การหางานผ่านอินเทอร์เน็ตมีขั้นตอนอย่างไร

ความเชื่อที่ว่ายิ่งส่งเรซูเม่มาก ยิ่งมีสิทธิมาก เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะเราอาจได้งานที่ผิดเพี้ยนไปจากความต้องการจริง ๆ 

  • การหางาน หรือฝากเรซูเม่ผ่านเว็บไซต์หางานเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก แต่อย่าลืมลองมองหางานผ่านช่องทางอื่นด้วยอย่าง Social Media เว็บไซต์ของบริษัท คนรู้จัก และการ Walk-in

  • จดรายละเอียดการสมัครงานแต่ละที่ให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้สับสนและเกิดปัญหาเมื่อถูกเรียกไปสัมภาษณ์หรือได้รับแจ้งว่าได้งานแล้ว

  • หากจะพูดถึงการหางานในปัจจุบัน ก็จะมีบริการ วิธี และช่องทางมากมายทำให้การหางานสะดวกขึ้น จากต้องเดินทางเพื่อส่งใบสมัครตามบริษัท ก็กลายมาเป็นส่งใบสมัครผ่านคอมพิวเตอร์ เว็บเบราว์เซอร์บนมือถือ จนเป็นแอปพลิเคชัน แต่เมื่อวิธีการง่ายขึ้น วิธีทำก็มีประสิทธิภาพน้อยลง ทำเรซูเม่ลวก ๆ หรือส่งใบสมัครแบบหว่านหลาย ๆ บริษัท ไม่ว่าปัจจุบันวิธีหางานจะง่ายแค่ไหน หรือในอนาคตจะง่ายกว่านี้ คนหางานก็ควรใส่ใจรายละเอียดต่าง ๆ ไม่ให้มีน้อยลง เมื่อการหางานมีประสิทธิภาพก็จะได้ทำงานในบริษัทที่มีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของเรามากขึ้นตามมาด้วย

    JobThai จะมาบอก 4 วิธีที่จะทำให้การหางานของเรามีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมสำหรับคนหางานกัน

    1. รู้จักตัวเองและวางเป้าหมาย

    หากตัวเราคลุมเครือเอง การจะหางานให้ตรงกับที่ต้องการจริง ๆ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เราควรรู้ก่อนว่าสิ่งที่เรียนหรือการทำงานในช่วงที่ผ่านมา กับสิ่งที่อยากทำตอนนี้ยังคงเป็นสิ่งเดียวกันอยู่ไหม จากนั้นค่อยวางเป้าหมายในอาชีพอีกครั้ง อยากทำงานที่ไหน และเติบโตขึ้นไปอย่างไร เป็นคนสำคัญในองค์กรเล็กที่อาจมาพร้อมกับความเสี่ยง หรือฟันเฟืองที่มั่นคงในองค์กรใหญ่ นั่นก็อยู่ที่เราจะตัดสินใจและเป็นคนกำหนด 

    2. คุณภาพและปริมาณการส่งเรซูเม่ที่พอดี

    เก็บความเชื่อที่ว่า ‘ยิ่งส่งมาก ยิ่งมีสิทธิมาก’ ใส่กระเป๋าไปเลยนะถ้าจะใช้กับการสมัครงาน การหางานแบบหว่านไปเรื่อย ๆ เพราะคิดว่าต้องมีสักที่ที่รับเป็นเรื่องที่ผิด การเลือกส่งเรซูเม่เพื่อสมัครงานในตำแหน่งที่ต้องการทำ และเหมาะสมกับความสามารถของเราจริง ๆ มันจะส่งผลดีมากกว่าเมื่อถึงขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน เพราะงานนั้นเป็นงานที่เราตั้งใจอยากจะทำจริง ๆ หากไม่รู้ว่าตัวเองอยากทำงานอะไรเลยส่ง ๆ ไปก่อน รวมถึงสมัครงานหลายตำแหน่งในบริษัทเดียวกัน ผลเสียจะตามมาแน่นอนเพราะจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความไม่เป็นมืออาชีพของเรา

