พระพุทธรูปปางมารวิชัยมีลักษณะแบบใด

ในวันสงกรานต์ของทุกปี ผมจะถือโอกาสนำพระพุทธรูปที่เป็นพระบูชา และพระพิมพ์ขนาดเล็ก รวมทั้งเหรียญพระที่ระลึกขนาดต่าง ๆ มาเช็ดปัดฝุ่นทำความสะอาด จะเรียกว่าเป็นการ “สรงน้ำพระ” ที่บ้านในวันขึ้นปีใหม่ไทยก็คงจะพูดไม่ได้เต็มปาก เพราะผมไม่ได้จัดพิธีกรรมนำองค์พระมาวางบนพานแล้วรดน้ำขอพรให้เป็นกิจจะลักษณะ แต่ประการใด

แต่การนำพระบูชาทั้งหลายมาทำความสะอาดปีละครั้งก็ทำให้ผมได้ใช้เวลารำลึกถึงพระพุทธคุณและเคลื่อนใกล้พระพุทธศาสนาเข้ามาบ้าง พระพุทธรูปที่ผมบูชาองค์สำคัญคือ “พระพุทธโสธร” เวลานำท่านออกมาเช็ดถู ผมก็นึกถึงหลวงพ่อโสธรองค์จริงประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรวรารามวรวิหาร แปดริ้ว ผมเป็นคนจังหวัดฉะเชิงเทราจึงได้ปวารณา ตัวเป็นลูกหลวงพ่อมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กตัวน้อย ๆ

หลวงพ่อโสธรเป็นพระพุทธรูปที่มีผู้คนจำนวนมากนับถือ ท่านมีกิตติศัพท์ในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ ใครมาบนบานขอสิ่งใดก็มักจะได้สิ่งนั้น ๆ ตามประสงค์
สงกรานต์ปีนี้ผมนั่งมองพระพุทธรูป “หลวงพ่อโสธร” ท่านเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิที่มีลักษณะงดงาม พระหัตถ์ทั้งสองของท่านวางหงายขึ้นซ้อนกันบนหน้าตัก พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระพักตร์นิ่งสงบ และมีรัศมีแห่งความเมตตา

พระพุทธรูปปางมารวิชัยมีลักษณะแบบใด

รูป หลวงพ่อโสธร หรือพระพุทธโสธร พระพุทธรูปปางสมาธิ วัดโสธรวรารามวรวิหาร ฉะเชิงเทรา
ที่มา https://www.pra9wat.com/พระ-พุทธศาสนา/พระพุทธรูป/หลวงพ่อพระพุทธโสธร/ สืบค้นวันที่ 25 เมษายน 2565

2

เมื่อเกือบสามสิบปีมาแล้วเห็นจะได้ คุณหมอยุทธ โพธารามิก ได้เล่าเกร็ดความรู้เกี่ยวกับพระพุทธรูป “ปางมารวิชัย” ให้พวกเราฟัง พระพุทธรูป “ปางมารวิชัย” บางทีก็เรียกว่า “ปางชนะมาร” บางทีก็เรียกว่า “ปางสะดุ้งมาร”

คุณหมอยุทธฯ เริ่มเรื่องด้วยการให้พวกเราสังเกตลักษณะของพระพุทธรูปปางนี้ว่าเป็นท่านั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนหน้าตักหรือพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุหรือเข่า “ทำไมพระหัตถ์ขวาของพระพุทธรูปจึงวางอยู่ที่ตำแหน่งนี้”

คุณหมอยุทธฯ เล่าว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ ท่านต้องเผชิญกับหมู่มารที่ยกมาเป็นกองทัพเพื่อขัดขวางการบำเพ็ญเพียร (ตามพุทธประวัติ พญามารมีชื่อว่า พระสหัสพาหุ มีช้างชื่อ คีรีเมขล์ เป็นพาหนะ) คุณหมอยุทธฯ ชี้ให้เห็นว่ามารที่มาผจญพระโพธิสัตว์แท้ที่จริงแล้วคือ กิเลส ตัณหา ราคะ รวมทั้งโลภ โกรธ หลง ที่มาในรูปต่าง ๆ เพื่อหลอกล่อขัดขวางให้พระพุทธองค์เสียสมาธิหยุดบำเพ็ญเพียร

