หน้าที่หลักของพระภิกษุคืออะไร

     พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นบรรพชิตในพระพุทธศาสนา มีหน้าที่ศึกษา ปฏิบัติธรรม  เผยแผ่คำสอน และสืบต่อพระพุทธศาสนาโดยตรง  มีคุณธรรมและหลักความประพฤติที่ต้องปฏิบัติมากมาย  แต่กล่าวตามหน้าที่ทางศาสนาแล้ว มี  6  อย่าง  ได้แก่.-

   @ ต่อกรณีเหตุการณ์ในปัจจุบันนี้ ผมมีคำถามก็คือกลุ่มชาวบ้านที่อาสาเข้ามาปฏิรูปพระพุทธศาสนา(นำโดยกลุ่มปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาที่พากันตั้งพรรคการเมืองที่โชว์นโยบายปฏิรูปพระพุทธศาสนา)ที่จะอาสาเข้ามาปฏิรูปพระพุทธศาสนาและทำการเปลี่ยนแปลงข้อวัตรปฏิบัติของพระอยู่นี้ทำหน้าที่เกินเลยความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีหรือเปล่า?

ซ้าย : พระญาณวชิรวงศ์ (วีรธรรม ธมฺมวีโร) วัดพระเชตุพนฯ เลขานุการสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ

ขวา : พระมงคลวชิรากร (สมบัติ ญาณวโร) วัดพระเชตุพนฯ หัวหน้าสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ

หน้าที่หลักของพระภิกษุคืออะไร

ที่ปรึกษาระดับตำนาน

ซ้าย : พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) วัดราชโอรสาราม

กลาง : พระพรหมวชิรญาณ (โรเบิร์ต สุเมโธ) วัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ

ขวา : พระธรรมพัชรญาณมุนี (ฌอน ชยสาโร) สำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี นครราชสีมา

หน้าที่หลักของพระภิกษุคืออะไร

ซ้าย : พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน) วัดปากน้ำภาษีเจริญ

กลาง : พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) วัดประยุรวงศาวาส

ขวา : พระพรหมวัชรเมธี (สมเกียรติ โกวิโท) วัดอรุณราชวราราม

หน้าที่หลักของพระภิกษุคืออะไร

ซ้าย : พระธรรมวัชรบัณฑิต (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ) วัดปากน้ำ

กลาง : พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตโต) วัดเทวราชกุญชร

ขวา : พระธรรมเสนาบดี วัดพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่

หน้าที่หลักของพระภิกษุคืออะไร

ซ้าย : พระธรรมวัชรเมธี (มีชัย วีรปญฺโญ) วัดหงส์รัตนาราม

กลาง : พระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ วรทสฺสี) วัดโมลีโลกยาราม

ขวา : พระธรรมสุธี (นรินทร์ นรินฺโท) วัดหัวลำโพง

หน้าที่หลักของพระภิกษุคืออะไร

ซ้าย : พระเทพวัชราจารย์ (เทียบ สิริญาโณ) วัดพระเชตุพนฯ

กลาง : พระเทพศาสนาภิบาล (แย้ม กิตฺตินฺธโร) วัดไร่ขิง นครปฐม

ขวา : พระมงคลธีรคุณ (อินสอน จินฺตาปญฺโญ) วัดญาณเวศกวัน

หน้าที่หลักของพระภิกษุคืออะไร

ที่ปรึกษาทุกประเทศและทุกทวีป

ซ้าย : พระราชธรรมวิเทศ (ประเสริฐ กวิสฺสโร) ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา

กลาง : พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) หัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล

ขวา : พระธรรมพุทธิวงศ์ (สวัสดิ์ อตฺถโชโต) ประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในยุโรป

หน้าที่หลักของพระภิกษุคืออะไร

ซ้าย : พระราชวิเทศปัญญาคุณ (เหลา ปญฺญาสิริ) ประธานองค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์

กลาง : พระกิตติโสภณวิเทศ (เศรษฐกิจ สมาหิโต) ประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในโอเชียเนีย (ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์)

ขวา : พระเทพสิทธิวิเทศ (สุจินต์ โชติปญฺโญ) ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสิงคโปร์

หน้าที่หลักของพระภิกษุคืออะไร

ซ้าย : พระเทพสุวรรณเมธี (สุชาติ กิตฺติปญฺโญ) วัดสุวรรณาราม

กลาง : พระราชรัชวิเทศ (ผดุงพงษ์ สุวํโส) วัดปากน้ำญี่ปุ่น

ขวา : พระโสภณวชิราภรณ์ (ไสว โชติโก) รองอธิการบดี มจร. ฝ่ายกิจการต่างประเทศ

หน้าที่หลักของพระภิกษุคืออะไร

ทั้งหมดนี้ต้องเรียกว่า "หัวกะทิ" ทั้งหมดทั้งมวลในโลกใบนี้ ได้รับการเชื้อเชิญจาก "สมเด็จพระมหาธีราจารย์" เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ท่าเตียน ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ซึ่งเทียบได้กับ "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ" ให้มาทำงานร่วมกันในนาม "สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ" อย่างพร้อมหน้าพร้อมตา ไม่ว่าคุณจะอยู่ ณ สถานที่แห่งใดในโลกใบนี้ ดูไปแล้วไม่ต่างไปจาก "มหกรรมเกษียรสมุทร" ในเทวาสุรสงคราม อังโด่งดังในมหาภารตะยุทธ์ ซึ่งเป็นการระดมพลครั้งประวัติศาสตร์ของโลก ดึงทั้งเทวดาและอสูร ซึ่งเป็นคู่ปรับอมตะของกัน ให้มาช่วยกัน "กวนสมุทร" จนได้ "น้ำอมฤต" มีฤทธิ์เป็นอมตะ กินแล้วไม่ตาย ใครทำได้ก็จะมีฤทธิ์ระดับ..พระอินทร์

