเคราะห์ได้ด้วยวิธีทางสถิติ
3. ความสัมพันธ์ที่กล่าวถึงมีเหตุผลเหมาะสมสอดคล้องกับผลการวิจัยและทฤษฎีที่นำมาเป็นกรอบความคิดในการวิจัย
4. ประโยคที่เป็นสมมติฐานต้องแสดงความเป็นเหตุเป็นผลที่เหมาะสม น่าเชื่อถือได้
ประเภทขอสมมติฐานในการวิจัย
สมมติฐานในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ
1. สมมติฐานทางวิจัย (research hypothesis) เป็นการเขียนคาดการณ์ที่เกิดขึ้น หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป เพื่อสื่อให้ผู้อ่านทราบว่า ผู้วิจัยสงสัยและคาดการณ์ประเด็นปัญหาวิจัยแต่ละประเด็นไว้ว่าอย่างไร และแสดงแนวทางการทดสอบปัญหาในแต่ละประเด็นไว้อย่างไร
2. สมมติฐานทางสถิติเป็นการเขียนเพื่อการทดสอบ รูปประโยคจะเป็นข้อความที่กล่าวถึงค่าพารามิเตอร์ (parameters) คือค่าต่าง ๆ ของประชากร เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ในรูปพจน์หรือประโยคสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ
2.1 สมมติฐานศูนย์ (Null hypothesis) จะเขียนในรูปที่ไม่แสดงอิทธิพลของตัวแปรอิสระนั่นคือไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่าง………………………… หรือไม่มีความแตกต่างระหว่าง……………………… การเขียน ๆ เป็นรูปสัญลักษณ์ทางสถิติ
H0 : µ1 = µ2
เมื่อ µ1 ค่าเฉลี่ยอัตราเต้นของหัวใจทารกจากมารดากลุ่มที่ 1
µ2 ค่าเฉลี่ยอัตราเต้นของหัวใจทารกจากมารดากลุ่มที่ 2
2.2 สมมติฐานเลือก ได้แก่สมมติฐานทางสถิติ ที่เขียนในรูปที่แสดงความสัมพันธ์หรืออิทธิพลของตัวแปรอิสระเขียนแทนด้วย H1 และมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ
2.2.1 สมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง (non - directional hypothesis) เป็นสมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งไม่เท่ากับค่าใดค่าหนึ่ง เช่น
H1 = µ1 ¹ µ2
การทดสอบสถิติของสมมติฐานนี้ เรียกว่าการทดสอบสมมติฐานแบบ 2 ทาง (Two - tailed test)
2.2.2 สมมติฐานแบบมีทิศทาง (Directional hypothesis) ได้แก่ สมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ค่าใดค่าหนึ่งมากกว่าหรือน้อยกว่า ค่าใดค่าหนึ่ง หรือสัมพันธ์ทางบวก สัมพันธ์ทางลบ เช่น

H1 : µ1 > µ2 หรือ µ1 < µ2

การทดสอบทางสถิติของสมมติฐานนี้เรียกว่าการ ทดสอบสมมติฐานแบบทางเดียว (One - tailed test)
ตัวอย่างสมมติฐานทางวิจัยและสมมติฐานทางสถิติ
สมมติฐานทางวิจัย มารดาครรภ์แรกที่ได้รับการจัดท่าคลอดแตกต่างกันจะมีระยะ
เวลาคลอดระยะที่ 2 แตกต่างกัน
สมมติฐานทางสถิติ
H 0 : µ 1 = µ 2
เมื่อ µ1 = ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการคลอดระยะที่ 2 ของมารดากลุ่ม 1
µ2 = ค่าเฉลี่ยระยะเวลาการคลอดระยะที่ 2 ของมารดากลุ่ม 2
ตัวอย่างสมมติฐานไม่ระบุทิศทาง : ระยะเวลาในการคลอดระยะที่ 2 ของมารดาคลอดในท่านอนหงาย แตกต่างกับการคลอดท่านอน
ตัวอย่างสมมติฐานไม่ระบุทิศทาง : ระยะเวลาในการคลอดระยะที่ 2 ของมารดาที่คลอดในท่านอนหงาย มากกว่า มารดาที่คลอดในท่านอนตะแคงซ้าย
หลักการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย
ในการเขียนสมมติฐานทางการวิจัย ผู้วิจัยควรปฏิบัติดังนี้
1. เขียนเป็นประโยคบอกเล่า ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ระบุทิศทางหรือไม่ขึ้นกับเหตุผลทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นกรอบในการทำวิจัย
2. เป็นประโยคสั้น ๆ ภาษาเข้าใจง่าย ระบุความหมายชัดเจนในแง่การวัดมากที่สุด
3. เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องในกรอบการวิจัยเรื่องนั้น ๆ
4. อาจเขียนได้หลายข้อ ในปัญหาวิจัยเรื่องหนึ่ง ๆ
5. สมมติฐานทุกข้อที่ตั้งขึ้นต้องทดสอบได้
6. สมมติฐานควรเขียนเรียงลำดับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัยสมมติฐานต้องตั้งขึ้นก่อนเก็บข้อมูลและสมมติฐานตั้งขึ้นไม่จำเป็นต้องถูกต้องเสมอไป อาจผิดได้ขึ้นกับข้อเท็จจริงของข้อมูล การสมมติฐานที่ตั้งขึ้นสามารถบอกระบุทิศทางได้ชัดเจนจะสามารถเลือกสถิติแบบทดสอบทางเดียว (one - tailed test) ซึ่งจะมีอำนาจการทดสอบ (power of test) สูงกว่าการทดสอบแบบสองทาง

เอกสารอ้างอิง
รัตนะ บัวสนธ์. (2551).  ปรัชญาวิจัย (Philosophy of Research). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณี  อ่อนสวัสดิ์. (2553).  เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง (390611).

พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร.