ข้อใดคือความหมายของ “หัวใจ” ในเรื่องหัวใจชายหนุ่ม

           การที่แม่อุไรได้ผัวใหม่เป็นตัวเป็นตนเสียแล้วเช่นนี้ ทำให้ฉันเองรู้สึกความตะขิดตะขวางห่วงใย.และรู้สึกว่าอาจจะคิดหาคู่ใหม่ได้โดยไม่ต้องมีข้อควรรังเกียจรังงอนเลย.พ่อประเสริฐเป็นเพื่อนรักกันที่สนิทสนมที่สุด,เพราะฉะนั้นฉันขอบอกตรงๆ ว่า ฉันได้รักผู้หญิงอยู่รายหนึ่งแล้ว,ซึ่งฉันหวังใจว่าจะได้เป็นคู่ชีวิตต่อไปโดยยั่งยืนจริงจัง.หล่อนชื่อนางสาวศรีสมาน,แล้วเจ้าคุณพิสิฐกับพ่อของฉันก็ชอบกันมาก.ฉะนั้นพอพ่อประเสริฐกลับเข้ามาถึงกรุงเทพฯก็เตรียมตัวไว้เป็นเพื่อนบ่าวที่เดียวเถิด!

เพื่อน ๆ รู้ไหมว่าวรรณกรรมเรื่องหนึ่งสามารถบอกอะไรได้มากกว่าที่เราคิด วันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักวรรณกรรมที่สะท้อนสภาพสังคมและแนวคิดของผู้คนในยุครัชกาลที่ 6 สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคสมัยแห่งความ ‘ศิวิไลซ์’ ของสังคมไทยที่เกิดจากการรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาในหลาย ๆ ด้าน เกริ่นมาแบบนี้เพื่อน ๆ หลายคนอาจจะพอเดาได้แล้วว่าวรรณกรรมที่เราพูดถึงอยู่ก็คือเรื่อง ‘หัวใจชายหนุ่ม’ นั่นเอง

เรียนเรื่องหัวใจชายหนุ่มในรูปแบบวิดีโอ คลิกดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee ได้เลย

ข้อใดคือความหมายของ หัวใจ” ในเรื่องหัวใจชายหนุ่ม

หัวใจชายหนุ่มเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) เพื่อพระราชทานตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตรายเดือน เมื่อ พ.ศ. 2464 ในเรื่องนี้พระองค์ทรงใช้พระนามแฝงว่า ‘รามจิตติ’ 

ข้อใดคือความหมายของ หัวใจ” ในเรื่องหัวใจชายหนุ่ม

หนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต Cr. Bloggang.com

หัวใจชายหนุ่มเป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมายจำนวน 18 ฉบับ พระองค์ได้สร้างตัวละครเอกขึ้นมา โดยสมมติให้มีตัวตนจริงและใช้สถานที่ที่มีอยู่จริงในการดำเนินเรื่อง* เนื้อเรื่องของหัวใจชายหนุ่มสะท้อนให้เห็นแนวพระราชดำริในการปรับรับเอาอารยธรรมตะวันตกเข้ามาผสมผสานกลมกลืนกับวัฒนธรรมไทยในยุคสมัยของพระองค์ และแม้ว่าวรรณกรรมเรื่องนี้จะมีอายุกว่า 100 ปีแล้ว แต่ด้วยเสน่ห์เฉพาะตัวของ ‘จดหมายถึงเพื่อน’ ที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกสนุก เป็นกันเอง รู้สึกสนิทสนมใกล้ชิดกับผู้แต่งประหนึ่งว่าเป็น ‘เกลอ’ กันจริง ๆ หัวใจชายหนุ่มจึงเป็นนวนิยายที่ติดตราตรึงใจผู้อ่านงานวรรณกรรมทั้งหลายมาจนถึงปัจจุบัน โดยจดหมายที่ยกมาให้เพื่อน ๆ ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้อ่านกันประกอบไปด้วย หัวใจชายหนุ่ม ฉบับที่ 1 ฉบับที่ 4 - 6 ฉบับที่ 9 ฉบับที่ 11 - 13 ฉบับที่ 15 และฉบับที่ 17 - 18 สาเหตุที่บางฉบับขาดหายไป ก็เพราะรามจิตติหรือผู้แต่ง “คัดออกเสียหลายฉบับ, เพื่อมิให้ฟั่นเฝือเกินไป” โดยในวันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ ไปรู้จักวัตถุประสงค์ในการแต่ง ทำความรู้จักตัวละคร และทำความเข้าใจเรื่องย่อของหัวใจชายหนุ่มให้มากยิ่งขึ้น

