การจดทะเบียนพาณิชยกิจมีความสําคัญอย่างไร

จดทะเบียนพาณิชย์สำหรับบุคคลธรรมดา

กิจการขายสินค้า ซึ่งคิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้น ไป หรือมีสินค้าไว้เพื่อขายมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป

กิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรม  และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้ง สิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป

กิจการที่ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ เครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือ อีคอมเมิร์ซ

จดทะเบียนพาณิชย์สำหรับนิติบุคคล

กิจการที่ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่น วีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง

กิจการที่ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี

กิจการที่ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ เครื่องข่ายอินเตอร์เน็ต

การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ

การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์

ทั้งนี้ ประเภทกิจการใดที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์สามารถตรวจสอบได้ที่เว็บไซต์กรม พัฒนาธุรกิจการค้า รายละเอียดตามลิงค์ https://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=373 โดยกำหนดเวลากิจการต้องจดทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่เริ่มประกอบกิจการ ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

บทลงโทษสำหรับธุรกิจหากไม่จดทะเบียน

ประกอบพาณิชย์ที่ไม่จดทะเบียน แสดงรายการเท็จ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบในสำนักงาน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนอันเป็นความผิด ต่อเนื่องปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ

ถ้าใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายไม่ยื่นคำร้องขอใบรับแทน หรือไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ที่สำนักงานที่เห็นได้ง่าย ไม่จัดทำป้ายชื่อ มีความผิดปรับไม่เกิน 200 บาท และถ้าเป็นความผิดต่อเนื่องปรับอีกวันละไม่เกิน 20 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

ผลกระทำการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริตปลอมสินค้า หรือกระทำการทุจริตอื่นใดอย่างร้ายแรงในการประกอบกิจการจะถูกถอนใบทะเบียนพาณิชย์ เมื่อถูกสั่งถอนใบทะเบียน พาณิชย์แล้วจะประกอบกิจการต่อไปไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะสั่งให้รับจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่

กรณีถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังฝ่าฝืนต่อไปมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งปรับทั้งจำ

ผู้ประกอบธุรกิจ Online ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง?

เทคโนโลยีด้านการสื่อสารที่ก้าวหน้าในปัจจุบันช่วยให้การเริ่มต้นธุรกิจเป็นเรื่องง่ายขึ้นสำหรับผู้ประกอบการหน้าใหม่ ช่องทางการขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตทั้ง website และ social media เช่น Facebook, Instagram เป็นช่องทางที่ลงทุนต่ำและเข้าถึงลูกค้าได้ในวงกว้าง  ทำให้คนจำนวนมากหันมาประกอบกิจการผ่านช่องทางออนไลน์

ดังนั้น สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจออนไลน์ การเลือกรูปแบบธุรกิจก็มีความสำคัญไม่ต่างจากผู้ที่ทำธุรกิจแบบมีหน้าร้านปกติ เพราะผู้ที่ทำธุรกิจออนไลน์ก็มีสิทธิเช่น เดียวกันกับผู้ประกอบการที่มีหน้าร้านทั่วไป และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเช่นกัน ดังนั้นผู้ประกอบธุรกิจ online จึงต้องเลือกรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมกับขนาดของธุรกิจของตน หากต้องการจัดตั้งเป็นนิติบุคคลก็ต้องดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งให้เรียบร้อย และหากทำธุรกิจคนเดียวก็ต้องนำรายได้จากการทำธุรกิจผ่านอินเตอร์เน็ต มาคำนวณรวมในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปีด้วย

นอกจากนี้ ผู้ประกอบการผ่านอินเตอร์เน็ตยังมีหน้าที่ต้องจดทะเบียน ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อจดทะเบียนแล้วผู้ประกอบการจะได้รับเลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และสามารถนำเครื่องหมาย Registered แสดงไว้ บน Web Site หรือ Home Page เพื่อแสดงว่าได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว

การจดทะเบียนพาณิชยกิจมีความสําคัญอย่างไร

ข้อดีของการจดทะเบียนจะช่วยให้กิจการมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น เมื่อผู้ซื้อเห็นเครื่องหมาย Registered แล้ว จะเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้น ทั้งเรื่องความปลอดภัยถือเป็นสิ่งสำคัญบนโลกออนไลน์ ซึ่งการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไม่เพียงช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับลูกค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยคุ้มครองเว็บไซต์ของเราอีกด้วย

