ความจริงกับข้อเท็จจริงมีความแตกต่างกันอย่างไร

ความจริงและข้อเท็จจริง ช่วยนิยามหน่อยค่ะเพราะตอนนี้งงมาก

มีคนในเครื่องแบบคนนึง เข้าใจเอาว่าเขากำลังศึกษากฎหมาย ได้ให้นิยามว่า
"เพราะ ความจริง ที่รู้ ที่เห็น ที่ได้ยิน ที่ได้ฟัง ที่ได้อ่าน อาจจะ... ไม่ใช่ ข้อเท็จจริง.
ความจริง นั้น จริงที่ไหน? จริงของใคร? จริงเวลาใด?
ความจริงอาจถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลบเลือน หรือ กลบเกลื่อน ข้อเท็จจริง หรือ จริง แค่ช่วงเวลาใด เวลาหนึ่ง ก็เป็นได้ !!"

ซึ่งมันไม่ตรงกลับความเข้าใจเรามาตลอดเราก็เลยเม้นเค้าไปว่า
"รู้สึกจะกลับกัน ความจริงนี่เป็นจริงนิรันดร์ไม่ว่าคนจะพิสูจน์ได้หรือไม่ ข้อเท็จจริงนี่ มีความเป็นได้ทั้งจริงและเท็จต้องรอการพิสูจน์นะ คิดว่าเข้าใจไม่ผิด"

เขาก็ยกข้ออธิบายกลับมา
" 1. คำว่า Fact [อ่านว่า แฟคทฺ] (n.) หมายถึง "สิ่งที่มีอยู่จริง หรือเป็นเหตุกาณ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจริงตามที่ว่านี้ไม่อาจโต้แย้งหรือโต้เถียงได้" ตัวอย่างเช่น..
- It is a fact that the earth is round.
แปลว่า เป็นความจริงที่โลกนี้กลม
- That sugar is sweet is a fact.
แปลว่า ที่ว่าน้ำตาลหวานเป็นความจริง
2. คำว่า Truth [อ่านว่า ทรูธ] (n.) หมายถึง "ความจริงที่อาจมีผลคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงก็ได้ คือสามารถโต้เถียงได้ คัดค้านได้ (คือไม่จริง 100% อย่าง fact) ตัวอย่างเช่น
- He tries to tell the truth that he didn't steal her wrist watch.
แปลว่า เขาพยายามบอกความจริงว่าเขาไม่ได้ขโมยนาฬิกาข้อมือของหล่อนไป(พอสอบสวนหนักเข้าก็รับสารภาพ)
- Tell me the truth.
แปลว่า พูดความจริงกับฉันสิ"

และยกตัวอย่างมาสองข้อ
" สมมุติ คุณ อยากรู้นิสัย ของคนที่ชื่อ ก เมื่อ 100 ปีก่อน พบ หลักฐาน แค่เพียงหนังสืองานศพ ที่ลูกเขาเขียนไว้ ความจริงในหนังสือคือ พ่อเขาดีมากรักครอบครัว แต่ถ้าข้อเท็จจริง คือเขาเจ้าชู้ มีเมียน้อยตบตีลูกล่ะ
ความจริงที่รู้จากหนังสือ กับ ข้อเท็จจริง ที่เกิดขึ้น ไม่เหมือนกัน (คงไม่มีลูกคนไหน เขียนประวัติพ่อตัวเองเลวให้เขาอ่านหรอก)
"
"สมมุติว่า คุณเห็น A ถือปืนจะยิง B แล้วจู่ๆB ก็ถูกยิงตาย ภาพ ความจริง ที่คุณเห็น คือ A ถือปืน+ยิงBแน่นอน โดยที่คุณไม่เห็นว่ามีC แอบยิง ข้อเท็จจริงคือ C ยิง แล้วคุณคือคนเดียวที่เห็นเหตุการณ์ คุณบอกนักข่าว นักข่าวลงข่าวว่า A ยิง B โดยคุณเป็นพยานเห็นเหตุการณ์ คนอ่านข่าว ก็ อ่านความจริง จาก หนังสือพิมพ์ ที่ เขียนความจริงที่คุณบอก ก็เชื่อว่า มันเป็น ความจริง แต่ ข้อเท็จจริงคือ A ไม่ได้ยิง แต่Cยิง ...นี่คือ"ความจริง(ของคุณ)" คนทั่วไปก็ ได้รับ ความจริง(ของคุณ) และคิดว่า เป็น ความจริง โดย ข้อเท็จจริงคือ A ไม่ได้ยิง แต่Cยิง"

คือเราไม่สนิทกับเค้าเราเลยไม่กล้าเถียง
แต่ในใจเราก็ยังรู้สึค้านอย่างมาก เราหาข้อมูลเพิ่มเติมก็ได้ข้อมุลสนับสนุนว่าเราคิดถูกแล้วนะ หรือเราคิดผิดจริงๆ ความจริงและข้อเท็จจริงทางกฎหมายตีความอย่างนี้หรอ เราเริ่มสับสนแล้วเนี่ย

พอเราหาข้อมูลเสร็จเราก็พยามสรุปความเอาเองใหม่ ไม่รู้ว่าถูกไหมผู้รู้ช่วยด้วย
ความจริงมีสองแบบ แบบจริง exactly และ approximately(แต่จริงๆเราเชื่อว่าความจริงเป็นนิรันดร์นะ)
ข้อเท็จจริง   มีทั้งข้อเท็จจริงและข้อจริง