*เพื่อน ๆ สามารถศึกษาสภาพสังคมและการเมืองในสมัยรัชกาลที่ 6 - 7 ต่อได้ในบทความนี้: การเมืองการปกครองไทยในสมัยร.6 - 7 วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

 

 

วัตถุประสงค์ในการแต่งเรื่องหัวใจชายหนุ่ม

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ได้ไปศึกษาต่อยังที่สหราชอาณาจักร และทรงศึกษาอยู่ที่อังกฤษเป็นระยะเวลานานกว่า 9 ปี ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงเข้าใจความแตกต่างของวัฒนธรรมไทยและตะวันตกเป็นอย่างดี นอกจากนี้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ประเทศไทยก็มีการเปิดประเทศมากขึ้น ทำให้มีนักเรียนไทยไปศึกษา ณ ต่างประเทศเป็นจำนวนมาก และเมื่อ ‘นักเรียนนอก’ เหล่านี้กลับมายังประเทศไทยจึงรู้สึกไม่สะดวกไม่สบายกับความ ‘อันศิวิไลซ์’ หรือความไม่เจริญของประเทศไทย สภาพแวดล้อมทางสังคมเหล่านี้ทำให้นวนิยายเรื่อง ‘หัวใจชายหนุ่ม’ ถือกำเนิดขึ้น โดยวัตถุประสงค์ในการแต่งมีดังนี้

๑. เพื่อสะท้อนให้ผู้อ่านเห็นภาพสังคมไทยในขณะนั้น

๒. เพื่อสะท้อนมุมมองความรู้สึกนึกคิดของคนรุ่นใหม่ (นักเรียนนอก) ที่มีต่อวัฒนธรรมและสังคมไทยในด้านต่าง ๆ

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวยังสอดแทรก “ความเห็นส่วนพระองค์” ในกรณีต่าง ๆ ลงไปในนวนิยายเรื่องนี้ด้วย โดยเฉพาะแนวคิดเกี่ยวกับการรับเอาวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับใช้ในสังคมไทย ยกตัวอย่างเช่นเรื่องธรรมเนียม ‘ผัวเดียวเมียเดียว’ ซึ่งปกติชายไทยสมัยก่อน ๆ จะนิยมมีภรรยาหลายคน แต่เมื่อมีการรับแนวคิดแบบคู่สมรสคนเดียว (Monogamy) มาปรับใช้ในไทยมากขึ้นและไม่ค่อยประสบความสำเร็จ พระองค์ก็แสดงความเห็นผ่านตัวละคร ‘ประพันธ์’ ไว้ว่า 

“แม้ผู้ที่ได้ไปเรียนยุโรปกลับมาก็มามีเมียมาก ๆ เหมือนกัน, เพราะฉะนั้นจะหวังความเปลี่ยนแปลงจากคนพวกที่เรียกว่า “หัวนอก” อย่างไรได้… ฉะนั้นจะมีที่หวังอยู่ก็แต่ที่ตัวผู้หญิงเองเท่านั้น; ถ้าเมื่อไรผู้หญิงไทยที่ดี ๆ พร้อมใจกันตั้งกติกาไม่ยอมเป็นเมียคนที่เลี้ยงดูผู้หญิงไว้อย่างเลี้ยงไก่เป็นฝูง ๆ เท่านั้นแหละ, ผู้ชายพวกมักมากในกามจึงจะต้องกลับความคิด และเปลี่ยนความประพฤติ” 

ซึ่งเพื่อน ๆ สามารถลองขบคิดตามไปได้ว่าแนวคิดและความเห็นเหล่านี้ ‘เข้าท่า’ หรือไม่ เหมาะสมกับยุคสมัยนั้นและสมัยปัจจุบันอย่างไร รับรองว่าการอ่านและคิดตามไปแบบนี้จะทำให้การอ่านหัวใจชายหนุ่มมีอรรถรสขึ้นอีกมาก

 

 

ตัวละครในเรื่องหัวใจชายหนุ่ม

นอกจากจะใช้สถานที่ที่มีอยู่จริงในการดำเนินเรื่อง อย่างเช่น โรงหนังพัฒนากร บ้านที่ถนนสี่พระยา โรงแรมแถวบางรัก และบ้านที่ราชประสงค์ของอุไร ตัวละครแต่ละตัวในเรื่องหัวใจชายหนุ่มก็มีมิติดูสมจริง มีลักษณะเฉพาะตัว และเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมรูปแบบต่าง ๆ ได้ดี