ดังนั้น จดเถอะ ค่าธรรมเนียนก็นิดเดียวเอง 

ทะเบียนพาณิชย์(ร้านค้า/บุคคลธรรมดา)

การจดทะเบียนพาณิชย์
ตาม
พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499

1. ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์
     1.1 บุคคลธรรมดาคนเดียว (กิจการเจ้าของคนเดียว)
     1.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญ
     1.3 นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย
     1.4 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด
     1.5 บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด

   โดยบุคคลตาม 1.1-1.5 ต้องประกอบกิจการค้าซึ่งเป็นพาณิชยกิจตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กำหนดตาม 2

 

  
2. กิจการค้าที่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
     2.1 บุคคลธรรมดา (กิจการเจ้าของคนเดียว) ห้างหุ้นส่วนสามัญ และนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย ตาม 1.1-1.3 ซึ่งประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
          (1) ผู้ประกอบกิจการโรงสีข้าวและโรงเลื่อยที่ใช้เครื่องจักร
          (2) ผู้ประกอบกิจการขายสินค้าไม่ว่าอย่างใดๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่าง คิดรวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งขายได้เป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป หรือมีสินค้าดังกล่าวไว้เพื่อขายมีค่ารวมทั้งสิ้นเป็นเงินตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
          (3) นายหน้าหรือตัวแทนค้าต่างซึ่งทำการเกี่ยวกับสินค้าไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และสินค้านั้นมีค่ารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป
          (4) ผู้ประกอบกิจการหัตถกรรมหรืออุตสาหกรรมไม่ว่าอย่างใด ๆ อย่างเดียวหรือหลายอย่างก็ตาม และขายสินค้าที่ผลิตได้ คิดราคารวมทั้งสิ้นในวันหนึ่งวันใดเป็นเงินตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไปหรือในวันหนึ่งวันใดมีสินค้าที่ผลิตได้มีราคารวมทั้งสิ้นตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป
          (5) ผู้ประกอบกิจการขนส่งทางทะเล การขนส่งโดยเรือกลไฟหรือเรือยนต์ประจำทาง การขนส่งโดยรถไฟ การขนส่งโดยรถราง การขนส่งโดยรถยนต์ประจำทาง การขายทอดตลาด การรับซื้อขายที่ดิน การให้กู้ยืมเงิน การรับแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การซื้อหรือขายตั๋วเงิน การธนาคาร การโพยก๊วน การทำโรงรับ จำนำ และการทำโรงแรม
          (6) ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
          (7) ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
          (8) ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          (9) บริการอินเทอร์เน็ต
          (10) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
          (11) บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          (12) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
          (13) การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
          (14) การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
          (15) การให้บริการตู้เพลง
          (16) โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีก การค้าส่งงาช้างและผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

          2.2 ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ตาม 1.4-1.5 ซึ่งประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
          (1) ขาย ให้เช่า ผลิต หรือรับจ้างผลิต แผ่นซีดี แถบบันทึก วีดีทัศน์ แผ่นวีดีทัศน์ ดีวีดี หรือแผ่นวีดีทัศน์ระบบดิจิทัล เฉพาะที่เกี่ยวกับการบันเทิง
          (2) ขายอัญมณี หรือเครื่องประดับซึ่งประดับด้วยอัญมณี
          (3) ซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ต
          (4) บริการอินเทอร์เน็ต
          (5) ให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
          (6)บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
          (7) การให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้อินเทอร์เน็ต
          (8) การให้บริการฟังเพลงและร้องเพลงโดยคาราโอเกะ
          (9) การให้บริการเครื่องเล่นเกมส์
          (10) การให้บริการตู้เพลง
          (11) โรงงานแปรสภาพ แกะสลัก และการทำหัตถกรรมจากงาช้าง การค้าปลีกการค้าส่งงาช้าง และผลิตภัณฑ์จากงาช้าง

   ***กรณีที่ผู้ประกอบพาณิชยกิจเป็นคนต่างด้าว หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักงานสาขาในประเทศไทย จะต้องตรวจสอบดูด้วยว่ากิจการค้าที่ดำเนินการนั้นต้องได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 หรือไม่ หากเป็นกิจการค้าที่ต้องได้รับอนุญาต ผู้ประกอบพาณิชยกิจจะต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าก่อนยื่นจดทะเบียนพาณิชย์***

  
3. พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่

     3.1 การค้าเร่ การค้าแผงลอย
     3.2 พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล
     3.3 พาณิชยกิจของนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
     3.4 พาณิชยกิจของกระทรวง ทบวง กรม
     3.5 พาณิชยกิจของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
     3.6 พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515

   
5. สถานที่จดทะเบียน
     5.1 ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ :
          (1) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร
          (2) ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง รับจดทะเบียนพาณิชยกิจของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่ของเขตนั้น

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ :
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง โทร. 0-2224-1916, 0-2225-1945
หรือที่ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง และที่เว็บไซต์  www.bangkok.go.th/finance  
    

     5.2 ในภูมิภาค ยื่นจดทะเบียนได้ที่ : เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา รับจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบพาณิชยกิจที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนกำกับดูแลการจดทะเบียนพาณิชย์และภูมิภาค กองทะเบียนบริษัทมหาชนและธุรกิจพิเศษ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 0-2547-4446-7 และสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัด

  
6. กำหนดระยะเวลาการจดทะเบียนพาณิชย์

     6.1 จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ
     6.2 การเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง ตามรายการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

           6.2.1 เปลี่ยนชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจ

           6.2.2 เลิกประกอบพาณิชยกิจบางส่วน หรือเพิ่มใหม่

           6.2.3 เพิ่มหรือลดเงินทุน

           6.2.4 ย้ายสำนักงานใหญ่

           6.2.5 เปลี่ยนผู้จัดการ

           6.2.6 เจ้าของหรือผู้จัดการเปลี่ยนที่อยู่

           6.2.7 ย้าย เลิก หรือเพิ่มสาขา โรงเก็บสินค้า หรือตัวแทนค้าต่าง

           6.2.8 แก้ไขเพิ่มเติมผู้เป็นหุ้นส่วน (หุ้นส่วนเข้า/ออก) เงินลงหุ้น จำนวนเงินลงทุนของห้าง

           6.2.9 จำนวนเงินทุน จำนวนหุ้น และมูลค่าหุ้นของบริษัทจำกัด จำนวนและมูลค่าหุ้นที่บุคคลแต่ละสัญชาติถืออยู่

           6.2.10 รายการอื่นๆ เช่น แก้ไขชื่อเว็บไซต์ ชื่ออักษรโรมัน ฯลฯ 
     6.3 เลิกประกอบพาณิชยกิจ ต้องจดทะเบียนภายใน 30 วันนับแต่วันที่เลิกประกอบพาณิชยกิจ

     6.4 ใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายต้องยื่นขอใบแทนภายใน 30 วันนับแต่วันสูญหาย

  
7. หน้าที่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจ

     7.1 ต้องขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ เริ่มประกอบ เปลี่ยนแปลง หรือ เลิกกิจการ 
     7.2 ต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์หรือใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ ณ สำนักงานในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย
     7.3 ต้องจัดให้มีป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจไว้หน้าสำนักงานแห่งใหญ่และสำนักงานสาขาโดย เปิดเผยภายในเวลา 30 วันนับแต่วันที่จดทะเบียนพาณิชย์ ป้ายชื่อให้เขียนเป็นอักษรไทย อ่านง่ายและชัดเจน จะมีอักษร ต่างประเทศในป้ายชื่อด้วยก็ได้ และจะต้องตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ หากเป็นสำนักงานสาขาจะต้องมีคำว่า "สาขา" ไว้ด้วย 
     7.4 ต้องยื่นคำขอใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สูญหาย หรือชำรุด

     7.5 ต้องไปให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายการจดทะเบียนตามคำสั่งของนายทะเบียน
     7.6 ต้องอำนวยความสะดวกแก่นายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเข้าทำการตรวจสอบในสำนักงานของผู้ประกอบกิจการ