คุณหมอยุทธฯ แสดงท่าประกอบให้เห็นภาพว่า ขณะที่พระพุทธองค์หลับพระเนตรทำสมาธิจิตอยู่นั้น มารร้ายในรูปของสตรีงามก็มากรีดกรายเย้ายวนอยู่ตรงหน้า พระองค์ถึงกับ “สะดุ้ง” เคลิ้มตามมายาของหมู่มารขยับพระชานุจะผุดลุกขึ้นยืนคล้อยตามมารร้าย แต่ทันใดนั้นท่านกลับข่มใจจนเอา “ชนะมาร” ร้ายได้ จึงเอาพระหัตถ์ขวากดเข่าไว้ไม่ให้ลุกขึ้นยืนและยังคงอยู่ในท่าประทับนั่งตามเดิม

เมื่อพระพุทธองค์ทรงเอา “ชนะมาร” ได้แล้ว ก็ได้ทำสมาธิจิตจนตรัสรู้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อมา

พระพุทธรูปปางมารวิชัยมีลักษณะแบบใด

รูป พระพุทธรูปปางมารวิชัย
https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/77/iid/3518 สืบค้นวันที่ 25 เมษายน 2565

3

พระพุทธรูปที่เป็นพระประธานในโบสถ์ของวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยจะอยู่ในอิริยาบถปางมารวิชัยและปางสมาธิเกือบทั้งสิ้น เมื่อเราพอจะเข้าใจที่มาที่ไปของพระพุทธรูปปางมารวิชัยแล้ว เราก็คงพอจะเข้าใจความสำคัญของพระพุทธรูปทั้งสองปางนี้

พระพุทธรูป “ปางมารวิชัย” หรือ “ปางชนะมาร” เป็นลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน ท่านต้องผจญมาร ต่อสู้กับตัณหา ราคะทั้งหลายทั้งปวงที่มารบกวนจิตใจท่าน และเมื่อพระองค์ท่านเอาชนะมารได้แล้ว ท่านก็ประทับนั่งใน “ปางสมาธิ” ด้วยใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว จนได้ตรัสรู้เป็นเหตุการณ์ในลำดับต่อมา

คนไทยให้ความสำคัญของอิริยาบถทั้งสองปางนี้ของพระพุทธเจ้า จึงนิยมสร้างพระประธานของอุโบสถในปางชนะมารและปางสมาธิมาตั้งแต่โบราณกาล

4

เดี๋ยวนี้ ถ้าผมมีโอกาสเข้าไปในโบสถ์ของวัดใดก็ตาม ก็จะนั่งสงบใจหน้าพระประธาน ชื่นชมงานศิลปะในการปั้นและหล่อหลอมองค์พระพุทธรูป ดื่มด่ำกับความสงบเย็นภายในโบสถ์

ที่สำคัญคือผมจะพิจารณาใคร่ครวญอิริยาบถของพระพุทธองค์ จากปางผจญมาร ชนะมาร หรือ มารวิชัย จนไปสู่ปางสมาธิในที่สุด

��оط��ٻ�ҧ����Ԫ�� �Ѵ���વؾ� �����ѧ������ �Ҫ���������� ��ا෾��ҹ�� ��оط��ٻ����㹾�������Һ���зѺ ( ��� ) �Ѵ��Ҹ� ����ѵ������ҧ˧�º������� ( �ѡ ) ����ѵ�����ҧ����Ъҹ� ( ��� ) ���Ǿ���ѵ����ŧ��鹸ó� �ҧ��觷��ٻ����иóչ�觺պ��¼���Сͺ �������ҧ�繾�л�иҹ㹾�����ʶ

�������Ңͧ�ҧ����Ԫ��

��з���к��⾸��ѵ���зѺ � ⾸Ժ���ѧ�� ���������ѵ�ջ�зѺ����ѧ��ҧ����������٧ ��� �ª�� ¡�Ѿ�����¨з���¤������âͧ���ͧ�� ���������Ե��ҧ�٧�˭�����͹Ѻ�ѹ�����ʵ���ظ����� ��������ʹ�����ҡ����״�����ǴԹ ������Ǵҷ������˹����� ���к��⾸��ѵ��������Ҵ���� �ǡ��ëѴ��ʵ���ظ�������к��⾸��ѵ�� ����ʵ���ظ����ҹ�鹡����繺ػ����������� �������ѧ����Ƿ֡�ѡ��� �ѵ�����ѧ���繢ͧ�� ��к��⾸��ѵ�� �ç�������� �ѵ�����ѧ�����Դ�Ҵ��ºح�����ͧ�����������ҧ��͹ �����������иó��繾�ҹ ����иó���������¼��պ��� ��Ǵ�ط�ȼźح�ҡ��÷ӷҹ�ͧ��к��⾸��ѵ�������žѴ����������仨����

