หลักการจัดเก็บภาษีอากรเป็นอย่างไร

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้

Show

คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

การเก็บภาษีอากร นอกจากมีวัตถุประสงค์ในการหารายได้เพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาลแล้ว ในปัจจุบันภาษีอากรยังเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ ส่งเสริมความเจริญเติบโตธุรกิจการค้า รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ช่วยควบคุมการบริโภคของประชาชน หรือเพื่อสนองนโยบายบางประการของรัฐบาล (เช่น การศึกษา การสวัสดิการสังคม นโยบายประชากร) ด้วย

หลักการจัดเก็บภาษีอากรเป็นอย่างไร

รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับมักมีบัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมายบัญญัติในการบัญญัติ กฎหมายภาษีอากรที่ดีนั้น มีหลักการบ่งประการที่ควรคำนึงถึง เพื่อประชาชนมีความสมัครใจในการเสียภาษีอากร และให้กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีอากรที่ดีมีลักษณะดังนี้
- มีความเป็นธรรม ประชาชนควรมีหน้าที่เสียภาษีอากรให้แก่รัฐบาล โดยพิจารณาถึงความสามารถในการเสียภาษีอากรของประชาชนแต่ละคน ประกอบกับการพิจารณาถึงผลประโยชน์ที่ประชาชนแต่ละคนได้รับเนื่องจากการดูแลคุ้มครองของรัฐบาล
- มีความแน่นอนและชัดเจน ประชาชนสามารถเข้าใจความหมายได้โดยง่าย และเป็นการป้องกัน มิให้เจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
- มีความสะดวก วิธีการกำหนดเวลาในการเสียภาษีอากรควรต้องคำนึงถึง ความสะดวกของผู้เสียภาษีอากร
- มีประสิทธิภาพ ประหยัดรายจ่ายผู้จัดเก็บและผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรทำให้จัดเก็บภาษีอากรได้มากโดยมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บน้อยที่สุด
- มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ พยายามไม่ให้การเก็บภาษีอากรมีผลกระทบ ต่อการทำงานของกลไกตลาด หรือมีผลกระทบน้อยที่สุด
- มีความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงเพิ่มหรือลดจำนวนภาษีอากรให้เหมาะกันสถานการณ์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

หลักการจัดเก็บภาษีอากรเป็นอย่างไร

การจำแนกประเภทภาษีอากร โดยพิจารณาจากลักษณะการรับภาระภาษีอากรนี้ แบ่งภาษีอากรออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทที่หนึ่ง
- ภาษีทางตรง ได้แก่ ภาษีที่ชำระภาษีตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งผู้เสียภาษีผลักภาระภาษีไปให้ผู้อื่นได้ยาก เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ประเภทที่สอง ภาษีทางอ้อม ได้แก่ ภาษีภาระภาษีไม่แน่ว่าจะตกแก่บุคคลที่กฎหมายประสงค์จะให้รับภาระหรือไม่ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ผู้เสียภาษีผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ง่าย เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากร ภาษีสรรพสามิต

หลักการจัดเก็บภาษีอากรเป็นอย่างไร

   https://www.gotoknow.org/posts/300089

หลักการจัดเก็บภาษีอากรเป็นอย่างไร

1. หลักความเป็นธรรม นับว่าสำคัญมากเนื่องจาก การจัดเก็บภาษีอากรที่เป็นธรรมจะมีส่วนช่วยยกระดับความสมัครใจในการเสียภาษีอากร ของประชาชนได้มาก

– ความแน่นอน และชัดเจนในตัวบทกฎหมาย

– ความแน่นอน และชัดเจนในวิธีปฏิบัติจัดเก็บ

– ความแน่นอนในด้านภาระภาษีว่าตกอยู่กับผู้ใด

– ความแน่นอนในการลดรายจ่ายของภาคเอกชน

– ความแน่นอนในการทำรายได้แก่รัฐบาล

3. หลักความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ เพื่อมิให้กระทบกระเทือนการตัดสินใจทาง ธุรกิจของประชาชน