ที่นี้ไม่ว่าเราจะสืบหาความจริงอะไรสักอย่าง ข้อมูลที่ได้นั้นถือเป็นข้อเท็จจริงและเป็นข้อจริงนั้นๆโดยปริยายหรือเปล่า
แต่ก็ยังไม่ใช่ความจริง(คือไม่ว่าจะพูดจริงหรือไม่จริงก้เป็นความจริงนั้นๆ แต่ไม่ใช้ความจริงที่ต้องการพิสูจน์)

เราอ่านข้อความนึงว่าเวลาขึ้นศาลหาความจริง ก่อนจะพิจารณาคดี ศาลก็จะให้ทั้งโจทก์และจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ทั้งคู่ก่อน
ดังนั้นการตัดสินความจึงเป็นการหาน้ำหนักของหลักฐาน การตัดสินความทุกครั้งจึงเป็นการหาความจริงแบบค่าประมาณทั้งหมด ยกเว้นถ้าฝ่ายที่ถูกจริงๆให้ข้อมูลที่พิสูจน์ได้ว่าบริสุทธิ์จริงจึงจะเป็น exactly แต่ก็อยู่บนฐานของการประมาณความจริง

ซึ่งประเด็นคือทางกฎหมายไม่มีความจริงที่เป็นแบบนิรันดร์หรือเม่นตรงใช่หรือไม่
แล้วการยกตัวอย่างและอธิบายของนักเรียนในเครื่องแบบคนนั้นถูกต้องตามกฎหมายไหม
ข้อเท็จจริงกับความจริง ของคนทั่วไปกับกฎหมายนิยามในมุมกลับกันหรือเปล่า

รบกวนผู้รู้ด้วยคะตอนนี้เราง่วงมาแต่หลับไม่ลงมันคาใจแล้วเริ่มงงมาก

ปล.แท็กผิดห้องขออภัยด้วย และพยามจัดหน้ากระดาษแล้วไม่รู้ว่ามันจะไหลรวมเหมือนเม้นอื่นที่เราเคยเม้นยาวๆหรือเปล่า โทษที

การแยกแยะหลักฐานทางประวัติศาสตร์

  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรจะมีการเขียนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ เรื่องราวที่จดบันทึกไว้เรียกว่าข้อมูลเมื่อจะใช้ข้อมูลควรต้องดาเนินการ ดังนี้

๑. การแยกแยะความแตกต่างระหว่างข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นข้อมูลเรื่องราวทางประวัติศาสตร์นั้นจะมีทั้งข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นของผู้เขียน ผู้บันทึกหรือผู้แต่ง ข้อเท็จจริงเป็นข้อมูลจากหลักฐานต่างๆ ซึ่งอาจตรงกันบ้างไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกันบ้าง แต่ความคิดเห็นเป็นส่วนที่ผู้เขียน ผู้บันทึกหรือผู้แต่ง ผู้ใช้หลักฐานคิดว่าข้อมูลที่ถูกต้องน่าจะเป็นอย่างไร

๒. การแยกแยะระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริง ข้อมูลหรือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์เรียกว่า  ข้อเท็จจริง คำว่าข้อเท็จจริง แยกออกเป็นข้อเท็จจริงกับข้อจริง เรื่องราวทางประวัติศาสตร์จึงประกอบด้วย  ข้อเท็จจริงกับข้อจริงหรือความจริงเช่น เรื่องราวการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๑๑๒)  การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ( พ.ศ. ๒๓๑๐ ) ความจริงคือไทยเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. ๒๑๑๒ และ พ.ศ. ๒๓๑๐ ส่วนข้อเท็จจริงคือ  ข้อมูลที่เป็นคำอธิบายที่ปรากฏในหลักฐานทั้งหลายว่าทำไมไทยจึงเสียกรุงศรีอยุธยาเช่น คนไทยเตรียมตัวไม่พร้อม  ผู้นำอ่อนแอและมีความแตกแยกภายใน ทหารมีจำนวนน้อย  มีอาวุธล้าสมัยและมีจำนวนไม่พอเพียง ข้าศึกมีผู้นำที่เข้มแข็งและมีความสามารถสูง มีทหารจำนวนมากกว่าและมีอาวุธดีกว่า คำอธิบายดังกล่าวอาจถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นความจริงหรือไม่เป็นความจริง  ดังนั้นจึงเรียกคำอธิบายหรือเหตุผลว่าข้อเท็จจริง

ดังนั้น ในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ จึงต้องค้นคว้าข้อมูลจากหลักฐานหลายแหล่งหรืออ่านหนังสือหลายเล่ม เพื่อจะได้สามารถแยกแยะว่าเรื่องใดเป็นความจริง เรื่องใดเป็นข้อเท็จจริง  เรื่องนี้ยังเป็นประโยชน์ในการรับรู้รับฟังข้อมูลหรือเรื่องราวทั้งหลายในชีวิตประจำวันว่าเรื่องใดควรเชื่อและเรื่องใดไม่ควรเชื่อ

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์

ขั้นตอนที่ ๑ การกำหนดเป้าหมาย

ขั้นการกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร

ขั้นตอนที่ ๒ การรวบรวมข้อมูล

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูลมีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ)และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ)

ขั้นตอนที่ ๓ การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก

ขั้นตอนที่ ๔ การตีความหลักฐาน

การตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐ์กรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม

ขั้นตอนที่ ๕ การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล

จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้น

ลักษณะประเภท ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่คนในอดีตสร้างเอาไว้ เป้าหมายของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน