พุทธศาสนิกชนที่ดีมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์แก่วัดอย่างไรบ้าง

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

       ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางของสังคมและชุมชน ดังนั้นการบำเพ็ญประโยชน์และบำรุงรักษาศาสนสถานจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเป็นการสืบทอดและบำรุงรักษาศาสนาให้สามารถตั้งมั่นอยู่ได้ในสังคม ซึ่งสามารถทำได้โดยการ ร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ดี ร่วมกิจกรรมและปกป้องดูแลรักษาศาสนสถาน ในโอกาสต่างๆ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ส1.2 ม.1/1 บำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ 

1. อธิบายวิธีการการบำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถานได้อย่างเหมาะสม

ด้านทักษะและกระบวนการ

2. วิเคราะห์แนวทางการบำรุงรักษาศาสนสถานได้อย่างเหมาะสม

ด้านคุณลักษณะ 

3. อภิปรายคุณค่าของการบำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถานได้

การวัดผลและประเมินผล

1. ประเมินจากการตอบคำถาม

2. ประเมินจากการทำงานกลุ่ม

การปฏิบัติตนต่อศาสนสถาน

• การปฏิบัติตนต่อวัด


การไปวัดควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย โดยใช้เสื้อผ้าสีอ่อน ๆ หรือสี
ขาวไม่ควรสวมกางเกงขาสั้น หรือกระโปรงสั้น
ขณะที่เราอยู่ในบริเวณวัด เราควรสำรวมกาย วาจา ไม่ควรส่งเสียงดัง
และไม่ยิงนกตกปลาในวัด


• การปฏิบัติตนต่อศาสนสถานอื่น ๆ 

๑. ช่วยกันรักษาให้อยู่ในสภาพ
เดิม ไม่ขีดเขียนสิ่งใด ๆ ให้สกปรก

๒. บำเพ็ญประโยชน์โดยการช่วยกันทำความสะอาด
การทำความเคารพ เมื่อเดินผ่านวัดหรือ ศาสนสถานควรยกมือไหว้ด้วยความเคารพ
การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่วัด
วัดเป็นสถานที่อำนวยคุณประโยชน์มากมาย วัดตั้งอยู่ทั่วทุกตำบลทุก
หมู่บ้าน วัดมีความสำคัญต่อชีวิตส่วนบุคคลตลอดถึงส่วนรวม คือ
ประเทศชาติ เป็นสถาบันสำคัญสถาบันหนึ่งใน ๓ สถาบัน คือ ชาติ
ศาสนา และพระมหากษัตริย์
วัดเป็นสมบัติส่วนรวมของทุกคน เมื่อวัดเป็นสมบัติของเรา เราต้อง
บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่วัด ดังนี้

๑) ไม่ทำลายทรัพย์สมบัติของวัด เช่น ไม่ขีดเขียนกำแพงฝาผนัง
หรือข้างฝา

๒) ไม่ลักขโมยทรัพย์สมบัติของวัด

๓) ป้องกันมิให้ผู้อื่นทำลายหรือลักขโมยทรัพย์สมบัติของวัด

๔) ช่วยบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุที่ชำรุดทรุดโทรมให้มั่นคงแข็งแรง
โดยช่วยกันบริจาคทรัพย์ซ่อมแซมหรือชักชวนให้ผู้อื่นช่วยกันบำรุง
รักษาวัด

๕) ช่วยกันรักษาความสะอาดศาสนสถานรวมทั้งบริเวณใด

๖) ปลูกต้นไม้และบำรุงรักษาต้นไม้ เพื่อให้วัดเป็นสถานที่ร่มรื่น
สวยงาม

๗) บริจาคสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นเพื่อใช้ประโยชน์ส่วนรวมแก่วัด
เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ภาชนะต่าง ๆ เป็นต้น
นอกจากการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่วัดแล้ว 


พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนต่อวัด ดังนี้

๑) แสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระ
สงฆ์ รวมทั้งการสำรวมกิริยามารยาท ตลอดจนการเข้าไปในบริเวณ
วัดควรจะแต่งกายสุภาพเรียบร้อย

๒) ประพฤติตนอยู่ในขอบเขตศีลธรรมอันดีงาม เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมยไม่ก่อการทะเลาะวิวาทกัน

๓) หมั่นเข้าวัดเพื่อทำบุญตักบาตร ฟังธรรม สวดมนต์ไหว้พระใน
วันพระหรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่วัด ถือว่าเป็นการบูชาพระคุณของ
พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ โดยถือว่าวัดเป็น
สมบัติของพุทธศาสนิกชนทุกคน เราต้องรักและหวงแหนวัด โดย
ช่วยกันทำนุบำรุงวัดเพื่อความมั่นคงถาวรของพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติไทย

การแสดงความเคารพต่อศาสนสถาน


1.แสดงความเคารพบูชาโดยการกราบไหว้

2.แต่งกายสุภาพเมื่อเข้าไปในศาสนสถานและระมัดระวังกิริยามารยาทให้เรียบร้อย ไม่ส่งเสียงดังหรือวิ่งเล่น

3.ดูแลรักษาศาสนสถานโดยการักษาความสะอาด ไม่ขีดเขียนเล่นให้เกิดความสกปรก

4.ไม่สูบบุหรี่ เสพสารเสพติดให้โทษทุกชนิด และไม่รังแกหรือเบียดเบียนสัตว์ในบริเวณศาสนสถาน


การปฏิบัติตนต่อศาสนสถานของชาวคริสต์ 



1.ทำความเคารพก่อนเข้าที่ประจำ
2.ตั้งใจทำพิธี
3.ห้ามสูบบุหรี่
4.ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าไปในโบสถ์
5.ใส่รองเท้าเข้าไปในโบสถ์
6.ห้ามสวมชุดบอล
7.ห้ามสวมหมวก
8.ห้ามใส่เสื้อแขนกุดและกางเกงขาสั้น
9.ห้ามทำลายทรัพย์สิน
10.ปิดโทรศัพท์และห้ามส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
11.รักษาความสะอาดทิ้งขยะให้ถูกที่
12.ห้ามนำอาหาร เครื่องดื่ม เข้ามารับประทาน
13.ห้ามทะเลาะวิวาท
14.ห้ามขึ้นพระแท่น
15.ห้ามลักขโมย
16.ห้ามแสดงความรักเกินงาม
17.ห้ามวางเท้าบนเบาะคุกเข่า






การปฏิบัติตนต่อศาสนสถานของชาวมุสลิม


1. ก้าวเท้าขวาเข้ามัสยิด พลางกล่าวว่า “บิสมิลลาฮฺ อัลลอฮุมมะศอลลิอะลามุฮัมมัด อัลลอฮุมมะอัฟตะฮฺลี อับวาบะเราะฮฺมะติ๊ก”


7.ก้าวเท้าซ้ายออกจากมัสยิด พลางกล่าวว่า “อัลลอฮุมมะศอลลิอะลามุฮัมมัด อัลลอฮุมมะอัฟตะลี อับวาบะฟัฎลิก ”


2. ถอดรองเท้าก่อนเข้ามัสยิด และนำไปไว้ยังสถานที่ ๆ ได้สำรองไว้ หากจะนำรองเท้าเข้าไปด้วย ก็ต้องเช็ดสิ่งสกปรกที่พื้นรองเท้าเสียก่อน แล้วเอาด้านพื้นรองเท้าประกบกันแล้ววางลงที่ข้าง ๆ หรือด้านหน้าที่ตนนั่งหรือละหมาด


3. ก่อนเข้ามัสยิด ต้องทำความสะอาดปากให้หมดกลิ่น หากกินหัวหอมหรือกระเทียม และอาหารที่มีกลิ่นฉุน


4. ห้ามทิ้งหรือทำสิ่งสกปรกในมัสยิด โดยเฉพาะนะยิส (สิ่งสกปรกตามหลักการศาสนา) เช่น เดินด้วยรองเท้าที่เปื้อนนะยิส เป็นต้น


5. ห้ามถ่มน้ำลาย หรือสั่งน้ำมูก หรือเสมหะ ในมัสยิด หรือเช็ดและป้ายสิ่งน่าเกลียดเหล่านี้ที่พรมหรือที่ประตูมัสยิด รวมทั้งในที่ที่อาบน้ำละหมาด ซึ่งอยู่ในมัสยิด และหากพบก็ต้องรีบทำความสะอาดหรือนำออกไปจากมัสยิดทันที


6. พึงหลีกเลี่ยงการวิ่งเล่นหรือทำเสียงดังในมัสยิด แม้เป็นการอ่านอัลกุรอานก็ตาม เพราะจะเป็นการรบกวนผู้ที่กำลังละหมาดหรือกำลังอบรมศาสนากันอยู่


7. ห้ามรับประทานอาหาร หรือนอนในมัสยิด และต้องละเว้นโดยสิ้นเชิงที่จะทำบาปในมัสยิด เช่น การนินทาให้ร้าย ยุแหย่ พูดเท็จและถูกคนอื่น เป็นต้น


8. ไม่ควรนำเด็กอ่อนเข้ามัสยิด แต่เมื่อเด็กรู้เดียงสาโดยเฉพาะเมื่ออายุได้ 7 ขวบ ควรนำเข้ายังมัสยิดด้วย เพื่อเป็นการฝึกหัดการทำอิบาดะฮฺ (ศาสนกิจ) ในมัสยิดและรักมัสยิด



9. สำหรับสุภาพสตรีโดยเฉพาะยังสาว ๆ ที่จะเดินทางไปยังมัสยิด ไม่ควรใส่ของหอมหรือแต่งตัวจนเกินงาม และควรจัดสถานที่เข้าออกหรือที่ละหมาดเฉพาะให้กับสุภาพสตรี เพื่อจะได้ไม่ปะปนและเบียดเสียดกับผู้ชาย




การบำรุงรักษาศาสนสถาน



ชาวพุทธที่ดีควรช่วยเหลือบำรุงรักษาศาสนสถาน ดังนี้


1.หมั่นไปทำบุญ รักษาศีล ฟังธรรมที่วัด

พุทธศาสนิกชนที่ดีมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์แก่วัดอย่างไรบ้าง


2. ร่วมบำเพ็ญประโยชน์ให้กับศาสนสถาน เช่น ทำความสะอาด ปลูกต้นไม้

พุทธศาสนิกชนที่ดีมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์แก่วัดอย่างไรบ้าง

3.บริจาคเงินหรือสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆเพื่อพัฒนาและบูรณะศาสนสถาน


พุทธศาสนิกชนที่ดีมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์แก่วัดอย่างไรบ้าง

4. ไม่ทำลายทรัพย์สินของศาสนสถาน ถ้าพบเห็นผู้ทำลายสิ่งของในศาสนสถาน


ควรรีบแจ้งเจ้าอาวาส หรือพระภิกษุสงฆ์


พุทธศาสนิกชนที่ดีมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์แก่วัดอย่างไรบ้าง


การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุ

พระภิกษุเป็นปูชนียบุคคลของชาวพุทธ เราพึงปฏิบัติต่อท่านด้วยความเคารพและปฏิบัติตามคำสอนของท่าน


การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุ ที่ชาวพุทธพึงปฏิบัติให้ถูกต้อง คือ




1. การไปหาาพระภิกษุที่วัด เราควรปฏิบัติตนให้เหมาะสมและรักษามารยาททั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจให้เรียบร้อย เช่น การแต่งกายควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ผู้ชาย ควรสวมกางเกงขายาว ไม่ปล่อยชายเสื้อออกมานอกกางเกง ผู้หญิง ควรสวมกระโปรง หรือกางเกงขายาวแบบสุภาพมีสีเรียบ



พุทธศาสนิกชนที่ดีมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์แก่วัดอย่างไรบ้าง


2.การสนทนา ในการสนทนากับพระภิกษุ ต้องใช้คำที่สุภาพ และควรประนมมือขณะพูดกับท่าน

พุทธศาสนิกชนที่ดีมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์แก่วัดอย่างไรบ้าง

การยืน การเดิน และการนั่งที่เหมาะสมในโอกาสต่างๆ

การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระภิกษุ มีข้อปฏิบัติในเรื่องการยืน การเดิน การนั่ง คือ