    3. อย่าลืมใช้ช่องทางเก่า ๆ ก่อนที่เราจะมีเทคโนโลยีมาช่วย

    แม้การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการหางานอย่างเว็บไซต์และแอปพลิเคชันจะง่าย สะดวก รวดเร็ว และเป็นการเปิดโอกาสให้เราเจองานที่หลากหลาย แต่เราต้องไม่ลืมการหางานช่องทางอื่นด้วย เช่น การพูดคุยกับคนรู้จัก หรือเข้าไปสอบถามและสมัครที่บริษัทโดยตรงก็เป็นการเปิดโอกาสในการได้งานมากขึ้น นอกจากนั้นเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียของบริษัทก็เป็นช่องทางที่น่าสนใจเหมือนกัน ยิ่งถ้าเรามีบริษัทในใจอยู่แล้วการติดตามประกาศหางานของบริษัทนั้น ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย

    4. จดรายละเอียดตำแหน่งและบริษัทที่ส่งใบสมัครไป

    การส่งใบสมัครงานแต่ละครั้งเราควรจดรายละเอียดและตำแหน่งที่เราสมัครของบริษัทนั้น ๆ ไว้ด้วย เพื่อกันความสับสนหรือจำตำแหน่งงานสลับกันเมื่อถูกติดต่อกลับมาเพื่อเรียกไปสัมภาษณ์ หรือแจ้งเรื่องรับเข้าทำงาน การฝากเรซูเม่บนเว็บไซต์หางานแล้วมีบริษัทติดต่อมา ในกรณีนี้ก็ควรจดชื่อบริษัท ตำแหน่ง รวมถึงชื่อคนติดต่อเอาไว้ด้วยเช่นกัน

    การถูกปฏิเสธจากบริษัท ทั้งไม่ถูกเรียกไปสัมภาษณ์หรือเรียกไปสัมภาษณ์แล้วแต่ไม่รับเข้าทำงานเป็นเรื่องปกติที่คนหางานต้องเจอ สิ่งที่ต้องทำก็คือพิจารณาว่าข้อผิดพลาดคืออะไร เช่น เรซูเม่ของเรายังไม่น่าสนใจหรือทำอะไรพลาดระหว่างสัมภาษณ์ แล้วก็พัฒนามันให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป หรืออาจไม่ใช่เพราะความสามารถของเราไม่พอ แต่เป็นเพราะเราไม่เหมาะกับบริษัทหรือตำแหน่งเหล่านั้นต่างหาก การพลาดจากงานนี้ ไม่ได้หมายความว่าเราจะพลาดตลอดไป ความสำเร็จจะมาหาคนที่มีความพยายามและไม่ย่อท้อเสมอ

    การหางานผ่านอินเทอร์เน็ตมีขั้นตอนอย่างไร
    JobThai Official GroupPublic group · 290,000 members

    tags : นักศึกษาจบใหม่, อาชีพ, freshgrad, career & tips, หางาน, สมัครงาน, เคล็ดลับสมัครงาน, เทคนิคหางาน, เทคนิคสมัครงาน, เทคนิคสำหรับเด็กจบใหม่, เคล็ดลับสำหรับเด็กจบใหม่, เด็กจบใหม่, คนทำงาน, เคล็ดลับการทำงาน, fresh graduate, จบใหม่ต้องรู้

    การสมัครงานผ่านอีเมล เป็นวิธีที่หลายคนเลือกใช้เพราะมีพื้นที่ให้สามารถแนะนำตัวเองคร่าว ๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่อยู่ในเรซูเม่ได้ แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าส่งอีเมลสมัครงานไปทีไรก็ไม่มีใครตอบกลับมาสักที ปัญหาตรงนี้อาจเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งหัวข้ออีเมล เนื้อหาอีเมล จนไปถึงชื่อและที่อยู่อีเมลของผู้รับก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้คุณไม่ถูกเรียกไปสัมภาษณ์งานได้ทั้งนั้น บทความนี้จาก JobThai เลยจะมาบอก “วิธีเขียนอีเมลสมัครงาน” ที่คุณสามารถเอาไปเขียนตามง่าย ๆ และเข้าตา HR ได้มากขึ้น

    • “ชื่ออีเมล" ดี ๆ ที่เป็นทางการสัก Account นึง โดยไม่มีศัพท์แสลงหรือคำแผลง ๆ ต่อท้าย

    • ข้อมูลและเอกสารสำคัญของตัวเองที่สมบูรณ์ เช่น Resume, CV, Portfolio หรือ Cover Letter