ข้อใดคือความหมายของ หัวใจ” ในเรื่องหัวใจชายหนุ่ม
โรงหนังพัฒนากร ขอบคุณรูปภาพจาก เฮียเซ้งเล่าเรื่อง

นายประพันธ์ ประยูรสิริ: หนุ่มไทยดีกรีนักเรียนนอกจากอังกฤษที่เดินทางกลับไทย ต่อมาได้เข้ารับราชการในกรมพานิชย์และสถิติพยากรณ์และได้เลื่อนขั้นเป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์ ประพันธ์เป็นคน ‘หัวนอก’ คือมีความคิดก้าวหน้าอย่างคนหนุ่ม และด้วยความที่เพิ่งกลับจากเมืองนอก จดหมายของประพันธ์จะติดการใช้สแลงและคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษอยู่เสมอ ๆ

นายประเสริฐ  สุวัฒน์: เพื่อนของนายประพันธ์ที่ยังศึกษาอยู่ที่อังกฤษ 

ลิลี่: คนรักชาวอังกฤษของประพันธ์

กิมเน้ย: หญิงสาวเชื้อสายไทยจีน ลูกสาวของอากรเพ้ง โดยพ่อของประพันธ์หวังจะให้กิมเน้ยหมั้นหมายกับประพันธ์ แต่ประพันธ์ไม่ค่อยชอบกิมเน้ยนัก เพราะเธอใส่เครื่องเพชรรุงรัง และมีหน้าตาแบบสาวหมวย (ประพันธ์กล่าวว่าหน้าตาเจ้าหล่อนเหมือนนางซุนฮูหยิน) และประพันธ์ก็ไม่ชอบการคลุมถุงชนแบบธรรมเนียมโบราณของไทย จึงไม่ยอมรับการแต่งงานครั้งนี้เด็ดขาด

ข้อใดคือความหมายของ หัวใจ” ในเรื่องหัวใจชายหนุ่ม
นางซุนฮูหยิน ขอบคุณรูปภาพจาก members.shaw.ca

อุไร พรรณโสภณ: สาวฮอตประจำเมืองลูกสาวของคุณพระพินิฐพัฒนากร อุไรเป็นคนสวยและเป็นผู้หญิงอย่างสมัยใหม่ ได้รับการศึกษา อ่านเขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ ด้วยเหตุนี้เธอจึงเป็นที่หมายปองของชายหนุ่มมากหน้าหลายตา และขึ้นชื่อว่าเป็น ‘โรงเรียนฝึกหัดเจ้าชู้’

พระยาตระเวนนคร: เสือผู้หญิงและเพลย์บอยประจำเมือง เป็นคนมีฐานะร่ำรวยและมีชื่อเสียง พระยาตระเวนนครถือเป็นตัวแทนของความนิยม “มีเมียคราวละมาก ๆ” เพราะมีเมียอยู่แล้วถึง 7 คนก่อนที่จะมาพบกับอุไร 

หลวงพิเศษผลพานิช: พ่อค้าซึ่งมีฐานะดี แม้จะบุคลิกลักษณะไม่ดีนักแต่ก็มีจิตใจที่ดีและได้แต่งงานกับอุไรในภายหลัง

ศรีสมาน: หญิงสาวผู้เป็นความรักครั้งใหม่ของประพันธ์ ศรีสมานเป็นลูกสาวของพระยาพิสิฐเสวก ซึ่งสนิทสนมกับพ่อแม่และครอบครัวประพันธ์อยู่แล้ว การแต่งงานครั้งใหม่ของประพันธ์จึงดูราบรื่นสดใสมาก

 

 

เรื่องย่อของหัวใจชายหนุ่ม

นายประพันธ์ ประยูรสิริ เป็นหนุ่มไทยที่เดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาก็เดินทางกลับประเทศไทยโดยทางเรือ ขณะเดินทางก็เขียนจดหมายถึงนายประเสริฐ  สุวัฒน์ เพื่อนสนิทที่ยังคงศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ประพันธ์เขียนเล่าเรื่องราวเมื่อกลับมาถึงเมืองไทยโดยผ่านจดหมาย 18 ฉบับ ด้วยการระบายความรู้สึกที่คิดถึงประเทศอังกฤษและคนรักชาวอังกฤษที่ชื่อลิลี่

การเดินทางกลับเมืองไทยในครั้งนี้ ประพันธ์ต้องเข้ารับราชการด้วยการฝากเข้าตามเส้นสายซึ่งเขาไม่ชอบ แต่เขาก็ไม่สามารถหางานทำเองได้และพ่อได้เตรียมหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ชื่อแม่กิมเน้ย ซึ่งประพันธ์ไม่ประทับใจ ด้วยเห็นว่าแม่กิมเน้ยหน้าตาเหมือนนางซุนฮูหยิน สวมเครื่องประดับมากเกินไป ดูพะรุงพะรังราวต้นคริสต์มาส และที่สำคัญประพันธ์ไม่ชอบการแต่งงานแบบคลุมถุงชน

นอกจากนี้ประพันธ์ไม่มีความสุขเพราะเมืองไทยไม่มีสถานเริงรมย์ให้เลือกเที่ยวมากมายเหมือนที่อังกฤษ แต่เขาเริ่มมีความสุขเพลิดเพลินขึ้นมาอีกครั้งเมื่อได้รู้จักกับหญิงชื่อ อุไร สาวงามที่มีความทันสมัยไม่ต่างจากสาวฝรั่ง ประพันธ์และอุไรคบหากันอย่างสนิทสนมและออกเที่ยวเตร่ด้วยกันจนทำให้อุไรเกิดตั้งครรภ์ พ่อของประพันธ์ต้องจัดการแต่งงานทั้ง ๆ ที่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก หลังจากแต่งงานอุไรยังชอบเที่ยวเตร่และใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยจนทั้งสองมีปากเสียงกัน ทำให้อุไรหันไปคบกับชายคนใหม่ชื่อ พระยาตระเวนนครทั้ง ๆ ที่เขามีภรรยาแล้วถึง 7 คน ในที่สุดประพันธ์และอุไรก็ต้องหย่าขาดกัน

เมื่อประพันธ์ได้เลื่อนยศเป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์ อุไรจึงได้กลับมาขอคืนดีเพราะพระยาตระเวนนครมีภรรยาสาวคนใหม่จึงขอบ้านที่เธออยู่คืน แต่ประพันธ์ไม่ใจอ่อนและแนะนำให้เธอกลับไปอยู่บ้านพ่อ ไม่นานอุไรก็แต่งงานใหม่กับหลวงพิเศษผลพานิชพ่อค้าที่มีฐานะดี ทำให้ประพันธ์รู้สึกโล่งใจเป็นอย่างมาก ต่อมาประพันธ์ได้พบกับหญิงสาวคนหนึ่งชื่อ ศรีสมาน และรู้สึกพึงใจในตัวเธอมาก ทั้งนี้ผู้ใหญ่สองฝ่ายก็ชอบพอกัน ประพันธ์จึงหวังว่าจะแต่งงานครองคู่อยู่กับศรีสมานอย่างมีความสุขยั่งยืนในอนาคต

 

 

สรุปหัวใจชายหนุ่ม: ไทม์ไลน์และเนื้อหาหลักของจดหมายทั้ง 18 ฉบับ

หลังจากอ่านเรื่องย่อกันไปคร่าว ๆ แล้ว ทุกอย่างก็ดูง่ายและลงตัวมาก ๆ เพราะนวนิยายเรื่องหัวใจชายหนุ่มมีเส้นเรื่องที่เดาง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ก็ยังมีความสนุกสนานตรึงใจผู้อ่านได้อยู่ ก่อนจากกันไป StartDee จะมาสรุปประเด็นต่าง ๆ ในจดหมายแต่ละฉบับให้เพื่อน ๆ ได้อ่านกันอีกครั้ง

ฉบับที่ 1: ประพันธ์เขียนจดหมายกลางทะเล อาลัยอาวรณ์ถึงเพื่อน คนรัก และความเจริญต่าง ๆ ที่เคยได้รับเมื่อตอนศึกษาอยู่ ณ ต่างประเทศ

ฉบับที่ 4: เรื่องราวอนาคตที่ทางบ้านวางไว้ให้ ทั้งการใช้เส้นสายเพื่อเข้ารับราชการ และการแต่งงานแบบคลุมถุงชน (ประพันธ์เบื่อเมืองไทยมาก)

ฉบับที่ 5:ประพันธ์เข้ารับราชการ ได้ดูตัวกิมเน้ยแต่ก็รู้สึกเฉย ๆ และได้รู้จัก ‘อุไร’ หญิงสาวผู้ทำให้การอยู่เมืองไทยเป็นเรื่องเพลิดเพลินสำหรับประพันธ์

ฉบับที่ 6: ประพันธ์พัฒนาความสัมพันธ์กับอุไรโดยมีประไพ (น้องสาว) เป็นแม่สื่อ

ฉบับที่ 9: ประพันธ์แต่งงานกับอุไรและได้ไปฮันนีมูนกันที่หัวหิน 

ฉบับที่ 11: ชีวิตคู่ของประพันธ์เริ่มไม่ราบรื่น กลับจากฮันนีมูน ย้ายเข้าเข้าบ้านใหม่ แต่ก็ไร้ซึ่งความสุข 