4 . หลักอำนวยรายได้ ภาษีอากรที่ดีจะต้องมีลักษณะทำรายได้ให้กับรัฐบาลได้ดี ได้แก่

– เป็นภาษีอากรที่มีฐานกว้าง

– การกำหนดอัตราภาษีที่ใช้หากมีลักษณะก้าวหน้าจนเกินไปอาจจะมี ผลกระทบกระเทือนในด้านอื่นได้

5. หลักความยืดหยุ่น ภาษีอากรที่ดีจะต้องมีความยืดหยุ่น หรือปรับตัวเข้ากับการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม เอื้ออำนวย ต่อการบริหารการ จัดเก็บได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ

6. หลักประสิทธิภาพในการบริหาร ระบบภาษีอากรที่ดีต้องเป็นระบบที่สามารถ จัดเก็บได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น

– เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

– ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงานรับผิดชอบการจัดเก็บภาษี สามารถจัดเก็บได้อย่างทั่วถึง เต็มเม็ดเต็มหน่วยการนำหลักที่ดีของการจัดเก็บภาษี จะต้องคำนึงถึงแนวนโยบายของรัฐบาล และคำนึงถึงสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หลักการทรงงาน 23 ประการ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นหลักการที่พระองค์ท่านทรงใช้และทรงปฏิบัติอยู่เป็นประจำในการทรงงาน โดยเฉพาะในการดำเนินการโครงการในพระราชดำริต่าง ๆ ของพระองค์ ผู้เขียนจะขอน้อมนำมาเขียนเพื่อเป็นแนวทางให้ท่านทั้งหลายนำวิธีการนี้ไปประยุกต์ใช้การบริหารงานให้ประสบความสำเร็จ

1. การศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ :

ก่อนที่พระองค์ท่านจะทรงดำเนินการโครงการพระราชดำริโครงการใดก็ตาม พระองค์จะทรงศึกษาหาความรู้และทรงค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างละเอียด พร้อมกันนั้นยังเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ทรงงานเพื่อทำการศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ของโครงการจากหน้างาน และทรงพบปะประชาชนในพื้นที่เพื่อหาข้อมูลที่แท้จริง อันจะนำมาซึ่งการเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ สามารถตัดสินใจและวางแผนการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง หลังจากนั้นจึงพระราชทานหลักการและนโยบายในการปฏิบัติงานนั้นลงไปสู่ผู้ปฏิบัติงาน

2. ระเบิดจากข้างใน :

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงมุ่งเน้นในเรื่องการพัฒนาคนก่อนจะทำอย่างอื่นเพื่อให้ได้ทีมงานที่ดีมีคุณภาพ พร้อมที่จะรับการพัฒนาหรือการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ต่อไป โดยพระองค์ทรงตรัสว่า “ต้องระเบิดจากข้างใน” ซึ่งหมายความว่า หากท่านจะทำงานอะไรก็ตาม ท่านต้องพัฒนาบุคลากรของท่านเองก่อน โดยให้บุคลากรของท่านมีความพร้อม เชื่อมั่นและศรัทธา รวมทั้งมีความเข้มแข็งเสียก่อน เมื่อ “ข้างใน” ของแต่ละคนในทีมมีความพร้อม จากนั้นจึงมาสร้างทีมให้เป็นทีมที่มีความเข้มแข็ง เมื่อคนพร้อม ทีมพร้อม ต่อมาท่านก็พัฒนาโดยใส่เครื่องมือและวิธีการที่ท่านมีและต้องการลงไป

3. แก้ปัญหาที่จุดเล็ก :