    • รายละเอียดของงาน และข้อมูลบริษัทที่ต้องการจะสมัคร

    • เหตุผลในการสมัครงานตำแหน่งนี้ บริษัทนี้ 

    • สิ่งที่ทำให้บริษัทต้องเลือกคุณ

    นอกจากนี้การตั้งชื่อไฟล์ดี ๆ ก็สำคัญ อย่าตั้งชื่อไฟล์ประเภท 555.PDF หรือไม่ตั้งชื่อเลยจนทำให้ไฟล์กลายเป็นชื่อ Untitled.PDF คุณควรแยกประเภทไฟล์ผ่านชื่อให้ชัดเจน เช่น ชื่อจริง_Resume.PDF, ชื่อจริง_Portfolio.PDF เพราะนอกจากจะทำให้ HR เปิดอ่านไฟล์ได้ง่ายแล้วยังจะทำให้คุณดูเป็นมืออาชีพในการสมัครงานมากขึ้นอีกด้วย

    *หากไม่มี หรือไม่แน่ใจว่า Resume ของตัวเองจะละเอียดมากพอไหม แต่มีประวัติที่ฝากไว้กับ JobThaiอยู่ ก็สามารถ Save ประวัติที่ฝากไว้กับเราออกมาเป็น “ไฟล์ PDF” เพื่อใช้แทน Resume ของคุณเองได้

    การหางานผ่านอินเทอร์เน็ตมีขั้นตอนอย่างไร

    STEP 1 ใส่ผู้รับและหัวข้อให้ครบ

    • ผู้รับ: จะส่งให้ใครอย่าลืมเช็กให้ดีก่อน ว่าที่อยู่อีเมลถูกมั้ย เพราะถ้าอีเมลผู้รับผิด โอกาสที่อีเมลจะไปถึงมือ HR ก็จะหายไปทันที

    • หัวข้อ: ระบุไปเลยให้ชัดเจนว่าสมัครงานตำแหน่งอะไร เพื่อให้ HR เห็นได้ชัดเจน และง่ายต่อการค้นหา หาก HR จะมาหาเมลสมัครงานคุณทีหลัง

    *ควรส่งอีเมลครั้งละหนึ่งบริษัท เพราะไม่อย่างนั้น HR จะเห็นได้ว่าคุณส่งอีเมลไปที่ไหนบ้างที่ช่อง “To: ...” หากเค้าเห็นว่าคุณหว่านใบสมัครครั้งละเยอะ ๆ โอกาสในการได้งานก็อาจจะลดลง

    STEP 2 เขียนเนื้อหาอีเมลสมัครงานให้น่าสนใจ

    อีเมลสมัครงานแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ๆ คือ

    1. คำทักทาย และคำลงท้าย

    • คำทักทาย: ควรขึ้นต้นด้วยคำว่า “เรียน” และ ระบุชื่อผู้รับให้ชัดเจน ในกรณีที่มีชื่อแจ้งอยู่ในประกาศงานอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีก็ใส่ “ชื่อบริษัท” หรือระบุไปว่า “ฝ่ายบุคคล บริษัท___” แทน

    • คำลงท้าย: ปิดท้ายอีเมลด้วย “ขอบคุณค่ะ” หรือ “ขอบคุณครับ” และชื่อ – นามสกุล ของตัวเองให้ครบถ้วน อย่าลืมใส่ช่องทางการติดต่อของตัวเองด้วย อาจให้ HR ตอบกลับอีเมลนี้หรือใส่เบอร์โทรศัพท์เพิ่มเติมก็ได้

    2. รายละเอียดอีเมล

    • เริ่มต้นด้วยการบอกถึงตำแหน่งที่ต้องการสมัครงาน โดยบอก “ชื่อตำแหน่ง” ที่สนใจ รวมถึงระบุไปด้วยว่าเห็นประกาศงานจากช่องทางไหน

    • บอกเหตุผลของการสมัครงานในตำแหน่งนี้ พร้อมคุณสมบัติของตัวเองสั้น ๆ ที่คิดว่าน่าสนใจ เช่น ประสบการณ์ หรือทักษะที่ตรงกับ Job Description ที่บริษัทต้องการ

    • หากมี Resume, Portfolio หรือเอกสารแนบต่าง ๆ ให้บอกไว้ในอีเมลด้วย 

    STEP 3 ตรวจสอบรายละเอียดในอีเมลอีกครั้ง

    • ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา ตัวสะกด และไฟล์ที่จะแนบให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด

    • เช็กช่องทางในการติดต่อกลับทั้งเบอร์โทรศัพท์และอีเมล หากเบอร์โทรศัพท์ผิดและ HR ติดต่อกลับไม่ได้ ก็อาจทำให้คุณพลาดโอกาสในการถูกเรียกไปสัมภาษณ์

