วัตถุประสงค์ในการแต่งเรื่องไตรภูมิพระร่วงคืออะไร

1.6. ฉกามาพจร เป็นแดนของเทวดาที่ยังเกี่ยวข้องในกาม มี 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิก , ดาวดึงส์ , ยามะ , ดุสิต , นิมมานรดี , ปรนิมมิตวสวดี

วัตถุประสงค์ในการแต่งเรื่องไตรภูมิพระร่วงคืออะไร

2. รูปภูมิ มี 1 กัณฑ์ คือ รูปาวจรภูมิ เป็นแดนของพรหมที่มีรูป แบ่งเป็น 16 ชั้น ตามภูมิธรรม เรียกว่า โสฬสพรหม
3. อรูปภูมิ มี 1 กัณฑ์ คือ อรูปาวจรภูมิ เป็นแดนของพรหมไม่มีรูป มีแต่จิต แบ่งเป็น4ชั้นคุณค่า
1. ด้านศาสนา ไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสืออ่านยาก ตั้งแต่สมัยสุโขทัยตลอดมาจนกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผู้ที่นำไตรภูมิไปสู่ชาวบ้านก็คือพระสงฆ์
และนำไปโดยการเทศนา ทำภาษายากให้เป็นภาษาง่ายที่ชาวบ้านเข้าใจได้ โดยเฉพาะเนื้อเรื่องนั้นมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับบาปบุญคุณโทษ การเกิด
การตาย เกี่ยวกับโลกทั้งสาม (ไตรภูมิ) ซึ่งทำให้คนสมัยกรุงสุโขทัยเข้าใจเรื่องชีวิตของตนเองว่าเกิดมาอย่างไร ตายแล้วไปไหน โลกที่อยู่ปัจจุบันและโลกหน้า
เป็นอย่างไร
2. ด้านภาษา สำนวนโวหารในไตรภูมิ โดยเฉพาะพรรณนาโวหารนั้นประณีตละเอียดลออเป็นอย่างยิ่ง จนทำให้นึกเห็นสมจริง ให้เห็นสภาพอันน่าสยอง
ขวัญของนรก สภาพอันรุ่งเรืองบรมสุขของสวรรค์ จนจิตรกรอาจถ่ายบทพรรณนานั้นลงเป็นภาพได้ เราจะเห็นภาพฝาผนังของวิหารและโบสถ์ตามวัดต่างๆ ไป
(นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางภาษาระหว่างสมัยพ่อขุนรามคำแหงกับสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท)
3. ด้านสังคม มุ่งใช้คุณธรรมความดีเป็นพื้นฐานการสร้างสรรค์ความสุขในสังคม
4. ด้านอิทธิพลต่อกวียุคหลังกวียุคหลังได้ใช้ไตรภูมินี้เป็นแนวพรรณนาป่าหิมพานต์ เขาพระสุเมรุ วิมานพระอินทร์ ส่วนจิตรกรได้อาศัยความคิด ความเชื่อใน
ไตรภูมิ เป็นแนวการสร้างสรรค์งานศิลปะ รวมความว่า ไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือเก่าชั้นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อความคิดอ่านของคนไทยในเรื่องบาปบุญคุณ
โทษ ในด้านจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์ต่างๆ และวรรณคดีตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยปัจจุบัน หนังสือนี้แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถของพระยาลิไทในด้าน
ศาสนา และใช้จริยธรรมในการบริหารบ้านเมือง และยังแสดงให้เห็นพระสติปัญญา ตลอดจนให้แนวคิดในเชิงปรัชญา สังคม และค่านิยมของสังคมเป็นอย่างดี
ยิ่งตัวอย่างในไตรภูมิพระร่วงผลแห่งการทำบาป
“คนผู้ใดกล่าวคำร้ายแก่สมณพราหมณ์ผู้มีศิลและพ่อแม่และผู้เฒ่าผู้แก่ครูปาทยาย คนผู้นั้นตาย ไปเกิดในนรกอันได้ขื่อว่า สุนักขนรกนั้นแล ในสุนักขนรกนั้น
มีหมา 4 สิ่ง หมาจำพวกหนึ่งนั้นขาว หมาจำพวกหนึ่งนั้นแดง หมาจำพวกหนึ่งนั้นดำ หมาจำพวกหนึ่งนั้นเหลือง และตัวหมาผู้นั้นใหญ่เท่าช้างสารทุกตัว ฝูงแร้ง
แลกาอันอยู่ในนรกนั้นใหญ่เท่าเกวียนทุกตัว ปากแร้งแลกาแลตีนนั่น เทียรย่อมเหล็กแดงลุกเป็นเปลวไฟอยู่มิได้เหือดสักคาบ แร้งแลกาหมาฝูงนั้นเทียรย่อมจิกแหก
หัวอกขบตอดคนทั้งหลายในนรกด้วยบาปกรรมของเขานั้น แลมิให้เขาอยู่สบายแลให้เขาเจ็บปวดสาหัส ได้เวทนาพ้นประมาณ ทนอยู่ในนรกอันชื่อสุนักขนรกนั้นแล”