1.การยืน เมื่อยืนต่อหน้าพระภิกษุจะต้องอยู่ในอาการที่สำรวม ตัวตรง
มือประสานกันอยู่ด้านหน้า ก้มศีรษะลงเล็กน้อยพองาม
หากมีการสนทนาควรยกมือประนมที่หน้าอก หรืออยู่ในอาการที่สำรวม

พุทธศาสนิกชนที่ดีมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์แก่วัดอย่างไรบ้าง



2. การเดิน เมื่อเดินสวนทางกับพระภิกษุให้เราหลีกเข้าชิดทางด้านซ้ายมือของท่านแล้วยืนตรงหันหน้าเข้าหาพระภิกษุ น้อมตัวลงยกมือไหว้ รอจนท่านไปแล้วค่อยเดินต่อกรณีเดินตามพระภิกษุให้เราเดินเยื้องไปทางซ้ายเล็กน้อย ระยะห่างประมาณ 2 ก้าว แล้วเดินตามด้วยอาการสำรวม





พุทธศาสนิกชนที่ดีมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์แก่วัดอย่างไรบ้าง



3.การนั่ง การนั่งต่อหน้าพระภิกษุควรนั่งพับเพียบห่างจากท่านพอประมาณเก็บปลายเท้า ไม่นั่งในที่เสมอกับท่าน นั่งตัวตรง ไม่เท้าแขน มือ 2 ข้าง ประสานกันที่หน้าตักหากมีการสนทนาควรยกมือประนมทุกครั้งเพื่อแสดงความเคารพ




พุทธศาสนิกชนที่ดีมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์แก่วัดอย่างไรบ้าง





ชาวพุทธที่ดีมีหน้าที่ที่ควรปฏิบัติ ดังนี้




พุทธศาสนิกชนที่ดีมีหน้าที่บําเพ็ญประโยชน์แก่วัดและพระภิกษุสงฆ์สามเณรอย่างไรบ้าง

พุทธศาสนิกชนที่ดีมีหน้าที่บำเพ็ญประโยชน์แก่วัด พระภิกษุสามเณร เช่น ทอดผ้าป่า ทอดกฐิน หาทุนทรัพย์ไปช่วยสร้างอุโบสถ วิหาร หรือศาสนสถานอื่นๆ ให้ทุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร จัดหาผู้เชี่ยวชาญช่วยอบรมวิธีการใช้สื่อ

ใครมีหน้าที่บำรุงรักษาวัด

การบำเพ็ญประโยชน์และการบำรุงรักษาวัด เป็นหน้าที่ชาวพุทธทุกคนที่พึงปฏิบัติ เพื่อรักษาและสืบทอดพระพุทธศาสนา สาระการเรียนรู้ การบำเพ็ญประโยชน์และการบำรุงรักษาวัด คุณลักษณะอันพึงประสงค์

การทำบุญตักบาตรรวมทั้งการบำเพ็ญประโยชน์ต่อวัดส่งผลดีอย่างไรมากที่สุด *

การทำบุญตักบาตรและบำเพ็ญประโยชน์ต่อวัดจะส่งผลดีอย่างไร เป็นการสืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาว ช่วยให้ทางวัดประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้รู้จักการปฏิบัติตนให้เป็นประโยชน์ เป็นการอุปถัมภ์พระสงฆ์สามเณรด้วยปัจจัย

การปฏิบัติตนต่อพระพุทธมีอะไรบ้าง

ดังนั้น พระรัตนตรัย เป็นสิ่งที่ควรเคารพบูชาสูงสุดในพระพุทธศาสนา ชาวพุทธทุกคนจึงควรปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อพระรัตนตรัย ดังนี้ 1. มีความเลื่อมใสศรัทธาในคุณพระรัตนตรัย 2. ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า และแสดงความเคารพ โดยการกราบไหว้ และบูชาพระพุทธรูปด้วยดอกไม้ ธูป เทียน 3. ระลึกถึงพระธรรม และแสดงความเคารพต่อหนังสือธรรมะ ...