การแต่งตั้งทีมงานต่างประเทศของสมเด็จประสฤษดิ์ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นมิติใหม่ ยิ่งใหญ่กว่ามิติพิศวง ลำพังการเชิญ "สองสมเด็จวัดไตรมิตร" มาร่วมเป็นที่ปรึกษา ก็ถือว่าเซอร์ไพรซ์แล้ว ยังมีการเชิญ "หลวงพ่อโรเบิร์ตและพระอาจารย์ฌอน" ซึ่งถือว่าเป็นพระไทยสายต่างประเทศและสายวังตัวจริงเสียงจริง ให้มาร่วมทีมงานที่ปรึกษาด้วย

โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม ตลาดน้อย-เยาวราชนั้น ปัจจุบันถือว่าเป็นพระมหาเถระอาวุโสสูงสุดในสายมหานิกาย ภายหลังสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) วัดปากน้ำ ล่วงลับไป สมเด็จสนิทยังดำรงตำแหน่ง "เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก" ซึ่งมีอาณาเขตการปกครอง "กว้างไกล" ที่สุดในประเทศไทย สมเด็จสนิทจึงถือว่าเป็น "ผู้ใหญ่อาวุโสสูงสุด" ในสายมหานิกาย การที่สมเด็จประสฤทธ์ "ยกย่อง" สมเด็จสนิท ถึงขนาดนิมนต์ให้เป็นประธานในงานนี้ จึงเป็นการใช้ "คารวะไมตรี" น้อมเชิญสมเด็จสนิทให้มาร่วมงานวัดโพธิ์ได้อย่างที่วัยรุ่นเรียกว่า "ได้ใจ" ก็ต้องคารวะในเพลงยุทธ์ของสมเด็จประสฤทธ์ ที่เล่นได้สมบทบาทในการก้าวเข้ามาเป็น "ผู้นำ" ในฝ่ายมหานิกาย

ลำพังสมเด็จสนิทวัดไตรมิตรมาร่วมงานวัดโพธิ์ ก็เหมือนได้วัดไตรมิตรมาทั้งวัดแล้ว เพราะสมเด็จสนิทท่านเป็นเจ้าอาวาส แต่สมเด็จประสฤทธ์ยังน้อมเชิญ "สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี" หรือสมเด็จธงชัย เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ผู้มากบารมี "นัมเบอร์วัน" ในคณะสงฆ์ไทย ให้มาร่วมงานด้วย ซึ่งแต่ไหนแต่ไรมานั้น สมเด็จธงชัยเปรียบเสมือน "คู่แข่งบารมี" ของสมเด็จประสฤษดิ์ เพราะเจริญในสายงานคู่คี่กันมาตลอด แวดวงดงขมิ้นจึงแทบจะมองว่า "ใครจะเหนือใคร" ในระหว่างสมเด็จทั้งสอง แต่ครั้นสมเด็จประสฤทธ์เล่นบทอ่อน "ยินยอมน้อมเชิญ" สมเด็จธงชัย ซึ่งอาวุโสน้อยกว่า และสามารถเรียนเชิญสมเด็จธงชัยมาอยู่ในคอลเล็คชั่น "ที่ปรึกษาสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ" ได้ ก็นับว่ายอดเยี่ยม ลบคำครหาว่ามีการแข่งขันกันในสายมหานิกายเสียสนิท สมเด็จประสฤทธ์แสดงฤทธิ์เสกเชือกมหามนต์ "นิมนต์สองสมเด็จวัดไตรมิตร" มาประดับทำเนียบวัดโพธิ์ได้ จึงถือว่าไม่ธรรมดา ถ้าเป็นหวยก็ถูกทั้งที่หนึ่งและรางวัลข้างเคียง นับทรัพย์ไม่หวาดไม่ไหว

ในสายพระป่ากรรมฐานนั้น ทั้งยุโรป อเมริกา และประเทศไทย "สายหลวงพ่อชา-วัดหนองป่าพง" ถือว่าดำรงสถานะที่มั่นทางศรัทธาของสาธุชนได้อย่างคงเส้นคงวา วัดหนองป่าพงนั้นอยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี "บ้านเกิด" ของสมเด็จประสฤทธ์ การจะไปร่วมงานก็มิใช่เรื่องยาก หลวงพ่อเลี่ยมก็เคารพนับถือกันมานาน ไม่ต้องมีฎีกานิมนต์ก็ไปได้ ไม่ต่างจากการไป "เซเว่น-อีเลฟเว่น" เรื่องวัดหนองป่าพงที่อุบลจึงถือว่าเป็นสายใน ไม่ต้องมีอะไรให้เป็นวุ่นวาย พระป่าท่านไม่ชอบอะไรมันที่เอิกเกริก

แต่ในสายต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ยุโรป และอเมริกานั้น ในทำเนียบศิษย์เอกของหลวงพ่อชา ย่อมจะทราบดีว่า "มีหลวงพ่อโรเบิร์ต สุเมโธ" ดำรงอยู่ในฐานะ "ศิษย์อาวุโส" ได้หลวงพ่อโรเบิร์ตมาเป็นที่ปรึกษา เส้นทางการทำงานของพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ทั้งอังกฤษ ยุโรป และอเมริกา ก็โล่งเหมือนขึ้นฟรีเวย์

ยังไม่หมด พักหลังมา แวดวงสงฆ์ไทยจะทราบว่า ยังมีศิษย์สายวัดหนองป่าพงที่ "มาแรง" อีกรูปหนึ่ง นั่นคือ หลวงพ่อฌอน แห่งสำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี นครราชสีมา ซึ่งเพิ่งจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดตั้งเป็น "พระธรรมพัชรญาณมุนี" เป็นที่โปรดปรานของราชสำนักไทยมาก การได้หลวงพ่อฌอนมา "ซ้อน" กับหลวงพ่อสุเมโธ มองเห็นว่า สมเด็จประสฤทธ์มิได้คิดแค่หมากชั้นเดียว แต่เดินหมากทีเดียวสองชั้น ไม่ว่าสองสมเด็จวัดไตรมิตร ไม่ว่าสองศิษย์หลวงพ่อชาสายต่างประเทศ ใครคิดว่าสมเด็จประสฤทธ์ฟลุ๊คได้วัดโพธิ์มาแบบส้มหล่นก็คิดผิด ขอให้คิดใหม่ หากยังไม่เข้าใจก็ขอให้กลับไปดู "ตารางที่ปรึกษาสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตสายต่างประเทศ" อีกครั้ง จะได้รู้ว่าหมู่หรือจ่า

พอเก็บหมากระดับ "ขุน" ตุนไว้ใต้พระนอนวัดโพธิ์จนเกลี้ยงกระดานแล้ว จากนั้น สมเด็จประสฤทธ์ท่านก็กวาดสายตาไปทั่วหล้า ระดมกำลังมาทุกภาคส่วน จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิเช่น

พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน ป.ธ.9) เจ้าคณะภาค 5 รักษาการเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ แม่กองบาลีสนามหลวง วัดปากน้ำ ทายาทของสมเด็จช่วง ซึ่งก่อนหน้านี้ ยังมีตำแหน่ง "รองเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ" ของหลวงพ่อวิเชียร (พระวิสุทธิวงศาจารย์) เป็นด่านใหญ่ แต่กลับปรากฏว่า ทั้งหลวงพ่อวิเชียร รองเจ้าอาวาส ทั้งหลวงพ่อช่วง เจ้าอาวาส ถึงแก่มรณภาพลงติดๆ กัน จนแทบทำใจไม่อยู่ แต่ดูไปแล้ว กลับกลายเป็นว่า เส้นทางการขึ้นดำรงตำแหน่งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ หรือเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ ของท่านรองสุชาติ โล่งและสดใสอย่างไร้คู่แข่ง เหมือนฟ้าหลังฝน ในสายเหนือนั้น ปัจจุบันท่านเจ้าคุณสุชาติถือได้ว่าเป็น "นัมเบอร์วัน" อีกไม่กี่วันก็คงได้เป็นสมเด็จ การได้เจ้าคุณสุชาติมาร่วมงานในสำนักงานวัดโพธิ์ จึงถือว่าเป็นการกวาดแต้มใหญ่มาไว้ในคลัง ขอแค่ชื่อก็ขลังแล้ว

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.9 Ph.D. ศ.ดร.) วัดประยุรวงศาวาส นี่ก็ถือว่าเป็น "เบอร์ใหญ่" เพราะเคยดำรงตำแหน่ง "อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงฆ์ มจร." เป็นผู้ก่อสร้างศูนย์กลางการศึกษามหาวิทยาลัยขึ้นที่ "วังน้อย" จนสำเร็จเสร็จสิ้น เจ้าคุณสมจินต์  อธิการบดี มจร. รูปปัจจุบันก็ลูกน้องเก่า ใน  มจร. ก็ยังมี "ลูกน้อง-ลูกศิษย์" อีกแทบล้นประเทศไทย บารมีของเจ้าคุณประยูรจึงถือว่าไม่ธรรมดา ใครจะกล้ามองข้าม แถมฝีไม้ลายมือส่วนตัวก็ไม่ธรรมดา ดูในคำสั่งมหาเถรสมาคมสิ อะไรๆ ก็ "เจ้าคุณประยูรๆ" เป็นประธาน เป็นกรรมการ งานแล้วงานเล่า ไม่เอาเจ้าคุณประยูรมาร่วมงานแล้วจะเอาใครในเวลานี้ ยิ่งท่านไม่มีตำแหน่งทางการปกครองก็ยิ่งว่าง ยกงานต่างประเทศถวาย สมเด็จประสฤทธ์ก็สบายไปร้อยแปด

พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9 ราชบัณฑิต) วัดราชโอรสาราม นี่ก็ถือว่าเป็น "นัมเบอร์วัน" ในสายธรรมกาย ซึ่งธรรมกายของพ่อใหญ่ "ธัมมชโย" นั้น จะมองข้ามไปไม่ได้อย่างเด็ดขาด เพราะสร้างวัดและสร้างผลงานได้ยิ่งใหญ่และมากกว่าพระสมเด็จไทยทุกรูป ปัจจุบันวันนี้ สายนี้ยังคงเหลือ "เจ้าคุณทองดี" เท่านั้น ที่ยังไปได้ การได้เจ้าคุณทองดีมาร่วมงาน ก็เท่ากับสามารถดึง "สายธรรมกาย" ไว้ใกล้มือ เกิดในอนาคตการเมืองเปลี่ยน สมเด็จประสฤษดิ์ก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน เพราะสายธรรมกายนั้น ว่ากันว่าถือเรื่อง "บุญคุณ-ความแค้น" ไว้สูงสุด ใครดีก็ต้องดีตอบ แถมตอบแทนอย่างล้นเหลือ การดึงเอาเจ้าคุณทองดีมาร่วมงานในวัดโพธิ์ จึงถือว่าเป็นการเดินเกมระดับเซียน ตั้งแต่คลองหนึ่งถึงคลองสิบสอง รับรองว่าสมเด็จประสฤทธ์กินเรียบเป็นท่าเตียนของวัดโพธิ์