8. บทกำหนดโทษ
     8.1 ประกอบพาณิชยกิจโดยไม่จดทะเบียน แสดงรายการเท็จ ไม่ยอมให้ถ้อยคำ ไม่ยอมให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้า ไปตรวจสอบในสำนักงาน มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท กรณีไม่จดทะเบียนอันเป็นความผิด ต่อเนื่อง
ปรับอีกวันละไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
     8.2 ถ้าใบทะเบียนพาณิชย์สูญหายไม่ยื่นคำร้องขอใบรับแทน หรือไม่แสดงใบทะเบียนพาณิชย์ไว้ที่สำนักงาน ที่เห็นได้ง่าย ไม่จัดทำป้ายชื่อ มีความผิดปรับไม่เกิน 200 บาท และถ้าเป็นความผิดต่อเนื่อง ปรับอีกวันละไม่เกิน 20 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง 
     8.3 ผู้ประกอบพาณิชยกิจซึ่งกระทำการฉ้อโกงประชาชน ปนสินค้าโดยเจตนาทุจริต ปลอมสินค้า หรือกระทำการทุจริตอื่นใดอย่างร้ายแรงในการประกอบกิจการจะถูกถอนใบทะเบียนพาณิชย์ เมื่อถูกสั่งถอนใบทะเบียน พาณิชย์แล้วจะประกอบกิจการต่อไปไม่ได้ เว้นแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จะสั่งให้รับจดทะเบียนพาณิชย์ใหม่
     8.4 ผู้ประกอบพาณิชยกิจที่ถูกสั่งถอนใบทะเบียนพาณิชย์แล้ว ยังฝ่าฝืนประกอบพาณิชยกิจต่อไป มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือทั้งปรับทั้งจำ

    
9. ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์
     การขอดำเนินการตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ฯ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประเภทของการดำเนินการดังต่อไปนี้
     9.1 จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท
     9.2 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท
     9.3 จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
     9.4 ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
     9.5 ขอตรวจเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่ง ครั้งละ 20 บาท
     9.6 ขอให้เจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ฉบับละ 30 บาท (หนึ่งคำขอ คิดเป็น หนึ่งฉบับ)
    

การจดทะเบียนพาณิชย์มีความสําคัญอย่างไร

ทะเบียนพาณิชย์เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กิจการว่า กิจการมีตัวตนและมีสถานประกอบการเป็นหลักแหล่ง กฎหมายกำหนดให้กิจการบางประเภทต้องดำเนินการจดทะเบียนพาณิชย์ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลมีข้อบังคับประเภท กิจการที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ที่แตกต่างกัน เช่น บุคคลธรรมดาที่ประกอบกิจการ ค้าขายทั่วไปต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ...

การจดทะเบียนพาณิชย์ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์เรื่องใด

1. เพื่อประโยชน์ทางสถิติและทราบหลักฐานของผู้ประกอบพาณิชยกิจ 2. เพื่อประโยชน์ในการควบคุมหรือส่งเสริมด้านการพาณิชย์ และการอุตสาหกรรม รวมทั้งเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น 3. ผู้ประกอบพาณิชยกิจสามารถใช้เป็นหลักฐานในทางการค้าได้ กิจการที่เป็นพาณิชยกิจ

การจดทะเบียนพาณิชย์จำเป็นต้องมีหน้าร้านไหม

ตามกฎหมาย หากจะเปิดร้านขายของออนไลน์ต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎหมายนี้บังคับทั้งการขายของออนไลน์แบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ทั้งแบบมีหน้าร้านและไม่มีหน้าร้าน หากไม่ทำตามก็มีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2,000 บาท และปรับไม่เกินวันละ 100 บาท จนกว่าจะไปจดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย

จดทะเบียนพาณิชย์มีผลอย่างไร

นอกจากความน่าเชื่อถือ เอกสารทะเบียนพาณิชย์ยังสำคัญมาก ๆ เมื่อคุณต้องทำธุรกรรมทางการเงิน กับสถาบันการเงิน ทั้งการกู้หนี้ยืมสิน นำเงินมาหมุนเวียนทำธุรกิจ หรือแม้แต่การซื้อบ้าน ซื้อรถ ทะเบียนพาณิชย์จะเป็นหลักฐานหนึ่งในการกู้ยืม เนื่องจากธุรกิจที่มีทะเบียนพาณิชย์เป็นธุรกิจที่สามารถตรวจสอบได้ มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง สามารถ ...