การสร้าง งาน ทัศน ศิลป์ มี จุด มุ่งหมาย หลัก ๆ อะไร บาง

หมายถึง การนำเสนอสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ในทางศิลปะสามารถกระทำโดยการนำวิธีจัดรูปแบบองค์ประกอบศิลปะโดยใช้ทัศนะธาตุ เช่น เส้น สี น้ำหนัก พื้นผิว รูปร่าง รูปทรง เป็นสื่อในการถ่ายทอด และผ่านเทคนิคต่าง ๆ ในทางจิตรกรรมอาจใช้ ดินสอสี สีน้ำมัน สีน้ำ สีอะครายลิค สีฝุ่น หรือเทคนิคผสม เป็นต้น

กระบวนการสร้างสรรค์ สามารถแสดงออกได้หลายวิธีการดังนี้

  1. การสร้างสรรค์แบบรูปธรรม (Realistic)
  2. การสร้างสรรค์กึ่งนามธรรม (Semi Abstract)
  3. การสร้างสรรค์นามธรรม (Abstract)

เช่นในงานศิลปะในแนวImpressionism, Neo-Impressionism,และ Abstract เป็นต้น

แหล่งที่มาของความคิดสร้างสรรค์

ตัวอย่างความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะอาจมีที่มาจากแรงบันดาลใจ ดังนี้

  1. การเดินทางเยี่ยมชม ธรรมชาติ พิพิธภัณฑ์ทางศิลปะ งานแสดงศิลปะ ฯลฯ
  2. การอ่านหนังสือ นิตยสาร วารสาร วรรณกรรม วรรณคดี
  3. การแสดงพื้นบ้านในเทศกาลต่าง ๆ
  4. การศึกษาขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรม ศาสนา
  5. การฟังดนตรี นกร้อง สัตว์ และแมลงต่าง (ศึกษาเรื่องเสียง)
  6. การศึกษาเรื่องทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หลักฟิสิกส์
  7. สังเกตจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฝนตก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า รุ้งกินน้ำ ฯลฯ ทำเป็นงานศิลปะ
  8. เดินทางทุก ๆ 1 กิโลเมตร บันทึกเป็นงานศิลปะ
  9. ผูกกล้องติดขา เดินไปข้างหน้า กดชัตเตอร์ทุก 10 ก้าว แล้วนำมาสร้างเป็นงานศิลปะ
  10. ทำงานศิลปะเกี่ยวกับเวลา
  11. ทำงานเกี่ยวกับแสง หรือบางทีอาจนำแสงและเสียงมาประกอบเข้ากันสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะ
  12. ทำงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับความเป็นตรงกันข้าม เช่น ทำโดยใช้สิ่งที่ตัวเราเองเกลียดที่สุด สีที่ไม่เคยใช้ ทำสิ่งที่ทุกคนเกลียด เห็นคุณค่าในสิ่งที่ไร้คุณค่า เช่น นำวัสดุเหลือใช้ฟุ่มเฟือยมาสร้างเป็นงานศิลปะ
  13. ศึกษาเรื่องลม และความรู้สึกทุก 20 นาที แล้วนำมาสร้างสรรค์
  14. ทำงานศิลปะเกี่ยวกับที่ว่าง
  15. ทำงานศิลปะเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง ความสมดุลย์
  16. การล่องเรือ ดำน้ำ ว่ายน้ำ ชมปะการัง
  17. ดูภาพยนตร์ ทีวี วีดีโอ
  18. ปรากฏการณ์จากความฝันนำมาสร้างงานทางศิลปะ
  19. นั่งสมาธิ เดินจงกรมทุก 10 นาทีแล้วนำมาสร้างสรรค์
  20. สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดกับคนหลากหลายอาชีพ แล้วนำมาสร้างงานศิลปะ
  21. ศึกษาเรื่องรสแล้วนำมาเป็นงานศิลปะ
  22. ศึกษาเรื่องกลิ่น แล้วนำมาเป็นงานศิลปะ
  23. เล่าประสบการณ์แลกเปลี่ยนกับเพื่อนศิลปินแล้วนำมาทำเป็นงานศิลปะ
  24. คิดถึงเพื่อนที่สนิทที่สุดนำมาทำเป็นงานศิลปะ

25.   หลับตา ลืมตาทุก 5 นาที แล้วนำมาทำเป็นงานศิลปะ

26.   นำเอาความสะเทือนใจในช่วงชีวิตมาสร้างสรรค์ เช่น ความรัก ความโกรธ ความสูญเสีย ความตาย เป็นต้น

27. การฟังธรรมะแล้วนำมาทำงานศิลปะ

28. จ้องมองท้องฟ้าดูกลุ่มก้อนเมฆที่เคลื่อนไหว พระจันทร์ ดวงอาทิตย์ ฯ

วิธีการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ

โดยปกติกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะนั้น ส่วนใหญ่ศิลปินจะเริ่มจากกระบวนการคิดและปฏิบัติตามขั้นตอน ดังนี้

  1. วางกรอบแนวทางจากความคิดรวบยอด(concept)ในการสร้างสรรค์จากสิ่งที่ประทับใจ แรงบันดาลใจ(Inspiration) จากเนื้อหาดังกล่าวข้างต้น เพียง 1 ประเด็น (จากแหล่งที่มาของความคิดสร้างสรรค์)
  2. ศึกษา ค้นคว้า ทำวิจัย(research)หรือจากผลงานของศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ
  3. พยายามสรุปประเด็นทำงานออกมากเป็นลักษณะตัวเองโดยการทดลองเทคนิคที่จะใช้ในการสร้างสรรค์โดย ทำซ้ำ เปลี่ยนแปลงรูปแบบ อาจนำกล้องดิจิตอล คอมพิวเตอร์ มาช่วยในการ สะเก็ด(Sketch)จนได้ผลเป็นที่พอใจ แล้วนำไปเป็นกลวิธี( Technique)ที่พึงพอใจที่สุดไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นนั้นๆ
  4. คัดเลือกและสร้างสรรค์ผลงานที่มีลักษณะ เฉพาะตน ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ เช่น ชุด(Series) ละ 10 ชิ้น 20 ชิ้น และ
  5. เริ่มโครงการใหม่(New Project)ใหม่ โดยนำวิธีการสร้างสรรค์จากข้อ 1-4 มาปฏิบัติและต้องสำนึกอยู่เสมอว่าผลงานที่เกิดจากกระบวนการสร้างสรรค์นั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงและพัฒนารูปแบบที่นำไปสู่สิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ

การพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอก็ต่อเมื่อศิลปินเปิดใจกว้างโดยยอมรับให้อิทธิพลของสิ่งเร้าจากบริบทต่าง ๆ ตลอดจนรูปแบบ (Style) ของศิลปินท่านอื่น ๆ เข้ามามีบทบาทร่วมในการแสดงออกทั้งทางด้านความคิดและแรงบันดาลใจในผลงานแต่ละชิ้นของตนเองบ้าง เพื่อให้เกิดผลในด้านพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ สิ่งสำคัญที่สุดคือการสร้างสรรค์ผลงานแต่ละครั้งนั้น ศิลปินจะต้องมีสิ่งเร้าที่เกิดขึ้นจากความต้องการภายในจิตใจของศิลปินเอง (Intrinsic Value)

ที่มา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คเณศ ศีลสัตย์

จากเว็บไซต์ fa.kku.ac.th/th2/e-Learning/word/kanad01.doc

หลักการสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์

การสร้าง งาน ทัศน ศิลป์ มี จุด มุ่งหมาย หลัก ๆ อะไร บาง

หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์มีสิ่งที่ควรคำนึง ดังนี้

– เอกภาพ

– สมดุล                                                        – จุดเด่นและการเน้น

ความกลมกลืน

– จังหวะ

การสร้าง งาน ทัศน ศิลป์ มี จุด มุ่งหมาย หลัก ๆ อะไร บาง
การสร้าง งาน ทัศน ศิลป์ มี จุด มุ่งหมาย หลัก ๆ อะไร บาง

เอกภาพ หมายถึง การรวมกันเป็นกลุ่มก้อน ไม่แตกแยกกระจัดกระจายไปคนละทิศทางทำให้ขาดประสานสัมพันธ์กัน งานทัศนศิลป์ที่ขาดเอกภาพจะทำให้ขากการจูงใจในการคิด ขาดความสนใจ ขาดจุดเด่น เกิดความสับสนในความหมาย งานทัศนศิลป์ควนนำเสนอเรื่องราว แนวความคิด จุดสนใจเพียงหนึ่งเดียว โดยมีส่วนประกอบอื่นมาช่วยสนับสนุนให้จุดเด่นที่ต้องการน่าสนใจขึ้นมา ดังนั้นในงานทัศนศิลป์ผู้สร้างงานต้องอาศัยจุดมุ่งหมายไว้ให้แน่นอนว่าจะเสนอเนื้อหาในแนวใด

