วัณโรค ต่อมน้ำ เหลือง กับ มะเร็ง ต่อมน้ำ เหลือง ต่างกันอย่างไร

ระบบน้ำเหลืองหรือน้ำเหลืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หลายคนคงเคยประสบกับปัญหา ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม นั่นแสดงว่า ร่างกายกำลังส่งสัญญาณเตือนอะไรบ้างอย่าง นอกจากนั้น ต่อมน้ำเหลืองยังมีความเกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งอีกด้วย ซึ่งทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน

ทำความรู้จักกับ ระบบน้ำเหลือง

ระบบน้ำเหลืองหรือน้ำเหลือง เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย รวมถึงเครือข่ายของท่อน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลือง ท่อน้ำเหลืองเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่รวบรวมและนำพาเลือดไปทั่วร่างกาย แต่แทนที่จะเป็นเลือด หลอดเลือดเหล่านี้จะนำของเหลวใสที่เรียกว่า “น้ำเหลือง” ไปด้วย นอกจากนั้น น้ำเหลืองยังมีเม็ดเลือดขาวรวมอยู่ด้วย ซึ่งจะช่วยในการต่อสู้กับการติดเชื้อ

หากน้ำเหลือมีการสะสมมาก ๆ โดยไม่มีการระบายออกไปทางใดทางหนึ่ง สามารถส่งผลทำให้ร่างกายบวมได้ ท่อน้ำเหลืองจะดึงน้ำเหลืองจากรอบ ๆ เซลล์ เพื่อส่งไปที่หน้าอก ณ ตรงนี้น้ำเหลืองจะรวมตัวกันเป็นเส้นเลือดขนาดใหญ่ที่ไหลเข้าสู่เส้นเลือดใกล้หัวใจนั่นเอง

ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม เกิดจากอะไร

มีต่อมน้ำเหลืองรูปไตขนาดเล็กมากกว่า 600 ต่อมน้ำเหลือ กระจายอยู่ทั่วร่างกาย ได้แก่ ใต้คอ รักแร้ ขาหนีบ ตรงกลางหน้าอก และหน้าท้อง สิ่งเหล่านี้จะทำหน้าที่เก็บภูมิคุ้มกันและเป็นตัวกรอง เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่ตายแล้ว เสียหาย หรือกำจัดของเสียอื่น ๆ ออกจากร่างกาย

ต่อมน้ำเหลืองที่คอบวม เป็นสัญญาณเตือนว่า มันกำลังทำงานอย่างหนัก อาจมีเซลล์ภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นหรืออาจมีการสะสมของเสียมากขึ้นก็ได้เช่นกัน อาการบวมมักเป็นสัญญาณของการติดเชื้อบางชนิด แต่ก็อาจมาจากภาวะต่าง ๆ เช่น โรคข้ออักเสลรูมาตอยด์ โรคลูปัส แต่ไม่บ่อยนักที่จะเป็นโรคมะเร็ง

บ่อยครั้ง ต่อมน้ำเหลืองที่บวมมักจะอยู่ใกล้กับจุดที่มีปัญหา เมื่อคุณมีอาการคออักเสบ ต่อมน้ำเหลืองที่คอ ก็อาจเกิดอาการบวมได้ สำหรับผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านม อาจได้เกิดอาการต่อมน้ำเหลืองบวมที่รักแร้ เมื่อต่อมน้ำเหลืองในบริเวณต่าง ๆ บวมพร้อมกัน นั่นแสดงว่า มีปัญหาเกิดขึ้นทั่วร่างกายของคุณ อาจเป็นโรคอีสุกอีใส เอชไอวี หรือมะเร็ง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ต่อมน้ำเหลืองกับมะเร็ง มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร

ในบางกรณี การบวมของต่อมน้ำเหลืองอาจเกี่ยวข้องกับมะเร็ง มะเร็งบางชนิดเริ่มต้นที่ต่อมน้ำเหลือง มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma) และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma) เป็นมะเร็งในระบบน้ำเหลือง เช่นเดียวกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน

บ่อยครั้งที่มะเร็งอาจปรากฏในต่อมน้ำเหลืองในลักษณะการแพร่กระจาย โดยแพร่กระจายจากที่อื่นในร่างกาย เซลล์มะเร็งบางส่วนอาจแตกออกจากเนื้องอกแล้วแพร่กระจายไปยังที่อื่นของร่างกาย เซลล์มะเร็งเหล่านี้อาจเดินทางผ่านกระแสเลือดไปยังอวัยวะอื่น ๆ หรือเดินทางผ่านระบบน้ำเหลืองไปยังต่อมน้ำเหลือง อย่างไรก็ตาม ตามข้อมูลของAmerican Cancer Society (ACS) ระบุไว้ว่า เซลล์มะเร็งส่วนใหญ่ที่เดินทางผ่านกระแสเลือดหรือระบบน้ำเหลืองจะตายหรือถูกฆ่าตายก่อนที่จะมีโอกาสแพร่ระจาย

