เป้าหมายที่สําคัญของการผลิตหรือการบริการ คืออะไร

การวางแผนการผลิตเป็นขั้นตอนการออกแบบระบบที่สำคัญ ในพัฒนาทั้งกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการให้ตอบสนองการผลิตให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่การผลิตไปจนสินค้าถึงมือลูกค้าตามเวลาที่กำหนด ซึ่งการออกแบบระบบสำหรับการวางแผนการผลิตในโรงงาน สามารถทำได้หลายรูปแบบตั้งแต่การใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวางแผน หรือจะเลือกใช้ซอฟต์แวร์เฉพาะทางก็ได้

การวางแผนการผลิตคืออะไร?

การวางแผนการผลิต คือการนำปัจจัยทางด้านการผลิต มาจัดระเบียบขั้นตอนการทำงานให้การผลิตบรรลุเป้าตามที่ความต้องการของท้องตลาด ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ แรงงาน, วัตถุดิบ, เครื่องจักร, และกระบวนการผลิต หรือเรียกอีกอย่างว่า 4M (Man, Material, Machine, Method)

โดยผู้ผลิตจะเริ่มประเมินสถานการณ์ในตลาดนั้นๆ เพื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุดก่อนเริ่มดำเนินการวางแผนการผลิตในขั้นตอนถัดมา ซึ่งการวางแผนในระบบนี้ จะถูกแบ่งเป็น 2 แบบ

1. การวางแผนการผลิตระยะยาว

แผนการผลิตนี้จะถูกนำมาใช้เมื่อเกิดการลงทุน และใช้ระยะเวลาการผลิตตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ซึ่งจุดหมายของแบบแผนจะเน้นการเพิ่มกำลังการผลิต และการขยายกิจการ ดังนั้นการวางแผนการผลิตระยะยาวจึงถูกออกแบบให้รองรับการเติบโตของธุรกิจ และอุตสาหกรรมในอนาคต เช่น การวางแผนการสร้างหรือการขยายโรงงาน เป็นต้น

2. การวางแผนการผลิตระยะสั้น

แผนการผลิตระยะสั้น เหมาะกับการคำนวณกำลังการผลิตที่มีเป้าหมายชัดเจน หากคุณต้องการกำหนดการผลิตประจำสัปดาห์ หรือการผลิตประจำไตรมาส รูปแบบการวางแผนการผลิตนี้จึงเหมาะสมเป็นอย่างมาก โดยคุณสามารถใช้วางแผนการผลิตตามช่วงต่างๆ ได้ภายใน 12 เดือน

ieProsoft โซลูชั่นครบวงจรด้านการบริหารการผลิตในอุตสาหกรรม

บริษัท ไออี บิสซิเนส โซลูชั่น จำกัด (IEBS) เป็นผู้ให้บริการระบบซอฟแวร์ทางด้านการจัดการอุตสาหกรรม การวางแผนการผลิตโดยลงลึกไปจนถึงการจัดตารางการผลิต มาตรฐานการการทำงาน การจัดสมดุลการผลิต รวมไปถึงการบริหารจัดการคลังสินค้า ครอบคุลมการบริการในด้านต่างๆที่สำคัญต่อการนำระบบไปใช้ในภาคธุรกิจ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ดูแลตั้งแต่การติดตั้ง การให้ปรึกษา การนำไปใช้งานจริง (Implementation) รวมถึงการวิเคราะห์ผลลัพธ์ต่างๆ เราสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ยุค ดิจิทัล ด้วยเครื่องมือในกลุ่ม ieProsoft อาทิเช่น ieSmart WI, ieLineBalancing, ieInventory และ ieInventory ซึ่งซอฟแวร์ทั้งหมดนี้ เป็นตัวช่วยให้สามารถบริหารการจัดการผลิตได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มกำไรให้บริษัทได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบัน IEBS มีการให้บริการซอฟแวร์ทั้งแบบบริการผ่านซอฟต์แวร์แบบ สแตนด์อโลน (Stand-alone Software) ไปจนถึงชุดซอฟต์แวร์เต็มรูปแบบ (Full-Blown) แบบคลาวด์โซลูชั่น (Cloud Solution) ได้แก่

  • ieSmart WI

    : โปรแกรมสร้างมาตรฐานการทำงาน ที่ช่วยให้การสร้างงานฐานในโรงงานง่ายขึ้น เวลาได้มาตรฐานที่ชัดเจน สะดวก และเป็นองค์ความรู้สำหรับองค์กรได้เป็นอย่างดี

เป้าหมายที่สําคัญของการผลิตหรือการบริการ คืออะไร

  • ieLineBalancing

    : โปรแกรมจัดสมดุลสายการผลิต เหมาะสำหรับวิศวกร หรือเจ้าหน้าที่วางแผนการผลิตใช้ในการจัดวางแผนสายการผลิต ภายใต้ความต้องการที่ไม่แน่นอน และกำลังคนที่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา

เป้าหมายที่สําคัญของการผลิตหรือการบริการ คืออะไร

  • ieInventory

    : โปรแกรมจัดการคลังสินค้า ที่ช่วยให้การบริหารคลังในระดับอุตสาหกรรมเป็นเรื่องที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก ผ่านแฟลตฟอร์มออนไลน์ด้วยฐานข้อมูลบนคลาวด์

เป้าหมายที่สําคัญของการผลิตหรือการบริการ คืออะไร

  • ieScheduling

โปรแกรมจัดตารางการผลิต เครื่องมือช่วยในการจัดการผลิตในระดับปฎิบัติการ ควบคุม และติดตามงานแบบทันเวลา (Realtime) และประเมินกำลังการผลิตได้รวดเร็ว

สินค้าเกิดขึ้นได้จะต้องมีการผลิต และสิ่งที่เกิดขึ้นเบื้องหลังการผลิตนั้นคือการพัฒนาอย่างไม่หยุดหย่อน ไม่ว่าจะเป็นสินค้า เทคโนโลยี หรือ นวัตกรรมใดๆก็ตาม เรื่องราวของการพัฒนาการผลิต จึงเป็นสิ่งสำคัญในทุกวงการอุตสาหกรรม เพราะสมัยนี้ไม่ว่าจะอุตสาหกรรมไหนก็เคลื่อนตัวเองเป็นอุตสาหกรรม 4.0 กันหมดแล้ว

ซึ่งในช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งจากโรคระบาดและการ Disruption จากเทคโนโลยีนั่นเอง ที่เป็นโอกาสสำคัญให้ผู้ประกอบการหลายคนตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราจะมีการพัฒนาการผลิตอย่างไรดี เพื่อในวันที่วิกฤตผ่านพ้นและเรามีกำลังมากพอที่จะกลับมา สิ่งแรกที่เราทำได้จะเป็นหนทางที่นำพาให้เราก้าวเข้าสู่เป้าหมายในอนาคต

อ่านตามหัวข้อ

  • การพัฒนาการผลิต สิ่งที่ขาดไม่ได้ในทุกอุตสาหกรรม
  • แนวทางการพัฒนาการผลิตในปัจจุบัน
  • สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปและการผลิตที่เปลี่ยนแปลง
  • สรุป

การพัฒนาการผลิต สิ่งที่ขาดไม่ได้ในทุกอุตสาหกรรม

หลายคนอาจคุ้นหูกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D) เพื่อการผลิตสิ่งใหม่ๆ ออกมาสู่ตลาด แต่มักไม่ค่อยได้ยินเรื่องราวของการพัฒนาการผลิตเท่าใดนัก ซึ่งแท้จริงแล้วเรื่องดังกล่าวก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะในวันที่คุณต้องการขายผลงานจำนวนมากๆ และทุกผลงานจะต้องมีคุณภาพเท่ากัน

การพัฒนาการผลิต คือการผลักดันประสิทธิภาพ (Efficiency) และผลิตภาพ (Productivity) ในการผลิตให้สูงขึ้น ในทุกๆ แง่มุม ทั้งคุณภาพการผลิต ความเร็วในการผลิต ไปจนถึงความซับซ้อนในการผลิต เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งตัวของการพัฒนาการผลิตนั้นต้องรองรับการผลิตที่แตกต่างกันไปตามโรงงานด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น

  • ปริมาณของการผลิต 
  • ชนิดของการผลิต 
  • ลักษณะสินค้าที่ต้องผลิต 
  • ความหลากหลายและซับซ้อนของการผลิต 
  • ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ 

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าตอนไหนต้องการการพัฒนาการผลิต แล้วการพัฒนาการผลิตจำเป็นแค่ไหน เราสามารถสังเกตได้ด้วยการ “ดูมาตรฐานการผลิต” และเปรียบเทียบการดำเนินการตามมาตรฐานปัจจุบันกับตัวแปรอื่นๆ เช่น มาตรฐานโรงงานคู่แข่งที่ใกล้เคียงกัน มาตรฐานของโรงงานตนเองในอดีต หรือ มาตรฐานที่โรงงานได้วางแผนไว้ก่อนดำเนินการผลิต โดยตัวแปรที่ควรให้ความสำคัญลำดับต้นๆ คือ

  • การผลิตเพียงพอต่อความต้องการหรือไม่
  • สิ่งที่ผลิตออกมาได้มาตรฐานขนาดไหน
  • มีความยืดหยุ่นในการผลิตหรือไม่
  • สามารถผลิตสิ่งที่ซับซ้อนกว่าปัจจุบันหากมีความต้องการได้หรือเปล่า

แน่นอนว่าหลังจากการเปรียบเทียบ สิ่งที่ตามมาควรเป็นคำถามว่า “การผลิต ณ ปัจจุบันจะต้องพัฒนาอย่างไร จึงสามารถก้าวไปให้เหนือกว่าเดิมได้” ซึ่งผู้ที่ตัดสินใจก็คือตัวโรงงานและผู้บริหารเป็นหลัก ว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นคุ้มค่ามากแค่ไหน และเราจะทำอย่างไรให้มันเติบโตได้บ้าง โรงงานต้องการระบบหรือไม่

แนวทางการพัฒนาการผลิตในปัจจุบัน

การพัฒนาการผลิตในปัจจุบันไม่มีปัจจัยใดๆ ตายตัวอีกต่อไป เนื่องจากการผลิตในแต่ละโรงงาน แต่ละอุตสาหกรรมในตอนนี้ ถูกแยกออกจากกันเป็นปัจเจก มีข้อมูลที่แตกต่าง กลุ่มลูกค้าที่แตกต่าง รวมถึงต้นทุนที่แตกต่างกัน

แนวทางของการพัฒนาการผลิตที่ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหารและฝ่ายผลิตทำได้จริง คือการสำรวจความต้องการและปัญหาของการผลิตในปัจจุบันเสียก่อน

ซึ่งประเด็นปัญหาต่างๆ เราสามารถรู้ได้ทันทีหากมีการเก็บข้อมูลทรัพยากรการผลิตที่ดี ไม่ว่าจะจากคน เครื่องมือ เครื่องจักร หรือแม้แต่ลูกค้า ยิ่งเราควบคุมข้อมูลในมือได้ดีเท่าไหร่ มันก็จะกลายเป็นต้นทุนที่ดีมากขึ้นให้เราได้เท่านั้น ซึ่งในปัจจุบัน มีปรัชญาการผลิตและแนวคิดด้านการผลิตมากมาย ซึ่งหนึ่งในแนวคิดที่โดดเด่นและสมควรนำมาปรับใช้กับการผลิตในยุคปัจจุบันคือแนวคิดการผลิตแบบรัดกุม หรือ Lean Production

Lean Production ปรัชญาการผลิตในความรัดกุม

จะพัฒนาอย่างไรให้การผลิตดีที่สุด? ก็ต้องพัฒนาให้ยุ่งยากน้อยที่สุด

แนวการผลิตนั้นเริ่มต้นจากการสร้าง (Craft) ผลิตจำนวนมาก (Mass) มาจนถึงปัจจุบันคือการผลิตแบบเน้นคุณค่า (Lean) ว่าง่ายๆ คือทำอย่างไรให้คุ้มที่สุด

การพัฒนาการผลิตด้วยแนวคิดนี้ต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม ลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อนทั้งหมด โดยมุ่งหวังให้ต้นทุนการผลิตทั้งหมดนั้นต่ำ และมีปริมาณเทียบเท่ากับความต้องการของลูกค้า ลดการผลิตส่วนเกินให้น้อยที่สุดเพื่อความคุ้มค่าในการผลิตภายในโรงงาน

เป้าหมายที่สําคัญของการผลิตหรือการบริการ คืออะไร

ภายใต้แนวคิดแบบ Lean ทางฝ่ายการผลิตจะต้อง

  • กำจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในโรงงาน
  • ทำให้มีการพัฒนาระบบการผลิตต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
  • สินค้าทุกประเภทต้องได้มาตรฐาน
  • ทำให้เกิดการทำงานที่หลากหลายภายใต้บุคลากรและเครื่องมือที่จำกัด

แนวคิดดังกล่าวยังถูกประยุกต์ใช้ในการทำงานเชิงบริหารอีกด้วย ซึ่งแฝงอยู่ในมาตรการของบริษัทต่างๆ เช่น การลดระยะเวลาประชุม เพิ่มเวลาวางแผน จนถึงการพัฒนาชุดเครื่องมือ หรือนำเข้าโปรแกรมที่สนับสนุนการทำงานมาใช้ในบริษัท เพื่อการทำงานโดยรวมที่ดีกว่า

Lean Production เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปรัชญาการผลิตที่คนยุคใหม่ให้ความสนใจเท่านั้น ยังมีแนวคิดการผลิตอีกมาก ที่ผู้ประกอบการสามารถนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับโรงงานหรือบริษัทของตัวเองได้ 

สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปและการผลิตที่เปลี่ยนแปลง

Digital Disruption เป็นตัวแปรสำคัญทำให้เทคโนโลยีและการใช้งานระบบต่างๆ กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำธุรกิจและการผลิต ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเรื่องของการเปลี่ยนแปลงก็ถูกเร่งให้เร็วไปอีกด้วยวิกฤตโรคระบาด นั่นทำให้แนวโน้มการผลิตที่ใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาเป็นส่วนประกอบมีความสำคัญมากขึ้นไปอีก 