    นอกจากนี้การเขียนอีเมลสมัครงานก็ยังมีเทคนิคเล็ก ๆ ที่จะทำให้คุณได้คะแนนความน่าสนใจเพิ่มขึ้น

    • เลือกใช้ภาษาที่เหมาะสม สุภาพ และเหมาะกับวัฒนธรรมองค์กร 

    • เล่าถึง Passion ที่คุณมีต่อตำแหน่งที่สมัคร และงานอดิเรกที่สอดคล้อง

    • เล่าเพิ่มว่าบริษัทจะได้อะไรจากคุณ และข้อมูลต้องเป็นความจริงเท่านั้น ห้ามโกหก

    • เขียนให้สั้น กระชับ และสมบูรณ์ ไม่ยืดเยื้อเกินไป (ลิสต์เป็น Bullet ก็ได้)

    ถ้าคุณทำตามขั้นตอนทั้งหมดนี้ คุณก็จะเป็นผู้สมัครที่เขียนอีเมลสมัครงานได้แบบเซียน ๆ และกลายเป็นผู้สมัครที่น่าสนใจแล้ว

    บทความเดิมได้ถูกเผยแพร่ในวันที่ 20 มีนาคม 2020 และได้รับการอัปเดตโดยทีมงาน JobThai

    ที่มา:

    fdirecruit.co.th

    mailmaster.co.th

    hotcourses.in.th

    tags : jobthai, งาน, หางาน, สมัครงาน, คนทำงาน, คนหางาน, 10 วิธีหางาน, 4 วิธีสมัครงาน, อีเมล, ส่งอีเมลสมัครงาน, ส่งเมลสมัครงาน, สมัครงานผ่านอีเมล, สมัครงานด้วยอีเมล, เขียนอีเมลสมัครงาน, วิธีเขียนอีเมลสมัครงาน, อีเมลสมัครงาน

    การหางานมีวิธีใดบ้าง

    1. ศึกษาหาข้อมูลในอุตสาหกรรมต่างๆ และดูว่าตัวเองต้องการอะไร ... .
    2. ทำงานอาสาสมัคร ... .
    3. เขียนเรซูเม่ที่เกี่ยวข้องกับงานที่อยากทำ ... .
    4. การฝึกงานอาจนำไปสู่การได้งาน ... .
    5. เริ่มสร้างเครือข่ายตั้งแต่เนิ่นๆ ... .
    6. รู้เท่าทันโลกโซเชียล ... .
    7. วางแผนการหางาน.

    การหางานที่หลากหลายจะหาด้วยวิธีใดได้บ้าง

    แม้การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการหางานอย่างเว็บไซต์และแอปพลิเคชันจะง่าย สะดวก รวดเร็ว และเป็นการเปิดโอกาสให้เราเจองานที่หลากหลาย แต่เราต้องไม่ลืมการหางานช่องทางอื่นด้วย เช่น การพูดคุยกับคนรู้จัก หรือเข้าไปสอบถามและสมัครที่บริษัทโดยตรงก็เป็นการเปิดโอกาสในการได้งานมากขึ้น นอกจากนั้นเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียของบริษัทก็ ...

    การสมัครงานทางอินเทอร์เน็ตแตกต่างจากการสมัครงานปกติ อย่างไร

    การสมัครงาน Online มีข้อดีมากมายค่ะ ที่เห็นได้ชัดคงเป็นเรื่องของการประหยัดเวลา ประหยัดค่าเดินทาง และมีความสะดวกสบายมากกว่าไปสมัครเอง เพราะไม่ต้องฝ่ารถติดหรือเสียเวลาไปกับการเดินทาง โดยเฉพาะถ้าเราต้องการสมัครงานหลายบริษัท นอกจากนี้ยังเหมาะสำหรับคนที่มีงานทำอยู่แล้วแต่ต้องการจะเปลี่ยนงาน เพราะไม่ต้องการลาหยุดบ่อย ๆ ด้วย ...

    ทำไมการหางานทางอินเตอร์เน็ตจึงน่าสนใจ

    ปัจจุบันนี้อินเตอร์เน็ตถือเป็นหนึ่งในช่องทางหลัก ของการสมัครงาน ผู้หางานหันมาใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการค้นหาและสมัครงานอย่าง แพร่หลายมากขึ้น เนื่องจากความสะดวก รวดเร็ว และหลากหลายกว่าหากเปรียบเทียบกับการหางานจากช่องทางอื่นๆ โดยผู้สมัครงาน ทางอินเตอร์เน็ตสามารถค้นหางานได้จากแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่ และใช้เวลาน้อยใน ...