เมื่อมีมะเร็งอยู่ในต่อมน้ำเหลือง การตรวจชิ้นเนื้อจะช่วยระบุได้ว่าเป็นมะเร็งชนิดใด เมื่อตรวจเนื้อเยื่อหรือต่อน้ำเหลืองที่ถูกตัดออกมาด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นได้ว่าเซลล์มะเร็งจะมีลักษณะเหมือนเซลล์มะเร็งของเนื้องอกที่เกิดขึ้น ดังนั้น เซลล์มะเร็งเต้านมในระบบน้ำเหลืองก็ยังจะคงมีลักษณะเหมือนมะเร็งเต้านมนั่นเอง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

 สวัสดีค่ะ คุณกนกกนก

โดยทั่วไปหากรับประทานยารักษาวัณโรคจนครบ แพทย์จะนัดต่อเพื่อติดตามอาการหลังหยุดยาค่ะ ว่าตอบสนองต่อยา หรือมีอาการกำเริบหรือไม่นะคะ

จากที่คุณกนกกนก เล่ามา ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า รักษาหายขาดหรือไม่นะคะ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูอาการอีกนะคะ

ตัวโรควัณโรคไม่ได้สัมพันธ์กับมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนะคะ

เปรียบเทียบการใช้เข็มเจาะดูดกับการผ่าตัดในการวินิจฉัยโรควัณโรคต่อมน้ำเหลือง

ผู้แต่ง

  • Apaporn Eiamkulvorapong, M.D. กลุ่มงานโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา โรงพยาบาลสมุทรสาคร

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยโรควัณโรคต่อมน้ำเหลือง ระหว่างการใช้เข็มเจาะดูดก้อน (FNAC) กับการผ่าตัด (surgical excision)

วิธีการศึกษา: ศึกษาแบบ retrospective study ในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยวัณโรคต่อมน้ำเหลืองที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมุทรสาคร เป็นระยะเวลา 1 ปี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2555 - 30 กันยายน 2556 โดยเปรียบเทียบผลจากการใช้เข็มเจาะดูดก้อน (FNAC) ตรวจเชื้อวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis) (AFB stain) และผลการตรวจทางเซลล์วิทยา กับการผ่าตัดก้อน (surgical excision) ตรวจเชื้อวัณโรค (AFB stain) และผลการตรวจทางพยาธิวิทยา

ผลการศึกษา: ได้ทำการศึกษาผู้ป่วย 49 คน ที่ได้รับการใช้เข็มเจาะก้อน (FNAC) และ 31 คน ได้รับการผ่าตัดก้อนที่คอ ในผู้ป่วย 49 คน ที่ได้รับการทำ FNAC ตรวจพบเชื้อวัณโรค (AFB stain +) 16 คน (ร้อยละ 33) ผลการตรวจทางเซลล์วิทยาพบเซลล์ที่ผิดปกติเข้าได้กับวัณโรคต่อมน้ำเหลือง 13 คน (ร้อยละ 27) และในผู้ป่วย 31 คนที่ได้รับการผ่าตัดก้อนที่คอ ตรวจพบเชื้อวัณโรค (AFB stain +) 9 คน (ร้อยละ 29) ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาเข้าได้กับวัณโรคต่อมน้ำเหลือง 29 คน (ร้อยละ 94) ตามลำดับ ผู้ป่วย 23 ราย ได้รับการตรวจทั้ง FNAC และการผ่าตัด ทำการเปรียบเทียบผลตรวจ FNAC กับผลตรวจทางพยาธิวิทยา แล้วคำนวณหาค่าความไว ความจำเพาะ ความแม่นยำของ FNAC ในการวินิจฉัยวัณโรคต่อมน้ำเหลือง ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การทำ FNAC เพื่อวินิจฉัยวัณโรคต่อมน้ำเหลือง มีความไว ร้อยละ 28.57 ความจำเพาะร้อยละ 100 ความแม่นยำ ร้อยละ 34.78 โอกาสที่ผู้ป่วยจะเป็นวัณโรคต่อมน้ำเหลืองเมื่อผลตรวจเป็นบวกร้อยละ 100 โอกาสที่ผู้ป่วยจะไม่เป็นวัณโรคต่อมน้ำเหลืองเมื่อผลตรวจเป็นลบ ร้อยละ 11.76