พระองค์ทรงใช้หลักการในการที่พระองค์จะทรงมองปัญหาใหญ่ในภาพรวม (Macro) ให้ชัดเจนก่อนเสมอ เพราะพระองค์จะต้องมีข้อมูลเพื่อทำให้สามารถมองเห็นภาพรวมใหญ่ รวมทั้งเห็นถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่จะมีหรือเกิดขึ้นตามมาจากการแก้ปัญหา แต่เมื่อจะลงมือแก้ปัญหา พระองค์จะทรงเริ่มต้นด้วยการแก้ไขปัญหาในจุดเล็ก ๆ (Micro) ซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะหน้าที่คนอื่นมักมองข้ามก่อน เมื่อสำเร็จแล้วจึงค่อย ๆ ขยับขยายแก้ไปเรื่อย ๆ ทีละจุด เพราะคนทั่วไป (ข้าราชการ) มักชอบมองและทำอะไรใหญ่ๆ ก่อนเลยทีเดียว แต่การทำใหญ่ก่อนมักทำไม่สำเร็จและเสียค่าใช้จ่ายเยอะ อีกทั้งเมื่อทำไม่สำเร็จก็หยุดทำ ความเสียหายมากมายก็เกิดตามมา ปัญหาต่าง ๆ ก็ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วทันสถานการณ์ ต่างกับการทรงงานของพระองค์ท่านที่เมื่อพระองค์ทรงเข้าไปดำเนินการก็แก้ได้ตรงจุดเสมอ อย่างรวดเร็วและทันเวลา มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าแต่ได้ผลสำเร็จสูง ทำให้ปัญหาของประชาชนได้รับการแก้ไขให้ผ่อนคลายความตึงเครียดลงได้ จนกระทั่งเกิดการแก้ไขอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เช่น ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาน้ำท่วม เป็นต้น

4. ทำตามลำดับขั้น :

พระองค์ท่านทรงใช้หลักการทรงงานในข้อนี้ด้วยการเริ่มต้นทำในสิ่งที่มีความจำเป็นสำหรับประชาชนก่อน เมื่อสำเร็จแล้วก็เริ่มลงมือสิ่งที่จำเป็นรองลงมาลำดับต่อไป (โดยพิจารณาความจำเป็นจากการเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์) เช่น การพัฒนาและการดูแลในเรื่องสาธารณสุข เพราะเมื่อประชาชนมีสุขภาพที่ดี ร่างกายแข็งแรง ก็จะสามารถทำการพัฒนาในเรื่องอื่น ๆ ได้สำเร็จต่อไป ตัวอย่างเช่น การสร้างถนน การสร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อไว้ใช้ทำการเกษตรและการบริโภคในหน้าแล้ง เมื่อมีถนนที่ดี พอผลผลิตในการเพาะปลูกออกมา ประชาชนก็สามารถนำผลผลิตใส่รถเพื่อเดินทางไปจำหน่ายได้ ทำให้ประชาชนมีรายได้มากขึ้น ความเป็นอยู่ของประชาชนก็ดีขึ้นตามรายได้ เมื่อความเป็นอยู่ดี ประชาชนก็ไม่เข้าไปบุกรุกแผ้วถางป่าหรือทำลายธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำ ทำให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล การเพาะปลูกก็สัมฤทธิ์ผล ต่อมาก็มีการให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับเกษตรทฤษฎีใหม่ทำให้ประชาชนมีการจัดทำการเกษตรแบบผสมผสาน (ทฤษฎีใหม่) ได้ผลสำเร็จ ความเป็นอยู่ของประชาชนก็เจริญและมั่นคงขึ้นตามไป จนทำให้เกษตรกรทุกครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดี มีสุขกันตลอดไป

5. ภูมิสังคม :

ก่อนจะทำการพัฒนาเรื่องใดในองค์การหรือหน่วยงาน ท่านต้องคำนึงถึงภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ของพื้นที่ที่ท่านจะทำการพัฒนาก่อน โดยต้องทำการศึกษาลงไปในรายละเอียดเพื่อให้เข้าใจถึงหลักการทางสังคมวิทยาที่เกี่ยวข้องกับอุปนิสัยของคนหรือพนักงาน/ลูกค้าว่ามีอุปนิสัยเป็นเช่นไร วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีแบบดั้งเดิมที่มีอยู่เดิมของบุคคลในแต่ละกลุ่มในพื้นที่เป็นอย่างไรบ้าง และในแต่ละพื้นที่ที่จะทำการพัฒนานั้นมีความเหมือน คล้ายคลึง หรือแตกต่างกันอย่างไร หลังจากนั้นจึงนำทั้งข้อดีและข้อเสียของข้อมูลที่ได้มาจากสภาพโดยรอบมาทำการวิเคราะห์/สังเคราะห์ แยกแยะเอาสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดีออกมา เพื่อนำหลักการและวิธีการใหม่ที่ดีเข้าไปพัฒนาและแก้ไขปรับปรุง

6. องค์รวม :

ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จะทรงจัดทำโครงการใด ๆ พระองค์จะทรงมองภาพโครงการของพระองค์แบบองค์รวมอย่างรอบด้านว่า โครงการของพระองค์มีความเกี่ยวพันหรือเชื่อมโยงกับอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น การจัดทำโครงการเกษตร “ทฤษฎีใหม่” ที่พระองค์ทรงมองภาพในองค์รวมว่าประชาชนของพระองค์ถือครองที่ดินโดยเฉลี่ยประมาณ 10-15 ไร่ต่อครัวเรือน ซึ่งการบริหารจัดการที่ดินเหล่านั้นจะต้องมีแหล่งน้ำอันเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการทำการเกษตร หากในที่ดินไม่มีแหล่งน้ำก็จะไม่สามารถทำประโยชน์ทางการเกษตรได้เต็มที่ ดังนั้นเมื่อประชาชนของพระองค์มีที่ดินแล้ว พระองค์จึงจำเป็นต้องสร้างหรือจัดทำแหล่งน้ำในที่ดินเหล่านั้นขึ้นมาด้วย เพื่อให้สามารถทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างสมบูรณ์ จึงเห็นได้ว่าในทุกโครงการของพระองค์จะมีการสำรวจและจัดทำแหล่งน้ำควบคู่กันไปด้วยเสมอ ทั้งแหล่งน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ (ที่ต้องเข้าไปดูเรื่องการบริหารจัดการน้ำและกักเก็บน้ำ) และแหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นเองในที่ดิน (ไร่นาสวนผสม) เมื่อที่ดินมีแหล่งน้ำ การทำการเกษตรก็จะได้ผลผลิตที่ดี สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร หลังจากนั้น เมื่อเกษตรกรมีรายได้จากผลผลิตแล้ว เกษตรกรก็จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องการจัดการตลาดและการจัดการการผลิตของตนเองให้ดีขึ้น เพื่อให้มีความสามารถในการสร้างรายได้และพัฒนารายได้ให้เพิ่มมากขึ้นในแบบยั่งยืน รวมถึงต้องทำความเข้าใจในเรื่องอำนาจการต่อรองทางการตลาด เพื่อที่จะทำให้มีอำนาจในการควบคุมและต่อรองตลาดของตนเองได้อีกด้วย จึงเป็นที่มาที่ทำให้เกษตรกรเกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มต่าง ๆ จนกลายมาเป็น “สหกรณ์การเกษตร” ซึ่งช่วยสร้างพลังอำนาจให้แก่เกษตรกรในการต่อรองกับพ่อค้าคนกลางและต่อสู้กับกลไกตลาดตามหลักการดำเนินธุรกิจ

7. ไม่ติดตำรา :

หลักการทรงงานข้อที่ 7 นี้หมายความว่า ในการดำเนินงานทุกโครงการพระราชดำริของพระองค์ พระองค์จะทรงอนุโลมตามปัจจัยสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติในแต่ละแห่งที่พระองค์ทรงทำโครงการ ทรงออมชอมกับธรรมชาติตามสภาพที่โครงการสามารถดำเนินงานอยู่ได้ โดยไม่ทรงยึดติดในหลักการหรือทฤษฎีจากตำราทางวิชาการมากจนเกินไป แต่ทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ที่หน้างาน และปรับไปตามปัญหาที่ทรงพบระหว่างดำเนินงาน เพื่อให้โครงการพระราชดำริของพระองค์ประสบความสำเร็จ เกิดประโยชน์สูงสุด ได้รับการยอมรับจากชุมชนและสามารถดำเนินการต่อไปได้ด้วยชุมชนเอง ตามความเหมาะสมบนพื้นฐานปัจจัยของทรัพยากรต้นทุนที่ชุมชนมีอยู่ในพื้นที่นั้น และตามวิถีชีวิตของประชาชนที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการนั้น

8. ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด :

หลักการทรงงานข้อนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงทำให้ประชาชนของพระองค์ดูเป็นแบบอย่างมาโดยตลอด ตั้งแต่เรื่องยาสีพระทนต์ของพระองค์ที่ทรงใช้อย่างคุ้มค่า ตลอดจนเรื่องฉลองพระองค์และของใช้ส่วนพระองค์ต่าง ๆ ที่พระองค์จะทรงใช้งานจนคุ้มค่าที่สุด ด้วยความประหยัด เรียบง่าย ทั้งนี้ในการทำโครงการพระราชดำริของพระองค์หรือการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของประชาชน ทรงนำหลักการ “ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด” เข้ามาใช้ ด้วยการจัดหาวัสดุ สิ่งของ ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นของภูมิภาคนั้นมาประยุกต์ใช้ โดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือต้องไปซื้อหามาจากต่างประเทศ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีก็จะไม่ทรงเลือกใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากซับซ้อน แต่จะทรงเลือกใช้เทคโนโลยีที่เรียบง่าย สะดวก เหมาะสมกับการนำมาใช้งานในท้องถิ่นนั้น ๆ

9.ทำให้ง่าย :

จากพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ทรงทำการประดิษฐ์คิดค้น และพัฒนาประเทศด้วยโครงการพระราชดำริต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและปัญหาปากท้องของประชาชนในถิ่นทุรกันดารนั้น พระองค์จะทรงดำเนินการในรูปแบบที่เรียบง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบนิเวศที่มีอยู่

10. การมีส่วนร่วม :

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงเป็นนักประชาธิปไตย โดยพระองค์จะทรงนำหลักการ “ประชาพิจารณ์” มาใช้ในการบริหารงาน/บริหารโครงการของพระองค์เสมอ เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชน เจ้าหน้าที่ และสาธารณชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการขับเคลื่อนแต่ละโครงการ ซึ่งพระองค์จะทรงรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและความต้องการของสาธารณชน ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้โครงการต่างๆ ของพระองค์ล้วนสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนและตอบโจทย์ของปัญหาที่ทำให้ประชาชนของพระองค์ได้รับความเดือดร้อนได้อย่างตรงจุดและตรงความต้องการอยู่เสมอ

11. ประโยชน์ส่วนรวม :

การปฏิบัติพระราชกรณียกิจในแต่ละครั้งและการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดารเพื่อให้ความช่วยเหลือพสกนิกรที่ได้รับความยากลำบากและเดือดร้อนนั้น พระองค์จะทรงคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ ในการทรงงานแต่ละครั้งพระองค์จะทรงพิจารณาและเลือกการปฏิบัติภารกิจในการแปรพระราชฐานในแต่ละครั้ง แต่ละปี เพื่อทรงเยี่ยมเยือนราษฎร พร้อมทั้งบำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้การช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาความยากจน ความยากลำบากในการประกอบอาชีพของประชาชนของพระองค์ให้มีการอยู่ดีกินดี โดยการจัดทำโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งล้วนจัดทำเพื่อยังประโยชน์และแก้ไขปัญหาของส่วนรวมแบบยั่งยืนตลอดไป

12. การบริการรวมที่จุดเดียว :

หรือ One Stop Service  คือการรวมบริการมาไว้ที่จุดเดียวเป็นรูปแบบเบ็ดเสร็จที่เกิดขึ้นมาเป็นครั้งแรกในระบบการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย โดยองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริให้ “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” เป็นต้นแบบในการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียวเพื่อประโยชน์ของราษฎร เมื่อมาขอใช้บริการจากภาครัฐในเรื่องต่าง ๆ ก็สามารถดำเนินการเรียบร้อยได้เสร็จสิ้นในที่เดียว ซึ่งเป็นการประหยัดเงิน ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายของทั้งประชาชนและหน่วยงานของรัฐในการทำงาน ทำให้มีการประสานงานกันได้อย่างรวดเร็ว ภารกิจและการดูแลช่วยเหลือประชาชนก็จะสำเร็จลุล่วงไปได้อย่างรวดเร็วทันเวลานั่นเอง

13. ทรงใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ :

การที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงมีความเข้าใจธรรมชาติ ในส่วนนี้พระองค์จึงทรงมีพระราชประสงค์ให้ประชาชนของพระองค์มีความเข้าใจและใกล้ชิดกับธรรมชาติด้วยเช่นกัน เพราะหากประชาชนมีความเข้าใจธรรมชาติและมองธรรมชาติได้อย่างละเอียดแล้ว จะทำให้สามารถนำธรรมชาติมาใช้แก้ไขปัญหาจากธรรมชาติด้วยกันได้ เช่น ในการแก้ไขปัญหาป่าเสื่อมโทรม พระองค์ทรงมีพระราชดำริในการปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยฟื้นฟูธรรมชาติกันเอง เช่น โครงการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง เป็นต้น

14. ใช้อธรรมปราบอธรรม :

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงนำความจริงในเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ มาเป็นหลักการและแนวทางปฏิบัติที่สำคัญในการแก้ไขปัญหาและการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติเข้าสู่ระบบสภาวะปกติ เช่น โครงการการนำน้ำดีมาขับไล่น้ำเสียหรือมาเจือจางน้ำเสียให้กลับมาเป็นน้ำดี ตามจังหวะการขึ้นลงของน้ำตามธรรมชาติ และการบำบัดน้ำเน่าเสียโดยใช้ผักตบชวาซึ่งมีอยู่แล้วตามธรรมชาติให้มาดูดซึมซับสิ่งสกปรกและปนเปื้อนในน้ำออกไป ตามพระราชดำรัสที่ว่า ใช้อธรรมปราบอธรรม

15. การปลูกป่าในใจคน :

เป็นการทำการปลูกป่าลงบนผืนแผ่นดินด้วยความต้องการของมนุษย์ ซึ่งจะทำให้มนุษย์มีความเข้าใจในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีคุณค่า ไม่สิ้นเปลือง เพราะในอดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษย์มีความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลืองโดยขาดจิตสำนึกเพียงเพื่อประโยชน์ของตนเอง ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมจนเกิดความไม่สมดุลของธรรมชาติ เมื่อธรรมชาติขาดความสมดุลจึงทำให้เกิดอุบัติภัยต่างๆ ตามมา เช่น ภัยแล้ง น้ำท่วม ไฟไหม้ป่า ดินถล่ม เป็นต้น ในการฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับคืนมานั้น จะต้องมีการปลูกจิตสำนึกในการรักษ์ผืนป่าในใจคนให้ได้เสียก่อน การปลูกป่าในใจคนจึงจะเกิดขึ้นมา และทำให้มนุษย์มีความเข้าใจและความร่วมมือในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ โดยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติแบบรู้คุณค่าให้มากที่สุด

16. ขาดทุนคือกำไร :

หลักการนี้ทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกรของพระองค์ ด้วยการให้และการเสียสละ เป็นการกระทำอันมีผลที่เป็น “กำไร” คือการอยู่ดีมีความสุขของราษฎร ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจนจากการที่ประเทศมีความเจริญก้าวหน้ามีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

17. การพึ่งพาตนเอง :

เป็นการพัฒนาตามแนวทางพระราชดำริเพื่อการแก้ไขปัญหาโดยตนเองก่อนในเบื้องต้น แบบการแก้ไขเฉพาะหน้า เพื่อให้ตนเองมีความแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ต่อไป แล้วขั้นตอนต่อไปก็ทำการพัฒนาให้ประชาชนมีความสามารถที่จะอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อมจนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด

18. พออยู่พอกิน :