แนวโน้มการผลิตในอนาคตจึงกลายเป็นการพัฒนาระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีต่างๆ ให้สอดคล้องกับการผลิตในแต่ละโรงงานมากที่สุด รวมถึงการพัฒนาบุคลากรที่เชี่ยวชาญด้านระบบดังกล่าว เพื่อรองรับการผลิตรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากเดิม

อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้ผู้ประกอบการทั้งหลายอาจต้องมีการเพิ่มการรับฟังข่าวสาร เก็บข้อมูลต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และทำให้มั่นใจได้ว่าการพัฒนาการผลิตของเราจะได้ผลดีที่สุด

สรุป

จะเห็นได้ชัดว่าแนวคิดที่ถูกกล่าวถึงในการพัฒนาการผลิตปัจจุบันเน้นด้านความคุ้มค่าในการลงทุน เพื่อในหนึ่งกระบวนการผลิตเราจะสามารถผลิตงานที่คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดได้โดยไม่มีสิ่งใดเสียเปล่า ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่รู้แต่ต้นว่า อะไรคือจุดบอดในการผลิตของเรา

Enterprise Resource Planning (ERP) หรือโปรแกรมวางแผนจัดการทรัพยากรเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่เราได้พบเห็นกันทั่วไปในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีความสามารถครอบคลุมตั้งแต่การตรวจสอบข้อมูลการผลิต จัดจำหน่าย ไปจนถึงส่วนของการดูแลลูกค้า จนสามารถกล่าวได้ว่า ERP เป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนการพัฒนาการผลิตที่ดีที่สุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีการใช้งานข้อมูลมากมาย หากคุณต้องการทราบว่าระบบ ERP ประกอบไปด้วยอะไรบ้างสามารถอ่านบทความของเราได้เลย

จะดีกว่าหรือไม่หากคุณเลือกที่จะใช้โปรแกรมที่เหมาะสมกับการทำงานของคุณ ก่อนดำเนินการพัฒนาการผลิต ไม่ว่าจะแง่มุมใดก็ตาม เพื่อให้การพัฒนาของคุณนั้นตรงตามเป้าหมายที่ต้องการในท้ายที่สุด

หากคุณสนใจระบบ ERP เราพร้อมให้คำปรึกษา ปรึกษาเราได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย เราพร้อมแนะนำและคุณจะได้ระบบที่ปรับแต่งมาเพื่อโรงงานของคุณโดยเฉพาะ

แผนกิจกรรมการผลิตหรือการบริการคืออะไร

การวางแผนการผลิตเป็นขั้นตอนการออกแบบระบบที่สำคัญ ในพัฒนาทั้งกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการให้ตอบสนองการผลิตให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ตั้งแต่การผลิตไปจนสินค้าถึงมือลูกค้าตามเวลาที่กำหนด ซึ่งการออกแบบระบบสำหรับการวางแผนการผลิตในโรงงาน สามารถทำได้หลายรูปแบบตั้งแต่การใช้ผู้เชี่ยวชาญในการวางแผน หรือจะเลือกใช้ซอฟต์แวร์ ...

การผลิตสินค้าและบริการ มีอะไรบ้าง

ปัจจุบันเราสามารถแบ่งลาดับขั้นในการผลิตออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. การผลิตขั้นแรกหรือขั้นปฐมภูมิ(primary production) 2. การผลิตขั้นที่สองหรือขั้นทุติยภูมิ(secondary production) 3. การผลิตขั้นที่สามหรือขั้นตติยภูมิ(tertiary production) Page 7 Page 8 1. การผลิตขั้นแรกหรือขั้นปฐมภูมิ

การผลิตสินค้าและบริการมีความหมายว่าอย่างไร

การผลิตสินค้าและบริการ หมายถึง กระบวนการแปรสภาพปัจจัยการผลิตให้เป็นผลผลิตที่ เรียกว่าสินค้าและบริการ ซึ่งอาศัยการบริหาร การตัดสินใจเลือกวิธีการผลิตที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ ต้นทุนการผลิตที่ต่ำที่สุดและให้สินค้าที่ผลิตมีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจ และสนองตอบความ ชน ยกตัวอย่างให้ (5 คะแนน) 1. ให้นักเรียนระบุปัจจัยการผลิตและผล ...

หลักสำคัญของการบริหารการผลิตมีอะไรบ้าง

ความสำคัญของการบริหารการผลิต.
การผลิตเปลี่ยนมาเป็นการผลิตด้วยเครื่องจักร (Machanization).
ผลิตได้จำนวนมาก ๆ (Mass Products).
จัดระบบมาตราฐานการผลิต (Standardization).
การจัดช่างชำนาญเฉพาะงาน (Specialization).
การผลิตด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ (Automation).
การวิจัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Research and Development).