สรุปและวิจารณ์: การใช้ FNAC ในการวินิจฉัย วัณโรคต่อมน้ำเหลืองทั้งผลการตรวจ microscopic และ cytology ได้ผลค่อนข้างต่ำ ความไวและความแม่นยำต่ำ ทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ต้องได้รับการผ่าตัด เพื่อได้รับการวินิจฉัยที่แน่นอน

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

Apaporn Eiamkulvorapong, M.D., กลุ่มงานโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา โรงพยาบาลสมุทรสาคร

ว.ว. โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา

References

1. Perenboom RM, Richter C, Swai AB, et al. Diagnosis of tuberculous lymphadenitis in an area of HIV infection and limited diagnostic facilities. Trop Geogr Med 1994;46(5):288-92.

2. van Loenhout-Rooyackers JH, Richter C. Diagnosis and treatment of tuberlous lymphadenitis of the neck. Ned Tijdschr Geneeskd 2000;144(47):2243-7.

3. Aggarwal P, Wali JP, Singh S, et al. A clinico-bacteriological study of peripheral tuberculous lymphadenitis. J Assoc Physicians India 2001;49:808-12.

4. Nataraj G, Kurup S, Pandit A, et al. Correlation of fine needle aspiration cytology, smear and culture in tuberculous lymphadenitis:a prospective study. J Postgrad Med 2002;48(2):113-6.

5. Lakhey M, Bhatta CP, Mishra S. Diagnosis of tubercular lymphadenopathy by fine needle aspiration cytology, acid-fast staining and mantoux test. JNMA Nepal Med Assoc 2009;48(175):230-3.

6. Asimacopoulos EP, Berry M, Garfield B, et al. The diagnosis efficacy of fine-needle aspiration using cytology and culture in tuberculous lymphadenitis. Int J Tuberc Lung Dis 2010;14(1):93-8.

7. Fontanilla JM, Bornes A, von Reyn CF. Current Diagnosis and Management of Peripheral Tuberculous Lymphadenitis. Clin Infect Dis 2011;53(6):555-62.

8. Nidhi P, Sapna T, Shalini M, et al. FNAC in tuberculous lymphadenitis:Experience from a tertiary level referral centre. Indian J Tuberc 2011;58:102-7.

9. Asano S. Granulomatous lymphadenitis. J Clin Exp Hematop 2012;52(1):1-16.

10. Knox J, Lane G, Wong JS, et al. Diagnosis of tuberculous lymphadenitis using fine needle aspiration biopsy. Intern Med J 2012;42(9):1029-36.

11. Fanny ML, Beyam N, Gody JC, et al. Fine-needle aspiration for diagnosis of tuberculous lymphadenitis in children in Bangui, Central African Republic. BMC Pediatr 2012;12:191.

วัณโรค ต่อมน้ำ เหลือง กับ มะเร็ง ต่อมน้ำ เหลือง ต่างกันอย่างไร

How to Cite

License

ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

วัณโรคต่อมน้ำเหลืองคืออะไร

คืออะไร..? วัณโรคที่ก่อโรคที่ต่อมน้ำเหลือง ส่วนใหญ่พบที่ต่อมน้ำเหลืองลำคอ โดยอาจมีต่อมน้ำเหลืองบวมโตเพียงต่อมเดียว หรือบวมต่อกันหลายๆต่อมเป็นสายเหมือนสายลูกประคำก็ได้. โดยต่อมน้ำเหลืองที่บวมขึ้นมามักจะไม่เจ็บ และไม่ได้เป็นก้อนแข็งมาก ก้อนจะโตขึ้นเรื่อยๆอย่างช้าๆหากไม่ได้รับการรักษา

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีอาการยังไง

อาการเริ่มต้นของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกมากตอนกลางคืน หรือคันทั่วร่างกาย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก ต่อมทอนซิลโต ปวดศีรษะ (มักพบผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท)

ทำไมถึงเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่ามีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ สารเคมี เช่น สารเคมีปราบศัตรูพืช น้ำยาย้อมผม เป็นต้น ภูมิคุ้มกัน ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรคลดลง เช่น โรคเอดส์ การปลูกถ่ายอวัยวะ โรคไขข้ออักเสบ เป็นต้น

เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองอันตรายไหม

มะเร็งชนิดนี้ถือว่าเป็นมะเร็งที่อันตรายชนิดหนึ่งเลยทีเดียว เพราะอาจจะทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้นและลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น ตับ ม้าม ทางเดินหายใจ หรือระบบประสาทนั่นเอง ซึ่งมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนี้สามารถเป็นได้ทั้งในผู้ใหญ่ วัยชรา หรือแม้จะเป็นวัยเด็กก็ตาม