ฉบับที่ 12: อุไรแท้งลูกและเมื่อหายดีก็เริ่มมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปเหมือนมีคนอื่น เริ่มเห็นนิสัยที่แท้จริง เช่น ความเอาแต่ใจ การใช้จ่ายที่สิ้นเปลือง เมื่อได้ข่าวแน่นอนว่าอุไรคบหาอยู่กับพระยาตระเวนนคร ประพันธ์และอุไรจึงหย่ากัน

ฉบับที่ 13: ประพันธ์เป็นห่วงว่าอุไรจะเป็นเพียงของเล่นชั่วคราวของพระยาตระเวนนคร ส่วนตัวประพันธ์เองก็มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานขึ้นเรื่อย ๆ (มีการกล่าวถึงกรมเสือป่าที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นผู้ก่อตั้งด้วย)

ฉบับที่ 15: ความสัมพันธ์ของอุไรและพระยาตระเวนนครเริ่มระหองระแหงเพราะพระยาตระเวนนครมีผู้หญิงคนใหม่ ประพันธ์แสดงความไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับวัฒนธรรมการ ‘มีเมียครั้งละมาก ๆ’ ของพระยาตระเวนนคร

ฉบับที่ 17: พระยาตระเวนนครไล่อุไรออกจากบ้านเพราะต้องการบ้านให้ภรรยาคนใหม่ อุไรจึงมาขอคืนดีกับประพันธ์แต่ไม่สำเร็จ จึงกลับไปอยู่กับพ่อ

ฉบับที่ 18: ตอนจบแบบแฮปปี้ อุไรแต่งงานใหม่กับหลวงพิเศษผลพานิชซึ่งเป็นพ่อค้าร่ำรวย ส่วนประพันธ์พบรักกับนางสาวศรีสมาน และวางแผนจะแต่งงานกันในอนาคต

 

 

รู้หรือไม่: เรื่องราวของสำนวนต่างประเทศใน ‘หัวใจชายหนุ่ม’

นอกจากคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศที่พบได้เยอะมากในเรื่องหัวใจชายหนุ่ม สำนวนต่างประเทศที่ใช้ในเรื่องก็น่าสนใจไม่แพ้กัน โดยสำนวนที่น่าสนใจในเรื่อง ได้แก่

หัวใจของชายหนุ่มหมายถึงข้อใด

หัวใจชายหนุ่ม หมายถึง ความรู้สึก ความคิด ทัศนะและอารมณ์ของคนวัยหนุ่ม เมื่อ ผ่านพ้นวัยนี้ไปแล้วจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา สิ่งที่ควรปฏิบัติและศึกษาเพิ่มเติม ๑. การสรุปเรื่องหัวใจชายหนุ่มจากจดหมายทั้ง ๑๘ ฉบับ ๒. สังเกตรูปแบบการเขียนจดหมาย การใช้คำขึ้นต้น,คำลงท้ายของจดหมายและรวบรวมนวนิยายที่เขียนในรูปแบบจดหมาย

หัวใจชายหนุ่มสะท้อนแนวคิดเรื่องใด

คุณค่าด้านแนวคิด เรื่องหัวใจชายหนุ่มมุ่งเสนอให้ผู้อ่านเห็นว่า นักเรียนนอกในสมัยนั้นเป็นผู้นำ "แฟแช่น" อย่างสุดโต่ง เมื่อปฏิบัติไปแล้วผิดพลาดก็ค้นพบตัวเองว่าต้องหาทางเลือกใหม่ที่เหมาะสม ทำให้ได้คิดว่า เราควรรับและปรับใช้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย

ผู้แต่ง เรื่องหัวใจชายหนุ่มคือข้อใด

2. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง หัวใจชายหนุ่ม โดยมีพระประสงค์ อย่างไร ก. เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในวารสารข้าราชการ ข. เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต

ชายหนุ่ม” หมายถึงข้อใด

(n) young man, See also: youth, young male, lad, Syn. ผู้ชาย, หนุ่มน้อย, หนุ่ม, บุรุษ, Ant. หญิงสาว, Example: ชายหนุ่มคนใดอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ควรบวชพระ เพื่อทดแทนพระคุณพ่อและแม่, Count Unit: คน, Thai Definition: ชายที่อยู่ในวัยทำงาน