หลักการทรงงานในข้อนี้ก็เพื่อพัฒนาให้พสกนิกรทั้งหลายของพระองค์ประสบความสุขสมบูรณ์ในชีวิต อันเริ่มจากการเสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรของพระองค์ทุกหมู่เหล่าในทุกภูมิภาคของประเทศ ทรงทอดพระเนตรเห็นความเป็นอยู่ของราษฎรด้วยพระองค์เอง จนทรงเข้าพระทัยในสภาพปัญหาต่าง ๆ ของราษฎรอย่างลึกซึ้ง ดังนั้นในการพัฒนาของพระองค์จะทรงมองในภาพรวมของประเทศ ซึ่งพระองค์ทรงทราบดีว่าไม่ใช่งานเล็กน้อย แต่เป็นงานที่ต้องใช้ความคิดและกำลังของคนทั้งชาติเข้ามาดำเนินการร่วมกันเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จในการพัฒนา ด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์ในการทรงงาน ทำให้คนไทยทั้งหลายได้ประจักษ์แล้วว่าแนวพระราชดำริและโครงการพระราชดำรินั้น เป็นโครงการที่เรียบง่ายปฏิบัติแล้วได้ผล จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เพราะโครงการพระราชดำริจะเป็นโครงการที่ทำให้ราษฎรของพระองค์มีรายได้พออยู่พอกินบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงสืบไป

19. เศรษฐกิจพอเพียง :

เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตให้แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังวิกฤต พระองค์ยังได้ทรงย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้ราษฎรของพระองค์สามารถรอดพ้นและดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของโลกที่เข้ามาสู่ประเทศไทย
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่พระองค์พระราชทานไว้นั้น มีความหมายดังนี้ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อผลกระทบที่จะเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก ที่ต้องอาศัย ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการมาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนของแผนที่วางไว้ เช่น แผนรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน แผนการทำไร่นาสวนผสม เป็นต้น

20. ความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจต่อกัน :

หลักการในข้อนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระเมตตาสั่งสอนให้ข้าราชการ ประชาชน และเจ้าหน้าที่ในองค์การระดับสูงให้มีความเข้าใจในเรื่องความซื่อสัตย์ เพราะพระองค์ทรงเล็งเห็นว่าหากคนเราทำงานแล้วไม่มีความซื่อสัตย์จริงใจทั้งต่อตนเอง องค์การ และประเทศชาติแล้ว ความเจริญก้าวหน้าและความสำเร็จคงเกิดขึ้นได้ยาก สาเหตุสำคัญที่ทำให้องค์การและประเทศชาติต้องประสบปัญหาในการพัฒนา ไม่เจริญก้าวหน้า ก็เพราะมีการทุจริตเกิดขึ้น การทุจริตจึงเป็นสาเหตุหลักที่ทำลายล้างองค์การและประเทศชาติให้เสื่อมสลายไปได้ ดังนั้น เราท่านทั้งหลายจะต้องช่วยกันขจัดการทุจริตไม่ให้เกิดขึ้น แม้แต่ในตัวเราเองและองค์การ เมื่อไม่เกิดการทุจริตขึ้นในตัวเราเองหรือในองค์การแล้ว ประเทศชาติก็จะเจริญรุ่งเรืองสืบไป

21. การทำงานอย่างมีความสุข :

พระองค์ทรงมีพระเกษมสำราญและทรงงานอย่างมีความสุขทุกครั้งที่ได้ช่วยเหลือประชาชน โดยพระองค์ทรงเคยรับสั่งครั้งหนึ่งว่า “ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกันในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น…”

22. ความเพียร :

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงใช้ความเพียรเป็นอย่างมากในการทำงานในโครงการพระราชดำริ โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรกของแต่ละโครงการที่มีอุปสรรคและความไม่พร้อมในด้านต่างๆ มากมาย มีโครงการจำนวนมากที่พระองค์ต้องทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดทำ แต่พระองค์ก็มิเคยท้อพระทัย และทรงมุ่งมั่นเดินหน้าพัฒนาเพื่อให้โครงการฯ ประสบความสำเร็จ อันจะช่วยให้ราษฎรของพระองค์และบ้านเมืองบังเกิดความร่มเย็นเป็นสุข

23. รู้ รัก สามัคคี :