     ครั้งนั้น  พญามารวัสวดีตกตะลึงเป็นอัศจรรย์ด้วยมิเคยเห็นมาแต่กาลก่อนก็ประนมหัตถ์ถวายนมัสการยอมปราชัยพ่ายแพ้บุญบารมีของพระมหาบุรุษบรมโพธิสัตว์พุทธางกูร  แล้วพญามารวัสวดีก็อันตรธานหายไป  ณ  บัดนั้น  ให้พระมหาบุรุษทรงมารวิชัย  กำจัดมารให้พ่ายแพ้ได้เด็ดขาด  ตั้งแต่เวลาเย็นพระอาทิตย์ยังมิทันอัสดงคตด้วยพระไตรทสบารมีนั้นแล

เหตุที่มีพระพุทธรูปแปลก “ปางสะดุ้งมาร”! คนติดป้ายในพิพิธภัณฑ์ถูกปรับเป็นค่าซื้อความรู้!!

เผยแพร่: 9 ก.ย. 2562 10:16   โดย: โรม บุนนาค

พระพุทธรูปปางมารวิชัยมีลักษณะแบบใด

พระพุทธรูปซึ่งสร้างขึ้นเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้านั้น มีปางต่างๆที่สร้างขึ้นแสดงพุทธประวัติในช่วงนั้น และมีจำนวนแตกต่างกันไปตามตำรา
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ กล่าวว่า

“ตั้งแต่สมัยทวาราวดีจนถึงสมัยอยุธยา การสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆยังมีปางอยู่ไม่มากนัก ที่นิยมมากที่สุดคือ ปางมารวิชัย รองลงมาได้แก่ ปางสมาธิ และปางอื่นๆ ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงรวบรวมและเรียบเรียงตำราทางพระพุทธศาสนาขึ้น คือพระนิพนธ์พุทธประวัติเรื่อง “ปฐมโพธิกถา” แล้วทรงประดิษฐ์แบบอย่างพระพุทธรูปปางต่างๆขึ้นตามพุทธประวัติดังกล่าว เพื่อให้ช่างสร้างเป็นพระพุทธรูปรวม ๔๐ ปาง ซึ่งถือเป็นการกำหนดปางต่างๆของพระพุทธรูปมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา หลังจากนั้นมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ได้มีการกำหนดปางพระพุทธรูปเพิ่มเติมขึ้นหลายตำรา เช่น “พระพุทธรูปปางต่างๆ” ของ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ มีจำนวน ๕๕ ปาง ใน “ภาพพุทธประวัติวัดทองนพคุณ” เป็นประติมากรรมนูน สร้างด้วยทองเหลืองทาสีปิดทอง มีจำนวน ๙๐ ปาง ใน “ประวัติพระพุทธรูปปางต่างๆ” ของกรมศาสนา แต่งโดย พิทูร มลิวัลย์ มีจำนวน ๗๒ ปาง และใน “ตำนานพระพุทธรูปปางต่างๆ” แต่งโดย พระพิมลธรรม มีจำนวน ๖๖ ปาง จากตำราเล่มหลังนี้ได้ปรากฏงานสร้างพระพุทธรูปรวม ๖๖ ปางที่พระระเบียงรอบองค์พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม”

จากตำราปางพระพุทธรูปเหล่านี้ ไม่ปรากฏว่ามี “ปางสะดุ้งมาร” เลย ในพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีปรากฏปางที่เกี่ยวกับมาร ๒ ปาง คือ

“ปางมารวิชัย” เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี หมายถึง พระพุทธประวัติตอนตรัสรู้ มีพญามารมาผจญ พระพุทธองค์องค์ทรงเรียกแม่พระธรณีมาเป็นพยาน แม่พระธรณีได้บีบมวยผมหลั่งน้ำที่พระพุทธองค์เคยทรงบำเพ็ญบารมี ออกมาไหลท่วมเหล่ามารทั้งหลายพ่ายแพ้ไป พระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นปางที่พบมากที่สุดในศิลปกรรมไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย ล้านนา อู่ทอง อยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์
อีกปางในตำรานี้คือ “ปางห้ามมาร” พระพุทธรูปปางนี้อยู่ในอิริยาบถประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลา พระหัตถ์ขวายกขึ้นป้องเสมอพระอุระ แสดงอาการห้าม หลังจากที่พระพุทธโคดมทรงพิจารณาธรรมในเรือนแก้วแล้ว จึงเสด็จไปประทับที่ใต้ต้นไทร ธิดามารสามพี่น้องได้อาสาบิดามาทำลายตบะของพระพุทธองค์ ด้วยการเนรมิตร่างเป็นสตรีที่สวยงามในวัยต่างๆ ตลอดจนแสดงการรำฟ้อนขับร้อง แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงใส่พระทัย ขับไล่ธิดามารให้พ้นไป