วัตถุประสงค์ในการแต่งเรื่องไตรภูมิพระร่วงคืออะไร

https://sanesapthong.wordpress.com/ประวัติ-เรื่องวรรณคดีส/

วัตถุประสงค์ในการแต่งเรื่องไตรภูมิพระร่วงคืออะไร
 


ไตรภูมิพระร่วง

วัตถุประสงค์ในการแต่งเรื่องไตรภูมิพระร่วงคืออะไร


บทนำ 

          ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิกถา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเปลี่ยนชื่อหนังสือเล่มนี้เป็น ไตรภูมิพระร่วง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระร่วงจ้าแห่งกรุงสุโขทัยให้คู่กับหนังสือสุภาษิตพระร่วง

          หอพระสมุดวชิรญาณได้ต้นฉบับไตรภูมิพระร่วงมาจากจังหวัดเพชรบุรี เป็นใบลาน ๑๐ ผูก จารด้วยอักษรขอมในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระมหาช่วย วัดปากน้ำ (วัดกลาง จังหวัดสมุทรปราการ ในปัจจุบัน) เป็นผู้จาร หอพระสมุดวชิรญาณ ได้ถอดความออกเป็นอักษรไทย โดยมิได้แก้ไขถ้อยคำไปจากต้นฉบับเดิม

ผู้แต่ง

          หนังสือไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีทางศาสนาที่สำคัญเล่มหนึ่ง ในสมัยสุโขทัย ซึ่งมีอิทธิพลต่อคนไทยมาก พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นหลังจากที่ทรงผนวชแล้ว และขึ้นครองราชย์ได้ ๖ ปี ประมาณ พ.ศ. ๑๘๙๖

         พระมหาธรรมราชาที่ ๑ (พญาลิไท) เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งกรุงสุโขทัย ขึ้นครองราชย์ต่อจากพญางัวนำถม จากหลักฐานในศิลาจารึกวัดมหาธาตุ พ.ศ. ๑๙๓๕ หลักที่ ๘ ข. ค้นพบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ เมื่อพญาเลอไทสวรรคต ใน พ.ศ. ๑๘๘๔ พญางัวนำถมได้ขึ้นครองราชย์ ต่อมาพญาลิไทยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. ๑๘๙๐ ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีสุริยพงสรามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า พญาลิไท หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ ๑ เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๑๙๑๑

        พญาลิไท ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ทรงอาราธนาพระเถระชาวลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย ได้สละราชสมบัติออกทรงผนวชที่วัดป่ามะม่วง นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก พญาลิไททรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก ทรงสนพระทัยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก และทรงพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วง ตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) บูรณะเมืองนครชุม สร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวง และสร้างพระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ ที่ฝีมือการช่างงดงามเป็นเยี่ยม

งานพระราชนิพนธ์ของพญาลิไท ได้แก่ ไตรภูมิพระร่วงหรือเตภูมิกถาศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงและศิลาจากรึกวัดศรีชุม เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ กล่าวถึงเหตุการณ์และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆการสร้างวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ การผนวชที่วัดป่ามะม่วง เป็นต้น

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

       มี ๒ ประการ เพื่อเทศนาโปรดพระมารดา เป็นการเจริญธรรมกตัญญูประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง เพื่อใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรม เข้าใจพุทธศาสนา และช่วยกันดำรง
พุทธศานาไว้ให้มั่นคง