การสร้าง งาน ทัศน ศิลป์ มี จุด มุ่งหมาย หลัก ๆ อะไร บาง
การสร้าง งาน ทัศน ศิลป์ มี จุด มุ่งหมาย หลัก ๆ อะไร บาง

เทคนิค Collograph

ผลงานอาจารย์ชะลูด นิ่มเสมอ

– สมดุล หมายถึง การจัดวางองค์ประกอบศิลป์ให้มีความเหมาะสมไม่เอียงเอนไปข้างใดข้างหนึ่งของภาพ สมดุลมี 2 แบบ คือ

สมดุลแบบซ้าย-ขวาเท่ากัน เป็นลักษณะการจัดวางองค์ประกอบศิลป์ที่ยึดถือความเหมือนกันทุกประการทั้ง 2 ข้าง เช่น ความสมดุลของร่างกายมนุษย์ เป็นต้น

การสร้าง งาน ทัศน ศิลป์ มี จุด มุ่งหมาย หลัก ๆ อะไร บาง

การจัดภาพแบบ สมดุลแบบซ้าย-ขวาเท่ากัน

ผลงาน ชุด “ธรรมปรัญา : เทวานุภาพ”

โดย สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์

สมดุลแบบซ้าย-ขวาไม่เท่ากัน เป็นสมดุลทางความรู้สึกในการมองเห็น โดยที่วัตถุหรือเนื้อหาในภาพไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน

การสร้าง งาน ทัศน ศิลป์ มี จุด มุ่งหมาย หลัก ๆ อะไร บาง

การจัดภาพแบบ สมดุลแบบซ้าย-ขวาไม่เท่ากัน

– จุดเด่นและการเน้น หมายถึง ส่วนสำคัญที่สุดของภาพที่ต้องการแสดง ซึ่งนำไปสู่การบอกเล่าเนื้อหาทั้งหมดของภาพหรือเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจให้มอง ในทางทัศนศิลป์จุดสนใจควรมีจุดเดียว ซึ่งอาจจะเป็นส่วนที่แสดงความสำคัญหรือมีสีสันสดใสที่สุด นอกจากนั้นยังอาจเน้นให้เกิดจุดเด่นด้วยการสร้างความแตกต่างขึ้นในภาพ จุดเด่นไม่จำเป็นต้องอยู่กลางภาพเสมอไป อาจจะอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพก็ได้

การสร้าง งาน ทัศน ศิลป์ มี จุด มุ่งหมาย หลัก ๆ อะไร บาง

จุดเด่นและการเน้น

– ความกลมกลืน เป็นสิ่งสำคัญสุดท้ายของการจัดองค์ประกอบศิลป์ ซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราะความกลมกลืนจะทำให้ภาพงดงาม และนำไปสู่เนื้อหาเรื่องราวที่นำมาเสนอ ความกลมกลืนมี 2 แบบ คือ

-ความกลมกลืนแบบคล้อยตามกัน
-ความกลมกลืนแบบขัดแย้ง

การสร้าง งาน ทัศน ศิลป์ มี จุด มุ่งหมาย หลัก ๆ อะไร บาง

ความกลมกลืนแบบคล้อยตามกัน

การสร้าง งาน ทัศน ศิลป์ มี จุด มุ่งหมาย หลัก ๆ อะไร บาง
การสร้าง งาน ทัศน ศิลป์ มี จุด มุ่งหมาย หลัก ๆ อะไร บาง

ความกลมกลืนแบบขัดแย้ง

ผลงานเทคนิค แม่พิมพ์โลหะ โดย พิษณุ ศุภนิมิตร (คศ.1979)

– จังหวะในทางศิลปะ หมายถึง การจัดภาพลักษณะการซ้ำที่เป็นระเบียบ ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่องของเส้น น้ำหนัก สี และรูปทรง ประกอบเข้าด้วยกันจนเกิดเป็นจุดสนใจ

การสร้าง งาน ทัศน ศิลป์ มี จุด มุ่งหมาย หลัก ๆ อะไร บาง

การจัดวางจังหวะของสีและรูปทรง

ผลงาน เทคนิค สีน้ำมัน โดย สุรศักดิ์ เจริญวงศ์ (1980)

การสร้าง งาน ทัศน ศิลป์ มี จุด มุ่งหมาย หลัก ๆ อะไร บาง