ในพรรษาสุดท้ายแห่งพระชนมายุ พระยามารได้อาราธนาให้พระพุทธองค์ปรินิพพาน พระพุทธโคดมทรงทำปางห้ามมาร แล้วตรัสกับพญามารว่า

“พญามาร ท่านอย่าเกรงใจเราอีกเลย ความปรินิพพานจะมีขึ้นในอีกไม่ช้า นับจากนี้ไปอีก ๓ เดือน เราจะดับขันธ์ปรินิพพาน”

เมื่อพระพุทธโคดมตรัสห้ามมารแล้ว พญามารกจึงตรัสให้รักษาวาจา จากนั้นก็หายตัวไป

แต่ในตำราปางพระพุทธรูปอื่นๆนั้น ยังปรากฏมีปางที่เกี่ยวกับมารปรากฏอีกปางหนึ่งคือ “ปางชี้มาร” มีอิริยาบถยืน พระหัตถ์ซ้ายห้อยข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอพระพักตร์ ชี้นิ้วพระหัตถ์ไปข้างหน้า เป็นอาการชี้มาร กล่าวถึงที่มาว่า ครั้งหนึ่งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เวฬุวันวิหาร ใกล้นครราชคฤห์ ประจวบกับเวลานั้นพระโคธิกเถระได้บรรลุพระอรหันต์และเข้าปรินิพพาน พระองค์พร้อมกับพระภิกษุได้เสด็จไปที่กุฏิของท่าน ขณะเดียวกับที่มารผู้มีใจบาปได้เสาะแสวงหาวิญญาณของพระโคธิกะ พระองค์จึงทรงชี้พระหัตถ์ไปที่มารแล้วตรัสว่า

“มาร เจ้าต้องการอะไรกับสถานที่เกิดของพระโคธิกะ ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา ไม่อาลัยในชีวิต ได้ถอนตัณหาโดยสิ้นเชิง ไม่มายังภพนี้อีก และปรินิพพานแล้ว”
ส่วน “ปางสะดุ้งมาร” ที่มีกล่าวกันอยู่หลายแห่งนั้น ไม่ปรากฏว่ามีอยู่ในตำราปางพระพุทธรูปต่างๆเลย แต่ก็มีเรื่องเล่าถึงที่มากันไว้ว่า

ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศรวิยาลงกรณ์ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ทรงให้กำเนิดพระกริ่งและพระกริ่งปวเรศ ได้เสด็จไปเยือนพิพิธภัณฑ์สถาน และเมื่อทรงเห็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยองค์หนึ่งมีพระพักตร์ไม่งาม ก็ตรัสด้วยพระอารมณ์ขันว่า “พระองค์นี้คงจะสะดุ้งมาร”

ต่อมาสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ผู้ทรงจัดพิพิธภัณฑ์สถานสำหรับพระนคร ได้เสด็จไปตรวจพิพิธภัณฑ์ และทอดพระเนตรเห็นพระพุทธรูปองค์หนึ่งมีพระพักตร์ไม่งาม จึงตรัสขึ้นว่า “องค์นี้พระสะดุ้งมารนี่” ต่อมา หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ หัวหน้ากองพิพิธภัณฑ์และโบราณวัตถุ ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ ได้ทำบัตรติดพระพุทธรูปไว้ว่าเป็นปางไหน จึงพาซื่อเขียนป้ายติดองค์ที่สมเด็จฯกรมพระยาดำรงเคยตรัสไว้ว่า “ปางสะดุ้งมาร” ครั้นสมเด็จฯกรมพระยาดำรงมาเห็นป้าย จึงเล่าเรื่องความเป็นมาของ “พระปางสะดุ้งมาร” ให้หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ทราบ และปรับเป็นเงิน ๑ บาทใส่ตู้บำรุงพิพิธภัณฑ์

หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์เป็นผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีและพระพุทธรูปอย่างมาก แต่เพราะความซื่อทำให้พลาดเรื่องนี้ ท่านเป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สถานสำหรับพระนครในยุคก่อตั้ง และวางรากฐานไว้อย่างดีจนก้าวหน้าถาวรมาถึงในวันนี้ สมกับที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงตรัสไว้ว่า

“ฉันรักหลวงบริบาลฯเท่าไร หลวงบริบาลฯทราบอยู่แล้ว ถ้ารักฉันตอบ ขอให้บำรุงรักษาพิพิธภัณฑ์สถานซึ่งเป็นของรักของฉันให้ถาวรต่อไป”

กำลังโหลดความคิดเห็น