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำรัสในเรื่องรู้ รัก สามัคคี ต่อข้าราชการและประชาชนของพระองค์มาโดยตลอด ซึ่งคำ 3 คำนี้มีค่าและมีความหมายลึกซึ้ง สามารถนำไปปรับใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย  รู้ – การที่เราท่านจะลงมือทำสิ่งใด จะต้องรู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหานั้น รัก – เมื่อเรารู้ ครบด้วยกระบวนการที่เราจะทำแล้ว เราจะต้องใช้ความรักในการพิจารณาที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติและแก้ไขปัญหานั้นให้ได้ สามัคคี – การที่คนเราจะลงมือปฏิบัติงาน เราควรคำนึงเสมอว่าเราจะทำงานคนเดียวไม่ได้ แต่ต้องทำงานร่วมมือร่วมใจกับคนอื่น เป็นองค์การหรือเป็นหมู่คณะ จึงจะมีพลังในการช่วยกันแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี

 

หลักการทรงงานทั้ง 23 ประการขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 นั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า เป็นแนวทางที่ท่านทั้งหลายสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับงานหรือธุรกิจของท่านเองเพื่อสร้างความสำเร็จขององค์กร ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศเจริญเติบโตมั่งคั่งสืบไปด้วย

 

ที่มา :  บทความเรื่อง การจัดการองค์การด้วยหลักการทรงงาน  โดย ดร.ขวัญชัย เกิดอุบล จากคอลัมน์รู้รอบการจัดการองค์การ  HR Socity Magazine

 

 

ขอแนะนำหนังสือ “ยิ้มสู้งาน ศิลปะการพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพ”

ที่นำเสนอข้อคิด วิธีการพัฒนาตนเองในการทำงานเพื่อให้ทุกท่านมีความสุขในการทำงานมากยิ่งขึ้น
หลักการจัดเก็บภาษีอากรเป็นอย่างไร

Tag

HR society magazine จัดการองค์กร ดร.ขวัญชัย เกิดอุบล ตามรอยพ่อ บริหารงาน หลักการทรงงานรัชกาลที่ 9 เศรษฐกืจพอเพียง ในหลวงรัชกาลที่ 9

การจัดเก็บภาษีอากรมีหลักการจัดเก็บอย่างไร

ทั้งนี้ การจัดเก็บภาษีอากรที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมสรรพากร เป็นการจัดเก็บภาษีภายใต้หลักการประเมิน ตนเองของผู้เสียภาษี (Self Assessment) ซึ่งผู้เสียภาษีจะ ยื่นแบบแสดงรายการภาษีประเภทต่างๆ เพื่อประเมินตนเอง ว่ามีรายได้หรือกำาไรสุทธิและภาษีที่ต้องชำาระหรือมีสิทธิได้รับ คืนด้วยตนเอง โดยเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรจะเป็นผู้กำา ...

หลักการของภาษีอากร คืออะไร

ภาษีอากร หมายถึง สิ่งที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากราษฎร เพื่อนาไปใช้เป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีภาษีอากรมีลักษณะเป็นการบังคับเก็บ ประชาชนทุกคน เป็นผู้รับผิดชอบในการเสียภาษีวัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินภาษีคือ นาไปใช้เพื่อสาธารณะหรือสังคม โดยรวม

หลักการเก็บภาษีท่ีดีคือข้อใด

ภาษีที่ดีควรจะเป็นภาษีที่มีความยืดหยุ่น สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของ ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะทางเศรษฐกิจของผู้เสียภาษีได้ง่าย เช่น การ จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้าในขณะที่เศรษฐกิจก าลังขยายตัว รายได้ของ ประชาชนเพิ่มขึ้น แต่อัตราภาษีที่จัดเก็บจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่ารายได้ที่เพิ่ม ...

หลักการที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีของรัฐ มีอะไรบ้าง

1) หลักความยุติธรรม ( Equality) ประชาชนทุกคนควรจะเสียภาษีให้กับรัฐบาล ตามความสามารถของตน กล่าวคือประชาชนมีรายได้เนื่องจากการปกป้องคุ้มครองของรัฐ 2) หลักความแน่นอน ( Certainty) การเสียภาษีของประชาชนควรมีความแน่นอน อย่างน้อย 3 ประการ คือเวลาที่จะต้องเสีย วิธีการเสียและจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย (ปัจจุบัน