พระพรหมวัชรเมธี  (สมเกียรติ โกวิโท ป.ธ.9) วัดอรุณราชวรารามหรือวัดแจ้ง อีกตำแหน่งเป็นเจ้าคณะภาค 9 เป็นเจ้าอาวาสวัดใหญ่ มีบริวารมากมาย แม้ว่าล่าสุดจะหลุดโผกรรมการมหาเถรสมาคมไป แต่ยังไงก็ยังถือว่าใหญ่ ไม่สามารถมองข้ามได้ ฎีกาวัดโพธิ์จึงต้องมีชื่อของ "หลวงพ่อสมเกียรติ" เป็นแขกประจำขาดไม่ได้

พระธรรมวัชรบัณฑิต (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ ป.ธ.9 ศ.ดร.) วัดปากน้ำ อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงฆ์ มจร. ถือว่าเป็นแม่ทัพใหญ่ในฝ่ายการศึกษา เจ้าคุณสมจินต์ถือว่าเป็น "นัมเบอร์วัน" ในทางสร้างปัญญาชน แถมยังมีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศอย่างที่เรียกว่า "มากที่สุด" ปีหนึ่งๆ ได้งบประมาณจากรัฐบาลนับพันล้าน คุมคน-คุมเงิน ระดับนี้ แถมยังเป็นเจ้าของโครงการ "อบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ" ส่งผลให้ชื่อของ "พระธรรมวัชรบัณฑิต" ติดโผทั้งในและต่างประเทศ เหมือนรัฐมนตรีเลยทีเดียว

พระธรรมสุธี (นรินทร์ นรินฺโท) วัดหัวลำโพง รูปนี้ถือว่าเคยมีบทบาทสำคัญ เพราะเคยดำรงตำแหน่ง "เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร" มาก่อน ถือว่าเป็นผู้ว่าเมืองหลวง แต่ที่สำคัญก็คือ "วัดหัวลำโพงรวย" แถมหลวงพ่อนรินทร์ยังใจกว้างเป็นแม่น้ำ  แม้ว่าจะเกษียณอายุราชการไปแล้ว แต่ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหัวลำโพงยังไม่เกษียณ แถมยังจ่ายได้อีกมาก การดึงพระธรรมสุธีให้มี "ที่นั่ง" ในวัดโพธิ์ จึงถือว่าสมเด็จประสฤทธ์เอาใจเก่ง คนแก่แต่มีเงิน ไม่รู้จะเอาไปไหน ก็เอาไปช่วย..วัดโพธิ์ สิครับท่านพระครู

พระธรรมเสนาบดี (ธงชัย สุวณฺณสิริ ป.ธ.7) วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร วัดคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ ถือเป็นวัดที่สูงทั้งที่ตั้งทั้งฐานะ เป็นพระอารามหลวงคู่กับพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ วัดพระธาตุดอยสุเทพฯ ปัจจุบันมีวัดสาขาทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกาอยู่มากมาย ศิษย์หาก็ล้นหลาม มองข้ามไปไม่ได้ ยิ่งเชียงใหม่เป็นเมืองหลวงของภาคเหนือ การเชื้อเชิญ "พระธรรมเสนาบดี" มาเป็นแขกประจำวัดโพธิ์ จึงนับเป็นทางไมตรีอันประเสริฐ ไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า "วัดพระธาตุดอยสุเทพไม่รวย" แต่รวยแล้วช่วยหรือไม่นั่นต่างหาก สำหรับพระธรรมเสนาบดีเจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ รูปปัจจุบันนั้น ทั้งใกล้และไกล ท่านใช้ทรัพย์สมบัติทางศาสนาอย่างคุ้มค่า สมเด็จประสฤทธ์เห็นคุณค่าจึงเชิญมาร่วมงาน เป็นแขกวีไอพี

พระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ วรทสฺสี ป.ธ.9) เจ้าคณะภาค 10 วัดโมลีโลกยาราม ถือได้ว่าเจ้าคุณสุทัศน์ เป็นพระหนุ่มไฟแรงและมาแรงที่สุดแห่งยุค วัดโมลีฯกลายเป็นสำนักเรียนบาลี "อันดับหนึ่ง" ของประเทศไทย เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินทรงโปรดปราน ยศถาบรรดาศักดิ์ก็พุ่งพรวด จึงไม่มีเหตุผลใดที่จะไม่เชิญ "เจ้าคุณสุทัศน์" มาประดับทำเนียบที่ปรึกษาวัดโพธิ์ มันโก้จริงๆ  

พระธรรมวชิรเมธี (มีชัย วีรปญฺโญ ป.ธ.9) เจ้าคณะภาค 1 วัดหงส์รัตนาราม ข่าว "บิ๊กแป๊ะ-บิ๊กแดง" สองอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและผู้บัญชาการทหารบก "ออกบวช" หลังเกษียณ จำวัดที่วัดหงส์ ส่งผลให้ชื่อของ "เจ้าคุณมีชัย" ติดอันดับ "ผู้ทรงอิทธิพลในวงการสงฆ์" ไปอย่างแรง เจ้าคุณมีชัยจึงติดโผ "เจ้าคณะภาค 1" แบบว่าไม่มีใครกล้าส่งชื่อแข่ง นาทีนี้ "เจ้าคุณมีชัย" จึงเป็นหมายเลขต้นๆ ของทุกบัญชี ไม่มีชื่อเจ้าคุณมีชัย ก็แทบจะไม่มีชัย

พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าคณะภาค 13 และกรรมการมหาเถรสมาคม วัดเทวราชกุญชร เขตเทเวศน์ เจ้าคุณโสภณ ศิษย์เอกหลวงพ่อสุดวัดกาหลง ผู้ลงตะกรุดโทนยันต์ตะกร้อให้ "จอมโจรตี๋ใหญ่" อันลือลั่นในตำนาน ขนาดว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจน้ำร้อยนาย "ล้อมทั้งคืน" ยังเอาไม่อยู่ ดูเอาเองว่าแน่แค่ไหน ท่านโสภณนั้นเป็นศิษย์เก่าสำนักวัดหัวลำโพง ก่อนย้ายไปครองเขต "เทเวศน์" บ้านป๋าเปรม ซึ่งเป็นทหารเสือพระราชินี จึงไม่มีอะไรจะต้านเมื่อท่านจะเข้าไปนั่งใน "มหาเถรสมาคม" ขณะมียศเพียง "ชั้นเทพ" เป็นรูปแรกในประวัติศาตร์คณะสงฆ์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ตัวจริงเสียงจริง เห็นเช่นนี้แล้ว สมเด็จประสฤทธ์ จึงต้องติดตามตัวมาร่วมงานวัดโพธิ์แบบว่า..ขาดไม่ได้

พระเทพศาสนาภิบาล (แย้ม กิตฺตินฺธโร ป.ธ.3) วัดไร่ขิง เจ้าคณะภาค 14 ปัจจุบันงานเล็กงานใหญ่ในภาคกลาง ล้วนแต่ใช้ "วัดไรขิง" ของเจ้าคุณแย้ม เป็นสำนักงานกลาง เพราะที่นั่นสะดวกสบายทุกอย่าง โดยเฉพาะหลวงพ่อแย้มท่าน "ควักง่ายจ่ายสะดวก" จึงสะดวกสบายเป็นที่สุด ตำแหน่ง "เจ้าคณะภาค 14" อันเอกอุ จึงมิได้มาเพราะโชคช่วย แต่ได้มาเพราะช่วยงานคณะสงฆ์มากที่สุด ดังคำกล่าวว่า "ดูคนดีดูที่การกระทำ ดูผู้นำดูที่ความเสียสละ" พระที่เสียสละเช่นเจ้าคุณแย้ม ใครๆ ก็อยากได้มาร่วมงาน เพราะได้ทั้งงานทั้งเงินเจริญใจ

พระเทพสุวรรณเมธี (สุชาติ ธมฺมรตโน ป.ธ.8) วัดสุวรรณาราม รองเจ้าคณะ กทม. ศิษย์เก่าวัดดาวดึงษ์ ร่วมสำนักกับ "สรพงษ์ ชาตรี" พระเอกตลอดกาล แม้จะไปยังไม่ถึงดวงดาวในตำแหน่ง "เจ้าคณะ กทม." แต่ก็ยังไม่เสียหาย เพราะยังคงรั้งตำแหน่งเดิมอยู่ เจ้าคุณสุชาติยังถือว่าเป็นพระหนุ่มไฟแรง เคยทำงานใหญ่ในกรุงเทพฯ มามากมาย มิตรสหายและผู้หลักผู้ใหญ่จึงมากมายไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับเป็น "ผู้ประสานงานของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา" ในการปฏิบัติงานในประเทศไทย ส่งผลให้เจ้าคุณสุชาติเป็นเสมือน "กรรมการอำนวยการ" ของสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา สมเด็จประสฤทธ์เห็นหน่วยก้านดี จึงต้องมีไว้ช่วยงาน แบบว่าขาดไม่ได้

พระมงคลธีรคุณ (อินสอน จินฺตาปญโญ) วัดญาณเวศกวัน นครปฐม ผู้คนทั่วไปคงไม่ค่อยคุ้นเคย เพราะท่านทำงานเบื้องหลัง เป็นทั้งพระอุปัฏฐากและเลขานุการ ในสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พระนักปราชญ์ระดับโลกของประเทศไทย การได้พระอาจารย์อินสอนมาร่วมทีมงานพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ก็เท่ากับได้ "สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์" มาเป็นที่ปรึกษา แม้ว่าสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์จะมาไม่ได้ แต่ได้พระอาจารย์อินสอนมาแทนก็แทบไม่ต่างกัน ดังนั้น จึงต้องมีชื่อ "พระมงคลธีรคุณ" ไว้ในทำเนียบวัดโพธิ์อย่างสำคัญ

ในต่างประเทศนั้น ก็ขอเรียงลำดับความสำคัญของ "ชื่อบ้านนามเมือง" เป็นเรื่องๆ ดังนี้

พระราชธรรมวิเทศ (ประเสริฐ กวิสฺสโร ป.ธ.7) วัดพุทธานุสรณ์ เมืองฟรีมอนท์ รัฐแคลิฟอร์เนีย เพิ่งได้รับตำแหน่ง "ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา" ภายหลังพระเทพพุทธิวิเทศ (ประชัน ชุตินฺธโร) ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ถึงแก่มรณภาพลงในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา แบบว่าเป็นประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาใหม่ๆ สดๆ แต่ด้วยความยิ่งใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีวัดไทยอยู่มากมายกว่า 120 วัด พระธรรมทูตร่วมพันรูป แถมด้วยพุทธศาสนิกชนชาวไทยอีกเรือนแสน ส่งผลให้ "เจ้าคุณประเสริฐ" เฉิดฉาย ขึ้นแท่น "นัมเบอร์วัน" ในสายต่างประเทศ แม้ว่าจะมียศเพียง "ชั้นราช" แต่ฐานอันยิ่งใหญ่ก็หนุนให้ท่าน "สูงส่ง" กว่าใครในต่างประเทศ เผลอๆ นะ สมเด็จประสฤทธ์อาจจะนิมนต์ "เจ้าคุณประเสริฐ" ให้ย้ายมาดำรงตำแหน่ง "เจ้าอาวาสวัดไทยแอลเอ" ที่จะจัดประชุมในปีนี้ นี่ถ้ามาจริง ก็จะพลิกวิกฤติเป็นโอกาสทันที เพราะวัดไทยแอลเออันยิ่งใหญ่ จะกลายเป็น "ศูนย์กลางการบริหารสมัชชาสงฆ์ไทย" เป็นครั้งแรก ในรอบ 50 ปี ดูให้ดู ทุกอย่างเป็นไปได้ไม่ไกลเกินฝัน