ลักษณะคำประพันธ์

       ร้อยแก้ว ประเภทความเรียงสำนวนพรรณนา

เนื้อหา

         หนังสือไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณคดีพุทธศาสนา ที่พญาลิไททรงรวบรวมเนื้อหาสาระจากคัมภีร็ต่าง ๆ ในพุทธศาสนา ทั้งพระไตรปิฎก อรรถกถา และอื่น ๆ ไม่น้อยกว่า ๓๐ คัมภีร์ จึงจัดได้ว่าเป็นพระราชนิพนธ์ประเภทค้นคว้ารวบรวมที่ดีเล่มหนึ่ง เนื้อเรื่องเริ่มต้นด้วยคาถานมัสการเป็นภาษาบาลี มีบานแพนกบอกชื่อผู้แต่ง วันเดือนปีที่แต่ง ชื่อคัมภีร์ต่าง ๆ บอกจุดมุ่งหมายในการแต่ง แล้วจึงกล่าวถึงภูมิทั้ง ๓ คำว่า เตภูมิ หรือ ไตรภูมิ แปลว่า สามแดน คือ กามภูมิ รูปภูมิอรูปภูมิ ทั้ง ๓ ภูมิ แบ่งออกเป็น ๘ กัณฑ์ (กัณฑ์ = เรื่อง,หมวด,ตอน)แสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง ความไม่แน่นอนทั้งมนุษย์และสัตว์รวมทั้งสิ่งไม่มีชีวิต เช่น ภูเขา แม่น้ำ แผ่นดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ความเปลี่ยนแปลงนี้กวีไทยเรียกว่า “ อนิจจลักษณะ ”ไตรภูมิพระร่วง เดิมเรียกว่า ไตรภูมิกถา / เตภูมิกถา หมายถึงเรื่องราวของโลกทั้ง ๓ ได้แก่ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ 
          กามภูมิ คือ โลกของผู้ที่ยังติดอยู่ในกามกิเลส แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ได้แก่    ๑.สุคติภูมิ      ๒. อบายภูมิ
               ๑.สุคติภูมิ ได้แก่
                    ๑.๑ มนุสสภูมิ ( โลกมนุษย์ )
                    ๑.๒ สวรรคภูมิ (ฉกามาพจรภูมิ)
                           ๑.๒.๑ จาตุมหาราชิกา
                           ๑.๒.๒ ดาวดึงส์
                           ๑.๒.๓ ยามา
                           ๑.๒.๔ ดุสิต
                           ๑.๒.๕ นิมมานรดี
                           ๑.๒.๖ ปรนิมมิตวสวัตดี

              ๒. อบายภูมิ ได้แก่
                   ๒.๑ นรกภูมิ ( มี ๘ ขุม )
                   ๒.๒ ดิรัจฉานภูมิ
                   ๒.๓ เปรตภูมิ
                   ๒.๔ อสูรกายภูมิ

          รูปภูมิ เป็นดินแดนของพรหมที่มีรูป มี ๑๖ ชั้น (โสฬสพรหม )
          อรูปภูมิ เป็นดินแดนของพรหมที่ไม่มีรูป มีแต่จิตหรือวิญญาณ

ทวีปที่มนุษย์อาศัยอยู่มี ๔ ทวีป ได้แก่

๑. อุตรกุรุทวีป อยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ ในทวีปนี้ มีลักษณะใบหน้าเป็นรูป ๔ เหลี่ยม รักษาศีล ๕ เป็นนิจ มีอายุ ประมาณ ๑,๐๐๐ ปี เป็นหนุ่มสาวอยู่เสมอ อาศัยอยู่ตามโพรงไม้ ไม่ต้องทำงานใด ๆ แต่งตัวสวยงาม มีกับข้าวและที่นอนเกิดขึ้นตามใจปรารถนา

๒. บูรพวิเทหทวีป อยู่ทางทิศตะวันออก ของภูเขาพระสุเมรุ มีใบหน้าตอนบนโค้งตัดลงมาเหมือนบาตร มีอายุ ประมาณ ๗๐๐ ปี

๓. อมรโคยานทวีป อยู่ทางทิศตะวันตก ของภูเขาพระสุเมรุ มีใบหน้าวงกลม คล้ายวงพระจันทร์ มีอายุ ประมาณ ๕๐๐ ปี

๔. ชมพูทวีป อยู่ทางทิศใต้ ของภูเขาพระสุเมรุ คือ มนุษย์โลกนี้เอง อายุขัยไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับการทำบุญหรือทำกรรม แต่ทวีปนี้ก็พิเศษกว่า ๓ ทวีปคือ เป็นที่เกิดของพระพุทธเจ้า พระจักรพรรดิราช และพระอรหันต์