พระธรรมโพธิวงศ์ (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา หัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล และผู้ก่อตั้งวัดสุวรรณภูมิพุทธชยันตี ท่านเจ้าคุณวีรยุทธจึงเป็นเจ้าของสังเวชนียสถานทั้ง 4 ในอินเดียและเนปาล ไม่ว่าจะเป็นลุมพินี (สถานที่ประสูติ) พุทธคยา (สถานที่ตรัสรู้) สารนาถ (สถานที่แสดงปฐมเทศนา) และกุสินารา (สถานที่ดับขันธปรินิพพาน) ขององค์สมเด็จพระบรมศาสดา แน่นอนว่า ไม่ว่าชาวพุทธเชื้อชาติไหน เมื่อต้องการไปแสวงบุญอันสำคัญสูงสุดก็ต้องไป "อินเดีย-เนปาล" เพราะสังเวชนียสถานประดิษฐานอยู่ที่นั่น และนั่นจึงทำให้ "ตำแหน่งหัวหน้าพระธรรมทูตไทยในอินเดีย-เนปาล" มีความสำคัญระดับหนึ่งของโลก ท่านเจ้าคุณวีรยุทธ์จึงมีความสำคัญในฐานะ "เจ้าของพุทธภูมิ" ยิ่งได้ "สุวรรณภูมิ" พ่วงเข้าไปด้วย จึงแทบไม่เหลืออะไรที่เจ้าคุณวีรยุทธ์จะไม่มี การมีชื่อเจ้าคุณวีรยุทธ์ในทำเนียบวัดโพธิ์จึงถือเป็นวิสัยทัศน์อันลึกซึ้งและกว้างไกลของสมเด็จพระมหาธีราจารย์

พระธรรมพุทธิวงศ์ (สวัสดิ์ อตฺถโชโต) วัดพุทธาราม ฮอลแลนด์หรือเนเธอแลนด์ ประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป หลวงพ่อสวัสดิ์แม้ว่าจะเจริญอายุพรรษาสูงถึง 92 ปี แต่ยังมีสุขภาพดีทำงานได้ ในฐานะประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป จึงต้องมีชื่อของท่านไว้ ในฐานะบุคคลสำคัญ

พระราชวิเทศปัญญาคุณ (เหลา ปญฺญาสิริ Ph.D.) วัดมหาธาตุสหราชอาณาจักร ประธานองค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ เป็นพระที่มีฐานทั้งด้านสำนักและการศึกษาชั้นดี เพราะเป็นศิษย์สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ แถมยังไปจบ Ph.D. ที่อังกฤษ จัดเป็นพระไทยที่พูดภาษาอังกฤษได้เก่งกว่าคนอังกฤษ วันนี้ เจ้าคุณเหลาได้ขึ้นครองตำแหน่ง "ประธานองค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์" ถือเป็นแลนด์สไลด์ ส่งผลให้ชื่อชั้นของท่านเจ้าคุณเหลาโดดเด่นเป็นสง่าในบรรดาหัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายต่างประเทศ ในโลกใบนี้ มีมหานครใหญ่ๆ อยู่มากมาย หนึ่งในนั้น "ลอนดอน" ยังคงหอมหวาน ใครอยากไปลอนดอนก็ต้องรู้จัก "ท่านเจ้าคุณเหลา" ผู้นำของเราในสหราชอาณาจักร

พระกิตติโสภณวิเทศ (เศรษฐกิจ สมาหิโต) เจ้าอาวาสวัดนาคปรก ประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในโอเชียเนีย (ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์) ความจริงแล้ว หลวงพ่อเศรษฐกิจท่านเคยปฏิบัติศาสนกิจที่วัดไทยแอลเอ ดำรงตำแหน่งกรรมการบอร์ด เป็นผู้บริหารระดับสูง แถมยังมีสายสัมพันธ์กับท่านเจ้าคุณวีรยุทธ์ ทำให้ท่านกว้างขวางทั้งในสหรัฐอเมริกาและอินเดีย แต่เมื่อท่านตัดสินใจสร้างวัดไทยในนิวซีแลนด์ แม้ว่าประเทศนี้จะเล็กกว่าออสเตรเลีย แต่ด้วยชื่อชั้นก็ส่งผลให้ท่านได้ปกครอง "ควบ" ทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เป็นบารมีที่เลียนแบบไม่ได้ ถือเป็นอัจฉริยภาพส่วนบุคคล ทั้งด้วยภูมิหลังที่ท่านเป็น "ศิษย์จิตตภาวัน" ของหลวงพ่อกิตติวุฑโฒ จึงมีสายสัมพันธ์กว้างไกลทั้งในและต่างประเทศ แน่ขนาดไหนก็ดูไปที่ "การนำเอาวัดไทยในนิวซีแลนด์มาเป็นสมาชิกสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา" จะมีใครไหนทำได้ นอกจาก..หลวงพ่อเศรษฐกิจ เพียงรูปเดียว หลวงพ่อเศรษฐกิจจึงเป็นผู้มีอิทธิพลทั้งในประเทศไทย อินเดีย ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา เรียกได้เลยว่า ก็อดฟาเธอร์ ใครจะไปประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยที่วัดไทยแอลเอในปีนี้ ถ้าไปที่วัดโพธิ์แล้วคนแน่น ก็เชิญเลี่ยงไปใช้สถานี "วัดนาคปรก" รับรองว่าโล่ง

พระเทพสิทธิวิเทศ (สุจินต์ โชติปญฺโญ) วัดอานันทเมตตยาราม เจ้าของฉายา "หลวงพ่อเมตตา" แห่งสิงคโปร์ เพราะท่านมีเมตตาช่วยเหลือเกื้อกูลแก่พระเณรที่ไปหาอย่างทั่วหน้า ระดับ "ใจถึง-พึ่งได้" ไม่มีใครเกิน ในปี พ.ศ.2561 จัดงานใหญ่ 100 สร้างวัดอานันทเมตตยาราม ฉลองอายุ 90 ปี เจ้าอาวาส แถมด้วย "ประชุมพระธรรมทูตไทยใน 4 ทวีป" หมดเงินไปหลายล้านดอลล่าร์ ลำพังตั๋วเครื่องบินค่าพาหนะพระเถรานุเถระจาก "ทั่วโลก" กว่า 500 รูป สังฆทานและของชำร่วย ถ้าวัดไม่รวยระดับอภิมหาเศรษฐีก็รับรองไม่มีปัญญาจัดได้เลย เป็นหนี้หัวโตแน่ งานนั้นจึงเป็นตำนานที่วงการสงฆ์ไทยไม่เคยลืม ดังนั้น แม้ว่าสิงคโปร์จะเป็นแค่เกาะเล็กๆ แต่คุณภาพทั้งของเกาะแลพระสงฆ์ไทยในประเทศนั้น อยู่ที่ระดับ "คับแก้ว" ถึงหลวงพ่อเมตตาจะมีอายุเกิน 90 ปี ยังไงก็ต้องมีตำแหน่ง..ใหญ่

ทั้งปวงนี้ มีทั้งพระที่มีวัดสาขาในต่างประเทศ หรือเคยมีตำแหน่งหน้าที่เกี่ยวกับกิจการต่างประเทศ มีทั้งพระที่มิได้มีตำแหน่งหรือแม้แต่มีวัดสาขาในต่างประเทศ แต่เป็นพระที่มีอำนาจบารมีในประเทศไทยในยุคนี้อย่างสำคัญ จึงได้รับการเชื้อเชิญมาอย่างทั่วหน้า ที่สำคัญก็คือ บางวัดนั้น หมดอำนาจวาสนาในแทบทุกด้านแล้ว แต่สมเด็จประสฤทธ์ก็ยังยกย่อง เพราะเห็นแก่บุญคุณในหนหลัง แบบว่าไม่ทิ้งเพื่อนยามได้ดี แค่บัญชีเดียวก็ตอบโจทย์ได้หลายทาง

นอกจากนั้น ยังมีการแต่งตั้ง "ประธานพระธรรมทูตในต่างประเทศ" ตั้งแต่สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สหภาพยุโรป อินเดีย-เนปาล โอเชียเนีย จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ ซึ่งว่าโดยตำแหน่งหน้าที่แล้ว ท่านเหล่านี้ก็มีหน้าที่ต้อง "รายงานการปฏิบัติศาสนกิจ" ต่อสมเด็จประสฤทธ์ ซึ่งเป็นประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศของมหาเถรสมาคมอยู่แล้ว แต่การแต่งตั้งให้เป็น "ที่ปรึกษา" ก็นับว่าเป็นการแต่งตั้งที่พิเศษกว่าที่ผ่านมา จึงต้องจับตาว่า "แพลตฟอร์ม" หรือลู่ทางในการทำงานด้านต่างประเทศของสมเด็จประสฤทธ์ จะออกมาในรูปแบบใด เพราะการระดมพลครั้งใหญ่เช่นนี้ เซียนพระชี้ว่า "เป็นถึงระดับทำสงคราม" มิใช่งานเล็กๆ เพราะคนใหญ่ผู้หลักผู้ใหญ่เต็มกองทัพไปหมด แต่ละรูปก็ล้วนแต่ระดับ "เจ้าบ้านผ่านเมือง" จึงเป็นเรื่องที่ต้องจับตาอย่างสำคัญ

งานใหญ่ที่คาดว่าจะเป็นการ "เปิดตัว" สมเด็จประสฤทธ์ บนตำแหน่ง "ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ" อย่างเป็นทางการ ก็คือ งานประชุมใหญ่สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะเปิดประชุมเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี หลังจากเกิดวิกฤตการสาธารณสุขของโลกว่าด้วยโรคโควิด-19 ซึ่งปีนี้ สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดประชุมใหญ่สมัยสามัญประจำปี ในวันที่ 10-11 มิถุนายน พ.ศ.2565 สถานที่ประชุมก็คือ วัดไทยลอสแองเจลิส หรือวัดไทยแอลเอ รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นวัดไทยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา

สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เมื่อสมเด็จประสฤทธ์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ โปรดฯ ให้ย้ายจากวัดยานนาวา มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์ท่าเตียน) ส่งผลให้วัดไทยแอลเอ ซึ่งแต่เดิมนั้นก็สังกัดวัดโพธิ์ แต่เป็นสายหลวงเตี่ย (พระธรรมราชานุวัตร-กมล โกวิโท)  พอเปลี่ยนเจ้าอาวาสมาเป็นสมเด็จประสฤทธ์ๆ จึงเป็นเจ้านายใหม่ของวัดไทยแอลเอ

และเมื่อสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา กำหนดให้ "วัดไทยแอลเอ" เป็นสถานที่ประชุมใหญ่ประจำปีในปีนี้ สมเด็จประสฤษดิ์ จึงได้ฤกษ์ "ช้างเหยียบนา พระยาเหยียบเมือง" เป็นฤกษ์งามยามดี ที่จะได้เดินทางมาเป็นประธานการประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ในฐานะที่ท่านเคยดำรงตำแหน่งประธานสมัชชาสงฆ์ไทยและเป็นคณะผู้ก่อตั้งสมัชชาสงฆ์ไทยขึ้นมาในปี พ.ศ.2519 อีกด้วย

สมเด็จประสฤทธ์ จึงถือว่าเป็นประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา รูปแรก ที่กลับไปทำงานในประเทศไทย และไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งอันสูงสุด

การมาเปิดประชุมสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกาปีนี้ สมเด็จประสฤทธ์จึงเหมือนการกลับมาเยือนบ้านเก่า แถมด้วยภารกิจพิเศษ คือการ รับวัดไทยแอลเอ ไว้ในสังกัดอย่างเป็นทางการ

ว่าด้วยบรรดาทีมงานและที่ปรึกษา ซึ่งสมเด็จประสฤทธ์แต่งตั้งอย่างอลังการนั้น ก็เหมือนได้รับเชิญให้ไปร่วมงาน "ประชุมใหญ่สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา" เพราะว่าวัดไทยแอลเอเป็นวัดของสมเด็จประสฤทธ์ มาประชุมที่วัดไทยแอลเอในอเมริกา ก็เหมือนรับนิมนต์มาร่วมงานของสมเด็จประสฤทธ์ เพราะสมเด็จประสฤทธ์เป็นเจ้าของงานตัวจริง

การประชุมใหญ่สมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา ประจำปี พ.ศ.2565 จึงนับว่าเป็นงานยักษ์ งานใหญ่ ในรอบหลายสิบปี ไม่ด้อยไปกว่าการมาสหรัฐอเมริกา ของอดีตสมเด็จพระสังฆราชในอดีต แต่..อดีตหรือจะสู้ปัจจุบัน

หน้าที่หลักของพระภิกษุคืออะไร

มอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ตั้งทีมงานกำกับดูแลพระธรรมทูตชุดใหม่

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ อาราธนา สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นประธานมอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งที่ปรึกษาฝ่ายบรรพชิต และฝ่ายคฤหัสถ์ รองประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เลขานุการ และหัวหน้าสำนักงานฯ

เมื่อวันที่ 7 มี.ค. ที่พระอุโบสถวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เป็นประธานมอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งคณะทำงาน สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ฝ่ายมหานิกาย โดยหลังจากมอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม กรรมการ มส. เป็นที่ปรึกษาประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ฝ่ายบรรพชิตแล้ว สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ได้อาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นประธานมอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช โดยระบุว่า เพื่อความเป็นสิริมงคล จึงขออาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์ ซึ่งเป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่ฝ่ายมหานิกาย เป็นประธานมอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งที่ปรึกษาประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ฝ่ายบรรพชิต ดังนี้

สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี วัดไตรมิตรฯ

พระพรหมโมลี วัดปากน้ำฯ

พระพรหมบัณฑิต วัดประยุรวงศาวาส

พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ วัดราชโอรสาราม

พระพรหมวชิรญาณ วัดอมราวดี สหราชอาณาจักร

พระพรหมวชัรเมธี วัดอรุณราชวราราม

พระธรรมเสนาบดี วัดพระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่

 พระธรรมสุธี วัดหัวลำโพง

พระธรรมราชานุวัตร วัดโมลีโลกยาราม

พระธรรมวชิรเมธี วัดหงส์รัตนาราม

พระธรรมพัชรญาณมุนี สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี จ.นครราชสีมา

พระเทพคุณาภรณ์ วัดเทวราชกุญชร

พระเทพศาสนาภิบาล วัดไร่ขิง จ.นครปฐม

พระเทพสุวรรณเมธี วัดสุวรรณาราม

พระเทพวัชราจารย์ วัดพระเชตุพนฯ

พระราชรัชวิเทศ วัดปากน้ำญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่น

พระราชมหาเจติยาภิบาล วัดอรุณฯ

พระศรีวชิราภรณ์ วัดยานนาวา

พระโสภณวชิราภรณ์ วัดอรุณฯ

พระภาวนามังคลาจารย์ วัดพระพุทธศรีเทพเพชรบูรณ์ ประเทศมาเลเซีย

พระมงคลธีรคุณ วัดญาณเวศกวัน จ.นครปฐม

อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา

ประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป

ประธานองค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์

ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศสิงคโปร์

ประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในโอเชียเนีย

หัวหน้าพระธรรมทูตไทย สายประเทศอินเดีย-เนปาล

หัวหน้าพระธรรมทูตไทยในสาธารณรัฐประชาชนจีน

ประธานสมัชชาสงฆ์ไทยในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

ส่วนปรึกษาประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ฝ่ายคฤหัสถ์ ประกอบด้วย

อธิบดีกรมการกงสุล

ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

พร้อมทั้งมีพระบัญชาแต่งตั้งให้

พระพรหมเสนาบดี วัดปทุมคงคา ดำรงตำแหน่ง รองประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ รูปที่ 1

พระธรรมวชิรโมลี วัดยานนาวา ดำรงตำแหน่ง รองประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ รูปที่ 2

พระญาณวชิรวงศ์ วัดพระเชตุพนฯ ดำรงตำแหน่ง เลขานุการประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ

พระสุธีวชิรปฏิภาณ วัดพระเชตุพนฯ ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ

พระครูนรนาถเจติยาภิรักษ์ วัดมหาธาตุฯ ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ

พระมงคลวชิรากร วัดพระเชตุพนฯ ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ

พระมหาศิริวัฒก์ โพธิญาโณ วัดพระเชตุพนฯ ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